เกษตรกรลำปาง ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา เน้นผลิตเป็นข้าว

ข้าวหอมนาคา เริ่มดำเนินการทดสอบผลผลิต ปี 2562 ในแปลงเกษตรกร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย มีเกษตรกรร่วมปลูก 31 คน พื้นที่ประมาณ 95 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 807 กิโลกรัม ต่อไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 76 ตัน โดยการใช้ประโยชน์จากข้าวหอมเพื่อการบริโภคประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ (46 ตัน) และแลกเปลี่ยนเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ 40 เปอร์เซ็นต์ (30 ตัน)

ในปี 2563 มีเกษตรกรสนใจปลูกข้าวหอมนาคา จำนวน 309 ราย ในพื้นที่ของประเทศจำนวน 37 จังหวัด จำนวน 106 อำเภอ พื้นที่การปลูกประมาณ 250 ไร่ โดยเกษตรกรที่สนใจจะได้รับการจัดสรรเมล็ดพันธุ์ให้คนละ 1 กิโลกรัม ซึ่งในภาคเหนือมีเกษตรกรสนใจปลูกข้าวหอมนาคา จำนวน 115 ราย ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 149.8 ไร่ โดยจังหวัดลำปางมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 92 ไร่ จำนวน 20 คน แบ่งพื้นที่ของสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด จำนวน 58 ไร่ และเกษตรกรอื่นที่สนใจอีก 34 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนเกษตรมีพื้นที่ปลูกจำนวน 50 ไร่

คุณสมาน สุภัควาณิชย์ อยู่บ้านเลขที่ 91 หมู่ที่ 6 ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เลือกปลูกข้าวหอมนาคา โดยเปลี่ยนพื้นที่ทำการเกษตรของตนเองบางส่วนมาปลูก เพราะมองว่าเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาเป็นอย่างดี สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ ทำให้อยากนำมาปลูกลงในพื้นที่การเกษตรของตนเอง

คุณสมาน เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพหลักรับราชการ และอีกไม่กี่ปีจะถึงเวลาใกล้เกษียณ จึงได้มองหาอาชีพทางการเกษตรเตรียมไว้ในอนาคต ด้วยความที่ตนเองไม่เคยลงมือทำนามาก่อน จึงได้นำนาที่ปล่อยเช่าให้กับเกษตรกรรายอื่น มาลองทำนาเอง เพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตนเอง เมื่อศึกษาและเรียนรู้การทำไปเรื่อยๆ จนประสบผลสำเร็จและมีผลกำไรจากการทำนาในพื้นที่ของตนเอง

“ผมทำงานราชการก็จะมีเวลาว่างวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเช้าและเย็น ก็เลยมาทำเกษตรบนพื้นที่ของตนเอง พอได้ทำแล้วรู้สึกเลยว่ามีความสนุก เพราะว่าเราได้ผ่อนคลายจากสิ่งที่ทำ ทำให้เกิดความชอบมาเรื่อยๆ อย่างการทำนาสมัยก่อนใครๆ บอกว่าทำแล้วขาดทุน ผมเลยลองมาทำเอง มีการปรับเปลี่ยนการทำ สรุปก็ได้ผลกำไร จึงเป็นกำลังใจว่าเรามาถูกทางแล้ว และทำมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ แม้จะเป็นการทำนาปีละ 1 ครั้งก็ตาม สาเหตุที่เลือกทำนาปลูกข้าวหอมนาคา ผมมองว่าเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่น่าสนใจ ผมเลยมองว่าจะทำเป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก และส่วนอื่นๆ ก็ส่งโรงสีเป็นข้าวหุงรับประทานได้ มองถึงความพิเศษตรงนี้ จึงเริ่มปลูกข้าวหอมพันธุ์นาคา” คุณสมาน กล่าว

ซึ่งการปลูกข้าวหอมนาคาสำหรับการทำเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกนั้น คุณสมาน บอกว่า หลังจากเตรียมพื้นที่นาปลูกแล้ว ก็หว่านข้าวลงไปในแปลงนาได้ทันที โดยการดูแลเหมือนการทำนาปกติ แต่ที่จังหวัดลำปางจะติดอยู่เรื่องเดียวคือหน้าแล้ง ดังนั้นการจะหว่านข้าวหรือเตรียมพื้นที่นาต้องดูช่วงฟ้าฝนให้พอดี

สำหรับการใส่ปุ๋ยให้กับข้าวหอมนาคา ซื้อปุ๋ยสูตรสำเร็จมาใส่ โดยหลังจากที่กำจัดหญ้าชุดแรกออกจากแปลง ก็ใส่ปุ๋ยได้ทันที ซึ่งอายุการปลูกข้าวหอมนาคาอยู่ที่ 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

