เกษตรกรเมืองอุบลฯ ปลูกเงาะ ได้ผลดี ฟันกำไรงาม

ลุงเสงี่ยม สีสันต์ อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อาชีพหลักสมัยก่อนโน้น ที่ลุ่มแบ่งทำนา สูงขึ้นมาหน่อยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก่อนปี 2535 มีคนชวนลุงเสงี่ยมไปเป็นเพื่อนเพื่อซื้อเงาะจากจังหวัดจันทบุรีมาขาย ลุงชอบ เพราะได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ เรื่องเงินทองรายได้ไม่ได้คิด หลายครั้งหลายหนที่ไปเห็นต้นเงาะของชาวสวนเมืองจันท์สุกแดงเต็มต้น จึงอยากปลูก

ที่อยากปลูกเนื่องจากท้องถิ่นอำเภอน้ำยืน อยู่ชายแดนติดกับกัมพูชา ดินดี ฝนตกดี ที่สำคัญ ลุงมีความขยันหมั่นเพียร ความรู้ และวิธีการปลูกน่าจะหาทางศึกษาได้ ลุงเสงี่ยม มีประสบการณ์เรื่องราคาข้าวโพด ช่วงเก็บผลผลิตขาย บางปีพออยู่ได้ แต่บางปีขาดทุน เมื่อไปเห็นเขาปลูกเงาะที่เมืองจันท์ จึงตัดสินใจปลูกเงาะโรงเรียนบนที่เนินใกล้บ้าน

ทางเจ้าหน้าที่เกษตรแนะนำว่า งานปลูกไม้ผลควรขุดหลุมให้ลึก แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ควายเก่าๆ ลุงตัดสินใจปลูกเมื่อปี 2535 ช่วงนั้นการทำนายังใช้ควายตัวเป็นๆ ยังไม่ใช้ควายเหล็ก ปุ๋ยคอกจึงหาได้ง่าย

สำหรับระยะปลูก ระหว่างต้นระหว่างแถว 8 คูณ 8 เมตร พื้นที่ไร่หนึ่งจึงปลูกได้ 25 ต้น พืชอื่นที่ปลูกมี ทุเรียน ลองกอง สะตอ หลังๆ มีขนุนเข้ามาเสริม ส่วนนาก็ยังทำอยู่ ปลูกไปได้ 3 ปี เงาะเริ่มมีดอกออกมาให้เห็น สร้างความมั่นใจให้กับครอบครัวสีสันต์อย่างมาก

จนถึงปีที่ 4 ลุงเสงี่ยมและภรรยา คือ คุณป้าภัสสร สามารถเก็บผลผลิตเงาะไปจำหน่ายได้ ทุเรียนที่ปลูก เข้าสู่ปีที่ 5 มีผลผลิต จากนั้นลองกองก็ตามมา แต่ทุเรียนและลองกอง ปลูกไม่มากนัก
มีเงาะโรงเรียนที่ปลูกมาก ทุกวันนี้มีอยู่ 120 ต้น อายุ 25 ปี ผลผลิตที่เก็บได้ 200-300 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ปริมาณผลผลิตแต่ละปีมากบ้างน้อยบ้าง เก็บได้ – 280 กิโลกรัม ต่อต้น

ปลูกและดูแลอย่างไรจึงจะได้ผลดี

เงาะโรงเรียนกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การดูแลและปัจจัยการผลิตแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ขณะที่รายได้ก็แตกต่างกัน ลุงเสงี่ยม เรียนรู้การปลูก การดูแลรักษา จากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน เมื่อเขาอบรมความรู้การเกษตรที่ไหน ลุงไม่เคยขาด นั่นเป็นเหตุการณ์เมื่อก่อน ปัจจุบัน มีคนแวะเวียนมาเรียนรู้วิธีการปลูกเงาะโรงเรียนกับลุง ทีมงานนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านก็ได้ความรู้และวิธีการมาเผยแพร่

