เกษตรกรดีเด่นปลูกสวนป่า 2561 โคราช วางแผนครอบครัว

จบปริญญาตรีได้ 2 คน แบบสบายๆ มีเงินส่งลูกเรียน “แรกๆ ใครก็หาว่าบ้า มีที่ดินดีๆ เอามาปลูกสวนป่า ปลูกไปเมื่อไรจะโต เชื่อสิยังไงก็ไปไม่รอด” คำพูดเหล่านี้หญิงแกร่งคนนี้ ไม่เคยลืม แต่ ณ ปัจจุบัน คำพูดสบประมาทเหล่านี้ ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง หากคนเรามุ่งมั่น และมีแบบแผน อย่างไรแล้วความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล

คุณธวัลรัตน์ คำกลาง เกษตรกรดีเด่น ปี 2561 อยู่บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หญิงผู้รักต้นไม้ รักป่า ชอบสีเขียวเป็นชีวิตจิตใจ เล่าถึงความเป็นมาของสวนป่าว่า แรกเริ่มพื้นที่ตรงนี้พ่อกับแม่อพยพมาจากอำเภอสูงเนิน แล้วมาได้งานเฝ้าสวนที่ตำบลวังกะทะ แต่เวลาผ่านไปเจ้าของที่จะย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นจึงเอ่ยปากขายที่ให้กับพ่อแม่ของตน พ่อกับแม่จึงตกลงซื้อ แต่ตอนนั้นซื้อแบบเงินผ่อน โดยมีพ่อแม่และพี่น้องช่วยกันผ่อน ที่ดินจำนวน 100 ไร่ และเมื่อตนมีครอบครัวพ่อแม่ก็แบ่งสันปันส่วนที่ให้กับเราและพี่น้องอีก 6 คน คุณธวัลรัตน์ ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมา 24 ไร่ เพื่อนำมาปลูกป่าที่ตนเองรักและสร้างครอบครัวต่อไป

คุณธวัลรัตน์ เป็นคนชอบป่า ชอบสีเขียว ชอบความสงบของป่า อยู่แล้วตั้งแต่แรก ดังนั้น เมื่อมีพื้นที่จึงไม่ลังเลที่จะปลูก ปลูกอะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว ปลูกแบบไม่ได้คิดอะไร ไม่ได้คิดถึงกำไรขาดทุน เริ่มจากการปลูกสวนป่ากับสามี คือ คุณชัชนรินทร์ อ่อนราษฎร์ ช่วยกันทำสองคน เริ่มจากเงินทุนน้อย อะไรที่ได้มาฟรีก็นำมาปลูกก่อนเลย ไปขอจากกรมป่าไม้บ้าง หรือหาซื้อไม้หอมราคาถูกมาปลูก เริ่มปลูกสะสมมาเรื่อยๆ เมื่อทำจนลงตัว ตนทั้งคู่จึงค่อยเริ่มแบ่งงานกันชัดเจนขึ้น คือเรามีลูกสองคน เราเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก ขายของ สามีทำสวน ถ้าว่างเราก็ไปช่วยสามีทำ

ส่วนการได้เข้ารับเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น เพราะสวนเราเริ่มต้นจากศูนย์ เริ่มปลูกป่าโดยการไปขอกล้าไม้พันธุ์ไม้จากกรมป่าไม้ หลังจากนั้น มีการติดต่อสอบถามข้อมูลมาเรื่อยๆ ทางกรมป่าไม้ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่มาดูที่สวนป่าของเราเป็นประจำ ให้คำแนะนำจนสวนเราเข้าเกณฑ์ที่สามารถเข้าประกวดได้ จึงลองประกวด ผลปรากฏว่าสวนเราได้รางวัลชนะเลิศ สาเหตุเนื่องจากเป็นสวนที่เราทำเอง พื้นที่เป็นชื่อเรา และรูปแบบสวนชาวบ้านทั่วไปสามารถทำตามได้ไม่ยาก คือสาเหตุให้เราได้รับรางวัลนี้มา ซึ่งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 นี้จะเข้ารับโล่รางวัลพระราชทานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2561 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พูดง่ายๆ คือ

