เกษตรกรจะปรับตัวเข้าสู่สวนยาง 4.0 ได้อย่างไร

ในฉบับนี้ ขอเก็บตกการจัดงาน “วันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2560” อีกครั้งหนึ่ง เพราะแต่ละโซนมีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยเฉพาะเวทีเสวนา ที่อัดแน่นด้วยสาระความรู้ เพื่อถ่ายทอดแนวทางการเพิ่มผลผลิตและรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของการจัดงานครั้งนี้ ก็คือ ช่วง Special Talk ฉลองครบรอบ 30 ปี ของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้จัดเวทีเสวนา ในหัวข้อ “เกษตรกรจะปรับตัวเข้าสู่สวนยาง 4.0 ได้อย่างไร” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คุณศิริชัย ศรีสุธรรม บริษัท เซาท์แลนด์รีซอร์ซ จำกัด และ คุณสงกรานต์ คำพิไสย์ เกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬ

มาตรการเชิงรุก “ไทยแลนด์ ยุค 4.0”

คุณเชาว์ รองผู้อำนวยการ กยท. กล่าวว่า เมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตสินค้าเกษตรใช้ในประเทศเป็นหลัก (ไทยแลนด์ ยุค 1.0) เมื่อนำสินค้าเกษตรมาแปรรูปสู่อุตสาหกรรมเบา (ไทยแลนด์ ยุค 2.0) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เมื่อไทยพัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรมหนัก ผลิตสินค้าป้อนตลาดส่งออก (ไทยแลนด์ ยุค 3.0) เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็กกล้า รถยนต์ ฯลฯ

ปัจจุบัน ทั่วโลกตั้งเป้าพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุค 4.0 โดยใช้นวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางพารามากเป็น อันดับ 1 ของโลก ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โดย ร้อยละ 86 ส่งออกยางในรูปวัตถุดิบประเภทยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง STR หรือน้ำยางข้น จำนวน 3.7 ล้านตัน ต่อปี สร้างรายได้เข้าประเทศ 1.7 แสนล้านบาท ต่อปี และแปรรูปยางพาราสำหรับใช้ภายในประเทศ แค่ร้อยละ 14 คิดเป็นมูลค่า 2.3 แสนล้านบาท ต่อปี ถือว่าสร้างมูลค่าทางการค้าสูงกว่าการส่งวัตถุดิบไปขายต่างประเทศเสียอีก

รัฐบาลเร่งปรับปรุงโครงสร้างยางพาราของไทยเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค “นโยบายไทยแลนด์ 4.0” อย่างชัดเจน ตั้งแต่ ปี 2559 เป็นต้นมา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยมุ่งส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 1 แสนตัน โดยมอบหมายให้ กยท. เปิดจุดรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรในราคาชี้นำตลาด ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพ ชั้น 3 รับซื้อในราคา 45 บาท ต่อกิโลกรัม หลังจากเปิดซื้อยางได้แค่ 2,892 ตัน ก็ฉุดราคายางภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม กิโลกรัมละ 33 บาท เป็น 50 กว่าบาท

ในปี 2560 ภาครัฐเร่งสานต่อโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยสำรวจความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ พบว่ามีปริมาณความต้องการใช้ยางกว่า 5,800 ตัน เช่น โครงการล้อยางประชารัฐ

จังหวัดบึงกาฬ ถือว่าโชคดี เพราะเกิดความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน เครือมติชน องค์กรต่างประเทศ และรัฐบาลไทย ในการเดินหน้าจัดงาน “วันยางพาราจังหวัดบึงกาฬ” อย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 5 ตอกย้ำความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของจังหวัดบึงกาฬ ในวันนี้จังหวัดบึงกาฬได้เปรียบในเชิงปริมาณ เพราะมีเนื้อที่ปลูกยางพาราทั้งจังหวัด ประมาณ 1.2 ล้านไร่ ถือว่ามีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดในภาคอีสาน และมากกว่าบางจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดบึงกาฬได้พัฒนายางพาราเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มตัว เพราะได้รับงบฯ

