เกษตรกรควรพ่นในระยะที่มะม่วงติดดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง

ระยะเริ่มแทงช่อดอก และระยะเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร) หากปีใดระบาดรุนแรงให้พ่นซ้ำก่อนระยะดอกบาน หลีกเลี่ยงการพ่นสารฆ่าแมลงในระยะดอกบาน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร

ช่วงเดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลไม้ภาคตะวันออกยกขบวนกันเข้าสู่ตลาดให้ซื้อมารับประทานกันเป็นประจำทุกปี ผลไม้ในที่นี้หมายถึง ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มผู้บริโภคว่า ผลไม้ตะวันออกขึ้นชื่อเรื่องของรสดีและคุณภาพดี

ซึ่งผลไม้ทุกผลของชาวสวนตะวันออก ผ่านการปฏิบัติดูแลรักษากันมาอย่างดี มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญชำนาญการของเกษตรกร ร่วมกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้ผลไม้ภาคตะวันออกเป็นที่ตั้งตารอของผู้บริโภค

มังคุด เป็นไม้ผลเมืองร้อน ผลกลมๆ มีสีม่วงๆ มีเนื้อนุ่มสีขาวๆ รสชาติหวานซ่อนเปรี้ยว และมีขั้วผลคล้ายมงกุฎ จึงได้รับฉายาว่า “Queen of Fruits” ปลูกกันมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยมีถิ่นกำเนิดจากหมู่เกาะซันดา (Sunda Island) ซึ่งเป็นหมู่เกาะเล็กๆ แถบมาลายู ผลผลิตมังคุดจะเริ่มให้ผล ในปีที่ 7 ซึ่งผลผลิตต่อต้นในระยะแรกจะต่ำ และสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมังคุดมีอายุ 13-20 ปี จะเป็นช่วงที่ให้ผลผลิตต่อต้นสูงสุด แหล่งผลิตมังคุดที่สำคัญของภาคตะวันออก อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง

ว่าด้วยเรื่อง มังคุดภาคตะวันออก คุณชาตรี บุญนาค ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กล่าวเปิดประเด็นถึงมังคุดภาคตะวันออกว่า มังคุดภาคตะวันออกมีพื้นที่ปลูกรวม 3 จังหวัด มากกว่า 190,000 ไร่ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด คือประมาณ ร้อยละ 60 ของพื้นที่ปลูกมังคุด โดยมีผลผลิตรวมมากกว่า 120,000 ตัน ต่อปี โดยผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ประมาณ ร้อยละ 55-60 บริโภคภายในประเทศ ร้อยละ 30-35 และการแปรรูปประมาณร้อยละ 5-10

โดยที่ลักษณะมังคุดที่ตลาดต่างประเทศต้องการคือ ผลขนาดใหญ่ โดยมีขนาดตั้งแต่ 100 กรัม ขึ้นไป หรือประมาณ 8-10 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม ผิวของผลสะอาด ไม่มีร่องรอยของการทำลายด้วยโรคและแมลง มีผิวนวลตามธรรมชาติ เปลือกของผลมีความหนาปานกลาง ไม่แข็ง เนื้อภายในมีสีขาวน่ารับประทาน ไม่มีอาการยางไหลที่เปลือกและไม่มีอาการเนื้อแก้วหรือเนื้อเน่าช้ำ

สถานการณ์ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อมังคุดคุณภาพ ได้แก่
1. ผลมีขนาดเล็ก น้อยกว่า 7 กรัม ต่อผล เหมาะสำหรับการบริโภคภายในประเทศ เพราะมีเมล็ดน้อย
2. ผิวของผลแตก มียางไหลทั้งภายนอกและภายในผล
3. เป็นเนื้อแก้ว มีอาการเนื้อภายในผลช้ำ
4. เปลือกแข็ง และภายในเน่าเสีย

มังคุดเนื้อแก้วยางไหล เป็นปัญหาสำคัญที่ปัจจัยสาเหตุหลักเกิดจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ซึ่งยากต่อการควบคุม เนื้อแก้วยางไหลในมังคุด ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันในช่วงการเก็บเกี่ยวหรือก่อนการเก็บเกี่ยว 1 เดือน เกิดจากการได้รับน้ำมากเกินไป จากสาเหตุฝนตกหนักเป็นปัจจัยหลัก จากปริมาณน้ำที่มากเกินไป ทำให้ต้นมังคุดดูดน้ำไปมากเกินไปด้วย ทำให้เซลล์เปลือกมังคุดแตก จนมีอาการยางไหล และเนื้อสีขาวเกิดอาการชุ่มน้ำจัด จึงเรียกกันว่า เนื้อแก้ว

