เกษตรกรสวนยางพารา อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

เดิมรับราชการแต่ผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยเริ่มปลูกพืชเชิงเดี่ยว บนพื้นที่ 60 ไร่ จากสวนลิ้นจี่ สวนส้ม ต่อมาประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ประกอบกับ ปี 2547-2549 รัฐบาลมีโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ จึงหันมาปลูกยางพารา โดยขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยาง พันธุ์ RRIM 600 จำนวนกว่า 2,000 ต้น และซื้อเพิ่มด้วยทุนของตนเองอีกประมาณ 2,000 ต้น คิดเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 30 ไร่ และครั้งนี้จึงปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกต้นสัก มะม่วง เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา พร้อมการปลูกไม้ใต้ร่มยาง ซึ่งเลือกเป็นปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าเพิ่มเข้ามา เพราะศึกษาแล้วพบว่า การปลูกพืชที่ให้ผลผลิตหมุนเวียนกันในรอบปี และเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย จะเกิดผลที่ยั่งยืนกว่าการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว

“สวนยางพาราเริ่มเปิดกรีดได้เมื่อ ปี 2559 ผลผลิตเป็นยางก้อนถ้วย ส่งขายทุกๆ 7 วัน ปริมาณผลผลิตที่ขายจะประมาณ 2 ตัน ต่อครั้ง ทำให้มีรายได้ต่อเดือนที่รับจากการปลูกยางพารา ประมาณ 60,000 บาท ในส่วนของพื้นที่ที่เหลืออีกประมาณ 30 ไร่ ได้ขุดบ่อน้ำเพิ่มเป็น 2 บ่อ เพื่อใช้กักเก็บน้ำ และใช้เป็นบ่อเลี้ยงพันธุ์ปลาสวาย ปลานิล ส่วนอีกบ่อ เลี้ยงปลาเบญจพรรณ โดยใช้เวลาในการเลี้ยง รอบละ 6 เดือน จึงจับขาย นอกจากนี้ ผมยังเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 20,000 ตัว เก็บไข่ได้วันละประมาณ 14,000-15,000 ฟอง ขี้ไก่ยังเก็บขายได้อีก วันละ 40-50 กระสอบ ส่วนกาแฟที่ปลูกใต้ร่มยาง จำนวน 30 ไร่ ก็สามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา เก็บจำหน่ายเฉลี่ย 4 เดือน ต่อครั้ง ครั้งละประมาณ 800-900 กิโลกรัม ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 95-100 บาท”

คุณสมจิตร์ บรรณจักร์ บอกด้วยว่า จากการปรับแนวคิดการทำเกษตรเชิงเดี่ยว มาเป็นเกษตรผสมผสาน ยึดตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเกิดจากความเชื่อและความรักในการเป็นเกษตรกร พร้อมทั้งจากการศึกษาหาความรู้มาตลอดชีวิตที่ผ่านมา จึงพบว่า การทำเกษตรที่ยั่งยืน ควรเริ่มจากตัวเกษตรกรเองที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่หวังพึ่งจากผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะการทำเกษตรที่ได้ผลผลิตหมุนเวียนตลอดปี จะทำให้เกิดรายได้ที่มั่นคั่ง และทำให้ชีวิตมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน

เรียนจบโบราณคดี เคยทำงานอยู่กับทีวี บูรพา การที่ต้องมาทำธุรกิจ บนพื้นที่สวนปาล์ม วิชาการที่ร่ำเรียนมาและประสบการณ์การทำงานในสายงานการสื่อสาร จึงแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลยกับการจัดสรรพื้นที่สวนเกษตรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเนิ่นนาน ให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้

