เกษตรกรท่าบ่อ เพาะเห็ดฟาง สร้างรายได้เสริม หลังว่างจาก

การทำนา ใช้เงินลงทุนเพียงหลักหมื่น อาชีพโดยอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่อใคร ของชาวบ้านโพนธาตุ ตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย คือ การทำนา เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่น้อย หากใช้เวลาที่มีอยู่สร้างรายได้เสริม

คุณวิสันต์ อินทะปัญญา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านโพนธาตุ ผู้นำวิธีการเพาะเห็ดฟางเผยแพร่สู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้เสริม เล่าว่า อดีตชาวบ้านทำนาเพียงอย่างเดียว มีระยะเวลาไม่น้อยที่ว่างเว้นจากการทำนาในแต่ละปี จึงมองหารายได้เสริม ซึ่งตนได้ออกไปศึกษาและสมัครเข้ารับการอบรมการเพาะเห็ดฟางในจังหวัดใกล้เคียง เมื่อได้ความรู้ จึงนำมาเผยแพร่ต่อภายในชุมชน

ปี 2553 เกษตรกรบ้านโพนธาตุ เริ่มก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านโพนธาตุขึ้น มีคุณวิสันต์ เป็นประธานกลุ่ม มีสามาชิก 13 คน มีโรงเพาะเห็ดฟางทั้งสิ้นเกือบ 50 โรง

โรงเรือนเพาะเห็ด จำเป็นสำหรับผู้เพาะ เริ่มแรกสร้างโรงเรือน ขนาด 6X10 เมตร ใช้เงินลงทุน 17,000 บาทต่อโรงเรือน

ใน 1 โรงเรือน เพาะเห็ดได้ 30 ก้อน ใช้เวลาเพียง 20 วัน เก็บขายครั้งแรกได้ และเก็บได้เรื่อยๆ จนกว่าเห็ดจะหยุดออก จึงรื้อทิ้งแล้วลงใหม่ ต้นทุนก้อนเชื้อเห็ด ก้อนละ 13 บาท และต้องสั่งซื้อจากจังหวัดกาฬสินธุ์

ราคารับซื้อเห็ดฟาง เฉลี่ย 50-60 บาท ต่อ กิโลกรัม ตลอดการเพาะเห็ดฟาง 6 ปีที่ผ่านมา ราคารับซื้อเห็ดฟางต่ำสุดอยู่ที่ กิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งถือว่ายังได้ราคาที่ดี

การเพาะเห็ดฟาง เริ่มจากการนำวัสดุเพาะ ได้แก่ ขี้มัน มูลควาย หัวเชื้ออีเอ็ม กากน้ำตาล ยิปซั่ม หมักรวมกันไว้นาน 5 วัน จากนั้นเข้าขึ้นแปลง ใช้เครื่องอบไอน้ำฆ่าเชื้อ วันรุ่งขึ้นนำเชื้อเห็ดโรย แล้วใช้ผ้าคลุมโรงเรือนให้สนิทนาน 3-5 วัน รดน้ำรอบโรงเรือนและใต้ชั้น เมื่อครบ 3-5 วันแล้ว เปิดผ้าคลุมออกนิดหน่อยเพื่อระบายอากาศ รอ 3-5 วันถัดมา สามารถเก็บเห็ดฟางขายได้

แต่ละโรงเรือนเฉลี่ยเก็บเห็ดฟางได้ 150-200 กิโลกรัม ผู้สนใจ ติดต่อได้ที่คุณวิสันต์ อินทะปัญญา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านโพนธาตุ ตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โทรศัพท์

“วังหินโมเดล” ชุมชนขับเคลื่อนการพัฒนา รวมกลุ่มแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำภายใต้บริบทของชุมชนเอง ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ปรับวิถีเกษตรกรรม ลดพื้นที่ทำนา หันมาเน้นอาชีพเสริมเลี้ยงโค-กระบือ ตามวัฒนธรรมดั้งเดิม เพิ่มรายได้สร้างชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐานของความสามัคคีชูเป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบของโคราช ร่วม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งตามพระราชดำริ” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่า ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาล ปิดทองหลังพระฯ ได้ให้ความสำคัญกับการขยายผลการพัฒนาในระดับครัวเรือนและการรวมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้กับชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน โดยจัดศึกษาดูงานชุมชนตำบลวังหิน อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จเชิงประจักษ์ระดับชุมชนที่น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาปรับใช้จนประสบความสำเร็จ เป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขและพัฒนาตนเอง

นายณรงค์ วุ่นซิ้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า “วังหินโมเดล” ถือว่าเป็นต้นแบบการทำเกษตรผสมผสาน เอาชนะภัยแล้ง ด้วยพลังความร่วมมือของชาวบ้านในการฟื้นฟูและขยายเครือข่ายกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือ ด้วยทุนเดิมที่มีในชุมชนควบคู่กับการทำนา พัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และนำไปสู่เศรษฐกิจชุมชนพึ่งพาตนเอง

ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยรับฟังปัญหาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง พบว่า ตำบลวังหิน อำเภอโนนแดง ซึ่งมีทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน พื้นที่รวมกว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกว่า ๑๕,๐๐๐ ไร่ นั้น เป็นพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน ประสบปัญหาแล้งซ้ำซากหรือน้ำท่วม โดยในปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ผลผลิตเสียหายเกือบทั้งหมด เป็นพื้นที่เสี่ยง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์ อาชีพเสริมคือทอเสื่อ ทอผ้าไหมและมีการเลี้ยงโคกระบือเพิ่มรายได้ แต่เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ทำให้ไม่ได้คุณภาพ ขายไม่ได้ราคาเท่าที่ควร จึงอยากเปลี่ยนแนวทางทำเกษตร

“จากปัจจัยดังกล่าว ประกอบกับนโยบายรัฐที่ให้ลดพื้นที่การทำนา นำมาสู่การจุดประกายเรื่องการเลี้ยงโค-กระบือแบบครบวงจร โดยส่งเสริมให้แบ่งพื้นที่มาปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อเลี้ยงโค-กระบือ ลดความเสี่ยงการปลูกข้าวไม่ได้ผลผลิต ซึ่งคุณสมบัติของหญ้าเนเปียร์คือ โตเร็ว รสหวาน สามารถเป็นอาหารสัตว์ได้หลากหลาย กระตุ้นชาวบ้านให้มองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแนวทางลดพื้นที่ทำนา มาปลกหญ้า ทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่ต้องเดินทางไปหาหญ้าต่างถิ่น ครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกัน สร้างทางเลือกในการเพิ่มรายได้ด้านเลี้ยงสัตว์ และปลูกหญ้า”

ปัจจุบันชาวบ้านเห็นความสำคัญจากที่ผู้นำชุมชน เพื่อบ้านที่ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่าง และเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตร หันมาขยายพันธุ์ปลูกหญ้าเนเปียร์มากขึ้น ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและแปลงส่วนรวมในพื้นที่สาธารณะเพิ่มปริมาณการเลี้ยงโค-กระบือในพื้นที่ โดยกรรมวิธีการเลี้ยงแบบประณีตในคอก แทนการเลี้ยงแบบธรรมชาติมีปศุสัตว์อำเภอให้การอบรมทักษะด้านการดูแลรักษา การสุขาภิบาลสัตว์ การขยายพันธุ์ และฝึกให้เป็น “ปศุสัตว์อาสา” ประจำหมู่บ้าน จากการปฏิบัติจริง ทำการอบรมทุกเดือนๆละ ๑ ครั้ง ทำให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ตำบลวังหิน จากเดิมเมื่อปี ๒๕๕๐ เกษตรกรได้รับสนับสนุน โค-กระบือ จากธนาคารโค-กระบือ จำนวน ๒๖ ราย ปัจจุบันขยายสมาชิกเพิ่มเป็น ๑๐๑ ราย มีโค จำนวน ๑๗๗ ตัว กระบือ ๔๕ ตัว นอกจากนั้นยังมีหลายรายที่ซื้อมาเลี้ยงเอง มีโค ๑,๑๑๒ ตัว กระบือ ๕๓๖ ตัวผู้เลี้ยงทั้งหมด ๕๐๐ ครัวเรือนและยังมีสามชิกที่ลงทะเบียนขอสนับสนุนพ่อ-แม่พันธุ์จากธนาคารโค-กระบือเพิ่มอีก ๑๕๐ ราย โดยมีกลุ่มผู้เลี้ยงโค-กระบือ อยู่ ๓ กลุ่มหลัก คือ ๑) กลุ่มธนาคารโค-กระบือเดิมซึ่งเทศบาลดูแล ๒) กลุ่มผู้เลี้ยงโคบ้านหนองขี้เหล็ก ๓) กลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ ทั้ง ๓ กลุ่มอยู่ในการควบคุมของเทศบาลตำบล โดยเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลพร้อมทั้งติดตามให้ความรู้สมาชิก รวมถึงมีการฟื้นฟูการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงโค-กระบือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้เกษตรกรช่วยเหลือกัน พร้อมทั้งเรียนรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง

“เป้าหมายต่อไปคือ การเพิ่มจำนวนผู้เลี้ยงโคให้มากขึ้น ๑๐% ต่อปี จากเดิมที่จังหวัดกำหนดเป้าหมายไว้ ๕% ต่อปี ปัจจุบันเกินเป้าที่ตั้งไว้ รวมถึงการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้ราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาต่อยอด ผลิตภัณฑ์จากโค-กระบือ เช่น ปุ๋ยจากมูลสัตว์ นำมาใช้ในกลุ่มผู้ปลูกผัก และอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เกษตรกรที่เลี้ยงโค-กระบือ รู้จักการเปรียบเทียบ เช่น ทำนา ๓ ไร่ ได้ข้าว ๑ ตัน ขายได้เงินไม่เท่ากับขายโค ๑ ตัว หากลดพื้นที่นามาปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้หลายตัวจะได้เงินมากกว่า”

ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมาได้นำ “วังหินโมเดล” มาใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาขยายผลออกไปยังอีก ๘ อำเภอ

จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ยังได้จัดให้มี “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งตามพระราชดำริ” โดยตัวแทนจาก ๕ ชุมชน คือ ชุมชนบ้านบึงคำคู ตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย ชุมชนบ้านดอนยาวน้อย ตำบลวังหิน อำเภอโนนแดง ชุมชนบ้านตะครองงาม ตำบลลุงเขว้า อำเภอหนองบุญมาก ชุมชนบ้านเตย ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย และชุมชนบ้านพุดซา ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช เพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำเสนอประสบการณ์พัฒนาชุมชน ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค ซึ่งสามารถสร้างการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

การดำเนินงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เพื่อบูรณาการร่วมกันในการประยุกต์ใช้ในแนวพระราชดำริเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

ผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) กับประโยชน์ทางโภชนาการ Hydroponics เป็นการผสมคำภาษากรีก 2 คำ คือ Hydro แปลว่า “น้ำ” Ponos แปลว่า “งาน” เมื่อนำความหมายรวมกันมาใช้กับการปลูกพืช จึงหมายถึง การปลูกพืชลงบนธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง นั้นหมายความว่า เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นอกจากนี้ การผลิตพืชผักบนดินก็ยังได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง พายุ และความเสื่อมของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีมากจนเกินไป ทำให้การปลูกพืชผัก แบบ Hydroponics เป็นเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว

จุดเด่นของการปลูกผักในระบบ Hydroponics มีดังนี้ คือผักมีความอุดมสมบูรณ์สูง โตเร็ว เพราะได้รับสารอาหารอย่างสมดุล ผักสะอาดปราศจากยาฆ่าแมลงและเชื้อโรค สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ กำหนดหรือวางแผนการผลิตได้ต่อเนื่อง