สำหรับขนาดผลที่เล็กเกิดจากการที่เกษตรกรไว้จำนวนผลต่อต้นมากเกินไป ร่วมกับการจัดการไม่ดี ส่วนเปลือกแข็ง ส่วนใหญ่เกิดจากการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ถูกต้อง

การจัดการเพื่อมังคุดคุณภาพของสวนปิยารมณ์

คุณปรีชา ปิยารมณ์ เกษตรกรชาวสวนมังคุดจังหวัดจันทบุรี ปลูกในเนื้อที่ 20 ไร่ ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ต้นมีอายุ 46 ปี ลุงปรีชาเป็นผู้ที่คร่ำหวอดกับมังคุดมานานหลายสิบปี ปัจจุบัน อายุ 82 ปี ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ที่สวนมีการผลิตมังคุดคุณภาพ ได้ร้อยละ 70 และพบปัญหามังคุดเนื้อยางไหลถึงร้อยละ 20 ผลแตก ร้อยละ 20 จึงได้ดำเนินการจัดการสวนมังคุดใหม่เพื่อแก้ปัญหา จนปัจจุบัน ที่สวนสามารถผลิตมังคุดได้ถึงร้อยละ 80 พบเนื้อแก้วยางไหล ร้อยละ 5 และผลแตก ร้อยละ 5

หัวใจของการผลิตมังคุดคุณภาพ คือ การตัดแต่งกิ่ง การจัดการสภาวะในสวน และการควบคุมคุณภาพผลผลิต เช่น การจัดการน้ำ การจัดให้ตรงกับความต้องการของมังคุด

ปี 2559 ผลผลิตมังคุด เฉลี่ยของสวน 800 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาขาย เฉลี่ย 52 บาท ต่อกิโลกรัม

ปี 2560 ผลผลิตมังคุด เฉลี่ยของสวน 900 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาขาย เฉลี่ย 59-60 บาท ต่อกิโลกรัม โดยผลผลิต ร้อยละ 30 ขายเฉลี่ยที่ 80 บาท ต่อกิโลกรัม

ปี 2561 ตั้งเป้าผลผลิต เฉลี่ยมังคุด 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ และน้ำหนักผล 7-10 ผล ต่อกิโลกรัม ในขณะที่ต้นทุนการผลิตมังคุด ประมาณ 18 บาท ต่อกิโลกรัม

จะเป็นการตัดแต่งแบบเปิดหน้าต่างด้านบนของทรงพุ่ม ให้แสงแดดส่องลอดเข้าไปในลำต้นได้ และตัดปลายกิ่งนอกทรงพุ่มออก พร้อมกับควบคุมความสูงโดยการตัดยอดมังคุด ให้ต้นมีความสูงประมาณ 4-5 เมตร เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งประมาณ 2 ปี ต่อครั้ง เพื่อควบคุมทรงพุ่ม ควบคุมปริมาณผลผลิตและทำให้ผลติดในทรงพุ่มมากกว่า โดยจะตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว

การจัดการสภาวะในสวน

การจัดการสภาพสวนให้เหมาะสมไม่ให้รับแสงแดดมากเกินไป โดยจะปลูกต้นทองหลางควบคู่กับมังคุด ทองหลางเป็นพืชพี่เลี้ยงที่มีหน้าที่ในการบังร่ม บังลม และช่วยสร้างธาตุอาหาร ช่วยหาอาหาร สร้างปุ๋ยได้ เนื่องจากที่ปมรากสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ราก ลำต้น ใบ ดอกทองหลางเป็นปุ๋ยให้กับมังคุด และดูดซึมน้ำในดินไว้เลี้ยงลำต้น นอกจากนี้ มังคุด ที่ปลูกร่วมกับทองหลางไม่พบเพลี้ยไฟเข้ามาทำลายอีกด้วย

