เกษตรกรรุ่นใหม่ YSF พะเยา ผันตัวเองจากครู มาปลูกผักสลัด

อินทรีย์ขาย ไปได้สวย ผู้เขียนลงพื้นที่อำเภอจุนไป ล้อมรักฟาร์ม ของ คุณชชธร โพธิญาณ บ้านเลขที่ 88 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ซึ่งผลิตผักสลัดอินทรีย์ส่งขายในกรุงเทพฯ และตัวจังหวัดพะเยา

คุณชชธร โพธิญาณ หรือ น้องชชธร เล่าให้ฟังว่า เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม (ชคว.) เนื่องจากบ้านอยู่ติดกับอำเภอเชียงคำ จากนั้นศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สาขาวิชาภาษาจีน เมื่อจบมาแล้วได้มาเป็นครูอัตราจ้างที่โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม สอนวิชาภาษาจีน ตามที่ได้ร่ำเรียนมา จากนั้นได้ลาออกมา…ตั้งเป้าหมายว่าจะไปทำงานต่างประเทศ เมื่อทางบ้านสอบถามว่าจะไปทำงานอะไรในต่างประเทศ ก็ตอบว่าทำงานรับจ้าง หรืองานทางด้านเกษตร

ทางบ้านเมื่อได้ยินคำตอบ ด้วยความที่ไม่อยากให้ไปอยู่ไกลบ้าน จึงบอกว่าถ้าจะทำงานทางด้านการเกษตร ไม่ต้องไปต่างประเทศ จะซื้อที่ให้ทำการเกษตรที่บ้าน เมื่อซื้อที่ดินก็เริ่มด้วยการทำนา แต่การทำนานั้นจะทำครั้งเดียวใน 1 ปี ทำให้มีเวลาว่าง จึงคิดหางานเกษตรด้านอื่นทำไปด้วย

ด้วยความที่ตนเองชอบรับประทานผัก ก็เลยปลูกผักเพื่อรับประทานเองและขาย เนื่องจากหลายคนในครอบครัวไม่สบาย มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งตนคิดว่าน่าจะเกิดจากการรับประทานผักที่มีสารพิษปนเปื้อน จึงปลูกแบบปลอดภัยจากสารพิษ โดยเป้าหมายที่สุดแล้วคือ ผักอินทรีย์ โดยผักที่ปลูกก็จะนำมาปรุงอาหารให้คนในบ้านได้รับประทานแบบปลอดภัย ในขณะนี้ได้รับใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นแปลงปลูกผักอินทรีย์ ในระยะปรับเปลี่ยน

สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักสลัดได้มาจากญาติๆ ที่ทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ เป็นเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ คือไม่มีการคลุกสารเคมีเพื่อการเก็บรักษา สำหรับพันธุ์ที่ปลูกประกอบไปด้วยพันธุ์กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค เรดคอรัล ฟินเลย์ บัตเตอร์เฮด แทงโก้ กรีนโบว์ กรีนคอรัล เรดรูบี้ ระยะเวลาการปลูก 45-50 วัน ผลผลิตออกรุ่นละประมาณ 300 กิโลกรัม ราคาขายจะอยู่ที่ 100-150 บาท รายได้ประมาณ 30,000-45,000 บาท ที่ล้อมรักฟาร์ม จะปลูกหลายพันธุ์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกในหลายสี เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจกับสลัดชนิดใดชนิดหนึ่ง

คุณประโยชน์ของผักสลัด

ผัดสลัด หรือผักกาดหอม มีคุณค่าทางโภชนาการ คือประกอบด้วยวิตามินบี วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และลูเทียน (lutein) มียาง (latex) ชื่อ แลคทูคาเรียม (lactucarium) ซึ่งมีระดับสูงมากขณะออกดอก นอกจากนั้น ยังมีวิตามินบีสูง ด้วยสรรพคุณของผักกาดหอมและวิธีใช้ผักกาดหอมนั้นมักใช้เป็นผักสลัด มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับผักสลัดที่มีสีเขียวอื่นๆ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักกาดหอมคือ ใบและต้น ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ต้นผักกาดหอมทั้งต้นคั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำที่ได้มาทาฝีมะม่วง (รีดเอาหนองออกก่อน) ใช้ขับพยาธิ แก้พิษ ขับลม เป็นยาระบายใบผักกาดหอม น้ำคั้นจากใบ ใช้แก้ไอ ทำให้หลับง่าย แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ

เรดคอรัล เป็นผักคล้ายเรดโอ๊ค ใบมีสีเขียวอมแดง หวานกรอบกว่าเรดโอ๊ค มีกากใยอาหารมากเช่นกัน โดยกากใยพวกนี้จะช่วยล้างผนังลำไส้ กำจัดพวกไขมันและอนุมูลอิสระที่เกาะตามผนังลำไส้ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ได้ ส่วนใหญ่จะรับประทานสด ทำเป็นสลัด เป็นเครื่องเคียงในยำ รับประทานคู่กับแหนมเนืองจะอร่อยมาก รสชาติคล้ายผักกาดหอม แต่จะหวานกว่า

เรดโอ๊ค เป็นผักตระกูลสลัด ใบมีสีแดงเข้มและเขียวเข้ม แล้วแต่สายพันธุ์ มีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง มีกากใยอาหารมาก ย่อยง่าย ช่วยบำรุงสายตา บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก และยังช่วยล้างผนังลำไส้ กำจัดพวกไขมันและอนุมูลอิสระที่เกาะตามผนังลำไส้ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ได้ ส่วนใหญ่จะรับประทานสด ทำเป็นสลัด เป็นเครื่องเคียงในยำ รับประทานคู่กับแหนมเนืองจะอร่อยมาก รสชาติคล้ายผักกาดหอม แต่จะหวานกว่า

กรีนโอ๊ค ช่วยบำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ บำรุงผิวพรรณ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ป้องกันโรคหวัด

คอส เป็นผักที่มีวิตามินสูง และมีธาตุเหล็กช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง (Hemoglobin) ในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ผักสลัดคอสยังมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพียง 3% เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และยังช่วยในเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย

โรงเรือนที่ใช้ปลูก ได้ต้นแบบมาจากโรงเรือนปลูกเมล่อน ในอำเภอจุน แต่ได้ปรับลดความสูงลง จาก 2.5 เมตร เหลือ 1.8 เมตร ความกว้าง 6 เมตร ยาว 20-30 เมตร ตามขนาดของพื้นที่ ตอนแรกที่ปลูกจะปลูกกับพื้นดิน ปรากฏว่าประสบปัญหาน้ำท่วมขัง จึงปรับปรุงเป็นการยกแคร่ โดยใช้เสาซีเมนต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้องมุงหลังคา ต้นทุนอยู่ที่ 130,000 บาท โดยการจ้างช่าง ในราคา 10,000 บาท ส่วนอุปกรณ์ซื้อเอง ตาข่ายคลุมรอบโรงเรือน ใช้ตาข่ายขนาดตา 25 ถ้าปลูกเมล่อนเขาจะใช้ ตาขนาด 30 เพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยไฟเล็ดลอดเข้าไปทำลายเมล่อน พลาสติกมุงหลังคา ใช้ขนาด 200 ไมครอน ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอายุการใช้งานนาน 3-5 ปี

นอกจากปลูกผักสลัดแล้วน้องชชธร ยังทดลองปลูกพริกจาราปิโน่ (Jalapino) ซึ่งมีรสชาติคล้ายพริกหวานหรือพริกหยวก เพียงแต่ขนาดจะเล็กกว่าเท่านั้น และทดลองปลูกมะเขือเทศ Black cherry หรือมะเขือเทศดำ ส่งตลาดกรุงเทพฯ ตอนนี้ได้รับใบรับรองอินทรีย์ ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีออกจำหน่ายแน่นอน

สำหรับการปลูกผักสลัดของล้อมรักฟาร์ม จะเริ่มด้วยการเพาะกล้าในวัสดุเพาะ จากนั้นจึงย้ายลงถาดหลุม 7-10 วัน พอมีใบจริง 3-4 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลง ดินปลูกจะผสมจากดิน แกลบดำ แกลบขาวเก่า และปุ๋ยหมัก ซึ่งผลิตแบบไม่พลิกกลับกองจากฟางข้าวและตอซังจากนาข้าวอินทรีย์ที่ตนเองปลูก ผลผลิตที่ออกมามีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคในเรื่องความสด ความกรอบ ความนุ่ม ความทน ลูกค้าบางรายเล่าให้ฟังว่า แม่เขาตกใจที่นำผักสลัดของล้อมรักฟาร์มไปแช่ในตู้เย็น 2 สัปดาห์แล้ว ยังสดเหมือนเดิม ไม่มีเน่า ต่างจากผักที่ซื้อมาจากตลาด

