เกษตรกรราชบุรี ทำสวนมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ ผลผลิตเป็นที่

ต้องการของตลาด ลูกค้ารับซื้อยกสวนมะพร้าวน้ำหอม เป็นสินค้าที่ตลาดมีการขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน จึงเป็นสินค้าที่คนจีนนิยมบริโภค และตลาดใหญ่ๆ อีกแห่งที่ตามมาคือ ตลาดในสหรัฐอเมริกา ถือเป็นตลาดใหญ่ไม่แพ้กัน เพราะผู้ที่ชื่นชอบดื่มน้ำมะพร้าวเล็งเห็นถึงคุณค่าทางโภชนาการที่จะได้รับ จึงนิยมบริโภคมากขึ้น ณ เวลานี้ มะพร้าวจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งการทำสวนมะพร้าวในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย เกษตรกรได้มีการปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตอย่างมะพร้าวที่ส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศมีคุณภาพ เกษตรกรบางรายมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้มากขึ้น จึงช่วยให้การทำสวนมะพร้าวในยุคนี้มีความสะดวกสบายมากขึ้น และได้ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการของตลาดอีกด้วย

คุณบวร ศาลาสวัสดิ์ อยู่บ้านเลขที่ 138 หมู่ที่ 3 ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมก้นจีบ บนเนื้อที่ 10 ไร่ มีต้นมะพร้าวอยู่ประมาณ 400 ต้น เรียกง่ายๆ ว่า เป็นผู้คร่ำหวอดในเรื่องการปลูกมะพร้าวกันเลยทีเดียว จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น จึงทำให้การปลูกมะพร้าวเป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี

คุณบวร เล่าให้ฟังว่า เดิมทีมีอาชีพทำเกี่ยวกับการเกษตรตั้งแต่สมัยคุณพ่อคุณแม่ คือการปลูกพืชจำพวกหอมแดงและพริก ต่อมาเมื่อมีโอกาสได้ลงมือทำอย่างเต็มตัว จึงเริ่มรู้สึกอยากจะปรับเปลี่ยนการปลูกพืชชนิดอื่น จึงได้ตัดสินใจพลิกผืนดินมาทำสวนมะพร้าว ตั้งแต่ปี 2548 โดยหาซื้อพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมก้นจีบมาจากอำเภอบ้านแพ้ว

“ช่วงนั้นมองว่า ดินที่สวนน่าจะปลูกมะพร้าวน้ำหอมได้ดี จึงอยากลองปรับเปลี่ยนดูบ้าง ก็เลยหาซื้อต้นพันธุ์มา ซึ่งต้นพันธุ์ที่จะปลูกได้ดี ต้องเป็นต้นแม่ที่มีอายุอย่างต่ำ 10 ปีขึ้นไป เพราะถ้าเอาอายุน้อยเกินไปจะทำให้ต้นที่ปลูก เมื่อเติบโตเต็มที่ ต้นจะยืดสูงเกินไป และก็ออกลูกช้า ลูกอาจไม่ดกเท่าที่ควร ดังนั้น สายพันธุ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเลือกนำมาปลูก” คุณบวร บอกถึงวิธีการเลือกสายพันธุ์มะพร้าว

ซึ่งอายุของต้นกล้าที่นำมาปลูกภายในแปลงสวน ควรมีอายุประมาณ 5 เดือน จึงจะเหมาะสม มะพร้าว เป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ

ในขั้นตอนแรกก่อนที่จะปลูกมะพร้าวน้ำหอม คุณบวร บอกว่า จะเตรียมพื้นที่ปลูกให้เป็นร่องสวนเสียก่อน คือทำสันร่องให้มีความกว้าง 4 เมตร ส่วนภายในร่องน้ำมีความลึกประมาณ 2 เมตร โดยให้ภายในร่องมีน้ำหล่ออยู่ตลอดทั้งปี เพราะมะพร้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก

“พอเราเตรียมพื้นที่ปลูกเรียบร้อยแล้ว ก็เอาดินเลนมาใส่รองก้นหลุมได้เลย เสร็จแล้วก็ปลูกให้มิดผลไปเลย อย่าให้ผลลอยขึ้นมา เพราะถ้าโตมากขึ้นจะทำให้โคนต้นลอยพ้นดิน ทำให้โค่นล้มได้ โดยระยะห่างปลูกที่ดีที่สุดคือ 6×6 เมตร ซึ่งช่วงที่ยังต้นเล็กอยู่ เราก็ดูแลไปเรื่อยๆ จนต้นมะพร้าวมีอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ก็จะเริ่มตกจั่นให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้” คุณบวร อธิบาย

เมื่อปลูกต้นมะพร้าวลงดินได้ประมาณ 1-2 เดือน ในช่วงนี้จะเริ่มใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 ในอัตราส่วน 100 กรัม ต่อต้น เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์และเมื่อต้นมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะเพิ่มจำนวนปุ๋ยให้มีขนาดที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

จากนั้นดูแลจนได้อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง มะพร้าวจะเริ่มตกจั่นออกมาให้เห็นที่บริเวณยอด คุณบวร บอกว่า ในช่วง 4 จั่นแรกนั้น ยังไม่ต้องสนใจมากนัก เพราะยังไม่สามารถผสมเกสรสมบูณณ์จนติดผล

“พอหมด 4 จั่น ไปแล้ว เข้าสู่จั่นที่ 5 มะพร้าวก็จะเริ่มติดลูกให้ผลผลิต ในเรื่องปุ๋ยเราก็ต้องเปลี่ยนด้วย โดยใช้หลักหนักหน้าก่อนหรือโยกหน้า ในช่วง 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนแบ่งใส่ปุ๋ยทุก 3 เดือน เป็นปุ๋ย สูตร 25-7-7 และช่วง 6 เดือนหลัง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม แบ่งใส่ปุ๋ยทุก 3 เดือน เหมือนเดิม แต่จะเปลี่ยนเป็น สูตร 14-7-35 ทั้ง 2 สูตร ใส่ในอัตราส่วนเดียวกัน 500 กรัม ต่อต้น นอกจากนี้ ยังใส่มูลนกกระทาเพื่อเสริมเข้าไปอีกด้วย ปีละ 2 ครั้ง ในอัตราส่วน ต้นละ 2 กิโลกรัม ทำอย่างนี้ไปทุกปี ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาสม่ำเสมอ” คุณบวร บอกถึงวิธีการใส่ปุ๋ย

ซึ่งเมื่อมะพร้าวตกจั่นจนให้ผลผลิตได้แล้ว คุณบวร บอกว่า จะสามารถตัดผลมะพร้าวได้ทุก 20 วัน หรือตัดผลผลิตได้ 18 ครั้ง ต่อปี

ในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงที่สวนคุณบวร จะใช้วิธีการหมั่นสังเกตดูว่าภายในสวนมีศัตรูที่จะเข้าทำลายหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบกำจัดให้โดยเร็วโดยการฉีดพ่น ถ้าไม่พบการระบาดก็ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่น แต่จะเน้นใช้แมลงธรรมชาติเข้ามาช่วย เช่น การปล่อยตัวห้ำ ตัวเบียน ภายในแปลงปลูกก็จะช่วยกำจัดแมลงอื่นๆ ที่เป็นศัตรูของมะพร้าวออกไป

มะพร้าวน้ำหอม ตลาดมีความต้องการ

ในเรื่องของการตลาดจำหน่ายผลมะพร้าว คุณบวร เล่าว่า ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาสำหรับเขามากนัก เพราะพื้นที่ปลูกอยู่ติดกับตลาดรับซื้อ ดังนั้น จึงทำให้สามารถจำหน่ายมะพร้าวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งราคาเมื่อสมัยก่อนกับปัจจุบันเมื่อเทียบกันแล้ว แตกต่างกันค่อนข้างมาก