วิธีการควบคุมคุณภาพ

1. การจัดการน้ำเพื่อควบคุมปริมาณดอก หลังงดน้ำช่วงเตรียมการเพื่อการออกดอก (พบมีร่องเหี่ยวที่ข้อใบ จำนวน 4 ร่อง ของ 1 ข้อใบ) ให้น้ำครั้งแรก 1 ครั้ง รอจนพบว่า ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีดอกออกมา จำนวน 5 ดอก จึงเริ่มให้น้ำครั้งที่ 2 จำนวน 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยอดที่เหลือแตกเป็นใบอ่อน (ในกรณีที่ดอกออกไม่ถึง 5 ดอก ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ให้โชยน้ำช่วย ประมาณ 1 ชั่วโมง เว้น 4-5 วัน จนดอกออกครบ 5 ดอก) เพื่อให้มังคุดมีปริมาณดอกหรือประมาณร้อยละ 30-40 ดอก ต่อต้น การให้น้ำมังคุดปกติ 600 ลิตร (1 ชั่วโมง) ต่อวันเว้นสองวัน มังคุดดินทราย แห้งเร็ว ออกดอกง่าย ที่สวนนี้ไม่กวาดหรือคราดโคน เนื่องจากเปลืองต้นทุนค่าแรง และทำให้ระบบนิเวศเสียหาย

2. การใส่ปุ๋ย
– ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 6-12-12 ทุก 20 วัน ครั้งละ 1 กิโลกรัม ต่อต้น ใส่ตลอดฤดูกาล โดยเว้นช่วงตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน จนถึงช่วงเก็บเกี่ยว และสูตร 10-5-10 ใส่หลังเก็บเกี่ยว (เตรียมต้น) จำนวน 2 ครั้ง
– หลังเก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน ร่วมกับไธโอยูเรีย (ใช้ครั้งเดียว) อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พร้อมสาหร่ายและน้ำตาลทางด่วน

3. การจัดการเพื่อลดอาการมังคุดเนื้อแก้วยางไหล
– ฉีดพ่นแคลเซียมและโบรอนทางใบ ในระยะดอกเริ่มบานจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน (ประมาณ 3 เดือน) อัตราตามฉลาก หรือ 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร (ธาตุโบรอน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำพาแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ได้ดียิ่งขึ้น มังคุดมีความต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้ และทำให้เนื้อมีคุณภาพดี)
– ใส่ปูนโดโลไมท์ ปีละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 5 กิโลกรัม ต่อต้น (จากค่า pH 4 ปัจจุบันเป็น 6 ในระยะเวลา 5 ปี มังคุดดูดอาหารได้ดีขึ้น) โดยวิธีการหว่าน ถ้าเป็นฤดูฝนหว่านทั้งแปลง ฤดูแล้งหว่านเฉพาะทรงพุ่ม
อาการเนื้อแก้วยางไหล เกิดจากปัจจัยสาเหตุคือ มังคุดได้รับน้ำกะทันหัน หรือมีฝนตกชุกช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน หรือ สัปดาห์ที่ 12-13 หลังดอกบาน ซึ่งหลักการในการแก้ไขที่ง่ายที่สุดคือ การทำให้มังคุดติดดอกออกผลเร็วขึ้น

ทิ้งท้าย…จาก ลุงปรีชา
“การปลูกทองหลาง เป็นไม้พี่เลี้ยง ทำให้มังคุดใบใหญ่และผลใหญ่มากขึ้น และนอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหามังคุดผิวลายจากการทำลายของเพลี้ยไฟ เนื่องจากใบทองหลางคายน้ำเร็ว ทำให้ช่วยเพิ่มความชื้นในสวนให้สูงขึ้น ทำให้ลดการระบาดของเพลี้ยไฟได้”

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปรีชา ปิยารมณ์ ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โทร. (081) 860-2491 หรือ สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 322-158 และที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. (038) 611-578

เกษตรกรรมเป็นอาชีพรองหรืองานอดิเรกที่คนทำงานประจำหลายคนเลือกที่จะทำกัน โดยเฉพาะข้าราชการเกษียณส่วนใหญ่มักพึงพอใจกับการเป็นเกษตรกรหลังเกษียณ เพราะมีความเป็นอิสระ ได้อยู่กับธรรมชาติ ได้ออกกำลังกายและอยู่ในสังคมเกษตรกร

แต่ก็มีข้าราชการประจำจำนวนไม่น้อยที่ยึดเอาการเกษตรเป็นอาชีพรองหรืองานอดิเรก ตลอดจนพนักงานบริษัทหลายรายที่ยอมทิ้งเงินเดือนจำนวนมากกลับหวนสู่บ้านเกิดเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าเงินเดือนบริษัทที่เคยทำหลายเท่า บางคนมีความคุ้นเคยกับอาชีพนี้ เนื่องจากพ่อแม่เป็นเกษตรกร

