อีกอย่างหนึ่งที่เป็นเคล็ดลับก็คือ หลังพันพลาสติกเสร็จ

ต้องเอาใบมะม่วง 1 ใบ มาปิดยอด ป้องกันแดดส่องตา หากไม่เอาใบมะม่วงมาปิดโอกาสที่ยอดโดนแดดไหม้จะมีมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นช่วงปลายฤดูฝน เพราะจะมีโอกาสติดดีมาก แต่ถ้าคนที่ทำมีความชำนาญ ฤดูไหนก็ทำได้ ยกเว้นฤดูหนาว เพราะช่วงอากาศหนาวยอดจะไม่ค่อยติด เสียบฝากไว้ประมาณ 7 วัน ถ้ายอดพันธุ์ดีที่นำมาเสียบยังเขียวอยู่ โอกาสติดจะสูงมาก ให้อดใจรออีกจนถึง 15 วัน ถ้ายอดเริ่มแทงถือว่าติดแน่นอน เพราะยอดที่ไม่ติดจะดำ เมื่อเห็นว่ายอดเริ่มแทงให้ใช้มีดเจาะพลาสติกด้านบนให้ตาแทงยอดออกมา แต่ห้ามแกะพลาสติกออกหมด ยอดพันธุ์ดีดูแลไม่ยาก เมื่อเราฉีดพ่นสารเคมีให้กับต้นพันธุ์เดิมก็พ่นให้ยอดใหม่บ้าง หรือหากสังเกตเห็นแมลงรบกวน ก็ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดได้

ในการเสียบฝากท้องนั้น ถ้าเสียบยอดในช่วงเดือนกันยายน ยอดพันธุ์ดีจะแตกเป็นช่อดอกสูงมาก ซึ่งถ้าพบว่ายอดที่แตกมาใหม่เป็นช่อดอกให้ตัดทิ้ง เพราะหากปล่อยไว้ให้ติดผล พบว่ายอดนั้นจะตายภายหลังจากที่เก็บผลเสร็จ แต่ความจริงแล้วเราสามารถปล่อยให้ติดได้ตั้งแต่ปีแรกถ้าเราเสียบฝากในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพราะกว่าจะถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เราดึงช่อดอก กิ่งที่เสียบไว้ก็จะแตกเป็นพุ่มเล็กๆ แล้ว แต่ถ้าต้องการให้กิ่งที่เสียบแตกเป็นพุ่มเร็วแนะนำให้ตัดปลายยอดมะม่วงที่แตกมาบ่อยๆ กิ่งที่แตกมายืดยาวให้ตัดจะเป็นพุ่มเร็ว ยกตัวอย่าง น้ำดอกไม้สีทอง เสียบบนต้นเพชรบ้านลาด

เมื่อเข้าสู่ปีที่สอง เราตัดแต่งทรงพุ่มของต้นเพชรบ้านลาดและดูแลตามปกติจนถึงเวลาดึงช่อ ดอกก็ทำตามปกติ แต่ผลผลิตแทนที่เราจะได้ผลเพชรบ้านลาดต้นละ 50 กิโลกรัม เหมือนเดิมแต่จะได้ผลผลิตจากน้ำดอกไม้สีทองเพิ่มอีก ต้นละ 10-15 กิโลกรัม พอเข้าปีที่สาม ผลผลิตเพชรบ้านลาดก็ยังได้ต้นละ 50 กิโลกรัม แต่ผลผลิตจากน้ำดอกไม้สีทองที่เสียบฝากไว้จะได้เพิ่มขึ้นเป็นต้นละ 25-30 กิโลกรัม และพอเข้าสู่ปีที่ 5-6 เราก็เริ่มตัดกิ่งเพชรบ้านลาดออกปีละ 2-3 กิ่ง จนหมด เราจะได้ต้นมะม่วงต้นใหม่ที่เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

หลายคนคงคุ้นเคยและรู้จักผักสวนครัวรั้วกินได้ที่เป็นผักกินใบต่างๆ อาทิ กะเพรา โหระพา ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพืชทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการอาชีพเสริม โดยเกษตรกรหลายคนพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เลิกทำนาหันมาปลูกพืชผักเหล่านี้ รับทรัพย์เข้ากระเป๋ากันทุกวัน