“ที่นี่ไม่ต้องกลัวเรื่องตลาด เรามีพื้นที่ซื้อขายกันอยู่แล้ว สมัยที่เริ่มทำใหม่ๆ บอกเลยว่า ราคาอยู่ที่ ลูกละ 6 สลึง เท่านั้น ราคาไม่ได้สูงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนนั้น ราคาไม่สูง แต่ก็พอทำใจได้ เพราะเป็นของยืนต้นที่เราลงทุนปลูกลงไปแล้ว ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีรายได้ในอนาคต โดยราคาปัจจุบันตอนนี้ก็อยู่ที่ประมาณ ผลละ 14 บาท ซึ่งช่วงนี้ผลผลิตก็มีไม่พอจำหน่าย เพราะผลผลิตออกน้อยลง ยิ่งสภาพอากาศร้อนมาก ทำให้การผสมเกสรติดไม่ดี ก็จะทำให้ดอกร่วง เลยทำให้ผลผลิตมีน้อยลงมาด้วย” คุณบวร บอก

เนื่องจากผลผลิตที่ออกมีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อันเกิดจากการผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์ คุณบวร บอกวิธีการแก้ปัญหาให้ฟังว่า แก้ไขด้วยวิธีหาซื้อตัวชันโรงมาปล่อยเลี้ยงภายในสวน แทนการฉีดพ่นอาหารเสริมในการช่วยผสมเกสร เพื่อให้การผสมเกสรเป็นไปง่ายขึ้น และที่สำคัญชันโรงยังสามารถช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย พร้อมทั้งให้น้ำภายในสวนมากขึ้น เพื่อให้มีความชื้นที่เพียงพอก็จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ คุณบวร ให้คำแนะนำ เรื่องพื้นที่ปลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ รองลงมาคือเรื่องน้ำ เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องมีอย่างเพียงพอ เพื่อให้มะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี และสุดท้ายคือ เรื่องสายพันธุ์ต้องเป็นสายพันธุ์ที่เป็นแหล่งเชื่อถือได้ คือ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ต้นกล้ามะพร้าวโดยตรง เพราะแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะสม ซึ่งการปลูกใช้เวลาในการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงห้ามผิดพลาด

ในวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2562 ทางนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้จัดเสวนาเชิงปฏิบัติการ “เรียนให้รู้ ดูให้ทำเป็น เน้นทางด้านการตลาด” พาไปชมมะพร้าวน้ำหอมยุคดิจิตอล ชมกิจการมะพร้าวครบวงจร ปลูก แปรรูป และด้านตลาด สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

มะนาว ถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร บ้านแพ้ว ในแต่ละวันจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ผู้บริโภค โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะไปเดินทางรวบรวมนะนาวจากสวนต่างๆ ส่งตลาดค้าส่งที่สำคัญ เช่น ตลาดปากคลองตลาด ตลาดไท เป็นต้น

คุณสมใจ หรือ บอย เทพจินดา อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 9 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว โทร.08-9826-4202 เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ที่เน้นการจำหน่ายทั้งผลมะนาวและกิ่งพันธุ์มะนาว โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 22 ไร่

คุณบอย บอกว่า ครอบครัวเทพจินดาได้ปลูกมะนาวกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว และได้หยุดไปปลูกองุ่นอยู่ระยะหนึ่ง ประมาณ 4 ปี แต่การปลูกองุ่นต้องประสบปัญหาต้นทุนที่สูงมาก ทำให้รับไม่ไหว จึงปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชกลับมาเป็นมะนาวเหมือนเดิมจนถึงทุกวันนี้

“มะนาวยังเป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนดี แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับราคาตลาดด้วย ถ้าราคาดี ไม่มีการให้นำเข้าจากต่างประเทศ นับเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีชนิดหนึ่งทีเดียว” คุณบอย กล่าว

