เกษตรกรนครปฐม ปลูกมะเขือยาวสร้างรายได้ ผลผลิตดี ส่งขาย

มะเขือยาว เป็นอีกหนึ่งชนิดพืชที่ผลผลิตเมื่อออกมาแล้ว สามารถนำผลมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นยำมะเขือยาวเผา ผัดมะเขือยาว หรือจะนำมะเขือยาวมาชุบไข่แล้วทอดให้เหลืองสวย นำมารับประทานคู่กับน้ำพริกกะปิก็เข้ากันได้อย่างลงตัวทีเดียว อย่างทางภาคเหนือจะนำมะเขือยาวไปทำเป็นน้ำพริกหนุ่ม เมื่อนำมารับประทานคู่กับแคบหมูก็อร่อยลงตัวไม่เบาเช่นกัน

จากความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่นั้น จึงทำให้มะเขือยาวยังเป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการเกษตรที่ตลาดยังมีความต้องการ จึงทำให้ คุณภัทร พูลทวี อยู่บ้านเลขที่ 6/2 หมู่ที่ 4 ตำบลศรีษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ได้ปลูกมะเขือยาวเพื่อส่งจำหน่ายให้กับตลาดผัก โดยผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี ส่งจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย

คุณภัทร เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เริ่มทำงานได้ก็เลือกอาชีพทางการเกษตรเป็นงานหลัก โดยในช่วงแรกเลือกปลูกฝรั่งแป้นสีทองเพื่อสร้างรายได้ ต่อมาจึงได้เลิกปลูกฝรั่งแป้นสีทองไป เพราะมองว่าฝรั่งค่อนข้างดูแลยากในการจัดการ และไม่สามารถปลูกพืชอื่นทดแทนได้ จึงได้เลือกพืชที่สามารถปลูกแบบหมุนเวียนได้เป็นพืชผักในเวลาต่อมา

“พอเริ่มคิดที่จะเปลี่ยน ว่าจะทำอะไรดี ก็เลยได้คำตอบเป็นมะเขือยาว เพราะช่วงนั้นราคาค่อนข้างดี โดยเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพมาปลูก โดยต้นมะเขือยาวที่ปลูกในสวน จะใช้ตอมะเขือพวงและเอายอดของมะเขือยาวพันธุ์ดีมาเสียบลงไป ก็จะช่วยทำให้ต้นมะเขือยาวที่ปลูกมีความแข็งแรง ทนโรค และเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดี สามารถมีอายุปลูกได้อย่างต่ำ ประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี” คุณภัทร บอก

ในการเตรียมพื้นที่ปลูกนั้น คุณภัทร บอกว่า เนื่องจากพื้นที่เป็นร่องสวนที่ปลูกฝรั่งอยู่เดิม จึงไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่อะไรมาก เพราะมองว่าหากมีการปรับเป็นสภาพแปลงสวนผักทั่วไป เมื่อเวลาที่ฝนตกลงมาจะทำให้ระบายน้ำได้ไม่ดี จึงยังคงสภาพเดิมของร่องสวนและร่องน้ำไว้ โดยสันร่องมีความกว้างอยู่ที่ 2.5 เมตร ก่อนที่จะนำต้นมะเขือยาวลงมาปลูก จะปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่ลงไปช่วยด้วย

จากนั้น นำต้นมะเขือยาวที่เสียบยอดจนสนิทดีแล้ว มาปลูกลงในสันร่องที่เตรียมไว้ ให้ระยะห่างต้นมะเขือยาว อยู่ที่ 2 เมตร เมื่อปลูกจนได้อายุ 15 วัน จะใส่ปุ๋ย สูตร 24-7-7 ลงไป เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของต้น พอมะเขือยาวได้อายุเข้าสู่ 2 เดือน ก็จะเริ่มออกดอกติดผลให้ได้เก็บผลไปขายได้

“ที่นี่ถือว่าดินดี หลังผมปลูกไปได้ 2 เดือนครึ่ง ก็จะสามารถตัดมะเขือยาวมีดแรกขายได้แล้ว พอเราตัดไปเรื่อยๆ มันก็จะแตกกิ่งใหม่ เราก็จะได้ผลมาตัดขายได้เรื่อยๆ ซึ่งที่นี่ก็จะตัดทุก 3 วันครั้ง ช่วงที่ตัดก็จะเติมปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดลงไปด้วย เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น” คุณภัทร บอกถึงวิธีการดูแลรักษาต้น

ในเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืชนั้น คุณภัทร บอกว่า ให้ระวังมากที่สุดคือ เพลี้ยไฟ จะระบาดช่วงหน้าร้อน ก็จะมีการฉีดพ่นยาเพื่อเป็นการป้องกันด้วย ส่วนในเรื่องโรคต่างๆ จะเกิดมากในช่วงฝนก็จะมีการฉีดยาป้องกันโรคต่างๆ เช่นกัน เพื่อไม่ให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย

ด้านการตลาดส่วนใหญ่จะส่งจำหน่ายให้กับผู้ที่รับซื้ออยู่ในจังหวัดนครปฐม คุณภัทร บอกว่า จะไม่เน้นจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ช่วยในเรื่องของการถูกกดราคาได้ โดยสามารถจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 12-32 บาท โดยราคาขึ้นลงได้ตามกลไกของตลาด

ณ เวลานี้ การทำเกษตรจึงเป็นงานอิสระ ที่ คุณภัทร บอกว่า ทำแล้วมีความสุข สามารถเป็นผู้กำหนดเรื่องเวลาการทำงานได้ ถ้าอยากมีรายได้มากก็สามารถทำให้มีผลผลิตที่มากขึ้น ถึงเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่ากับแรงที่ลงทุนไป ดังนั้น การทำเกษตรหากมีใจรักและชอบ ยังไงก็ประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน

“มันสำปะหลัง” เป็นสินค้าพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของโลก รองจาก อ้อย ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง สำหรับประเทศไทย มันสำปะหลังนับเป็นพืชเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ที่สำคัญ มีปริมาณการผลิตมากกว่า 20 ล้านตัน ในแต่ละปี โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอันดับหนึ่งของโลกด้วย

มันสำปะหลัง เป็นพืชอาหารหลักของมนุษย์และสัตว์ เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ประกอบการผลิตในอุตสาหกรรมมากมาย จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการปรับปรุงและยกระดับโซ่คุณค่าของมันสำปะหลัง เพื่อให้เกษตรกรผู้เป็นต้นน้ำของโซ่คุณค่ามันสำปะหลังอยู่รอดและสืบทอดกิจการต่อไปอย่างยั่งยืน สุดท้ายนี้ การจะหากำไรจากการผลิตมันสำปะหลังคงต้องเริ่มหาจากการผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพ ผลิตในปริมาณที่ตลาดและภาคอุตสาหกรรมยอมรับ อาจต้องนำนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ เข้ามาช่วยปรับปรุงการผลิตหรือมาช่วยลดต้นทุน ถ้ามีการวางแผนการผลิตที่ดีก็จะช่วยลดการเกิดปัญหาสินค้าล้นตลาดและถูกตัดราคาได้

ธุรกิจมันสำปะหลัง นับเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ “สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก” เลขที่ 212 หมู่ที่ 5 ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180 โทรศัพท์ (055) 745-540, (055) 745-540 ภายใต้การนำของประธานกรรมการ “คุณไพรัช อุนะพำนัก”

สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2518 สมาชิกแรกตั้ง 461 คน ปัจจุบัน มีสมาชิกจำนวน 3,980 คน ที่ผ่านมา สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ได้ดำเนินงานในพื้นที่ 2 อำเภอ 5 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ประกอบด้วย ตำบลวังทอง ตำบลนาบ่อคำ ตำบลคลองแม่ลาย และอำเภอคลองลาน ประกอบด้วย ตำบลสักงาม ตำบลคลองน้ำไหล

