เกษตรกรรายนี้เล่าว่า สมัยก่อนชาวบ้านปลูกมะละกอแขกดำ

แต่เมื่อนำมะละกอพันธุ์เรดเลดี้มาปลูกแล้วได้ผลดี จึงทำให้ชาวสวนทุกรายในพื้นที่เปลี่ยนมาปลูกเรดเลดี้แทนแขกดำซึ่งประสบปัญหา ไม่ค่อยมีผลผลิตมากนัก เพราะอากาศแถวตากร้อนมาก หรือแม้แต่ฮอลแลนด์เคยทดลองปลูกมาแล้วและไม่ได้ผลเช่นกัน

“แต่เรดเลดี้ตอบสนองต่อสภาวะอากาศได้ดีมาก สามารถให้ผลผลิตได้จำนวนมากและมีคุณภาพสมบูรณ์ดีปลูกง่าย ทนทาน ให้ผลผลิตดก และรวดเร็ว มีรสหวาน อีกทั้งยังมีตลาดรองรับที่แน่นอนไม่ต้องเสี่ยง จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่หันมาปลูกพันธุ์นี้อย่างเดียว ทั้งขายผลสดและส่งเข้าโรงงาน”

คุณณี ไม่เพียงเป็นผู้ปลูกแต่ยังเป็นหนึ่งในผู้รับซื้อมะละกอในพื้นที่ในลักษณะรับซื้อผลผลิตจากลูกสวน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 60 ราย แต่ละรายมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 10 ไร่ ซึ่งสมัยก่อนยังมีลูกสวนจำนวนไม่มาก แต่ภายหลังที่พบว่ามีรายได้จากการปลูกมะละกอเป็นที่น่าพอใจ จึงหันมาปลูกเพิ่มขึ้นกันอย่างคับคั่ง คนที่ปลูกแบบกระจัดกระจายก็มาเข้าร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ลุ่มแม่น้ำวัง ตำบลยกกระบัตร

ชาวบ้านสบายใจ มีตลาดรองรับแน่นอน

สำหรับการซื้อ-ขาย มะละกอเรดเลดี้ของกลุ่มนี้ในช่วงฤดูเก็บผลผลิต จะมีชาวบ้านจากทุกสวนแต่ละรายจะเก็บผลผลิตกันตั้งแต่เช้า พอในช่วงสายจะทยอยบรรทุกใส่รถนำมาส่งขายที่บ้านคุณณี ซึ่งกำหนดเป็นสถานที่สำหรับรับซื้อ โดยผลผลิตที่ชาวบ้านนำมาส่งมีจำนวนมาก/น้อยต่างกัน และการขายผลสดจะต้องคัดคุณภาพ รูปร่าง พร้อมทั้งมีการห่อผลด้วยเพื่อทำให้ได้ราคาดี แต่ถ้าส่งโรงงานจะแยกคุณภาพออกมา

จากนั้นจะมีรถบรรทุกจากแหล่งรับซื้อขนาดใหญ่ทั่วประเทศเข้ามารับผลผลิต แล้วนำไปส่งตาม ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ขอนแก่น โคราช หรือเชียงใหม่ นอกจากนั้น อาจมีส่งขายไปยังประเทศลาว ทั้งนี้มะละกอเรดเลดี้จะไม่ค่อยมีวางจำหน่ายตามแผงในตลาดมากนัก

ผู้รับซื้อรายนี้ระบุว่า ความต้องการของตลาดมีทั้งผลเล็กและใหญ่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าตลาดไหนจะนำไปใช้อะไร ดังนั้น การรับซื้อผลผลิตจากลูกสวนจะมีทุกขนาด โดยจะให้แต่ละสวนแยกขนาดในระหว่างที่เก็บจากในสวน

ทั้งนี้ ราคาขายส่งต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ถ้าเป็นตลาดขายส่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ส่งขายราคา กิโลกรัมละ 9 บาท อันนี้เป็นไซซ์ใหญ่ แต่ถ้าเป็นไซซ์ที่ลดลงมา ราคาขายก็จะลงตามมาด้วยสัก 3-4 บาท ต่อกิโลกรัม สำหรับขนาดที่ตลาดนิยมมาก อยู่ที่ระหว่าง 2.5-3 กิโลกรัม ต่อผล