คุณเอกจิตรา กฤษณสุวรรณ หรือ คุณเตย วัย 31 ปี เจ้าของสวน Tonphet และเจ้าของเรื่องราวข้างต้น เธอเล่าให้ฟังว่า “สวน Tonphet แห่งนี้ มันเริ่มมาจากการที่มีพื้นที่อยู่แล้ว ประมาณ 10 ไร่ อยู่ที่จังหวัดระนอง เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน พื้นที่นี้เคยเป็นสวนทำพริกไทย แต่ด้วยสภาพพื้นที่ทำให้การปลูกพริกไทยไปไม่รอด เพราะพื้นที่จังหวัดระนองมีฝนมาก แดดไม่เพียงพอต่อการที่จะทำให้พริกไทยแห้งได้ จึงนำเอาปาล์มมาปลูกในพื้นที่นี้แทนตามธรรมชาติ สวนแห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ว่าง ที่คุณพ่อมาใช้พักผ่อนในยามที่แกรู้ตัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เตยตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อกลับมาอยู่บ้านเกิด

ตอนเริ่มต้นที่ตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างที่สวนนี้ ก็ทำเป็นร้านอาหาร การตอบรับถือว่าดีมากๆ แต่มันกลับไม่ตอบโจทย์พื้นที่ ที่เราต้องการให้เป็นจริงๆ เพราะเราขายอาหาร เปิดร้านขาย มันขายดีก็จริง แต่พอมาคิดเรื่องต้นทุน งบประมาณ รายจ่าย โน่นนี่ ความเหนื่อยของครอบครัวเรา แม่เรา มันกลับไม่คุ้มกัน ที่เขาเคยพูดกันว่า ขายดีจนจะเจ๊งมันมีจริงๆ ด้วย เพราะได้เรียนรู้มาแล้ว

เลยต้องกลับมาคิดว่า ตอนที่คุณพ่อป่วยมาอยู่ที่นี่ แกได้อยู่กับธรรมชาติ มีความสุขกับสิ่งแวดล้อม แต่พอมาทำร้านอาหารที่นี่ พื้นที่ตรงนี้กลับทำให้ครอบครัวเราเหนื่อยมาก มันก็ไม่น่าจะใช่แล้ว มันไม่ใช่การมาพักผ่อน ลูกค้ามาเพื่อแค่ทานอาหาร แต่ไม่ได้อะไรจากสิ่งที่เราตั้งใจเลย”

คุณเตยเลยต้องตัดสินใจอีกครั้งว่าต้องยกเลิกเมนูอาหารบางเมนูออกไป ร้านอาหารยังมีอยู่แค่บางส่วนเท่านั้น แต่จะมีไม่มากเท่าเดิม เพราะต้องการชูจุดเด่นอย่างอื่นของพื้นที่แห่งนี้แทน เพราะความพิเศษของพื้นที่ที่นี่คือ มีพื้นที่ติดกับลำธารขนาดใหญ่ มีพื้นที่ที่จะสามารถจัดกิจกรรม ตั้งแคมป์ได้ และมีพื้นที่มากพอที่จะสามารถปลูกผักอย่างอื่นได้ด้วย เธอจึงจัดการบริหารพื้นที่แบบใหม่

โดยการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ในการปลูกพืชผล และจัดสรรพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของที่สวน Tonphet แห่งนี้ใหม่ อีกทั้งยังมีความต้องการที่จะให้ลูก ที่ไม่ได้เกิดร่วมสมัยการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เขาได้เรียนรู้ว่า อาชีพที่พ่อแม่ทำตอนนี้ การทำสวน ทำไร่ ไม่ได้เป็นอาชีพของคนไม่มีเงิน หรือทำอะไรไม่ได้

การแบ่งพื้นที่ ดังนี้ พื้นที่หลักส่วนใหญ่ ที่เป็นสวนปาล์มเดิม ก็ยังอยู่ ปลูกแซมด้วยมังคุด และจัดสรรเอาพื้นที่บางส่วนที่จำเป็นต้องโค่นปาล์มลง เพื่อรับแสงแดด มาปลูกพืช แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ทำแปลงผัก พืชรอบเร็ว 1 ส่วน เช่น ผักบุ้ง คะน้า อื่นๆ หมุนเวียนกันไป, ผักสวนครัว อย่างมะเขือ โหระพา ตะไคร้ 1 ส่วน และอีก 2 ส่วนของพื้นที่ที่เหลือ ก็ปลูกพืชสมุนไพร อย่างพวก ขมิ้น ขิง