สนับสนุนจากรัฐบาล 193 ล้านบาท สำหรับจัดสร้างโรงงานผลิตหมอนยางพารา เพื่อเป็นโรงงานต้นแบบรับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรชาวสวนยาง เข้าสู่กระบวนการแปรรูปหมอนยางและผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ และจับมือกับเอกชนต่างชาติ เพื่อพัฒนาตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง นับเป็นความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องเกษตรกร เอกชน รัฐบาล ในการผลักดันโครงการประชารัฐด้านยางพาราได้ก้าวหน้ากว่าใคร นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs BANK) ประกาศให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในกิจการยางพาราแก่สถาบันเกษตรกร ในอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1 และหากลงทุนซื้อเครื่องจักร คิดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ แค่ร้อยละ 4 เท่านั้น เพื่อช่วยให้กิจการแปรรูปยางพาราของสถาบันเกษตรกรเติบโตได้อย่างเข้มแข็งในอนาคต

กยท. เตรียมจัดทำโครงการ “ล้อยางประชารัฐ” โดยเรียนลัดเรื่องการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางล้อรถยนต์ของภาคเอกชนไทย คือ บริษัท ดีสโตน โดย กยท. ทำหน้าที่รวบรวมยางพาราที่ได้มาตรฐาน จีเอ็มพี จากสถาบันเกษตรกร ให้ดีสโตนนำไปแปรรูปเป็นล้อยางรถยนต์ประเภทต่างๆ เช่น รถบรรทุกสิบล้อ รถบรรทุกหกล้อ รถกระบะ รวมทั้งรถจักรยานยนต์สำหรับจำหน่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐทั่วประเทศผ่านระบบกลไกของ กยท. แต่ละจังหวัด และจัดโครงการนำร่องยางล้อ จับมือกับสหกรณ์แท็กซี่ จำหน่ายยางล้อราคาถูก เพียงเส้นละพันกว่าบาท เมื่อเทียบกับราคาท้องตลาดที่ขายในราคาเส้นละสองพันบาท

นอกจากนี้ กยท. วางแผนส่งเสริมให้สหกรณ์ชาวสวนยางหลายแห่ง ในพื้นที่ภาคใต้ เช่น สตูล ปัตตานี ผลิตยางแผ่นปูพื้น ที่ได้มาตรฐาน มอก. ออกจำหน่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น

เกษตรกรตื่นตัวเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่

ด้าน คุณสงกรานต์ ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬ ได้กล่าวว่า ในอดีตเกษตรกรชาวสวนยางอาศัยการเรียนรู้เรื่องยางพาราจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น กยท. แต่ทุกวันนี้ เกษตรกรอาศัยการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน เช่นเดียวกับคณะกรรมการกองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จะเช็กราคาประมูลยางในตลาดกลางฯ จากระบบไลน์ หรือ ยูทูบ บนมือถือในแต่ละวัน

เดิมทีเกษตรกรปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 และยางพันธุ์ RRIT 251 ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ กยท. เพราะต้นยางทั้งสองสายพันธุ์ ปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีกับสภาพพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่วันนี้เกษตรกรชาวสวนยางหลายคนนิยมนำกล้ายางพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาทดลองปลูกในแปลงสวนยางของตัวเอง เช่น กล้ายางพันธุ์ลุงขำ กล้ายางพันธุ์ 600 ยอดดำ ของมาเลเซีย เข้ามาทดลองปลูก เช่นเดียวกับเรื่องปุ๋ย จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกวันนี้เจอปัญหาปุ๋ยแพง เกษตรกรก็เรียนรู้จากโฆษณาและทดลองซื้อปุ๋ยสูตรผสมมาทดลองใช้แทน

