เกษตรกรบุรีรัมย์ ปลูกอ้อยแบบลดต้นทุน ผลผลิตดี มีกำไร

รวมกลุ่มเข้มแข็งสร้างเป็นอาชีพยั่งยืน อ้อย เป็นอีกพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรไทยหลายพื้นที่นิยมปลูก ขั้นตอนการดูแลไม่มีอะไรยุ่งยากในช่วงที่รอผลผลิตเจริญเติบโต แต่จะมีปัญหาในเรื่องของการเก็บเกี่ยวบ้างในระยะหลังมานี้ เพราะขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อยส่งขายให้กับโรงงาน ทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวรวมกลุ่มทำเป็นอ้อยแปลงใหญ่ เพื่อให้สมาชิกภายในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องของแรงงานและการแก้ปัญหาต่างๆ ส่งผลให้ชาวไร่อ้อยเกิดความเข้มแข็งส่งต่อเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไปยังลูกหลาน

คุณวีนัด สำราญวงศ์ เกษตรกรไร่อ้อย อยู่บ้านเลขที่ 141 หมู่ที่ 13 ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ยึดอาชีพทำไร่อ้อยเป็นงานหลักสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้ตออ้อยเดิมมาเป็น 10 กว่าปี พร้อมทั้งเน้นตัดอ้อยแบบต้นสดจำหน่าย ทำให้ใบอ้อยที่เหลือจากการตัดนำมาเป็นปุ๋ยอยู่ภายในแปลง สามารถลดต้นทุนการผลิตจำหน่ายอ้อยได้ผลกำไรงามทีเดียว

คุณวีนัด เล่าให้ฟังว่า กว่าที่จะมาเป็นเกษตรกรไร่อ้อยเหมือนเช่นทุกวันนี้ ในสมัยก่อนได้ไปเป็นลูกจ้างใช้แรงงานอยู่ต่างประเทศเป็นเวลาถึง 10 ปี เมื่อมีโอกาสกลับมาอยู่ประเทศไทยก็ได้มีครอบครัว ซึ่งในขณะนั้นครอบครัวของภรรยามีอาชีพทำนาอยู่ จึงได้ขอแบ่งพื้นที่นาบางส่วนมาทดลองปลูกไร่อ้อยตามคำแนะนำของเพื่อนที่สนิทกัน

“ช่วงนั้น ประมาณปี 45 เราก็เริ่มมาทำไร่อ้อยตามที่เพื่อนแนะนำ เพราะเพื่อนคนนี้เขาเคยไปทำงานต่างประเทศด้วยกัน หลังจากกลับมาเขาก็ประสบผลสำเร็จในการปลูกอ้อย ทีนี้เราไม่อยากไปไกลบ้านไปทำงานต่างแดน เพราะมีครอบครัวแล้ว ก็เลยแบ่งพื้นที่ทำนาบางส่วนมาทำไร่อ้อย พร้อมทั้งนำแนวการทำงานที่เราได้เรียนรู้มาจากต่างประเทศมาใช้กับการทำไร่ของเราให้มีระบบแบบแผนมากขึ้น” คุณวีนัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นเป็นเกษตรกรไร่อ้อย

โดยแนวทางการทำไร่อ้อยให้ได้ผลกำไรและสร้างเป็นอาชีพที่ยั่งยืนนั้น คุณวีนัด บอกว่า ได้ลองผิดลองถูกและหาต้นทุนการผลิตในรูปแบบต่างๆ ด้วยตัวเอง เพื่อให้การปลูกลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง แต่ผลผลิตของอ้อยยังมีคุณภาพเท่าเดิม พร้อมทั้งเก็บเกี่ยวอ้อยโดยตัดเป็นอ้อยสดส่งโรงงานแทนการเผา จะได้ใบอ้อยและยอดอ้อยหลังการตัดเหลือภายในแปลงนำมาเป็นปุ๋ยต่อไป

การเตรียมแปลงสำหรับปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพนั้น คุณวีนัด บอกว่า บริเวณแปลงปลูกจะสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุล โดยจะไม่โคนต้นไม้ใหญ่ภายในแปลงทิ้ง จะให้อยู่ภายในแปลงเช่นเดิม ส่วนการเตรียมดินจะไถดินให้ร่วนซุยพอประมาณ ใช้ใบอ้อยที่เหลือจากการตัดสดมาเป็นปุ๋ยภายในแปลง ก็จะยิ่งช่วยให้ดินภายในแปลงอ้อยไม่อัดตัวแน่นรากเดินดีส่งผลให้อ้อยเจริญเติบโตได้ดีอีกด้วย

“การเตรียมแปลงปลูกอ้อยก็จะใช้วิธีการไถพรวนธรรมดา เพราะการทำอ้อยที่ไร่ของผมจะไม่เน้นสร้างต้นทุนสูง ทำกระบวนการผลิตอย่างไรก็ได้ให้ได้ต้นทุนต่ำ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกเพื่อช่วยบำรุงดิน แต่ถ้ายังไม่มี สามารถรอใบอ้อยจากที่จะตัดในปีต่อไป ซึ่งใบอ้อยเหล่านั้นหลังตัดอ้อยไปขายใบจะปกคลุมแปลง จะทำให้ภายในแปลงไม่มีวัชพืชขึ้น ก็ช่วยให้ไม่ต้องใช้ยากำจัดลงได้ จากนั้นเราใช้ปุ๋ยยูเรียที่หมักไว้ มาฉีดให้ทั่วบริเวณใบอ้อยที่จะทำเป็นปุ๋ย เศษใบอ้อยก็จะย่อยสลายเป็นปุ๋ย จากนั้นก็รออ้อยที่เป็นตอที่เหลือจากการตัดอ้อยสดไปขายแล้วเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งวิธีการตัดแบบอ้อยสดทำให้เรามีตอติดอยู่กับแปลง ไม่ต้องใช้ตอใหม่มาปลูก ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนการซื้อพันธุ์ใหม่ได้มากยิ่งขึ้น” คุณวีนัด บอก

โดยการปลูกอ้อยของพื้นที่นี้ทั้งหมดไม่ได้มีน้ำระบบชลประทาน น้ำที่ได้ใช้ให้กับอ้อยส่วนใหญ่จึงรอน้ำจากฤดูฝนเป็นหลัก ซึ่งการดูแลไร่อ้อยในช่วงนี้จนกว่าจะเก็บผลผลิตได้นั้น ใช้เวลาเป็นแรมปี ดังนั้น ในช่วงที่อ้อยเริ่มแตกกอและเจริญเติบโตมีความสูงระดับเอว ก็จะดูแลในเรื่องของการกำจัดวัชพืชในระยะนี้ให้หมดไป

เมื่อดูแลอ้อยภายในแปลงได้อายุ 1 ปี โรงงานน้ำตาลเริ่มเปิดหีบเพื่อรับซื้ออ้อยของเกษตรกรแล้ว คุณวีนัด บอกว่า จะเริ่มลงมือตัดอ้อยแบบตัดต้นสดและส่งเข้าโรงงานทันที โดยการตัดจะตัดให้บริเวณโคนเหลือตออยู่บ้าง เพื่อจะได้นำส่วนเหล่านั้นมาย่อยสลายพร้อมกับใบอ้อยและยอดอ้อยที่เหลืออยู่ในแปลงหลังการตัด เพื่อให้กลายเป็นปุ๋ยอยู่ในแปลงต่อไป โดยต้นตอที่เหลืออยู่ในแปลงจะงอกเกิดเป็นต้นใหม่จากตอในช่วงเดือนมิถุนายน หลังจากปรับปรุงบำรุงดินเรียบร้อยแล้ว

“อ้อยที่ผมตัดขายส่งโรงงาน เฉลี่ยแล้วผลผลิตอ้อยที่แปลงอยู่ที่ 15-17 ตัน ต่อไร่ ซึ่งราคาแต่ละครั้งก็ได้ไม่เท่ากัน ผมจำได้ว่าเมื่อแรกๆ ที่เริ่มทำ ขายได้อยู่ที่ ตันละ 380 บาท และย้อนไปเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ราคาเคยขายได้อยู่ที่ ตันละ 1,200 บาท แต่ ณ ปัจจุบันตอนนี้ขายได้อยู่ที่ ตันละ 700 บาท พอราคาลงมาอยู่ที่ประมาณนี้ ผมก็ยังถือว่าอยู่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตผมต่ำ เพราะผมใช้ตอเดิมให้งอกใหม่ ดังนั้น จึงประหยัดเรื่องซื้อพันธุ์เข้ามาปลูก พร้อมทั้งได้ใบอ้อยยอดอ้อยที่เหลือจากการขายตัดสด มาทำเป็นปุ๋ยในรอบต่อไป ก็ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนการซื้อปุ๋ยแทบไม่มี ก็ทำให้การขายอ้อยแต่ละช่วงผมก็ยังมีผลกำไร” คุณวีนัด บอก

ทั้งนี้เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายย่อย ได้มีการรวมกลุ่มในการช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนแรงงาน โดยทุกคนภายในกลุ่มช่วยกันตัดอ้อยของแปลงเพื่อนๆ หมุนเวียนกันไปจนครบแปลง จากการรวมกลุ่มก็ทำให้เกิดความรักความสามัคคีของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกอ้อยเพื่อสร้างรายได้ คุณวีนัด แนะนำว่า ต้องมีหลักการคิดและลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งศึกษาในเรื่องของการปลูกอย่างจริงจัง เช่น การใช้ยา ใช้ปุ๋ย ในวิธีการที่ถูกต้องโดยไม่ตามกระแส พร้อมทั้งเรียนรู้การทำไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตมากขึ้น มุ่งมั่นการทำอาชีพของตนให้จริงจัง ก็จะทำให้การทำไร่อ้อยเกิดรายได้เป็นอาชีพที่ทำต่อไปได้อย่างยั่งยืนสู่ลูกหลาน