คอนเซ็ปต์ใหม่ของสวน Tonphet จึงเป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนและการทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว เหมาะกับกลุ่มคนที่ต้องการพักผ่อนจริงๆ อย่างผู้สูงอายุ ครอบครัว หรือกลุ่มที่ต้องการเรียนรู้ ดูงาน ตั้งแคมป์

สำหรับกิจกรรมของที่นี่ คุณเตย บอกว่า “พอปรับพื้นที่ใหม่ กิจกรรมจึงมีให้ลูกค้าหลากหลายมากขึ้น ที่นี่มีการเวิร์กช็อปต่างๆ เช่น ทำลูกประคบไว้ใช้เอง มีพื้นที่สปา การนวดตัว การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น อย่างโลชั่น ลิปบาล์ม น้ำหอมแห้ง การทำไส้กรอกไข่เค็ม เป็นต้น โดยการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ เตยทำร่วมกับเพื่อนๆ ที่เขาก็กลับมาอยู่บ้านเกิดเพื่อพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ จ.ระนอง และเพื่อนที่รู้จักกัน มาช่วยกันพัฒนาพื้นที่ สร้างกิจกรรมเป็นภาคีร่วมกัน

ซึ่งการทำแบบนี้ ตอบโจทย์สิ่งที่คิดและสิ่งที่ครอบครัวเราต้องการตามคอนเซ็ปต์ที่ว่า พื้นที่สร้างความสุข และการพักผ่อน มันตอบโจทย์มาก คนที่มาที่นี่ได้มาสัมผัสกับธรรมชาติ สิ่งที่เราได้ไม่ใช่แค่เงิน แต่เป็นความสุขของคนที่เข้ามาหาเราที่นี่ด้วย คนในครอบครัวเราได้มาใช้พื้นที่ตรงนี้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน มีความสุข”

ด้านรายได้ที่แน่นอนต้องลดลงมาก เมื่อเทียบกับการเปิดร้านอาหาร แต่พอมาคิดต้นทุน หักลบกันแล้ว รายได้ที่ได้ในปัจจุบัน กลับมีคุณภาพมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สมมติต้นทุน 10 บาท ได้กำไร 2 เท่าของต้นทุน ซึ่งมันอยู่ได้มากกว่าการที่ได้เงินเยอะๆ เสียอีก รายได้ปัจจุบันก็ประมาณ 200,000 บาท คุณเตย บอก ซึ่งความสำคัญในการทำธุรกิจครอบครัวแบบนี้ เราทำธุรกิจ โดยการเป็นเจ้าของบ้าน แน่นอนว่ากำไรไม่ได้เป็นเหตุผลหลักอีกต่อไปแล้วในการทำสวน Tonphet ครั้งนี้

สำหรับใครที่อยากไปสัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติ และการพักผ่อน สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ เชื้อราบิวเวอร์เรีย (Beauveria bassiana) เป็นเชื้อราที่มีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว สามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในร่างกายของแมง และแมลงต่างๆ และสามารถคงอยู่ตามสภาพแวดล้อมได้ยาวนาน

ปัจจุบัน ได้มีการเพาะเพื่อเพิ่มจำนวนสำหรับไปใช้ในด้านการกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร ซึ่งถือว่าเป็นสารชีวภาพชนิดหนึ่งสำหรับกำจัดแมง และแมลงศัตรูพืชต่างๆ อาทิ เพลี้ย ไรแดง หนอน แมลงปากดูด และผีเสื้อชนิดต่างๆ

-ขั้นตอนผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย

1.นำข้าวสาร หรือข้าวเก่า มาซาวในน้ำสะอาด 4 ครั้ง เพื่อล้างมอด ยาฆ่าแมลง ที่ปนเปื้อนออกให้หมด ตากแดดไว้พอหมาด