ปัจจุบัน ผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ได้รับความนิยมอย่างมากในฐานะผักปลอดสารพิษ ซึ่งทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอตลอดทั้งปี ผักเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีความปลอดภัยสูง เนื่องด้วยผักอุดมไปด้วยวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ซึ่งให้ไขมันต่ำด้วย มีน้ำ และกากเส้นใยอาหารจำนวนมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี เมื่อระบบขับถ่ายดี จะลดการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ปลายลำไส้ใหญ่ขับถ่ายกากใยพร้อมสารพิษออกมา นั้นเป็นแหล่งสารอาหารที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ และต้านทานโรคภัยต่างๆ ได้สบาย โดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินดี รวมถึงสารประกอบที่มีประโยชน์อื่นๆ

คุณวรรณนิภา เรืองทัพ บ้านเลขที่ 70/7 หมู่ที่ 4 บ้านหนองสะเดา ตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โทร. (086) 110-6387, (084) 868-8474 เจ้าของ “สุดใจ Hydroponics จ.พิจิตร

คุณวรรณนิภา เล่าย้อนไปว่า ก่อนหน้านี้เคยทำอาชีพเป็นสาวโรงงานเกือบ 15 ปี ก็คิดว่าอยากกลับมาทำอาชีพเกษตร ซึ่งในเบื้องต้นก็ได้ศึกษาข้อมูลในยูทูบและในกลุ่มผู้ที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในเฟซบุ๊ก ซึ่งได้ความรู้และเทคนิคต่างๆ เป็นอย่างดี หรือช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หลังจากแน่ใจก็ปรึกษาแฟน ก็ลงมือซื้ออุปกรณ์ต่างๆ สร้างสวนผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้นมา แล้วตั้งชื่อสวนว่า “สุดใจ Hydroponics จ.พิจิตร”

คุณวรรณนิภา เล่าว่า การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์นั้น มีอยู่ 4 แบบ (หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากอินเตอร์เน็ต) แต่ตนเองได้เลือกการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ระบบกึ่งน้ำลึก DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบที่มีการทำงาน คือให้น้ำผสมธาตุอาหารไหลผ่านรากพืชในรางปลูก แต่ระดับน้ำที่ไหลผ่านรากพืชนั้นจะมีความลึกพอสมควร โดยระดับน้ำที่ไหลผ่านรากนั้นจะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 1-10 เซนติเมตร (ตามความเหมาะสม)

ระบบนี้เมื่อไฟฟ้าขัดข้องจนไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ปั๊มน้ำได้ จะยังคงมีน้ำที่ใช้ปลูกพืชเหลือค้างบางส่วนในรางปลูก ทำให้รากพืชไม่ขาดน้ำในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ระบบ DRFT นี้ ผู้ปลูกจะต้องมีการปรับลดระดับน้ำในรางปลูกเช่นเดียวกับ ระบบ DFT ด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอากาศที่รากพืชเมื่อพืชมีอายุปลูกมากขึ้น

ซึ่งจุดเด่นของระบบกึ่งน้ำลึก DRFT ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ ระบบ NFT แต่ด้วยระดับน้ำที่สูงขึ้น และมีน้ำส่วนหนึ่งที่จะค้างอยู่ในรางปลูก ทำให้ลดปัญหาเมื่อปั๊มน้ำไม่สามารถจ่ายน้ำเข้ารางปลูกได้ ผู้ปลูกสามารถใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาดัดแปลงเป็นรางปลูก และมีราคาประหยัดกว่ารางปลูก แบบ NFT อาทิ ท่อน้ำ PVC รางน้ำฝนไวนิล รางครอบสายไฟ ฯลฯ

โครงสร้างของโต๊ะปลูกสามารถทำจากวัสดุที่ไม่ต้องแข็งแรงมากนัก เนื่องจากไม่ต้องรับน้ำหนักของน้ำที่มากเหมือนกับ ระบบ DFT ใช้น้ำและปุ๋ยน้อยกว่า ระบบ DFT จึงทำให้สามารถควบคุมค่า EC และ pH ได้ง่ายกว่า ระบบ DFT

จากประสบการณ์ที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มา ก็พอได้คำตอบในข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เช่นปลูกผักได้ทุกชนิด ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดิน เนื่องจากเป็นการปลูกโดยไม่ใช้ดิน สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ซึ่งดินมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว หรือดินปนเปื้อนด้วยสารพิษ เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่ซึ่งไม่มีดิน เช่น บนอาคารสูง ดาดฟ้า บริเวณบ้านจัดสรร เป็นต้น