วิธีการดูแลรักษาเงาะโรงเรียนนั้น ลุงอธิบายไว้ดังนี้ หลังเก็บเกี่ยว…อยู่ราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เจ้าของตัดแต่งกิ่งให้ ตัดออกราว 30 เปอร์เซ็นต์ ที่ขาดไม่ได้คือปลายกิ่งที่ให้ผลผลิต ต้องตัดเพื่อให้แตกยอดใหม่ จากนั้นใส่ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม ต่อต้น ที่ขาดไม่ได้คือขี้วัว จำนวน 1 กระสอบปุ๋ย ขี้วัวจำเป็นมาก เพราะจะช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดี จะมีอยู่ไกลแค่ไหน หายากอย่างไร เจ้าของต้องนำมาใส่ให้กับเงาะโรงเรียน ช่วงนี้เรื่องน้ำไม่ต้องห่วงเพราะฝนตกดีอยู่แล้ว

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือแมลง ที่ลุงเรียกว่าบุ้งมากัดกินใบอ่อน
เป็นธรรมชาติของต้นไม้อย่างเงาะ เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วได้ปุ๋ย จะมียอดใหม่ขึ้นมา ยอดใหม่อ่อนๆ เป็นที่ปรารถนาของแมลง หากแมลงทำลายใบไม่สมบูรณ์ โอกาสออกดอกติดผลไม่ดี แต่เมื่อพบระบาด ควรกำจัดด้วยสารเคมี จะช่วยให้เงาะใบสมบูรณ์ พร้อมที่จะมีดอกในฤดูกาลต่อไป

ราวเดือนพฤศจิกายน ลุงเสงี่ยม ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้กับเงาะ 2 กิโลกรัม ต่อต้น สูตรนี้เป็นการเพิ่มความสมบูรณ์ สะสมอาหาร เตรียมการออกดอก หลังให้ปุ๋ยถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำตาม
เดือนธันวาคมฝนหยุด เข้าสู่เดือนมกราคม เจ้าของจะหมั่นสังเกต ดูใบเงาะไม่สดชื่น ลุงเสงี่ยมบอกว่า “ใบเหงา” จึงให้น้ำกับเงาะ นาน 30 นาที…3 วัน ให้ครั้งหนึ่ง เงาะ 1 ต้น มีหัวสปริงเกลอร์ 2 หัว

เรื่องน้ำสำคัญมาก หากฝนหยุดตกแล้วเจ้าของไม่หยุดให้น้ำ ต้นเงาะจะไม่โศกหรือไม่เหงาอย่างที่ลุงเสงี่ยมว่า โอกาสออกดอกจะมีน้อย ปัจจัยการออกดอกดีหรือไม่ดี อยู่ที่การให้อาหารหรือให้ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยวด้วย

หลังการเก็บเกี่ยว หากได้ปุ๋ยสมบูรณ์ ผลผลิตในฤดูกาลใหม่ก็จะมีมาก เมื่อเริ่มให้น้ำ ต้นและใบสมบูรณ์ดี ลุงเสงี่ยม ฉีดพ่นสารเปิดตาดอกให้ 1 ครั้ง ราวกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือน เงาะก็เริ่มแทงช่อดอก ปริมาณน้ำที่ให้ จึงเพิ่มทีละนิด

เมื่อออกดอกแล้ว ผู้ปลูกเงาะบางคนจะมีเงาะตัวผู้เพื่อช่วยในการผสมเกสร หรือไม่ก็ใช้ฮอร์โมนช่วย แต่ที่ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องมีต้นตัวผู้ ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน ลุงเสงี่ยม บอกว่า แมลงช่วยผสมเกสร เงาะดกดีทุกปีไม่มีปัญหา

หลังออกดอก และผลพัฒนา ต้องระวังเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง หากมีต้องป้องกันกำจัด เพราะผลผลิตอาจจะเสียหายได้ แทนที่จะจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 25 บาท อาจจะเหลือ 15 บาท
“ของไม่งามมีปัญหา” ลุงเสงี่ยม บอก ปัจจุบัน ลุงเสงี่ยม ยังคงมุ่งมั่นกับงานสวน ถึงแม้อายุเพิ่มขึ้น แต่ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ลูกๆ ก็เข้ามาสืบทอด นอกจากปลูกเงาะโรงเรียนแล้ว ลุงเสงี่ยมยังมีปลูกขนุน จำนวน 50 ต้น ให้ผลผลิตดีมาก มีผู้ค้ามาตัด ชั่ง แล้วก็จ่ายเงิน ราคามีขึ้นมีลง
“ขนุนดูแลง่าย” ลุงบอก