สำหรับผักสวนครัวตระกูลกะเพรา โหระพา และใบแมงลัก เป็นพืชล้มลุก ใบเป็นรูปไข่ บางและนุ่ม ลำต้นและใบมีขนปกคลุม มีรสเผ็ดร้อน ช่อดอกตั้งตรง มีดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ จัดเป็นเครื่องเทศที่ยอดนิยม ถือว่าเป็นราชาแห่งเครื่องเทศเลยก็ว่าได้ โดยในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารและนำมาทานเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดต่างๆ

ป้ามณี วงศ์มหิง เกษตรกรผู้ปลูกใบกะเพรา โหระพา และใบแมงลัก จำหน่ายที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เคยทำนา แต่สู้กับภาวะแล้งไม่ไหว เลยหันมาปลูกผักสวนครัว ซึ่งทำรายได้ทุกวัน ตกวันละ 500 บาท โดยบอกว่า แค่ 1 ไร่ ก็ตัดขายไม่ทันแล้ว

“อย่างกะเพรา เป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ส่วนการปลูกก็ง่ายมาก ขุดหลุมตื้นๆ ปลูก รดน้ำ แล้วใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น รดน้ำวันละครั้ง”

สำหรับกะเพราที่ปลูกกันทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ กะเพราขาวและกะเพราแดง สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่จะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี โดยแต่ละพันธุ์จะมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี

“พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ถึง 15,000 ต้น หลังจากปลูกแล้ว 30 วันก็เก็บขายได้ และเก็บขายได้นาน 6-7 เดือน เก็บเกี่ยวได้ 10-15 ครั้ง แต่หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลง กิ่งก้านแข็ง แตกยอดน้อย ต้องรื้อและปลูกใหม่”

และหลังจากเก็บมาแล้ว จะนำไปล้างน้ำเปล่า ผึ่งลมให้แห้ง ตัดแต่งใบออกบางส่วน และนำมามัดเป็นกำ กำละ 1.5 ขีด จากการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนคุณภาพอย่างเป็นระบบ ทำให้วันนี้จังหวัดยะลา เมืองงามใต้สุดสยามแห่งนี้มีศักย์ภาพที่พร้อมจะเป็นเมืองแห่งทุเรียนคุณภาพที่มีความเข้มแข็งและใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคใต้

จากการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนคุณภาพอย่างเป็นระบบ ทำให้วันนี้จังหวัดยะลา เมืองงามใต้สุดสยามแห่งนี้มีศักย์ภาพที่พร้อมจะเป็นเมืองแห่งทุเรียนคุณภาพที่มีความเข้มแข็งและใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ หัวไชเท้าเป็นพืชผักอายุเก็บเกี่ยวสั้น มีรายได้เร็วจึงเกิดกลุ่มเกษตรกรปลูกหัวไชเท้าขนาดใหญ่คือกลุ่มเกษตรกรบ้านสว่าง หมู่ที่ 8 ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีจำนวนสมาชิก 40 ราย ปลูกแบบมีคุณภาพได้มาตรฐาน GAP ได้ผลผลิต 7-9 ตัน ต่อไร่ ส่งขายให้กับห้างค้าปลีกรายใหญ่ เทสโก้ โลตัส รวมถึงพ่อค้าทั่วไป ทำให้ทุกครัวเรือนมีรายได้ที่แน่นอน มั่นคง แทนการรอขายผลผลิตตามฤดูกาล

คุณคำสอน เชิดโกทา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ (061) 945-2066 บอกว่า ในพื้นที่ประสบปัญหาปริมาณน้ำสำหรับใช้ทางเกษตรกรรม อาชีพหลักของชาวบ้านคือทำนาและปลูกพืชไร่ใช้น้ำน้อยอย่างมันสำปะหลังและอ้อย แต่เดิมหัวไชเท้าเป็นพืชผักที่ชาวบ้านในหมู่บ้านปลูกกันไว้อยู่แล้ว ไม่ได้เน้นปลูกขายจึงไม่ได้ใส่ใจเรื่องคุณภาพ ปลูกไว้รับประทานในครอบครัวแล้วที่เหลือนำไปขาย พอมีรายได้เสริมเข้ามา ปลูกจำนวนมาก-น้อยต่างกัน ตามความเหมาะสมของครัวเรือน

