เกษตรกรสิงห์บุรี เผยเทคนิค ปลูกฝรั่งกิมจูแบบอินทรีย์ ต้นทุน

หลักสิบคุณชยุตม์ โตสำราญ อยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ นักเรียนรู้ พัฒนาสวนไม้ผลจากความรู้ติดลบ สู่สวนไม้ผลอินทรีย์ สร้างผลผลิตคุณภาพ ขายได้ราคาดี ด้วยต้นทุนเพียงหลักสิบ

คุณชยุตม์ โตสำราญ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นเกษตรกรว่า ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ตนเป็นพนักงานประจำของบริษัทญี่ปุ่นมาก่อน ส่วนจุดเปลี่ยนในการหันมาทำอาชีพเกษตรกรรมนั้น เกิดจากที่แม่ป่วยแล้วไม่มีใครดูแล จึงต้องตัดสินใจลาออกจากงานแล้วกลับมาดูแลแม่ ซึ่งในช่วงแรกที่กลับมาต้องยอมรับตรงๆ เลยว่า รู้สึกเคว้งคว้าง เพราะไม่ได้มีการเตรียมตัวหางานรองรับไว้ล่วงหน้า จนบังเอิญได้ไปเจอหนังสือโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ก็ได้ลองหยิบมาอ่านจนเกิดแรงบันดาลใจและเริ่มมองเห็นอนาคตว่าจะเดินไปต่ออย่างไร ซึ่งอนาคตที่มองเห็นนั้นคือ การทำเกษตร ที่ถือเป็นการสร้างแหล่งอาหารขั้นต้น ประจวบเหมาะกับที่บ้านมีพื้นที่ว่างอยู่ 3 ไร่ จึงตัดสินใจทดลองทำเกษตรตั้งแต่นั้นมา

โดยเริ่มต้นจากการทดลองปลูกฝรั่ง จำนวน 30 ต้น ด้วยพื้นฐานความรู้ด้านการเกษตรเป็นศูนย์ รู้เพียงแค่ว่าปลูกแล้วต้องดูแลรดน้ำ ส่วนการดูแลใส่ปุ๋ย หรือการกำจัดโรคแมลงนั้นไม่มีเลย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นไปตามคาด คือปลูกแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะโดนแมลงศัตรูพืชเล่นงาน นี่จึงเป็นประสบการณ์ล้มเหลวครั้งแรกของการทำเกษตร แต่ก็ยังไม่หมดความพยายามไว้แค่นี้

เพียงแค่ต้องหยุดพักการปลูกไว้ก่อน แล้วกลับมาตั้งหลักใหม่ ด้วยการเข้าหาหน่วยงานราชการ เข้าไปขอคำปรึกษาจากเกษตรอำเภอ และแจ้งความจำนงกับทางเจ้าหน้าที่ไว้ว่า หากมีการจัดอบรมที่เกี่ยวกับการปลูกพืชอย่างปลอดภัย การทำสารชีวภัณฑ์ การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง การจัดการระบบน้ำในแปลง รวมถึงการเรียนรู้การจัดการดิน รบกวนให้ทางเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบ เพื่อที่จะเข้าอบรมนำความรู้ที่ได้มาพัฒนา เริ่มปรับปรุงทำสวนใหม่ และหลังจากนั้นไม่นานเจ้าหน้าที่ก็ติดต่อมาว่า มีจัดอบรมในหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ แล้วนำกลับมาทำลองผิดลองถูกกว่า 3 ปี จนประสบผลสำเร็จกับการปลูกพืชผักผลไม้แบบอินทรีย์

“จากที่เคยปลูกฝรั่ง 30 ต้น ได้ผลผลิตไม่ถึง 10 กิโลกรัม ก็เริ่มได้ผลผลิตมากขึ้น เริ่มมีความรู้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 10 เป็น 100 จนถึงปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มกว่า 200 ต้น และที่สำคัญสินค้าได้รับรองมาตรฐานสินค้าปลอดภัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” คุณชยุตม์ กล่าวถึงที่มาของความสำเร็จ