ขนุนดูแลง่าย ผู้ซื้อมาตัดเอง พืชอื่นๆ ทุเรียนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ให้ผลผลิตดีพอสมควร เจ้าของพยายามนำมาปลูกทดแทน ลองกอง เหมือนจะปลูกไว้กิน เพราะไม่มากต้นนัก แต่ก็ติดผลดีเหลือกินจนต้องขาย

พืชชนิดหนึ่งที่ปลูกมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน คือ ข้าว ทั้งนี้ เพราะข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญ ในส่วนนี้คุณลุงมีเครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการทำนา ซื้อมาหลายแสนบาท ถือว่ากิจกรรมการเกษตรของลุงประสบผลสำเร็จ สิ่งที่สำเร็จได้ อยู่ที่ตัวลุงและครอบครัว คือมีความขยันหมั่นเพียร หมั่นหาความรู้

ขอเอ่ยนามบุคคลที่มีส่วนในความสำเร็จนี้คือ คุณสมนึก ดอกแขมกลาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน ปัจจุบัน เกษียณจากราชการแล้ว คุณสมนึกแวะเวียนมาให้คำปรึกษา รวมทั้งนำโครงการจากราชการมาสู่เกษตรกรในเขตนั้น ต้องการปรึกษาหารือเรื่องการปลูกเงาะโรงเรียน หรือซื้อผลผลิต ติดต่อได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ (081) 789-7210

“จะต้องค้นหาพืชที่ความแปลกใหม่ จะต้องไม่ปลูกพืชตามกระแส พืชอะไรก็ตามที่มีการซื้อ-ขายกันมากไม่แนะนำให้ปลูก จะต้องหลีกเลี่ยง ที่ผ่านมาจะเป็นผู้นำในการพัฒนาการปลูกไม้ผลที่แปลกและตลาดมีความต้องการ ถึงแม้ตลาดจะไม่มากเท่ากับไม้ผลเศรษฐกิจที่เกษตรกรมักจะฮือฮาปลูกตามกัน จะไม่ปลูกไม้ผลตามคนอื่น”

นี่คือ ปรัชญาในการปลูกพืชของ คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา จัดเป็นนักพัฒนาการปลูกไม้ผลที่มีความแปลกใหม่และสามารถปลูกให้เป็นเศรษฐกิจได้ในประเทศไทย คุณวารินทร์นับเป็นเกษตรกรไทยรายแรกที่เป็นต้นแบบในการบังคับให้น้อยหน่าออกนอกฤดูจนประสบความสำเร็จ, พัฒนาการปลูกต้นมิราเคิลหรือต้นมหัศจรรย์ซึ่งเป็นไม้ผลจากต่างประเทศจนประสบความสำเร็จ, พัฒนาการปลูกมะม่วงอาร์ทูอีทูซึ่งเป็นมะม่วงของประเทศออสเตรเลีย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางด้านการตลาด และพัฒนาไม้ผลที่ฮือฮามากที่สุดในขณะนี้ ก็คือ พุทรายักษ์พันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ ซึ่งมีขนาดของผลใหญ่มาก มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 4-5 ผล ต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน พุทราพันธุ์ซุปเปอร์จัมโบ้ ยังสร้างรายได้หลักให้กับคุณวารินทร์ โดยขายผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 50 บาท ต่อกิโลกรัม

การพัฒนาการปลูกต้นมิราเคิลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า คุณวารินทร์ประสบความสำเร็จมากที่สุด ทั้งๆ ที่ต้นมิราเคิลเป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก

เหตุผลที่ประสบความสำเร็จเพราะมีการศึกษาถึงสภาพดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูก, สภาพพื้นที่ปลูกทำให้ต้นมิราเคิลรอดตายและมีการเจริญเติบโตที่ดี ทั้งๆ ที่เกษตรกรหรือนักวิชาการเกษตรนำไปปลูกมักจะไม่ประสบความสำเร็จ อย่างกรณีของต้นมิราเคิลหรือต้นมหัศจรรย์ซึ่งจะต้องยอมรับว่า คุณวารินทร์ น่าจะเป็นเกษตรกรรายหนึ่งในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการปลูกต้นมิราเคิลมากที่สุด