2.นำข้าวที่ตากไว้ ตักใส่ถุงก้นจีบในปริมาณ 2 ขีดครึ่ง ใส่น้ำเปล่า 25 cc เพื่อไม่ให้ข้าวแห้ง ในขณะที่อยู่ในหม้อแรงดัน

3.ใส่คอขวดที่ปากถุง ใยสังเคราะห์ และปิดฟรอยที่ฝา หลังจากนั้นนำไปนึ่งที่เตาแรงดันเพื่อฆ่าเชื้อ

1 เตา สามารถใส่ข้าวได้ 30 กิโลกรัม นึ่งในอุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส แรงดัน 15 ปอนด์ ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อ 20 นาที ก็จะได้เชื้อที่สะอาด

หลังจากนั้น นำเชื้อที่นึ่งเสร็จไปห้องบ่มเชื้อ การ ฉีดพ่นควรฉีดพ่นในระยะประมาณ 1-2 เดือน/ครั้ง เพราะการเจริญเติบโตของเชื้อราตั่งแต่ระยะเกาะติดกับตัวแมลงจนถึงการแพร่ เส้นใย และสปอร์จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรฉีดพ่นในระยะห่างในช่วงนี้จึงจะดีที่สุด

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว คำพูดที่เรามักจะได้ยินจากคนยุคสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ในยุคก่อน ซึ่งในปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้หาได้ยากเต็มที อย่างที่เขาพูดกันว่า ยิ่งมีความเจริญเท่าไร ความเป็นธรรมชาติก็จะลดลง ผู้คนรักสบายมากขึ้น บวกกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ด้านเกษตรกรรม เกษตรกรก็หันพึ่งสารเคมีในการปลูกพืชผลกันมากขึ้น และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หายไป แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกหลายคนที่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาธรรมชาติ ดังเช่น คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ หันทำเกษตรแบบอินทรีย์ งดใช้สารเคมี ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักไว้กินเอง ได้สุขภาพ มีเงินเหลือเก็บ มีแบ่งปัน

คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อดีตข้าราชการ หันยึดหลักเกษตรพอเพียง อยู่ได้แบบไม่เดือดร้อน

คุณพีระพงษ์ เล่าว่า ตนก็ใช้ชีวิตเหมือนกับคนทั่วไปสมัยเด็กตื่นเช้าหิ้วกระเป๋าไปเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงจบปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ สาขาพืชศาสตร์ จบมาเข้าทำงานที่กรมส่งเสริมการเกษตร 1 ปี

หลังจากนั้น ย้ายมาทำที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม มีหน้าที่ส่งเสริมเกษตรกร แต่คิดว่าสิ่งที่ทำไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร สิ่งที่คิดไว้กับความเป็นจริงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ครั้งตอนที่ทำงานได้มีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชหลายชนิดมาก ทั้งยูคาลิปตัส มะม่วงหิมพานต์ และพืชชนิดอื่นอีกมากมาย ถึงวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกไปดีหรือไม่ดี ได้ผลบ้างหรือเปล่า ในสมัยนั้นสอนชาวบ้านและเกษตรกรด้วยวิธีการเรียกชาวบ้านมานั่งฟังความรู้ มีทีวี 1 เครื่อง เปิดองค์ความรู้ให้ชาวบ้านดู มีวิธีการ

ปลูกฝังแนวคิดให้เกษตรกรต่างๆ นานา เช่น “ถ้าคุณปลูกมันสำปะหลังก็จะจนไปเรื่อยๆ แต่ถ้าปลูกมะม่วงหิมพานต์คุณก็จะรวย” แต่พอปลูกจริงๆ แล้วไม่ได้ เหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาทำให้ผมมานั่งคิดว่าคนที่เรียนเกษตรก็หวังว่าทำงานปลูกพืช แล้วขายเป็นอาชีพได้ดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สังคมเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เราเริ่มสนใจการพัฒนาองค์รวม ในที่สุดก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ เพราะผมใช้ชีวิตแบบพอเพียง คือไม่สร้างหนี้สร้างสิน ไม่ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย จึงกล้าตัดสินใจลาออกจากงานเมื่อปี พ.ศ. 2550 แล้วกลับมาพัฒนาที่ดินของปู่ ย่า ตา ยาย ที่ทิ้งไว้ให้จำนวน 20 ไร่