ประโยชน์ที่ 1 คือ สามารถกินได้

ประโยชน์ที่ 2 นำมาใช้งาน ตัดเป็นฟืน หรือใช้สร้างบ้านเรือน

ประโยชน์ที่ 3 ขายสร้างรายได้

ประโยชน์ที่ 4 คือ การช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ สังเกตได้ง่ายๆ จากตอนเริ่มมาอยู่ใหม่ตรงนี้ยังไม่มีลำธาร ไม่มีน้ำ แต่พอป่าอุดมสมบูรณ์ลำธารก็เกิดขึ้นมาเอง

“คำว่า ‘สวนป่า’ คือเน้นความหลากหลายเพื่อฟื้นฟูระบบดิน ตอนที่เริ่มมาอยู่ใหม่ๆ คือดินไม่มีคุณภาพ เป็นดินที่เสีย มีแต่หิน เราต้องปลูกป่า ปลูกต้นไม้ยืนต้น หยุดการไถ ต้องเริ่มปลูกป่าเน้นระบบนิเวศมากที่สุด คือ

ปลูกแบบไม่เป็นแถวเป็นแนวเพื่อป้องกันดินชะล้าง
ต้นไม้แต่ละชนิดจะไม่ซ้ำประเภทกัน ปลูกสลับกันไป ต้องมีไม้โตเร็ว โตช้า ทรงพุ่ม สลับกันไป และต้องมีไม้รุ่นที่สองคือไม้เรี่ยดิน”
เจ้าของบอกและเล่าต่ออีกว่า

“โดยที่สวนป่าของเราปลูกไม้มากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

ไม้โตเร็ว
ไม้โตปานกลาง
ไม้โตช้า ย่อยออกมาเป็นไม้กินได้ ไม้ใช้งาน และไม้เศรษฐกิจ แยกออกมาเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 ไม้ต้นทุน คือไม้ที่ลงแรงปลูกหรือไม้ที่ต้องใช้งบประมาณ

ชนิดที่ 2 ไม้กำไร คือไม้ที่โตขึ้นมาเองจากการทิ้งเมล็ดจากไม้อื่นๆ ถือเป็นไม้พลังงาน ทำถ่าน ทำฟืน สร้างบ้าน ซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน เริ่มต้นที่

ไม้โตช้า ตะเคียนทอง มะค่าโมง ลำดวน พะยูง ชิงชัน

ไม้โตปานกลาง สัก ประดู่ ยางนา คือไม้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป

ไม้โตเร็ว ขี้เหล็ก สะเดา ตะกู กระถินเทพา กระถินณรงค์

ไม้กินผล ขนุน มะม่วง ลำไย สะตอ ชมพู่ ละมุด เหลียง มะนาว มะกรูด มะพร้าว กล้วย มะละกอ ลูกเนียง ส้มโอ มะเฟือง ขนุน น้อยหน่า ไม้พลังงาน ไผ่หวาน ไผ่บง ไผ่กิมซุ่ง ไผ่เลี้ยง กระถิน ตัดไปทำฟืน หรือสร้างบ้าน”

การนำไม้ที่ปลูกมาใช้ประโยชน์และสร้างรายได้

ต้องบอกก่อนเลยว่า ไม้ที่สวนป่าของคุณธวัลรัตน์ ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เน้นธรรมชาติ และทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง โดยการเก็บเศษใบไม้ที่ร่วงมารวมกัน แล้วหมักมาใช้ประโยชน์ใส่ในแปลงผักบ้าง โคนต้นไม้บ้าง ซึ่งก็ถือว่าได้ผลดีพอสมควร ดังนั้น ที่สวนจึงมีต้นทุนต่ำ สร้างรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้ไม่ขัดสน

ประโยชน์ที่ได้คือ

การใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกระยะแรก จะใช้ประโยชน์จากไม้กำไรที่ขึ้นมาเอง อย่าง กระถิน ถ้าต้องการใช้งานเราก็ตัดไปเผาถ่าน สร้างรายได้ กระสอบละ 300 บาท หากแบ่งขายเป็นถุงเล็ก ถุงละ 30 บาท คือที่นี่จะมีรายได้จากการขายถ่านทุกวัน และนอกเหนือจากการขายถ่าน เราก็ยังสามารถมีรายได้จากการขายน้ำส้มควันไม้จากถ่าน ถ่านผลไม้ และทำเป็นผงถ่านมาทำปุ๋ยก็ได้
สร้างรายได้จากการเก็บไม้ผล ไม้โตเร็ว มาขาย อย่างเช่น ขายหน่อไม้สด หรือหน่อไม้ดอง มีรายได้จากการขายสะตอ ขายมะนาว หรือผลไม้แช่อิ่มที่ทางสวนนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากผลผลิตที่มีน้อย อย่างเช่น หน่อไม้มีแค่ วันละ 40-50 กิโลกรัม แทนที่เราจะขายได้เงินกิโลกรัมละ 8 บาท เราก็เอามาแปรรูปทำเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้นึ่ง เพิ่มมูลค่า หรือถ้าตัดไม่ทันก็ปล่อยให้ขึ้นลำ เราก็ใช้ประโยชน์จากลำได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดด้วย
ใช้ประโยชน์จากไม้โตช้า คือ ไม้พะยูง ไม้มะค่า ไม้ชนิดนี้เราจะนำมาใช้ตอนที่ลูกโต ขายเป็นทุนการศึกษา เพราะเป็นไม้ที่มีราคาสูง