สมัยก่อนราคายางดี 60-70 บาท ต่อกิโลกรัม สามารถแบ่งสัดส่วนรายได้ระหว่างคนกรีดยางและเจ้าของสวนยาง ในอัตรา 40:60 ระยะหลังเจอปัญหาราคายางตกต่ำ ก็ปรับสัดส่วนรายได้กันใหม่ เป็น 50:50 ค่าปุ๋ย ค่ายา เจ้าของสวนยางเป็นผู้รับผิดชอบเหมือนเดิม แต่ในวันนี้ ขี้ยางขายได้แค่กิโลกรัมละ 12-13 บาท รายได้น้อยลง คนที่เคยรับจ้างกรีดยาง ก็เลิกอาชีพกันไปหมด เพราะรายได้น้อย ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว เจ้าของสวนต้องมาลงมือกรีดยางเอง จึงอยากได้นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยทำงานกรีดยาง

การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬในปีนี้ พอมีข่าวโฆษณาว่า มีเครื่องกรีดยางจากจีนมาโชว์ในงานวันยางพาราบึงกาฬ เพื่อนเกษตรกรก็โทร.ถามผมกันใหญ่ เพราะสนใจอยากซื้อเครื่องกรีดยางไปใช้ในสวนยางของตัวเอง แม้เครื่องกรีดยางจะมีราคาสูงถึงตัวละ 4,000-5,000 บาท แต่เกษตรกรชาวสวนยางก็พร้อมที่จะลงทุน เพราะคิดว่าลงทุนแพงหน่อย แต่คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่ได้รับ

เกษตรกรหลายรายยังห่วงกังวลกับปัญหาราคายางพารา ผมเชื่อว่าหากรัฐบาลประกาศนโยบายผลักดันการใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากขึ้น จาก 16% เป็น 20% และเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 5% ผมมั่นใจว่า ราคายางภายในประเทศของไทยจะปรับตัวดีขึ้นอย่างแน่นอน

ปัญหายางปลอม ทำลายความเชื่อมั่นตลาด

ด้าน คุณศิริชัย ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนผู้ค้ายางพารา กล่าวว่า บริษัท เซาท์แลนด์ฯ มีฐานการผลิตอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันได้ขยายกิจการมาลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง ที่จังหวัดบึงกาฬ เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตยางพาราขนาดใหญ่สุดในพื้นที่ภาคอีสาน โดยทั่วไปต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อต้นยางอายุ 5-6 ปี ก็สามารถเปิดกรีดยางได้แล้ว แต่สวนยางในพื้นที่ภาคอีสาน ต้องปล่อยให้ต้นยางมีอายุสัก 8-9 ปีก่อน จึงเริ่มเปิดกรีดยางได้ ผลิตภัณฑ์ยางก้อนถ้วยของจังหวัดบึงกาฬถือว่า เนื้อยางสะอาดและมีคุณภาพดี แต่คุณสมบัติเนื้อยางยังไม่ดีเท่ากับต้นยางที่ปลูกในภาคใต้

โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมใส่ถุงมือยางสำหรับเก็บยางก้อนถ้วย ระยะหลังทางโรงงานตรวจสอบพบว่า มีเศษถุงมือยางปนเข้ามาในยางก้อนถ้วย ทำให้ไม่สามารถส่งออกยางล็อตนั้นได้ เพราะถุงมือยาง ยางรัดของ ฯลฯ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ยางตาย ที่ผ่านการแปรรูปมาแล้ว ไม่สามารถผสมในยางแท่งสำหรับผลิตยางล้อรถยนต์ เพราะจะทำให้ยางล้อระเบิดได้

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ทางโรงงานไม่ค่อยเจอปัญหาเศษถุงมือยางปนในยางก้อนถ้วย แต่ระยะหลังเจอปัญหานี้บ่อยมาก ทางโรงงานจึงขอความร่วมมือจากเกษตรกร ระมัดระวังอย่าให้เศษถุงมือยางปะปนในยางก้อนถ้วยอย่างเด็ดขาด หากยางไม่ได้มาตรฐาน ผู้นำเข้าปฏิเสธคำสั่งซื้อยางจากเมืองไทย ทำให้ยางไทยเสียชื่อเสียงแล้ว ท้ายสุดแล้ว ตัวเกษตรกรชาวสวนยางเองก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะขายยางไม่ได้ ปัจจุบันทางโรงงานลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพปลอมปนในจังหวัดบึงกาฬ เพื่อคัดยางเนื้อสะอาดให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น