ลาออกจากงาน ทำเกษตรพอเพียง มีกิน มีใช้ ไม่ขัดสน
คุณพีระพงษ์ มีพื้นที่ในการทำเกษตรทั้งหมด 20 ไร่ แต่ไม่ได้ทำเองทั้งหมด เขาได้แบ่งไว้ทำเพียง 7 ไร่ ที่เหลือแบ่งให้เพื่อนบ้านที่อยากทำเกษตรปลูกพืชผักไว้กินเอง หรือปลูกเป็นอาชีพเสริม ถือว่าแบ่งปันกันไป

เดิมทีพื้นที่ตรงนี้ถือว่าเป็นดินชั้นดี เพราะใช้น้ำจากชลประทานอ่างเก็บน้ำบางพระ เป็นพื้นที่ที่ดีที่สุด แต่ก่อนมีพื้นที่หมื่นกว่าไร่ทำการเกษตร ในปัจจุบันเหลือเพียง 1,000 กว่าไร่ ช่วงแรกที่เริ่มทำเกษตรอินทรีย์ ผมเริ่มจากการทำนา ปลูกข้าวปทุมธานีและข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผ่านมาช่วงหนึ่งต้องประสบกับปัญหาเรื่องน้ำ ตนจึงเริ่มปรับพื้นที่ใหม่จากทำนาเยอะๆ ก็เริ่มเปลี่ยนพื้นที่โดยยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่เป็น 30 : 30 : 30 : 10 มีน้ำ มีข้าวไว้กิน เลี้ยงปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิมไปด้วย มีพืชอื่นเยอะแยะ ได้ความสุขและไม่ต้องเสียเงินไปซื้อ ได้สุขภาพที่ดีด้วย

นอกจากปลูกข้าวและพืชผักสวนครัวไว้กินเองแล้ว ที่สวนของคุณพีระพงษ์ยังได้มีการปลูกพืชอุตสาหกรรมหายากในปัจจุบัน อย่างเท้ายายม่อม ในปัจจุบันการทำแป้งเท้ายายม่อมเกือบจะไม่มีแล้ว เพราะถูกแป้งอุตสาหกรรมเข้ามาแทน ที่จังหวัดชลบุรีพื้นที่ที่ปลูกเท้ายายม่อมเป็นชายทะเล อ่างศิลา เหล่านี้ก็ถูกเมืองเข้ามารุกหมดแล้ว ผมจึงสนใจเอามาปลูกเพื่อศึกษา แปรรูปทำอาหาร เท้ายายม่อมขายในกิโลกรัมละ 300-400 บาท

สำหรับปุ๋ยที่ใช้ดูแลพืชผักภายในสวนจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หาได้เองตามธรรมชาติ อาศัยหาของตามตลาดมาหมักเอง ใบไม้ เศษไม้ กากถั่วเหลือง แกลบ คลุกไว้ไม่ให้เน่า เวลาจะใช้ก็มาตักเอาไปใช้ได้เลย คุณพีระพงษ์ กล่าว

เท้ายายม่อมปลูกอย่างไร

เท้ายายม่อมเป็นพืชที่มีหัว มีใบ 1-3 ใบ แต่ละใบจักเป็น 3 แฉก เว้าแบบขนนก ดอกเป็นช่อยาว แต่ละช่อมีดอกย่อย 20-40 ดอก ผลกลม หัวของพืชชนิดนี้นำไปทำแป้ง ที่เรียกแป้งเท้ายายม่อม เป็นพืชในฤดู พอถึงช่วงฤดูฝนต้นจะงอก แล้วสะสมอาหาร ถึงฤดูหนาวจะยุบ ใบจะเหลือง เราก็เลือกขุดหัวใหญ่ไปใช้ เหลือหัวเล็กเอาไว้สะสมอาหารในหน้าร้อน เมื่อวนกลับมาฤดูฝนหัวที่เล็กมีการสะสมอาหารมาแล้วจะพร้อมขุดไปทำแป้งแปรรูปอาหารอีกครั้ง วันนี้เราต้องรู้ว่าพืชที่เราปลูกทำอะไรได้บ้าง ทำเป็นอะไรคนถึงจะชอบ ซึ่งที่นี่ก็มีนักศึกษามาดูงานเป็นประจำ