เผยเทคนิคปลูกฝรั่งกิมจูแบบอินทรีย์
ให้ได้ผลผลิตคุณภาพ ตรงใจลูกค้า
เจ้าของบอกว่า รูปแบบการทำเกษตรของตนนั้นทำในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชผสมผสานทั้งไม้ผลและพืชผักสลัด ในส่วนของไม้ผลเลือกปลูกมะละกอฮอลแลนด์ กล้วยหอม กล้วยไข่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และมีฝรั่งกิมจู เป็นสินค้าเด่นของสวน แล้วใช้พื้นที่ว่างใต้ต้นไม้ผลชนิดอื่นๆ ปลูกผักสลัดแซมลงไป ถือเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้านเทคนิคการปลูกฝรั่งนั้น ก่อนปลูกต้องมีการวางแผนจัดสรรพื้นที่ก่อนปลูก เว้นระยะห่างที่พอเหมาะ มีการตัดแต่งกิ่ง แต่งคัดลูกก่อนห่อผล ด้วยวิธีการห่อแบบประณีต ผลผลิตออกมาจะได้คุณภาพ ตรงใจลูกค้า

ขั้นตอนการปลูก
โดยที่สวนจะเลือกปลูกฝรั่งกิมจูเป็นสายพันธุ์หลักเชิงการค้า และนอกจากนี้ยังปลูกสายพันธุ์อื่นๆ ไว้แซมบ้าง ทั้งไร้เมล็ด และฝรั่งสายพันธุ์โบราณ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฝรั่งขี้นก เพื่อรักษาสายพันธุ์เก่าๆ ที่มากคุณค่าไว้ด้วย

การเตรียมดิน…เตรียมล่วงหน้าก่อนปลูก 7-14 วัน ด้วยวิธีการทำปุ๋ยพืชสดโดยการปล่อยหญ้าให้ขึ้นสูง ประมาณ 60-70 เซนติเมตร แล้วตัด จากนั้นใช้น้ำหมักที่เตรียมไว้รดบนหญ้าที่ตัดไว้ แล้วเปิดสปริงเกลอร์รดน้ำบนกองหญ้าและปุ๋ย เพื่อช่วยการย่อยสลาย อุ้มความชื้น และเพิ่มธาตุอาหารให้ต้นพืช ส่วนน้ำหมักที่นำมารดบนหญ้านั้นทำมาจากผลไม้ที่เกิดความเสียหายภายในสวนนำมาหมักเป็นปุ๋ยแล้วฉีดที่พื้นดินในอัตราที่เข้มข้น

เทคนิคการปลูก… เน้นขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน โดยอาศัยการใช้เกสรของฝรั่งไร้เมล็ด เพื่อให้ได้จุดเด่นของฝรั่งไร้เมล็ดที่มีเมล็ดน้อย และรสชาติที่จัดจ้าน มาผสมกับสายพันธุ์ฝรั่งกิมจูที่มีรสชาติหวาน จนเกิดเป็นจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร รสชาติหวานอมเปรี้ยว เมล็ดน้อย ผิวสวย เนื้อกรอบ

ระยะห่างระหว่างต้น… ใช้ระยะ 4×5 เมตร เป็นระยะห่างที่วางแผนไว้เผื่อตอนต้นฝรั่งโตขึ้น จะใช้พื้นที่ใต้ต้นปลูกแซมด้วยผักสลัดไว้สร้างรายได้เสริม ขุดหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เปิดปากกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร ลงต้นพันธุ์ปลูก กลบดินไปแค่ครึ่งหลุม เพราะตอนเริ่มปลูกครั้งแรกฝรั่งจะต้องการน้ำมากในการดูแล น้ำต้องโอบล้อมรอบๆ ต้นทั้งหมด

การดูแล… ดูแลด้วยปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด ตั้งแต่การใช้น้ำหมัก นำเอาพืชผักที่มีสีเขียวมาหมักเพื่อช่วยเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโต ฉีดให้ทางดิน สัปดาห์ละครั้ง เพื่อบำรุงฟื้นฟูดิน และต่อมาเป็นเรื่องของการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ จะใช้ปุ๋ยหมักจากผลไม้ ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของพืชในส่วนของราก ดูแลการออกดอกและผล และช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง ส่วนข้อแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์นั้น ผลลัพธ์จะตรงกันข้าม ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีจะเห็นผลได้ในเร็ววัน แต่ถ้าเป็นปุ๋ยอินทรีย์จะเห็นผลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เป็นผลดีในระยะยาว ยิ่งนานไปยิ่งให้ผลผลิตดก ดินยิ่งดีขึ้น