แต่หลังจากมีการรวมกลุ่มกัน พร้อมกับได้รับการสนับสนุนทั้งความรู้ เทคโนโลยี อุปกรณ์จากภาคราชการหลายหน่วยงาน ทำให้ชาวบ้านได้พัฒนาการปลูกหัวไชเท้าให้มีมาตรฐานมากขึ้น โดยในระยะแรกนำไปขายให้พ่อค้าในพื้นที่ก่อน แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในเรื่องราคาไม่คุ้มค่าเท่าที่คาดหวัง ทำให้ชาวบ้านเกิดความท้อแท้ กระทั่งเมื่อทางเทสโก้ โลตัส ได้ติดต่อทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นเพื่อหาแหล่งผลิตหัวไชเท้าที่มีคุณภาพ ทางชุมชนจึงถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมทดลอง แล้วประสบความสำเร็จสามารถปลูกหัวไชเท้าได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

การเข้ามามีบทบาทด้านการตลาดเพื่อรับซื้อหัวไชเท้าจากชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลหินตั้ง ผ่านทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางการตลาด มีราคารับซื้อที่ชัดเจนตามการตกลงร่วมกันระหว่างผู้รับซื้อและชาวบ้านในพื้นที่

นับจากนั้นชาวบ้านเริ่มหันมาจริงจังกับการปลูกหัวไชเท้าด้วยการเพิ่มพื้นที่ปลูก ลดพื้นที่ทำไร่ลง สร้างมาตรฐานการปลูก บริหารจัดการผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอ ได้คุณภาพมาตรฐานตามข้อตกลงของผู้รับซื้อ ตลอดจนจัดทำระบบบัญชีควบคุมสต๊อก รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนง่ายต่อการตรวจสอบ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างถูกต้องจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีภายใต้ความช่วยเหลือ การแนะนำ และติดตามอย่างใกล้ชิดจากหลายหน่วยงาน ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล รวมถึงภาคเอกชนอย่างเทสโก้ โลตัส ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องรอขายผลผลิตตามฤดูกาล

คุณคำสอน ให้รายละเอียดการปลูกหัวไชเท้าว่า ในกลุ่มมีสมาชิกประมาณ 40 คน จากเดิมที่เคยใช้พื้นที่ปลูกหัวไชเท้ากันเพียงบ้านละ 2-3 ไร่ แต่ภายหลังที่ประสบความสำเร็จสามารถสร้างคุณภาพหัวไชเท้าจนเป็นที่พอใจรับซื้อของทางเทสโก้ โลตัสในราคาที่ทุกคนพอใจ จึงทำให้ชาวบ้านจัดระบบการปลูกพืชในครัวเรือนของตนเองเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกหัวไชเท้าให้มากขึ้นรายละ 10 ไร่ เพราะมองเห็นตัวเงินที่ชัดเจนแน่นอนในแต่ละเดือน จึงทำให้ในตอนนี้เฉพาะในชุมชนมีพื้นที่ปลูกหัวไชเท้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 400 ไร่

หัวไชเท้ามีอายุตั้งแต่ปลูกจนเก็บผลผลิตประมาณ 45 วัน ทั้งนี้ การปลูกแต่ละรอบสมาชิกต้องมาวางแผนตกลงเป็นรายเดือนกันว่าในแต่ละรอบสมาชิกรายใดจะปลูกบ้าง แล้วต้องมีความชัดเจนเพราะต้องมีสินค้าส่งให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องตลอด ทั้งนี้ กำหนดส่งให้ทางเทสโก้ โลตัส สัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีปริมาณเฉลี่ย 2 ตันเป็นอย่างต่ำ แล้วกำลังเพิ่มเพดานเป็นสัปดาห์ละ 5 ตัน

สำหรับพันธุ์หัวไชเท้าที่เกษตรกรนิยมใช้ชื่อ “เอเวอร์เรสของเจียไต๋” เหตุผลที่เลือกเพราะเชื่อมั่นในคุณภาพเมล็ดพันธุ์ซึ่งเวลาปลูกเพียงหยอดหลุมละ 1 เมล็ดเท่านั้น ต่างกับการเลือกพันธุ์ที่ไม่รู้จัก ราคาถูกแต่เสียหายมากกว่าเพราะต้องหยอดหลายเมล็ดต่อหลุม

ทั้งนี้ ต้องปรับสภาพดินปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยคอกทั้งมูลวัว ควาย แล้วไถกลับไป-มา อย่างน้อย 2 รอบ แล้วยกร่องปลูกขนาดกว้าง 1.20 เมตร นำเมล็ดพันธุ์หยอดตามหลุมที่เจาะไว้ห่างกันประมาณ 19-23 เซนติเมตร ให้รดน้ำสัก 15 วัน จึงพรวนดินด้วยอุปกรณ์ชักร่องทางยาว พร้อมใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 16-16-8 อย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นอีก 20 วันให้พรวนดินอีกครั้งโดยใช้อุปกรณ์ชักร่องทางขวางอีกด้านหนึ่ง แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 20-8-20 เพื่อเร่งลำต้นและหัว

ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้หากเจอศัตรูพืชอย่างหนอนให้รีบใช้มือกำจัดทิ้งทันที แล้วควรหมั่นสังเกตในแปลงอย่างละเอียดอย่าให้หนอนเข้ามาวางไข่ อย่างไรก็ตาม หากพบเจอจำนวนมากอาจต้องพึ่งพาสารชีวพันธ์อย่างบิวเวอเรียบ้างเพื่อสกัดการเข้าทำลายของหนอนหรือศัตรูชนิดอื่น โดยควรเริ่มฉีดพ่นตอนอายุสัก 10 วัน ฉีดทุก 2-3 วันครั้ง โดยให้หยุดก่อนเก็บผลผลิตสัก 15 วัน แล้วเมื่อครบเวลา 45 วันจึงถอนหัวออก

คุณคำสอน บอกว่า ผลผลิตที่ปลูกช่วงฤดูแล้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ได้ผลผลิตเฉลี่ย 3,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนผลผลิตช่วงฤดูหนาวในเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ จะได้ผลผลิตดีกว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7,000 กิโลกรัม ต่อไร่ เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น สำหรับทางเทสโก้ โลตัส ต้องการน้ำหนักต่อหัวเฉลี่ยประมาณ 1.2 กิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตที่ตกเกรดจะมีพ่อค้ามารับซื้อ ทั้งนี้ ภายหลังเก็บผลผลิตจะต้องพักแปลงโดยไม่ปลูกซ้ำเป็นเวลา 3 เดือน ดังนั้น สมาชิกจะต้องหมุนเวียนแปลงปลูกไปเรื่อยๆ จนครบ โดยแปลงที่พักจะไม่ปลูกพืชชนิดใดเลย

สำหรับต้นทุนการปลูกหัวไชเท้าต่อไร่ประมาณ 30,000 บาท หรือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5 บาท ได้แก่ การเตรียมดิน, ค่าอุปกรณ์และยา, แรงงาน ผลผลิตที่ได้ไม่น้อยกว่า 7 ตัน ต่อไร่ ซึ่งเมื่อขายให้เทสโก้ โลตัส ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท (13 กุมภาพันธ์ 2562) นอกจากนั้น ผลผลิตหัวไชเท้าบางส่วนที่ไม่ได้คัดเกรดยังมีพ่อค้าทั่วไปมารับซื้อ ถ้าราคาช่วงฤดูหนาวกิโลกรัมละ 4 บาท ส่วนช่วงฤดูแล้งกิโลกรัมละ 12 บาท เพราะหน้าแล้งได้ผลผลิตน้อย แล้วปลูกยากจึงทำให้ราคาขายสูง

คุณคำสอน กล่าวเสริมว่า หากนับเวลาย้อนหลังไปเมื่อ 10 ปีที่ชาวบ้านยังปลูกหัวไชเท้ากันแบบเดิม ไม่เน้นขาย พอถึงเวลานี้พวกเขาได้พัฒนาวิธีปลูกได้อย่างรวดเร็ว ยอมรับในเทคโนโลยีการเกษตรแบบใหม่ จนเป็นเกษตรกรอาชีพที่ปลูกผักได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากความช่วยเหลือของทุกภาคส่วนตั้งแต่การผลิต การดูแล การเงิน ตลอดจนการตลาด ทำให้ทุกวันนี้ชาวบ้านได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบมากขึ้น กล้าคิด กล้าแสดงออก

“แรงจูงใจที่ทำให้ชาวบ้านสนใจมาปลูกหัวไชเท้าพร้อมเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากการมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอนแล้วยังได้รับรู้ราคาซื้อ-ขายตามการตกลงที่เป็นธรรมล่วงหน้า ทำให้สามารถคำนวณรายรับว่าในรอบการผลิตจะได้เงินจำนวนเท่าไร ต่างกับการขายให้พ่อค้าที่ต้องรอราคาทีหลัง” คุณคำสอน กล่าว

ต้องยอมรับว่าผลจากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเกษตรนับวันจะมีความสำคัญ เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยรวดเร็วย่อมไม่ส่งผลดีหากคุณยังดื้อทำเองเพียงลำพัง เพราะไม่เพียงแต่จะมีรายได้เพียงน้อยนิดแต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อยู่เพียงคนเดียว…ถึงเวลาที่ต้องรวมตัวกันได้แล้วครับเพื่อผลประโยชน์ที่ดีกว่า