แต่บางคนไม่มีพื้นฐานด้านเกษตรมาก่อนเลย ข้าราชการประจำและข้าราชการเกษียณแล้วมักเลือกพืชยืนต้น ซึ่งผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อนสามารถเพาะปลูกได้ จึงสนใจกับการทำสวนกันเป็นส่วนมาก เช่น ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนป่า สวนผลไม้ เป็นต้น

สวนผลไม้จะเลือกผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนสูงและทนทานไม่อ่อนบอบบางหรือต้องประคบประหงมอยู่ตลอด อย่างเช่น การทำสวนอินทผลัม สวนทุเรียน สวนเงาะ สวนลองกอง สวนมะม่วง เป็นต้นส่วนผลไม้ที่ต้องดูแลรักษามากหรือต้องคอยดูแลอยู่ใกล้ชิดตลอดมักไม่เลือกปลูกหรือปลูกกันน้อย เช่น ชมพู่ มะยงชิด เป็นต้น บางรายมีรายได้จากการทำสวนพอๆ กับเงินเดือนที่ได้รับหรือมากกว่า

มีข้าราชการตำรวจผู้หนึ่งเลือกปลูกฝรั่งเป็นงานรองจากงานประจำ โดยที่ตัวเองไม่มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรม มีเพียงแต่พ่อแม่ที่เป็นเกษตรกร ข้าราชการนายตำรวจหนุ่มผู้นี้ชื่อ พ.ต.ท. สัมฤทธิ์ นิธิธนาภักดี หรือ “สารวัตรยิ้ม” สังกัดกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด พื้นเพเป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรี แต่สนใจด้านเกษตรกรรม จึงได้ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรตามสถาบันการศึกษาเกษตร เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสวนผลไม้แปลงใหญ่อีกหลายแห่ง เป็นต้น ทั้งยังศึกษาเรียนรู้การเพาะปลูก การบำรุงดูแลรักษา การขยายพันธุ์พืชต่างๆ ด้วยตนเองจากโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลาย จนเกิดความเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติเองได้ ในความตั้งใจอยากจะทำการเกษตรเป็นอาชีพรองเพื่อหารายได้เสริม แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำสวนอะไร และจะเลือกปลูกพืชอะไร

จุดเริ่มต้นของฝรั่งกับสารวัตรยิ้ม เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เมื่อมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่สารวัตรยิ้มให้ความเคารพนับถือได้นำกิ่งพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวัน 2 กิ่ง มาฝาก ไม่ทราบชื่อว่าเป็นพันธุ์อะไร จึงได้ปลูกไว้ที่บ้านพักจังหวัดปทุมธานี ปลูกได้ 6 เดือน ก็ติดผลและให้ผลดกมาก มีทรงผลสวย ทรงรีไม่แป้น

หลังจากลองรับประทานแล้วเกิดความถูกอกถูกใจในรสชาติของมัน เนื้อกรอบ หวานพอประมาณ เป็นฝรั่งไส้แดงแปลกกว่าฝรั่งทั่วไป จึงเกิดความคิดที่ขยายพันธุ์ฝรั่งพันธุ์นี้อย่างจริงจัง โดยตั้งชื่อฝรั่งพันธุ์นี้ว่า “ชมพูพันทิพ”

ดังนั้น สารวัตรยิ้ม ได้ตัดสินใจเลือกเอาฝรั่งเป็นไม้ผลที่จะปลูกเป็นพืชหลักของการทำอาชีพเสริมนอกจากงานประจำ ทำเมื่อมีเวลาว่างและจะกลายเป็นธุรกิจหลักในอนาคตหลังการเกษียณอายุราชการได้ ที่ชื่นชอบฝรั่งก็เพราะว่าฝรั่งเป็นพืชที่คนไทยนิยมรับประทาน ฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ภายในปีเดียวก็ให้ผลผลิต ให้ผลได้ตลอดทั้งปี โรคแมลงรบกวนน้อย

คนไทยนิยมรับประทาน รสชาติอร่อยถูกปากคนไทย เป็นผลไม้ที่มีราคาไม่แพง ผู้มีรายได้น้อยสามารถหาซื้อมารับประทานได้ ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตลาดรับซื้อผลผลิตเปิดรับตลอด นอกจากรับประทานสดแล้วยังแปรรูปเป็นฝรั่งดองเพิ่มมูลค่าได้อีกเท่าตัว ตามรถเข็นขายผลไม้สดและผลไม้ดองทั่วประเทศจะขาดฝรั่งไปไม่ได้

