อู๊ดๆ เต็มถนน หลังรถขนหมูเบรกกะทันหันจนพลิกคว่ำทำหมูตก

รถเกลื่อนถนนมาลัยแมน เมื่อเวลา 07.28 น. วันที่ 22 กันยายน 2560 ร.ต.อ.นิธิสิทธิ์ กาญจนนฤนารถ รอง สว.จร. ทำหน้าที่หัวหน้าควบคุมการจราจรถนนมาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม รับแจ้งจากศูนย์สั่งการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม หรือ 191 ว่ามีรถบรรทุก 6 ล้อบรรทุกสุกรพลิกตะแคงอยู่บริเวณโค้งอู่หล่ม ถนนมาลัยแมน ต.หนองปากโลง อ.เมืองนครปฐม ก่อนถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีสุกรที่อยู่ในคอกเหล็กตกลงจากรถเกลื่อนถนนกีดขวางการจราจรขาออกไปสุพรรณบุรี

จึงพร้อมกำลังตำรวจจราจรเข้าไปให้ความช่วยเหลือ พบรถบรรทุก 6 ล้อ หมายเลขทะเบียน 80-7103 พัทลุง พลิกตะแคงข้างอยู่เลน 1-2 และมีสุกรอยู่ในคอกเหล็กตกเกลื่อนถนน มีนายกรกมล โรจนกาญจน์ อยู่บ้านเลขที่ 56 หมู่ 4 ต.เขาเจียก อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เป็นคนขับ ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงจึงสามารถเคลียร์พื้นที่คืนผิวจราจรถนนมาลัยแมนให้เป็นปกติได้

นายกรกมล โรจนกาญจน์ คนขับรถบรรทุกสุกร กล่าวว่า ขับรถบรรทุกสุกรมา 38 ตัวจากฟาร์มสุกร หมู่ 3 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 21 กันยายน เพื่อมาส่งโรงฆ่าสัตวตำบลตาก้อง อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ขณะขับรถคันดังกล่าวมาตามถนนมาลัยแมน เข้าโค้งอู่หล่มก่อนถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รถปิกอัพคันหน้าเบรกกะทันหัน จึงเบรกและหักรถหลบทำให้รถเสียหลักและตัวสุกรที่บรรทุกมาเกิดการเหวี่ยงตัวทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้จึงพลิกตะแคงลงข้างทาง คอกสุกรที่บรรทุกมาตกกระเด็นลงพื้นผิวถนนกระจายเกลื่อน และมีสุกรบางตัวเสียชีวิต

ด้านนายพัฒนพล ภาสนวัฒน์ หรือเสี่ยแชมป์ อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4/1 หมู่ 4 ต.ทัพหลวง อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม กล่าวว่า สุกรที่ซื้อมาจากฟาร์มจังหวัดพัทลุงงวดนี้ 38 ตัว เพื่อส่งโรงฆ่าสัตว์ตำบลตาก้อง อ.เมืองนครปฐม ชำแหละส่งโรงงานผลิตลูกชิ้นและแหนมยี่ห้อดัง ทราบว่ารถบรรทุกมีประกันภัย อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สภ.เมืองนครปฐม ที่มาช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจนแล้วเสร็จ

ธนาคารออมสินปล่อยกู้พ่อค้า-แม่ค้าสตรีทฟู้ดที่เป็นผู้ค้าริมทางหรือผู้ค้าตลาดสดทั่วประเทศ เตรียมวงเงิน 10,000 ล้าน ดอกเบี้ย 0.4-0.6% ต่อเดือน เฉลี่ยกู้ได้ 2-5 แสนบาท ต่อราย ถ้าปรับปรุงห้องแถวค้าขายกู้สูงสุดถึง 3 ล้าน

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผอ.ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เตรียมวงเงิน 10,000 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการรายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า ที่เป็นผู้ค้าริมทาง หรือสตรีทฟู้ด และผู้ค้าตลาดสดทั่วประเทศกู้สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อราย ดอกเบี้ย 0.4-0.6% ต่อเดือน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเป็นการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ชาวฐานรากทั่วประเทศ คาดว่าปล่อยครบวงเงินกู้ภายใน 1 ปี ช่วยเหลือผู้ค้าราว 2 หมื่นราย