เป็นเกษตรกรก็สามารถมีเงินส่งลูกเรียนจบปริญญาได้

หากมีการวางแผนที่ดี

อย่างที่เกริ่นไว้ว่า เป็นเกษตรกรก็สามารถหารายได้ส่งลูกเรียนจบสูงๆ ได้อย่างสบาย หากมีการวางแผนที่ดี ยกตัวอย่างพี่ธวัลรัตน์ และพี่ชัชนรินทร์ ได้บอกเล่าถึงแผนจัดการเรื่องการศึกษาของลูกทั้ง 2 คน ให้ผู้เขียนฟังก็ต้องอึ้งความคิดของพี่ทั้งสอง พี่ทั้งสองบอกว่า ก่อนจะทำอะไร ทุกอย่างต้องมีการวางแผน ไม่ใช่แค่เรื่องการทำเกษตร เรื่องครอบครัวก็เช่นกัน หลายคนมองว่าอาชีพเกษตรกรรมได้เงินน้อย แต่เหนื่อย ซึ่งก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด เราต้องคิดแล้วว่าหากอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่เรารัก เราจะทำอย่างไร ให้อาชีพที่เรารักสามารถเลี้ยง ครอบครัวเราได้ อย่างแรกคือ

ทั้งสองคนเริ่มจากการศึกษา การศึกษาที่ดีที่สุดคือ โรงเรียนที่ใกล้บ้านที่สุด เพราะสามารถใกล้ชิดหรือคุยกับคุณครูของลูกได้ แต่ถ้าเราเห่อตามกระแส คิดว่าลูกต้องเรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด โรงเรียนประจำอำเภอ ซึ่งอยู่ไกลจากบ้าน 50-60 กิโลเมตร เด็กจะเหนื่อย และถือเป็นการลงทุนที่ไม่เห็นผล
วางแผนปลูกป่าเพื่ออนาคตลูก ที่นี่มีพื้นที่ปลูกป่าทั้งหมด 24 ไร่ แบ่งเป็น 6 แปลง แปลงละ 4 ไร่
แปลงที่ 1 พื้นที่บนสุดเป็นพื้นที่ลาดชัน คือ เป็นป่าปล่อย เอาไว้เก็บกำไรกิน คือได้ไม้ที่ไม่ต้องปลูก ใช้หลักการของศาสตร์พระราชา ปลูกในที่บนที่สุดก่อน เสร็จแล้วให้ลูกไม้หล่นมาขึ้นใหม่ ไว้เก็บกินรายวัน หรือตัดมาเผาถ่านทำฟืน

แปลงที่ 2 ถัดลงมาเมื่อลูกเกิดเราจะปลูกแปลงนี้ก่อน 4 ไร่ ปลูกไม้โตช้า ไร่ละ 200 ต้น 4 ไร่ เท่ากับ 800 ต้น ถ้าลูกโตมา จบ ม.6 อายุ 18 ปี เท่ากับต้นไม้มีอายุ 18 ปี ต้นนี้จะตีราคา สักต้นละ 5,000 บาท 800 ต้น เขาจะมีเงิน 4 ล้านบาท เงิน 4 ล้านบาทนี้ ก็เก็บไว้ให้เขาเป็นทุนการศึกษาสำหรับลูกคนที่ 1

แปลงที่ 3 ปลูกไม้โตช้าไว้อีก 4 ไร่ ให้ลูกสาวคนที่ 2 จัดสันปันส่วนให้เท่ากับลูกคนที่ 1 ทุกอย่าง