“ภายหลังที่ชาวบ้านเปลี่ยนมาปลูกมะละกอพันธุ์นี้ ทำให้หลายรายมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าเทียบรายได้การปลูกมะละกอเรดเลดี้ กับกล้วยไข่ ที่เป็นไม้ผลที่ปลูกอยู่เป็นประจำแล้ว รายได้ของมะละกอได้ดีกว่ากล้วยไข่มาก” เจ้าของสวนและผู้รับซื้อกล่าว

สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อมะละกอเรดเลดี้ได้ที่ คุณสิริภัค จันทบุรี (คุณณี) โทรศัพท์ (098) 754-1765 หรือต้องการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์มะละกอเรดเลดี้ ติดต่อได้ที่ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด โทรศัพท์ (053) 406-333

หลายคนคงเคยตื่นตาและอลังการกับมะละกอแปลงใหญ่ ระดับ 100 ไร่ ของ คุณณรงค์ ร่างใหญ่ ประธานชมรมผู้ปลูกมะกรูดตัดใบเพื่อการค้า ที่หลายคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่สนใจมะกรูด เพราะอาจกล่าวได้ว่า ชมรมมะกรูดตัดใบเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการปลูกมะกรูดตัดใบเพื่อการค้าเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในบ้านเรา ซึ่งเกิดจากการบุกเบิกและผลักดันทั้งด้านการขยายพื้นที่ปลูกและการขยายตลาดมะกรูดให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นเรื่อยๆ

วันนี้ คุณณรงค์ ร่างใหญ่ ก้าวสู่พืชชนิดอื่นเพิ่มขึ้นด้วยการปลูกมะนาวตาฮิติ 100 ไร่ และปลูกมะละกอแซมข้างร่องเป็นพืชเสริมรายได้ ก่อนที่มะนาวตาฮิติจะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง แต่มะละกอสามารถให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 7 เดือน แถมคุณณรงค์ยังใช้พื้นที่ทุกกระเบียดนิ้วให้คุ้มค่าด้วยการปลูกมะเขือยาวลงไปในพื้นที่ว่างบนร่องระหว่างมะนาวตาฮิติอีก เรียกว่าทุกตารางนิ้ว ทำเงินได้หมด

ทิ้งชีวิตพนักงานเงินเดือนมาทำสวน

คุณณรงค์ เล่าว่า เรียนจบด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แต่หลังจากทำงานบริษัทตามวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมาได้เพียงปีเดียว กลับพบว่าไม่ใช่เส้นทางที่อยากเดิน อยากทำงานอิสระมากกว่า เป็นจังหวะเดียวกับที่ทางบ้านกำลังสร้างอพาร์ทเม้นต์ให้เช่า แต่ไม่มีคนดูแลกิจการ จึงตัดสินใจกลับมาช่วยกิจการที่บ้าน แต่การดูแลอพาร์ทเม้นต์ก็มีเวลาว่างมากเกินไป ประกอบกับความสนใจด้านเกษตรที่เป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวอยู่แล้ว จึงศึกษาพืชหลายชนิด เขาสนใจมะนาวเนื่องจากมองเห็นรายได้ของมะนาวนอกฤดู และขอแบ่งพื้นที่ทางบ้านมาปลูกมะนาว 300 วงบ่อ ในปี 2553 และในปี 2555 ก็ลงปลูกมะกรูดเพิ่ม จำนวน 10,000 ต้น โดยศึกษาข้อมูลจากหลายแหล่ง

แต่แหล่งความรู้ที่คุณณรงค์ยึดเป็นแนวทางมาตลอดก็คือ อาจารย์รวี เสรฐภักดี จากศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งคุณณรงค์เข้าอบรมหลักสูตรจากที่นี่ทุกหลักสูตร ทั้งการทำมะนาวนอกฤดู การปลูกมะกรูดตัดใบระยะชิดเพื่อการค้าและการปลูกมะละกอคุณภาพ ซึ่งทุกหลักสูตรล้วนเป็นพื้นฐานที่ดีและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จในทุกพืช กเกินไป ประกอบดับความสนใจด้านเกษตรที่เป็นอาชีพดั่งเดิมของครอบครัวอยู่แล้ว โดยเงินหลักล้านได