แต่เนื่องจากที่ปทุมธานีถูกจำกัดด้วยพื้นที่ ไม่สามารถที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ จึงมาทำสวนฝรั่งอยู่ที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ใช้ชื่อว่า “สวนคุณระย้า” พื้นที่ปลูกมี 3 แปลง พื้นที่รวมประมาณ 8 ไร่ ได้แบ่งออกมาปลูกฝรั่งไต้หวันเพื่อเป็นสวนทดลอง จำนวน 1 ไร่

พื้นที่ที่เหลือปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้และผลไม้อื่นๆ ฝรั่งพันธุ์หลักที่ปลูกมีอยู่หลายสายพันธุ์ ฝรั่งพันธุ์ไต้หวัน ได้แก่ หงเป่าสือ 100 ต้น, ไข่มุกขาว (พันธุ์ใหม่) 50 ต้น, ชมพูพันทิพ (เจินจูหง) ประมาณ 200 ต้น และพันธุ์อื่นๆ อีกประมาณ 100 กว่าต้น เช่น สุ่ยมี่ (สายน้ำผึ้ง), ส๋วยจิน, เจินจู (ไข่มุก), ฮ่องเต้, หงซิน, ซีกัว (แตงโม) เป็นต้น ส่วนฝรั่งพันธุ์ไทย ได้แก่ ขาวเมืองชล, ขาวด่านช้าง และฝรั่งทดลองจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พันธุ์แม่โจ้ 342

การปลูกได้ขุดหลุมปลูก ขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยมูลสัตว์เก่า เป็นการปลูกแบบระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 2.5×2.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ปลายใบจะชนกันพอดี ปักไม้ยึดลำต้น ให้น้ำจนชุ่ม การให้น้ำ ได้วางหัวสปริงเกลอร์ไว้คลุมทั่วพื้นที่ ให้น้ำวันเว้นวัน ให้น้ำครั้งละประมาณ 30 นาที การให้ปุ๋ย ช่วงแรกๆ ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15

หลังจากปลูกได้ประมาณ 6 เดือน เริ่มออกดอก ช่วงแรกที่มีดอกติดให้เด็ดดอกทิ้ง เพื่อบำรุงต้น หลังจากนั้น จึงปล่อยให้ติดดอกและติดผล เมื่อผลมีขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท หรือนิ้วโป้งมือ จึงฉีดพ่นด้วยปิโตรออยล์หรือไวท์ออยล์และยาป้องกันเชื้อรา เลือกไว้ผลที่สวยเกลี้ยงเกลาปราศจากจุด รอยกระ รอยจากเพลี้ยไฟ ให้เจริญเติบโตต่อไป

จากนั้นเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตร 8-24-24 เพื่อเพิ่มขนาดผลและเรื่องความหวาน ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน เสริมด้วยแคลเซียม-โบรอน และปุ๋ยสูตร 0-0-50 ฉีดพ่นเพื่อเพิ่มความหวาน

การให้ปุ๋ยบำรุงต้นจะผสมกับสารชีวภาพ โดยนำ กากน้ำตาล อีเอ็ม และผลฝรั่งที่เสีย ผิวไม่สวยมาหมักแล้วฉีดพ่นและใส่บำรุงต้นด้วยแบบผสมผสาน ใส่มูลวัว, มูลหมู ใส่ปีละ 1 ครั้ง ก่อนฤดูฝน ใส่ไร่ละประมาณ 200 ถุงปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ใส่เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ หว่านรอบๆ ทรงพุ่ม ห่างโคนต้น 1 คืบ

การห่อ จะเลือกไว้ผลที่อยู่ด้านล่างเพียง 1 ผล ต่อกิ่ง แล้วห่อด้วยถุงพลาสติก และกระดาษป้องกันแสงแดดและแมลง

การตัดแต่งกิ่ง จะให้ทรงต้นเป็นแบบฝาชีหงาย (open center) ความสูงของต้นจะควบคุมเท่าระยะมือเอื้อมถึง โดยให้ขยายออกด้านข้าง ทำให้ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันที่โคนต้น โรคแมลงที่สำคัญ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน กำจัดด้วยสารเคมี ไวออยล์, มาลาไธออน, เซฟวิน 85 สลับการใช้ เพื่อกันการดื้อยา จะใช้เมื่อมีการระบาดหนักเท่านั้น (ตามอาการ)