สมัยก่อน โรงงานผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ เช่น บริดจสโตน มิชลิน ฯลฯ รับซื้อยางแผ่นรมควัน ประมาณ 70% และยางแท่ง 30% เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานผลิตยางล้อรถยนต์ แต่ทุกวันนี้ความต้องการของตลาดเปลี่ยนไป ลูกค้าต้องการซื้อยางแท่งเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 70% และซื้อยางแผ่นรมควันลดลงเหลือแค่ 30% เพราะเทคโนโลยีการผลิตยางแท่งสามารถคัดกรองยางสกปรกให้มีคุณภาพดี สะอาดขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางแท่ง มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

การปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะได้อาหารสะอาด ปลอดภัย ลดค่าใช้จ่าย แถมได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย เริ่มแรก ควรเลือกพืชผักที่ปลูกง่าย ได้ผลเร็ว เช่น ผักบุ้ง ผักชี กระเพรา โหระพา ผักกาดกวางตุ้ง เป็นตัวอย่าง ถ้าในช่วงฤดูหนาว อาจเป็นผักกาดขาว หรือผักสลัดก็ได้ เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องใหม่ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ภาชนะปลูกมีให้เลือกได้หลายแบบ ถ้าต้องการให้สวยงาม ทำรางยกระดับเป็นชั้นด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือแคร่ไม้ไผ่กรุภายในด้วยผ้าพลาสติกสีดำ ทะลวงก้นให้ระบายน้ำได้ดี

หรือปลูกในกระถาง หรือกะละมังเจาะก้น เลือกได้ตามความต้องการ ดินปลูกต้องร่วนซุย เก็บความชื้นได้พอเหมาะ และระบายน้ำได้ดี ตัวอย่าง ใช้ดินร่วน กาบมะพร้าวสับหรือแกลบดิบ และปุ๋ยคอกเก่า ในอัตรา 3 : 1 : 0.5 ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้หากสามารถหาวัสดุอื่นๆ ได้ง่าย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในภาชนะปลูก ปรับผิวให้เรียบ หว่านเมล็ดบางๆ ให้ทั่ว กลบด้วยวัสดุปลูกชนิดเดียวกัน ให้กลบเมล็ดแล้วรดน้ำตาม พืชผักบางชนิดอาจจำเป็นต้องเพาะให้งอกก่อน โตพอประมาณแล้วจึงย้ายปลูก เช่น ผักกาดชนิดต่างๆ ในกรณีที่บริเวณบ้านมีหอยทาก หรือมดแดง มีจำนวนมาก หล่อขาชั้นปลูก หรือกระถาง หรือโรยด้วยปูนขาวบางๆ ให้รอบ จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง ในช่วงอากาศร้อนจัดต้องพลางแสงด้วยซาแรนสีดำให้บ้าง หากใช้น้ำประปารด ต้องรองใส่ตุ่มหรือโอ่ง ทิ้งไว้ 2-3 วัน ให้คลอรีนระเหยก่อนนำไปรดต้นไม้

ศัตรูสำคัญของผักสวนครัวคือ หนอนกินใบ กับหนอนชอนใบ ป้องกันกำจัดด้วยน้ำยาฉุนผสมเหล้าขาว ตามที่ผมเคยแนะนำไว้ก่อนแล้ว เมื่อพบแมลงเข้าทำลายให้ฉีดทุกๆ 3 วัน จนครบ 3-4 ครั้ง การระบาดจะหมดไป ถ้าต้องการให้ต้นไม้งามมากขึ้น ละลายปุ๋ยยูเรียในน้ำเจือจาง รดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ 2-3 ครั้ง จะได้ผักสวนครัวสดใสสวยงามสมดังตั้งใจครับ