พื้นฐานดินที่ดี สมบูรณ์ คือส่วนสำคัญของผลผลิตที่ดี

หลังจากที่ตัดสินใจแล้ว คุณณรงค์ ก็หาเช่าพื้นที่แปลงใหญ่ ขนาด 100 ไร่ ซึ่งหาได้ไม่ยากในพื้นที่นั้น พื้นที่แถบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสวนส้มเก่า ซึ่งจะมีแปลงใหญ่ๆ อยู่แล้ว ค่าเช่าก็ไม่แพงมาก ไร่ละ 2,000 บาทเท่านั้น ความได้เปรียบของพื้นที่เขตนี้ก็คือ การมีแหล่งน้ำที่เหลือเฝือ สามารถใช้น้ำได้ทั้งปี สภาพพื้นดินสมบูรณ์มากๆ อีกทั้งชาวสวนส้มจะมีการบำรุงดินอย่างดีมาตลอดอยู่แล้ว จึงทำให้สภาพโครงสร้างของดินที่นี่จัดว่าดีเลยทีเดียว ดินร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร เมื่อสภาพโครงสร้างพื้นฐานของดินที่ดีเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี ต้นพืชก็ดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้กระนั้นก่อนปลูกคุณณรงค์ก็ยังรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกไปอีกเป็นจำนวนมาก

พื้นที่ว่าง ลงปลูกมะเขือยาว 2 เดือนครึ่ง เก็บขายได้

เนื่องจากพืชหลักที่ปลูกคือ มะนาว มีอายุการเก็บผลผลิตที่ค่อนข้างนานถึง 1 ปีครึ่ง จึงจะเริ่มเก็บผลได้ นั่นคือเหตุผลที่คุณณรงค์หาพืชล้มลุกที่ให้ผลผลิตมาปลูกแซมในพื้นที่ว่างบนร่องสวน สร้างรายได้ระหว่างรอผลผลิตจากพืชหลัก มะละกอจำนวนหลายหมื่นต้นจึงถูกปลูกเต็มพื้นที่ 100 ไร่ โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพราะปลูกริมร่องทั้งสองด้าน หลังจาก 8 เดือน ที่เริ่มเก็บมะละกอ มีเพื่อนชาวสวนในพื้นที่แนะนำให้ปลูกมะเขือยาว เพราะเป็นพืชที่สร้างรายได้เร็ว หลังจากที่ไปศึกษาดูงานในแปลงเพื่อนแล้ว ก็ไม่รอช้าที่จะลงมือทันที โดยปลูกแซมลงไประหว่างต้นมะนาวที่ยังมีพื้นที่ว่างอยู่ ซึ่งมะนาวปลูกค่อนข้างห่างอยู่แล้ว ระยะระหว่างต้นของมะนาวกว้างถึง 3.5 เมตร

มะเขือยาว ใช้พันธุ์โทมาฮ็อค ของศรแดง แต่ใช้ต้นเสียบยอด เพราะกังวลเรื่องเชื้อโรคทางดิน ซึ่งอาจทำให้มะเขือยาวเกิดการเหี่ยวตายได้ จึงป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อน แม้ต้นพันธุ์จะราคาสูงถึง 6 บาท ลงปลูกมะเขือยาวไป 2,000 ต้น แต่ก็มีต้นที่เสียหายจากคนงานไปฉีดยาฆ่าหญ้าโดนต้นตายไป 500 กว่าต้น เหลือมะเขือยาวที่ให้ผลผลิตเก็บได้ 1,000 กว่าต้น

คุณณรงค์ บอกว่า มะเขือยาว เป็นพืชที่ดูแลไม่ยาก การรดน้ำใส่ปุ๋ยก็จะทำไปพร้อมกับมะนาวและมะละกอที่ปลูกอยู่ในแปลงเดียวกันอยู่แล้ว โดยปุ๋ยจะให้เดือนละครั้ง ใช้สูตร 46-0-0 ผสมกับ 13-13-21 สัดส่วน 2 : 1 หรือใช้สูตร 15-5-20 ผสมกับ 46-0-0 อัตรา 4 : 1 ส่วนทางใบพ่นธาตุอาหารเสริมสาหร่ายทะเล แคลเซียม-โบรอน ทุก 10-15 วัน ส่วนโรค-แมลงก็จะควบคุมอย่างต่อเนื่อง

ศัตรูของมะเขือยาวที่เจอ มีเพลี้ยไฟ ซึ่งถ้าเจอก็จะใช้อะเซทามิพริด ฟิโปรนิล อิมิดาคลอพริด หากมีหนอนก็จะใช้อีมาเม็กตินเบนโซเอท สลับ ฟิโปรนิล หากมีไรแดง ใช้ โอเบรอน ไพริดาเบน ปัญหาก็จะว่ากันไปตามการระบาดของแมลง ส่วนโรคจากเชื้อราจะไม่ค่อยเจอ เพราะจะพ่นสารป้องกันเชื้อราเป็นประจำอยู่แล้วในแปลงมะละกอ