ท้ายสุด น้องชชธร ได้ฝากข้อคิดไปยังผู้ที่ทำงานประจำแล้วคิดจะลาออกมาทำการเกษตรว่า ไม่ควรลาออกในทันที ควรใช้เวลาว่างทดลองทำจนแน่ใจว่าเป็นไปได้ จึงค่อยตัดสินใจลาออกมาทำเต็มเวลา สำหรับคนที่ไม่มีทุนของตนเอง ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาทำ ควรงดเว้นไว้ก่อน เพราะผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีข้อจำกัดในการเก็บเกี่ยว ราคาก็ไม่แน่นอน แต่เมื่อลงมือทำก็จะต้องศึกษาและปรับอยู่ตลอดเวลา เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันทั้งสภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยอื่นๆ เมื่อเราไปศึกษาดูงานจากที่อื่น แต่นำกลับมาใช้กับฟาร์มของเราอาจไม่ได้ผล เพราะเหตุปัจจัยจากที่กล่าวมาข้างต้น

สนใจต้องการรับประทานผลผลิตผักสลัดอินทรีย์ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดต่อ คุณชชธร โพธิญาณ ได้ที่บ้านห้วยบง ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา หมายเลขโทรศัพท์

บ้านนาพิพาน ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นหนึ่งในทำเลทองของการปลูกกระจับพืชเศรษฐกิจสำคัญของท้องถิ่น ช่วงใดที่อากาศดี ฝนตกต่อเนื่อง ยิ่งช่วยให้ต้นกระจับที่ปลูกเจริญงอกงามและให้ผลผลิตสูง

นายสุวพิษ ศรีวงษ์ เกษตรกรวัย 60 ปี ปลูกกระจับในสระน้ำ พื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษ บอกว่า กระจับ เป็นพืชที่ปลูกกันมานาน หลังจากที่ตนสูบน้ำออกจากสระแล้ว จึงได้คิดจะปลูก เนื่องจากเห็นว่าที่ตลาดสดที่ตนไปขายผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่น ไม่มีกระจับขายในตลาด จึงได้ไปหาพันธุ์กระจับมาปลูก กระจับพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นกระจับเขาควายแบบเขาสั้น ซึ่งเป็นกระจับที่นิยมปลูกกันในสมัยโบราณ และเป็นที่นิยมมากกว่าแบบเขายาว เนื่องจากมีรสชาติอร่อย รับประทานสดได้ และนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด

จังหวัดหนองคาย มีคนปลูกกระจับไม่มาก ผลผลิตมีเท่าไรก็ขายได้หมด ลูกค้ามีทั้งมาซื้อถึงที่และนำไปขายที่ตลาดสด หากได้จำนวนมากๆ คือ ตั้งแต่ 50 กก. ขึ้นไป ก็ติดต่อลูกค้าชาวลาวให้มารับถึงที่เลย ขายปลีกในราคาตลาด อยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ราคาหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ในแต่ละวันจะเก็บได้ 20-50 กก. ก็ขายได้ทั้งหมด

กระจับ เป็นพืชที่ปลูกง่าย มีโรคน้อย น้ำตื้นหรือลึกก็ปลูกได้ ตอนปลูกต้องให้รากต้นกระจับลงลึกถึงพื้นดิน จากนั้นต้นกระจับก็จะเจริญเติบโตตามระดับน้ำ สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ สระที่ปลูกอย่างเลี้ยงปลากินพืช เพราะจะมากินต้นกระจับที่ปลูกไว้ หลังปลูกแล้วลูกกระจับที่แก่จัดก็จะหลุดจากต้นลงไปที่พื้น แล้วแตกเป็นต้นเสริมขึ้นมาอีก แต่การจะใช้เม็ดปลูกจะช้ากว่าใช้ต้นปลูกมาก จึงควรหาต้นพันธุ์มาปลูกดีกว่า

แปลงปลูกต้นกระจับ ดูแลรักษาง่าย โรคแมลงก็ไม่ค่อยมี หากมีก็ใช้น้ำสะเดาฉีดก็หายขาด ส่วนสระหรือบ่อที่ปลูกนั้น หากมีโคลนตมมากก็จะเจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 086-221-8757

