เกษตรกรสุโขทัย ปลูกมะม่วงโชคอนันต์ จัดการดีมีผลผลิตขาย

เกือบทั้งปีคุณเจือ พุ่มทับทิม อยู่บ้านเลขที่ 48/4 หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำขุม อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงโชคอนันต์เป็นอาชีพ แม้พื้นที่ปลูกต้องรอน้ำในช่วงฤดูฝนเพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรท่านนี้ก็ยังสามารถปลูกและสร้างเงินให้กับเขาได้เป็นอย่างดี

คุณเจือ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่มาทำสวนมะม่วงเหมือนเช่นทุกวันนี้ ได้เน้นการปลูกพืชจำพวก ถั่วเหลือง ฝ้าย และทำนาข้าว ด้วยผลตอบแทนที่ได้รับของการเกษตรในรูปแบบนั้น ยังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก จึงมีการคิดเปลี่ยนการปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นภายในใจ

“พืชล้มลุกพวกนั้น ปีหนึ่งปลูก 2 ครั้งเอง ได้เงินมาก็ยังไม่ถึง 5,000 ต่อไร่เลย นี่ยังไม่ได้หักต้นทุนด้วยนะ ก็เริ่มคิดแล้วว่าแบบนี้ไม่ดีแน่ ต้องหาอะไรที่มันได้รายได้มากขึ้น โดยที่เราไม่ต้องมีพื้นที่มากกว่าเดิม แต่รายได้ต้องมีมากกว่าเดิมที่เราทำ ก็ลองปลูกมาหลายอย่าง ช่วงนั้นโชคดีที่ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับมะม่วงโชคอนันต์ ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำขึ้นมาในตอนนั้นเลย” คุณเจือ เล่าถึงความเป็นมาในสมัยก่อน

ซึ่งสวนมะม่วงของเขาเป็นมะม่วงแบบระยะชิด เพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่มากนัก ปลูกประมาณ 150-200 ต้น ต่อไร่ และเน้นตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อไม่ให้ต้นมะม่วงโชคอนันต์สูงมากจนเกินไป ซึ่งสวนมะม่วงที่เขาทำทั้งหมดมีประมาณ 10 ไร่

คุณเจือ บอกว่า ในขั้นตอนแรกนำเมล็ดมะม่วงกะล่อนมาปลูก ใช้สำหรับเป็นต้นตอ ปลูกห่างช่วงประมาณ 3×4 เมตร เมื่ออายุต้นตอได้ประมาณ 1-2 ปี จึงนำยอดกิ่งพันธุ์ของมะม่วงโชคอนันต์มาเสียบยอด

“ช่วงที่เหมาะสมเสียบยอด ก็จะเป็นช่วงต้นตุลาคมจนถึงพฤศจิกายน ช่วงนั้นความเสียหายมันจะน้อยหน่อย เพราะว่าเราเสียบทีเป็นหลักพันต้น ประมาณปลายกุมภาพันธ์ไอ้ที่เราเสียบยอดไปก็เตรียมออกดอกมีลูกพอให้ติดลูกขายได้นิดหน่อย” คุณเจือ กล่าว

เนื่องจากการทำสวนมะม่วงของคุณเจือเป็นแบบปลูกเลี้ยงตามธรรมชาติ รอฝนตกตามฤดูกาล ไม่ได้มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ภายในสวน การดูแลจึงต้องเน้นฉีดพ่นยาเพื่อป้องกันแมลง แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะเริ่มมีการใส่ปุ๋ย และต้นมะม่วงที่มีทรงพุ่มใหญ่ ขนาด 1 เมตร ก็จะมีการราดสารเพิ่มเข้ามาอีกขั้นตอนหนึ่ง

“สวนของผมจะใส่ปุ๋ยช่วงต้นฝน แล้วอีกครั้งจะเป็นช่วงใกล้หมดท้ายฝน เท่ากับว่าเราใส่ปุ๋ย ปีละ 2 ครั้ง ส่วนต้นที่เป็นพุ่มใหญ่ ประมาณ 1-2 เมตร เราก็จะมีการราดสารประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะว่ามะม่วงที่สวนปลูกต้นที่มีขนาดไม่เกิน 2 เมตร ซึ่งเดือนกรกฎาคมนี่ถือว่าทำพร้อมกันเลย ทั้งตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ราดสาร” คุณเจือ อธิบาย