“สำหรับผมแล้ว การทำไร่อ้อย เหมือนเป็นการสร้างชีวิตให้กับผม การทำเกษตรที่ดีต้องมีความอดทน ทำตามแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำอย่างค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป หลักนี้ใช้ได้กับการทำเกษตรทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการปลูกผัก ในเรื่องของพืชไร่อย่างอ้อยก็นำมาใช้ได้ คือทำเท่ากำลังเรามี อย่าไปทำให้ตนเองลำบาก เริ่มทำทีละเล็กละน้อย จากนั้นก็ต่อยอดนำผลกำไรที่ได้มาพัฒนาต่อไป สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เราเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกัน ทำอะไรก็รู้จักประมาณตน ส่งผลให้การทำเกษตรของเรามีรายได้ไม่เกิดหนี้สินอย่างแน่นอน” คุณวีนัด แนะนำ

เราคงเคยได้ยินกันมานานแล้วว่า ทุเรียนคือราชาแห่งผลไม้ที่มีผู้นิยมบริโภค และในรอบปีที่ผ่านมา ทุเรียนเริ่มเป็นที่ฮือฮากันมากขึ้น เมื่อประเทศจีนให้ความสนใจสั่งซื้อไปบริโภคกันในปริมาณมาก จะด้วยการตามกระแสหรือติดตามสื่ออินเตอร์เน็ต โลกออนไลน์ใดๆ ก็ตาม แต่เรื่องราวของการสนับสนุนการปลูกและการตลาดทุเรียนทางราชการของไทยก็สนับสนุนเกษตรกรชาวสวนทุเรียนมาโดยตลอด

หลายปีก่อน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หาวิธีการที่จะส่งทุเรียนให้ถึงมือผู้รับที่ประเทศจีนอย่างรวดเร็ว ตรวจสอบคุณภาพทุเรียนตั้งแต่ต้นทาง ให้การรับรองคุณภาพสวน ตรวจสอบผลผลิตก่อนขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่ใส่ตู้คอนเทรนเนอร์แล้วปิดผนึกรับรอง ระหว่างเส้นทางขนส่งจากประเทศไทยไปถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน จะไม่มีการเปิดตู้คอนเทรนเนอร์เพื่อการตรวจสอบเชื้อโรค ศัตรูพืชใดๆ ทั้งสิ้น จากแหล่งผลิตที่สวนจังหวัดจันทบุรีหรือตราด เดินทางสู่อำเภอเชียงแสนแล้วข้ามประเทศลาวเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้เส้นทาง R3A เมื่อถึงที่หมายแล้วจึงจะเปิดตู้คอนเทรนเนอร์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบสินค้าของจะส่งต่อให้ลูกค้าที่สั่งซื้อต่อไป ซึ่งจะต้องมีการคำนวณระยะเวลาการสุกของทุเรียน เพิ่มระยะเวลาให้ทุเรียนสุกเต็มที่ระหว่างเดินทางเพื่อบริโภคจะพอดีกับความต้องการ ทางด้านเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนก็เช่นกัน ทางราชการสนับสนุนการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน ปัจจุบันได้มีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีชื่อเรียกกันว่า สมาร์ทฟาร์มเมอร์ สตาร์ตอัพ หรือชื่อกลุ่ม ชมรมอื่นๆ

แต่ที่ผู้เขียนเคยสัมผัสมา เห็นจะเป็น กลุ่มทุเรียนบ่อน้ำร้อน เบตง เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ริเริ่มกันตั้งแต่การขยายพันธุ์ทุเรียน การปลูกทุเรียนที่ถูกหลักวิชาการ รณรงค์ไม่ตัดทุเรียนอ่อนจำหน่าย รวมไปถึงการตลาด และวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนปรับปรุงคุณภาพผลผลิตได้ตามต้องการของตลาด นำเสนอวิถีการตลาดด้วยตนเอง รวมกลุ่มติดต่อสื่อสารให้คำแนะนำ สอบถามกันเองในกลุ่มที่เรียกว่า ไลน์กลุ่มหรือทางเฟซบุ๊ก ที่ผู้เขียนได้รู้จักคือ ชมรมทุเรียนเบตง แต่ขณะเดียวกันกลุ่มคนหนุ่มเหล่านี้ไม่ได้ทอดทิ้งทุเรียนสายพันธุ์ดั้งเดิมเลยเสียทีเดียว ได้เคยกล่าวกับผู้เขียนว่า ยังมีทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิมของไทยที่มีรสชาติดี คุณภาพเนื้อดีกว่าพันธุ์ที่นิยมปลูกอยู่ในขณะนี้ เช่น ทุเรียนจันทบุรี พันธุ์ยาวลิ้นจี่ ฯลฯ รวมถึงทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิมของแต่ละจังหวัดด้วย

ดังเช่น ผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนาตาก ได้จัดทำโครงการสำรวจและจัดทำแผนการอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) มีเครือข่ายทุเรียนในรูปของคณะทำงานพืชอนุรักษ์ทุเรียนและที่ทำหน้าที่รวบรวมพันธุ์ทุเรียนจากแหล่งปลูกที่สำคัญทั่วประเทศไทย มทร. ล้านนาตาก ได้ริเริ่มสำรวจเบื้องต้น พบพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองที่ปลูกในพื้นที่ตำบลแม่จัน

อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีต้นทุเรียนอายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่บนเชิงเขา ผลผลิตมีราคาถูก ในฐานะที่ มทร. ล้านนาตาก เป็นหน่วยงานที่ร่วมงานสนองพระราชดำริ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงเข้าร่วมงานในเครือข่ายงานวิจัยเรื่องทุเรียนกับ อพ.สธ. เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองของจังหวัดตาก เพื่อศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการนำไปใช้ประโยชน์จากทุเรียน และเพื่อศึกษาการขยายพันธุ์พื้นเมืองในตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง ภายหลังจากการสำรวจเบื้องต้น มทร. ล้านนาตาก

ได้จัดการประกวด การแข่งขันทุเรียนท้องถิ่นที่บ้านเปิงเคลิ่ง โดยความร่วมมือจากสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก นายอำเภออุ้มผาง การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตาก โรงเรียนท่านผู้หญิงวิไล อมาตยกุล (บ้านเปิงเคลิ่ง) และชาวบ้านเปิงเคลิ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านที่ดีที่สุดของหมู่บ้านเปิงเคลิ่ง เพื่อศึกษาพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน และเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านที่ดีที่สุด คณะกรรมการได้เข้าเยี่ยมชมต้นทุเรียนที่ได้รับรางวัลที่ดีที่สุดด้วย การรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองนี้ จะได้คัดเลือกและประกวดต่อไปเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ต้นพันธุ์ที่ดี ผลผลิตมีคุณภาพดี เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้บริโภค อีกทั้งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทุเรียนพื้นบ้านพันธุ์ดีประจำจังหวัดตาก ในอนาคตอาจจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อการขยายพันธุ์และเพื่อการส่งออกอีกทางหนึ่งด้วย

โดยธรรมชาติของผักกูดที่มีลักษณะเหมือนเฟินคือชอบขึ้นอยู่ที่ริมน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง มีใบเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ขณะที่ใบยังอ่อนปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย ตรงส่วนยอดอ่อน คือส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร มีสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัดทำให้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่

นอกจากนั้นยังเป็นผักที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสภาวะแวดล้อมกล่าวคือ บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นใหม่เด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กในตัวสูง ดังนั้นเมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์มากมายดังที่กล่าวข้างต้น

อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะริมแม่น้ำเพชรบุรีเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ชาวบ้านหันมายึดอาชีพปลูกผักกูดจำหน่าย อาจเป็นเพราะความที่อยู่ใกล้แม่น้ำเพชรบุรีแล้วยังมีคุณสมบัติของดินที่เหมาะสมจึงทำให้สามารถปลูกผักกูดได้เป็นอย่างดี

อย่างกรณีของสามี-ภรรยาคู่นี้ คือ คุณพูนผล ศรีสุขแก้ว และคุณธนพร (ภรรยา) อยู่บ้านเลขที่14 หมู่ 6 ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 081-4338310 อดีตเคยปลูกมะนาวสร้างรายได้ จนเวลาต่อมาเส้นทางการปลูกมะนาวดูจะไม่ราบรื่นเนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทั้งสองไม่อาจแบกรับภาระเหล่านั้นได้อีกต่อไป จนต้องเปลี่ยนมาเริ่มชีวิตเกษตรกรรมใหม่ด้วยการปลูกผักกูด

คุณพูนผล ผู้เป็นสามีบอกว่า ความจริงตอนแรกปลูกมะนาวเป็นรายได้ ต่อมาภายหลังมีปัญหาการปลูกหลายอย่างทั้งต้นทุน ค่าแรง และโรค จึงเลิกปลูกมะนาวแล้วไม่นานพบว่าเพื่อนบ้านมีการปลูกผักกูดกันเลยโค่นมะนาวแล้วหันมาปลูกผักกูดเป็นรายได้หลัก

คุณธนพร บอกถึงความเป็นมาที่นำมาสู่การปลูกผักกูดเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้เมื่อ 7 ปีก่อนว่า เธอและครอบครัวชอบรับประทานผักกูด เวลาต้องการบริโภคจะต้องไปหาซื้อตามตลาด ต่อมาเห็นว่าถ้าปลูกเองแทนการซื้อจะประหยัดค่าใช้จ่าย จึงตั้งใจปลูกผักชนิดนี้ไว้เพื่อรับประทานในครัวเรือน

“เห็นว่าเพื่อนบ้านปลูกกันไม่ยากเลยหามาปลูกไว้ โดยเรียนรู้วิธีการปลูกและการดูแลจากเพื่อนบ้านที่ปลูกแล้วประสบความสำเร็จมาก่อน พอนานไปผักกูดมีการแตกพันธุ์ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วทำให้กินไม่ทันเลยเก็บไปขายตามร้านอาหาร และตลาดนัด”

เธอบอกว่า สมัยก่อนมีชาวบ้านไปเก็บผักชนิดนี้ที่ขึ้นตามริมน้ำแล้วนำไปขายที่ตลาดสดราคากำละ 5 บาท เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีชื่อพันธุ์