อยากรู้เรื่อง ส้มโอนครชัยศรี ต้องไปพูดคุยกับปราชญ์ชาวบ้าน ด้านส้มโอ คือ คุณทิม ไทยทวี เจ้าของสวนส้มโอไทยทวี ที่สะสมประสบการณ์ในการปลูกส้มโอมาเกือบ 50 ปี ปัจจุบัน คุณทิม มีพื้นที่ปลูกส้มโอ 2 แห่ง คือ อำเภอสามพราน จำนวน 10 ไร่ และอำเภอนครชัยศรีอีก 30 ไร่ ในจังหวัดนครปฐม

มารู้จัก ส้มโอนครชัยศรี คุณทิม บอกเล่าถึงที่มาของชื่อ ส้มโอนครชัยศรี ว่า ไม่ทราบที่มาชัดเจน ตนจำความได้ว่าส้มโอแรกเริ่มเดิมทีนั้น ปลูกกันที่ ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน ทำกันเรื่อยมา จนกระทั่ง ปี 2526 เริ่มเก็บผลผลิตเพื่อการส่งออก เกษตรกรที่อ้อมใหญ่เริ่มต้นปลูกส้มโอเป็นธุรกิจ คือพันธุ์ขาวพวง ทองดี นิยมส่งออกไปยังประเทศจีน ฮ่องกง และแคนาดา เป็นต้น เนื่องจากผลส้มโอพันธุ์ขาวพวงมีลักษณะคล้ายกับน้ำเต้า ซึ่งคนจีนมีความเชื่อว่าจะทำให้เงินทองพอกพูน จึงนิยมนำไปไหว้เจ้าในเทศกาลต่างๆ ส้มโอพันธุ์ขาวแป้น นิยมปลูกเพื่อขายผลผลิตในประเทศ นำไปสู่การขยายพื้นที่ปลูกกันไปทั่ว รวมทั้งพื้นที่นครชัยศรี

สำหรับ คำว่า “ส้มโอนครชัยศรี” นั้น คุณทิม สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากตอนที่ส้มโอเริ่มขยายมาปลูกในเขตนครชัยศรี ตอนนั้นยังเป็นมณฑลนครชัยศรี ส้มโอ จึงถูกเรียกตามชื่อมณฑล จึงกลายเป็นส้มโอมณฑลนครชัยศรีแต่นั้นมา เรียกกันจนเหลือแค่ ส้มโอนครชัยศรี ซึ่งในภายหลังได้มีการก่อตั้งเป็นจังหวัดนครปฐม มณฑลนครชัยศรีจึงกลายเป็นอำเภอไป

ตลาดส้มโอนครชัยศรี

จังหวัดนครปฐม ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกส้มโอ ประมาณ 5,000 ไร่ โดยมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 100 ลูก ต่อต้น ต่อปี ซื้อขายกันเป็นลูก ราคาจากสวนแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ราคาหน้าสวน อยู่ที่ลูกละ 120-150 บาท ราคาซื้อปลีก ลูกละ 180-200 บาท พันธุ์ทองดี ส่งขายต่างประเทศ ราคาลูกละ 90-100 บาท ราคาในประเทศ ลูกละ 100 บาท

จุดเด่นของส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ของอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม คือรสชาติหวานอมเปรี้ยว ที่เป็นเอกลักษณ์ สังเกตว่าเป็นของแท้หรือไม่ จากต่อมน้ำมันที่ผิว หากเป็นขาวน้ำผึ้งสามพรานแท้จะมีต่อมน้ำมันละเอียด แต่ถ้าขาวน้ำผึ้งจากที่อื่น ต่อมน้ำมันจะโตกว่า และมีเปลือกหนา

คุณทิม เป็นลูกชาวนาในพื้นที่อำเภอสามพราน แต่เนื่องจากการทำนา ได้ผลผลิตแค่ปีละครั้ง แถมอาชีพชาวนาต้องทำงานหนัก แต่มีรายได้น้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน คุณทิมจึงเลิกทำนาและหันมาทำส้มโอบนที่ดินมรดกเนื้อที่ 10 ไร่ เมื่อปี 2512 โดยเลือกปลูกส้มโอพันธุ์ขาวหอม ขาวน้ำผึ้ง และพันธุ์ทองดี ปี 2525 สวนส้มโอเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ ขายในราคาลูกละ 10-20 บาท โดยส่งผลผลิตขายในท้องถิ่นและส่งขายให้พ่อค้าในกรุงเทพฯ และเริ่มส่งออกส้มโอในปี 2527