พริก สายพันธุ์กรีนฮอท 100 TA231 เป็นพริกสายพันธุ์ที่มีผลสีเขียวเข้ม เหมาะกับการเก็บจำหน่ายตลาดที่เน้นเก็บพริกขี้หนูสีเขียว ซึ่งตรงกับความต้องการของแม่ค้าในตลาดเขตภาคกลางและภาคใต้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีผลดกมาก เก็บเกี่ยวได้ง่าย ขั้วไม่เหนียว ทนโรคได้ดี แตกแขนงดี ทรงพุ่มกว้าง ทรงผลตรงสวย ไม่งอ ทนไวรัสใบด่าง เมล็ดยาวใหญ่ 6-7 เซนติเมตร ตรงตามลักษณะที่เกษตรกรผู้ปลูกต้องการอีกเช่นกัน

คุณประสิทธิ อินทร์ขำ อยู่บ้านเลขที่ 122/1 หมู่ที่ 8 ตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โทร. (088) 158-2001 เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกพริกกรีนฮอทมากที่สุดคนหนึ่ง

คุณประสิทธิ เล่าว่า ตนเริ่มมาประกอบอาชีพปลูกพริก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ร่วม 20 ปีมาแล้ว โดยปลูกพริกปีละ 2 รุ่น จะปลูกช่วงเดือนมีนาคมและพฤศจิกายน ปลูกครั้งละ 5-10 ไร่ ซึ่งสายพันธุ์หลักที่ตนปลูก จะเป็นพริกสายพันธุ์กรีนฮอท 100 TA231 ของ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เนื่องจากอายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ ติดผลง่าย ติดผลดกมาก ทนโรคไวรัสใบด่าง ข้อสั้น แตกแขนงดี และมีทรงพุ่มกว้าง เก็บได้หลายครั้ง ใช้เงินลงทุนต่ำ ค่าเมล็ด 1 กระป๋อง ปลูกได้ 2 ไร่ ราคากระป๋องละ 1,000 บาท เท่านั้น

การปลูกและการเตรียมแปลง

คุณประสิทธิ บอกว่า ในเขตพื้นที่ตำบลวังหามแห เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกพริกอยู่แล้ว เพราะบริเวณโดยรอบจะมีสภาพพื้นดินเป็นดินเหนียว ร่วนปนทราย ส่วนขั้นตอนการเตรียมแปลงคือ ให้ไถพลิกหน้าดินทิ้งไว้ 7-10 วัน จากนั้นนำปุ๋ยคอกมูลไก่หว่านให้ทั่วแปลง ในอัตรา 100 กระสอบ ต่อไร่ หรือ 1.5-2 ตัน ต่อไร่

ระยะห่างระหว่างร่อง 1.20 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 60 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 25 ถาด ถาดละ 104 หลุม ดังนั้น ปลูกพริก 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 2,500 ต้น

วิธีการเพาะกล้า

นำเมล็ดพริกมาแช่ในน้ำ เป็นเวลา 30 นาที
เพาะกล้าพริกในถาดหลุม 104 หลุม จิ้มหลุมละ 2 เมล็ด
เมื่อกล้าอายุ 35-40 วัน ย้ายปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
หลังย้ายปลูก 7-10 วัน เริ่มให้ปุ๋ย โดยให้ผ่านทางน้ำหยด สูตรปุ๋ย 15-15-15 ให้ปุ๋ยทุกๆ 7 วัน
หลังย้ายปลูกได้ 30 วัน พริกจะเริ่มติดดอก ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 8-24-24 ให้ปุ๋ยทุกๆ 7 วัน
หลังติดดอก 16-18 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และจะเก็บผลผลิตต่อเนื่องทุกๆ 16-18 วัน
คุณประสิทธิ บอกว่า ผลผลิตที่ได้ เฉลี่ย 4-5 ตัน ต่อไร่ โดยเก็บเป็นพริกขี้หนูเขียวเป็นหลัก อย่างรุ่นที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ขณะนี้ ปลูกจำนวน 5 ไร่ เก็บเกี่ยวได้ ครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเก็บได้ 2.5 ตัน และรอบที่ 2 ได้ 7.7 ตัน ในขณะที่ต้นยังมีความสมบูรณ์มาก และคาดว่าน่าจะเก็บได้อีกไม่ต่ำกว่า 4-6 รอบ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาถ้าเป็นสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยปลูกมาไม่เคยที่จะได้ผลผลิตมากขนาดนี้มาก่อนเลย