ภายหลังที่คุณพูนผลได้พาเดินชมแปลงปลูกผักกูดเขาเล่าว่าได้ช่วยกับภรรยาปลูกผักกูดในพื้นที่ 5 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ พร้อมกับปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ เงาะโรงเรียน,ทุเรียน,กล้วยเล็บมือนาง และปาล์มน้ำมัน จำนวน 300 กว่าต้น ซึ่งปาล์มที่ปลูกมีสองรุ่น รุ่นแรกมีอายุปีกว่า อีกรุ่นได้ 6 เดือน เขาบอกว่าคงต้องรออีกสัก 2 ปีจึงจะมีรายได้จากปาล์ม ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าราคาดีแค่ไหน

“กล้วยเล็บมือนางไม่ได้มีประโยชน์แค่การบังร่มเงาให้แก่ผักกูดเท่านั้น แต่ยังสร้างรายได้โดยนำผลผลิตไปขายกิโลกรัมละ 8-10 บาท ถึงแม้ราคาขายดูจะไม่มากนัก แต่ยังถือว่านำไปเป็นค่าน้ำได้

เงาะโรงเรียนปลูกไว้ประมาณ 30 ต้น เมื่อก่อนคิดว่าจะปลูกเงาะเป็นหลัก แต่ภายหลังเปลี่ยนใจเลยโค่นไปหลายต้น ทั้งนี้เนื่องจากรายได้จากเงาะมีเพียงปีละครั้งเท่านั้น ส่วนการเก็บผักกูดขายมีรายได้ทุกวัน” คุณพูนผลบอก

ด้านการดูแลบำรุงรักษาคุณธนพรบอกว่าเนื่องจากมีการปลูกผักกูดจำนวนมาก จึงมีการใช้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง ครั้งละหนึ่งกระสอบ (50 กิโลกรัม) นอกจากนั้นยังใช้ปุ๋ยหมัก จากขี้ไก่ ขี้วัว จะใส่ครั้งละ 10 กว่าตัน โดยเทใส่ในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อให้พืชชนิดอื่นได้ประโยชน์ด้วย ใช้วิธีหว่านแล้วพ่นน้ำตาม

“เนื่องจากเป็นผักที่ต้องใช้ยอดขาย ดังนั้นถ้าช่วงใดที่ยอดแตกช้าจะเน้นใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ยอดแตกออกมา พอเวลา 7 วันให้หลังยอดจะแตกออกมาทันที”

ส่วนเคมีเธอเปิดเผยว่าอาจต้องใช้บ้างกรณีที่จำเป็นเพื่อป้องกันเชื้อราหรือป้องกันแมลงและหนอนเช่นไตรโคโดมาใช้กันเชื้อราขี้ไก่ตามรากและบิววาเรีย แต่ทั้งนี้ยาที่ใช้เป็นการทำเองตามแนวทางการแนะนำของเกษตรอำเภอ

ศัตรูพืชที่ทำให้เกิดความเสียหาย

คุณธนพร บอกว่า ตั้งแต่ปลูกผักกูดมาแมลงศัตรูพืชที่พบแล้วมักสร้างความเสียหายเช่นเพลี้ยไฟ ซึ่งจะเจอเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ได้แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ยาแลนเนท เป็นการผสมใช้แบบอ่อนมากในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อยา 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 10-20 ซีซี. ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าการใช้พ่นในถั่วหรือแตง “อย่างบิววาเรีย ผสมกับน้ำในอัตรา 4 ถุงต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วใช้ฉีดพ่นป้องกันเพลี้ยไฟและหนอนส่วนไตรโคโดมา ผสมกับน้ำในอัตรา 4 ถุงต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วใช้ฉีดพ่นป้องกันเชื้อรา เมื่อมีการฉีดยาป้องกันเพลี้ยในแถวไหนกลุ่มไหนแล้วจะยังไม่เก็บทันที จะต้องปล่อยทิ้งไว้สัก 4 วัน จึงจะเก็บ และการฉีดพ่นยาจะทำปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น แต่ถ้าหากไม่เกิดการแพร่ระบาดจะไม่ฉีดยาเลย”

ระบบน้ำใช้สปริงเกอร์ โดยวางระยะห่างกว้าง 4 ยาว 4 เมตร ปล่อยน้ำวันเว้นวัน ครั้งละ 1 ชั่วโมง เปิดครั้งหนึ่งจำนวน 30 หัว แต่ละแปลงจะเปิดน้ำทิ้งไว้สัก 1 ชั่วโมง แล้วย้ายไปทีละแปลงวนไปจนครบ

การเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่าย

คุณธนพร ให้รายละเอียดการทำงานว่า โดยปกติเธอและสามีจะทำงานเป็นหลักเพียงสองคนเท่านั้น ปกติถ้าใช้เวลาเก็บ 1 ชั่วโมงได้ผักกูด 10 กิโลกรัม วันใดต้องเก็บถึง 70 กิโลกรัมจะเริ่มตั้งแต่เช้า แต่ถ้าเก็บสัก 30 กิโลกรัม จะเริ่มเก็บในช่วงบ่ายไปจนถึงสักสี่โมงเย็น หรือหากลูกค้าต้องการทันทีก็สามารถเก็บให้ได้ แต่ควรมีสปริงเกอร์ฉีดพ่นให้น้ำตลอด