การปลูกดูแล

คุณทิม ใส่ใจเรียนรู้การดูแลจัดการสวนส้มโอจนประสบความสำเร็จ ผลผลิตส่วนใหญ่ขายผ่านตลาดโมเดิร์นเทรดในประเทศและส่งออกปีละ 100 ตัน โดยพันธุ์ส้มโอที่ขายดีครองตลาด คือ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง มีราคาขาย ลูกละ 200 บาท ทุกวันนี้มีเกษตรกรผู้สนใจแวะเวียนเข้ามาขอความรู้เรื่องการปลูกส้มโอของคุณทิมอย่างสม่ำเสมอ

“ช่วงที่ต้นส้มโอเป็นโรค เคยให้ปุ๋ยและใช้สารเคมีแรงๆ เข้าแก้ไข แต่ไม่สำเร็จ ก็ทดลองแก้ไขปัญหาโดยหยุดการให้ปุ๋ยในช่วงที่ต้นส้มโอเป็นโรค ลองปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดยาและให้น้ำ เป็นเวลา 1 เดือน ผลปรากฏว่า ใบเขียวขึ้นผิดหูผิดตา จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยตาม” คุณทิม กล่าว

สวนส้มโอไทยทวี ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งปลูกส้มโอคุณภาพที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP แล้ว ยังเป็นศูนย์การศึกษาให้นักศึกษามาฝึกงาน สวนส้มโอไทยทวี เน้นดูแลสวนส้มโอโดยใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน ย่อยสลายธาตุอาหารในดิน ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ถึง 70% อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อผู้ปลูกและผู้บริโภค เมื่อไม่ใช้สารเคมีก็จะลดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็ได้บริโภคส้มโอที่มีคุณภาพและปลอดภัย

สวนส้มโอไทยทวี เจอน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ต้นส้มโอแช่น้ำนานถึง 2 เดือน แต่ไม่เสียหายอะไรเลย แม้แต่ต้นขนุน ที่ไม่ทนน้ำ ต้องแช่น้ำท่วมเกือบศอกก็ไม่ตาย เพราะที่นี่ทำสวนแบบอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ ปล่อยตามธรรมชาติ ต้นไม้จึงแข็งแรงด้วยตัวของมัน

ชี้ “กาญจนบุรี” ทำเลดี สำหรับปลูกส้มโอ

คุณทิม บอกว่า พื้นที่ภาคเหนือลงมาจนถึงกาญจนบุรี เป็นทำเลที่เหมาะสมกับการปลูกส้มโอ เพราะมีรสชาติอร่อย ทุกวันนี้การซื้อขายส้มโอเพิ่มขึ้นถึง 10% แต่การขยายตัวของพื้นที่ปลูกกลับน้อยกว่า 1% เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจอาชีพเกษตรกรรม

คุณทิม ได้มีโอกาสชิมรสชาติส้มโอทั่วประเทศไทย ก็ได้ข้อสรุปว่า ส้มโอที่ปลูกในแหล่งที่มีน้ำมากและอากาศหนาว จะมีรสชาติขมและซ่า ทดลองแก้ปัญหาโดยใช้ปุ๋ย สูตร 0-0-60 และ 0-0-50 ลองใส่ไป 1 เดือนกว่าๆ ปรากฏว่า ส้มโอมีรสหวานเพิ่มขึ้นจาก 9 บริกซ์ เป็น 11 บริกซ์ ก็จริง แต่พอได้ชิมรสชาติด้วยปาก พบว่าจืดชืดไม่มีรสชาติ แม้ไม่มีรสขมซ่าแล้ว แต่รสจืดมาก เพราะความเปรี้ยวหายไปด้วย เหลือแต่รสหวาน ไม่มีรสที่จะมาช่วยชูรสชาติ

หากใครปลูกส้มโอในแหล่งปลูกที่ไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากมีสภาพน้ำขังหรือมีอากาศหนาว คุณทิมแนะนำให้แก้ไขโดยใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูง เพื่อลดรสขมซ่าและช่วยให้ส้มโอมีรสเปรี้ยวน้อยลง แต่อย่าให้รสชาติดังกล่าวหายไป เพราะถ้าหายรสชาติส้มโอจะจืดทันที และควรมีการเสริมด้วยขี้แดดนาเกลือ และกระดูกสัตว์บดละเอียด