“มะพร้าวน้ำหอม” เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่สนใจของเกษตรกร ตลาดที่สําคัญของมะพร้าวน้ำหอม ในต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และตะวันออกกลาง เป็นต้น

มะพร้าวเป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย ไม่จําเป็นต้องใช้เทคนิคหรือ ประสบการณ์ เหมือนไม้ผลชนิดอื่น ๆ สามารถให้ผลผลิตได้เร็ว คือหลังจากปลูกประมาณ 3 ปี ก็เริ่มเก็บผลผลิตขายได้แล้ว ราคาจําหน่ายผลอ่อนก็อยู่ใน เกณฑ์ดี

มะพร้าวอ่อนที่เราบริโภคสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวน้ำหวาน ซึ่งมีข้อแตกต่างกัน คือ มะพร้าวน้ำหอมจะมีกลิ่นหอมในตัวเองคล้ายใบเตย ส่วนมะพร้าวน้ำหวานจะมีรสหวานเพียงอย่างเดียว

ความหอมของมะพร้าวน้ำหอม
ความหอมในตัวเองของมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งไม่พบในมะพร้าวอ่อนทั่ว ๆ ไป ทําให้เรานิยมบริโภค มะพร้าวพันธุ์นี้ เมื่อพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวน้ำหอม จะพบว่ามีส่วนที่เราสามารถทดสอบความหอม ได้ เช่น
1. ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว
2. กะลาของผลอ่อน
3. น้ำและเนื้อมะพร้าว
นอกจากนี้อาจมีส่วนอื่น ๆ ที่แสดงความหอม แต่ไม่สามารถทดสอบได้ด้วยการดม อาจจะต้องใช้เทคนิคอื่น ๆ มาช่วย ตามปกติสารหอมระเหยในพืชจะอยู่ในต่อมหรือในท่อของส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ดังนั้นความหอมจึงเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อของส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวน้ำหอมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุที่มะพร้าวน้ำหอมไม่หอม
ปัญหาที่ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมพบบ่อย ๆ คือ ความหอมจะหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ถึงแม้ว่าหน่อพันธุ์ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์แท้และเคยหอมมาก่อน แต่บางครั้งก็เหมือนกับบริโภคมะพร้าวน้ำหวานธรรมดา

เพื่อต้องการศึกษาสาเหตุของความหอมที่ไม่คงที่ ได้ทําการทดลองโดยคัดเลือกต้นมะพร้าวน้ำหอมที่เป็น พันธุ์แท้มาจํานวนหนึ่ง แล้วใช้เป็นต้นแม่มาผสมกับละอองเกสรตัวผู้ของมะพร้าวพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่มะพร้าว ใหญ่ มะพร้าวน้ำหวาน (หมูสีเขียว) และมะพร้าวน้ำหอมต้นอื่นที่อยู่ในแปลงเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้ผสมตัว เองในจั่นเดียวกันอีกด้วย

ผลการทดลองตามตาราง พบว่าละอองเกสรตัวผู้มีอิทธิพลต่อความหอมของเนื้อมะพร้าว (Xenia Effect) มะพร้าวน้ำหอมที่ผสมกับมะพร้าวใหญ่และมะพร้าวน้ำหวาน ผลมะพร้าวจะไม่มีความหอม แต่ถ้าผสมตัวเอง หรือผสมกับมะพร้าวน้ำหอม ผลมะพร้าวที่ได้จะมีความหอมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังพบว่า ละอองเกสรตัวผู้ ก็มีผลต่อความหวานของน้ำมะพร้าวเช่นเดียวกัน

การเกษตรในภาคกลางมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ ประมง ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และอื่นๆ ภูมิภาคนี้สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูกค่อนข้างสูงคือ ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง

ส่วนการทำการเกษตรแบบผสมผสานนั้นสิ่งที่จะต้องมีและพร้อมมากที่สุดคือ ที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสมกับการทำการเกษตร จะต้องมีความอดทนสูง มีความขยัน จึงจะสามารถที่จะประสบความสำเร็จในการวางแผนและการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้ดีและมีประสิทธิภาพ แม้ว่าธุรกิจเกษตรพืชไร่ในภาคกลางจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความน่าสนใจ แต่ผู้ประกอบการควรที่จะศึกษาถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจลงทุนและการวางแผนต่อยอดธุรกิจต่อไปในระยะยาว

กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ คุณทวี มาสขาว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง 9 จังหวัด

น่าสนใจไม่น้อย ลองติดตามดูค่ะ จะเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวพื้นนุ่ม กข 79

“ปัจจุบันรับผิดชอบอยู่ 9 จังหวัด โซนภาคกลางรวมๆ แล้วเรามีพื้นที่ปลูกข้าวอยู่ประมาณ 3 ล้านกว่าไร่ แต่ว่าข้อเท็จจริงที่ภาคกลางนั้นปลูกข้าวหรือทำนาประมาณ 2 ฤดูเศษๆ เพราะฉะนั้น ในพื้นที่ 3 ล้านไร่ก็จะมีผลผลิตรวมๆ ออกมาประมาณ 6 ล้านไร่รวมนาปรังด้วย ก็จะมี 3 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งใน 3 ล้านตันข้าวเปลือกนี้ แนวทางการพัฒนาทางด้านนี้ โดยเฉพาะข้าวเราจะปรับอยู่ 2-3 เรื่อง โดยเรื่องที่หนึ่งคือพันธุ์ ซึ่งตอนนี้มีพันธุ์ที่เป็นข้าวพื้นนุ่ม กข 79 ซึ่งกรมการข้าวเขารับรองแล้ว จะเป็นข้าวพื้นนุ่มซึ่งไม่แข็งเหมือนชัยนาท เพราะฉะนั้น ก็จะเพิ่มปริมาณตัวนี้ซึ่งเกษตรกรทดลองปลูกแล้วมีความนิยมค่อนข้างมาก ก็จะทำการขยายพันธุ์ กข 79 ให้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน เมื่อได้พันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงและตลาดต้องการแล้ว เราก็จะดูเรื่องการลดต้นทุนผลผลิตลงมาเน้นเรื่องการลดการเผาด้วย เน้นการย่อยสลายฟางข้าวให้เป็นปุ๋ยทำให้ต้นทุนของปุ๋ยนั้นลดลง ในขณะเดียวกัน ก็จะลดมลพิษ หมอกควันไปด้วย ก็จะมาเพิ่มเติมในส่วนเหล่านี้”

“ส่วนในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของข้าวก็จะมีการแปรรูป ในขณะเดียวกัน ก็จะมีเรื่องของการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ โดยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้ามาทำ มีการขายเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการของพี่น้องในเขตภาคกลางก็จะมาพัฒนาพวกนี้ ส่วนข้าวก็จะเน้นในเรื่องของการแปรรูปด้วย เมื่อลดต้นทุนเพิ่มมูลค่าก็ต้องทำเข้าไป เพราะฉะนั้น ก็จะมีโรงสีแปรรูปของกลุ่มซึ่งเป็นองค์กรของชุมชนเขาเอง ก็จะเพิ่มพวกนี้เข้าไป ในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ไม่กระทบต่อโรงสีขนาดใหญ่ของเอกชน”

“ข้าวของภาคกลางนั้นมีข้อดีก็คือมีผลผลิตข้าวออกอยู่ทุกเดือน มีปลูกทุกเดือน มีออกผลผลิตทุกเดือน ฉะนั้น การกระจายตัวของผลผลิตก็จะเป็นสิ่งที่ดีทำให้โรงสีสามารถที่จะแปรรูปได้ทัน ไม่กระจุกหรือถูกกดราคาเพราะว่าผลผลิตมันล้น ถือเป็นจุดเด่นเรื่องข้าวของภาคกลาง โดยสรุปก็คือจะพัฒนาใน 3-4 ประเด็นนี้ ทั้งเรื่องของพันธุ์ ซึ่ง กข 79 ก็จะขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะให้พี่น้องเกษตรกรลดต้นทุนและทำการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยดูเรื่องของฟางข้าว ลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยตรงนี้ลง แล้วก็จะไปพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการ เมล็ดพันธุ์ข้าวปีๆ หนึ่งมีเยอะมาก เพราะว่าทำ 2 รอบ มีการเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูป โดยการสีแล้วก็ส่งตลาดโดยตรงด้วย” คุณทวี พูดถึงข้าวในภาคกลาง