หลังจากห่อผลได้ประมาณ 2 เดือนเศษ สามารถเก็บผลผลิตได้ เมื่อเก็บผลผลิตมาจะคัดเกรด เลือกผลที่สวยห่อด้วยตาข่ายโฟมพร้อมส่งจำหน่าย การจำหน่ายผลผลิต ผลฝรั่งชมพูพันทิพจะจัดส่งให้กับผู้ที่สั่งซื้อทางออนไลน์ทั่วประเทศ ขายกิโลกรัมละ 100 บาท ไม่รวมค่าส่ง และส่งให้ชิมพร้อมกิ่งพันธุ์ที่สั่งซื้อ

ฝรั่งชมพูพันทิพ หรือเจินจูหง ยิ่งนานวันยิ่งชื่นชอบ ติดใจรสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์ เกษตรกรน่าจะปลูกกัน เพื่อการขยายกิ่งพันธุ์ขาย และทำผลขาย ฝรั่งชมพูพันทิพได้กระจายไปทั่วประเทศ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

การทำงานกับสวนฝรั่ง ถ้ามีเวลาว่างจากงานประจำสารวัตรยิ้มจะมาประจำอยู่ที่สวนฝรั่งทั้งวันไม่ไปไหน จ้างคนงานไว้ 1 คน มีหน้าที่คอยดูแลเรื่องวัชพืช ถอนหญ้า ตัดหญ้าในสวน และงานทั่วไปๆ การให้น้ำไม่ยุ่งยาก ถ้าตนเองไม่อยู่ภรรยาจะเป็นคนทำแทนได้ เพียงแค่เปิดสวิตช์ไฟฟ้าระบบสูบน้ำจะทำงานเอง และให้น้ำได้ทั่วทั้งสวน

การขยายพันธุ์ฝรั่งนั้น สารวัตรยิ้มเป็นคนทำเองทั้งหมด ตั้งแต่ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด บางครั้งจะให้นักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัยที่อยู่ไม่ห่างกันมากมาช่วยในการทาบกิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการทาบกิ่งกับฝรั่ง เพราะจะได้ต้นที่แข็งแรงมีรากแก้ว อายุยืน หาอาหารเก่ง ใช้การทาบกิ่งเช่นเดียวกับการทาบกิ่งมะม่วง ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับชาวสวนไทยที่ไม่ค่อยทำกันกับการทาบกิ่งฝรั่ง

“ปกติจะตอนกิ่งฝรั่งกันเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลที่ต้องทาบกิ่งฝรั่ง เพราะว่าฝรั่งสายพันธุ์ไต้หวันออกรากช้ามาก หากใช้วิธีการตอนกิ่งจะใช้เวลา 3-5 เดือน จึงจะได้ตัดกิ่ง ส่วนการทาบกิ่งใช้เวลาประมาณเดือนกว่า การทาบกิ่งมีแบบการทาบด้วยถุงเดิมหรือแขวนตุ้ม จะใช้ต้นตอจากถุงเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนถุง ซึ่งจะต้องทำนั่งร้านไว้ผูกเชือกห้อยแขวน เนื่องจากถุงมีน้ำหนักมาก มีข้อดีคือ หลังจากตัดลงมาแล้วไม่ต้องเปลี่ยนถุงใหม่ การพักฟื้นตัวน้อยหรือพร้อมจำหน่ายได้เลยกับการทาบด้วยต้นตอเปลี่ยนถุงล้างรากใส่ขุยมะพร้าวแทนดินเดิมเหมือนกับมะม่วง แบบนี้น้ำหนักถุงจะเบากว่ามาก จึงไม่จำเป็นต้องทำนั่งร้าน ถุงที่ใส่มีขนาดใหญ่กว่าถุงมะม่วง แต่หลังจากตัดจากต้นมาแล้วต้องเอาลงมาใส่ถุงใหม่ ฝรั่งมีกิ่งเปราะมักหักง่ายเมื่อถูกลมพัด การทาบกิ่งที่ใหญ่ควรหาไม้มาดามพยุงกิ่งไม่ให้กิ่งหัก เพราะแผลใหญ่กว่าการตอน”