ที่สวนของคุณประสิทธิจะให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำเช้า-เย็น สาเหตุที่เลือกใช้ระบบน้ำหยดคือ เป็นระเบียบ และง่ายต่อการทำสวนกว่าระบบสปริงเกลอร์

การตลาด

คุณประสิทธิ บอกว่า การตลาดไม่ใช่ปัญหาสำหรับเขา เพราะที่สวนมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ แต่ใช่ว่าจะปลูกยังไงก็ได้ คือต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพเป็นสำคัญ ถ้าเรารักษาหลักตรงนี้ได้ เราก็จะขายได้ เพราะใครก็ต้องอยากได้สินค้าที่มีคุณภาพ และสวยงาม ซึ่งตัวเกษตรกรสามารถทำตอบโจทย์ให้พ่อค้าได้ เพราะฉะนั้นเรื่องการตลาดสำหรับผมไม่มีปัญหา

คุณตรีชัย ตระการเดช (เฮียจุ้ย)

เถ้าแก่ผู้รับซื้อพริกขี้หนูและรวบรวมส่งขายในตลาด

คุณตรีชัย ตระการเดช-เฮียจุ้ย เริ่มทำธุรกิจพริกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เดิมทีใช้พริกพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปในท้องถิ่น แต่มีปัญหาเรื่องคุณภาพที่ไม่แน่นอน และให้ผลผลิตต่ำ ต่อมาจึงได้ลองหาซื้อเมล็ดพริกสายพันธุ์ลูกผสมจากร้านค้าทั่วไปมาทดสอบปลูกในพื้นที่ ก็พบว่าผลผลิตที่ออกมามีลักษณะที่ดีมากขึ้นกว่าพันธุ์พื้นเมือง แต่สายพันธุ์ที่ได้มาก็ยังไม่ตรงกับความต้องการของแม่ค้าและเกษตรกรเท่าที่ควร จนได้รู้จักสายพันธุ์ของ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด มาเมื่อ 5-6 ปีก่อน โดยเริ่มแรกได้สั่งซื้อเมล็ดพริกสายพันธุ์เรดฮอท TA100 มาทดสอบปลูก โดยสายพันธุ์เรดฮอท TA100 มีจุดเด่นที่ติดผลดกมาก ให้ผลผลิตสูง ทนโรค ผลตรง ไม่งอ เด็ดง่าย เก็บเกี่ยวได้เร็ว สีผลสุกแดงสดเหมาะสำหรับเก็บแดง ซึ่งได้รับความนิยมในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ต่อมาทางเฮียจุ้ยได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานการปรับปรุงพันธุ์และเช็กสายพันธุ์พริกของ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ที่สถานีวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยในครั้งนั้นได้เลือกสายพันธุ์พริกไว้ 1 เบอร์ และได้นำเมล็ดตัวอย่างมาทดลองปลูกในพื้นที่เขตจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้ผลการทดสอบออกมาอย่างดีเยี่ยม จนทุกวันนี้ทาง บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ได้นำสายพันธุ์พริกดังกล่าวตั้งชื่อเป็น พริกขี้หนูพันธุ์กรีนฮอท 100 TA231 ปัจจุบันทางเฮียจุ้ยมีเกษตรกรสมาชิก ประมาณ 35-40 คน พื้นที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 200-250 ไร่ ผลผลิตส่งขายตลาดค้าส่งในเขตจังหวัดนครปฐม สนใจสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ ติดต่อได้ที่ โทร. (081) 324-5212 ตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