ปัจจุบัน ทางสหกรณ์ได้จัดทำ โครงการ “มันสำปะหลังสร้างอาชีพเพื่อเกษตรกร” เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีสภาพพื้นที่ทำกินแตกต่างกันไป มีทั้งพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก อีกทั้งสมาชิกยังประสบปัญหาทางด้านภัยแล้ง ทำให้การปลูกมันสำปะหลัง ข้าว และอ้อย ได้ผลผลิตน้อย ทำให้เกษตรกรขาดรายได้และมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด มีแนวคิดในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ภายใต้ โครงการ Agri-Map พื้นที่การเกษตร โดยส่งเสริมสมาชิก จำนวน 1,854 ราย ปลูกมันสำปะหลังให้เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะมันสำปะหลังเพื่อส่งเสริมสมาชิกปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตตรงความต้องการของตลาดและเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกได้เชื่อมโยงธุรกิจด้านต่างๆ ระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก โดยสหกรณ์เป็นผู้รวบรวม จัดหาสินค้ามาจำหน่าย พร้อมปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิก โดยเน้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมกับสหกรณ์ให้มากที่สุด

นอกจากนี้ สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ยังได้ดำเนินโครงการนวัตกรรมการแปรรูปมันสำปะหลังสู่อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร โดยส่งเสริมด้านอาชีพให้แก่สมาชิกและเกษตรกรผู้ที่สนใจ ซึ่งสมาชิก/เกษตรกรทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และสามารถต่อยอดอาชีพของตนจากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ได้เป็นอย่างมาก

ใช้สื่อโซเชี่ยลพัฒนาตลาด

สหกรณ์ฯ แห่งนี้ มีความคิดริเริ่มที่จะใช้ โครงการแอปพลิเคชั่น Facebook Line สู่เป้าหมายการบริการ ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เนื่องจากสหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกเป็นจำนวนมากถึง 3,980 ราย เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบข่าวสารการดำเนินงานของสหกรณ์ หรือข้อมูลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ผ่านคณะกรรมการ ประธานกลุ่ม เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างสมาชิกล่าช้า และไม่ครอบคลุมและทั่วถึง

ทางสหกรณ์จึงพัฒนาระบบด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร และข้อมูลสารสนเทศ โดยการใช้แอปพลิเคชั่น Facebook และ Line เพื่อกระจายข่าวสารหรือแจ้งโครงการต่างๆ ของภาครัฐและของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และเพื่อให้สมาชิกรับทราบความเคลื่อนไหวของสหกรณ์ทั้งภายในและภายนอก รับทราบราคาสินค้า และสมาชิกสามารถแจ้งความต้องการของสมาชิกในการสั่งซื้อสินค้า รวมถึงตอบปัญหาด้านต่างๆ ที่สมาชิกสงสัย ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้เป็นการพัฒนาองค์กร พร้อมก้าวสู่ยุคไทยแลน 4.0 พร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ด้านต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ สมาชิกสามารถรับรู้ข่าวสารและโครงการต่างๆ ของสหกรณ์และภาครัฐที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตและปรับเปลี่ยนวิธีการคิดในแง่มุมต่างๆ รวมถึงนำความรู้มาพัฒนาผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ สมาชิกสามารถติดต่อกับสหกรณ์ได้รวดเร็วและได้รับบริการจากสหกรณ์ได้รวดเร็วและได้สินค้าตรงตามความต้องการ ทั้งนี้สหกรณ์ยังสามารถนำข้อเสนอของสมาชิกมาปรับปรุงในด้านการบริหารและดำเนินการได้ตรงอย่างตรงตามความต้องการและถูกต้อง

เดินตามรอยพ่อ อย่างพอเพียง

ปัจจุบัน สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ที่มีสมาชิก จำนวน 3,980 ราย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกมันสำปะหลัง ข้าว และอ้อย ในสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน และปัญหาเกษตรกรประสบภัยแล้งทำให้การปลูกพืชหลักไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร ทำให้สมาชิกเกษตรกรขาดรายได้ มีหนี้สินเพิ่มขึ้น

ทางคณะกรรมการสหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด เล็งเห็นว่า ทุกวันนี้การพัฒนาสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน การพัฒนาในด้านบวก และการเปลี่ยนแปลงด้านลบ สิ่งสำคัญก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและแนวทางการแก้ไขเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้