แนวทางการปลูกมิราเคิลในเชิงการค้า ถึงแม้ต้นมิราเคิล (Miracle Fruit) จะไม่ใช่ผลไม้พื้นเมืองของไทยเป็นไม้ผลพื้นเมืองของประเทศกานา ทวีปแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยเล็กน้อย มีประชากรประมาณ 18 ล้านคน

คุณสมบัติพิเศษของต้นมิราเคิลหรือที่หลายคนเรียกว่า “พืชมหัศจรรย์” เมื่อผลสุกแก่จะมีผลสีแดง “เมื่อรับประทานผลสุกแก่ของผลมิราเคิลเข้าไปแล้ว ในผลจะมีสารไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ซึ่งสารนี้จะไปเคลือบผิวของลิ้นอยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะยม ระกำ ฯลฯ ตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวานคล้ายน้ำตาล”

ความจริงแล้วมีคนไทยหลายรายมีความพยายามที่จะนำเมล็ดของผลไม้มหัศจรรย์มาเพาะและขยายพื้นที่ปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จมีเพียง คุณวารินทร์ ชิตะปัญญา ที่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ต้นมิราเคิล

อาจารย์อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญองค์การค้าโลก ประจำประเทศกานา ระหว่าง ปี 2532-2535 กล่าวถึงผลไม้มหัศจรรย์ไว้อย่างน่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นพิษว่า

“หลายคนเป็นห่วงว่าผลมิราเคิลอาจจะแฝงไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ทางสถานปฏิบัติการของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาที่เมืองนาทิค (Natick) และบริษัท เมดิตรอน (Meditron) แห่งเมืองเวย์แลนด์ (Wayland) รัฐแมสซาชูเซตต์ ได้ทำการศึกษาสารพิษดังกล่าวในผลไม้ชนิดนี้ ปรากฏว่าไม่พบ นอกจากนี้แล้ว องค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ ได้เห็นชอบด้วยกับการที่จะนำประโยชน์จากผลไม้ชนิดนี้กับมนุษย์ เป็นอันว่ามิราเคิลรับประทานได้ไม่มีพิษต่อร่างกายของมนุษย์แต่อย่างใด”

จากการศึกษารายละเอียดของการปลูกต้นมิราเคิลในประเทศกานา ของอาจารย์อานนท์ พบว่าเกษตรกรนิยมปลูกต้นมิราเคิลอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ เช่น ใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ต้นจันทน์ และต้นขนุน เป็นต้น ต้นมิราเคิลจะมีความสูงของต้นไม่เกิน 2 เมตร จะให้ผลผลิตมากที่สุดในช่วงปลายฤดูหนาวหรือหมดฤดูฮามาดาล คนกานารู้จักการใช้ผลไม้ชนิดนี้มานานนับร้อยปีแล้ว

ผู้ที่จุดประกายในเรื่องการค้นคว้าต้นมิราเคิลเป็นนักจิตวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ คุณลินดา ซัมเมอร์ฟิลด์ เธอได้ให้ความสนใจเรื่องของจิตวิทยาเกี่ยวกับการลิ้มรสโดยได้พบกับผลมิราเคิลที่เมืองไมอามี่ รัฐฟลอริดา เมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยได้เขียนรายงานเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของผลไม้นี้มีส่วนช่วยในการลดความเครียดของผู้ป่วย ที่ถูกแพทย์ห้ามรับประทานของที่มีความหวานหรือมีพลังงานสูง

คุณวารินทร์ ได้เมล็ดของผลมิราเคิลมาจากรัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2532 ได้มาครั้งแรกเพียง 5 เมล็ด คุณสมจินต์ ปาละกูล ให้เพิ่มเติมมาอีก 10 เมล็ด นำมาเพาะขึ้นทั้งหมด 13 ต้น แจกให้คนที่เดินทางไปด้วยกันเหลือไว้ปลูกเองเพียง 3 ต้น ปรากฏว่ารอดตายทุกต้นแต่ต้นที่ให้คนอื่นไปเลี้ยงไม่เป็น ส่วนใหญ่ตายทั้งหมด ต้นมิราเคิลที่เหลือจำนวน 3 ต้น นั้นปลูกไปได้ 3 ปี เริ่มออกดอกติดผล คุณวารินทร์จึงทุ่มเทเอาใจใส่อย่างจริงจังถึงแม้ต้นมิราเคิลไม่ใช่ต้นไม้พื้นเมืองของไทยแต่สามารถนำมาพัฒนาปลูกในประเทศไทยได้

