เกษตรกรทุ่งกุลาร้องไห้ประสบความสำเร็จ ใช้พื้นที่หลังบ้านทำ

เกษตรครบวงจร สร้างรายได้ต่อเนื่อง ทุ่งกุลาร้องไห้ มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล 2.1 ล้านไร่ ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลราร้องไห้อยู่ในพื้นที่ อำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย รวมพื้นที่ 9.7 แสนไร่ คุณอุทัย และ คุณสมคิด สาวแก้ว สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 118 ม.7 บ้านทุ่งทรายทอง ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45130 ประสบความสำเร็จในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

ทีมงานจากสำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางผ่านทุ่งนาที่เวิ้งว้าง กว้างใหญ่ไพศาล น้ำมันรถยนต์เต็มถัง เครื่องยนต์ดี ยางดี หมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันมาก เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มี คุณหลวงเกตุ บุญอรัญ เป็น ผญบ. เจ้าของบ้านให้การต้อนรับดีมากๆ พร้อมบอกว่าตนเองทำนาปีละครั้ง นาข้าว 100 ไร่ เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. 4-01 นาอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ฤดูแล้งดินเค็มส่าเกลือระเหิดจากใต้พื้นพสุธา ต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีคือ ต้นยูคาลิปตัส ตนเองเป็นสายเลือดของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” น้อมนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่พื้นที่นาข้าวหลังบ้านพัก 3 ไร่ โดยการส่งเสริมของ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยการขุดบ่อ ขนาด 1 ไร่ ลึก 3-4 เมตร สร้างเรือนนอนพักผ่อน 1 หลัง กระชังเลี้ยงกบ ขนาด 1,000 ตัว โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 20 ตัว ไข่ได้ วันละ 15-17 ฟอง โรงเรือนไก่เนื้อ 50-100 ตัว ทำบนบ่อเลี้ยงปลา เพราะได้อยู่อย่างเกื้อกูล อาหารร่วงหล่นลงน้ำ มูลไก่ ปลากินเป็นอาหาร

ปลาที่เลี้ยง มีปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน 15,000 ตัว เจริญเติบโตดีมากๆ ขนาด 1-2 ตัว ต่อกิโลกรัม รอบสระน้ำปลูกไม้ผล มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ จำนวน 30-40 ตัน มะนาวในวงบ่อ 30 ต้น

คุณอุทัย กล่าวว่า พื้นที่อีกส่วนแบ่งทำโรงเรือนเลี้ยงโคขุน จำนวน 23 ตัว เก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงวัว ได้ปุ๋ยคอก อยู่อย่างเกื้อกูลจริงๆ ที่ลุ่มหลังสวนปลูกพืชผักสวนครัว ผักกาดขาวปลี เขียวปลี คะน้า กวางตุ้ง หอม ข่า ตะไคร้ แซมด้วยมะละกอ

พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แห้งแล้ง มองไกลมีสีเขียวที่หลังบ้านคุณอุทัยเท่านั้น เป็นแหล่งอาหารของครอบครัว เกิดรายได้รายวัน จากการขายผัก ขายไข่ไก่ ไก่เนื้อ ขายปลา ขายกบ วันละ 200-300 บาท รายได้รายปี ขายข้าว ปีละ 1 ครั้ง กว่า 500,000 บาท ขายวัว 120,000 บาท มูลวัวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีของนาข้าว ขายได้ไม่น้อย

คุณอุทัย บอกว่า ตนเองมีความสุขอย่างมาก ลูกสาว ลูกชาย กลับมาบ้าน นอนพักที่ศาลากลางน้ำ เป็นชีวิตชาวทุ่งกุลาสดใส แล้ววันนี้ ทางด้าน คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า อำเภอสุวรรณภูมิมี 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องปฏิบัติการเชิงรุก ร่วมกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบ.กต.) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) แปลงใหญ่ เรื่องข้าว คือลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการ และด้านการตลาด การผลิต “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” นักส่งเสริมการเกษตร มืออาชีพต้องทำได้

บ้านสวนเมล่อน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สวนเมล่อน ขนาด 4 ไร่ ที่ใครๆ ก็ต้องมาลองชิมเมล่อนสักครั้ง ด้วยเอกลักษณ์พิเศษของสายพันธุ์เมล่อนที่มีทั้งหวานกรอบ และหวานเนื้อนุ่ม รวมถึงการปลูกที่ใส่ใจและปลอดภัยจากสารเคมี 100%

นางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ (แก้ว) เกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF) เจ้าของสวน “บ้านสวนเมล่อน” ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของสวนแห่งนี้ว่า เกิดจากความต้องการปลูกเมล่อนให้สามี จึงลงมือปลูกและลองผิดลองถูกด้วยตนเองจากการเสิร์ชกูเกิลตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างโรงเรือนจนถึงการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเมล่อนจนกระทั่งค้นพบวิธีการสร้างโรงเรือนและการปลูกเมล่อนที่เหมาะสม ทำให้มีผลผลิตเมล่อนสำหรับขายมากขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ ขยายการปลูกเมล่อนเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน มีทั้งหมด 17 โรงเรือนแล้ว ในระยะเวลาเพียง 2 ปี ทั้งนี้บ้านสวนเมล่อนไม่ได้ปลูกแค่เมล่อนเท่านั้น แต่เป็นสวนผสมผสานมีทั้งพืชผักสวนครัวและพืชอื่นๆ ที่เจ้าของสวนชื่นชอบ อาทิ ตะไคร้ ใบกะเพรา ถั่วฝักยาว มะเขือเทศราชินีเหลือง ข้าวโพดหวาน
ฮอกไกโด เห็ด ฯลฯ ปลูกร่วมด้วยเสมือนว่ามีตู้เย็นธรรมชาติอยู่ในบ้าน

ในกระบวนการผลิตของสวนบ้านเมล่อนจะไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช แต่เน้นการป้องกันศัตรูพืชโดยการปลูกพืชผักในโรงเรือนและใช้สารชีวภัณฑ์ทั้งเชื้อรา​บิวเวอเรียและเชื้อรา​ไตร​โค​เด​อร์มา​อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลูกค้าทุกท่านมั่นใจได้ว่าผลผลิตที่นี่ปลอดสารเคมี 100%

อย่างไรก็ตาม การเป็นเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคุณแก้ว เพราะไม่มีความรู้หรือเป็นเกษตรกรมาก่อน อีกทั้งที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินเค็ม น้ำเค็มทำให้ทั้งสวนต้องใช้น้ำประปารดต้นไม้ อีกทั้งเพื่อนบ้านทั้งหมดทำบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง จึงไม่ค่อยมีเกษตรกรให้คำปรึกษาในการทำเกษตร จนกระทั่งคุณแก้วตัดสินใจไปขึ้นทะเบียนเกษตรกร ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโพธิ์ จึงมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ช่วงกลางปี 2561 จึงทำให้พบเครือข่ายเกษตรกร YSF และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรซึ่งกันและกัน และทำให้คุณแก้วกลายเป็นวิทยากรในการสอนเรื่องการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดฉะเชิงเทรา

การเป็น YSF ทำให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาแผนธุรกิจ คุณแก้วจึงได้พัฒนาสวนเมล่อนของตนเองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่กระจายรายได้สู่ชุมชน โดยมีจุดเด่นในการท่องเที่ยวคือ “โครงการกลับมาเยี่ยมลูกเมล่อน” โดยให้ลูกค้ามาจับจองเมล่อนโดยการสลักชื่อไว้ที่ผลก่อนเก็บเกี่ยวเมล่อน ประมาณ 1 เดือน และทางสวนจะดูแลต่อให้จนถึงวันที่เก็บผลผลิต ลูกค้าก็สามารถมาตัดเมล่อนได้ด้วยตนเอง