ปุ๋ยที่ใช้สำหรับใส่ต้นมะม่วงโชคอนันต์ที่สวนของคุณเจือ เป็นสูตรเสมอ 15-15-15 ใส่ในอัตรา 0.5 กิโลกรัม ให้กับต้นมะม่วงที่มีขนาดทรงพุ่ม 1 เมตร โดยดูให้เหมาะสมกับทรงพุ่ม ถ้าทรงพุ่มมากกว่า 1 เมตร อัตราการใส่ปุ๋ยก็มากตามไปด้วย

“หลังจากที่เราดูแลเสร็จ ทั้งตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ราดสาร หลังจากราดสารได้เดือนครึ่งถึง 2 เดือน ก็จะเริ่มมีช่อดอกออก การออกดอกก็จะขึ้นอยู่กับการตัดแต่งกิ่ง ถ้าตัดแต่งเยอะไปดอกก็จะออกช้า ต้องตัดแต่งให้พอดี คราวนี้พอออกดอกก็จะออกไม่ค่อยพร้อมกันเท่าไร เราก็ต้องทยอยดูแลดอก แล้วก็เก็บผลกันทั้งปี เลยทำให้มะม่วงที่นี่สามารถขายได้ทั้งปี และก็แก้ไขไปตามสภาพปัญหาที่เจอแต่ละปี” คุณเจือ กล่าว

ปี 2540 โรงงานที่ทำมะม่วงแปรรูปยังเน้นใช้มะม่วงแก้วมากกว่ามะม่วงโชคอนันต์ ต่อมามะม่วงแก้วมีจำนวนน้อยลง แต่โชคอนันต์กลับสวนทางกลับกันคือมีปริมาณที่มากขึ้น ทำให้มะม่วงโชคอนันต์จากที่จำหน่ายให้แม่ค้าเพื่อนำไปทำเป็นยำประกอบอาหารเพียงอย่างเดียว สามารถตีตลาดเข้าโรงงานแทนมะม่วงแก้วอย่างดีเยี่ยม

“พอมะม่วงโชคอนันต์เป็นที่ต้องการของตลาด สรุปมะม่วงที่นี่ขายได้ทุกลูกไม่มีทิ้งเลย ไม่ว่าลูกเล็กลูกน้อย ก็สามารถขายได้ ถูกบ้างแพงบ้าง อยู่ที่ความพอใจของเรา โรงงานที่มารับซื้อก็มีอยู่หลายจังหวัดทางราชบุรี นครปฐม เขาก็จะให้ชาวบ้านแถวนี้เป็นที่รวบรวม ถึงเวลารถโรงงานก็มารับ ทางเราก็มีหน้าที่เก็บผลผลิตส่งให้คนรับซื้อในหมู่บ้านเอง” คุณเจือ เล่าถึงขั้นตอนการส่งจำหน่าย

คุณเจือ บอกว่า เรื่องราคาของมะม่วงโชคอนันต์ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาล มีแพงบ้างถูกบ้างแล้วแต่ช่วง ราคาต่ำสุดที่จำหน่าย อยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท และช่วงที่ได้ราคาสูง อยู่ที่กิโลกรัมละ 24 บาท

“ช่วงที่มีมะม่วงออกเยอะ ราคาต่ำลงมา กิโลกรัมละ 4-5 บาท ก็มี ส่วนที่ได้แพงก็จะเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้นที่ขายได้ แต่เอาง่ายๆ ว่า สามารถขายได้หมด ไม่ว่าจะช่วงมากช่วงน้อยไม่มีเหลือบนต้นเลย ยิ่งบางช่วงก็มีคนมารับซื้อไปขายที่มาเลเซียด้วย” คุณเจือ เล่าเรื่องกลไกการตลาด

ทั้งนี้ คุณเจือ กล่าวเสริมให้แง่คิดว่า การทำสวนมะม่วงในปัจจุบันนี้อยากให้ผู้ที่กำลังทำสวนอยู่ หรือผู้ที่กำลังคิดเริ่มที่จะทำ ควรมีการศึกษาหาข้อมูลวิทยาการใหม่ๆ อยู่เสมอ จะผลิตแบบสมัยก่อนไม่น่าจะเป็นผลดีมากนัก เพราะระบบการค้าขายเริ่มมีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ถ้าหากชาวสวนทำดีแบบมีมาตรฐาน ผลผลิตที่ได้ก็จะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย นับว่าเป็นการต่อยอดเพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีในอนาคต

มะตูม เป็นไม้ผลเศรษฐกิจ เป็นพืชสมุนไพรที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชื่อเรียกว่า หมากตูม ภาคเหนือมีชื่อเรียกว่า มะปิน ภาคใต้มีชื่อเรียกว่า กะทันตาเถร ตูม และตุ่มตัง

มะตูม เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั้งแบบหัวไร่ปลายนาและปลูกในเชิงธุรกิจ มีการนำผลไปฝานตากแห้งทำเป็นน้ำมะตูม หรือทำเป็นมะตูมเชื่อม ส่งผลให้ทั้งผู้ปลูกและผู้แปรรูปมีรายได้ วันนี้จึงนำเรื่อง มะตูม ไม้ผลเศรษฐกิจสร้างรายได้เงินแสน วิถีที่ก้าวสู่ความมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณลุงสละ นิรากรณ์ เกษตรกรปลูกมะตูม เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ปลูกพืชผสมผสาน 9 ไร่ ได้จัดการพื้นที่ปลูก พืชผักสวนครัว เช่น มะนาว ข่า ตะไคร้ และพริก หรือปลูกดอกหงส์เหิน ปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน มะยงชิด เงาะ ลองกอง มะขามหวานและมะตูม การปลูกพืชผสมผสานจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการผลิตและด้านการตลาด มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวต่อเนื่องและมีรายได้ตลอดปี

มะตูม เป็นพืชเศรษฐกิจพื้นบ้านที่ปลูกง่าย โตไว ได้ปลูกเป็นพืชผสมผสาน 200 ต้น หลังการปลูกได้ปฏิบัติดูแลรักษาให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี เมื่อเข้าสู่ปีที่ 4 หรือ 5 ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายเป็นรายได้ สำนักงานเกษตรอำเภอพระพุทธบาท และอีกหลายหน่วยงานได้ส่งเสริมให้ปลูกพืชผสมผสานในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตมะตูมคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภค

มะตูม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงมีลักษณะกลม เปลือกสีเทาค่อนข้างเหนียว สูง 8-15 เมตร มีหนามแข็งยาว 2-3.5 เซนติเมตร ขึ้นตามกิ่งทั่วลำต้น มีทั้งหนามคู่และหนามเดี่ยว

ราก เป็นระบบรากแก้ว ลักษณะกลม แทงลึกลงไปในดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆ ออกรอบๆ สีน้ำตาล รากช่วยยึดกับดินให้ต้นแข็งแรงมั่นคง และหาอาหารไปเลี้ยงต้นมะตูมให้เจริญเติบโตสมบูรณ์

ใบ เป็นใบประกอบ โคนก้านใบใหญ่ ใบออกเรียงเวียน มี 3 ใบย่อย ลักษณะทรงรีเล็กๆ โคนใบมนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน หรือสีชมพูมีขนอ่อนๆ ใบแก่มีสีเขียวเรียบมัน มีกลิ่นหอม

ดอก จะออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกสั้นเป็นกระจุก มีดอกย่อย ลักษณะทรงกลมเล็กๆ มี 5 กลีบ สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองนวล เกสรเป็นเส้นเล็กๆ สีเหลืองนวล และมีกลิ่นหอม

ผล มีลักษณะกลมรี ผิวเรียบ ผลอ่อนเปลือกสีเขียว ผลแก่เปลือกสีเขียวอมเหลือง ผลแก่สุกเปลือกสีเหลือง เปลือกหนาค่อนข้างแข็ง เนื้อภายในเปลือกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม มีเมล็ดเรียงเป็นวงกลมรอบแกนผล ข้างในมียางใสเหนียวหุ้มเมล็ด กลิ่นหอม รสชาติหวานอร่อย

เมล็ด เนื้อภายในผลมีเมล็ดเรียงเป็นวงกลมรอบแกนผล เมล็ดมีลักษณะทรงรีแบน มีเส้นใยนุ่มหุ้มอยู่ สีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ ต้นมะตูมขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบกิ่ง เมื่อเพาะได้ต้นที่สมบูรณ์จึงนำไปปลูก การปลูก มะตูม เป็นพืชทนทานความแห้งแล้ง ปลูกได้ทุกฤดู เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ดินมีความชื้นพอเหมาะ ไม่ชอบให้น้ำขัง ที่นี่ปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถว 6×6 เมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 1 ศอก หรือ ด้านละ 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกแห้งหรือปุ๋ยหมัก แล้วนำต้นพันธุ์ลงปลูก ผูกยึดติดกับไม้หลักป้องกันการโค่นล้ม เกลี่ยดินกลบ ให้น้ำแต่พอชุ่ม

การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 ปีละ 2 ครั้ง อัตรา 3-5 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านให้รอบทรงพุ่ม ให้น้ำพอชุ่ม และต้นมะตูมหรือไม้ผลอื่นที่ปลูกแบบผสมผสานจะได้รับปุ๋ยธรรมชาติที่เกิดจากใบไม้กิ่งไม้แห้งร่วงหล่นลงมาทับถมกัน แล้วเกิดการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยที่ทำให้ไม้ผลเจริญเติบโตได้ดี และทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

การให้น้ำ พื้นที่ปลูกต้องมีการระบายน้ำได้ดีและน้ำไม่ขังแฉะ ในระยะแรกหลังจากปลูกมะตูมได้ให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นมะตูมเจริญเติบโตแข็งแรง ให้น้ำน้อยลง หรือจะให้น้ำพร้อมกับการให้น้ำไม้ผลอื่นๆ หรือในฤดูฝนก็ปล่อยให้ได้รับน้ำจากน้ำฝน เมื่อต้นมะตูมได้รับน้ำอย่างพอเพียง ได้รับแสงแดดเหมาะสมก็จะเจริญเติบโตติดผลดก

การเก็บเกี่ยว เมื่อต้นมะตูมอายุ 4-5 ปี มีการเจริญเติบโตเหมาะสมก็เริ่มติดดอกและออกผลสีเขียวขนาดเล็กๆ เท่ากับหัวไม้ขีดไฟ และจะเจริญเติบโตไปเป็นผลแก่สุก ในระยะแรกต้นมะตูมจะให้ผลผลิตน้อย แต่จะให้ผลผลิตมากขึ้นเมื่อต้นมีอายุ 7 ปีขึ้นไป การเก็บเกี่ยวได้เลือกตัดเก็บเฉพาะผลที่แก่สุกตามช่วงอายุ เพื่อนำไปบริโภคหรือจำหน่าย

ตลาด พ่อค้า-แม่ค้า เจ้าประจำ บางรายจะเข้ามาสั่งจองไว้ตามจำนวนที่ต้องการโดยไม่ต้องวางมัดจำ เมื่อถึงเวลานัดหมายผู้ซื้อพร้อมทีมงานก็เข้ามาตัดเก็บผลมะตูมด้วยตนเอง แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดคือ ต้องตัดเก็บเฉพาะผลมะตูมที่แก่สุกเท่านั้น เมื่อเก็บผลผลิตได้แล้ว จะนำมาชั่งน้ำหนักและรับซื้อไปที่ราคา 10 บาท ต่อกิโลกรัม มะตูม 1 ต้น จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัม ถ้าขาย 10 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้เฉลี่ย 5,000 บาท ต่อต้น แต่ละปีต้นมะตูมให้ผลผลิตต่อต้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาด้วย ส่วนราคาซื้อขาย ขึ้น-ลง จะเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด

คุณลุงสละ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า มะตูม เป็นพืชสมุนไพรที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มีฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี มีแคลเซียม และโพแทสเซียม ผลดิบ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลหรือลดความดันโลหิตสูง

ผลสุก บำรุงหัวใจหรือป้องกันโรคความจำเสื่อม

เปลือกมะตูม ใส่น้ำต้มเพื่อดื่มแก้ท้องเสีย รักษาลำไส้อักเสบ

รากมะตูม ช่วยรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ใบมะตูม พราหมณ์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและเป็นมงคล นำไปถวายพระมหากษัตริย์สำหรับทรงใช้ในการพระราชทานน้ำสังข์ หรือบางตำราถือว่าใบมะตูมที่มีลักษณะ 3 แฉก เป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บางตำราถือว่าคล้ายพระแสงตรี ซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์

จากเรื่องราว มะตูม ไม้ผลเศรษฐกิจสร้างรายได้เงินแสน วิถีที่ก้าวสู่ความมั่นคง เป็นการปลูกมะตูมแบบผสมผสาน ทำให้ลดทุนการผลิต มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและทำให้ตลอดปีมีรายได้เงินแสนบาทที่สร้างความมั่นคงให้ครอบครัว ธ.ก.ส.จับรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ จัดเต็มแจกรถยนต์ 18 รางวัล และทองคำรูปพรรณ เส้นละ 1 บาท 100 เส้น รวมมูลค่ากว่า 14 ล้านบาท พร้อมนำกองทัพศิลปินมากมายส่งมอบความบันเทิง ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี 7 มีนาคมนี้

วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2563) ณ โรงแรมเซ็นทารา และคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ อุดรธานี นายกษาปณ์ เงินรวง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.จะจัดงานจับรางวัล ออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจำปีบัญชี 2562 ให้ลูกค้าผู้ฝากเงินกับบัญชีออมทรัพย์ทวีโชค สมุดบัญชีเงินออมสีแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ธ.ก.ส. จัดทำเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป และเกษตรกรลูกค้าได้ออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต โดยสามารถฝากสะสมเงินได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อครบทุก 2,000 บาท และฝากติดต่อกัน 3 เดือน จะได้สิทธิ์ลุ้นจับรางวัลในระดับจังหวัดปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนสิงหาคม และเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในปี 2562 ของรางวัลในการจับรางวัลทวีโชคทั่วประเทศ มูลค่ารวมกว่า 1,300 ล้านบาท ประกอบด้วย รถยนต์ จำนวน 580 คัน รถจักรยานยนต์ จำนวน 5,539 คัน รางวัลทองคำน้ำหนักรวม 5,900 บาท และของรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย และจับรางวัลในระดับประเทศอีกปีละ 1 ครั้ง โดยปัจจุบันเงินฝากดังกล่าว มีผู้ร่วมออมทั่วประเทศแล้วกว่า 17 ล้านบัญชี จำนวนเงินกว่า 334,000 ล้านบาท

นายกษาปณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับรางวัลในกิจกรรมมอบโชคระดับประเทศในครั้งนี้ ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 รถยนต์ อีซูซุ มิวเอ๊กซ์ จำนวน 3 คัน รางวัลที่ 2 รถกระบะ 2 ประตู อีซูซุ รุ่นสปาร์ค จำนวน 15 คัน และรางวัลที่ 3 ทองรูปพรรณ น้ำหนักเส้นละ 1 บาท จำนวน 100 เส้น รวมทั้งสิ้น 118 รางวัล มูลค่ากว่า 14 ล้านบาท นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมความบันเทิงจากศิลปินมากมาย นำโดยเท่ง เถิดเทิง ตุ๊กกี้ นางสาวส่า และศิลปินไมค์ทองคำ แบบยกค่าย ไม่ว่าจะเป็นจ่อย รวมมิตร ป๊อบปี้ ปรัชญาลักษณ์ นัน อนันต์ ซัน วงศธร หมิว เขมจิรา ฟอร์ม ชลพิพรรธน์ และ วิทย์ สุวิทย์ จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมเป็นสักขีพยานและร่วมลุ้น ร่วมสนุกกับกองทัพศิลปินดาราที่มาให้ความบันเทิง เข้าชมได้ฟรี เริ่มตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป ในวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี

วันนี้ได้รับการเชิญชวนจาก คุณขจรศักดิ์ เบ็ญชัย อาชีพทนายความ และอดีต ส.อบจ. สกลนคร เขตอำเภอวานรนิวาส และทำการเกษตร ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ให้เดินทางไปชมแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในพื้นที่บ้านห้วยแสง ตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สิ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นคนรุ่นหนุ่มสาว หลังเรียนจบมักจะทำงานราชการ แต่กลับมาปลูกพืชผัก ส่งขายรายได้เลี้ยงครอบครัวและเป็นรายใหญ่ของสกลนคร

จุดนัดพบกันอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คุณขจรศักดิ์ เบ็ญชัย ได้ให้เกียรติขับรถมารับ ในเช้าวันนี้ วันที่อากาศขมุกขมัว ท่ามกลางอากาศที่เปื้อนฝุ่น พี เอ็ม 2.5 (PM 2.5) รุนแรง ในสภาวการณ์ฝุ่นละออง ต้องสวมเครื่องกันฝุ่น เพื่อความปลอดภัย จากสภาพที่เห็นในปัจจุบัน สภาพแล้งร้อนเริ่มรุมเร้าและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ

หลังจากเตรียมตรวจสอบอุปกรณ์ครบ คุณขจรศักดิ์ ทนายความที่ชื่นชอบการเกษตรเป็นผู้ทำหน้าที่สารถีเอง มุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ราว 30 นาที หลุดออกมาจากตัวเมืองสกลนคร เข้าสู่เขตอำเภอพรรณานิคม มองสองฟากฝั่งข้างถนน มีบางช่วงจะพบกับคลองชลประทานจากเขื่อนน้ำอูน เห็นน้ำในคลองไหลรินเอื่อยๆคาดการณ์ว่าน่าจะมีน้ำน้อย ประกอบกับปีนี้ทางเขื่อนประกาศการจัดการบริหารน้ำให้กับกลุ่มเกษตรกร และเกษตรกร หากพื้นที่ใดน้ำไม่ถึงหรือลำบากก็ควรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพราะจะเป็นการประหยัด ส่วนพื้นที่นาปรังก็ต้องมีการจำกัด ทั้งนี้ จากนโยบายของทางรัฐบาลในการบริหารจัดการน้ำให้มีคุณค่าประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

หากมองไปทางซ้ายมือ UFABET จะมองเห็นเทือกเขาภูพานทอดยาวขนาน หมอบสงบนิ่ง มีเมฆปกคลุมบางส่วน มองแล้วเพลินตา แต่ซ้ายมือเรื่อยมาจนถึงพื้นที่อำเภอพังโคน จะพบบางแห่งมีการปลูกข้าวนาปรัง สลับกับการปลูกพืชฤดูแล้ง มะเขือเทศ ถั่วลิสง แต่ก็บางตา …

จากสกลนครมาถึงสี่แยกอำเภอพังโคน ราว 54 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวา ตามเส้นทาง อำเภอพังโคน จังหวัดบึงกาฬ ผ่านตัวอำเภอวานรนิวาส อีกราว 13 กิโลเมตร ก็ถึงบ้านห้วยแสง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

พบกับ คุณวาฤทธิ์ นันบุญตา อายุ 35 ปี เจ้าของ “อธิพงศ์” ฟาร์ม และ คุณอธิพงศ์ นันบุญตา สามี กำลังจัดเตรียมผักส่งลูกค้าที่จังหวัดอุดรธานี คุณวาฤทธิ์ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้น เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สาขาสัตวบาล จากนั้นพอจบก็ไปทำงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ดูแลฟาร์มสัตว์เลี้ยงให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง อยู่ประมาณ 3 ปี และได้พบกับ คุณอธิพงศ์ สามี จากนั้นคิดว่าการทำงานเป็นพนักงานบริษัทนั้นคงไม่นาน เพราะคิดอยากจะทำธุรกิจเป็นของตนเอง ประกอบกับคุณอธิพงศ์ชอบทางการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว โดยเฉพาะการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เขามีความรู้และทำมานาน จึงตัดสินใจลาออกและพร้อมกันกลับสู่บ้านเกิด และอาศัยที่มีพื้นที่จากที่มีอยู่ จำนวน 18 ไร่ ตัดสินใจลงทุนทำฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยลงทุนครั้งแรกเพียงเงินจำนวน 300,000 บาท

โดยจัดทำโรงเรือน ระบบน้ำ ผักที่ปลูกก็เริ่มทยอยจำหน่าย มีทั้ง ผักบุ้ง ผักสลัด มะเขือเทศ มีหลากหลาย โดยในช่วงปีแรก ส่งขายแทบไม่ทันตลาด ต่อมาได้ขยายพื้นที่ และมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรปลูกผักลอยน้ำขึ้น

มีสมาชิก พร้อมทั้งได้ขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เป็นแหล่งเงินทุนนับล้านบาท เพื่อมาลงทุน บนเนื้อที่ 18 ไร่ และถือได้ว่าเป็นการลงทุนครั้งใหญ่

คุณอธิพงศ์ เล่าว่า การปลูกผักแบบนี้ต้องมีใจรัก และต้องศึกษาก่อน ข้อดีคือ ไม่ต้องปลูกที่ดิน ผักสะอาดปลอดภัย ยอมรับว่า กว่า 5 ปี ที่ทำมา ทุกปีจะมีรายได้พอให้ลูกน้อง 4-5 คน อยู่ได้ แต่ปีนี้ ในช่วงหนึ่งที่ผักจากต่างประเทศ เช่น จีน เข้ามาทำให้ผักมีราคาตกต่ำมาก ราคาครึ่งต่อครึ่ง ต้องทำใจ อยากให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หันมาดูแลในส่วนนี้ด้วย ทุกวันนี้ จากที่เคยจำหน่ายได้วันละนับแสนบาท ลดลงมามาก มากจนน่าตกใจ และเรื่องราคาต้องสู้กับผักที่ไหลเข้ามา ส่วนที่ได้เปรียบคือ ผักของเราปลูกในประเทศและจำหน่ายแบบมีคุณภาพ