แปลงที่ 4 และแปลงที่ 5 เป็นแปลงด้านล่าง แบ่งไว้ให้อีกคนละ 4 ไร่ คนละ 800 ต้น ส่วนนี้เก็บไว้ให้สำหรับการแยกเรือน หรือใครอยากจะขายและนำเงินไปเรียนต่อก็ได้ หรือเก็บไว้สร้างเรือนก็แล้วแต่ลูกทั้งสอง

แปลงที่ 6 แปลงสุดท้าย คือส่วนของสามีและภรรยา แบ่งไว้ปลูกผักสวนครัว ทำนา ป่าปล่อย เก็บกินรายวันไป “แค่ 4 ไร่ ก็เหนื่อยแล้วสำหรับคนแก่ 2 คน” นับว่าเป็นการวางแผนครอบครัวและตัวอย่างเกษตรกรดีเด่นมากๆ

สำหรับท่านที่สนใจการปลูกสวนป่า หรืออยากได้แง่คิดการใช้ชีวิตที่ดี สามารถโทร.ปรึกษาหรือเข้าไปเยี่ยมชมที่สวนคุณธวัลรัตน์ คำกลาง เมื่อ 3-4 ปีมานี้ ราคาทุเรียนจูงใจให้เกษตรกรปลูกอย่างมาก ปัจจัยหนุนส่งเป็นเรื่องของการส่งออก โดยเฉพาะไปจีน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมาก

ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร ดูแต่ยางพารานั่นประไร จุดสูงสุดกว่า 100 บาท ทุกวันนี้ต่ำเตี้ยติดดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ มีรูปแบบการผลิตทุเรียนคล้ายๆ กัน แต่ สวนจันทวิสูตร ดูจะแตกต่างจากสวนอื่น

สวนจันทวิสูตร อยู่เลขที่ 38/11 หมู่ที่ 1 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

คุณกิตติ จันทวิสูตร เจ้าของสวน เล่าว่า เดิมทีผลิตสินค้าเกษตรคล้ายเกษตรกรรายอื่น โดยปลูกสะละ ลองกอง ตะเคียน รวมทั้งทุเรียน ระยะหลังเริ่มปรับเปลี่ยน คือตัดต้นตะเคียน แล้วปลูกทุเรียนแทน โดยกิจกรรมที่ทำอยู่มีพื้นที่ 300 ไร่

พันธุ์แปลกใหม่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

คุณกิตติ บอกว่า ตนเองปลูกตะเคียนไว้มาก ทุกวันนี้ยังมีอยู่ และทยอยขายให้กับโรงเลื่อย สำหรับทุเรียน มีปลูกแปลงใหญ่พันธุ์หมอนทอง จำนวน 500 ต้น อยู่ที่อำเภอมะขาม

แต่ที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ ปลูกทุเรียนพันธุ์ใหม่ พันธุ์โบราณหายาก รวมแล้วเป็น 100 พันธุ์ คุณกิตติ เป็นคนหมั่นศึกษาหาความรู้ อย่างนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ลงเรื่องทุเรียนจระเข้ ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เขาตามไปซื้อต้นพันธุ์มาปลูก ซื้อผลมาชิม หลังชิมพบว่า เมล็ดโต แต่ก็ไม่ได้ทิ้ง เมื่อปลูกไปจนมีผลผลิต ดูแลรักษาเหมือนพืชสวน มีการแต่งกิ่ง แต่งผล ให้น้ำ ปรากฏว่าเมล็ดเล็กลง ออกดอกติดผลดี ผลสวย มีแนวโน้มที่ดี

“ที่เดิมทุเรียนจระเข้ต้นสูง เขาดูแลไม่ดี อายุต้นแม่กว่า 200 ปี ไม่ได้ให้น้ำ มาอยู่ที่นี่แตกต่างกัน…ที่นี่มีปลูกพันธุ์ใหม่พันธุ์โบราณ แต่ไม่ได้ดีทุกตัว ไม่ดีพูดไม่ได้จะไปกระทบเขา ก็ไม่ปลูกจำหน่าย รวมแล้วที่ปลูกไว้เป็น 100 พันธุ์ ผลผลิตออกมาเรื่อยๆ เห็นชัดหลายตัวแล้ว” คุณกิตติ บอก