ความได้เปรียบของตลาด และการขายผลผลิต

ความได้เปรียบด้านตลาดของที่นี่ก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งปลูกพืชเกษตรหลายชนิดอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ก็เป็นแปลงขนาดใหญ่ทั้งนั้น จึงมีแม่ค้าเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงสวนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ที่นี่จะปลูกมะละกอดิบ แต่ก็พอมีมะละกอสุกอยู่บ้าง ในส่วนของมะละกอที่เป็นพืชแซม ซึ่งปลูกไว้ริมร่องนั้นเก็บผลผลิตตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงตอนนี้ก็ทำเงินเกินล้านไปเยอะแล้ว เพราะเก็บมะละกอแทบจะทุกวัน วันละ 3.5-4 ตัน แม้ราคามะละกอปีนี้อาจไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 12-15 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ก็สามารถทำเงินก้อนโตให้เช่นกัน

ส่วนมะเขือยาว จะเริ่มเก็บได้เมื่ออายุประมาณ 2 เดือนครึ่ง ช่วงวันแรกๆ จะเก็บได้เพียง 20-30 ถุง ถุงละ 5 กิโลกรัม หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดือนที่ 4 จะเริ่มเก็บได้มากขึ้น ครั้งละ 200-400 ถุง หรือประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัม ส่งแม่ค้าตลาดสี่มุมเมืองที่เข้ามาซื้อมะละกอดิบจากที่นี่อยู่แล้ว มะเขือยาวจะเก็บทุก 5-7 วัน ซึ่งต้องแบ่งเวลากับการเก็บมะละกอด้วย ที่จะต้องเก็บเกือบทุกวัน

คุณณรงค์ บอกว่า มะเขือยาว เป็นพืชที่ราคาไม่ค่อยเคลื่อนไหว ราคาค่อนข้างนิ่ง ราคาเบอร์ใหญ่ อยู่ที่ 14 บาท ต่อกิโลกรัม หรือถุงละ 70 บาท เบอร์เล็ก ถุงละ 50 บาท เก็บมะเขือยาวรอบๆ หนึ่งจะได้เงิน 15,000-20,000 บาท เดือนหนึ่งก็สามารถทำเงินหลักแสนได้เช่นกัน นับว่าเป็นเงินไม่น้อยเลยกับมะเขือยาวเพียง 1,000 ต้น ที่ปลูกไว้เป็นเพียงพืชแซมเพื่อสร้างรายได้เสริมเท่านั้น

ปีนี้พืชหลักอย่างมะนาวตาฮิติก็เริ่มให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้แล้ว ติดดกทีเดียว ซึ่งจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดแรกได้ในช่วงแล้งนี้ ก็คงทำเงินให้ได้ไม่น้อย เดี๋ยวมาติดตามดูกันว่าคุณณรงค์จะมีรายได้มากแค่ไหนกับมะนาวตาฮิติ 100 ไร่ ที่เป็นพืชหลักของที่นี่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คุณณรงค์ ร่างใหญ่ บ้านเลขที่ 65/2 หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โทร. (087) 506-3989

ลองกอง เป็นไม้ผลที่แตกต่างจากพืชอื่นๆ คือ ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้าน หรือแม้แต่ลำต้นก็ตาม โดยธรรมชาติลองกองต้นที่สมบูรณ์จะออกช่อในปริมาณมาก ทำให้ผลมีขนาดเล็กและร่วงหล่นเป็นจำนวนมากตามไปด้วย ดังนั้น จำเป็นต้องตัดแต่งช่อดอกให้มีจำนวนพอเหมาะกับความสมบูรณ์ของต้น โดยให้เริ่มตัดแต่งช่อดอกที่มีความตาย 5-10 เซนติเมตร หรือหลังออกช่อแล้ว 3-5 สัปดาห์ เลือกตัดช่อดอกในกิ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เล็กกว่า 2-3 เซนติเมตร ช่อดอกที่ชี้ตั้งขึ้น เรียกง่ายๆ ว่าชี้ฟ้า และช่อดอกที่ไม่สมบูรณ์ออกไป ส่วนกิ่งที่มีขนาดมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 3-5 เซนติเมตร ให้ไว้เพียง 3-5 ช่อ ก็พอ เมื่อครบ 4 สัปดาห์ หลังดอกในช่อบานแล้วเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ตัดแต่งช่อผลอีกครั้งหนึ่ง โดยตัดช่อที่มีผลร่วงจำนวนมาก ช่อที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีแมลงศัตรูเข้าทำลายแล้วเผา หรือฝังทำลาย จากนั้นบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17+2 (แมกนีเซียม) สูตรใดสูตรหนึ่งที่หาซื้อได้ในตลาดท้องถิ่น อัตรา 500 กรัม ต่อต้น จะทำให้ผลลองกองสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การผลิตลองกองให้ได้คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวนั้น ทางวิชาการต้องเข้ามาให้คำแนะนำ วิธีทำให้ช่อผลลองกองสะอาด พร้อมบรรจุหีบห่อให้สวยงาม น่ารับประทาน หรือจำหน่ายได้ราคาดีขึ้น ผมขอฝากข้อคิดนี้ไว้ด้วยความนับถือครับ