ราคากิ่งพันธุ์ขึ้นอยู่กับความนิยม เช่น สุ่ยมี่ 150 บาท พันธุ์ไทยหายาก 200 บาท ส่วนพันธุ์ที่นิยมในขณะนี้อย่างหงเป่าสือ ราคาสูงสุด 500 บาท มีชาวต่างประเทศ อย่างเช่น ลาว เขมร อินเดีย ยุโรป และตะวันออกกลาง ติดต่อเข้ามาตลอด แต่ยังไม่ได้ตอบรับเนื่องจากภาษาอังกฤษในการสื่อสารยังไม่แข็งแรงจึงเป็นอุปสรรคในการสื่อสาร ทุกวันนี้ตลาดน้ำในเมืองไทยหลายแห่งยังไม่มีผลผลิตป้อนให้ อนาคตถ้าตลาดกิ่งพันธุ์ถึงทางตันก็จะทำแต่ผลขาย

การเกิดฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ที่สวนคุณระย้าของสารวัตรยิ้ม เนื่องจากมีคนรู้จักกันผู้หนึ่งได้ส่งเมล็ดฝรั่งไต้หวันจากไต้หวันหลายพันธุ์มาให้สารวัตรยิ้ม บอกชื่อพันธุ์เป็นภาษาจีนทำให้ลำบากต่อการแปล เมื่อฝรั่งให้ผลผลิตแล้วต้องใช้การเปรียบเทียบผลทางอินเตอร์เน็ตว่าใกล้เคียงกับพันธุ์ใด และข้อเสียของการเพาะเมล็ดที่ได้รับจะเกิดความหลากหลายของสีใบในฝรั่งผลหนึ่งๆ เนื่องจากเป็นพันธุ์ลูกผสมหลายสายพันธุ์ ทำให้สายพันธุ์จึงยังไม่นิ่ง มักได้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นแม่ ซึ่งเป็นไปได้ 2 ทาง คือ ได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะดี และได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะไม่ดี

ฝรั่งไต้หวันให้ผลเร็ว จึงทราบผลว่า ต้นไหนดี หรือไม่ดี เร็วเช่นกัน สามารถคัดเลือกเอาต้นที่มีลักษณะดีเอาไว้ได้ก่อน ทำให้เกิดฝรั่งใหม่ๆ ขึ้นมาจากการกลายพันธุ์และความแปรปรวนทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ ฝรั่งพันธุ์ใหม่ที่ได้เช่น ฝรั่งขาวด่านช้าง เกิดจากการเพาะเมล็ดที่สวน มีฝรั่งพันธุ์ขาวเมืองชลแม่เกิดการผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ แต่ลักษณะที่ได้ไม่เหมือนกับต้นแม่ขาวเมืองชล ฝรั่งขาวด่านช้างมีผลกลม รสชาติหวาน กรอบ อร่อย

ปัจจุบัน การจำหน่ายกิ่งพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวันพันธุ์ใหม่ๆ ในราคาแพงเริ่มพบกับคู่แข่งที่ได้เปรียบเรื่องราคาที่ถูกกว่ามาก เส้นทางการจำหน่ายกิ่งพันธุ์ฝรั่งไต้หวันพันธุ์ใหม่ เส้นทางเริ่มแคบลงเรื่อยๆ ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยสั่งกิ่งพันธุ์ฝรั่งไต้หวันชักจะลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ว่า ยังจะสั่งกิ่งพันธุ์ฝรั่งจากไต้หวันราคาสูงต่อไปอีกหรือไม่

เพราะมีผู้สั่งกิ่งผลไม้ ไม้ดอก จากจีนผืนแผ่นดินใหญ่เข้ามากันเป็นตู้คอนเทนเนอร์ เที่ยวละจำนวนมากและขายกิ่งพันธุ์ฝรั่งในราคาที่ถูกมากๆ ชาวจีนผืนแผ่นดินใหญ่กับชาวไต้หวันเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวก เมื่อชาวจีนผืนแผ่นดินใหญ่ได้กิ่งพันธุ์ใหม่จากไต้หวันไปก็จะขยายพันธุ์ได้ครั้งละมากๆ

ส่วนไต้หวันเองนำกิ่งพันธุ์ไม้จากจีนผืนแผ่นดินใหญ่เข้าไปก็เพื่อนำไปปรับปรุงพันธุ์ให้เกิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา แต่สำหรับลุงเล็ก (เสน่ห์ ลมสถิตย์) พ่อค้าขายกิ่งพันธุ์มะม่วง ฝรั่ง แห่งสวนไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี บอกว่าไม่กระทบกระเทือนต่อการขายกิ่งพันธุ์ของแก เพราะกิ่งพันธุ์ฝรั่งของแกมีคุณภาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง กิ่งใหญ่ พร้อมปลูกได้ทันทีโดยไม่ตาย

ส่วนกิ่งพันธุ์จากจีนผืนแผ่นดินใหญ่มักเป็นกิ่งเสียบยอดกับต้นเล็กและถูกตัดยอดออกสภาพไม่แข็งแรง อ่อนแอ ต้องใช้เวลาพักฟื้นตัวนาน เช่นเดียวกับการจำหน่ายกิ่งพันธุ์ฝรั่งสวนคุณระย้าของสารวัตรยิ้มที่เน้นคุณภาพต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ถูกต้องตรงตามสายพันธุ์ จึงไม่กระทบกระเทือนเช่นกัน

สารวัตรยิ้มได้สอนวิธีการบำรุงดูแลรักษาฝรั่ง การขยายพันธุ์ฝรั่ง ผ่านทางโซเชี่ยลมีเดียยูทูบ ทั้งยังบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้กับสังคม เช่น มอบของขวัญในวันเด็กและของใช้อื่นๆ ในวันสำคัญ มอบกิ่งพันธุ์ฝรั่งให้กับสถานศึกษาและวัด

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการขยายพันธุ์ มักเกิดจากต้นตอใช้ทาบกิ่งค่อนข้างหายาก ต้นตอจะต้องเป็นต้นตอที่แข็งแรง ต้านทานต่อโรค โดยเฉพาะต้องต้านทานต่อไส้เดือนฝอย จึงหาต้นตอที่มีลักษณะดังกล่าวยาก แต่พอหาซื้อต้นตอสายพันธุ์ดีนี้ได้จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นตอฝรั่งสายพันธุ์โอกินนาว่า ของญี่ปุ่น ที่มีคุณสมบัติ ทนทานต่อโรค ต้านทานต่อไส้เดือนฝอย

สารวัตรยิ้ม คลุกคลีอยู่กับฝรั่งมาร่วม 10 ปี จนมีประสบการณ์สูง เว็บคาสิโนออนไลน์ สามารถเพาะขยายพันธุ์ฝรั่งได้อย่างชำนาญ จัดเป็นผู้มีความรู้เรื่องฝรั่งในระดับหนึ่ง สวนฝรั่งคุณระย้า ของสารวัตรยิ้ม อยู่ในอำเภอสวรรคโลก (ติดพิพิธภัณฑ์สวรรคโลก) จังหวัดสุโขทัย ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ (091) 951-1191 หรือที่ เฟซบุ๊ก สวนฝรั่งคุณระย้า

ทุกวันนี้ เมืองไทยมีคนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 15-60 ปี) มากถึง 819,550 คน (เฉพาะที่ลงทะเบียน กับหน่วยงานภาครัฐ (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ในเดือนกันยายน 2560คนพิการส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในภาคชนบท ทำอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง

ส่วนคนพิการในวัยทำงานที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพมีมากถึงร้อยละ 40.31 หรือประมาณ 330,339 คน พวกเขาเหล่านี้ ไม่ใช่ภาระสังคม แค่ช่วยเหลือให้พวกเขามีอาชีพ มีรายได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ คนพิการกลุ่มนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมได้เช่นกัน

อบรมอาชีพเกษตรกรรม ให้คนพิการทำงานสู้ชีวิต

ปี 2560 มีคนพิการที่จดทะเบียนและสามารถทำงานได้ แต่ไม่มีงานทำ 455,990 คน เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือและสิทธิพื้นฐานตามที่รัฐจัดให้ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ในฐานะประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จึงเกิดแนวคิดจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” ที่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดูแลคนพิการอย่างครบวงจรและยั่งยืน

ทางศูนย์ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรมที่เหมาะสำหรับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเห็ด การเลี้ยงจิ้งหรีด และการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจาก 3 อาชีพ ดังกล่าว ใช้พื้นที่น้อย ใช้น้ำน้อย ทำที่บ้านได้ คนพิการสามารถดูแลได้ง่าย มีรอบรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ใช้เงินลงทุนต่ำ ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ขายได้จริง เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมีช่องทางการจัดจำหน่ายระยะยาว