ผมก็สอนเด็กทำอาหารจากแป้ง เขาได้ฝึกทำแป้ง ทำอาหารจากแป้งเท้ายายม่อม ลักษณะพิเศษของเท้ายายม่อมจะใสและอยู่ตัว เทียบง่ายๆ ตามท้องตลาดเป็นแป้งจากโรงงานจะอ้างสรรพคุณว่านี่คือแป้งเท้ายายม่อม แต่เมื่อไปดูส่วนประกอบไม่ใช่แป้งท้าวยายม่อมเป็นแป้งที่ทำมาจากมันสำปะหลัง วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ละลายน้ำง่าย ถ้าเป็นแป้งมันสำปะหลังจะมันๆ เมื่อนำไปทำอาหารคืนตัวเร็ว แต่ถ้าเป็นแป้งเท้ายายม่อมแท้จะคืนตัวช้า หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมเกษตรกรไม่นิยมปลูก เพราะสรรพคุณดีขนาดนี้ คำตอบคือมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องดูโรงงาน เพราะสมัยนี้มันสำปะหลังเยอะ พืชหัวไม่ได้มีเท้ายายม่อมอย่างเดียว มีหลายพืช เช่น สาคู มันนก มันเสา มากมาย แต่ก็ลดน้อยหายไปเรื่อยๆ เพราะอุตสาหกรรมเข้ามา แป้งก็ราคาถูก และกระบวนการทำที่ยาก วิธีที่ดีที่สุด ควรปลูกและหาวิธีแปรรูปเอง

คุณพีระพงษ์ พูดทิ้งท้ายอีกว่า การทำเกษตรอินทรีย์นอกจากจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตได้แล้ว สิ่งสำคัญคือเรื่องของสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างผมมีบทพิสูจน์ว่าถ้าอยากให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงต้องหันมาบริโภคผัก-ผลไม้เยอะๆ พยายามเลือกจากแหล่งหรือร้านที่ขายผลผลิตที่ปลอดสารเคมี เพราะผมเองตอนที่ออกจากงานมา ผมมากับยาลดความดัน ยาลดไขมัน ยาลดน้ำตาล แก้โรคเบาหวาน 3 ปีที่ผ่านมา ผมหันมาดูแลตัวเองมากขึ้นด้วยการทำงานออกกำลังกายทำเกษตร ขุดดิน รดน้ำ ดูแลใส่ใจเรื่องอาหารการกิน กินผักที่ตัวเองปลูก ตอนนี้ไม่ต้องพึ่งยาแล้ว พึ่งธรรมชาติดีที่สุด แค่นี้ก็คุ้มแล้วสำหรับทำเกษตรอินทรีย์ เทียบเป็นตัวเงินไม่ได้เลย

สำหรับท่านที่อยากศึกษาการทำเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง ปรึกษาได้ที่ คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ ที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โทร. (081) 428-3948 ยินดีให้คำปรึกษาและเรียนรู้งาน

ช่วงงานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้ อุบลราชธานี ครั้งที่ 9 “อุบล บุ๊ก แฟร์” ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้จัดกิจกรรมเสวนาสัญจร เรื่อง “มะพร้าวน้ำหอม…พืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก” และ “ไผ่ พืชเศรษฐกิจ ที่ต้องปลูก” ดำเนินรายการโดย คุณวิไล อุตส่าห์ เกษตรอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กิจกรรมดังกล่าวมีชาวอุบลฯ และพื้นที่ใกล้เคียงสนใจเข้าฟังเสวนากันอย่างคึกคัก และ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้ถ่ายทอดสดกิจกรรมเสวนาทางเฟซบุ๊กไลฟ์ ปรากฏว่ามียอดผู้ชมผู้ฟังทะลุหลักแสนเช่นกัน