“หลังจากเก็บจากต้นแล้วให้มัดเป็นกอแล้วนำไปแช่น้ำทันที แช่สักครู่ประมาณ 5 นาทีห้ามแช่นานเกินไปเพราะผักจะสุกมีสีแดง จากนั้นให้เก็บขึ้นมาวางเรียงกัน ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดคลุมผักกูดที่วางเรียงกันไว้รอลูกค้ามารับ แต่ถ้าวางไว้โดยไม่คลุมผ้าผักจะเหี่ยวแล้วขายไม่ได้”

เธออธิบายต่อว่า แต่ละต้นที่เก็บยอดอ่อนที่ใช้งานออกไปแล้ว ยอดที่อยู่ติดกันซึ่งมีลักษณะโค้งงอจะเป็นยอดที่จะสามารถเก็บได้ในครั้งต่อไปอีกราว 3-4 วัน ดังนั้นผักกูดแต่ละยอดในแต่ละต้นจะเก็บเว้นระยะเวลา 3-4 วัน แต่ไม่ควรเลยวันวันที่5 เพราะจะบาน

“แต่ละต้นจะมีใบจำนวน 5 ใบ ถ้าพบใบแก่หลายใบเช่นมีจำนวนถึง 10 ใบควรตัดหรือหักทิ้งเสีย โดยไม่ต้องขนไปทิ้งที่อื่นแต่ให้ทิ้งไว้ที่บริเวณนั้นเพื่อใช้คลุมความชื้นและเป็นปุ๋ย การตัดใบแก่ออกเพื่อปล่อยให้ยอดอ่อนที่กำลังโตเจริญได้อย่างรวดเร็ว มีบางคนไม่ยอมหักใบแก่ทิ้งจึงทำให้ยอดแตกช้าและมีขนาดเล็ก”

คุณธนพร บอกต่ออีกว่า ผักกูดขยายพันธุ์ด้วยการดึงต้นอ่อนที่เธอเรียกว่าลูกที่แทงขึ้นมาจากพื้นข้างต้นแม่ออกด้วยความระมัดระวัง แล้วสามารถนำต้นอ่อนไปปลูกได้เลย ผักกูดเป็นพืชที่ตายยาก ที่สำคัญขอให้มีน้ำแล้วอย่าไปโดนแดดจัด

นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมด้วยว่าควรมีการดูแลเอาใจใส่บริเวณที่ปลูกต้องคอยหมั่นเดินดูแล้วดึงเศษวัชพืชทิ้ง แต่ห้ามใช้มีดฟันเพราะอาจไปโดนต้นอ่อนที่กำลังแตกออกมา ทั้งนี้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งสามารถเก็บยอดไปขายได้กินเวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือน

เธอบอกว่า ผักชนิดนี้สามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ แต่สิ่งสำคัญควรให้น้ำอย่างเต็มที่และควรหาร่มเงาด้วย ส่วนความสมบูรณ์ของดินที่มีความเหมาะนั้นควรเป็นบริเวณพื้นที่เป็นดินทรายสัก 70 เปอร์เซ็นต์ และช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่มีผักกูดมากเมื่อผักกูดถูกฝนจะแตกยอดอ่อนกันอย่างคับคั่ง เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงมากซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผักชนิดนี้

เจ้าของสวนผักกูดอธิบายถึงวิธีการเก็บการเก็บผักกูดไปขายว่าเพียงแค่เด็ดยอดที่มีความยาวจากปลายถึงตำแหน่งที่จะตัดประมาณ 30-40 เซนติเมตร จะเก็บทุกวัน และภายในอาทิตย์หนึ่งต้องมีผักกูดส่งให้ลูกค้าประมาณ 250 กิโลกรัม เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละประมาณ 30 กิโลกรัม

“ราคาจำหน่ายจากสวนไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง อย่างปีหนึ่งๆราคาจะทรงเท่าเดิม ประมาณ 40-50 บาทต่อกิโลกรัม แต่อาจมีการปรับขึ้นบ้างในช่วงอากาศหนาวเพราะผักจะแตกยอดช้ามาก ส่วนราคาจำหน่ายของแม่ค้าประมาณ 80-100 บาทต่อกิโลกรัม”

สำหรับตลาดจำหน่ายผักกูดของคุณธนพรมีด้วยกันจำนวน 3 แหล่ง คือ ร้านอาหารในรีสอร์ต,แม่ค้าในตลาดสด และแม่ค้าจากกรุงเทพฯ ซึ่งรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 250 กิโลกรัม หรือเดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ตัน และจะมีรายได้ถึงเดือนละ 4 หมื่นบาท

“อย่างเมื่อก่อนยังมีผลผลิตน้อยไม่กล้ารับมากก็แค่ส่งละแวกแถวแก่งกระจานเท่านั้น แต่ภายหลังที่ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกแล้วสามารถเพิ่มจำนวนต้นขึ้นมาอีก จึงเริ่มรับยอดสั่งจากแม่ค้าด้านนอก ถ้าคราวใดที่แม่ค้าต้องการจำนวนมากและเกินขีดกำลังการผลิตที่ทำได้ อาจต้องร่วมกับชาวบ้านที่ปลูกรายอื่นด้วย”