ผลิตดูความต้องการของตลาด

คุณทวีพูดถึงพืชเศรษฐกิจ

“ในส่วนของพืชไร่ก็จะมีพืชสำคัญทางเศรษฐกิจอยู่ 2-3 ตัวนะครับ ตัวแรกคือมันสำปะหลัง ซึ่งมันสำปะหลังเรามีทั้งหมด 800,000 ไร่ ใน 800,000 ไร่ผลผลิตที่นำมาคิดครึ่งหนึ่งก็จะมีประมาณ 400,000 ตันของมันสำปะหลัง ปลูกอันดับหนึ่งก็จะเป็นจังหวัดลพบุรี อันดับสองจังหวัดชัยนาท อันดับสามเป็นจังหวัดสระบุรี ส่วนอันดับที่สี่ที่ห้าก็มีเพียงเล็กน้อย ในสามจังหวัดนี้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักเราก็จะพัฒนา โดยเฉพาะทุกวันนี้จะไม่ให้กระทบเรื่องโรคใบด่างซึ่งเป็นเหมือนเชื้อเอดส์เชื้ออะไรก็ตามที่พี่น้องเกษตรเรียกต่อการเกิดโรคในมันสำปะหลัง เพราะฉะนั้น เราก็จะป้องกันเรื่องโรคพวกนี้ไม่ให้เข้ามา มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดไม่ให้นำท่อนพันธุ์เป็นเชื้อสาเหตุของโรคนี้เข้ามา”

“ขณะเดียวกัน ก็จะมีการพัฒนาเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น เพราะตลาดมันสำปะหลังนั้นมีราคาการรับซื้อที่ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหา ก็จะพัฒนาเรื่องผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ให้พี่น้องเกษตรกรมีความรู้เรื่องการพัฒนาคุณภาพมันสำปะหลังให้ดีขึ้น ให้มีคุณภาพมีเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงขึ้น พวกนี้ก็จะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น ส่วนตัวที่สองก็จะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เรามีอยู่ประมาณ 400,000 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เน้นทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ก็จะพัฒนาให้ทั้งคุณภาพของผลผลิตให้สูงขึ้น ข้าวโพดมีการประกันราคาที่ชัดเจน ก็จะมีการพัฒนาผลผลิต”

“ในส่วนของโรคระบาดก็จะมีหนอนกระทู้ สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ได้เพราะว่าพี่น้องเกษตรกรนั้น หนึ่งใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดหนอนตัวนี้ เกษตรกรมีความรู้ สองเกษตรกรสามารถที่จะคำนวณได้ว่าเขาควรเฝ้าระวังการปลูกในช่วงระยะไหนที่หนอนจะเข้าไปทำลาย ในขณะเดียวกัน ก็จะใช้วิธีผสมผสาน ถ้าอาการหนักก็อาจจะต้องใช้สารเคมี เพื่อการป้องกันจะมีการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด การคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจะป้องกันโรคในข้าวโพดได้จนข้าวโพดอายุประมาณ 20-30 วัน ถ้ารุนแรงก็จะใช้เคมี ในขณะเดียวกัน

หลังจากอายุ 50-60 วันแล้วก็จะใช้การผสมผสานกับชีวภัณฑ์ หรือใช้ตัวห้ำตัวเบียน ปล่อยแตนเบียนบ้างปล่อยแมลงหางหนีบเข้าไปทำลายศัตรูพืช ไปจนสุดท้ายจะมีการใช้กับดักล่อแมลงที่เป็นผีเสื้อ ผีเสื้อจากหนอนกระทู้ตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 ฟอง เพราะฉะนั้น ถ้ากำจัดได้ตัวหนึ่งก็เท่ากับสามารถลดประชากรไปได้ 1,500 ตัว ก็จะใช้วิธีผสมผสานพวกนี้กับหนอนกระทู้ศัตรูที่สำคัญต่อข้าวโพด ส่วนตัวที่สามก็เป็นอ้อย จะมีโรงงานอ้อยโรงงานน้ำตาลในพื้นที่สระบุรี ลพบุรี พวกนี้ก็จะปลูกมากที่ 2-3 จังหวัดนี้ เพราะฉะนั้น จะสามารถดูแลพืชเศรษฐกิจพวกนี้ให้ได้ตามปริมาณที่ตลาดต้องการ ตลาดต้องการเท่าไร ลักษณะการผลิตก็จะให้มีความสอดคล้องกัน”