กล้วยนาก หนึ่งในสายพันธุ์กล้วยโบราณหายาก ที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก ความจริง ตระกูลกล้วยนากที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ชนิดแรก เรียกว่า กล้วยนากทั่วไป ชนิดที่สองเรียกว่า กล้วยนากยักษ์ หรือ กล้วยนากทองผาภูมิ

1.กล้วยนากทั่วไป นิยมปลูกกันตามสวนหรือบริเวณบ้าน กล้วยนากมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น กล้วยกุ้ง กล้วยกุ้งแดง หรือกล้วยครั่ง ก็เรียกกันกล้วยนากชนิดนี้บางทีเรียกว่ากล้วยนากธรรมดา ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 28-35 เซนติเมตร สูง 300-420 เซนติเมตร ส่วนกาบมีสีแดงปนเขียว แผ่นใบกว้างและหนา มีสีเขียวอมแดงในหนึ่งเครือมี 4-5 หวี

กล้วยนากทั่วไปแต่ละหวีมี 14-18 ผล ขนาดผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ผลดิบมีสีแดงสดใส เมื่อแก่จัดสีเขียวอมแดง และผลสุกมีสีแดงอมส้ม ผลมีลักษณะกลม ก้านสั้น เนื้อสีส้ม รสหวาน ตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่จัด ใช้เวลา 95-110 วัน นิยมนำผลมารับประทานสด เช่นเดียวกับกล้วยหอม ส่วนผลดิบใช้ทอดและฉาบน้ำตาล บริโภคหรือขาย

กล้วยนากยักษ์ หรือ กล้วยนากทองผาภูมิ พบมีปลูกกันตามบริเวณชายแดนไทยพม่า จากแม่ฮ่องสอนลงมาจนถึงกาญจนบุรี กล้วยนากยักษ์ ชนิดนี้มีขนาดผลใหญ่กว่า และมีจำนวนหวีมากกว่ากล้วยนากทั่วไป ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 28-35 เซนติเมตร สูง 320-400 เซนติเมตร ส่วนของกาบลำต้นสีแดงคล้ำใบค่อนข้างยาว แผ่นใบกว้าง สีเขียวอมแดงค่อนข้างหนา ร่องใบกว้าง ก้านใบมีสีแดงอมชมพู ในหนึ่งเครือจะให้ 7-11 หวี

กล้วยนากทองผาภูมิ แต่ละหวีมี 14-18 ผล ขนาดของผลกว้าง 4.5 เซนติเมตร ยาว 18-12 เซนติเมตร ผลดิบมีสีแดงสดใส ผลแก่จัดสีเลือดหมู แต่เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม ลักษณะผลโค้งงอคล้ายกล้วยหอม ก้านยาวกว่ากล้วยนากทั่วไป เนื้อสีส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นฉุนเมื่อสุกงอม ตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่ ใช้เวลาใกล้เคียงกับกล้วยนากทั่วไป คือ 95-110 วัน ผล ใช้รับประทานสด ส่วนผลดิบฝานบาง ๆ ทอด พร้อมอบเนยจะให้สีเหลืองเข้มน่ารับประทาน