ขับเคลื่อนสหกรณ์ ด้วย Smart 4 M

เนื่องจากสหกรณ์มีพื้นที่ดำเนินงานกว้างขวางที่อยู่อาศัยของสมาชิกอยู่ไกลจากสหกรณ์ ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งไม่ทราบสถานะของตนเองและของสหกรณ์ ซึ่งอดีตสหกรณ์ได้ใช้การบันทึกข้อมูลด้วยการเขียนมือ และได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนำโปรแกรมจากบริษัทเอกชนมาใช้ จนปัจจุบันสหกรณ์เล็งเห็นความสำคัญในการบริหารงานให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยได้ขอใช้ระบบโปรแกรมที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจต่างๆ เต็มระบบ จำนวน 4 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมระบบบัญชีแยกประเภท โปรแกรมระบบสินค้า โปรแกรมระบบสมาชิกและเงินกู้ และโปรแกรมระบบเงินรับฝาก

ซึ่งการใช้ระบบดังกล่าว สหกรณ์ได้นำมาปฏิบัติ ทำให้สะดวก รวดเร็ว เอกสารมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และสามารถปิดบัญชีได้อย่างรวดเร็ว และกำลังคิดค้นวิธีการการพัฒนาระบบโปรแกรมของกรมตรวจบัญชีที่ใช้อยู่ สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายไร้สาย จากเดิมที่เป็น แบบ offline ให้เป็น แบบ Online เพื่อการบริการสมาชิกให้ทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และสามารถใช้โปรแกรมบริการสมาชิกได้ทุกพื้นที่

การสร้างนวัตกรรมข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าและพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อม ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการพัฒนาระบบบัญชีผ่าน Mobile Apprication เรียกว่า Smart 4 M ได้แก่ Smart Me สำหรับเรา Smart member สำหรับสมาชิก Smart Manage สำหรับกรรมการ และ Smart Monitor สำหรับผู้ดูแลและผู้ตรวจสอบ สมาชิกได้รับประโยชน์จากโครงการ จำนวน 2,580 ราย สามารถนำข้อมูลสารสนเทศทางการเงินที่มีคุณภาพมาประกอบการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก้าวเข้าสู่สหกรณ์ทันสมัยในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0

ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับเพื่อสามารถรับรู้รายรับรายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง รู้ว่าการทำอาชีพว่ามีต้นทุนในการผลิตและมีรายได้เท่าไร หรือการค้ำประกันต่างๆ หรือเงินฝาก อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกเป็นการตรวจสอบของสหกรณ์ประจำวันได้อย่างรวดเร็วจากทุกที่ ทุกเวลา ทำให้คณะกรรมการและสมาชิก ติดตามการปฏิบัติงานการวางแผนการดำเนินงาน และการกำกับดูแลจากฝ่ายสหกรณ์ว่าทำได้อย่างถูกต้องโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ทำให้สมาชิกได้รับข่าวสารทั่วถึงและทำให้สหกรณ์จากหน่วยงานต่างๆ รับทราบความเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและสร้างศรัทธาของสมาชิก

ผลการดำเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา สหกรณ์มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี สามารถดำเนินงานและประสบความสำเร็จ โดยมีทุนดำเนินงาน 90,641,992.64 บาท ทุนเรือนหุ้น 21,681,200 บาท ทุนสำรอง 146,297.09 บาท ปริมาณธุรกิจ 193,501,712.36 บาท สำหรับปีปัจจุบัน สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ โดยมีรายได้ 193,501,712.36 บาท ผลกำไรสุทธิประจำปี 1,416,588.29 บาท การจัดสรรเงินปันผล 406,484.62 บาท การควบคุมภายในอยู่ในระดับ ดี ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากบทบาทการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบันนั่นเอง

เนื่องจากที่ผ่านมา สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ได้เน้นการสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของสมาชิกโดยผ่านการประชุม ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 3 ปี ดังนี้ การประชุมใหญ่ เฉลี่ยร้อยละ 100 ประชุมกลุ่ม เฉลี่ยร้อยละ 88.10 ประชุมกรรมการ เฉลี่ยร้อยละ 96.90 ค่าเฉลี่ยของสมาชิกร่วมทำธุรกิจ ร้อยละ 100 นอกจากนี้ สมาชิกยังมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมสหกรณ์สอนอาชีพ กิจกรรมจุดบริการประชาชนช่วงวันหยุดเทศกาล เป็นจุดบริการน้ำดื่ม เครื่องดื่มกาแฟ โอวัลติน ให้กับประชาชน อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ กิจกรรมวันสหกรณ์แห่งชาติ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