ในขณะนี้ต้นมิราเคิลหรือผลไม้มหัศจรรย์นับเป็นพืชที่ได้รับความสนใจของคนทั่วโลก มีข้อมูลที่มีการศึกษาเกี่ยวกับไม้ผลชนิดนี้มากมาย มีการศึกษาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า วัยรุ่นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นิยมรับประทานผลมิราเคิลก่อนที่จะรับประทานอาหารหรือดื่มไวน์ เพื่อทำให้รับประทานได้อร่อยยิ่งขึ้น มีการนำผลมิราเคิลมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพในรูปของแคปซูล โดยเชื่อว่าในผลจะมีสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

ปัจจุบัน การขยายพันธุ์ต้นมิราเคิลส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเพาะเมล็ด คุณวารินทร์บอกว่าการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนก็ทำได้แต่รากจะออกช้ามาก อุปสรรคที่สำคัญในการขยายพื้นที่ปลูกต้นมิราเคิลในเชิงการค้าก็คือ เป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ไม่ทิ้งใบ ต้นไม่ใหญ่มากนัก ในธรรมชาติเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ต้นมิราเคิลที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่ลักษณะของต้นจะมีความสูงได้ถึง 12-15 ฟุต หรือประมาณ 3.6-4.5 เมตร เท่านั้น โดยประมาณนิสัยของไม้ผลชนิดนี้ชอบความชื้นสูง ไม่ชอบแดดจัด เนื่องจากต้นมิราเคิลที่เกิดในธรรมชาติจะเกิดขึ้นในป่าและเจริญเติบโตอยู่ภายใต้ต้นไม้ใหญ่

การปลูกในระยะแรกมีความจำเป็นจะต้องใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 50% ดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกต้นมิราเคิลควรเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีลักษณะร่วนโปร่ง เช่น ดินขุยไผ่ หรือดินผสมจากใบก้ามปูร่วมกับเปลือกมะพร้าวที่สับเป็นชิ้น ในอัตรา 2 : 1 เพื่อให้กาบมะพร้าวสามารถดูดซึมน้ำถึง 12-15 ฟุต หรือประมาณ 3.6-4.5 เมล็ด คุณวารินทร์บอกว่าการขยายพันธุ์ให้มีความชุ่มชื้นและถ้าเป็นไปได้ควรรดน้ำให้ทุกวัน, ดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกต้นมิราเคิลควรจะมีค่าของความเป็นกรด-ด่าง (pH = 4.5-5.8) และพบว่าในการปลูกต้นมิราเคิลไม่มีความจำเป็นจะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง

ในทางพฤกษศาสตร์ต้นมิราเคิลเป็นไม้ผลขนาดทรงพุ่มเล็ก ผลแก่จะมีสีแดงสดใส มีการออกดอกติดผลตลอดทั้งปีหลังจากปลูกไปได้ 2 ปี และจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่อต้นมีอายุได้ 4 ปีขึ้นไป ลักษณะของผลมิราเคิลมีลักษณะกลมรี เมื่อผลแก่มีสีแดงสดและมีความยาวของผลประมาณ 2 เซนติเมตร และมีเมล็ดขนาดใหญ่เพียงเมล็ดเดียวในแต่ละผล เนื้อมีสีเหลืองอ่อนๆ เป็นที่สังเกตว่าในการปลูกต้นมิราเคิลพบปัญหาเรื่องโรคและแมลงน้อยมาก

สำหรับการปลูกต้นมิราเคิลในกระถางขนาดใหญ่นั้น คุณวารินทร์แนะนำให้ดินที่ใช้ปลูกมีปริมาณของอินทรียวัตถุมาก เพื่อจะทำให้ต้นมิราเคิลออกดอกติดผลตลอดทั้งปีในกระถาง ในการเร่งการเจริญเติบโตของต้นแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุหลักและธาตุรองอย่างเหมาะสมหรืออาจจะใส่ปุ๋ยในกลุ่มละลายช้าใส่เป็นประจำทุก 2-3 เดือน การให้น้ำในแต่ละครั้งควรให้จนดินชุ่ม เมื่อต้นมิราเคิลเจริญเติบโตหรือตั้งตัวได้แล้วให้น้ำประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่ถ้าปลูกในสภาพดินทรายจัดควรจะให้น้ำบ่อยครั้งขึ้นหรือให้ทุกวัน จากการศึกษาของคุณวารินทร์พบว่า ต้นมิราเคิล ที่ปลูกในประเทศไทยจะติดผลดกมากในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม

ผลของต้นมิราเคิลได้รับความสนใจในเชิงการค้ามากขึ้นเป็นลำดับ มีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่มีความต้องการผลผลิตของผลมิราเคิลเป็นจำนวนมากนำไปแปรรูปเป็นสารเพิ่มความหวานเทียม เพื่อใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการบริโภคความหวานที่มีพลังงานต่ำ มีความพยามยามที่จะแปรรูปผลมิราเคิลให้คงสภาพและมีคุณสมบัติเหมือนเดิม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีการนำเอาผลมิราเคิลไปตากแห้งทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป ผลมิราเคิลจะคงสภาพและมีคุณสมบัติเดิมเมื่อมีการบริโภคสดเท่านั้น ขณะนี้ได้ทดลองเก็บผลมิราเคิลไว้ในตู้เย็นจะอยู่ได้นานไม่เกิน 10 วัน ยังมีความพยายามที่จะหาวิธีการให้ผลมิราเคิลคงสภาพความสดได้นานถึง 3 เดือน

วิธีการขยายพันธุ์ต้นมิราเคิล ใช้วิธีการโรยเมล็ดมิราเคิลลงในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์, ดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ดควรจะมีการระบายน้ำที่ดี ไม่จำเป็นจะต้องมีวัสดุคลุมหน้าดิน, รดน้ำบางๆ วันเว้นวัน เมล็ดจะงอกภายใน 8-10 สัปดาห์ และจะมีการเจริญเติบโตอย่างช้าในช่วงปีแรก ซึ่งในปีแรกต้นมิราเคิลที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีความสูงเพียง 2-3 นิ้ว

เป็นที่สังเกตว่าต้นมิราเคิลที่ปลูกด้วยการเพาะเมล็ดเมื่อเจริญเติบโตและมีความสูงของต้นประมาณ 40-50 เซนติเมตร หรือมีความสูงประมาณครึ่งเมตร จะต้องใช้เวลานานถึง 3-4 ปี หลังจากต้นมิราเคิลมีอายุเกิน 4 ปี ต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีการขยายพันธุ์ต้นมิราเคิล ด้วยวิธีการชำกิ่งในแปลงชำที่ใช้ระบบพ่นหมอก แต่จะใช้เวลานานมากกว่าที่กิ่งชำจะออกราก ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนี้สู้วิธีการเพาะเมล็ดไม่ได้ ในเชิงพาณิชย์เพื่อการจำหน่ายกิ่งพันธุ์แนะนำให้ใช้วิธีการเพาะเมล็ดจะดีกว่า

อย่างไรก็ตามต้นมิราเคิลขนาดใหญ่จะใช้วิธีการขยายพันธุ์กลบดินที่กิ่ง (layering) โดยการโน้มกิ่งลงมาที่ผิวดินแล้วใช้ดินกลบ คุณวารินทร์ได้ย้ำว่าก่อนที่จะนำเมล็ดมาเพาะควรจะมีการแช่ยาเชื้อรา ซึ่งนับเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญจะได้ต้นมิราเคิลรอดตาย

ความสำเร็จของการปลูกต้นมิราเคิลของคุณวารินทร์ น่าจะเป็นตัวอย่างให้มีการขยายพื้นที่ปลูกไม้ชนิดนี้ในเชิงธุรกิจกันกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากต้นมิราเคิลจะมีประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอย่างแน่นอน และถ้าร้านอาหารใดมีการนำเอาผลไม้ชนิดนี้มาทำประชาสัมพันธ์ ในทางด้านช่วยกระตุ้นเพื่อเพิ่มรสชาติในการรับประทานอาหาร น่าจะเป็นข้อได้เปรียบกว่าร้านอาหารอื่นๆ ในขณะที่ต่างชาติให้ความสนใจสั่งซื้อต้นมิราเคิลจากประเทศไทยไปปลูกเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวควรจะให้ความสนใจในการขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลชนิดนี้กันมากขึ้น