มีข่าวว่า ทุเรียนที่ไหนดี คุณกิตติจะตามไปซื้อมาปลูก เช่น เม็ดในยายปราง ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ทุเรียนสาลิกา ที่จังหวัดพังงา ทุเรียนมูซังคิง ที่จังหวัดยะลา รวมทั้งของดั้งเดิมจังหวัดนนทบุรี เมื่อปลูกแล้วได้ผลดี ปลูกต่อ เป็นการคัดพันธุ์ดีๆ นี่เอง แต่อีกส่วนหนึ่ง เจ้าของผสมพันธุ์ โดยทั่วไปไขว้กัน ใช้หลงลับแลเป็นพ่อ ใช้มูซังคิงเป็นแม่ บางต้นใช้มูซังคิงเป็นพ่อ หลงลับแลเป็นแม่

“อยากได้ทุเรียนเนื้อเหนียว ละเอียด เนื้อหนา ก็ผสมอยู่ มีหลักการผสมคล้ายๆ กล้วยไม้ ได้ต้นใหม่แล้ว แต่ยังไม่เห็นผล” คุณกิตติ บอก ผลิตและจำหน่ายทุเรียนพันธุ์พิเศษ ขายได้ราคาดี

คุณกิตติ บอกว่า ตนเองพยายามหาพันธุ์ที่ชาวบ้านไม่ค่อยปลูกกัน สายพันธุ์หายาก อร่อย ตอนนี้ที่สวนพบว่า ตระกูลกบ อย่าง กบพิกุล กบสุวรรณ กบทองคำต้นคมบางเนื้อดีมาก กลีบสมุทรก็เนื้อดี

ที่เป็นการค้าได้ดีมี เม็ดในยายปราง หลงลับแล สองพันธุ์นี้เริ่มมีผู้ค้าส่งไปที่จีนแล้ว จริงๆ เขาต้องการมูซังคิง แต่ผลผลิตไม่เพียงพอ

“ของที่นี่พันธุ์โบราณส่วนหนึ่ง ขายทางออนไลน์ ลูกชายขาย มีบ้างที่ไปส่งเจ้าประจำในเมือง เขานำไปขายที่กรุงเทพฯ ทุเรียนไม่เหมือนที่อื่นดีอย่างหนึ่ง เวลาบรรทุกรถไป มอเตอร์ไซค์ตามสี่แยกมาจะชวนให้ไปขายที่ล้ง มันไม่มองเลย มันไม่รู้จักก็ดีไปอย่าง เราก็ไปส่งเจ้าประจำ ทุเรียนเม็ดในยายปราง ตัดส่งจีน วันที่ 17 เมษายน” คุณกิตติ บอก

ตัดเองกับมือทุกลูก

คุณกิตติ บอกว่า ที่สวน ส่วนใหญ่ให้ต้นทุเรียนสูง 6 เมตร หากสูงกว่านี้ตัดยอด

“ผมตัดคนเดียว อายุ 65 ปี ยังปีนได้ ทุเรียนกระดุม หมอนทอง ตัดรวมๆ ได้ แต่พันธุ์แปลกใหม่หรือโบราณนี่ทีละลูก ต้องตัดทุเรียนแก่ ดูผิว สี มีพลาดบ้างแต่น้อย ต่อไปลูกชายคงรับช่วงต่อ เราอายุเพิ่มขึ้น …ต้นทุเรียน ตัดยอดให้สูง 6 เมตร ดูแลง่าย ใช้ปัจจัยการผลิตมีประสิทธิภาพ ต้นอายุ 10 ปี ดูแลดีมีลูกได้ 60-70 ลูก…กรณีที่ต้นอายุมากๆ 30 ปี ต้นสูง 20 เมตร ทำงานลำบาก เปลืองค่าใช้จ่าย” เจ้าของบอก

“มูซังคิง” มาแรง

ทุเรียนมูซังคิง (ราชาแมวป่า) หรือเหมาซานหวัง มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เขาปลูกส่งออกจีน เป็นทุเรียนพันธุ์เบา หลังดอกบาน 90-100 วัน เก็บผลผลิตได้ น้ำหนักผล 2-3 กิโลกรัม เปลือกบาง เมล็ดลีบ เนื้อสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ที่สวนจันทวิสูตร มีปลูกเป็นการค้า