หากท่านใดสนใจ อยากจะทดลองทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองภายในสวนบ้าง อันดับแรกต้องขอแนะนำว่าให้เริ่มต้นสำรวจสภาพพื้นดินบริเวณที่จะเพาะปลูก ว่าเป็นดินชุดอะไร ดินแต่ละชุดมีธาตุอาหารไม่เหมือนกัน หรือถ้าใครปลูกไปแล้วก็ให้ลองเก็บผลไม้ที่ปลูกมาชิม ว่ารสชาติเป็นแบบไหน ขาดอะไร เพราะเราสามารถที่จะปรุงแต่งรสชาติผลไม้ได้เองโดยการใช้ผลไม้สุกมาหมักทำเป็นปุ๋ยได้ เช่น ผลไม้สุกที่เป็นสีเหลืองจะช่วยในเรื่องของการผลิดอกออกผล

“ยกตัวอย่าง พื้นที่ของผมมีสภาพเป็นดินร่วนปนทราย การปรับสภาพดินช่วงแรกใช้กล้วยเป็นผลไม้ปรับสภาพดิน ในส่วนของต้นกล้วยและหน่อกล้วย นำมาใช้ทำฮอร์โมน ส่วนของหยวกกล้วยเอามาช่วยเร่งขนาดของผล ทำให้ผลใหญ่ ส่วนของปลีกล้วย เอามาหมักช่วยให้ขั้วเหนียว และในส่วนของผลเอามาช่วยเพิ่มความหวาน ที่แนะนำเป็นกล้วยเพราะว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่สามารถหาได้ง่ายทุกพื้นที่”

ระบบน้ำ… มีทั้งระบบน้ำหยดและสเปรย์หมอก เลือกใช้ให้เหมาะสมตามฤดูกาล แต่ถ้าเป็นฝรั่งที่สวนจะใช้ระบบน้ำหยดเป็นหลัก เปิดวันละ 1 ชั่วโมง หรือถ้ายังมีความชื้นอยู่ให้รดแบบวันเว้นวัน เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน และไม่สิ้นเปลืองเวลา

ระยะปลูกถึงเก็บเกี่ยว ฝรั่งจะเริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุได้ประมาณ 8 เดือน หลังปลูก โดยใน 1 ปี จะทำชุดใหญ่ 3 ชุด เฉลี่ยผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 1.2-1.3 ตัน ในกรณีที่ผลผลิตนิ่งแล้ว ถือว่าผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่สู้กับเคมีได้สบาย

เทคนิคการห่อผลแบบประณีต
ลักษณะของผลที่จะห่อ ต้องมีสีเขียว มัน สด ไม่มีตำหนิ
ให้เริ่มห่อตั้งแต่ขนาดผลเท่าเหรียญสิบ
ก่อนห่อต้องตัดแต่งกิ่ง คัดลูกให้เรียบร้อยก่อนห่อ จากนั้นห่อผลชั้นแรกด้วยถุงพลาสติกใหม่ แล้วห่อทับด้วยถุงกระดาษอีกชั้น เพียงเท่านี้ก็จะได้ผลผลิตฝรั่งที่ผิวสวย ลูกไม่เป็นลาย และยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชเบื้องต้นได้ด้วย

ผลิตสินค้าอินทรีย์
มีตลาดรองรับไม่ขาดสาย
เรื่องของการตลาด คุณชยุตม์ บอกว่า ด้วยความที่ผลผลิตของตนมีมาตรฐานสินค้าปลอดภัยอยู่แล้ว จึงหาตลาดได้ไม่ยาก เริ่มจากการเข้าหาหน่วยงานราชการให้เขาแนะนำตลาดจนมีโอกาสได้เข้าไปขายในตลาดเกษตรอินทรีย์ และได้มีการพัฒนาทั้งคุณภาพสินค้า และขยายตลาดมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันผลผลิตของตนสามารถทำส่ง ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในจังหวัดได้แล้ว และนอกจากนี้ยังมีในส่วนของตลาดออนไลน์อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งก็ต้องบอกกันตามตรงว่า ตอนนี้ผลผลิตที่มีอยู่ไม่พอขาย ในอนาคตจึงมีการวางแผนที่จะขยายพื้นที่ปลูกและกำลังที่จะขยายเครือข่ายหาผู้ที่สนใจการทำเกษตรเข้ามาเรียนรู้ในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์ทุกรูปแบบ ส่วนเรื่องรายได้นั้น คิดเป็นรายได้ต่อครอป 3-4 เดือน อยู่ที่ประมาณ 45,000-50,000 บาท ฝรั่งถือเป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ออกผลทั้งปี ปลูกครั้งเดียวเก็บผลผลิตได้นานหลายปี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลที่ดีด้วย