อาหารปลอดภัย

“วิธีการทำงานทางด้านการเกษตรทุกวันนี้จะเน้นที่การพัฒนาพี่น้องเกษตรกรก่อน คือให้มีการรวมตัวกันในการทำรูปแบบของแปลงใหญ่ คำว่าแปลงใหญ่คือการรวมตัวของกลุ่มคนเป็นหลักมาตัดสินใจในการวางแผนการผลิต มาวางแผนจำหน่ายทางด้านการตลาด เพราะฉะนั้น ตัวแปลงใหญ่ก็จะเข้ามาทำพวกนี้ ซึ่งในภาคกลางก็มีแปลงใหญ่ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง คละกันอยู่ประมาณ 400 กว่ากลุ่ม เพราะฉะนั้น ก็จะมีการพัฒนาพวกนี้ โดยจุดเด่นของแปลงใหญ่คือการที่พี่น้องเกษตรกรมาร่วมกันวางแผนตัดสินใจไปถึงกระบวนการผลิตและการตลาดด้วย ซึ่งพวกนี้ถือเป็นสิ่งที่ดี นาข้าวที่ชัยนาทก็โดดเด่น เราพยายามที่จะหาต้นแบบในปี 2562 นี้ก็จะมีการพิจารณาประกวดแปลงใหญ่ อีกไม่นานนะครับจะรู้ว่าว่าเขตภาคกลางนี้แปลงใหญ่ที่ดีที่สุดอยู่ที่ไหน โดยการค้นหาและก็ประกวด”

คุณทวีพูดถึงเกษตรแปลงใหญ่ Holiday Palace และพูดถึงการใช้สารเคมีของเกษตรกรว่า “เรามีการพัฒนาผลผลิตออกมาให้มีคุณภาพ การที่จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพนี้ก็จะต้องมีความปลอดภัยจากสารเคมี เพราะฉะนั้น สารเคมีต้องมีการควบคุมให้ถูกต้องต้อง ควบคุมสารเคมีไม่ให้มีอันตรายต่อตัวของผู้บริโภค โดยสาร 3 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไกลโฟเสต พาราควอต คลอร์ไพรินฟอส ก็จะมีการดำเนินการโดยการควบคุมทั้งเกษตรกรที่จะใช้กับพืช ซึ่งในภาคกลางเราก็จะมีการอบรมให้ความรู้พี่น้องเกษตรกรและจะมีกระบวนการสอบ โดยให้เกษตรกรสอบผ่านในลักษณะที่มีการใช้ที่ถูกต้อง

ผู้ที่รับจ้างทางด้านการเกษตรในการฉีดพ่นต้องผ่านการฝึกอบรมทางด้านการเกษตรด้วย และผู้จำหน่ายสารทั้ง 3 ชนิดนี้ต้องมีการขึ้นทะเบียนและผ่านการฝึกอบรมควบคุมกับกรมวิชาการทางการเกษตรด้วย เพราะฉะนั้น เราจะทำงานภายใต้กระทรวงเกษตรฯ นี้ไปด้วยกัน ทั้งกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร คือกรมส่งเสริมการเกษตรก็จะมีหน้าที่ในการให้ความรู้อบรมพี่น้องเกษตรกรก่อน จนพี่น้องเกษตรกรสามารถใช้ได้ถูกต้องและแม่นยำไปจนถึงที่สุดของความอันตรายของสารทั้ง 3 ชนิดนี้ ถ้าหากเป็นอันตรายมากจริงๆ ก็จะหมดไปจากการใช้และก็จะนำตัวใหม่เข้ามาใช้ทดแทน ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พี่น้องเกษตรกรจะมาขึ้นทะเบียนที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยการสอบจะเริ่มสอบตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือที่อำเภอเขานัดหมาย” คุณทวี กล่าว

ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต

“การเพิ่มมูลค่าอีกอย่างหนึ่งคือการสร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้น วิถีชีวิตเกษตรที่ภาคกลางนั้นมีทุกจังหวัดนะ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ปทุมธานี พวกนี้ก็มีแหล่งท่องเที่ยว อย่างเช่น ปทุมธานีก็จะโดดเด่นในเรื่องของกล้วยหอม ในเรื่องของพืชผัก พระนครศรีอยุธยาก็จะเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีการแปรรูปด้วย ที่ชัยนาทเองก็จะมีผลไม้ โดยเฉพาะส้มโอ เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย มีทุกจังหวัด ลพบุรีก็มีกระท้อน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้คนมาสัมผัสชีวิตการทำการเกษตร ตอนนี้ก็มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน ซึ่งมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรเรียกว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าตัวหนึ่งของสินค้าเกษตร”