คุณกิตติ บอกว่า จุดเด่นมูซังคิง เป็นทุเรียนครบทุกรส หวาน มัน เนื้อเหนียว การคงรูปของเนื้อสุดยอด ถึงจะสุกงอมเนื้อยังดีอยู่ “ปลูกทุเรียนราว 100 พันธุ์ อันดับ 1 ตอนนี้มูซังคิง ตัวต่อมาคือ กบทองคำต้นคมบาง…กินทุเรียนเพื่อสุนทรียรส ต้องมูซังคิง กินให้อิ่มหมอนทอง…ต้นพันธุ์ทำไว้เล็กน้อย”

คุณกิตติ บอก พร้อมกล่าวอีกว่า

“มูซังคิง ขายกิโลกรัมละ 450 บาท อนาคตผลผลิตจะมีมากขึ้น โอกาสที่พันธุ์อื่นจะแข่งกับมูซังคิงคงยาก ส่วนราคาจะเหลือเท่าไร คาดเดายาก อีก 10 ปีข้างหน้า ประชากรมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน เพิ่มขึ้น คนจีนชอบหมอนทอง แต่เขาก็ชอบสิ่งแปลกใหม่ เขามีกำลังซื้อ ยกตัวอย่าง กาแฟ แก้วละ 70 บาท แย่งกันซื้อ กาแฟริมทาง 15 บาท ขายไม่ได้”

เจ้าของสวนเปรียบเทียบให้ฟัง เหมือนอย่าง ทุเรียนมูซังคิง ปีนี้ราคากิโลกรัมละกว่า 400 บาท คนแย่งกันซื้อผลผลิตไม่พอขาย การลงทุนดูแลรักษา พันธุ์แปลกใหม่ที่รสชาติดี ดูเท่ากับพันธุ์ตลาดอย่างหมอนทอง แต่ราคาที่ขายได้สูงกว่า

เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประชาชนทั่วไป เข้าชมนิทรรศการโครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยสถาบันอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมดได้นำผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลระดับภาค ปี 2559-2560 เกือบ 200 ผลงานด้านการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และเทคโนโลยีต่างๆ มาจัดแสดง ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่าง วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2561

พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า นี่คือ จุดเริ่มต้นสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของเหล่านักเรียนอาชีวศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจนำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นี้ไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป

กิจกรรมครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังนำร่องโครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบธุรกิจจริง โดยการจัดกิจกรรมให้อาชีวศึกษาภาคตะวันออกทั้งหมด รวมถึงพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นำนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลระดับภาค กว่า 100 ผลงาน มาจัดแสดง

พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม มาชมและร่วมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ณ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อไม่นานนี้ ได้ผลการตอบรับจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากให้ความสนใจ มีทั้งการซื้อขายสิ่งประดิษฐ์ แนะนำการผลิตเพื่อต่อยอดใช้จริงในระบบอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ จึงขยายผลกิจกรรมดังกล่าว ทั้ง 6 ภาค ทั่วประเทศ หวังเพิ่มโอกาสการพัฒนาต่อเชื่อมกับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศและเจริญเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

ภายในงานมีผลงานนวัตกรรมหลายชิ้นที่โดดเด่น มีศักยภาพทางการตลาดทำให้ผู้ประกอบการหลายรายสนใจ เลือกซื้อ หรือเจรจาธุรกิจในงานดังกล่าว “น้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียน” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยที่น่าทึ่งและเชิญชวนผู้สนใจร่วมท้าพิสูจน์ความจริง เปลือกทุเรียนใช้ซักผ้าได้ งานวิจัยชิ้นนี้ช่วยลดปัญหาขยะ ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมเก๋ไก๋นี้เป็นผลงานของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

“เปลือกทุเรียน” สร้างปัญหาขยะชุมชน

ทุเรียน ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้ไทย” ที่มีชื่อเสียง เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญที่มีการผลิตและจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ กระแสขายทุเรียนออนไลน์ยังได้สร้างกระแสรับรู้ให้เกิดการบริโภคภายในประเทศมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับชาวสวนทั้งหลาย แต่ปัญหาสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกพื้นที่ชุมชนก็คือ การเพิ่มพื้นที่ขยะจากเปลือกทุเรียน ที่นอกเหนือจากกลิ่นแล้ว ก็ยังมีหนามแหลมคม เป็นปัญหาตามมาซึ่งเป็นหน้าที่ของเทศบาล อบต. ชุมชนต่างๆ ในการกำจัดดูแล