“ข้าวพันธุ์หอมนาคานี่ ต้องบอกว่าค่อนข้างที่จะทนโรค ตั้งแต่ปลูกมายังไม่มีเรื่องของโรคแมลงเข้ามารบกวน ช่วยทำให้ผมสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตไปได้ดี เฉลี่ยต้นทุนการผลิตของผมต่อไร่ อยู่ที่ 3,600 บาท นี่คือ ต้นทุนรวมทุกอย่างแล้ว ยิ่งข้าวหอมนาคาเป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาอย่างดี เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีเรื่องของโรคแมลงเข้ามารบกวน ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตลงไปได้ดีทีเดียว” คุณสมาน บอก

สำหรับผลผลิตข้าวหอมนาคาที่ได้ต่อไร่ เฉลี่ยอยู่ที่ 800-900 กิโลกรัม โดยราคารับซื้อสำหรับนำไปเป็นข้าวปลูกในแปลงนา จำหน่ายเป็นข้าวสด ความชื้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ส่งจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 7-10 บาท และข้าวสำหรับสีเป็นข้าวเพื่อหุงรับประทาน จำหน่ายราคาขึ้นลงตามกลไกของตลาด

ซึ่งในอนาคตสำหรับการปลูกข้าวหอมนาคานั้น คุณสมาน บอกว่า จะพัฒนาพื้นที่นาปลูกสำหรับผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกที่มีคุณภาพส่งจำหน่ายให้กับแหล่งรับซื้อในพื้นที่ เพราะมองว่าในอนาคตเกษตรกรในหลายพื้นที่อาจมีความต้องการปลูกข้าวสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นแน่นอน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เมล็ดพันธุ์ขาดช่วงการผลิต คุณสมานจึงอยากที่จะดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาของตนเองทั้งหมดมาผลิตข้าวเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกต่อไป

“สำหรับคนที่อยากจะทำเกษตรหลังเกษียณ ผมมองว่าอยากให้เริ่มตอนที่เรากำลังทำงานอยู่ เพราะว่าถ้าเราทำหลังจากเกษียณมาแล้วนี่ อาจทำให้เราหมดแรงที่จะลงมือทำได้ อย่างผมเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่นๆ ถ้าเราไม่ชอบแบบนี้จริงๆ เราก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ทัน อย่างตอนนี้ผมทำนา 20 ไร่ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ผมมีความสุขมาก เพราะว่างจากงานประจำก็มาลงมือทำเกษตรได้ทันที ทำให้ผมมีเวลาว่างอยู่กับตัวเอง เหมือนสมองได้พักผ่อน ผมจึงมีความสุขในทุกๆ วัน ในการปลูกข้าวในพื้นที่ของผมเอง” คุณสมาน กล่าว

สำหรับท่านใดสนใจในเรื่องของการปลูกข้าวหอมพันธุ์นาคา ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถแลกเปลี่ยนพูดคุยหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ “ชา” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งผลิตใบชาคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกในลักษณะชาเขียว ชาดำ และชาสำเร็จรูป ส่งขายในตลาดอาเซียน จีน เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี แต่ละปีสร้างรายได้ก้อนโตเข้าสู่ประเทศ

จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศที่เอื้อต่อการปลูกชา ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 350-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชาเชียงราย เป็นใบชาสดที่มีคุณภาพดี เพราะเกษตรกรผู้ปลูกชาจะเก็บชา 1 ยอด และ 2 ใบชา ยอดกับก้านจะให้รสฝาด ใบแรกรองจากยอดจะให้รสขม ใบที่สองจะให้ความหอม จะได้ความฝาด-ขม-หอม รวมเป็นหนึ่ง รสชาติหอมละมุน กลมกล่อม ยอดชาที่เก็บเกี่ยวถูกส่งเข้าโรงงานทันทีเพื่อควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) สมาคมชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงราย

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ชาเชียงราย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยสินค้าชาเชียงรายที่ได้มาตรฐาน จีไอ คือผลิตภัณฑ์ชาเขียว (ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก) และชาอู่หลง (ชาที่หมักเพียงบางส่วน) ที่ได้จากพันธุ์ชาอัสสัม และพันธุ์ชาจีน โดยปลูกและผลิตตามกรรมวิธีเฉพาะตามหลักการผลิตชา ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่ลาว อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ชาเชียงราย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและมีคุณภาพ ด้วยปัจจัยทางธรรมชาติ ปลูกในพื้นที่หุบเขาสูง ดูแลในระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นสินค้าที่มีความสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานระดับนานาชาติ ชาเชียงรายผลิตส่งขายจีนเป็นวัตถุดิบ หรือเป็นชาสำเร็จรูปส่งออกไปยังไต้หวัน หรือขายเป็นชาราคาเกรดทั่วไปให้กับร้านชาภายในประเทศ เรียกได้ว่า อุตสาหกรรมชาของเชียงรายผลิตในลักษณะรับจ้างผลิต หรือ โออีเอ็ม เป็นส่วนใหญ่

สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาช่วยขยายช่องทางการตลาดชาเชียงรายทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากแหล่งปลูกชาส่วนใหญ่ของจังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน ทางจังหวัดเชียงรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจัดกิจกรรม สนับสนุนการท่องเที่ยว หมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชา เป็นประจำทุกปี สร้างรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ท้องถิ่นปีละหลายร้อยล้านบาท

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้จัดตั้งสถาบันชาและกาแฟ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับชาและกาแฟ เพื่อพัฒนาวงการอุตสาหกรรมชา กาแฟ อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต แปรรูป และการขาย รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือทางด้านวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อความเข้มแข็งทางวิชาการ และยกระดับมาตรฐานชา กาแฟ ของไทยอย่างยั่งยืน พร้อมให้บริการด้านเทคนิค ด้านวิจัยพัฒนา และด้านห้องปฏิบัติการในการพัฒนาสินค้าชา กาแฟ อย่างต่อเนื่อง

สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาและการตลาดสำหรับชาและกาแฟในภาคเหนือของไทย โดยประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชาและกาแฟไทย รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับชาให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ ได้เข้าใจเรื่องสายพันธุ์ชา การเก็บใบชาที่ถูกวิธี กระบวนการผลิตชา วิธีการชงชา เทคโนโลยีการแปรรูปชา เช่น การทำโลชั่นบำรุงผิวกายผสมสารสกัดจากใบชา และการทำสเปรย์ดับกลิ่นเท้าผสมสารสกัดจากใบชา เป็นต้น

ที่ผ่านมา สถาบันชาและกาแฟ ได้จัดประชุมวิชาการทั้งในประเทศ รวมทั้งประเทศผู้ผลิตและจำหน่ายชากาแฟชั้นนำของโลก เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ไต้หวัน ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งเทคโนโลยีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและแปรรูป นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการจัดงานเทศกาลชา โดยสนับสนุนการรวมตัวของเจ้าของไร่ชา ผู้แปรรูปชา ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายชา ทั้งในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงแหล่งผลิตชาดีคุณภาพระดับส่งออก และใช้เป็นเวทีเจรจาธุรกิจชาของประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งผู้สนใจเรื่องชา กาแฟ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โทรศัพท์ 053-916-253

ดอยพญาไพร ทำเลทองของการปลูกชา

เมื่อเอ่ยถึงแหล่งปลูกชาคุณภาพดีของจังหวัดเชียงราย หลายคนนึกถึง “ชาแม่สลอง” เป็นชื่อแรก ความจริงแล้วจังหวัดเชียงรายยังมีทำเลทองของการปลูกชาคุณภาพดีอีกแห่งที่คนไทยส่วนใหญไม่ค่อยรู้จัก นั่นก็คือ “ดอยพญาไพร” ไร่ชาฉุยฟง ของ บริษัท ฉุยฟงที จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงราย ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพญาไพร ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง

ในอดีต ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนดอยพญาไพร ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จีน ลาหู่ และลีซู ปลูกฝิ่นเป็นรายได้หลัก จนกระทั่งในปี 2531 ชาวเขาได้เปลี่ยนถิ่นฝิ่นเป็นถิ่นชา ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มีพระราชดำริในการขจัดแหล่งปลูกฝิ่นและยาเสพติด โดยส่งเสริมให้ชาวเขาเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกฝิ่นมาปลูกชา

ปัจจุบัน ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนบนดอยพญาไพรมีอาชีพปลูกชา คือ ชาอัสสัม (ท้องถิ่น) ชาจีน (อูหลง, ชาเขียว) ชาน้ำมัน เป็นรายได้หลัก ภายในหมู่บ้านมีโรงผลิตชามากกว่า 30 แห่ง ดอยพญาไพร นับเป็นหนึ่งในทำเลทองของการปลูกชาในจังหวัดเชียงราย เพราะสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศของดอยพญาไพรมีความเหมาะสมเอื้อต่อการปลูกชา ที่นี่มีพื้นที่ไร่ชากว่า 4 หมื่นไร่ ชาวบ้านปลูกชาเป็นขั้นบันไดอยู่ในกลางหุบเขาที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ชาเขียวจากแหล่งนี้มีกลิ่นหอมกลมกล่อม และรสชาติอร่อยกว่าแหล่งอื่น