ปัจจุบันที่สวนแห่งนี้จะมีผลผลิตมะนาวพันธุ์แป้นทะวายออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอทั้งปี “สาเหตุที่เลือกปลูกมะนาวพันธุ์แป้นพวงนั้น เพราะให้ลูกดอกและลูกใหญ่ ให้น้ำหอม เป็นที่ต้องการของตลาด”

เทคนิคการเลือกต้นพันธุ์มาปลูก
ส่วนสำคัญที่คุณบอยบอกว่าจะต้องใส่ใจมากที่สุดคือ ลักษณะการให้ลูกของมะนาว ว่าจะดอกหรือไม่ “เราจะซื้อต้นพันธุ์มะนาวมาจากที่ไหนสิ่งสำคัญผมมองว่า ต้องไปดูครับ ไปดูถึงสวนเขาเลยว่า มะนาวให้ลูกดกหรือไม่ พอได้เห็นเก็บข้อมูลทุกอย่างแล้วให้เอากลับมาประมวลดูว่าจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ ซึ่งถ้าดีตามที่เราต้องการก็ตัดสินใจได้เลย”

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เป็นนิยมกันของเกษตรกรชาวสวนมะนาว โดยผ่านมุมมองของบอยคือ เมื่อมีต้นพันธุ์มะนาวมาปลูกไว้ในสวนแล้วหากต้องการปลูกมะนาวให้มากขึ้น จะไม่ใช้วิธีการไปซื้อมาเพิ่มเติม แต่จะใช้วิธีการคัดต้นมะนาวจากปลูกอยู่ในสวน ดูว่าต้นไม้เจริญเติบโตดี ให้ผลดก น้ำมาก จะคัดต้นนั้นเก็บไว้ทำแม่พันธุ์ และขยายพันธุ์มาปลูกเพิ่มเติมตามจำนวนที่ต้องการ

“ในส่วนของกิ่งพันธุ์มะนาวที่เราทำจำหน่ายก็เช่นกัน เราจะคัดต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อคัดแล้วก็จะดูผลผลิตว่าว่าติดลูกดกดีหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามที่เรากำหนดไว้ จึงจะดำเนินการขยายพันธุ์อกมาจำหน่าย ส่วนมากจะดูประมาณ 2 ปีหลังจากเริ่มติดผล ที่ต้องใช้เวลานานสาเหตุเพราะต้องดูให้แน่ใจเพราะบางที่ต้นที่เราคัดมากก็พบว่ามีกลาย ให้ผลไม่ดกก็มี” คุณบอย กล่าว

สำหรับกิ่งพันธุ์ที่ทำบอยจำหน่ายนั้นจะเน้นการตอนกิ่งเป็นหลัก

“ในเขตบ้านแพ้วจะนิยมปลูกด้วยกิ่งตอน ซึ่งจะให้ผลผลิตเร็วกว่า หากกิ่งพันธุ์เลี้ยงสมบูรณ์ดี ประมาณ 18 เดือน ก็สามารถเริ่มมีผลผลิตให้เก็บแล้ว” ถนัดดูแลมะนาวที่ปลูกแบบยกร่อง
สำหรับรูปแบบการปลูกมะนาวของเกษตรกรในเขตอำเภอบ้านแพ้ว คุณบอยบอกว่า จะนิยมปลูกกันแบบยกร่อง มากกว่าการปลูกแบบไร่เหมือนกันในจังหวัดอื่นๆ ด้วยลักษณะเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

“การปลูกในลักษณะยกร่อง ตามความรู้สึกผม นอกจากเป็นความค้นเคยที่คนบ้านแพ้วจะทำการเกษตรแบบยกร่องทั้งการปลูกผัก ไม้ผล นอกจากนี้ ผมยังคิดว่าช่วยทำให้การทำงานของเราง่าย โดยเฉพาะในการขนย้ายมะนาวออกมาจากสวนเพื่อส่งจำหน่ายหรือการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยไปใส่ให้กับต้นมะนาว”