ฝากถึงเกษตรกรทั้งมือเก่าและมือใหม่
“อยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ใครที่มีพื้นที่ทำเกษตรอยู่แล้วแต่ยังทำเป็นเคมีอยู่ก็อยากให้ค่อยๆ ลองปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ดูบ้าง แล้วจะเห็นผลลัพธ์ที่แตกต่าง การทำเกษตรอินทรีย์สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง ที่สวนผมปลูกฝรั่งแบบอินทรีย์ทุกขั้นตอน ต้นทุนการผลิตฝรั่งอยู่ที่กิโลกรัมละไม่เกิน 10 บาท แต่สามารถขายผลผลิตได้ กิโลกรัมละ 30-50 บาท แค่นี้ก็มองเห็นกำไรแล้ว และที่นอกเหนือจากเรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่าการใช้สารเคมีแล้ว เกษตรกรและผู้บริโภคจะได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมาด้วย จึงอยากให้เกษตรกรทั้งมือเก่าและมือใหม่หันมาให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์กันให้มากขึ้น” คุณชยุตม์ กล่าวทิ้งท้าย

จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือที่มีการปลูกงาในช่วงฤดูหนาวขาย เพราะผู้คนนิยมนำไปประกอบอาหารและประกอบการทำขนมต่างๆ กิน เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะหน้าหนาว ชาวบ้านจะทำการปลูกงามน เพื่อนำออกจำหน่ายกันทั้งหมู่บ้าน โดยที่ชาวบ้าน ทุ่งป่าข่า หมู่ที่ 6 ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ก็เป็นหมู่บ้านหนึ่ง ที่มีการปลูกงามน (ไม่ใช่งาดำหรืองาขาว) ซึ่งเป็นงาที่ใช้นำมาประกอบผสมทำเป็นขนมและนำมาตำคลุกข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกิน โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวนี้ เชื่อว่างามนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

งาขี้ม้อน ชื่อสามัญ Perilla ชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla frutescens (L.) Britton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum frutescens L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

งาขี้ม้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน งาปุก (คนเมือง), แง (กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ง้า (ลัวะ), งาเจียง (ลาว), งาม้อน เป็นต้น

ลักษณะของงาขี้ม้อน ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมนๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง

ใบงาขี้ม้อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมเป็นติ่งยาว โคนใบกลม ป้าน หรือตัด ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน ท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ แผ่นใบมีขนนุ่มสีขาวทั้งสองด้าน ตามเส้นใบมีขนอยู่หนาแน่น ท้องใบมีต่อมน้ำมัน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 10-45 มิลลิเมตร และมีขนยาวขึ้นหนาแน่น

ดอกงาขี้ม้อน ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และไม่มีก้าน โคนริ้วประดับมีลักษณะกลมกว้าง ขอบเรียบ และมีขน ส่วนปลายเรียวแหลม ส่วนดอกย่อยจะมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น กลีบดอกเป็นสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดทรงกระบอก ที่ปลายแยกเป็นปาก ยาวประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร ด้านนอกกลีบดอกมีขน ส่วนด้านในมีขนเรียงเป็นวงอยู่กึ่งกลางหลอด ปากบนปลายมีลักษณะเว้าเล็กน้อย ส่วนปากล่างมีหยัก 3 หยัก ปลายมนหยักกลางใหญ่กว่าหยักอื่นๆ โดยเฉพาะหยักนี้ด้านในจะมีขน