ฝากเกษตรกรที่เริ่มปลูก

“ขั้นแรกต้องเตรียมดินให้ดี พันธุ์ก็ต้องดีด้วย ต้องหาพันธุ์ที่เชื่อถือได้ การดูแลต้องดี น้ำต้องไม่ขาด เพราะพริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำ และผมอยากแนะนำให้เกษตรกรทุกท่านลองมาปลูกพริกพันธุ์กรีนฮอทครับ ดก ผมการันตีได้เลยว่าดกกว่าทุกพันธุ์ครับ” คุณประสิทธิ กล่าว

หากท่านใดสนใจ อยากปลูกพริกสายพันธุ์กรีนฮอท ติดต่อขอข้อมูล ความรู้ในการปลูก ได้ที่ คุณประสิทธิ อินทร์ขำ ยินดีให้คำปรึกษา โทร. (088) 158-2001

คุณสมพรชัย องอาจ อยู่บ้านเลขที่ 280 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เล่าให้ฟังว่า เป็นคนที่ชอบทำเกษตรมาตั้งแต่สมัยเด็ก ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็จะทำเรื่อยๆ แบบทีละเล็กละน้อย ต่อมาเมื่อเข้าสู่ชีวิตคู่จึงได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครปฐมกับภรรยา ก็จะประกอบอาชีพเพาะเห็ด เลี้ยงกบ และตลาดจนการปลูกไม้ผลต่างๆ ไปด้วย

“ช่วงนั้นก็ไปอยู่ที่นครปฐมก่อน เราก็จะไปปลูกพวกไม้ผลต่างๆ เอาไว้ ต่อมาก็ผลิตกิ่งพันธุ์ขาย ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ม่อนเบอรี่ หน่อกล้วยทำหมด คราวนี้พอช่วงที่บึงกาฬเริ่มมีการปลูกยางพารามากขึ้น ก็เลยย้ายมาอยู่ที่บ้านเกิด ซึ่งบริเวณรอบบ้านมันจะมีพื้นที่อยู่ประมาณ 1 ไร่ เราก็คิดว่า ต้องหาอะไรมาทำให้เกิดประโยชน์ และสร้างเงินให้เราให้ได้ ก็ทำแบบผสมผสานไปเลยน่าจะดี” คุณสมพรชัย กล่าว

เนื่องจากพื้นที่บ้านของเขาไม่สามารถที่จะทำบ่อสำหรับเลี้ยงปลาได้ เขาจึงได้เลือกเลี้ยงกบแทน โดยนำกบที่อยากเลี้ยงมาออกแบบให้อยู่ในกระชังบก ที่การเลี้ยงไม่มีอะไรยุ่งยากเพียงแค่ใส่น้ำนิดหน่อย และที่สำคัญกระชังบกยังประหยัดเนื้อที่ให้พอมีพื้นที่ว่างปลูกพื้นชนิดอื่นได้อีกด้วย

ซึ่งพืชที่ปลูกบริเวณบ้าน คุณสมพรชัย บอกว่า จะเลือกที่ให้ผลผลิตได้ไว ไม่ว่าจะเป็นมะเขือ พริก ถั่วฝักยาว มะม่วง มะนาว กล้วย และม่อนเบอรี่ โดยไม้ผลที่ปลูกไว้จะเป็นพันธุ์ดีที่ไปหาจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาปลูกให้มีอายุที่เหมาะสม จากนั้นก็จะทำการตอนกิ่งเพื่อขายกิ่งให้กับเกษตรกรที่สนใจซื้อไปปลูกต่อไป