ทั้งนี้ระยะปลูก จะใช้ระยะปลูกระหว่างต้นตั้งแต่ 8ศอกขึ้นไป แต่บางคนก็จะปลูกระหว่างกว่านี้ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการชนกันของกิ่งต้นมะนาวที่ปลูก

“อย่างของผมระยะ 8 ศอก ประมาณ ปีที่ 5 กิ่งก็เริ่มชนกันแล้ว แต่บางคนก็ปลูก 10 ศอก ซึ่งระยะการชนกันของกิ่งก็จะนานขึ้น ถ้ากิ่งมาชนกัน จะมีปัญหาว่าไม่ค่อยออกดอกติดผล เพรากิ่งมันทึบ ดังนั้นจึงต้องมีการตัดแต่งกิ่ง”

คุณบอย กล่าวต่อว่า สำหรับต้นมะนาว ถ้ามีการดูแลรักษาดีๆ ก็จะมีระยะเวลาการให้ผลผลิตได้นานถึง 8 ปี

“พอต้นแก่แล้วจะเหมือนเป็นกับเชื้อราเข้าทำลาย จะมีทยอยตายไปเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อถึงระยะเวลาที่เห็นว่าต้นมะนาวแก่แล้วจะมีการปลูกใหม่”

สำหรับการปลูกมะนาวในช่วงแรก สิ่งที่บอยกล่าวเสริมว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือ การดูแลป้องกันเรื่องแมลงมากัดกินยอดอ่อน รวมถึงกากรป้องกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแคงเกอร์ การป้องกันจะให้ยากันรา โดยจะฉีดพ่นทุก 7 – 8 วัน

นอกจากนี้จะต้องมีการให้ปุ๋ยเคมี โดยจะให้สูตร 16-16-16 หรือสูตรที่ตัวหน้าสูง ตามปกติจะให้ปุ๋ยเคมีเดือนละ 1 ครั้ง รวมถึงการให้ปุ๋ยคอก โดยเน้นการใช้ขี้ไก่อัดเม็ด โดยใส่ประมาณ 3 – 4 เที่ยว ให้ต้นหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม

การสังเกตว่ามะนาวที่ปลูกอยู่ในภาวะขาดปุ๋ยหรือไม่ คุณบอยมีข้อแนะนำว่า ให้สังเกตสีของใบ ต้นมะนาวที่ขาดปุ๋ยนั้นจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ส่วนยอดก่อน โดยมีใบสีเหลืองปรากฏให้เห็นไล้ลงมา หากเห็นว่าส่วนยอดใบเริ่มเหลืองก็จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีให้กับมะนาว

“ส่วนมากต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์ ทำไปศึกษาไป รวมถึงการแลกลเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ทำมะนาวเหมือนกัน แล้วนำมาปรับใช้ในสวนของเรา หากให้ผมมอง ผมก็มองว่าเรื่องการป้องกันโรคแมลงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด”

ขณะที่การเก็บผลผลิตมะนาว คุณบอยบอกว่า วงจรของมะนาวจะเก็บผลเดือนละ 1 ครั้ง

“หลังจากเก็บมะนาวเสร็จ ก็จะเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีให้กับต้นมะนาว วงจรการดูแลเรื่องปุ๋ยจะเป็นแบบนี้คือ เก็บผลผลิตเสร็จก็ใส่ปุ๋ย” คุณบอย กล่าว ปลูกแบบร่องก็ทำนอกฤดู
ตามปกติโดยธรรมชาติ มะนาวจะออกผลมาในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ซึ่งคุณบอยบอกว่า เป็นหน้ามะนาวปี ส่วนช่วงมะนาวขาดแคลนและมีราคาแพงจะอยู่ประมาณเดือนมีนาคม – พฤกษาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรจะทำมะนาวให้ออกนอกฤดูตรงกับช่วงที่มะนาวแพง