เมื่อดอกบานกลีบนี้จะกางออก ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน เรียงเป็นคู่ๆ โดยคู่บนจะสั้นกว่าคู่ล่างเล็กน้อย ก้านเกสรมีลักษณะเกลี้ยง ส่วนอับเรณูมีพู 2 พู ด้านบนติดกัน ส่วนด้านล่างกางออก จานดอกเห็นได้ชัดเจน มีรังไข่ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และมีพูกลมๆ 4 พู ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 2.6-3 มิลลิเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉกและไม่มีขน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก แฉกกลางด้านบนจะสั้นกว่าแฉกอื่นๆ มีเส้นตามยาว 10 เส้น ด้านนอกมีขนและมีต่อมน้ำมัน ส่วนด้านในมีขนยาวเรียงเป็นวงรอบปากหลอด เมื่อดอกเจริญไปเป็นผลแล้ว กลีบเลี้ยงจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

ผลงาขี้ม้อน ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ผลแข็งเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาและมีลายเป็นรูปตาข่าย ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดมีลักษณะกลม

มีรายงานการสำรวจการปลูกงาขี้ม้อนทางภาคเหนือตอนบนพบว่า มีการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนเชิงเขา ผลจากการสำรวจแหล่งปลูกทั้งหมด 10 แห่ง พบว่าต้นงาขี้ม้อนมีทั้งหมด 130 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งเมล็ดขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ และมีสีที่ต่างกัน ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม สีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาว โดยการปลูกงาขี้ม้อนทั่วไปจะปลูกกันในพื้นที่ดอนและอาศัยน้ำฝน

สรรพคุณของงาขี้ม้อน เมล็ดหรือน้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้กินเป็นยาชูกำลัง โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้าเย็น เมล็ดช่วยลดไขมันในเลือด โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้าเย็น ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ด้วยการใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่ม9voเช้า ใบและยอดอ่อนช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้าเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร น้ำมันจากเมล็ดนำมาทอดผสมกับเหง้าไพล ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบสดช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ เมล็ดนำมาบีบเอาน้ำมันใช้เป็นยาทานวด แก้อาการปวดขัดข้อกระดูก เมล็ดนำมาตำใช้เป็นยาประคบแก้อาการข้อพลิก

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของงาขี้ม้อน

น้ำมันงาขี้ม้อน มีโอเมก้า 3 สูงถึงร้อยละ 56 และเป็นโอเมก้า 6 อีกร้อยละ 23 โดยมีข้อมูลที่ระบุว่างาขี้ม้อนเป็นพืชเพียงชนิดเดียวที่มีโอเมก้า 3 และยังมีปริมาณของโอเมก้า 3 มากกว่าน้ำมันปลาจากปลาทะเลน้ำลึกหลายเท่าตัว เพราะปลาแซลมอนอบขนาด 85.05 กรัม จะมีโอเมก้า 3 เพียง 2 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 2.35 เท่านั้น โดยจากการสุ่มตัวอย่างงาขี้ม้อนที่กำลังพัฒนาพันธุ์จำนวน 4 สายพันธุ์ ไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมัน พบว่ามีปริมาณน้ำมันรวม 43-44% และเป็นโอเมก้า 3 11-15% ส่วนเมล็ดงาขี้ม้อนสีขาวขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวม 43.1% เป็นโอเมก้า 3 15.01%, เมล็ดงาขี้ม้อนสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็กมีปริมาณน้ำมันรวม 52.02% เป็นโอเมก้า 3 11.08%, เมล็ดงาขี้ม้อนสีเทาอ่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวมมากที่สุด 55.83% เป็นโอเมก้า 3 12.73% ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ปลูกหรือสายพันธุ์ที่ปลูก

ประโยชน์ของงาขี้ม้อน ใบงาขี้ม้อนสามารถใช้กินเป็นผักสดได้ โดยนำมาห่อข้าว เนื้อย่าง หมูย่าง ห่ออาหารประเภทเมี่ยงปลา หรือใช้เป็นผักแนม หรือใช้กินร่วมกับอาหารประเภทยำ ก็จะได้กลิ่นหอม รสซ่าคล้ายรสมินต์ และใช้ใส่ในซุปกระดูกหมู เมล็ดนำไปคั่วแล้วตำ ใช้กินโดยการนำไปคลุกกับข้าวเหนียว หรือจะนำเมล็ดไปคั่วใส่ในน้ำพริก หรือใช้ตำแล้วคลุกกับข้าวเหนียวกิน หรือจะนำไปคั่วแล้วตำผสมกับข้าวเหนียวผสมเกลือ หรือใช้ทำขนมก็ได้ (เรียกว่าข้าวหนุกงา)