นอกจากนี้ สหกรณ์ฯ ยังดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน (ให้แก่บุคคล/ชุมชนภายนอก) สหกรณ์ได้จัดสรรทุนสาธารณประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ด้านการศึกษา ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการช่วยเหลือ/ป้องกัน/บรรเทาภัยธรรมชาติ/ภัยพิบัติ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์เพื่อบุคคลภายในสหกรณ์ (สวัสดิการ) สหกรณ์จะเน้นการจัดสวัสดิการที่หลากหลาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกและครอบครัว สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่บุคลากรของสหกรณ์ ได้แก่ สวัสดิการเพื่อการศึกษาแก่สมาชิก กรรมการ พนักงาน และบุตรของสมาชิก สวัสดิการทุนการศึกษาโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ เรียนจบ ม.1-ม.3 แก่บุตรของสมาชิก สวัสดิการเพื่อศึกษาอบรมแก่สมาชิก กรรมการ และเจ้าหน้าที่ สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่เดือดร้อนประสบภัยธรรมชาติวาตภัย สวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกและครอบครัว สวัสดิการเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลแก่พนักงาน สวัสดิการประกันชีวิตคณะกรรมการ สวัสดิการสหกรณ์สอนอาชีพแก่สมาชิก

ขณะเดียวกัน ทางสหกรณ์ฯ ได้ดำเนินกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สหกรณ์ได้ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำดื่มภายในสหกรณ์ โดยติดป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์และปฏิบัติจริงภายในสหกรณ์ตลอดทั้งปี ด้านการบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับปรุง ขุดลอกทางระบายน้ำเสียเพื่อป้องกันการไหลเข้าแหล่งน้ำในชุมชน ด้านการนำกลับมาใช้ซ้ำ การนำกระดาษมาใช้ทั้งสองด้าน กิจกรรมทำตลอดทั้งปี ด้านการลดใช้สารเคมีหรือใช้สิ่งอื่นทดแทน การส่งเสริมให้สมาชิกทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เอง ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำและชุมชน เป็นต้น

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของ สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด เป็นที่ประจักษ์ต่อหน่วยงานภาครัฐและสังคมอย่างต่อเนื่อง ทำให้สหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ได้รับโล่สหกรณ์ดีเด่นระดับภาค ในงาน “วันสหกรณ์แห่งชาติ ครบรอบ 102 ปี สหกรณ์ไทย” วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 และล่าสุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คัดเลือกสหกรณ์นิคมคลองสวนหมาก จำกัด ให้ได้รับรางวัลสหกรณ์นิคมดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561 ได้รับรางวัลพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 อีกด้วย

ชื่ออื่นๆ จะไค้ต้น จะไค้หอม พลูต้นขาว (ภาคเหนือ) จวง จวงหอม (ภาคใต้) การบูร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เนื่องจากเปลือกและรากมีกลิ่นคล้ายการบูร หรืออบเชยญวน สำหรับภาษายาวี เรียก มือแดกะมางิง

ข้าอยากจะบอกออเจ้าทั้งหลายว่า แม้ชื่อข้าจะขึ้นต้นว่า “เทพ” เเต่ไม่ต้องคลานเข่าเข้ามาหาข้าหรอก เพราะเกือบทุกคนพอได้กลิ่นไอระเหย หรือควันธูปข้าแล้ว มักจะนอนสงบนิ่งอยู่ในห้องสปาพร้อมเปิดเสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ ให้คนนวดน้ำมันจนข้าอิจฉา แต่บางคนใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา หรือเเกะสลักเป็นไม้มงคลแทนรูปเคารพ

ข้าเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดพังงา แต่ตามประวัติศาสตร์ ข้ามีชื่อที่คนกล่าวถึงตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เป็นพืชพรรณไม้หอมที่มีอยู่ในป่าดงดิบทั่วไป แต่ข้าชอบอยู่ทางภาคใต้ ช่วงหลังๆ มานี้ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมการเกษตรต้องการยางพารามาก ข้าจึงถูกโค่นตัดรุกป่าปลูกยางพารา แต่สิ่งที่เหลือคือรากและต้นตอของข้าที่ฝังดิน กลับเป็นสิ่งมีคุณค่าโด่งดัง กลายเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในงานหัตถกรรม สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น สร้างชิ้นงานในการแกะสลัก โดยเฉพาะการนำไปเป็นหิ้งพระบูชา หรือทำโต๊ะหมู่บูชา เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง กลายเป็น “ไม้เทพบูชา” ไปแล้ว