นอกจากนี้ ยังจัดตั้งสหกรณ์พืชผัก ผลไม้ ปลอดภัยสูง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรของเครือข่าย ซึ่งเป็นสินค้ามาตรฐาน GAP ทั้งหมด อาทิ เมล่อน ถั่วฝักยาว คะน้า เห็ด มะพร้าว มะม่วง โดยมีตลาดหลักคือ การบินไทย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านสวนเมล่อนประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร คือ การใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียในการจัดการการผลิตและการตลาด โดยบ้านสวนเมล่อนได้เข้าร่วมโครงการติดตั้งเครื่องมือเทคโนโลยี (Internet of Things : IoT) ตามความร่วมมือของกรมส่งเสริมการเกษตร ดีแทค และเน็คเทค โดยเครื่องมือดังกล่าวสามารถบอกค่าความชื้นอากาศ อุณหภูมิ ความเข้มแสง และความชื้นในดินได้ ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทำให้เจ้าของสวนสามารถจัดการกับปัจจัยแวดล้อมและปรับให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกได้ รวมถึงประหยัดแรงงานในการดูแลสวนด้วย ซึ่งจากการเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างก่อนและหลังใช้เทคโนโลยีดังกล่าว พบว่า 1. ลดการสูญเสียผลผลิต (เมล่อน) จาก 26.6% เหลือเพียง 6.6% ต่อโรงเรือน 2. เมล่อนมีน้ำเพิ่มขึ้นจาก 352 กก. เป็น 448 กก. ต่อโรงเรือน

ส่วนด้านการตลาด คุณแก้ว เปิดแฟนเพจเฟซบุ๊ก “บ้านสวนเมล่อน ฉะเชิงเทรา” เพื่ออัพเดตสินค้าเกษตรและกิจกรรมต่างในสวนให้ลูกค้าทราบ และให้บริการจัดส่งสินค้าเกษตรทั่วไทยผ่านเคอร์รี่ รวมถึงให้บริการซื้อขายผ่านการโอนเงินหรือใช้คิวอาร์โค้ดภายในสวนได้สอดคล้องกระแสสังคมไร้เงินสด

“การใช้เทคโนโลยีในบ้านสวนเมล่อน นอกจากช่วยให้ทำเกษตรง่ายขึ้นแล้ว ยังสร้างความน่าเชื่อถือของเกษตรกรต่อลูกค้าด้วย ลูกค้าจะมองเราเป็น Smart Farmer เป็นเกษตรกรที่มีความรู้ สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ” นางสาวปคุณา กล่าว

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีในการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร พร้อมทั้งพัฒนาและขยายโอกาสการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่แก่ YSF และเกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

หนูมีที่ว่างเปล่าอยู่แปลงหนึ่ง พื้นที่ 3 ไร่ แต่มีบางช่วงเกิดน้ำท่วมขัง หนูสนใจอยากจะปลูกไผ่ หนูจึงขอเรียนถามคุณหมอเกษตรว่า พื้นที่ของหนูจะปลูกไผ่ได้หรือไม่ ถ้าปลูกได้ควรปลูกพันธุ์อะไรดี ขอความกรุณาแนะนำด้วยค่ะ หนูขอกราบขอบคุณคุณหมอเกษตรมาเป็นการล่วงหน้า

ไผ่ เป็นพืชคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่โบราณกาล ในอดีตมีการนำออกจากป่าธรรมชาติ และปลูกตามหัวไร่ปลายนา แต่ปัจจุบัน เกษตรกรมีการพัฒนามาปลูกไผ่เป็นสวนขนาดใหญ่ มีทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้ ไผ่เป็นพืชระบบรากตื้นเช่นเดียวกับพืชในตระกูลหญ้าทั่วไป ไผ่จึงไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง จะเห็นว่าป่าไผ่ในธรรมชาติเจริญเติบโตอยู่บริเวณเชิงเขา น้ำท่วมไม่ถึง แม้แต่การปลูกในที่ลุ่มภาคกลาง ชาวบ้านมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา บริเวณที่เป็นโคก หรือที่ดอนริมแม่น้ำ ลำคลอง ที่น้ำท่วมไม่ถึงเช่นเดียวกัน

ดังนั้น วิธีแก้ไขทำได้ด้วยการยกเป็นร่องสวน ให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำท่วมถึง แล้วจึงปลูกไผ่ได้ ถึงเวลานั้นคุณจะปลูกไผ่พันธุ์อะไรก็ได้ หากเป็นไผ่อเนกประสงค์ที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งหน่ออ่อนและเนื้อไม้ ตัวอย่างเช่น ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง แต่ถ้าต้องการปลูกไผ่โตเร็ว ให้หน่อเก่ง ควรเลือกพันธุ์ไผ่จีน

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ติดต่อสอบถามได้ที่สวนไผ่ กาญจนบุรี ที่ใกล้บ้านคุณวนิดาที่สุด ที่โทร. (085) 363-6306 สนนราคากล้าพันธุ์ อายุระหว่าง 8-12 เดือน ราคา 12-35 บาท ลองติดต่อสอบถามได้เลยครับ

ผักแพง แล้วยังไม่ปลอดภัย มาปลูกผักในบ้าน ไว้รับประทานกัน หากใครนิยมบริโภคผักเป็นอาหารหลัก คงทราบทันทีว่ามีราคาแพง ด้วยความสงสัยจึงลองสอบถามแม่ค้าตามตลาดสด พบว่า สาเหตุมาจากสภาพอากาศผันผวนเปลี่ยนแปลงกระทบกับผู้ปลูกผัก ทำให้มีผักน้อยราคาจึงสูงเมื่อรวมกับต้นทุนค่าขนส่งอีก เคยลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรปลูกผักที่แปลง เขาเผยให้ฟังว่า เกษตรกรบางรายรีบเก็บผักส่งตลาด ทั้งที่เพิ่งฉีดสารเคมี เพราะไม่ทันความต้องการของตลาด พอฟังอย่างนี้แล้วรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที เห็นจะต้องหันไปพึ่งผักปลอดสารแบบมีหีบห่อดีกว่า แต่ก็ไม่วายยังได้รับข้อมูลอีกว่าผักปลอดสารดังกล่าวใช่ว่าจะเป็นของจริงไปเสียทั้งหมด บางแห่งมีการแอบอ้างเพื่อหลอกผู้บริโภคหวังเป็นการค้า

แล้วคราวนี้ใครเดือดร้อน ถ้าไม่ใช่พวกเรา…

ถ้าเป็นเช่นนี้เห็นทีต้องชวนท่านผู้อ่านปลูกผักไว้กินเองคงจะดีแน่!! ความจริงกระแสการปลูกผักเพื่อให้ปลอดภัยในการบริโภคมีทำกันมากหลายแห่ง โดยเฉพาะภาคเอกชนที่พยายามจุดประกายเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันหลายจุด ตั้งแต่ผู้ปลูกไปจนถึงผู้ขาย พอมาภายหลังหน่วยงานราชการหลายแห่งกระโดดลงมาร่วมวงด้วย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อการบริโภค แล้วยังทำให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างมะเร็ง

อย่างบุคคลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เขาหลงใหลเรื่องการทำเกษตรแนวอินทรีย์ชนิดซึมลึก สนใจตั้งแต่เรียนปริญญาตรีจนกระทั่งต่อปริญญาโท ระหว่างเรียนยังมีกิจกรรมมากมายได้มีโอกาสพบปะเรียนรู้ทฤษฎีการทำเกษตร “แนวเกษตรอินทรีย์”จากครูบาอาจารย์ ตลอดจนปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถหลายท่าน แถมยังมีโอกาสไปฝึกงานในต่างประเทศ

จนวันหนึ่ง เขาคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรหันมาพึ่งตัวเองด้วยการปลูกผักสวนครัวไว้เพื่อใช้บริโภคเสริมสร้างความปลอดภัยจากพืชผักที่ปลูกด้วยสารเคมี พร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนหลายแห่งถ่ายทอดความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาให้แก่ผู้สนใจ แล้วเปิดบ้านดัดแปลงเป็นสวนใช้ปลูกพืชผักแนวเกษตรอินทรีย์ชักชวนผู้สนใจหันมาปลูก

ผู้เขียน มีนัดหมายกับ คุณนคร ลิมปคุปตถาวร หรือ คุณปริ้นซ์ หนุ่มชาวกรุงเทพฯ ที่บ้านเลขที่ 9/711 สตรีวิทยา 2 ซอย 3 แขวง/เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ ครั้นเดินทางมาถึงบ้านเลขที่ดังกล่าว หากมองจากภายนอกอาจเป็นเหมือนบ้านอยู่อาศัยทั่วไป แต่เมื่อพบคุณนครในอิริยาบถแบบสบาย กับเสื้อยืดสีขาว กางเกงขาสั้นได้ชักชวนให้เข้าไปภายใน แล้วพบว่าบนเนื้อที่ดินส่วนหนึ่งจัดทำเป็นแปลงปลูกพืชผักหลากหลายชนิดคล้ายกับสวนแปลงผักของชาวบ้านในต่างจังหวัด และอีกส่วนเป็นอาคารเก่า 2 ชั้น ไม่มีการใช้งาน โดยด้านล่างจัดทำเป็นสถานที่เพาะกล้าไม้และอุปกรณ์การทำสวน

ระหว่างที่รอคุณนครกำลังใส่ปุ๋ยผักกวางตุ้งฮ่องเต้ อายุ 2 สัปดาห์ ผู้เขียนถือโอกาสเดินสำรวจบริเวณพื้นที่รอบๆ ไปพลาง และพบว่า พื้นที่มีการจัดปลูกไม้พืชผลอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นผัก พืชสวนครัว ไม้ผล สมุนไพร ไม้ดอก หรือกลุ่มเพาะต้นกล้า ทุกอย่างล้วนวางเป็นกลุ่มแยกประเภทแลดูเป็นสีเขียวไปหมด จนแทบไม่น่าเชื่อว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ในบรรยากาศของเมืองกรุง แต่ถ้านึกเล่นๆ ลองหลับตาแล้วตัดภาพบ้านเรือนที่เป็นตึกคอนกรีตรายรอบออกไป คงเหลือไว้แต่เพียงบ้านคุณนคร คงเป็นบรรยากาศในสวนต่างจังหวัดแน่นอน

เมื่อคุณนครเสร็จสิ้นภารกิจ การสนทนาจึงเริ่มต้นขึ้นบนแคร่ไม้ไผ่มุงหลังคาใบจากที่รายล้อมด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดสร้างความกลมกลืนราวกับอยู่กลางไร่สวนต่างจังหวัด

คุณนคร บอกว่า เขาเรียนจบปริญญาตรี สาขาเทคโนฯ การเกษตร และปริญญาโท สาขาเกษตรยั่งยืน ดีกรีทั้งสองได้มาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่มีความสนใจเรื่องการเกษตร เพราะสมัยเรียนปริญญาตรี ชั้นปี 2 มีความสนใจแนวคิดเรื่องการเกษตรยั่งยืน รวมไปถึงการเกษตรที่พึ่งพาตัวเองในรูปแบบธรรมชาติซึ่งแนวทางนี้เคยมีการทำมาก่อนหน้านี้ในรูปแบบผสมผสาน ต่อจากนั้นเปลี่ยนเป็นรูปแบบเกษตรอินทรีย์ วรรณะอินทรีย์หรือแม้แต่การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริที่นำมาผสมผสานกัน

เขาบอกว่า แรงบันดาลใจที่แท้จริง มาจากครูบาอาจารย์หลายท่านที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ได้กลับมาสอนหนังสือแล้วถ่ายทอดความรู้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ จึงมาคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางการทำเกษตรแบบพึ่งพาตัวเองได้อย่างถาวรแท้จริง และแตกต่างจากการเรียนในบางทฤษฎีที่เน้นการใช้สารเคมี ซึ่งถือเป็นความยุ่งยากที่ต้องคอยจดจำว่าตัวใดต้องใช้กับพืชชนิดใดจึงเหมาะสมเกิดประโยชน์ ที่สำคัญสิ่งเหล่านั้นกลับเกิดผลร้ายต่อมนุษย์ที่เป็นผู้บริโภคโดยตรงเสียมากกว่า

เรียนรู้ ซึมซับ

กระทั่งนำมาสู่การทำจริงด้วยตัวเอง

จากแรงบันดาลใจคราวนั้น ถูกต่อยอดความรู้เพิ่มจากอาจารย์อีกหลายท่าน จนกระทั่งเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร ที่เรียกว่า “ออร์แกนิค” หรือเกษตรอินทรีย์ มีการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพที่มีต้นคิดมาจากเกาหลี เป็นการทำแนวเดียวกับการทำกิมจิ เพราะเป็นการใช้เศษผัก ผลไม้สลับกับน้ำตาล

ภายหลังที่ได้ทดลองทำปรากฏว่าสิ่งที่พบ มีทั้งสารอาหารที่เป็นปุ๋ยที่ดีต่อพืช เป็นฮอร์โมนพืช เป็นสารอินทรีย์ที่ถูกสกัดมาจากธรรมชาติ แล้วจึงลงมือจริงกับแปลงผักที่ปลูกไว้ ผลลัพธ์คือ พืชทุกชนิดมีการเจริญเติบโตงอกงามที่ดีอย่างผิดสังเกต ที่เป็นเช่นนั้นเพราะน้ำหมักอินทรีย์เข้าไปเติมคุณค่าในดินให้มีมากขึ้น เป็นการเอื้อประโยชน์อย่างดีต่อพืช ซึ่งแตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างชัดเจน

ความคิดตกผลึก

ร่วมมือกับหลายองค์กร เผยแพร่ให้กว้างขวาง

คุณนคร สะสมประสบการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความรู้จากท่านอาจารย์อาวุโสหลายคน การเรียนรู้โดยตรงจากชาวบ้านที่มีบทบาทเป็นผู้นำทางด้านเกษตรยั่งยืน การฝึกงานจริงในพื้นที่หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศและได้สัมผัสความเป็นเกษตรอินทรีย์แท้จริง ถือเป็นการสร้างมุมมองใหม่ที่แตกฉานและกว้างขึ้น

สิ่งเหล่านี้ ทำให้ความคิดของเขาตกผลึกจนนำมาสู่ความคิดภายหลังที่ได้เรียนจบปริญญาโทว่า ขณะที่เราต้องมีชีวิตจริงอยู่ในสังคมเมือง จะทำอย่างไรถึงจะดึงความเป็นธรรมชาติในชนบทอย่างที่เคยได้สัมผัสมาก่อนให้เข้ามาอยู่ในเมืองกรุงอย่างกลมกลืน

จากนั้น คุณนคร ได้ดัดแปลงพื้นที่ขนาดย่อมภายในบ้านเพื่อใช้ปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคภายในครอบครัวก่อน ต่อมามีผู้คนในวงการรักสุขภาพนำเรื่องราวการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ของเขาไปเผยแพร่ ทำให้มีหลายคนสนใจทำให้ขยายวงออกไป และมีกระแสเรียกร้องให้จัดอบรมความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารแก่บุคคลทั่วไป

จึงเป็นจุดเริ่มต้นการเปิดคอร์สวิชาเกษตรกรรมแบบยั่งยืน โดยใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านดัดแปลงเป็นห้องเรียนเกษตรทันที คุณนคร บอกว่า ไม่อยากจะเรียนว่าเป็นการสอน แต่คิดว่าเป็นการมาพูดคุยบอกเล่าประสบการณ์ที่เคยพบเห็นและได้ปฏิบัติจริง ในครั้งแรกมีคนมาจำนวน 10 คน และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ใช้เวลาเพียง 1 วัน เท่านั้น

แต่กระนั้นความร้อนแรงยังไม่หยุด ได้มีหน่วยงานราชการและเอกชนสนใจนำไปจัดกิจกรรมเชิญชวนประชาชนหันมาใส่ใจบริโภคผักที่ปลอดภัยกัน จึงมีการจัดเป็นโครงการสวนผักในเมือง ถือเป็นการปลุกให้คนเมืองสนใจการปลูกผักสวนครัวในบ้าน เพื่อให้เกิดความประหยัดและปลอดภัยต่อสุขภาพ

ในเวลาต่อมาครอบครัวได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีกหนึ่งแห่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบ้านหลังแรกแต่ยังไม่มีโครงการทำอะไร คุณนคร จึงจัดการขยับขยายปรับปรุงพื้นที่เพื่อสำหรับปลูกผักพืชสมุนไพรและอื่นๆ ที่มีความหลากหลายน่าสนใจเพิ่มขึ้นอีก พร้อมกับชักชวนสมาชิกในบ้านมาทำสวนครัวกันอย่างจริงจัง

พึ่งพาธรรมชาติแนวเกษตรอินทรีย์

สะท้อนกลับ เป็นรางวัลแก่ชีวิต ในระยะยาว

คุณนคร มองว่าวิถีการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านโดยทั่วไปมีลักษณะของการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่เป็นธรรมชาติในพื้นที่อาศัยอยู่อย่างเกิดประสิทธิภาพ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปัญหาเรื่องหนี้สินหรือเป็นความพยายามลดค่าใช้จ่าย แต่แนวทางของชาวบ้านที่ปฏิบัติกันเป็นวิถีชีวิตปกติกลับเป็นผลดีต่อสุขภาพที่ปลอดภัยและยั่งยืนแก่พวกเขาในระยะยาว