ใบงาขี้ม้อนเป็นอาหารราคาแพงของเกาหลี นอกจากจะสกัดเอาน้ำมันจากเมล็ดแล้วยังสามารถสกัดเอาน้ำมันจากใบสดได้อีกด้วย โดยน้ำมันที่สกัดได้จากใบสดสามารถใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) ที่เป็นสารประเภท Aldehyde ที่เรียกว่า Perilla aldehyde ใบและยอดอ่อนใช้แต่งรสอาหารได้ และในญี่ปุ่นจะใช้เป็นสารแต่งรสชาติ Isomoer ของ Perrilla aldehyde ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นอาหาร น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบงาขี้ม้อนสดมีราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันกุหลาบ และยังมีประสิทธิภาพที่สามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบในอุตสาหกรรมเครื่องหอมอีกด้วย

น้ำมันหอมระเหยจากใบสดสามารถใช้ลดริ้วรอยบนใบหน้าและบำรุงผิวหน้าได้ น้ำมันสกัดจากเมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นอาหารและใช้ทำยาได้ งาขี้ม้อนอุดมไปด้วยวิตามินบี ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุแคลเซียมสูงกว่าพืชผักทั่วไปหลายเท่านัก โดยมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม (คนทั่วไปต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม) งาขี้ม้อนยังมีสารเซซามอล (Sesamol) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและช่วยทำให้ร่างกายแก่ช้าลงอีกด้วย งาขี้ม้อนมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง โดยกรดชนิดนี้มีประโยชน์อยู่หลายอย่าง เช่น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้มีมากจนเกินไป ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดบางชนิด และยังช่วยแก้อาการไม่สบายต่างๆ ที่เกิดจากระบบประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เมื่อยสายตา อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นเหน็บชา มีอาการปวดเส้นตามตัว แขนหรือขา ปัจจุบันมีสินค้าแปรรูปจากงาขี้ม้อนหลายรูปแบบ เช่น ขนมงา งาคั่ว งาขี้ม้อนแผ่น ข้าวหลามงาขี้ม้อน คุกกี้งาขี้ม้อน ชางาขี้ม้อนป่น รวมไปถึงเครื่องสำอางบำรุงผิว เป็นต้น

คุณคำแดง โสยะโน อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งป่าข่า ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา กล่าวว่า ในหมู่บ้านทุ่งป่าข่าจะมีการปลูกงาขี้ม้อนหรืองามน เกือบทุกบ้าน เพราะการปลูกและการดูแลประมาณ 4 เดือนก็ได้ผลผลิตนำออกขายได้ราคา โดยจะขายลิตรละ 100 บาท หรือขายเป็นถุงเล็ก 20 บาท ถุงใหญ่ 50 บาท ซึ่งงาขี้ม้อนหรืองามน จะใช้ในการนำมาประกอบอาหารหรือขนม สำหรับเมนูที่คนทางเหนือนิยมชมชอบกันก็จะนำมาตำแล้วคลุกกับข้าวเหนียว และน้ำตาลหรือน้ำอ้อยกิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวมีรสชาติอร่อยทำให้ร่างกายอบอุ่นแข็งแรง

วิธีการปลูกงาขี้ม้อนหรืองามน เหมือนปลูกพืชทั่วไป ประมาณ 4 เดือนก็จะออกเมล็ด หลังจากนั้น ก็ทำการเก็บเกี่ยวนำมามัดตากจนแห้งแล้วนำมาเคาะตีเอาเมล็ดออกแล้วนำมาฟัดด้วยกระด้งเอาเศษใบออกทิ้ง จนเหลือเมล็ดงา แล้วมานำล้างน้ำสะอาด และตากแดดจนแห้งสนิท บรรจุถุงพลาสติก พร้อมนำไปกินได้หรือเก็บไว้ขายตามท้องตลาด รวมทั้งมีคนมารับซื้อถึงที่บ้าน หากมีผู้ใดต้องการ สอบถามหรือสั่งซื้อสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร.

กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่เฝ้าระวังการระบาดของโรคแอนแทรกโนส สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่ มักพบอาการบนก้านใบและลำต้น มีแผลสีม่วงแดงขนาดเล็กขยายลุกลามไปตามความยาวของก้านใบและลำต้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบริเวณแผลแห้ง ทำให้เกิดรอยคอด หากอาการรุนแรง ต้นจะเหี่ยว และตายในที่สุด อาการบนผล พบแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบขอบแผลสีซีด แผลยุบตัวลง หากอาการรุนแรง แผลจะขยายใหญ่จนทำให้ผลเน่า ในสภาพที่มีอากาศชื้นอาจพบกลุ่มสปอร์สีส้มของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่บริเวณแผล

ส่วนอาการบนไหล จะมีแผลเล็กสีม่วงแดงขยายลุกลามไปตามความยาวของสายไหล ต่อมาแผลที่ขยายยาวจะเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล ทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล เมื่อย้ายต้นจากไหลที่มีการติดเชื้อมาปลูกหากสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรค สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉา ต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว และพบว่ากอด้านในจะเน่าแห้งสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตายในที่สุด

แนวทางในการป้องกันกำจัด สมัคร Royal Online เกษตรกรต้องหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟลูโอไพแรม+ไตรฟลอกซีสโตรบิน 25%+25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟลูโอไพแรม+ทีบูโคนาโซล 20%+20% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในส่วนของแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตสตรอเบอรี่แล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชนำไปทำลายนอกแปลงปลูก และควรเลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค

สวนปาล์มโลก (Palms of The World) เป็นหนึ่งในแม่เหล็กสำคัญของสวนนงนุชพัทยา ที่ดึงดูดคนรักพรรณไม้ต้องหาเวลาแวะเข้าชมพันธุ์ปาล์มแห่งนี้ ทั้งนี้ ทั่วโลกมีสายพันธุ์ปาล์มอยู่ประมาณ 2,600 ชนิด ปัจจุบัน สวนนงนุชพัทยา เก็บสะสมพันธุ์ปาล์มจากทั่วทุกมุมโลกไว้มากถึง 1,567 ชนิด อยู่ในที่เดียวกัน ทำให้สวนปาล์มแห่งนี้กลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักพฤกษศาสตร์จากทั่วโลก

ที่ผ่านมา สวนปาล์มโลก (Palms of The World) ของสวนนงนุชพัทยา เคยใช้เป็นสถานที่รองรับสมาชิกสมาคมปาล์มโลก เข้ามาเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ระหว่างการจัดงานประชุมปาล์มนานาชาติ ปี ค.ศ. 1998 และ ปี ค.ศ. 2012

นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมสายพันธุ์ปาล์มต่างๆ ด้วยบรรยากาศสบายๆ แล้ว ภายในสวนแห่งนี้ยังมีประติมากรรม หอคอย 4 แบบ (Four Towers) หอคอยทั้ง 4 ได้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์จากศิลปะที่มีความสวยงามแบบตะวันตก จำลองจากประเทศลาว พม่า แบบล้านนา และบาหลีของประเทศอินโดนีเซีย ทำให้นักท่องเที่ยวมีมุมภาพสวยๆ สำหรับถ่ายภาพเก็บไว้ในความทรงจำอีกด้วย

ตื่นตากับสายพันธุ์ปาล์มนานาชนิด

คนไทยจำนวนมากนิยมใช้ปาล์มประดับนานาสายพันธุ์ในการประดับตกแต่งสวนสวย เพราะปาล์มเป็นไม้ยืนต้นอายุยืนยาว ลำต้นใหญ่ ได้ทั้งความสวยงามและใช้ประโยชน์ให้ร่มเงา ทรงพุ่มไม่ใหญ่มาก ไม่ต้องดูแลตัดแต่งทรงพุ่มบ่อย ดูแลรักษาง่าย โตช้า ปุ๋ย ยา ก็ใส่นานๆ ครั้ง หากใครรักและชื่นชอบการปลูกปาล์มประดับ ควรหาเวลาแวะมาชื่นชมได้ที่สวนปาล์มโลก (Palms of The World) ภายในสวนนงนุชพัทยาแห่งนี้ ที่มีอาณาจักรสายพันธุ์ปาล์มให้ศึกษาเรียนรู้อยู่มากมาย เช่น