ปัจจุบัน คุณธนพรไม่ได้เป็นเพียงผู้ปลูกผักกูดรายหนึ่งในอีกกว่าสิบรายในพื้นที่แก่งกระจานเท่านั้น เธอยังทำหน้าที่เป็นหมอดินอาสา แล้วยังเป็นเกษตรกรที่ขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ปี 2554 ซึ่งเป็นการรับรองโดยสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 กรมพัฒนาที่ดิน

เจ้าของสวนผักกูดเปิดเผยอาหารที่ร้านในรีสอร์ตที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีนำไปใช้ผักกูดปรุงเป็นเมนูยอดฮิตของลูกค้าทำให้ติดใจสั่งกันเป็นประจำ เช่น แกงส้ม ผักน้ำมันหอย ยำผักกูด หรือแม้แต่รับประทานดิบคู่กับน้ำพริกชนิดต่างๆ

“อย่างผักกูด 1 กิโลกรัมสามารถนำไปทำอาหารขายได้หลายประเภท เช่น ผัดน้ำมันหอยราคาจานละ 100 บาท ยำผักกูดจานละ 150 บาท หรืออย่างแกงส้มผักกูดหม้อละ 150 บาท”

หากใครสนใจต้องการปลูกเพื่อให้แพร่ขยายทั่วไป ลองโทรศัพท์ไปพูดคุยกับคุณธนพรได้ที่ 081-4338310 เธอบอกว่ายินดีให้คำแนะนำการปลูกสำหรับผู้ที่สนใจจริง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คิดค้นการผลิตกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีชีวภาพ ที่สามารถเก็บไว้ได้นานโดยกระดาษไม่เหลืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากกระบวนการผลิตกระดาษในเชิงหัตถกรรมจะใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต คือใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ในการแช่และต้มเยื่อกระดาษ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษ สารเคมีทั้งสองตัวนี้จะเป็นตัวทำให้กระดาษที่ได้ขาวสว่าง เนื่องจากเกิดการทำปฏิกิริยากับลิกนิน ทำให้ปริมาณลิกนินในเยื่อกระดาษลดลง แต่การใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ ถึงแม้จะทำให้ปริมาณลิกนินในเยื่อลดลง ในทางกลับกันผลผลิตเยื่อที่ได้ก็จะมีค่าลดลงเช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการต้มเยื่อ น้ำทิ้งที่ได้จะมีส่วนประกอบของโซเดียมที่อยู่ในรูปเกลือต่างๆ สารประกอบคาร์โบไฮเดรต และลิกนิน

สารต่างๆ เหล่านี้เมื่อถูกปล่อยลงในน้ำทิ้งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปฏิกิริยาของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษก็เป็นแต่เพียงการทำให้ลิกนินก่อให้เกิดสีแตกตัวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการกำจัดลิกนิน เจ้าตัวลิกนินนี้เอง ที่จะทำให้กระดาษกลับเป็นสีเหลืองได้โดยง่าย นอกจากนี้การผลิตกระดาษด้วยวิธีการทางเคมีจากโซเดียมไฮดรอกไซด์จะมีผลต่อคุณภาพของกระดาษที่ได้มีความแข็งกระด้าง หยาบและไม่เรียบ

การผลิตกระดาษด้วยวิธีชีวภาพเป็นการใช้เชื้อจุลินทรีย์หมักกับวัตถุดิบ เพื่อย่อยสลายลิกนินในพืชแทนการใช้สารเคมีพวกโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของกระดาษได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสารเคมี

นอกจากนั้น เจ้าของผลงานยังได้เปิดเผยถึงวิธีการผลิตอีกด้วยว่า เริ่มจากนำต้นกล้วยน้ำว้ามาสับเป็นชิ้นๆ ขนาดประมาณ 6×3 เซนติเมตร จากนั้นนำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 1 คืน (24 ชั่วโมง) จากนั้นนำไปแช่น้ำให้อิ่มตัว นำไปฆ่าเชื้อ หมักที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสโดยเติมเชื่อรา T.viride ที่เพาะไว้ลงไปบ่ม จากนั้นก็นำไปฆ่าเชื้อราและเข้าสู่กระบวนการผลิตกระดาษต่อไป

จากกระบวนการดังกล่าว นอกจากเชื้อรา T.viride จะย่อยสลายลิกนินไปเป็นจำนวนมากแล้วทำให้ในกระบวนการฟอกเยื่อกระดาษ สามารถลดปริมาณการใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงไปได้เป็นจำนวนมากกว่าการผลิตกระดาษแบบทั่วไป อีกทั้งการผลิตกระดาษด้วยวิธีชีวภาพกระดาษยังมีค่าความสว่างมากกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษอีกทั้งกระดาษยังมีความเหนียว นุ่ม สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าการผลิตด้วยวิธีทางเคมี โดยกระดาษไม่กลับมาเป็นสีเหลืองอีกด้วย