วงการค้าใบชาทั้งไทยและนานาชาติต่างรู้จักชื่อเสียงของ “ดอยพญาไพร” ว่าเป็นแหล่งปลูกชาเขียวชั้นดีของจังหวัดเชียงราย เครื่องดื่มชาเขียวบรรจุขวดชื่อดังของไทย เช่น โออิชิ อิชิตัน ฯลฯ ล้วนใช้ใบชาเขียวที่ปลูกในพื้นที่ดอยพญาไพรแทบทั้งสิ้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำโครงการ “ชาคืนต้น” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกชาในพื้นที่ดอยพญาไพร ซึ่งเป็นแหล่งปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตใบชารายหลักของอิชิตัน โครงการชาคืนต้น มุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูกตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ดูแลต้นชาในลักษณะเกษตรผสมผสาน ให้ต้นชาเติบโตปลอดสารพิษ สามารถเพิ่มปริมาณการผลิต รักษาคุณภาพวัตถุดิบให้ได้มาตรฐานสากล และสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชนรู้จักการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ “อาข่าคิด” เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชนเผ่า

ชาพญาไพร คว้ารางวัลระดับโลก

ล่าสุด ผลิตภัณฑ์ชาเขียวอัสสัมของ โรงงานชา 1×2 บ้านพญาไพรเล่ามา หมู่ที่ 5 ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยคว้ารางวัล Gold Prize ในเวทีประกวดผลิตภัณฑ์ชาระดับโลก The World Green Tea Contest 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น และผลิตภัณฑ์ชาอู่หลงข้าวฮางงอก ของ บริษัท ชาดี 101 จำกัด จังหวัดเชียงราย ก็ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

คุณเชิดชาย ลาซี เจ้าของโรงงานชา 1×2 บ้านพญาไพรเล่ามา เปิดเผยว่า ดอยพญาไพรปลูกชาอินทรีย์ในวิถีธรรมชาติ ทำให้ใบชามีรสชาติและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และชาที่ปลูกในพื้นที่แห่งนี้ได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ที่ผ่านสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้เข้ามาส่งเสริมความรู้การปลูกและแปรรูปคุณภาพใบชา พร้อมสนับสนุนให้ส่งใบชาเข้าประกวด จนได้รับรางวัล Gold Prize ในเวที The World Green Tea Contest 2020 จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดโดย World Green Tea Association.

ผศ.ดร. ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) กล่าวว่า สถาบันชาและกาแฟ มีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมคิด พัฒนาบรรจุภัณฑ์และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชาร่วมกับผู้ประกอบการ ในการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน จนได้รับรางวัล Gold Prize ในเวทีระดับโลกครั้งนี้ และรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการผลักดันชาไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายสู่เวทีนานาชาติ

พื้นที่ดอยพญาไพรมีสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่เอื้อต่อการปลูกชา เพราะตั้งอยู่บนดอยสูงทำให้อากาศและสภาพดินเหมาะสม ใบชามีรสชาติอร่อย คุณภาพดี สามารถพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในฐานะแหล่งปลูกชาออร์แกนิก ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดทั่วโลก

โดยสถาบันชาและกาแฟสนับสนุนองค์ความรู้แก่ชุมชนตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูก การคำนวณต้นทุนการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคโดยตรง
เพื่อตอบโจทย์การส่งเสริมภาพลักษณ์จังหวัดเชียงราย ในฐานะเมืองแห่งชาและกาแฟ

ที่ผ่านมา สถาบันชาและกาแฟ ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย และสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงรายจัดกิจกรรม “เดือนแห่งชาและกาแฟเชียงราย 2020” เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมายังจังหวัดเชียงรายในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Green Season) โดยรวบรวมร้านชาและกาแฟกว่า 40 ร้าน ที่รังสรรค์เมนูเด็ด (Signature Menu) ให้นักท่องเที่ยวได้ชิมกันอย่างจุใจ ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้ชื่นชอบการดื่มชาและกาแฟ แวะมาท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ (New Normal) สัมผัสประสบการณ์แห่งชาและกาแฟ แบบเชียงราย อย่างลึกซึ้งและประทับใจได้ตลอดทั้งปี

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และพันธมิตร พัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียว “หอมนาคา” ขยายผลสู่เกษตรกร ในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการผลิตข้าวคุณภาพตรงตามพันธุ์

ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า ไบโอเทค สวทช. โดย ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ได้มีการทำงานร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรมของประเทศ โดยเน้นด้านการพัฒนาพันธุ์พืชและการบริหารจัดการการผลิตที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยปัจจุบันไบโอเทค สวทช. เป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์แนวอณูวิธี (molecular breeding) กับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าว ซึ่งเน้นพัฒนาพันธุ์ข้าวตามความต้องการของผู้ผลิต ผู้บริโภค และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเน้นพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ที่ผ่านมา ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย อาทิ ข้าวพันธุ์เหนียวพันธุ์ธัญสิริน ข้าวเหนียว กข 6 ต้นเตี้ยต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ข้าวน่าน 59 และ กข 18 ต้านทานโรคไหม้ ซึ่งเผยแพร่ให้เกษตรกรทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อความมั่นคงในการบริโภคข้าวเหนียวของพื้นที่ และลดปัญหามลพิษจากสารเคมี พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ที่ผลผลิตสูงซึ่งเผยแพร่ให้เกษตรกรในภาคใต้โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร

นอกจากนั้น เผยแพร่ให้เกษตรกรทั้งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงน้อยลงและเพิ่มรายได้ สำหรับข้าวเหนียวหอมนาคา เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือข้าวเหนียวชนิดไม่ไวต่อช่วงแสงในปัจจุบัน เช่น ทนต่อน้ำท่วม ทนแล้ง ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง มีความหอมและนิ่ม เป็นต้น

นอกจากนี้ ไบโอเทค สวทช. ยังได้ทำงานร่วมมือทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนในแง่ของการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมเอง และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในแง่ของการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีไว้ใช้เองอีกด้วย

ด้าน ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา หัวหน้าทีมพัฒนาพันธุ์ข้าวของไบโอเทค ปัจจุบันรักษาการรองผู้อำนวยการไบโอเทค ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมา ไบโอเทค สวทช. นำความเชี่ยวชาญทางด้านจีโนมและเครื่องหมายโมเลกุลมาใช้ในกระบวนการคัดเลือก (Marker-Assisted Selection, MAS) เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้รวดเร็วและมีลักษณะตามความต้องการที่เกื้อกูลการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวของประเทศ เน้นไปที่ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารแก่พื้นที่ที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยได้พันธุ์ข้าวเหนียวนาปีหลายสายพันธุ์ที่ตอบโจทย์ของเกษตรกร ปัจจุบันได้พัฒนาข้าวเหนียวที่เหมาะสำหรับนาปีและนาปรัง คือข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ “หอมนาคา” ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง นอกจากนี้ ยังมีลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ขนาดต้นสูงปานกลาง ทำให้เก็บเกี่ยวได้ง่าย สอดรับกับการทำนาสมัยใหม่และแนวโน้มการทำนาในอนาคตที่เครื่องจักรจะเข้ามาแทนที่

ดร.ธีรยุทธ กล่าวต่อว่า พันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคา สมัครเว็บแทงบอล มีคุณสมบัติเด่นคือ กลิ่นหอม และนุ่มเหนียวเมื่อหุงสุก สามารถปลูกได้ตลอดปี (ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง) เพราะเป็นข้าวไม่ไวแสง มีระยะเวลาในการปลูกประมาณ 130-140 วัน ให้ผลผลิตสูง โดยผลจากการทดลองปลูกพบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือมีผลผลิต 800-900 กิโลกรัม ต่อไร่ และภาคอีสานมีผลผลิตสูงถึง 700-800 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคานี้ ทาง ไบโอเทค สวทช. ได้ยื่นขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรเรียบร้อยแล้ว

ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา มูลนิธิรวมใจพัฒนา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปี 2562 ได้มีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการนำไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย รวมพื้นที่ประมาณ 95 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 807 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยในการปลูกทดสอบครั้งนี้ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐานและตรงตามพันธุ์ โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวใช้เอง และเกิดการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเมล็ดพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมนาคาในอนาคต และในปี 2563 ได้มีการขยายผลการปลูกทดสอบร่วมกับสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด โดยจัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคาให้ทางสหกรณ์จำนวน 400 กิโลกรัม สามารถปลูกได้จำนวน 58 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมปลูกจำนวน 6 คน

ซึ่งทาง ไบโอเทค สวทช. ภายใต้โปรแกรมนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน ได้ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร ดำเนินการอบรมเกษตรกรเรื่อง “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา มีเกษตรกรเข้าร่วมทั้งสิ้น 33 คน เพื่อสร้างความตระหนักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการเพิ่มพูนและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกร ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการผลิตข้าวคุณภาพตรงตามพันธุ์ และมีการบริหารจัดการแปลงที่ดีนำไปสู่การได้รับมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices)