เกษตรกรปั้นเมลอนซูเปอร์พรีเมี่ยม บ่มเพาะเยาวชนเกษตร 4.0

ถือเป็นอาชีพใฝ่ฝันของคนรุ่นใหม่ แต่มีไม่มากรายที่เมื่อผันตัวมาเป็นเกษตรกรแล้วจะประสบความสำเร็จ “เกสรา นารถถนอม” หรือ “เจมส์” สาววัย 28 ปีจากเมืองตราด ก็เป็นหนึ่งในคนที่มีความฝันเรื่องการทำเกษตร

เกสรามีดีกรีปริญญาตรี ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา ปัจจุบันทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการบริษัทเอกชนนำเข้า-ส่งออกแห่งหนึ่งที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ด้วยความที่ครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ ทำเกษตรกรรม จึงตัดสินใจทำอาชีพเสริมเป็นเกษตรกรเพื่อปูทางสู่อนาคตที่วางแผนไว้ว่าจะกลับไปทำที่บ้านเกิด

เริ่มจากลงทุน 1 แสนกว่าบาท สร้างโรงเรือนขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ใช้ปลูกเมลอนกว่า 500 ต้น พร้อมตั้งชื่อแปลงเมลอนนี้ว่า Ketsara”s Garden และด้วยความที่ชอบรับประทานเมลอน จากที่ไม่มีความรู้ด้านเกษตรกรรม ไม่เคยปลูกอะไร ก็หันมาสอบถาม ค้นคว้า เข้าอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ แล้วจึงทดลองปลูกร่วมกับสามี “อนวัช ตาววัฒนา” ใช้เวลา 3 เดือน กระทั่งได้ผลผลิตรุ่นแรก น้ำหนักเฉลี่ยลูกละ 1.5-1.8 กิโลกรัม

เมื่อต้นปี 2560 ขายกิโลกรัมละ 180 บาท สูงกว่าท้องตลาดในช่วงนั้น 50-60 บาท และรุ่นที่สองตามมา ซึ่งมีเมลอนพันธุ์ใหม่ ซูเปอร์พรีเมี่ยม หรือเมลอนฮอกไกโด ที่นำเข้าเมล็ดพันธุ์จากญี่ปุ่น เป็นลิมิเต็ด 20 ลูก ซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของสวน ราคาเปิดจองล่วงหน้ากิโลกรัมละ 500 บาท ขณะที่ญี่ปุ่นจำหน่ายลูกละ 2,000-3,000 บาท ทำให้จำหน่ายหมดภายในเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา

“แม้จะมีงานทำในออฟฟิศห้องแอร์สบาย แต่อนาคตอยากกลับมาพัฒนาที่ดินของตัวเอง ทำเกษตรต่อจากพ่อแม่ โดยใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น ระบบการให้ปุ๋ย ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์ด้วยการตั้งเวลามาช่วยลดภาระเรื่องแรงงาน และจะคิดปลูกพืชใหม่ ๆ ที่มีคนปลูกได้น้อย เพื่อสร้างรายได้ในระยะสั้น ๆ ไม่ต้องรอเป็นปี ๆ จึงเลือกปลูกเมลอนโดยมีสามีเป็นกำลังหลัก ส่วนตัวเองกลับบ้านมาช่วยทำงานทุกอาทิตย์”

ใส่ใจจากแปลงถึงผู้บริโภค

เกษตรกรสาวป้ายแดง เล่าว่า การปลูกเมลอนค่อนข้างพิถีพิถัน ต้องเริ่มตั้งแต่เพาะเมล็ด ไปปลูกในแปลงเอง และดูแลสภาพในโรงเรือนให้สะอาดปราศจากโรคและแมลง การทำดิน และปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองจากฟาร์มไส้เดือน และติดตั้งระบบไฟฟ้า (timer) ต้องตรวจสอบวิเคราะห์ดิน เพื่อให้น้ำและปุ๋ยทางน้ำ เพื่อประหยัดการใช้แรงงาน ระวังโรคแทรก โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง

“ที่ยากมาก คือ การผสมดอก หลังจากย้ายปลูกประมาณ 21-30 วัน ต้องนำเกสรดอกตัวผู้ไปปัดผสมกับเกสรของดอกตัวเมียที่กระเปาะบริเวณฐานดอก ประมาณ 1 สัปดาห์ ลูกเมลอนจะโตขนาดเท่าไข่ไก่ เลือกลูกที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงลูกเดียว เพื่อให้สารอาหารไปเลี้ยงลูกอย่างเต็มที่ และใช้เชือกโยงช่วยรับน้ำหนัก หากต้องการวาดลวดลายสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้ลูกค้า เมื่อผลอ่อนขนาดลูกเท่ากำปั้น ใช้เหล็กปลายแหลมเขียนลวดลายบนผิว” คุณเจมส์กล่าว

ส่วนการตัดผลไปจำหน่าย ต้องให้แก่พอดี โดยสังเกตลายวงกลมที่เดินขึ้นมาด้านก้านขั้ว ตัดกิ่งติดที่ขั้วให้เป็นรูปตัว T สัญลักษณ์ของดาบซามูไร และเพื่อความสวยงามด้วย จากนั้นแพ็กใส่โฟมตาข่ายป้องกันการกระแทก และติดป้ายแท็ก สติ๊กเกอร์ Ketsara”s Garden

ทำตลาดบนโซเชียล

สื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสื่อสารด้านการตลาดที่เร็วที่สุด ทำให้เมลอนเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะทุกคนเล่นเฟซบุ๊กในมือถือกันทุกวัน จึงสร้างเพจ Ketsara”s Garden เขียนเนื้อหา เล่าเรื่อง ให้ความรู้ด้านเกษตร การปลูกเมลอนตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งตัดขาย ให้คนอ่านแล้วสนุกได้ความรู้ และเสมือนได้มีส่วนในการดูแลผลผลิต ที่ปลอดสารเคมี โดยวางเป้าหมายกลุ่มลูกค้าเป็นคนรักสุขภาพ

คุณเจมส์บอกว่า ตั้งแต่ขายมา มีกลุ่มลูกค้า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าออนไลน์ และกลุ่มลูกค้าที่เดินทางมาซื้อเอง และกลับมาซื้อซ้ำ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดตราด ที่ผ่านมารายได้ค่อนข้างดี เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท/โรงเรือน หากเป็นฤดูฝนจะลดลงประมาณ 30%

สำหรับปี 2561 วางแผนจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม 2-3 โรงเรือน และจะปลูกพืชที่มีคุณภาพหลากหลายมากขึ้น ที่ยังไม่มีใครปลูกมากนัก เช่น มะเขือเทศเชอรี่ สตรอว์เบอรี่สายพันธุ์ต่างประเทศ ข้าวโพดชนิดกินดิบที่หอมหวานเหมือนน้ำนมจากฮอกไกโด ซึ่งปัจจุบันทดลองปลูกได้ผลแล้ว ล่าสุดยื่นขอรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว

โดยอนาคตมุ่งหวังให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรแบบใหม่ เพื่อบ่มเพาะเยาวชนเกษตรกรยุค 4.0 ในท้องถิ่น กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว แนะหมั่นสำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศแห้ง ฝนเริ่มทิ้งช่วง เตือนให้เกษตรกรชาวสวนมังคุดในภาคตะวันออกที่มังคุดอยู่ในระยะแตกใบอ่อน ออกดอก จนถึงระยะติดผลอ่อน ซึ่งเป็นระยะที่ดึงดูดเพลี้ยไฟเข้ามาทำลายมากที่สุด

เฝ้าระวังป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟ (แมลงขนาดเล็ก ๐.๗ – ๐.๘ มิลลิเมตร เคลื่อนไหวเร็ว) ที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกมีรอยแผลสีน้ำตาลกร้าน ดอกร่วง หรือยอดผิวของผลมังคุดเป็นขี้กลาก ผิวลาย มียางไหลและอาจทำให้ผลร่วง ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมังคุดได้ จึงแนะนำให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ โดยสุ่มเคาะช่อดอกบนกระดาษขาว

รองอธิบดีฯ กล่าวถึงวิธีการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟมังคุดว่า ควรสำรวจสวนมังคุดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองขนาด 24 x 26 นิ้ว จำนวน 4 กับดักต่อต้น ติดตั้งในสวนมังคุดที่เริ่มแตกใบอ่อน นอกจากนี้ การใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยไฟตัวห้ำ และด้วงเต่าตัวห้ำ ช่วยป้องกันการระบาดได้

หากพบการระบาดที่ไม่รุนแรงให้พ่นด้วยน้ำเปล่าเพื่อให้เกิดความชื้น ทุก ๒ – ๓ วัน สำหรับการระบาดรุนแรงควรพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลงให้ทั่วถึงทั้งลำต้น มิเช่นนั้นแมลงจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นไม่ถึง

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการปรับละอองฝอยหัวฉีด และระยะเวลาการพ่นด้วย โดยเกษตรกรสามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อเตรียมการป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรงได้

ระยะนี้จะมีอากาศเย็น และมีน้ำค้างในตอนเช้า กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลันเตาให้ เฝ้าสังเกตการระบาดของโรคราแป้ง สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วลันเตา มักพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช

อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่างติดโคนต้นก่อน โดยมีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งบนใบและใต้ใบ หากอาการรุนแรง จะเห็นต้นถั่วลันเตาขาวโพลนทั้ งต้น ทำให้ใบและส่วนต่างๆ บิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลือง ไหม้ และร่วงก่อนกำหนด กรณีเกิดโรคในระยะออกดอก จะทำให้ต้นแคระแกร็น ติดฝักน้อย ฝักบิดเบี้ยว หรือฝักและเมล็ดลีบเล็กลง

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และบริเวณใกล้เคียงนำไปเผาทำลาย นอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่ อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารซัลเฟอร์ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนแคป 19.5% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารคอปเปอร์ซัลเฟต 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 12.5-25 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซะโคนาโซล 5% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารซัลเฟอร์ในส ภาพอากาศร้อน หรือมีแดดจัด เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้

สำหรับในแปลงที่ พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากต้นถั่วลันเตาไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค การปลูกในฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชแน่นจนเกินไป ควรปรับระยะปลูกให้มี ความเหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงแดดส่องผ่านแปลงปลูกได้ อย่างทั่วถึง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มี การระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความ สะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้ แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุ กครั้ง

“เห็ดหอม” เป็นอาหารที่มีคุณค่าด้วยสารอาหารมากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุและกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายและมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ บริโภคได้ทั้งดอกสดและดอกแห้ง คนไทยบางคนบริโภคเห็ดหอมจากต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยก็ผลิตได้แล้ว ผู้เขียนได้ไปชมกิจการการเพาะเห็ดหอมที่จังหวัดลำปาง จึงใคร่เชิญชวนให้คนไทยสนับสนุนและบริโภคเห็ดหอมที่ผลิตโดยเกษตรกรไทยให้มากขึ้นครับ

บ้านปางมะโอ หมู่บ้านเห็ดหอม แห่งเดียวในจังหวัดลำปาง บ้านปางมะโอ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีพื้นที่เพียง 21 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดลำปาง ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดลำปาง ตามเส้นทาง สายลำปาง-เด่นชัย 39 กิโลเมตร ก่อนเข้าเขตบ้านปางมะโอ สองข้างทางจะพบเห็นเพิงร้านขายสินค้าเกษตร ทั้งของป่าจำพวก ผักหวานป่า เห็ดป่า และสินค้าเกษตรที่เกษตรกรผลิตขึ้นจากแปลงเกษตร ได้แก่ หน่อหวาย หน่อไม้ เห็ดหอม ฯลฯ

ลักษณะภูมิประเทศของบ้านปางมะโอ ตั้งอยู่บนที่สูงล้อมรอบด้วยแนวเขาทั้งสี่ด้าน ติดเขตอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย สภาพอากาศจึงเย็นสบาย อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 25-28 องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิสังคม เป็นชุมชนที่มีความสามัคคีร่วมมือกันในทุกกิจกรรม มีวิถีชีวิตทางสังคมใกล้ชิดกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้วยการลงแขก หรือคนภาคเหนือเรียกว่า “เอามื้อ” คือการช่วยทำกิจกรรมของบ้านหนึ่งก่อน เมื่อเสร็จแล้วก็จะไปช่วยอีกบ้านหนึ่ง เสมือนการตอบแทนกันโดยไม่มีค่าจ้าง ทั้งยังมีการแบ่งปันอาหารให้กัน ปัจจุบัน แม้แต่การผลิตเห็ดหอมตามหัวข้อของบทความนี้ก็ยังเอามื้อกันอยู่ในการอัดก้อนเชื้อเห็ด ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมเชิงเกษตรชุมชน ที่ไม่ค่อยพบเห็นกันมากนักในประเทศไทย

ความเป็นมาของการผลิต เห็ดหอมบ้านปางมะโอ

คุณบุญธรรม สุขพี้ เกษตรกรผู้ผลิตเห็ดหอม และเป็นผู้ประกอบกิจการด้านเห็ดหอม มีตำแหน่งทางการปกครอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 อายุ 47 ปี บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 8 บ้านปางมะโอ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 52150 โทรศัพท์ (062) 642-3989 ได้เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรบ้านปางมะโอเริ่มเพาะเห็ดหอมกันมาตั้งแต่ ปี 2534 ริเริ่มโดย ผู้ใหญ่บ้านประสิทธิ์ วงค์เขียว (เสียชีวิตแล้ว) กับ แม่เล็ก พิชยกุล อดีตประธานกลุ่มสตรีจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการเพาะเห็ดหอม ได้มาทดลองเพาะเห็ดหอมในหมู่บ้านอยู่ประมาณ 2 ปี มีเกษตรกรทำตามอยู่ 4 คน เมื่อเพาะเห็ดจนผลผลิตออกดอก ก็มีปัญหาผลิตแล้วไม่มีที่ขาย นำออกไปขายก็ไม่มีใครซื้อ เพราะคนในชุมชนไม่รู้จักเห็ดหอม ราคาขายก็สูง ขณะนั้น กิโลกรัมละ 100 บาท ต่อมามี แม่บุญปั๋น วงค์แคะหล้า ประธานกลุ่มแม่บ้านสมัยนั้นได้ไปแสวงหาความรู้คิดค้นสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตเห็ดหอม จนขายได้ กลายเป็นสินค้าใหม่ ขายได้ราคาดีเป็นแรงจูงใจ

“เกษตรกรจากเดิมที่ทำการเกษตรด้านอื่น ต่างก็หันมาเพาะเห็ดหอมกันทั้งหมู่บ้านตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งผลิตเห็ดหอมเพียงแห่งเดียวในจังหวัดลำปาง” ผู้ใหญ่บุญธรรม กล่าว

ปัจจัยที่เอื้อต่อการเพาะเห็ดหอม

ผู้ใหญ่บุญธรรม กล่าวว่า เห็ดหอมบ้านปางมะโอ ผลิตได้ทั้งปี เนื่องจากสภาพพื้นที่มีอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 25-28 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของเห็ดหอม ดังที่ได้กล่าวมา ผู้ใหญ่บุญธรรมได้พาผู้เขียนไปเยี่ยมชมกิจการการเพาะเห็ดหอม และการแปรรูปเห็ดหอม ซึ่งกำลังขะมักเขม้นผลิตกันอย่างแข็งขัน เริ่มจาก

วิธีการผลิตเห็ดหอมในอดีตและปัจจุบัน

โรงเรือนเพาะเห็ดหอม ในอดีตเกษตรกรมักจะเพาะเห็ดหอมกันตามบ้านเรือน เรียกได้ว่าทุกบ้านจะมีพื้นที่เต็มไปด้วยเห็ดหอม จะว่างเว้นเฉพาะทางเดินและที่นอนในบ้านเท่านั้น แต่ปัจจุบันแต่ละครอบครัวได้สร้างโรงเรือน อย่างน้อยครอบครัวละ 2 โรงเรือน ลักษณะโรงเรือนตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น เป็นโรงเรือนเพาะแบบชั้นเดียวและแบบคอนโดฯ ก็มี ฝาผนัง หลังคา มุงด้วยหญ้าคา สามารถป้องกันความร้อนได้ พื้นรองมีทั้งที่เป็นพื้นปูนซีเมนต์และเป็นพื้นดิน แต่ที่สำคัญต้องมีความสะอาดปลอดเชื้อโรค จึงมีการใช้ปูนขาวโรยบริเวณพื้นและรอบๆ โรงเรือน เป็นการป้องกันแมลงและเชื้อโรค
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดหอม
ผู้ใหญ่บุญธรรม ได้เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ปิดบัง ทั้งตอบข้อสงสัยได้อย่างละเอียดของขั้นตอนและส่วนผสมวัตถุดิบในการเพาะเห็ดหอม ดังนี้

เชื้อเห็ดหอม ปัจจุบันยังต้องสั่งซื้อจากในตัวเมืองลำปางบ้าง จังหวัดลำพูนบ้าง ที่เกษตรกรไม่ผลิตหัวเชื้อเองเพราะยังขาดองค์ความรู้และต้นทุนสูง (หัวเชื้อเห็ดหอม 1 ขวด ใช้เขี่ยเชื้อใส่ก้อนเห็ดได้ 20 ถุง)
อาหารเชื้อเห็ดหอม ประกอบด้วย
– ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง หรือจากต้นจามจุรี หรือกระถินณรงค์ จำนวน 100 กิโลกรัม

ผู้ใหญ่บุญธรรม บอกว่า ใช้ขี้เลื้อยจากไม้ยางพาราดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องสั่งซื้อมาจากจังหวัดภาคใต้ ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูง

– รำละเอียด ใช้เป็นอาหารให้เชื้อเห็ด จำนวน 10 กิโลกรัม

– ดีเกลือ เพื่อบำรุงเส้นใย จำนวน 200 กรัม

– น้ำตาลทรายขาวหรือแดง ใช้เป็นอาหารให้เชื้อเห็ด จำนวน 1 กิโลกรัม

– ปูนขาว ใช้เพื่อปรับสมดุลของวัตถุดิบ จำนวน 1 กิโลกรัม

– ยิปซัม ใช้เป็นอาหารให้เชื้อเห็ด จำนวน 50 กรัม ขั้นตอนการผลิตเห็ดหอม
3.1 นำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมก็แล้วแต่ ให้ได้ความชื้น 50-60% โดยใช้น้ำเป็นตัวประสาน

3.2 บรรจุใส่ถุงพลาสติกอัดให้แน่นด้วยมือหรือเครื่องอัด ให้ได้น้ำหนักถุงละ 1 กิโลกรัม

3.3 นำก้อนเห็ดไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส นาน 3 วัน นำออกจากถังนึ่ง ทิ้งไว้ 1 คืน ให้ก้อนเห็ดเย็นลงเสียก่อน

ผู้ใหญ่บุญธรรม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถ้าใช้หม้อนึ่งขนาดเล็ก จะใช้เวลาไม่ถึง 3 วัน แต่กรณีของผู้ใหญ่บุญธรรมใช้ถังปูน ขนาด กว้างxยาวxสูง (2.5x3x2 เมตร) ใช้แรงดันความร้อนด้วยหม้อน้ำ

3.4 เขี่ยเชื้อเห็ดหอมใส่ถุง นำไปบ่มในโรงเรือนเป็นเวลานาน 4 เดือนครึ่ง ถึง 5 เดือน

3.5 เมื่อก้อนเชื้อเห็ดหอมแก่ จะเปิดดอกเห็ด สังเกตว่าก้อนเห็ดหอมมีสีน้ำตาลเข้ม เปิดฝาจุกตัดปากถุง

3.6 ฉีดพ่นน้ำให้มากที่สุดจนชุ่ม เพื่อกระตุ้นเส้นใยให้ตื่นตัวทั้งช่วงเช้าและเย็น เป็นเวลา 2 วัน จากนั้นพลิกถุงอีก 2 วัน นำไปตั้งไว้เหมือนเดิม ขณะเดียวกันต้องรักษาความชื้นภายในโรงเรือนด้วย อีก 3 วัน ก็เก็บดอกเห็ดหอมได้

ผู้ใหญ่บุญธรรม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในกรณีที่ราคาเห็ดตก หรือราคาต่ำกว่าที่ควรจะได้ หากเก็บขายอาจไม่คุ้มค่าก็จะงดให้น้ำ เพื่อไม่ให้ก้อนเชื้อเห็ดออกดอก เมื่อไม่ให้น้ำดอกเห็ดจะไม่ออกดอก”

ปัญหาการเพาะเห็ดหอม มีทั้งโรคและแมลง ใช้การป้องกันมากกว่าการรักษา

ผู้ใหญ่บุญธรรม ปรารภให้ฟังว่า การเพาะเห็ดหอมมิได้ราบรื่นเสมอไป ปัญหาก็มีบ้างและมักพบ ได้แก่ โรคราเขียว มีให้เห็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล หากราเขียวลงเมื่อใด เห็ดหอมจะไม่เติบโตหรือไม่ก็เหี่ยวเฉาลง ใช้การป้องกันดีกว่าการรักษา ด้วยการโรยปูนขาวในโรงเรือนก่อนลงมือวางก้อนเห็ด แมลงก็มี โดยเฉพาะไร มองด้วยตาเปล่าไม่ค่อยเห็น ชอบกัดกินเส้นใยดอกเห็ด ป้องกันด้วยการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย บริเวณพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน ตลอดจนต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดทุกครั้งหลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว

อีกปัญหาหนึ่งผู้ใหญ่บุญธรรม บอกว่า เห็ดน็อกอากาศ หรือเน่า เมื่ออากาศร้อนจัด อุณหภูมิตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียส ขึ้นไป แต่ถ้าปีใดอากาศดี ฝนมาเร็ว ผลผลิตเห็ดหอมก็จะดี

ผลผลิตที่ได้ สรุปรายได้-ค่าใช้จ่าย พอกิน พออยู่ พอใช้

ผู้ใหญ่บุญธรรม ให้ข้อมูลว่า บ้านปางมะโอ มี 100 หลังคาเรือน ร้อยละ 80 ผลิตเห็ดหอม มีผลผลิต 3-5 กิโลกรัม/วัน/ครัวเรือน รวมผลผลิต ทั้งหมู่บ้าน 240-400 กิโลกรัม/วัน ช่วงเวลาที่เก็บผลผลิตได้มากสุดคือ ฤดูหนาวเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ช่วงน้อยสุดเดือนเมษายนถึงมิถุนายน แต่ฤดูฝนผลผลิตปานกลาง

รายได้ต่อครอบครัวไม่มากนัก ประมาณ 6,000-10,000 บาท/เดือน เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าไม่รวมการลงทุนโรงเรือนก็จะมีค่าใช้จ่ายซื้อวัสดุเพาะเห็ดหอม/ชุด หรือ/ครั้ง 15,000-20,000 บาท ผลิตก้อนเห็ดได้ 6,000 ก้อน “สรุปก็คือ พอกิน พออยู่ พอใช้ แต่ไม่ถึงกับร่ำรวย พวกเราทำมาหากินภายในชุมชน มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย ขอเพียงชาวบ้านไม่ต้องไปถากถางป่าหรือเบียดเบียนป่าเป็นพอ ทุกวันนี้ถือว่าการเพาะเห็ดหอมของบ้านปางมะโอ ได้พัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืนแล้ว” ก็เพียงขอการอุดหนุนจากผู้อ่านในการสั่งซื้อผลผลิต ผลิตภัณฑ์เห็ดหอมบ้านปางมะโอ” ผู้ใหญ่บุญธรรม กล่าว

ตลาดเห็ดหอม มีทั้งในท้องถิ่น และต่างจังหวัด

เห็ดหอมบ้านปางมะโอ มีจำหน่ายหรือขายทั้งดอกสดและนำไปแปรรูปขาย การขายเห็ดหอมสด ผู้ใหญ่บุญธรรมบอกว่า แต่ละวันจะมีขายตามแผงร้านค้าริมถนน สายลำปาง-เด่นชัย ช่วงก่อนถึงหมู่บ้าน กับขายให้แก่พ่อค้าแม่ค้าในเมืองลำปาง ต่างจังหวัดก็มี เช่น ส่งไปที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน น่าน แพร่ และจังหวัดพิษณุโลก ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 200 บาท

ส่วนการแปรรูปนั้น ดำเนินกิจการโดยกลุ่มแปรรูป มีสมาชิกหมุนเวียนกันมาปฏิบัติงาน ปัจจุบัน กลุ่มแปรรูปเห็ดหอมมีอยู่ 2 ประเภท คือ น้ำพริกเห็ดหอม บรรจุกระป๋องละ 30 กรัม ราคา 20 บาท กับแหนมเห็ดหอม น้ำหนักต่อแพ็ก 300 กรัม ราคา 50 บาท

จริงๆ แล้ว ขีดความสามารถของกลุ่มแปรรูปนอกจากน้ำพริกเห็ดหอมกับแหนมเห็ดหอมแล้ว แปรรูปอย่างอื่นได้อีก ได้แก่ ข้าวเกรียบเห็ดหอม น้ำพริกเผา (รวมเจ) เห็ดหอม เห็ดหอมดอง เห็ดหอม 3 รส เห็ดหอมสวรรค์ ไส้อั่วเห็ดหอม เห็ดหอมทอดสมุนไพร แต่รายการแปรรูปดังกล่าว หากมีคำสั่งซื้อ กลุ่มแปรรูปรับที่จะดำเนินการได้ทันที คือ น้ำพริกเห็ดหอม แหนมเห็ดหอม น้ำพริกเผาเห็ดหอม ไส้อั่วเห็ดหอม

หลายส่วนงานร่วมหนุนเสริมการผลิตเห็ดหอมบ้านปางมะโอ

ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ทะ หนุนเสริมในเรื่องการตลาด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ให้ความรู้ฝึกอบรมการแปรรูป องค์การบริหารส่วนตำบลวังเงิน สนับสนุนงบประมาณจัดหาอุปกรณ์การแปรรูป และ ปี 2560 ช่วงเดือนสิงหาคม มีโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เข้ามาหนุนเสริม มีเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมถึง 83 ครัวเรือน

ผู้เขียนก็คาดหวังการสนับสนุนจากท่านผู้อ่านในการอุดหนุนซื้อผลผลิต ผลิตภัณฑ์เห็ดหอมบ้านปางมะโอ เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนให้บ้านปางมะโอ เป็นหมู่บ้านที่รักษาวิถีชีวิตเกษตรและประเพณีเอามื้อสืบต่อไปสู่รุ่นลูก หลาน เหลน โหลน โปรดติดต่อ คุณบุญธรรม สุขพี้ ตามที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ข้างต้น