เงื่อนไขของสินเชื่อสตรีทฟู้ด มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ประกอบกิจการขายอาหาร ค้าขายมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี มีสถานที่ประกอบการแน่นอน สามารถติดต่อได้ ผ่อนชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี การค้ำประกันจะมีหลักทรัพย์ หรือไม่มีหลักทรัพย์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับธนาคาร แต่ใช้บุคคล หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันได้ ธนาคารจะพิจารณาหากเป็นผู้ค้าสตรีทฟู้ดขายริมทาง จะให้กู้ไม่เกิน 2-5 แสนบาท ต่อราย หากกู้ปรับปรุงห้องแถวค้าขายกู้ได้สูงสูง 3 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ผ่อนการชำระเงินด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด ใช้แอพพลิเคชั่น GSB Pay และ MyMo บนโทรศัพท์มือถือ ช่วยให้ความสะดวกรับจ่ายเงินทั้งผู้ค้าและผู้บริโภค ไตรมาสที่ 4 ปีนี้ จะเปิดรับบริการคิวอาร์โค้ดของทุกธนาคาร

สำหรับโครงการนี้เปิดตัวที่ซอยอารีย์สัมพันธ์แห่งแรก “ช็อปเพลิน เดินชิม@อารีย์” จัดต่อเนื่อง 10 วัน 21-30 กันยายนนี้ และจะขยายกิจกกรรมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเข้ามารับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 21 กันยายน ซึ่งเป็นวันแรกว่า เต็มไปด้วยความคึกคัก โดยเฉพาะในพื้นที่ 70 จังหวัด มีผู้มีรายได้น้อยเดินทางมารับบัตรตั้งแต่ช่วงเช้าผ่านธนาคารออมสิน รวมถึงสำนักงานคลังจังหวัด โดยเริ่มใช้งานจริงได้วันที่ 1 ตุลาคมนี้

นายชาติชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับบัตรฯ ผ่านออมสิน วันแรกเรียบร้อยดี ปีนี้มีผู้ลงทะเบียนกับออมสินและได้รับบัตร รวม 3.5 ล้านคน ในสัปดาห์แรกจะสามารถกระจายบัตรได้ 90% ส่วนที่เหลือ 10% มารับช้าเพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ส่วน 7 จังหวัดที่เลื่อนรับบัตรได้สั่งให้สาขาแจ้งให้ประชาชนรับทราบแล้ว

เมื่อวันที่ 21 กันยายน นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า งานสตาร์ตอัพ ไทยแลนด์ (STARTUP Thailand) เป็นความมุ่งมั่นของ วท.และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ ที่จะพัฒนาสตาร์ตอัพอย่างจริงจัง โดยใช้กลไกสนับสนุนและการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างนักรบทางเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยงาน “Startup Thailand 2017” ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งทั้งกรุงเทพฯ และ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เกิดผลเป็นรูปธรรมหลายด้าน เช่น เกิดเม็ดเงินลงทุนมูลค่าสูงถึง 6,000 ล้านบาท เกิดสตาร์ตอัพที่มีศักยภาพและเริ่มดำเนินธุรกิจจริงกว่า 700 ราย เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 7,500 อัตรา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นกำลังแรงงานที่มีทักษะทางเทคโนโลยี และ เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตของการลงทุนในธุรกิจสตาร์ตอัพในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นสูงจากปี 2559 กว่า 50% และสูงกว่าปี 2558 กว่า 200%

รัฐมนตรี วท.กล่าวว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติได้เห็นชอบร่าง “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” เพื่อให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของสตาร์ตอัพในประเทศไทยมากขึ้น ใน 4 ประเด็น ได้แก่ เปิดช่องให้สตาร์ตอัพสามารถออกหุ้นกู้แปลงสภาพได้ สามารถทยอยให้หุ้นแก่พนักงานของสตาร์ตอัพได้ ให้พนักงานมีสิทธิซื้อหุ้นในราคาที่กำหนดได้ และสามารถแก้ไขสิทธิในหุ้นบุริมสิทธิ โดยใช้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ โดยขณะนี้ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว หากเห็นชอบโดยเฉพาะการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานในด้านนี้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ และช่วยให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในสตาร์ตอัพไทยกันมากขึ้น