“การเกษตรยิ่งทำยิ่งสนุก ยิ่งคิดยิ่งได้เงิน ผมไม่ได้หยุดอยู่แต่เพียงเท่านี้ ผมอยากเรียนรู้อะไรมากขึ้น อะไรที่เขามีอบรมผมก็ไปศึกษาเสมอ อยากจะบอกว่า ใครที่คิดว่ามีพื้นที่น้อย กลัวจะทำเกษตรไม่ได้ ผมต้องบอกว่าทำได้ หาสิ่งที่เหมาะสมกับพื้นที่เรา เพราะเกษตรมีมากมายหลายอย่างให้เราเลือก อย่างตอนนี้รอบบ้านผม พื้นที่ 1 ไร่ ก็ทำการเกษตรที่อัดแน่นไปหมด และที่สำคัญทำเงินได้จริง ตรงไหนที่ว่างก็ปลูกพื้นผักสวนครัว ไม้ผล และที่สำคัญกิ่งพันธุ์ไม้ผลที่นี่ขายดีมาก อย่างต้นไม้ไม่จำเป็นต้องปลูกเพื่อเอาผลผลิต แต่เราสามารถหากิ่งพันธุ์ดีมาตอนกิ่งขายได้” คุณสมพรชัย กล่าว

ซึ่งเวลานี้ คุณสมพรชัย บอกว่า มีความสุขมากที่ได้เลือกทำเกษตรแบบผสมผสาน เพราะสามารถทำเงินให้กับเขาได้หลายทาง เช่น การเลี้ยงกบ ก็สามารถขายได้ราคากิโลกรัมละ 100-130 บาท ส่วนกิ่งพันธุ์ไม้ผลที่ตอนขายก็ตกอยู่ที่กิ่งละ 100-150 บาท และส่วนพืชผักสวนครัวที่ปลูกไว้เพื่อกินเอง เมื่อผลผลิตมีมากพอก็สามารถนำไปขายทำเงินได้เช่นกัน โดยราคาก็จะได้ตามกลไกตลาด และที่สำคัญเป็นผักปลอดสารพิษอีกด้วย

“การเกษตรไม่มีอะไรที่ยาก SaGame เราอยากจะรองปลูกอะไร เราก็ปลูก แล้วศึกษาให้รู้จริงว่า สิ่งที่เราจะปลูกนั้นเขาชอบสภาพอากาศแบบไหน โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยๆ พอเราสนุกเรามีความชำนาญมากขึ้นก็ค่อยๆ เรียนรู้ทำชนิดอื่นไปเรื่อยๆ ที่ละความสำเร็จมันก็จะเกิด ต่อมาเรื่องของรายได้ พร้อมทั้งความสุข ผมบอกเลยว่ามีเกินร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน”

ติดต่อสอบถามขข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสมพรชัย องอาจ หมายเลขโทรศัพท์ (085) 191-4546 , (062) 989-3562 กว่าพื้นที่ 50 ไร่ ของ คุณเล็ก ทองต้น วัย 71 ปี ประธานศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ที่ 7 บึงกาสาม เกษตรชาวจังหวัดปทุมธานี ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตัวจริง ทำเกษตรไร่นาสวนผสมลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทำได้ไม่มีขาดทุน เดินตามรอยเท้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต้นแบบอินทรีย์ชาวจังหวัดปทุมธานี

คุณเล็ก เล่าว่า กว่า 10 ปี บนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ ตนเองคิดเสมอว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้มีรายได้พอกินพอใช้ ไม่สร้างหนี้ มีเงินใช้เหมือนตอนที่รับเงินเดือนของข้าราชการ โดยแรงบันดาลใจของตน คือ รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งได้เดินทางไปดูงานในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ นำศาสตร์พระราชามาเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการประยุกต์พื้นที่ 50 ไร่ ให้กลายเป็นไร่นาสวนผสม ทำให้ตนคิดว่า ชาวนาจะปลูกข้าวอย่างเดียวไม่ได้ อายุข้าวกว่าจะเกี่ยวต้องใช้เวลา ประมาณ 105 วัน จึงได้ปรับพื้นที่ 50 ไร่ เป็น ทำนา 10 ไร่ ปาล์ม 40 ไร่ ปลูกกล้วยแซมในสวนปาล์ม เลี้ยงไก่ไข่ 50 ตัว เลี้ยงปลา โดยปาล์ม ตัด 2 ครั้ง/เดือน 24 ครั้ง/ปี กล้วยน้ำว้า ตัด 2 ครั้ง/เดือน ข้าวเกี่ยว 2 ครั้ง/ปี