หลุมพอเพียง คือ การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว หลุมที่ว่านี้ไม่ได้สภาพเป็นหลุมลึกๆ แต่เป็นการปลูกพืชเป็นกลุ่ม ขนาดที่น่าลองทำคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร แต่สำหรับคนที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อเตรียมปลูกพืช อาจจะทำหลายๆหลุม ขนาดที่กำลังพอแรง คือขนาดกว้าง 80-100 เซนติเมตร จะทำวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ระยะห่างระหว่างหลุม 4×4 เมตร ถ้ามีพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม หรือถ้าไม่มีที่เป็นผืนก็สร้างหลุมไว้ตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน หลังครัว ขอบบ่อน้ำ ริมทางเดิน ได้หมด

หลุมพอเพียง เป็นวิธีการบริหารจัดการสิ่งที่อยู่ในหลุม เริ่มจากเตรียมพื้นที่ตามขนาดที่กำหนด แล้วก็ปลูกหญ้าแฝกเป็นรูปวงกลมหรือเป็นล็อกสี่เหลี่ยม จากนั้นปลูกไม้ในหลุมนี้ ลงได้ถึง 4-5 ประเภทในหลุมเดียว เพื่อลดภาระการรดน้ำ ปลูกซ้ำ และเกื้อต่อการกำจัดศัตรูพืชเพราะให้ทุกอย่างเกื้อกูลกันเอง

ต้นไม้ที่จะปลูกในหลุมแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ไม้พี่เลี้ยง เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ เก็บความชื้นโดยเฉพาะช่วงร้อนหรือหน้าแล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ควรปลูกทางทิศตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดดจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี ก็ตัดทิ้ง ปล่อยหน่อใหม่ให้ทำงาน

2. ไม้ฉลาด เป็นไม้ข้ามปี ที่สามารถเอาตัวรอดได้ดี เก็บผลได้นานพอสมควร เช่น ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือนไปเรื่อยๆ

3. ไม้ปัญญาอ่อน หรือ ไม้รายวัน เป็นไม้ล้มลุกปลูกง่าย ตายเร็ว ต้องคอยปลูกใหม่ ดูแลรดน้ำทุกวัน แต่เก็บผลได้เร็ว ได้ทุกวัน เช่น พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า เป็นต้น เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน

4. ไม้บำนาญ เป็นไม้ผลยืนต้น ใช้เวลาปลูก 2-4 ปี แต่เมื่อให้ผลผลิตแล้ว เก็บกิน เก็บขายได้เรื่อยๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา เป็นต้น ในหลุมหนึ่งควรเลือกปลูกแค่ประเภทเดียว

5. ไม้มรดก เป็นกลุ่มไม้ใช้สอยที่อายุยืน ใช้เวลาปลูกนาน เก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน ตัดขาย ก็ได้เงินก้อนใหญ่หรือจะเอาไว้ใช้ซ่อมแซมบ้านก็ได้ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา พะยูง ชิงชัน ไม้พวกนี้เป็นไม้ใหญ่ ปลูกฝั่งตรงข้ามกับต้นกล้วย

พื้นที่ใต้ร่มเงาหรือบริเวณหลุมที่มีการเตรียมดินใส่ปุ๋ยปรับปรุงดินรดน้ำและดูแล ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก แทนทีจะปล่อยให้วัชพืชขึ้นเป็นภาระที่ต้องคอยกำจัด การปลูกพืชบางอย่างที่มีกลิ่นเฉพาะ ช่วยไล่แมลงศัตรูพืช นอกจากนั้นยังเป็นกุศโลบายที่ทำให้พืชหลักที่ต้องการปลูก เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ป่ายืนต้น เจริญเติบโตและมีโอกาสรอดสูง เพราะผู้ปลูกจะคอยห่วงใย หมั่นดูแล ทำให้พืชหลัก ดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าปกติอีกด้วย