จากการที่ข้าได้รับการส่งเสริมจากกรมป่าไม้ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการ กรมป่าไม้ ได้เผยแพร่ความรู้ให้ชาวบ้านหรือผู้สนใจประกอบกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “ไม้เทพ” อย่างข้าให้รู้จักใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ ใบ ผล เนื้อไม้ ตอไม้ รากไม้ ข้าก็มีชื่อเป็นส่วนผสมในตำรับยา “โอสถพระนารายณ์” ที่ข้าบอกว่าข้าดังมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั้น เขาใช้ทำเครื่องประทินผิว ทำธูปหอม ส่วนในตำรับยาเสริมอาหารก็มี ในการก่อสร้างก็ใช้ ตั้งแต่ทำไม้บุผนัง ทำเครื่องเรือน ตู้ โต๊ะ เตียง หีบใส่ผ้า ทำแจว พาย กรรเชียง ปัจจุบัน เขานิยมนำเนื้อไม้ ตอไม้ ไปประดิษฐกรรม แล้วเศษไม้และขี้เลื่อยที่เหลือจากงานแกะสลัก เขาก็นำไปกลั่นเป็นน้ำมันเทพทาโร ทำยาหม่อง ทำน้ำมันนวดแก้ปวดข้อ และน้ำมันนวดในสปา ส่วนเศษผงที่เหลือจากการกลั่น ก็นำกลับไปทำธูปหอมหรือกำยาน จุดให้กลิ่นไอระเหย สดชื่น โดยเฉพาะเปิดดนตรีเบาๆ มีมือสาวๆ เคล้าน้ำมันนวดในสปา จะหาที่ไหนได้อีก

ข้าเป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 25-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเรียบ ไม่มีพูพอน เมื่อถากเปลือกออกผิวชั้นในมีกลิ่นหอม ดอกก็หอม ถ้าอยากจะปลูกข้าโดยเพาะเมล็ดก็ได้ หรือรอให้ข้ามีต้นอ่อนแตกจากรากก็ได้ผลดีเช่นกัน

เทพอย่างข้าครั้งหนึ่ง ถูกใช้ทำมวลสารผสมวัตถุมงคล “จตุคามรามเทพ” จนเกือบสิ้นป่า ตอนนี้ข้าคืนสู่ป่าแล้ว

แต่ที่ออเจ้าซื้อจากร้านโชห่วยเป็นเส้นยาวๆ มากินนั่น ไม่เกี่ยวกับข้านะ…เพราะมันคือ “ทาโร่ ปลาสวรรค์” นะออเจ้า! ข้าวคือชีวิตของคนไทย เราเกี่ยวพันกับข้าว แม้จะไม่ได้ปลูก ไม่ได้ค้าข้าว ก็ต้องกินข้าวทุกคน เมื่อกล่าวถึงการผลิตแล้ว ทุกคนมีความเห็นใจชาวนา กระดูกสันหลังของชาติ ที่ปลูกข้าวให้เรากิน แต่ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ เลยอยากลองพิจารณาเรื่องข้าว ว่ามีข้อมูลอย่างไรบ้าง