สำหรับผู้ที่สนใจ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกส้มโอ สามารถติดต่อได้ที่ คุณทิม ไทยทวี เบอร์โทรศัพท์ (093) 596-5393 สะละ พัทลุง ขยายตัวได้ 5 หมื่นไร่

ด.ต. ชนาธิป คงใหม่ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สะละบ้านเขาปู่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง บอกว่า ที่พื้นที่อำเภอศรีบรรพต เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ริมเทือกเขาบรรทัด อาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ปลูกยางพารา สวนไม้ผล ซึ่งในช่วงที่ยางพารามีราคาที่ตกต่ำ ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ตนจึงได้ตั้งกลุ่มปลูกสะละแซมในสวนยางพาราขึ้น ขณะนี้มีสมาชิก 18 คน มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 80 ไร่ โดยสะละที่ปลูกประกอบด้วย พันธุ์สุมาลี พันธุ์เนินวง และพันธุ์อินโด

ส่วนผลผลิตของสะละนั้น ส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง สงขลา และประเทศมาเลเซีย จนบางครั้งผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า

ขณะนี้มีเกษตรกรเข้ามาร่วมโครงการปลูกสะละหลายรายแล้ว ทำให้พื้นที่การปลูกสะละพันธุ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

และจากการที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรยั่งยืนนั้น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตและแปรรูปสะละบ้านเขาปู่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จากโครงการในการแปรรูปสะละ เป็นสะละลอยแก้ว สะละกวน

“สะละ 1 กิโลกรัม สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้มากถึง กิโลกรัมละ 250-300 บาท” ด.ต. ชนาธิป กล่าว

ส่วนผลผลิตของสะละและผลิตภัณฑ์สะละแปรรูปนั้น สามารถส่งออกจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี จนสามารถสร้างรายได้เป็นที่น่าพอใจยิ่ง

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง ให้ข้อมูลว่า สะละพัทลุง มี 3 พันธุ์ด้วยกัน แต่ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ คือ พันธุ์สุมาลี รองลงมา เนินวง และพันธุ์อินโด โดยขณะนี้มีการปลูกอยู่ประมาณ 20,000 ไร่ เติบโตปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ โดยจะให้ผลผลิต กอละ 150-200 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยจะมีรายได้ประมาณ 10,000 บาท/กอ/ปี จำนวน 1 ไร่ ปลูก 45 กอ รวมรายได้เป็นเงิน ประมาณ 450,000 บาท/ปี/ไร่ ที่สวนสะละ มีรายได้ สำหรับผู้ปลูกที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สำหรับราคามีตั้งแต่ 80 บาท และ 120 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาหน้าแผง

ส่วนสะละที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ของจังหวัดพัทลุงจะเป็นสะละลอยแก้ว น้ำพร้าวหวาน เป็นต้น ส่วนสะละอบแห้ง ผง กวน แยม และสะละสอดไส้ ยังไม่ได้แปรรูปทุกผลิตภัณฑ์ และยังสามารถแปรรูปได้อีกหลายผลิตภัณฑ์

“สะละแปรรูปจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาสะละที่มีผลตกเกรดอีกด้วย ซึ่งจะได้นำมาแปรรูป เพื่อมิให้เสียของ สำหรับพื้นที่จังหวัดพัทลุง การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นที่อำเภอป่าบอน จุดเด่นของสะละ เป็นผลไม้ไม่มีฤดูกาล ออกได้ตลอด เป็นผลไม้ยั่งยืน แต่ที่สำคัญคือ แหล่งน้ำ และการระบายน้ำ มีน้ำสนับสนุนตลอดทั้งปี และพื้นที่ปลูกน้ำจะไม่ท่วม ประการสำคัญคนทำสวนสะละจะต้องเป็นคนที่ละเอียดอ่อน ต้องมีฝีมือ เอาใจใส่ จะประสบความสำเร็จ”

ทางด้านการตลาดนั้น ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย มีความต้องการในปริมาณที่มาก แต่ของจังหวัดพัทลุงไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ มีปริมาณไม่พอ แม้เฉพาะใช้บริโภคสดก็ยังไม่พอ