สำหรับการทำมะนาวนอกฤดูของเกษตรกรในเขตบ้านแพ้ว คุณบอยกล่าวว่า จะเริ่มทำกันตั้งแต่หมดฤดูฝน เริ่มด้วยการตากน้ำ ซึ่งหมายถึงการปล่อยน้ำออกจากร่องมากที่สุด เพื่อทำให้ผิวหน้าดินบริเวณร่องแห้ง

“การตากน้ำ บางก็ใช้วิธีการปล่อยน้ำแห้งเลย แต่บางคนก็ใช้วิธีการยุบน้ำในสวนหน่อยแล้วไม่ต้องรดน้ำให้กับต้นมะนาว โดยการตากน้ำจะใช้เวลาประมาณ 10 กว่าวัน แต่การจะตากน้ำหรือไม่ รวมถึงจะตากน้ำกี่วันนั้น ยังต้องมาดูอีกว่า ต้นมะนาวของเราเป็นอย่างไร อย่างของผมถ้าปีไหนมีลูกมะนาวติดอยู่เยอะจะไม่ตากน้ำ ถ้าเราตากไปลูกที่มีอยู่ก็จะเสียไป ถ้ามีเยอะจะปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งมะนาวนั้นจะมีการทยอยติดลูกทั้งปี เพียงแต่ว่ามีมากมีน้อยแล้วแต่ช่วงจังหวะที่มีดอก”

“โดยมากจะทำกันตั้งแต่พฤศจิกายน แต่ถ้ามีความสามารถ สามารถตากน้ำได้ก่อนและทำให้มะนาวออกดอกได้ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม จะสามารถไปเก็บผลผลิตได้ในช่วงแพงพอดี แต่ถ้าฝนชุกทำไม่ได้ จะเน้นการใส่ปุ๋ยสะสมทางดิน โดยเน้นให้สูตรปุ๋ยตัวหน้าสูง เช่น ยูเรีย และหากช่วงจังหวะต้นเบาๆ หรือติดลูกน้อย มะนาวก็จะออกดอก ถ้าเราทำออกมาได้ จะสามารถไปเก็บได้ในช่วงราคาแพง”

“หลังจากใส่ปุ๋ยตากน้ำไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ ก็จะเห็นแล้วว่า มะนาวจะแตกออกมาเป็นยอดหรือตาดอก วิธีการสังเกต ถ้าเป็นดอกจะเป็นตุ่มกลมอกมา ถ้าเป็นยอดเป็นใบจะมีลักษณะแหลมออกมา”

ทั้งนี้ มะนาวที่เก็บมาจากต้นนั้น ด้วยวิธีการใช้ตระกร้อสอย เมื่อถูกลำเลียงมาสู่โรงคัด จะมีการนำมาเข้าเครื่องคัดขนาดมะนาว เพียงคัดขนาด ซึ่งมีด้วยกัน 5 ขนาดคือ หนึ่ง ลอย สอง จัมโบ้ สาม ใหญ่ สี่ พิเศษ และห้า เบอร์คัดออก ซึ่งเป็นมะนาวที่สุกเหลืองและเป็นโรคแคงเกอร์ ซึ่งมะนาวแบบนี้แม่ค้าร้านส้มตำจะนำไปใช้

“มะนาวจากสวนจะมีพ่อค้าจากปากคลองตลาดมารับ ซึ่งในเขตนี้ส่วนมากจะมีพ่อค้าเจ้าประจำกัน หรือถ้ามีคนปลูกใหม่ ก็จะมีพ่อค้ามาติดต่อซื้อมะนาวจากสวน” คุณบอย กล่าว

ทั้งนี้คุณบอยบอกว่า ตลาดที่ร้องรับมะนาวนั้นไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาคือ ราคาที่ชาวสวนได้รับนั้น ถ้าเป็นช่วงมะนาวมาก บางปีอาจจะต่ำถึงกับไม่ได้กำไรเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งสวนหมดแล้วต่อการเก็บมะนาว 1 ครั้ง