นางอรรชกา กล่าวว่า ในปี 2561 นี้ วท.ได้ขยายโอกาสการเข้าสู่สตาร์ตอัพในกลุ่มนักเรียนอาชีวะ โดยมุ่งผลักดันการสร้างวิธีคิด การสร้างทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสร้าง “นักรบใหม่ทางเศรษฐกิจ” ให้เกิดขึ้น โดย วท.ได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อนำเด็กนักเรียนอาชีวะพัฒนาสู่ความเป็นสตาร์ตอัพ นำวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวะของรัฐและเอกชนกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ เข้ามาร่วมบ่มเพาะกำลังแรงงานยุคใหม่ที่มีความสร้างสรรค์ มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ และความสามารถในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า สนช.จะดำเนินการพัฒนาสาขางานสำคัญๆ ที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจประเทศ ได้แก่ สุขภาพ เกษตร อาหาร และท่องเที่ยว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันผลักดันและพัฒนาสตาร์ตอัพไทยในรายสาขาให้โดดเด่นขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ย่านนวัตกรรมในพื้นที่นำร่องโครงการ 15 ย่านทั่วประเทศ เพื่อสร้างผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ขณะนี้กำลังดำเนินการที่เป็นรูปธรรมจำนวน 11 ย่าน

นางอรรชกา กล่าวว่า ความชัดเจนของการพัฒนาสตาร์ตอัพไทยสู่ตลาดต่างประเทศ คือก้าวสำคัญของการจัดงาน STARTUP Thailand 2018 ที่จะจัดขึ้นในกลางปี 2561 ภายใต้แนวคิด INVEST NATION ที่เน้นเรื่องการลงทุนจากต่างชาติ โดยจะเชิญนักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุนในสตาร์ตอัพไทย ตั้งเป้าหมายให้เกิดการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้งาน STARTUP Thailand กลายเป็นงานสตาร์ตอัพระดับโลก ขยายพื้นที่จัดงานขึ้นเป็น 25,000 ตารางเมตร นำสินค้าของสตาร์ตอัพมาซื้อขายแก่ประชาชน ตั้งเป้า 600 ราย จากทั่วโลก

ตรัง – นางอำนวย อ่อนแท้ ราษฎรจังหวัดพัทลุง เผยว่า ปีนี้จะมีลูกเนียงออกมาจำหน่ายกันมาก ทำให้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท แต่หากเป็นนอกฤดูกาลจะมีราคาขยับขึ้นเป็น กิโลกรัมละ 60-70 บาท หรือ 3 ลูก 10 บาท สนใจนำต้นพันธุ์มาปลูกในพื้นที่ว่างข้างบ้าน ทุกวันนี้เป็นรายได้เสริมให้เป็นอย่างดี ลูกค้ามาสั่งซื้อถึงบ้าน หรือแม่ค้ามารับต่อไปขาย รวมทั้งเหมายกต้นไปใช้ในงานต่างๆ เพียงแต่ลูกค้ามักจะเป็นคนรุ่นเก่า หรือรุ่นกลางคนขึ้นไป ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรับประทานกัน โดยบอกว่าลูกเนียงมีกลิ่นเหม็น

นอกจากลูกเนียงสด ทั้งแบบอ่อน แบบแก่ จะเป็นที่นิยมของชาวใต้แล้ว ยังมีการนำไปถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้ได้นานหลายเดือนและเพิ่มมูลค่า โดยนำลูกเนียงแก่ไปเพาะในกองทราย หรือกองฟาง เรียกว่า ‘ลูกเนียงหมาน’ ฝังลงไปในทราย หรือผาง แล้วรดน้ำเช้าเย็น 5 วัน หลังจากนั้นจะงอกใบอ่อน และรากอ่อนออกมา เป็นผักเหนาะ หรือผสมลงในแกงต่างๆ

พะเยา – นางนาฎน้อย เอิบสุขศิริ ประกันสังคมจังหวัดพะเยา เผยว่า มีผู้ประกันตนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันที่เป็นสามี ภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะส่งผลกระทบเมื่อลูกจ้างผู้ประกันตนเสียชีวิต ทำให้ผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมไมได้รับความสะดวกในการรับสิทธิ เนื่องจากมีขั้นตอนการตรวจสอบในการพิจารณาการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน หรือจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิรับประโยชน์ ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้อง จึงขอแนะนำให้ลูกจ้างผู้ประกันตนที่อยู่ร่วมกันในลักษณะของสามี ภรรยา ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในการขอรับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม

ในการขอรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรกฎหมายประกันสังคมกำหนดระเบียบการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรแก่ผู้ประกันตน เหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ต่อบุตร 1 คน สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน หากผู้ประกันตนฝ่ายชายเป็นผู้ใช้สิทธิแต่ไม่จดทะเบียนสมรส ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ จะต้องจดทะเบียนรับรองบุตร

เชียงใหม่ – ผศ.นพ. บวร วิทยชำนาญกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และเลขานุการกรรมการการช่วยฟื้นคืนชีพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงการที่ทีมแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จัดอบรมการช่วยชีวิตพื้นฐานปั๊มหัวใจ ว่าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ในการช่วยเหลือและขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเพิ่มการรอดชีวิต

รูปแบบในการอบรมจะมีการสอนปั๊มหัวใจ การใช้เครื่อง AED ในการช่วยหายใจ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและการดูแลผู้ป่วยภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เพื่อให้ประชาชนดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนที่บริการการแพทย์ฉุกเฉิน EMS จะมาถึง เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการแก่ผู้ป่วย

ผศ.นพ. บวร กล่าวว่า โดยทั่วไปนั้นภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกะทันหัน ไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนแต่อย่างใด ไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ มักเกิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจโดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะนี้เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลได้ถึง ร้อยละ 90 โดยเกิดในโรงพยาบาลได้น้อย ประชาชนจึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วมและช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต

ปัจจัยสำคัญในการช่วยเหลือ ได้แก่ การรับรู้ว่าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและรีบโทร.แจ้งบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 การช่วยปั๊มหัวใจอย่างรวดเร็ว โดยใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) เพียงใช้แรงมือกดที่หน้าอกและเป่าลมเข้าปากผู้ป่วย หากไม่เป่าปากก็ยังช่วยได้หากไม่สะดวกใจ

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่มีพันธมิตรที่จะช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากภาวะการเจ็บป่วยจัดโครงการพัฒนาการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาล การอบรมสำหรับประชาชนในรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ได้จริง โดยได้ใช้รูปแบบเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการบอรมในระยะเวลาสั้นให้กับประชาชนทุกระดับ

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่าได้ลงนามความร่วมมือกับพันธมิตรรวม 7 แห่งประกอบด้วย ธนาคารออมสิน กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมอนามัย มูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และบริษัท ทีดับเบิลยู มอเตอร์กรุ๊ป จำกัด (ผู้ผลิตและจำหน่ายรถขายอาหารและเครื่องดื่มเคลื่อนที่) ในโครงการ Thailand Street Food by GSB เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ ยกระดับผู้ค้าขายอาหารริมทาง และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อย ให้ได้มีโอกาสสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางอาชีพ โดยได้เปิดตัวโครงการนี้่แห่งแรกที่ซอยอารีย์และจะจัดนำร่องให้ครบทุกภูมิภาคทั่วประเทศภายในปีนี้

นายชาติชาย กล่าวว่า ในแต่ละหน่วยงานที่ได้ลงนามร่วมกันนั้นจะมีหน้าที่แตกต่างกัน โดย กทม.จะเป็นผู้ดูแลพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร จะร่วมกันดูแลคุณภาพอาหารทั้งด้านโภชนาการและรสชาติของอาหาร โดยจะมีการรับรองรสชาติความอร่อยจากรายการกินเที่ยวอะราวเดอะเวิลด์ จะมีป้ายสัญลักษณ์รับรอง ซึ่งจะมอบให้แก่เจ้าของร้านค้าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความนิยมให้แก่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ส่วนกรมอนามัย จะร่วมดูแลเรื่องคุณภาพอาหารและการปรุงอาหารที่ถูกสุขอนามัย ขณะที่ ททท.จะช่วยประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ ภาพลักษณ์และรสชาติของอาหารริมทาง

นายชาติชาย กล่าวว่า นอกจากนี้ธนาคารยังส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน และสร้างโอกาสเข้าสู่แหล่งเงินทุน ในอัตรราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และขยายกิจการ โดยเตรียมวงเงินสินเชื่อไว้ 10,000 ล้านบาท ด้วยการให้สินเชื่อ Street Food สำหรับผู้ค้าริมทาง หรือผู้ค้าในตลาดสดทั่วประเทศ กู้สูงสุดรายละไม่เกิน 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.40-0.60 บาท ต่อเดือน ผ่อนชำระคืนได้นานสูงสุดถึง 10 ปี

พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ปี 2560 ว่า ปัจจุบันมีพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ จำนวน 2,548 แปลง พื้นที่กว่า 3.38 ล้านไร่ เกษตรกร 248,999 ราย มีการผลิตสินค้า 10 กลุ่ม ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น ผักและสมุนไพร ไม้ผล ไม้ดอก หม่อนไหม แมลงเศรษฐกิจ ปศุสัตว์ และประมง ซึ่งผลการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าการส่งเสริมพื้นที่แปลงใหญ่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 4,864.94 ล้านบาท โดยแปลงใหญ่ของภาคเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,241-1,565 บาท/ไร่ ขณะที่แปลงใหญ่ของภาครัฐ มีรายได้เพิ่มขึ้น 992-1,168 บาท/ไร่

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าใน ปี 2561 มีแผนเร่งสานต่อการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ โดยจะถ่ายโอนภารกิจด้านผู้จัดการแปลงให้เกษตรกรพร้อมพัฒนาศักยภาพผู้จัดการแปลงและเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพิ่มความเข้มแข็ง เร่งจัดทำแผนพัฒนาเพิ่มแปลงใหญ่สินค้าเกษตรอื่นๆ และพัฒนายกระดับการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพได้รับมาตรฐาน เชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยจะเร่งแต่งตั้งประธานคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และประธานคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ระดับจังหวัด ให้เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (SC)

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้ผลักดันและส่งเสริมให้มีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และการใช้พลังงานในครัวเรือน เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ที่ส่วนใหญ่ไทยเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศมาทั้งสิ้น หนึ่งในตัวอย่างของการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม คือ “การผลิตก๊าซชีวภาพในภาคปศุสัตว์”

ดังเช่น ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพลังงานจังหวัดแพร่ กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูขุน โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย (คอนแทรคฟาร์มโครงการฝากเลี้ยง) กับ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ จำนวน 4 ราย ในพื้นที่บ้านอัมพวัน หมู่ 8 ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการ “ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มปศุสัตว์ให้กับชุมชน” จากการตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ทำให้เกษตรกรทั้ง 4 ราย มีความคิดที่จะปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงหมูรวม 2,600 ตัวของพวกเขา ซึ่งก่อนหน้านี้มีโมเดลความสำเร็จที่เพื่อนเกษตรกรฟาร์มเลี้ยงหมูกับซีพีเอฟ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นำขี้หมูเข้าระบบไบโอแก๊สแบบ Plug Flow เกิดการหมักได้ก๊าซมีเทน นำเข้าเครื่องปันไฟแปลงก๊าซที่ได้เป็นกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม อีกส่วนหนึ่งเข้าระบบท่อแก๊สกลายเป็นก๊าซหุงต้มลดค่าใช้จ่ายให้กับเพื่อนบ้าน

“เราเลี้ยงหมูมา 15 ปี เมื่อก่อนฟาร์มอยู่อย่างโดดเดี่ยวกลางทุ่ง แต่วันนี้ชุมชนขยับเข้ามาใกล้มากขึ้น ในเมื่อไม่สามารถย้ายฟาร์มไปที่อื่นได้ ก็ต้องอยู่กับชุมชนให้ได้อย่างมีความสุข ผมกับเพื่อนๆจึงปรึกษากับทางซีพีเอฟซึ่งเขาก็สนับสนุนเรื่องนี้อยู่แล้ว เวลานั้นทราบว่าทางภาครัฐมีนโยบายเรื่องพลังงานมากมาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องไบโอแก๊สเพื่อพลังงานชุมชน เราจึงเริ่มติดต่อประสานกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เรืองนี้เกิดขึ้นในชุมชนของเรา” จำลอง ขัดมูล เจ้าของจำลองฟาร์ม หนึ่งใน 4 เกษตรกร กล่าวถึงที่มา

จำลองกับเพื่อนเกษตรกร gfxtr.net เริ่มต้นขอคำปรึกษาจากองค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน อำเภอสอง ถึงเป้าหมายของพวกเขา จากนั้นเรื่องจึงไปสู่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และสำนักงานพลังงานจังหวัดแพร่ โดยอบต.เตาปูนดำเนินการของบประมาณสนับสนุนไปที่กระทรวงพลังงานเพื่อสร้างระบบบำบัดของเสียด้วยไบโอแก๊ส บ่อหมักขนาด 200 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งกระทรวงพลังงานสนับสนุนงบฯก่อสร้าง 60 % อบต.เตาปูน 35% และเกษตรกร 15% โดยทางซีพีเอฟสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้ ในรูปแบบผลตอบแทนการเลี้ยง