การทำนาในต่างประเทศ มีอยู่ 2 ข้อ ที่อยากจะกล่าวถึง คือ

ข้อที่ 1 ในยุโรป อเมริกา ที่เขาทำเป็นแปลงใหญ่ๆ เป็นหลายร้อยหรือหลายพันไร่ เพราะข้าวก็เหมือนพืชไร่อื่นๆ คือให้ผลตอบแทนต่อไร่ต่ำ ต้องปลูกเยอะๆ เป็นร้อย เป็นพันไร่ จึงจะมีรายได้เพียงพอ และใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือ เครื่องจักรเข้ามาจัดการ ไม่ให้เสี่ยงต่อความแปรปรวนของธรรมชาติ ยกตัวอย่าง การหล่อเลี้ยงน้ำในแปลง ที่เคยเห็นที่อเมริกา เขาหล่อน้ำแค่ให้ดินหมาดชุ่มน้ำ ไม่ถึงกับน้ำท่วม แต่ที่บ้านเราปล่อยให้น้ำท่วม เพราะเป็นเขตน้ำฝน ต้องเก็บน้ำไว้ให้อยู่นานๆ แท้ที่จริงแล้วปลูกข้าวไม่ต้องแช่น้ำ แค่ดินชุ่มๆ ก็เพียงพอ แต่ต้นข้าวแช่น้ำได้ ไม่เป็นอะไร นอกจากนั้น เขายังใช้เครื่องมือทุ่นแรงทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมดิน ปลูก ปฏิบัติรักษาจนถึงเก็บเกี่ยว และนำเข้าเก็บในไซโล หรือส่งพ่อค้าโดยตรง

ข้อที่ 2 คือชาวนาญี่ปุ่น ซึ่งปลูกข้าวญี่ปุ่น ให้ผลผลิตสูง มีเนื้อที่ปลูกข้าวไม่มาก ประมาณ 30-40 ไร่ แต่เมื่อได้ผลผลิตแล้ว เขาจะมีโรงเก็บที่บ้าน และอาจจะมีโรงสีของตัวเอง หรือไปสีที่โรงสีของหมู่บ้าน ซึ่งดูคล้ายๆ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เวลาจะสีข้าวก็ใช้วิธีหยอดเหรียญเอา ซึ่งที่เห็นนี้หลายปีมาแล้ว ปัจจุบัน ในหมู่บ้านชาวนาญี่ปุ่น น่าจะมีอะไรที่ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ ที่ชาวนาญี่ปุ่นเขาเก็บรักษาข้าวเอง และแปรรูปเป็นข้าวบรรจุถุงหรือกระสอบเอง จนกระทั่งเอาไปส่งตลาด super market เองนั้น เพราะทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตและส่งขายเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ได้รับเงินมากขึ้น ข้าวเปลือกเป็นแค่วัตถุดิบราคาถูกเท่านั้น ถ้าเราขายตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับที่ขายให้โรงสีนั้น คนซื้อก็ได้วัตถุดิบถูกๆ คือข้าวเปลือกจากชาวนา ก็เอาไปแปรรูปได้หลายอย่างสบายๆ สำหรับชาวนาญี่ปุ่น นอกจากจะนำมาสีเป็นข้าวสารบรรจุถุงขายแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมครัวเรือนต่อเนื่อง เช่น ทำขนมก้อนสวยๆ คล้ายโมจิ ใส่กล่อง ที่เขาเรียกว่า one village one product บ้านเราเรียก OTOP ก็เป็นที่นิยมกัน

สำหรับการทำนา ตอนที่เริ่มปลูก ชาวนาญี่ปุ่นซื้อปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารเคมี หรืออุปกรณ์ต่างๆ จากสหกรณ์ที่เขาสังกัด แต่พอได้ผลผลิตมาแล้ว กระบวนการ แปรรูป เขาทำเองทั้งสิ้น เพราะต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเองให้มากที่สุด เขาถึงสามารถที่จะซื้อเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ มาใช้ได้ สำหรับเรื่องการผลิตแปรรูปสินค้าเกษตรนี้ นอกจากจะใช้ข้าวของญี่ปุ่นเอง ยังมีโรงงานที่ทำขนมอบกรอบในญี่ปุ่น ซื้อข้าวเหนียวจากประเทศไทยเราไปเป็นวัตถุดิบ เมื่อทำผลิตภัณฑ์ ขนมอบกรอบบรรจุถุง แล้วยังส่งมาขายที่บ้านเรา ซึ่งเห็นใน super market ทั่วไป

ตามที่ได้เคยออกไปพบชาวนาในภาคต่างๆ มีความรู้สึกว่า พวกเขามีอาชีพที่ดี ยกเว้นเรื่องการฉีดยาเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายจากพิษของสารเคมี ส่วนข้อดีของการเป็นชาวนาคือ ได้อยู่กับธรรมชาติ อากาศดี และชีวิตเป็นของตัวเอง

แบ่งชาวนาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่สามารถใช้น้ำตลอดปี และกลุ่มในเขตน้ำฝน กลุ่มที่มีน้ำใช้ตลอดปี ถือว่าโชคดีมากๆ นอกจากการทำนาหรือปลูกพืชทั้งปีแล้ว ยังสามารถปลูกผัก พืชสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา ได้ด้วย ชาวนากลุ่มนี้พอจะมีรายได้มากพอควร แม้จะมีพื้นที่ไม่มากเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สามารถเพิ่มขนาดธุรกิจฟาร์มปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ได้เต็มที่ แต่ชาวนาในเขตน้ำฝน โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกข้าวได้ฤดูเดียว

กลุ่มนี้ จะไปมีอาชีพเสริมนอกฟาร์ม เว็บแทงบอลออนไลน์ เมื่อไถหว่านปลูกข้าวแล้วก็ไปรับจ้างข้างนอก เช่น เป็นแรงงานตัดอ้อย หรือแรงงานนอกฟาร์ม ขายของในเมือง ฯลฯ จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ก็ถึงระยะเวลาเกี่ยวแล้ว ชาวนาหลายคนมีรายได้อย่างอื่นมากกว่าการทำนา แต่ก็ต้องทำนาอยู่ เพราะข้าวคือชีวิตที่ทำมาตั้งแต่เกิด กินข้าวที่ไหน ก็ไม่เหมือนข้าวที่ปลูกได้จากนาตัวเอง

การทำนาข้าวสมัยนี้ เป็นการจ้างวานเสียส่วนใหญ่ เช่น การเพาะกล้า จะเพาะในกระบะเป็นช่องหลุมเล็กๆ เพื่อไปเข้าเครื่องปลูก หรือเครื่องดำนา หรือนำกล้าข้าว มาให้แรงงานโยนกล้า ถึงเวลาเก็บเกี่ยว ก็จ้างรถเกี่ยว ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั่วไป แต่สำหรับชาวนาไม่มีทุน ก็จะปักดำกล้าหรือหว่าน ทำแบบระบบเก่า ยังไงก็ตาม จะเห็นว่าระบบเก่ายังมีข้อดีอยู่บ้าง หลังจากปักดำหรือหว่านกล้าแล้ว ชาวนาอาจจะมีการใส่ปุ๋ย ฉีดยา และกำจัดวัชพืช โดยการจ้างแรงงานทั้งสิ้น

นาที่ปักดำมักจะแตกกอดี สม่ำเสมอ และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ผลผลิตของนาที่ทำในเขตน้ำฝนจะมีปริมาณสู้กับนาในเขตชลประทานไม่ได้ เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญที่จะให้ผลผลิตสูง

อีกประการคือ ชาวนาในเขตน้ำฝนส่วนหนึ่ง ซึ่งมีหลายๆ คนปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ตรงดินที่แร้นแค้นหรือดินเค็ม ซึ่งได้รับผลผลิตไม่สูง แต่ข้าวเมล็ดสวย หอม และนุ่ม เหตุที่นุ่มเพราะมีเปอร์เซ็นต์แป้ง amylose ต่ำ การที่ชาวนาในภาคอีสานและภาคเหนือนิยมปลูกข้าวหอมมะลิ แม้ได้ผลผลิตต่ำ เพราะข้าวหอมมะลิได้ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ แค่ข้าวเปลือกก็มีราคาเกวียนละหมื่นกว่าบาทแล้ว

นอกจากนั้น ได้ผลผลิตน้อย ก็เสียแรงงานในการขนส่งน้อย หรือพูดง่ายๆ ว่า ของน้อย จัดการง่าย แต่ราคาดี ในขณะนี้ มีหลายหมู่บ้านในภาคอีสานทำข้าวหอมมะลิอินทรีย์หรือปลอดสารพิษ มีการรวมกลุ่มกัน สร้างโรงสีชุมชน และบรรจุถุงจำหน่าย ข้าวบรรจุถุงเหล่านี้ยังขาดเครื่องมือในกรรมวิธีที่ทำให้ปลอดภัยจากมอด บางครั้งซื้อข้าวถุงจากหมู่บ้านโดยตรง ได้ข้าวแท้ กลิ่นหอม หุงกินอร่อย แต่พอเก็บไว้นาน กลับมีมอดเต็มถุง