“ช่วงแพงไม่มีปัญหาพออยู่ได้ แต่ถ้าช่วงราคาถูกเหลือเพียงลูกละ 30 สตางค์ ราคาแบบนี้อยู่ลำบากครับ เพราะหักค่าใช้จ่ายแล้วไม่เหลือเลย” คุณบอย กล่าวในที่สุด วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง เป็นกลุ่มผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่หมู่๑ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งเมื่อปี 2558 โดยการรวมตัวของสมาชิกที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ เหตุผลที่ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้หันมาปรับเปลี่ยนทำเกษตรแบบใช้สารเคมีมาเป็นสารอินทรีย์ชีวภาพ เนื่องจากในอดีตพื้นที่แห่งนี้มีการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับหน่วยงานภาครัฐ

คุณอุษา อุตสาหกุล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง นับเป็นกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์กลุ่มหนึ่งในจังหวัดนครปฐมที่มีความเข้มแข็ง จัดเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ขานรับนโยบายของภาครัฐในเรื่องของการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ทำให้ปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวเข้าสู่ระบบการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมั่นคง สามารถผลิตพืชผักอินทรีย์ป้อนสู่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเสมอมา โดยไม่มีปัญหาเรื่องของสารตกค้างรวมถึงปัญหาอื่นๆ เนื่องจากระยะเวลาในการทำเกษตรในรูปแบบอินทรีย์ของกลุ่มนี้มีระยะเวลาดำเนินการมาร่วม 10 ปี จึงทำให้การปนเปื้อนในดิน และสารเคมีตกค้างในดินและพืชผักหมดไปโดยสิ้นเชิง

ประกอบกับปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวมีสมาชิกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วบางส่วน จึงสามารถส่งออกพืชผักบางชนิดไปยังตลาดต่างประเทศได้ อาทิ การส่งผักชีไปประเทศไต้หวัน ในขณะที่สมาชิกที่เหลือกำลังอยู่ในช่วงของการขอรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM

“ในด้านการส่งเสริมด้านการตลาดของพืชผักอินทรีย์นั้น ปัจจุบัน สินค้าของกลุ่มฯ จะส่งไปยังตลาดคนรักสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ตลาดสุขใจ ตลาดในมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศิลปกร นอกจากนี้ในปี 2560 รัฐบาลยังมีนโยบายให้โรงพยาบาลสนับสนุนผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยนำร่องในจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดแรก

ซึ่งคาดว่าการทำตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์น่าจะขยายออกไปเป็นวงกว้างมากขึ้น พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการบริโภคผักปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่แม้ว่าช่องทางการตลาดจะมากขึ้นแต่การส่งเสริมก็จะไม่เน้นการขยายพื้นที่ในกลุ่มผู้ผลผลิตเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อรักษามาตรฐานการผลิตให้คงไว้ภายใต้การทำเกษตรประณีตแบบพอเพียง”

ทั้งนี้ ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน นอกจากเข้ามาดำเนินงานด้านการให้ความรู้เรื่องการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน การตรวจวิเคราะห์ดินแล้ว กรมฯ ยังได้เข้ามาดูและประสานงานเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกเรื่องของเอกสารขอรับการตรวจรับรองจากหน่วยงานราชการอื่นๆ อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆ อีกด้วย

คุณไพบูลย์ สวัสดีจุ้ย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง กล่าวว่า กลุ่มฯ มีสมาชิกอยู่ 12 ราย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกลุ่มมาจากความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ และต้องการดูแลสุขภาพ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการทำเกษตรโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทางเคมีนั้นส่งผลเสียต่อดิน ทำให้ต้นสูง ผลผลิตน้อย คุณภาพต่ำลง และเกษตรกรมีสุขภาพที่ไม่ดี เพราะต้องปนเปื้อนอยู่กับสารเคมี