เมื่อปี 2551 นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้ลงบทสัมภาษณ์ คุณกิตติ จันทวิสูตร เรื่องการปลูกตะเคียนแซมในสวนสะละ ว่างเว้นไม่ได้ข่าวคุณกิตติหรือปลัดแก้วมานาน จนกระทั่งปลายปี 2559 มีงานเกษตรมหัศจรรย์ ที่จัดโดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน มีชายหนุ่มวัยรุ่นมาออกร้านจำหน่ายต้นกล้าทุเรียน ชื่อแปลกๆ อย่าง “มูซังคิงส์” หรือ “เหมาซานหวัง” สอบถามแล้วชื่อ รัฐ จันทวิสูตร เขาเป็นลูกชายปลัดแก้วนั่นเอง

คุณรัฐ จันทวิสูตร บอกว่า พื้นที่ปลูกตะเคียนลดลง เริ่มตัดจำหน่าย ต้นขนาดใหญ่อายุ 20 ปีขึ้น จำหน่ายต้นละ 8,000 บาท ปัจจุบันเหลืออยู่กว่า 1,000 ต้น สิ่งที่มาทดแทนคือ ทุเรียนพันธุ์ทรงคุณค่า ที่เคยปลูกในบ้านเรามาก่อนแล้ว รวมทั้งพันธุ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซีย

พื้นที่การเกษตร กว่า 300 ไร่

เกริ่นกับคุณรัฐไว้ว่า อยากไปเยี่ยมชมงานใหม่ของ ปลัดแก้ว เมื่อถึงเวลาโทรศัพท์ไปทาบทาม ถึงแม้งานจะชุก แต่ปลัดแก้วก็ยินดีให้ไปถ่ายภาพและสัมภาษณ์ ทางเข้าสวนปลัดแก้ว เริ่มต้นกันที่สี่แยกเขาไร่ยา สี่แยกนี้หากตรงไป สามารถไปตราดและสระแก้วได้ เลี้ยวขวาเข้าตัวเมืองจันท์ เลี้ยวซ้ายไปน้ำตกกระทิง, พระบาทเขาคิชฌกูฏ, มทร. ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

เลี้ยวซ้ายไปถึงตลาดของอำเภอเขาคิชฌกูฏ มีสี่แยกไฟแดง เลี้ยวซ้ายตรงไฟแดงไปอีก 6 กิโลเมตร ข้างทางร่มรื่นมีสวนผลไม้เต็มไปหมด สวนของปลัดแก้วอยู่ซ้ายมือ จุดสังเกตคือมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่ขึ้นอยู่

คุณกิตติ เคยรับราชการเป็นปลัดอำเภอ แต่ลาออกมาทำสวนนานแล้ว พื้นที่การเกษตรมีอยู่กว่า 300 ไร่

แปลงที่ไปสัมภาษณ์และพูดคุยมีจำนวน 80 ไร่ อยู่เลขที่ 38/11 หมู่ที่ 1 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีอยู่ที่อำเภอมะขาม “ทำสวนมานาน ตั้งแต่ยังเด็กช่วยเตี่ย กิจกรรมที่ทำก็มีปลูกกล้วยไม้รองเท้านารี ทำสวนสะละ ลองกอง ปลูกตะเคียน ต้นตะเคียนยังเหลืออยู่เยอะ ใครสนใจซื้อมาดูได้ หากขายเป็นต้นเลือกซื้ออาจจะราคาสูงหน่อย อาจจะมาเหมาซื้อก็ได้ ที่ผ่านมาลองแปรรูปทำบ้าน สวยงามแข็งแรงดี เพราะอายุต้นกว่า 20 ปีแล้ว ที่ขายเป็นล็อตใหญ่ เขามาซื้อไปทำสะพาน…กล้วยไม้รองเท้านารีทำอย่างต่อเนื่องเขามาซื้อส่งออก อีกตัวหนึ่งเป็นฟาแลนนอปซีส” ปลัดแก้ว แนะนำกิจกรรมเกษตรที่ทำ

ปลูกไว้กว่า 80 พันธุ์ พบเห็นของดีจำนวนมาก

ปลัดแก้ว ปลูกลองกองและสะละ แต่บางพืชต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการแต่งดอก เช่น ลองกอง จึงอยากปลูกทุเรียนอย่างเกษตรกรรายอื่นๆ แต่หากปลูกเหมือนๆ คนอื่นคงทำตลาดยาก

เป็นเวลา 7 ปีแล้วที่ปลัดแก้วเริ่มปลูกทุเรียน โดยสะสมพันธุ์ดี ทรงคุณค่า มีชื่อเสียง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 80 พันธุ์ เมื่อมีผลผลิต ทดลองชิม ทดลองตลาด ดูเรื่องการดูแลรักษา การติดผล เมื่อเห็นว่าดีก็ขยายต่อ