“มะพร้าว” ได้รับการขนานนามว่า เป็นต้นไม้แห่งชีวิต (Tree of Life) มาตั้งแต่สมัยอดีต ประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียและแปซิฟิกต่างใช้น้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหาร ทำยา เครื่องสำอาง มาเป็นเวลานาน เรียกได้ว่า “น้ำมันมะพร้าว” เป็นน้ำมันพืชเก่าแก่ที่สุดในโลก ตามตำราอายุรเวทของอินเดีย ระบุว่า มนุษย์ได้นำน้ำมันมะพร้าวมาใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องสำอาง มานานกว่า 6,000 ปี

เมืองไทยมีการปลูกมะพร้าวมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ยาวนานกว่า 700 ปี คนไทยได้ใช้ประโยชน์จากมะพร้าวกะทิ และสกัดน้ำมันมะพร้าวมาใช้ปรุงอาหารหวานคาวอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกนี้ ที่มีการผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และคุณภาพน้ำมันมะพร้าวของไทยเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ขณะนี้มีการสั่งซื้อน้ำมันมะพร้าวจากต่างประเทศเข้ามามาก จนโรงงานที่มีอยู่ผลิตไม่ทัน โดยเฉพาะเมื่อผลมะพร้าวของไทยขาดตลาดและมีราคาแพงมาก

“น้ำมะพร้าว” เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดกระแสโลกตื่นตัวดื่ม ทำให้ “น้ำมะพร้าว” เพื่อบำรุงสุขภาพเพิ่มมากขึ้นทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย และจีน ทำให้น้ำมะพร้าว กลายเป็นสินค้าขายดีทั่วโลก สร้างแรงจูงใจให้นักลงทุน จาก จีน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมมะพร้าวในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น อ้างอิงจากรายงาน ของ “FAO Statistics” พบว่า ช่วงปี 2547-2557 พื้นที่ปลูกมะพร้าวของโลกเพิ่มจาก 69 ล้านไร่ เป็น 75 ล้านไร่ ผลผลิตเพิ่มจาก 55 ล้านตัน เป็น 61 ล้านตัน โดย 3 ประเทศ ที่ปลูกมากสุด หรือที่เรียกว่า “Big Three” คือ ฟิลิปปินส์ (29%) อินโดนีเซีย (25%) และอินเดีย (17%) ทั้ง 3 ประเทศ ก็มีการขยายพื้นที่ปลูกมะพร้าวเพิ่มขึ้นทุกปี ประเทศไทยปลูกมะพร้าวมากเป็น อันดับที่ 6 แต่ปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดในแหล่งปลูกมะพร้าว ทำให้พื้นที่ปลูกลดลง จาก 1.6 ล้านไร่ เหลือ 1.2 ล้านไร่

“ผศ. ประสงค์ ทองยงค์” อดีตอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นับเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปลูกและปรับปรุงสายพันธุ์มะพร้าวระดับแนวหน้าของเมืองไทย ครอบครัวของท่านปลูกมะพร้าวแกงและมะพร้าวน้ำหอมมานานกว่าร้อยปี มะพร้าวแกงบางต้นมีอายุกว่า 100 ปี และมีลำต้นสูงมาก มะพร้าวน้ำหอมบางต้น มีลักษณะแปลกและแตกต่างจากถิ่นอื่น เนื่องจากมีผลขนาดใหญ่เหมาะต่อการส่งออก บางต้นมีลักษณะผลขนาดใหญ่ เหมือนมะพร้าวแกง แต่ลำต้นเตี้ยมาก บางต้นผลดกและเป็นกะทิ ผศ. ประสงค์ ได้คัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมที่มีลักษณะเด่น จนได้มะพร้าวน้ำหอมลูกผสมพันธุ์ใหม่ จำนวน 4 ชนิด เรียกว่า พันธุ์ รบ.1, รบ.2, รบ.3 และ รบ.4 ซึ่งที่มาของชื่อ “รบ.” ย่อมาจากชื่อ “ราชบุรี” ถิ่นกำเนิดของมะพร้าวนั่นเอง

“รบ.1” เป็นมะพร้าวน้ำหอมลูกผสม ต้นเตี้ยเหมือนมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป ต้นมีขนาดใหญ่คล้ายพันธุ์หมูสี ผลมีขนาดใหญ่กว่ามะพร้าวน้ำหอม รสชาติและกลิ่นเหมือนมะพร้าวน้ำหอม

“รบ.2” เป็นมะพร้าวแกงลูกผสม ที่ต้นมีขนาดใหญ่ ต้นไม่สูงนัก มีเลือดผสมระหว่างมะพร้าวแกงกับหมูสี เหมาะปลูกเพื่อผลิตน้ำมัน คุณสมบัติทั่วไปคล้ายหมูสี แต่โดดเด่นกว่า

“รบ.3” เป็นมะพร้าวน้ำหอมยุคใหม่ที่มาแรงมาก เพราะรวมเอาคุณสมบัติที่โดดเด่น 3 ลักษณะ ไว้ในสายพันธุ์เดียวกัน คือ น้ำหวาน มีกลิ่นหอม เมื่อเก็บในระยะที่เหมาะสม เนื้อมะพร้าวจะนุ่ม เคี้ยวมัน

“รบ.4” เป็นมะพร้าวลูกผสม จากพ่อแม่พันธุ์คือ เว็บคาสิโน พวงร้อยและหมูสีหวาน รบ.4 มีจุดเด่นคือ จั่นยาวใหญ่ ดอกตัวเมียดก เหมาะสำหรับผลิตน้ำตาลมะพร้าว ผศ. ประสงค์ การันตีคุณภาพว่า รบ.4 ให้ปริมาณน้ำตาลมะพร้าวเยอะมากจนล้นกระบอก

ผศ. ประสงค์ กล่าวในเวทีเสวนา เรื่อง “มะพร้าวน้ำหอม…พืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก” ว่า ยุทธวิธีการปลูกและรักษามะพร้าวน้ำหอมให้ได้คุณภาพดี ต้องดูแลใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกพันธุ์ การปลูก การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การเก็บเกี่ยว และด้านตลาด หากใช้มะพร้าวน้ำหอม รบ.1 (ลูกผสมราชบุรี 1) อายุ 10-11 เดือน เข้าสีมันปูเหมาะที่จะนำไปขยายพันธุ์ได้ การขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ เริ่มจากนำผลแก่มาผึ่งลมในโรงเรือนเพาะชำ คัดเลือกพันธุ์ดีมาเพาะชำจะเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

ขั้นตอนการบำรุงรักษามะพร้าวน้ำหอม หลังจากปลูก ถึงช่วงต้นมะพร้าวมีอายุ 2.6 ปี ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 3 ครั้ง ต่อปี แบ่งใส่ครั้งละ 10 กิโลกรัม ต่อต้น ในระยะต้นมะพร้าวมีอายุตั้งแต่ 2.6 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 30 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ปัจจัยการผลิตที่จะทำให้ได้มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพดี ก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่ โดยแหล่งที่ปลูกควรมีความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 70% ดินมีความเป็นกรดเป็นด่างปานกลาง pH 7.6

น้ำ นับเป็นปัจจัยสำคัญ ควรมีแหล่งน้ำไหลเวียนดี มีออกซิเจนสูง น้ำบาดาล ไม่ควรใช้ เพราะมีความกระด้างค่อนข้างสูง นอกจากนี้ แหล่งปลูกควรมีอุณหภูมิคงที่ ประมาณ 30 องศาเซลเซียส หรือบวกลบไม่เกิน 7 องศาเซลเซียส และต้นมะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ต่อวัน ต้นมะพร้าวน้ำหอมที่ปลูก จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ เริ่มเมื่อต้นมะพร้าวที่ปลูกอายุครบ 3 ปี