“ฉะนั้น จึงมีการนำวิธีนี้ไปเชื่อมโยงกับอีกยุคหนึ่งที่ผู้บริโภคในเมืองและไม่ได้ทำเกษตร แต่สนใจเฉพาะเรื่องสุขภาพ เป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่าผลผลิตที่มาจากเกษตรที่เป็นธรรมชาติแท้จริงสามารถบำบัดรักษาโรคที่เป็นโรคอารยธรรมหรือโรคแพ้ภัยตัวเอง เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือบวกกับอานิสงส์จากกระแสชีวจิต จึงทำให้คนเมืองหันมาใส่ใจเรื่องผักและวิธีการบริโภคที่ปลอดภัยต่อชีวิตกันมากขึ้น อีกประเด็นอาจมาจากเรื่องสิ่งแวดล้อมที่คนใส่ใจกันมาก เพราะมีการระบุว่าหากกลับมาทำการเกษตรแบบที่มีคุณภาพให้คล้อยตามธรรมชาติแล้ว จะนำไปสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเลวร้ายให้กลับมาดีเหมือนเดิม”

สรุปสิ่งที่ได้กลับมาแบบเต็ม เต็ม คือ สุขภาพที่ดีไร้โรคภัย ลดค่าใช้จ่ายในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง รักษาสิ่งแวดล้อม และนับเป็นทางเลือกใหม่ของผู้คนที่กำลังเข้าหาความสุข

“ผักประสานใจ” ถือเป็นหลักการเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มเดียวกันหรือเป็นการทำในลักษณะเป็นระบบชุมชน ซึ่งหลักการนี้เขาอธิบายว่าคนปลูกและคนกินต้องรู้จักกัน ต้องเป็นเพื่อนกัน เป็นการแยกระหว่างคนปลูกกับคนบริโภค แต่ต้องเป็นคนในกลุ่มเดียวกัน คนปลูกก็ปลูกไป แต่คนบริโภคควรสนับสนุนด้านปัจจัยแก่คนปลูก

ขณะเดียวกัน ควรชักชวนคนอื่นมาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายในด้านการลงทุนปลูกพืชจะมีมูลค่าที่แท้จริงบนพื้นฐานแห่งความช่วยเหลือกัน รวมถึงอาจเป็นการตกลงราคาที่เหมาะสมระหว่างกันและกัน เช่นอาจเก็บค่าสมาชิกเป็นรายปี 12,000 บาท แต่ถ้าเฉลี่ยเป็นรายสัปดาห์ใน 1 ปี จะพบว่าใช้เงินเพียงแค่สัปดาห์ละ 250 บาท อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าวิธีนี้เป็นเพียงแนวคิดที่กำลังจะทดลองทำเท่านั้น

“ดิน” แหล่งสะสมของธาตุอาหาร

หัวใจสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์

ส่วนแนวทางการปลูกพืชแบบอินทรีย์ของคุณนคร จะเน้นในเรื่องดินเป็นหลักเพราะดินที่ใช้เป็นการเลียนแบบดินที่อยู่ในป่าที่เป็นผลมาจากการสะสมของอินทรียวัตถุในปริมาณมาก อย่างเมื่อก่อนเคยทำเป็นปุ๋ยหมัก พอมาระยะหลังทำไม่ทัน เลยเปลี่ยนมาใช้วัสดุอินทรีย์หลายชนิด ทั้งปุ๋ยคอก เศษใบไม้ นำมาคลุกเคล้ากันแล้วบ่มดินไว้เพื่อให้แตกร่วนซุย เพราะดินที่ดีมีคุณภาพต้องจับตัวกันเป็นก้อนหลวมๆ เวลาบีบจะแตกเป็นเม็ดเล็กๆ มีสีคล้ำที่แสดงถึงความมีอินทรีย์สูง ด้วยคุณสมบัติที่ดินมีความโปร่งและร่วนซุยจะทำให้รากพืชสามารถชอนไชไปหากินอาหารได้ง่าย