ทุกวันนี้ รู้ผลว่ายอดเยี่ยมแล้วส่วนหนึ่ง ที่ปลูกในแปลงยังไม่ติดผลก็มี “ที่เก็บไว้อร่อยทุกพันธุ์ ปลูกมากกว่า 80 พันธุ์ ที่เห็นเนื้อแล้วจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วยังไม่เห็นเนื้อ บางพันธุ์ไม่อร่อยตัดยอดทิ้งเลย เปลี่ยนยอดใหม่ ต้องเลือกพันธุ์เนื้ออร่อย…ย้อนไป 7 ปี ไม่บ้าก็เมา เราเริ่มทีหลังเขา ปลูกลองกอง ปลูกสะละอยู่ อยากเปลี่ยน จะปลูกหมอนทองตามเขามันก็ช้า ก็เลยคิดแปลกกว่าคนอื่น หาพันธุ์แปลกๆมาปลูก คิดว่าคนเราไม่กินข้าวแกงทุกวัน ต้องกินก๋วยเตี๋ยวบ้าง อาหารญี่ปุ่นมื้อละแพงๆ ยังกินเลย มีคนกินของแปลก เลือกบางพันธุ์ ปลูกให้ได้จำนวน อย่าง หลงลับแล ปลูกเป็น 1,000 ต้น เยอะสุด เหมาซานหวัง มีกว่า 1,000 ต้น ผมปลูกต้นตอลงดิน อยากเปลี่ยนพันธุ์ไหนก็เปลี่ยน พอต้นตออายุ 2 ปี…ต้นตอมาจากใต้ เลือกเปลี่ยนยอดเอา ใช้วิธีกราฟติ้ง” ปลัดแก้ว บอก

เป็นการค้าแล้ว 4 พันธุ์

จากจำนวน 80 พันธุ์ ที่ปลูก มีผลผลิตให้ชิมแล้วดังนี้คือ เหมาซานหวัง หลงลับแล เมล็ดในยายปราง หลินลับแล สาลิกา กบพิกุล กบสุวรรณ ทองกมล ย่ำมะหวาด ก้านยาวทรงหวด จันทบุรี 3 นกหยิบ จระเข้

“หมอนทอง ก็ปลูกที่ทุ่งเพล มะขาม จำนวน 500 ต้นได้ ของเก่าๆ อย่าง กระดุม ก็ยังมีอยู่” ปลัดแก้ว บอก แต่ละพันธุ์มีจุดเด่นอย่างไร ที่เห็นเนื้อแล้ว เจ้าของอธิบายไว้ดังนี้
เหมาซานหวัง เป็นทุเรียนเชื้อชาติมาเลเซีย มีชื่อเสียงมาก มีปลูกและส่งออกไปจีน คนจีนนิยมกินกัน ทุเรียนพันธุ์นี้ เรียกออกเสียงแตกต่างกันไป เช่น มูซังคิงส์ เหมาซานหว่อง แต่ปลัดแก้วจะเรียกเป็น เหมาซานหวัง

“รสชาติกลมกล่อม รวมอยู่ในเหมาซานหวัง คือรสชาติหวาน เนื้อละเอียด เมล็ดเล็ก เป็นทุเรียนชั้นหนึ่งของมาเลเซีย ที่บ้านเราปลูกได้ผลดี ติดผลดก ราคากิโลกรัมละ 450 บาท” หลงลับแล มีถิ่นกำเนิดอยู่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สวนคุณกิตติ อายุต้น 7 ปี ให้ผลผลิตดกมาก ไม่น้อยกว่า 40-50 ผล ต่อต้น จากการนำออกจำหน่าย ผู้ซื้อต่างยกนิ้วให้ว่าอร่อยไม่แพ้ถิ่นเดิม ราคาขายกิโลกรัมละ 300 บาท

หลินลับแล ปลูกได้ดีเช่นกัน ราคาซื้อขาย กิโลกรัมละ 450 บาท ราคาค่อนข้างสูง เพราะผลผลิตยังมีออกสู่ตลาดน้อย เมล็ดในยายปราง ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่จังหวัดนนทบุรี มามีชื่อเสียงอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นพันธุ์ที่ปลัดแก้วชอบมาก และขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง…เนื่องจากเนื้อสีเหลืองสวย เมล็ดเล็ก รสชาติอร่อย ราคาขายก่อนสงกรานต์ กิโลกรัมละ 250 บาท หลังสงกรานต์ กิโลกรัมละ 200 บาท