“ปลูกพืช ต้องเริ่มจากบำรุงดินซึ่งเป็นส่วนสำคัญ โดยเราใช้น้ำหมักชีวภาพทำจากเศษปลาผสมกับเศษผักผลไม้ในแปลง น้ำตาลทรายแดงแบบออร์แกนิกและสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 น้ำหมักที่ได้จะนำไปคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก แล้วนำไปใส่ปุ๋ยให้กับพืช ดินร่วนซุยมากขึ้น พืชเจริญเติบโตได้ดี ในเรื่องโรคและแมลงจะใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกในกลุ่ม อาทิ พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด นำมาหมักด้วยสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 เป็นสมุนไพรไล่แมลง”

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงบำรุงดินที่เน้นการใช้พืชตระกูลถั่วหว่านคลุมดินเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด พร้อมทั้งปลูกพืชสมุนไพรที่ช่วยกันแมลงไว้ในแปลงปลูก ซึ่งสามารถเก็บขายสร้างรายได้หลักจากเก็บเกี่ยวผลผลิตผักอีกทางหนึ่ง

โดยก่อนปลูกเกษตรกรจะเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร สมัครยูฟ่าเบท และปรับปรุงโครงการสร้างดินด้วยปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ รวมทั้งทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง ด้วยการนำเศษใบไม้ในพื้นที่ผสมกับแกลบเผา รำข้าวและมูลสัตว์มาหมักกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ส่วนน้ำหมักก็จะใช้เศษปลา เศษผักหมักกับน้ำตาลทรายแดงกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ไว้ฉีดเพื่อสร้างความร่วนซุยให้พืช

“จากการทำเกษตรในระบบอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีเลยนั้นทำให้กลุ่มสามารถผลิตพืชผักปลอดภัยส่งต่อให้กับผู้บริโภค โดยไม่ทำลายทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ขายได้ราคาดี โดยไม่ต้องกังวลกับความผันผวนในเรื่องของราคา อีกทั้งผักบางชนิดยังสามารถทำตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย

อย่างเช่น ผักชีฝรั่ง ที่ในขณะนี้มีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานการทำเกษตรอินทรีย์ระดับสากลนั้นสามารถส่งผักชีฝรั่งไปขายยังตลาดต่างประเทศสร้างรายได้เข้าประเทศ และคาดว่าในอนาคตจะมีผักชนิดอื่นๆ สามารถส่งขายไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอีก” นายไพบูลย์ กล่าว

ด้าน คุณสมทรง ม่วงพารา เลขานุการและสมาชิกกลุ่ม เป็นอีกหนึ่งที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำเกษตรอินทรีย์ แปลงพืชผักเกษตรอินทรีย์ของคุณสมทรงจะทำอย่างประณีต มีการขุดร่องล้อมรอบแปลงเพื่อกักน้ำและเพื่อป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี รูปแบบแปลงจะวางแนวไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและช่วยฆ่าเชื้อโรค ใช้พืชตระกูลถั่วมาหว่านคลุมดินเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดิน

“รอบแปลงจะมีการปลูกพืชสมุนไพรที่ช่วยกันแมลง เช่น พริก ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา เป็นต้น แปลงจะมีการยกร่องเพื่อปลูกพืชผัก โดยก่อนปลูกได้เก็บตัวอย่างดินนำไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน และปรับปรุงโครงสร้างดินด้วยปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น มูลวัว โดยจะต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในกลุ่มตามหลักมาตรฐานที่กำหนด

ส่วนเมล็ดพันธุ์ผักที่นำมาปลูกต้องนำไปล้างน้ำที่มีความร้อน ประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที นำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดาก่อน แล้วนำไปหว่านลงแปลง การปลูกพืชผักอินทรีย์ต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง มีการปลูกพืชหมุนเวียนสลับกันไป ไม่ปลูกพืชผักชนิดเดิมๆ ในแปลงเดิมจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ก่อนรดน้ำควรขยี้ให้สมุนไพรช้ำจะได้มีกลิ่นไล่แมลง”