และหากพืชชนิดใด ชนิดหนึ่งจะเบียดเบียนพืชอื่นมากเกินไปก็คอยควบคุมให้เหมาะสม ตัดแต่งทรงพุ่ม จัดพืชหรือเถาเลื้อยให้เหมาะสม สำหรับพืชพี่เลี้ยงก็ไม่ต้องมาก ในหนึ่งหลุมปลูกกล้วยเพียง 1-2 ต้น เท่านั้น คือ ต้นที่กำลังให้เครือ อีกหนึ่งต้นสำรองไว้สำหรับเครือต่อไปนอกนั้นให้ขุดหน่อไปขายหรือไปปลูกที่อื่น

การปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นไม้หลักไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหลุมพอเพียงหรือไม้เดี่ยวรากหญ้าแฝกจะเป็นร่างแหในแนวดิ่งช่วยยึดดินให้คงรูปเปรียบเสมือนกระถางธรรมชาติ เพราะปมรากแฝกจะ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยดูดซับน้ำในดินไว้ แทนที่จะซึมหายลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว กอแฝกที่เบียดชิดช่วยดักตะกอนดินซึ่งรวมปุ๋ยที่ใส่ และ ใบแฝกที่ตัดมาคลุมดินยังช่วยรักษาดินให้ชุ่มชื้นในที่สุดก็ย่อย

ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอมาเล่าถึงหญิงเก่งชาวอุดรธานีท่านหนึ่ง colourofwords.com ที่ต้องพลัดถิ่นไปเริ่มต้นใช้ชีวิตต่างแดนกับสามีชาวต่างชาติที่ประเทศนอร์เวย์ และกว่าที่พี่สาวคนนี้จะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถือว่าต้องใช้ความอดทนและความพยายามขั้นสูง สำหรับหญิงไทยที่ต้องมาใช้ชีวิตกับคนต่างชาติ ต่างภาษา แต่เธอคนนี้ก็สู้มาจนสามารถสร้างอาณาจักรฟาร์มไก่ไข่กว่า 7,800 ตัว รวมถึงงานด้านปศุสัตว์ เลี้ยงแกะ เลี้ยงม้า ได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง

โดยพี่สาวคนเก่งท่านนี้ มีชื่อเล่นว่า “ใหม่” ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ได้แต่งงานมาเริ่มต้นสร้างครอบครัวใช้ชีวิตกับสามีชาวนอร์เวย์ ในปี 2006 อาศัยอยู่ที่เมือง Stavanger (สตาแวนเกอร์)

ส่วนจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรที่นอร์เวย์ พี่ใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกิดขึ้นจากก่อนที่สามีจะมาแต่งงานกับตนเอง สามีได้ซื้อฟาร์มเก่าต่อจากพ่อกับแม่ ในเดือนมกราคม ปี 2006 แล้วจึงค่อยมาแต่งงานกับตนเองในเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ซึ่งหลังจากการแต่งงานก็ได้ย้ายมาอยู่กับสามีที่ประเทศนอร์เวย์ เริ่มต้นทำงานที่โรงงานเหล็ก แล้วต่อยอดเงินจากที่ตนเองและสามีทำงานประจำ มาทำคอกม้าให้คนเช่าก่อน คือจุดเริ่มต้น ส่วนฟาร์มเก่าที่ซื้อต่อจากพ่อแม่ของสามีค่อนข้างมีสภาพที่ผุพัง และเป็นฟาร์มที่ใช้เลี้ยงแกะเพียงอย่างเดียว โดยในปีแรกพ่อกับแม่ของสามียังไม่ขายแกะให้ แต่ในเวลาถัดมาไม่นานตนเองก็ได้ตั้งท้องลูกชายคนโต สามีก็ได้ถามว่า “เราจะเลี้ยงไก่ไข่กันดีไหม พอดีผมมีเพื่อนเป็นเจ้าของโรงงานไข่ เราทำส่งให้เขาได้ พี่ก็ตกลงและได้ไปกู้เงินธนาคารเพื่อมาสร้างโรงเลี้ยงไก่ไข่ และสร้างเสร็จตอนคลอดลูกชายคนโตพอดี และพ่อสามีก็ขายแกะให้พี่ในปีนั้น คือช่วงท้ายปี 2007 คือจุดเริ่มต้นและเป็นจุดเปลี่ยนที่ใหญ่มาก ทำฟาร์มเลี้ยงไก่ใหม่ คอกแกะใหม่ ทุกอย่างต้องรื้อทำใหม่ทั้งหมด”