“หากจะให้ปริมาณผลผลิตเพียงพอและเหมาะสม จังหวัดพัทลุงจะต้องขยายพื้นที่ปลูกให้ได้ประมาณ 50,000 ไร่ โดยสามารถส่งออกที่รองรับได้ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย มีความต้องการมาก จากการที่ไปทำโรดโชว์ที่ผ่านมา” นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวในที่สุด

แก้วมังกร ถิ่นกำเนิดของแก้วมังกรมาจากป่าแอฟริกา เป็นไม้เลื้อยในตระกูลกระบองเพชรเลื้อย

ลักษณะของผลแก้วมังกร
-ผลรูปไข่หรือค่อนข้างกลม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเปลือกสีชมพูสด หนาราวๆ 2 มิลลิเมตร ถัดจากเปลือกเข้าไปเป็นเนื้อสีขาว สีเมล็ดคล้ายเมล็ดแมงลักฝังตัวอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมาก แก้วมังกรมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย นำไปประกอบอาหารอื่นๆ ได้ เช่น น้ำกะทิแก้วมังกร น้ำผลไม้ แยม สลัด

สรรพคุณ
-แก้ท้องผูก ควบคุมน้ำหนัก
-ทำให้ผิวชุ่มชื่น

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร หนัก 100 กรัม

โปรตีน 0.53 กรัม
แคลเซียม 134.5 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 212.2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 8.7 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 60.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี 9.4 มิลลิกรัม
เส้นใย 0.71 มิลลิกรัม

มองครั้งแรก ทุกคนพูดตรงกันว่า นี่คือ มะละกอ เพราะใบมันเหมือนใบมะละกอ

เอาจริงนะ!! นี่คือ ต้นคะน้า เว็บแทงฟุตบอล หรือที่เรียกกันว่า คะน้าเม็กซิกัน เป็นพืชเมืองร้อน สูงได้ถึง 2 เมตร และพบครั้งแรกในประเทศเม็กซิโก นำใบ ยอดอ่อน ไปต้ม ผัด แกง ได้เหมือนใบคะน้า จึงเรียกว่า คะน้าเม็กซิโก เข้าไปค้นในอินเทอร์เน็ต บางทีก็เรียก ต้นนี้ว่า ผักชายา ซึ่งน่าจะมาจากชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cnidoscolus chayamansa

ลักษณะเด่น ที่น่าสนใจคือ ปลูกง่าย โตไว แถมเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงปรี๊ดเลยทีเดียว การปลูก ปลูกได้เหมือนผักทั่วไป มีปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ดินร่วน ปลูกแล้ว ถ้าได้ปุ๋ยละลายช้า ก็จะงามมาก เป็นต้นไม้ที่ต้องการแสงแดด และที่สำคัญปลูกครั้งเดียว เก็บกินได้ตลอด

ยกทัพสหกรณ์ไทยเรียนรู้เกษตรแปลงใหญ่ปลูกผักในโรงเรือน ที่เมืองซานตง ประเทศจีน ต้นแบบพัฒนาการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยียกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิต

กรมส่งเสริมสหกรณ์นำตัวแทนสหกรณ์การเกษตร บินลัดฟ้าเยือนประเทศจีน ศึกษาดูงานการทำเกษตรแปลงใหญ่ ปลูกข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด และผักในโรงเรือน ควบคุมด้วยเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและแม่นยำ ภายใต้โครงการความร่วมมือการเกษตรระหว่างจีน-ไทย ชื่นชมจีนใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อช่วยเกษตรกรยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร พร้อมตั้งเป้านำความรู้กลับมาพัฒนาการผลิตสินค้าให้กับสหกรณ์ของไทยเพื่อให้ทันสมัย เตรียมผลักดันเกษตรแปลงใหญ่นำร่อง 3 สหกรณ์

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยตัวแทนสหกรณ์ 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด จังหวัดอุทัยธานี สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด จังหวัดตาก และสหกรณ์การเกษตรปักธงชัย จำกัด จังหวัดนครราชสีมา เดินทางไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการปลูกผักในโรงเรือนซึ่งมีการควบคุมด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและแม่นยำ ซึ่งการเดินทางดังกล่าวดำเนินการภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-จีน และได้มีโอกาสหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับข้าราชการฝ่ายปกครอง, ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร และภาคเอกชนผู้ผลิตผักรายใหญ่ของจีน ณ เมืองซูกวาง มณฑลซานตง