พื้นที่โรงเรือนปลูก 1 งาน ตอนนี้มีโต๊ะปลูกผักทั้งหมด 16 โต๊ะปลูก โดย 1 โต๊ะปลูก จะประกอบด้วย 8 รางปลูก ซึ่งในแต่ละรางปลูกจะมีความยาว 6 เมตร โดยจะวางแผนการปลูก สัปดาห์ละ4 โต๊ะ เพื่อให้ผักมีผลผลิตออกมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง เฉลี่ยแล้วจะได้น้ำหนักผักรวมราว 100 กิโลกรัม แต่ในช่วงหน้าหนาวที่เป็นช่วงที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของผักสลัด น้ำหนักผักจะดีมาก ซึ่งอาจจะสูงถึง 150 กิโลกรัม ต่อจำนวน 4 โต๊ะปลูก

เน้นปลูกส่งขายพ่อค้า-แม่ค้า ที่มารับไปขายต่อ ซึ่งจะขายในราคาส่ง เฉลี่ย 40-50 บาท ต่อกิโลกรัมเนื่องจากซื้อผักทั้งหมดบนโต๊ะ แต่ถ้าขายปลีกในพื้นที่ ก็จะได้ราคาสูงกว่า เฉลี่ย 80-100 บาท ต่อกิโลกรัม รายได้รวมต่อเดือนที่ได้จากการขายผัก เฉลี่ย 20,000-25,000 บาท ต่อเดือน หลังหักค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตประมาณ 5,000 บาท ต่อเดือนแล้ว ก็ถือว่าอาชีพการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็สามารถอยู่ได้ ต้นทุนนั้นก็จะมี ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเมล็ดพันธุ์ผักสลัด ค่าปุ๋ย ราว 5,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะต้องใช้หัก

รายได้แต่ละเดือนในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะมีรายได้เฉลี่ย 20,000-25,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งถือว่าพออยู่ได้ อย่างน้อยก็ได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว ทำงานไม่หนัก อย่างเช่น การทำนา ใช้พื้นที่น้อยเพียง 1 งาน เท่านั้น ซึ่งอนาคตก็จะหาตลาดเพิ่มเพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิต เนื่องจากตนเองเพิ่งทำมาได้เพียง 1 ปี เท่านั้น

กิจวัตรประจำวันจะเติมปุ๋ยตอนเย็นทุกๆ วัน แต่จะต้องเติมน้ำปุ๋ยในช่วงที่แดดไม่ร้อนมากแล้ว เนื่องจากถ้าน้ำปุ๋ยในถังร้อนจะส่งผลให้น้ำปุ๋ยซึ่งเป็นสารละลายที่เติมลงไปจะตกตะกอน ส่วนหนึ่งก็ต้องไม่ให้ถังน้ำปุ๋ยทุกโต๊ะปลูกจะต้องไม่ร้อน มันจะส่งผลต่อผัก ทำให้ผักไม่โต เกิดโรครากเน่า อย่างการเติมน้ำปุ๋ยจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมประกอบ อย่างหน้าร้อนที่ต้นผักจะคายน้ำมาก ซึ่งทำให้น้ำปุ๋ยในถังถูกพืชใช้ไปและระเหยหายจากถังไปราวๆ 10-15 เซนติเมตร เลยในแต่ละวัน ดังนั้น ต้องเติมน้ำปุ๋ยลงไปทดแทนในถังของแต่ละวัน อีกอย่างเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อระดับน้ำในรางปลูกที่จะหมุนเวียนผ่านรากผักไม่ให้ลดต่ำลง

คุณวรรณนิภา เล่าว่า ตอนนี้จะปลูกผักสลัดอยู่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดคือ กรีนโอ๊ค (Green Oak Lettuce) กรีนโอ๊ค ผักสลัดใบหยัก สีเขียวอ่อน เนื้อค่อนข้างนุ่ม คุณค่าทางโภชนาการ มีรสหวานกรอบ มีกากใยอาหารช่วยในการย่อยง่าย ช่วยบำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ บำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันโรคหวัด

ผลผลิตของผักสลัด สลัดกรีนโอ๊ค จากที่ปลูกมาผลผลิตที่ชั่งน้ำหนักได้ ประมาณ 5 ต้น ต่อกิโลกรัม

เรดโอ๊ค (Red Oak Lettuce) เรดโอ๊ค ผักสลัดใบหยัก สีแดงอ่อน เนื้อค่อนข้างนุ่ม คุณค่าทางโภชนาการ มีรสหวาน กรอบ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม มีกากใยอาหารช่วยในการย่อยง่าย บำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ล้างผนังลำไส้ กำจัดพวกไขมัน และยังมีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง สลัดเรดโอ๊ค จากที่ปลูกมาผลผลิตที่ชั่งน้ำหนัก ประมาณ 8-10 ต้น ต่อกิโลกรัม

ผักกาดคอส (Cos Lettuce, Romaine Lettuce) ผักกาดคอสมีชื่อเรียกมากมาย ทั้งผักกาดโรเมน ผักกรีนคอส เบบี้คอส บ้างก็เรียกผักกาดหวาน เป็นผักอันดับต้นๆ ที่นิยมรับประทานเป็นสลัดผัก ด้วยความที่ผักกาดชนิดนี้มีรสชาติขมเล็กน้อย แต่มีความกรอบและเบา เหมาะจะนำไปทำเป็นซีซาร์สลัดได้สบายๆ นอกจากนี้ ผักกาดคอสยังอุดมไปด้วยวิตามินซี มีไฟเบอร์สูง โพแทสเซียม และกรดโฟรเลตก็สูงไม่แพ้กันด้วย ผักกาดคอสจากที่ปลูกมา ผลผลิตที่ชั่งน้ำหนักได้ ประมาณ 4-5 ต้น ต่อกิโลกรัม

ฟิลเลย์ ไอซ์เบิร์ก (Fillie Iceburg Lettuce) ผักสลัดใบเขียว ใบหยิกเป็นฝอย ใบแข็งกรอบ ฉ่ำน้ำ คุณค่าทางโภชนาการ ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ใบมีสีเขียว ทรงพุ่มใหญ่สวยงาม ขอบใบหยัก ห่อคล้ายลูกกลม คล้ายกะหล่ำปลีหัว กาบใบห่อเข้าหากันเป็นชั้นๆ ห่อหัว เมื่ออากาศเย็นปลายใบหยิกเป็นฝอย
ใบแข็งกรอบ ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานกรอบ สลัดฟิลเลย์ ไอซ์เบิร์ก จากที่ปลูกมา ผลผลิตที่ชั่งน้ำหนักได้ ประมาณ 4-5 ต้น ต่อกิโลกรัม

เมล็ดพันธุ์ก็มีให้เลือกซื้อจากหลายแหล่ง ก็เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง หาซื้อได้ทั่วไปจากเว็บไซต์หรือในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ผักสลัดที่จะนำมาเพาะปลูก จะมี 2 แบบ คือ

เมล็ดแบบเคลือบ สำหรับเมล็ดผักสลัดที่เราปลูกอยู่ ถ้าเป็นเมล็ดแบบเคลือบ จะเรียกว่า Primed seed ซึ่งเมล็ดจะถูกกระตุ้นให้เกิดการงอกก่อน แล้วจึงนำมาเคลือบแป้ง (Pelleted seed) อีกที ซึ่งจากการที่กระตุ้นให้เมล็ดงอกก่อน ทำให้เมล็ดพันธุ์แบบนี้มีอายุการเก็บรักษาสั้น ซึ่งถ้าเลือกซื้อมาใช้ ควรใช้ให้หมดโดยเร็ว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป สำหรับข้อดีของการใช้เมล็ดแบบเคลือบก็คือ สะดวกในการเพาะ อัตราการงอกสม่ำเสมอ และเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง แต่ราคาก็จะสูงกว่าเมล็ดแบบไม่เคลือบ