นักเรียนและครูกลุ่มหนึ่งของวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะชุมชนจากเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงพยายามคิดแก้ไขปัญหาดังกล่าว หลังการศึกษาค้นคว้า พบว่า “เปลือกทุเรียนหมอนทอง” มีปริมาณเซลลูโลส ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังเซลล์พืชอยู่ถึง 30% และสามารถนำเซลลูโลสมาแปรคุณสมบัติเป็น “คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ CMC (Carboxymethy Cellulose)” ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว สามารถใช้เป็นส่วนผสมในการทำผงซักฟอกและน้ำยาซักฟอกใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้ เพื่อลดปริมาณขยะเปลือกทุเรียนในชุมชน ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะของเทศบาลได้ทางหนึ่ง และลดสารเคมีที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

เป้าหมายงานวิจัย

ทีมนักศึกษาได้ตั้งเป้าหมายศึกษาการสกัดเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนหมอนทอง รวมทั้งศึกษาการสกัด CMC จากเซลลูโลสเปลือกทุเรียนหมอนทอง ขณะเดียวกันมุ่งวิจัยหาอัตราส่วน CMC ที่เหมาะสม ในการทำน้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนหมอนทอง พร้อมกับศึกษาเปรียบเทียบการขจัดคราบน้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนหมอนทองกับน้ำยาซักฟอก CMC จากท้องตลาด และศึกษาเปรียบเทียบการขจัดคราบน้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนหมอนทองกับน้ำยาซักฟอกตามท้องตลาด อีกทั้งศึกษาความพึงพอใจในการใช้น้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียน

ทีมนักศึกษาได้วางกรอบเนื้อหาการวิจัย โดยมุ่งเน้นการใช้เปลือกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ในการสกัดเซลลูโลส การหาประสิทธิภาพการขจัดคราบสิ่งสกปรกน้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนใช้คราบโคลนและลิปสติก โดยให้ประเมินหลังจากแช่น้ำเป็นเวลา 10 นาที

นางสาวญาณิศา ด้วงคำจันทร์ สมัครคาสิโน GClub นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้วิจัยโครงการผลิตน้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนหมอนทอง กล่าวว่า จากการศึกษาวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปทุเรียนแต่ละปี จะมีเปลือกทุเรียนถูกกองทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเปลือกทุเรียนหมอนทอง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคมากที่สุด

ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า การใช้ทุเรียนสดเพื่อแปรรูป 1 ตัน จะมีปริมาณเปลือกเหลือทิ้ง เกือบ 600 กิโลกรัม หรือมากกว่า 58% ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะกองทิ้งไว้กลายเป็นขยะชุมชนที่กลายเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ทั้งนี้ การนำเปลือกทุเรียนมาสกัดเซลลูโลสสามารถใช้ทุกส่วนของเปลือกทุเรียนโดยไม่เหลือทิ้ง

ทีมนักศึกษา ได้นำเปลือกทุเรียนมาแปรรูปเป็น “น้ำยาซักฟอก” สำหรับใช้ซักล้างที่ผลิตขึ้นมาใช้แทนสบู่ มีสารลดแรงตึงผิวชนิดสังเคราะห์และชนิดธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเกลือโซเดียมซัลโฟเนตของไฮโดรคาร์บอน สำหรับใช้ซักผ้า ขจัดคราบสกปรกต่างๆ ครอบคลุมถึงลักษณะเป็นผงเม็ดเล็กๆ หรือเกล็ดอัดขึ้นรูปกึ่งแข็งกึ่งเหลว แท่ง หรือลักษณะอื่นๆ

สำหรับกระบวนการทดลองที่ 1 ทีมนักศึกษาได้สกัดเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ 1. หั่นเปลือกทุเรียนแห้ง ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำมาบดด้วยเครื่องบด

เตรียมสารละลาย NaOH
ใส่ผงทุเรียนที่ได้จากการบดลงไปในสารละลาย จะได้สารละลายสีดำ หลังจากนั้นนำไปต้ม
นำสารที่ได้ไปกรองด้วยผ้าขาวบางและชะล้างออกด้วยน้ำกลั่น จากนั้นทดสอบความเป็นกลางด้วยการวัดค่า pH แล้วนำไปอบ จะได้เซลลูโลสที่มีสีน้ำตาล
เติมสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) เพื่อฟอกเซลลูโลส จนมีสีขาว
กระบวนการทดลองที่ 2 ทีมนักศึกษาได้สังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) จากเปลือกทุเรียนหมอนทอง โดยเริ่มจาก