นอกเหนือจาก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และอินทรียวัตถุอื่นที่มีส่วนสำคัญและเป็นหัวใจของการนำมาใช้ประกอบการปลูกพืชแนวนี้แล้ว การดูแลป้องกันโรคและแมลงที่มารบกวนก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คุณนคร เผยว่าควรจะปลูกพืชที่มีความหลากหลายรวมกัน เพื่อต้องการให้มีความเกื้อกูลกัน เช่น การปลูกไม้ดอกที่มีสีสันสวยงามเพื่อใช้ล่อแมลงที่จะมารบกวนพืชที่ปลูก แล้วแมลงเหล่านั้นจะทำลายกันเอง วิธีการเช่นนี้ถือเป็นเครื่องมือทางธรรมชาติในการล่อแมลงโดยไม่ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นแต่อย่างใด เพราะหัวใจของเกษตรอินทรีย์คือ ความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

ปัจจุบัน คุณนคร poipetsix.co.uk ยังคงจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แก่ผู้สนใจทั่วไปที่บ้านของเขา มีการจัดอบรมเดือนละครั้ง ใช้เวลาอบรมเพียง 1 วัน และจะแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกพูดคุยกันก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติต่อในช่วงที่สอง ในแต่ละครั้งจะอบรมจำนวน 30 คน เก็บคนละ 500 บาท เป็นค่าเอกสาร อาหาร และอุปกรณ์ นอกจากนั้นเขายังเดินสายให้ความรู้และความช่วยเหลือตลอดจนเป็นที่ปรึกษาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอีกหลายแห่ง

แนะวิธี…ปลูกสวนครัวง่ายๆ ไว้ในที่พัก

เขาให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชแต่มีเนื้อที่จำกัดว่า ควรจัดหาภาชนะมาปลูกแทนการลงดิน และควรให้พืชได้รับแสงแดด แต่หากมีข้อจำกัดในเรื่องแสงแดดอีก ก็อาจต้องหันไปเลือกพืชบางชนิดที่ไม่ต้องการแสง อาทิ การเพาะเห็ด หรือเพาะพวกเมล็ดงอกต่างๆ เช่น ทานตะวัน, หัวไชเท้างอก, ถั่วงอก เพราะพืชเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ปรุงอาหารได้อย่างสบาย

คุณนคร ยังเพิ่มเติมอีกว่า ในยุคที่เทคโนโลยีมาแรง ผู้บริโภคควรปรับพฤติกรรม ควรใช้วิธีการบริโภคแบบเรียนรู้มากกว่าการรอรับ หรืออย่ารอที่จะรับรู้เพียงอย่างเดียว เพราะข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันมีความรวดเร็วและว่องไว อาจทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดความสับสนได้ง่าย เพราะสิ่งที่เชื่อถือได้คือ สิ่งที่ต้องรับรู้ได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น อยากเน้นอีกครั้งว่าควรหันมาเป็นผู้บริโภคแบบเรียนรู้ดีกว่า

จึงควรเริ่มต้นด้วยการปลูกกินเอง ควรหาข้อพิสูจน์เปรียบเทียบให้ได้ถึงความแตกต่างระหว่างการใช้และไม่ใช้สารเคมี ควรรับรู้ด้วยตัวเองถึงรสชาติ และกลิ่น เพราะหากคุณเคยลิ้มลองรสชาติพืชผักที่เป็นธรรมชาติแท้จริงแล้ว เมื่อคุณไปบริโภคของที่มีรสชาติแปลกกว่า คุณจะรับรู้ทันทีว่ามันเป็นสารเคมี

“ในปัจจุบัน การบริโภคผักแบบปลอดสารอาจมีราคาแพงกว่าสารเคมี แต่ท่านยังมีทางเลือกอื่นที่ทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผู้บริโภคทุกคนมีพลังในการเลือก เพราะการบริโภคอาหารแต่ละอย่างถือเป็นการโหวตเพื่อเลือกว่าต้องการให้มีการบริโภคกันแบบใด แนวใดในสังคมนี้”

ฉะนั้น หากต้องการบริโภคแบบสดๆ ที่ไม่ต้องเดินทางไปไกล ไม่ต้องการเลือกผักที่ไม่รู้ว่าเบื้องหลังมีขั้นตอนและวิธีการทำอย่างไร ควรหันมาบริโภคให้ใกล้ตัวด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเองกัน อย่างน้อยก็ปลอดภัยทั้งเงินและชีวิต…จะดีกว่าไหม

สนใจต้องการทราบข้อมูล หรือขอคำแนะนำการทำสวนเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อปลูกไว้รับประทานภายในบ้าน ติดต่อ คุณนคร ได้ที่โทรศัพท์ 081-867-2042