เมล็ดแบบไม่เคลือบ เมล็ดประเภทนี้จะผ่านการลดความชื้น และทำความสะอาดมาแล้ว ในบางครั้งเมล็ดแบบนี้จะมีการคลุกสารเพื่อช่วยให้มีความต้านทานต่อเชื้อโรคในระยะแรกของการงอกเป็นต้นกล้า ถ้าเลือกใช้เมล็ดแบบนี้ก็ควรถามผู้ขายดูด้วยครับว่า มีการคลุกสารป้องกันเชื้อโรคมาให้ด้วยหรือไม่ ถ้ามี หลังจากที่เราเพาะเมล็ดเสร็จแล้วก็ควรล้างมือให้สะอาดด้วย เมล็ดประเภทนี้อายุเก็บรักษาจะนานกว่าเมล็ดแบบเคลือบ แต่เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

สองสามี – ภรรยา ที่ชอบค้าขายและความท้าทาย เงินเดือนรวมกันเฉียดแสน ตัดสินใจโบกมือลาชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองกรุง ออกเดินทางตามความฝัน ด้วยการปักหมุดสร้างสวนไผ่แห่งความสุข 9 ไร่ ที่จังหวัดอุดรธานี เก็บหน่อไม้ขายวันละ 30 กิโลกรัม ขายกิ่งพันธุ์ร่วมด้วย รายได้เดือนละ 75,000 บาท ชีวิตแฮปปี้ ได้อยู่กับลูกชาย 2 คน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ แถมได้กินหลากเมนูอร่อยๆ ทำจากหน่อไม้ตลอดทั้งปี

คุณเพ็ญศิริ ลลิตวิภาส หรือคุณโบว์ ภรรยาคุณสมเจตน์ สมัครเว็บบอลออนไลน์ หรือคุณสิงห์ สองสามีภรรยาเจ้าของสวนไผ่ ณ บ้านทุ่ง ที่จังหวัดอุดรธานี เล่าว่า ฝ่ายสามีเคยทำงานด้านคอมพิวเตอร์ 14 ปี รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระบบเซิร์ฟเวอร์ ณ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เงินเดือนราว 60,000 บาท ส่วนตัวเองจบบัญชี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทำธุรกิจส่วนตัว ขายงานศิลปะตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ระบายสี และกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน รวมรายได้ 2 คนต่อเดือนก็เกือบ 1แสนบาท

อย่างไรก็ตามแม้รายได้จะดี แต่ภรรยาในวัย 37 ปี บอกว่า ไม่ได้ชื่นชอบวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ตรงกันข้ามวางแผนบั้นปลายชีวิตไว้ว่า อยากมีครอบครัวที่อบอุ่น อยากเลี้ยงลูกเอง และที่สำคัญอยากประกอบอาชีพอิสระ นี่คือแรงบันดาลใจ ที่ทั้งคู่ผันตัวมาเป็นเกษตรกร

ทั้งคุณโบว์ และคุณสิงห์ ช่วงที่ทำงาน ทั้งคู่นำเงินเก็บค่อยๆ ซื้อที่ดินสะสมเรื่อยมา ที่ ต.บ้านขาว อ.เมือง จ.อุดรธานี ราว 10ปี มีที่ดิน 80 ไร่ ตอนแรกยังไม่ได้ปลูกไผ่ แต่ปลูกอ้อย 50 ไร่ ลงทุนเกือบ 6 แสนบาท ปลูกนาน 4 ปี ขาดทุนสะสม 4 แสนบาท หนที่สุด ทั้งคู่เลิกปลูกอ้อย หันมาปลูกไผ่แทน

“ตอนแรกที่ตัดสินใจปลูกอ้อยเพราะเห็นว่าคนแถวบ้านปลูกอ้อยขายได้ราคาดี เลยจ้างคนมาปลูกบ้าง แต่ปรากฏว่าขาดทุน ปี พ.ศ.2553 เลยมาดูแลเอง และลดพื้นที่ปลูกอ้อยจาก 50 ไร่ เหลือเพียง 17 ไร่ ก็เริ่มมีกำไรไร่ละ 4,000 บาท”