โครงการนี้ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์จากฟาร์มหมู ที่ถือเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างตรงจุดเท่านั้น หากแต่ยังเกิดผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ชุมชนได้รับประโยชน์จากก๊าซชีวภาพที่เกิดจากระบบไบโอเก๊ส กลายเป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม จากแรกเริ่มมีครัวเรือนนำร่องที่ใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ 50 ครัวเรือน เมื่อระบบเดินเครื่องเต็มประสิทธิภาพ ก็สามารถขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 48 ครัวเรือน เท่ากับก๊าซชีวภาพจากฟาร์มแห่งนี้สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนได้ถึง 98 ครัวเรือน

นพดล สรวงประดิษฐ์ พลังงานจังหวัดแพร่ บอกว่า จากความสำเร็จของโครงการนำร่องดังกล่าว คณะทำงานจึงผลักดันให้มีการก่อสร้างบ่อบำบัดขนาด 300 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มเติมอีกซึ่งจะสามารถขยายประโยชน์ให้กับชาวชุมชนเพิ่มอีกถึง 100 ครัวเรือน

“การพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพในฟาร์มหมูแห่งนี้เป็นโครงการภายใต้แนวคิดประชารัฐด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วมระหว่าง รัฐ เอกชน และชุมชน ที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน จากของเสียในการเลี้ยงสุกร เราเตรียมผลักดันความสำเร็จของโครงการสู่ศูนย์เรียนรู้การจัดการด้านพลังงานระหว่างฟาร์มปศุสัตว์กับชุมชน เพื่อให้เป็นต้นแบบการแก้ปัญหาและมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการดูแลและบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อไป” พลังงานจ.แพร่ กล่าว

ระหว่างชมความสำเร็จของโครงการ ชาติชาย ปัทมะดิลกคเวช ประธานกลุ่มผู้ใช้แก็สบ้านอัมพวัน บอกว่า ชาวชุมชนสามารถใช้แก๊สชีวภาพจากระบบไบโอแก๊สแทนก๊าซหุงต้มได้ทั้งหมู่บ้าน วันนี้ทุกบ้านไม่ต้องซื้อก๊าซหุงต้มอีกเลย เท่ากับช่วยลดรายจ่ายด้านนี้ได้ 100% และยังแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องกลิ่นในฟาร์มหมูได้เป็นอย่างดี ชาวชุมชนตอบรับกับโครงการนี้ดีมาก ทุกคนดีใจมากที่ทุกภาคส่วนพยายามผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น และยังร่วมกันเดินหน้าพัฒนาต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน

นอกจากแก๊สชีวภาพที่ได้จากฟาร์มแห่งนี้ จะถูกส่งผ่านท่อไปยังชุมชนทุกๆบ้านแล้ว จำลองบอกว่าได้นำก๊าซมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเดินเครื่องยนต์ในการผลิตไฟฟ้าขนาด 50 กิโลวัตต์ ที่สามารถใช้กับพัดลดระบายความร้อนในโรงเรือนเลี้ยงหมู ใช้กับปั้มน้ำ เป็นไฟฟ้าส่องสว่าง และเป็นพลังงานให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในฟาร์มอีกด้วย จำลองฟาร์มจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าลงได้มากกว่า 30-40%

โครงการดีๆเช่นนี้ เกิดขึ้นจากเป้าหมายเดียวกันของทุกภาคส่วนที่ต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานและยังช่วยให้ฟาร์มปศุสัตว์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่าได้ลงนามความร่วมมือกับพันธมิตรรวม 7 แห่งประกอบด้วย ธนาคารออมสิน กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมอนามัย มูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และบริษัท ทีดับเบิลยู มอเตอร์กรุ๊ป จำกัด (ผู้ผลิตและจำหน่ายรถขายอาหารและเครื่องดื่มเคลื่อนที่) ในโครงการ Thailand Street Food by GSB เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ ยกระดับผู้ค้าขายอาหารริมทาง และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อย ให้ได้มีโอกาสสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางอาชีพ โดยได้เปิดตัวโครงการนี้่แห่งแรกที่ซอยอารีย์และจะจัดนำร่องให้ครบทุกภูมิภาคทั่วประเทศภายในปีนี้