หากเอ่ยชื่อ “บรรจง” แห่งบ้านฉาง เมื่อสามสิบปีที่แล้ว วงการค้าและผลิตมะม่วงนอกฤดู จะรู้ดีว่าเขาคือผู้ประสบความสำเร็จกับมะม่วงนอกฤดู ที่มีทั้งเขียวเสวย น้ำดอกไม้ ก่อนจะมีสารเร่งออกมาบังคับต้นมะม่วงออกนอกฤดูเสียอีก เป็นที่กล่าวขวัญกันมาในอดีตนานแล้ว

กระทั่ง ปี 2536 เขาได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ในด้านทำสวนมะม่วงมาแล้ว อีกไม่นานเขาก็จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก สาขาวิทยาศาสตร์ เป็นความภาคภูมิใจของวงศ์ตระกูล

ส่วนรางวัลชนะเลิศประกวดไม้ผลมะม่วง ขนุน นั้น มีมากมายจนจำไม่ได้ เขากล่าวกับผู้เขียนไว้เมื่อครั้งได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นไว้ว่า

“ผมเป็นคนชอบทดลองและทำในสิ่งใหม่ๆ สมัคร BETFLIX ในด้านการนำวิชาการมาควบคู่กับการปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ ในการผลิตมะม่วงนอกฤดูและก่อนฤดู เนื่องจากมีภาระหน้าที่ลูกสาว 3 คน กำลังเรียนในมหาวิทยาลัย กำลังใช้เงินอยู่ ส่วนลูกชายก็ไปหาความรู้ที่ประเทศออสเตรเลีย หากไม่ได้ราคาจากมะม่วงนอกฤดู ผมคงไม่มีปัญญาส่งลูกเรียนแน่” เขากล่าวถึงความลำบากในอดีตที่ผ่านมา 30 ปี ที่คลุกคลีกับสวนมะม่วงที่เขาเช่าที่ดินไว้นับร้อยไร่

ผู้เขียนเลยถามเขาว่ามีเทคนิคอะไรบ้างหลังมะม่วงนอกฤดู เกษตรกรมีสารเร่งเข้ามาใช้บังคับออกผลได้สำเร็จแล้ว มีชาวสวนมะม่วงนอกฤดูทุกรายภาคผลิตขายกันดาษดื่นไปทุกภาคแล้ว

“เรายังขาดหลายสิ่งหลายอย่างที่มองไม่เห็น ถึงเจ้าของสวนรายใหญ่ๆ ที่ประสบความล้มเหลวในการผลิตมะม่วงนอกฤดูจน “เจ๊ง” กันเกือบทุกราย ขั้นต้นการปลูกมะม่วงพันธุ์ต้องใช้พันธุ์มะม่วงส่งออก เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง ถัดมา ได้แก่ มะม่วงมหาชนก ที่ตลาดต้องการในต่างประเทศ

แต่ที่เขาล้มเหลวมาเพราะวิธีการจัดการไม่ถูกต้อง เฉพาะสวนมะม่วงแปลงใหญ่ เจ้าของสวนขาดความรู้ความชำนาญ โดยเฉพาะแปลงสวนมะม่วงจัดสรร มีคนงานไม่มีความรู้ ไม่ได้ฝึกมาก่อน ใช้คนงานท้องถิ่น เอาเฉพาะตัดแต่งกิ่ง คนงานจ้างตัดเป็นรายวัน กว่าจะได้ครบร้อยไร่กินเวลาหลายวันกว่างานจะเสร็จ เพราะเขาไม่มีความชำนาญ ต้นไม้ที่ตัดไปก็ออกใบอ่อนไม่พร้อมกัน มันทำให้ต้นไม้เครียด ผลเสียจะตามมา มะม่วงจะออกไม่พร้อมกัน ผลผลิตก็จะตกต่ำ สร้างความเสียหายให้กับสวน แต่ของใช้คนงานที่ฝึกมาดี ไม่จ้างเป็นรายวันให้เหมาไปเลย คนงานชอบทำมากก็ได้เงินมาก แปลงมะม่วงร้อยไร่ทำวันเดียวก็เสร็จ จะฉีดยา ใส่ปุ๋ย จ้างเหมาดีที่สุด ต้นไม้ไม่เครียด เหมือนกับฟาร์มไก่จะทำวัคซีนป้องกันโรคถ้าไม่มีคนงานหลายคน ขืนฉีดวัคซีน 1-2 คน ไก่ในเล้าตื่นตกใจและเครียดจะทำให้ผลผลิตเสียหาย เรื่องอย่างนี้คนเลี้ยงไก่เขาเข้าใจดีครับ”

อดีตเกษตรกรดีเด่นยังกล่าวถึงการใส่ปุ๋ยคอกลงในแปลงมะม่วงน้ำดอกไม้ ถ้าใส่ไปแล้ว เวลาเอามะม่วงไปบ่ม ผิวจะเสีย เพราะมีเชื้อราแอนแทรกโนส หรือโอเตี้ยม เกิดขึ้นแล้วส่งออกไม่ได้เลย ห้ามใช้เด็ดขาดโดยเฉพาะปุ๋ยขี้ไก่