ข้าวพันธุ์ทับทิมชุมแพ หรือ ข้าวพันธุ์ กข 69 เป็นพันธุ์เดียวกัน ได้จากลูกผสมระหว่าง ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง กับข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ลำต้นสูง และเป็นพันธุ์หนัก ปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 และผ่านการรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพันธุ์ทับทิมชุมแพเป็นข้าวเจ้า ที่ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 797 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยว 136 วัน ทรงต้นตั้งตรง เมล็ดข้าวกล้องสีแดง รูปร่างเรียวยาว อะมิโลสต่ำ เพียง 12.63 เปอร์เซ็นต์ มีอนุมูลอิสระ เช่น โพลีนิก และฟลาโวนอยด์ สูง วิตามินซีก็มีมากด้วย

เมล็ดข้าวหุงสุกแล้วนุ่ม และรสชาติดี นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้หลายชนิด อย่างไรก็ตาม ข้าวพันธุ์นี้ยังมีข้อด้อยคือ ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง การปลูกสับปะรดให้ได้ผลดี ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูก ต้องสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 600 เมตร มีความลาดเอียงเล็กน้อย หากปลูกสับปะรดบรรจุกระป๋อง จำเป็นต้องอยู่ใกล้โรงงาน

ดินปลูก ควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย Royal Online ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึก หากมีอินทรียวัตถุระดับปานกลางขึ้นไปยิ่งดี ดินมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ระหว่าง 4.5-6.0 มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,000-1,200 เมตร การกระจายตัวของน้ำฝนดี อุณหภูมิที่พอเหมาะอยู่ระหว่าง 24-30 องศาเซลเซียส

พันธุ์ปลูก พันธุ์ปัตตาเวียเหมาะสำหรับผลิตส่งโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนพันธุ์ภูเก็ต ตราดสีทอง และนางแล เป็นพันธุ์สำหรับบริโภคสด

การเตรียมดิน ไถดะ 1 ครั้ง ลึก 20-40 เซนติเมตร ตากดินให้แห้งเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เก็บเศษไม้และวัชพืชออกจนสะอาด ปรับผิวดินให้เรียบและลาดเอียงเล็กน้อย ป้องกันน้ำท่วมขังหลังฝนตกหนัก หรือมีการให้น้ำในช่วงแล้ง หากเป็นแปลงปลูกสับปะรดมาก่อนให้ตัดสับเศษซากสับปะรด ตากแดดทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 เดือน จากนั้นจึงไถกลบลงดิน และยกแปลงปลูกสูงขึ้นประมาณ 20-25 เซนติเมตร

ส่วนขยายพันธุ์ ใช้ได้ 2 ส่วน คือหน่อ และจุก การใช้หน่อปลูกสามารถบังคับให้ออกดอกได้ภายใน 8-12 เดือน ส่วนการปลูกด้วยจุกจะบังคับให้ออกดอกได้ภายใน 10-14 เดือน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปลูกด้วยหน่อหรือจุกต้องคัดขนาดให้เท่ากันสำหรับใช้ปลูกในแปลงเดียวกัน

ปัจจุบันแนะนำให้ปลูกเป็นแถวคู่ ใช้ระยะปลูก 25x50x100 เซนติเมตร ได้จำนวน 8,533 ต้น ต่อไร่ ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 16-20-0 อัตรา ต้นละ 1 ช้อนแกง โรยรอบต้นหรือเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หากดินขาดอินทรียวัตถุให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ พร้อมหินฟอสเฟต อัตรา 100 กิโลกรัม ต่อไร่

เมื่อสับปะรดอายุครบ 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยที่กาบใบล่าง ด้วยสูตร 12-6-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 3 ช้อน ต่อต้น โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ทุก 2 เดือน การให้ปุ๋ยทางใบ ด้วยสูตร 23-0-25 หรือใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต อัตรา 1:1 ละลายน้ำสะอาดเจือจางฉีดพ่นที่ใบหรือหยอดที่ซอกใบ 3 ครั้ง คือก่อนการบังคับให้ออกดอก 30 วัน 5 วัน