สาลิกา ทุเรียนจากพังงา เริ่มมีผลผลิต

กบพิกุล ผลผลิตมีเป็นปีที่สอง แต่ถูกจองหมดแล้ว

กบสุวรรณ หนามสวย แหลม

จระเข้ ผลสวยมาก นำมาจากตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

นกหยิบ เป็นทุเรียนท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี ปีสองปีมานี้ได้รับความนิยมอย่างมาก

ทุกพันธุ์ที่เอ่ยชื่อมา มีผลผลิตแล้ว แต่บางพันธุ์ปีนี้ถูกจองทั้งหมดอย่างตระกูลกบ แต่ที่จำหน่ายเป็นการค้าจริงจังมีหลงลับแล เมล็ดในยายปราง นกหยิบ และเหมาซานหวัง นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านวางแผง วันที่ 15 พฤษภาคม 2560 อาจจะมีบางพันธุ์ให้ได้เลือกซื้อเลือกชิมกัน

ต้องการให้คนไทยชิมก่อน

ทุเรียนแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันในเรื่องการดูแลรักษา การกินให้ถูกเวลาก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ

“หลงลับแล เนื้อละเอียด เหนียว หวาน สมัคร BETFLIX ต้องขายให้ได้มากกว่าหมอนทอง…หมอนทอง น้ำหนัก 4 กิโลกรัม ขาย 80 บาท ได้ 320 บาท หลงลับแลลูกละกิโลกว่าขายเท่าหมอนทองทำสวนไม่ได้แล้ว ต้องขาย 300 บาท น้ำหนักต่อผลน้อยมาก…กบพิกุล เนื้อละเอียดสีส้ม มัน กบสุวรรณ กลมกล่อมหอมต้องกินหลังสุก 3 วัน กินห่ามไม่อร่อย ห่ามกรอบใช้ไม่ได้ รสชาติไม่ดี ตัดแก่…ลูกอายุบนต้นหนักสุด จระเข้ 105 วัน ยังไม่แก่ ทรงสวยมาก อร่อยไปชิมมาที่สุโขทัย ที่สวนนี่ติดผลได้ชิมปีนี้”

ปลัดแก้ว พูดถึงทุเรียนบางพันธุ์ และบอกต่ออีกว่า “ทุกพันธุ์เริ่มให้ผลผลิตมา 3 ปี เมล็ดในยายปรางขายมากปีนี้ ปีแรกต้นยังสาวเนื้อไม่ดี ปีนี้เนื้อดี เรามีการจัดการเรื่องธาตุอาหารเพื่อรองรับคุณภาพเนื้อด้วย ให้ปุ๋ยเรื่องธาตุอาหาร ผลตอบรับดี ที่ส่งมีหลงฯ เหมาฯ เมล็ดในยายปราง นกหยิบ 4 ตัว ที่จำหน่าย ผมคิดว่า ไม่น่าคิดผิดที่ปลูกไม่เหมือนชาวบ้าน มีลูกชายช่วยขายทางออนไลน์ ช่วยในแปลงบ้าง ล้งมาขอซื้อส่งออก แต่ต้องการขายให้คนไทยกินก่อน เขามาขอซื้อเหมาฯ ซื้อหลงฯ ไม่ให้ อยากให้คนไทยรู้จักก่อน ถ้าขายส่งนอกต่อไปเขาจะไม่รู้จัก ได้กินทุเรียนแปลกๆ นึกถึงสวนนี้ก่อน เราเป็นสวนแบบใหม่มีจำนวน หลงฯ ออกหลายตัน ลูกชายส่ง ไปทางนิ่มซี่เส็ง ในอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัดถูก ไปอีสานแพง…พันธุ์ที่ทำขายมีเหมาซานหวัง เมล็ดในยายปราง กบพิกุล …เลือกทำที่เขาไม่ทำ จะปลูกเพิ่มไปเรื่อยๆ”

เป็นสวนทุเรียนที่ผสมผสานความเก่าและใหม่ ปลูกพันธุ์ที่ทรงคุณค่า ทยอยมีผลผลิตให้ได้จำนวน สนองตอบความต้องการผู้บริโภค ผู้สนใจถามไถ่กันได้ทั้งผลผลิตและต้นพันธุ์ ตามที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ (081) 410-0596