เกษตรกรในท้องถิ่นระบุว่า การล่าหนูนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย

ที่จะเกิดขึ้นในที่ดินของพวกเขา ซึ่งประชากรหนูในรัฐอัสสัมนั้นเพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา“หนู” จึงกลายมาเป็นแหล่งรายได้ชั้นดีของชนเผ่าอะดีวาสี ชนเฝ่ายากจนในรัฐอัสสัมที่จะล่าหนูหลังจากที่ทำงานในฟาร์มเสร็จสิ้นลง

สำหรับราคา “เนื้อหนู” นั้น ขายกิโลกรัมละ 200 รูปี (2.8 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือคิดเป็นเงินไทยราว 92 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับราคาเนื้อไก่ และเนื้อหมูเลยทีเดียวศรีลังกานั้นอุดม เพราะเป็นเมืองเกาะ น้ำท่าบริบูรณ์ อากาศร้อนชื้นเหมือนเมืองไทย ผักปลาอาหารจึงไม่ต่างกัน คนศรีลังกากินข้าวเหมือนไทย แต่ศรีลังกายังกินแผ่นแป้งแบบโรตี และกินอาหารเส้นอย่างก๋วยเตี๋ยวด้วยนะ

สิ่งที่ขึ้นชื่อที่สุดของศรีลังกาคือ ชา ปลูกทางตอนบนของประเทศที่มีอากาศเย็นและเป็นเขาสูง โลกรู้จักชาศรีลังกาว่า ชาซีลอน หรือ Ceylon Tea ซีลอนนี่เป็นชื่อเดิมของศรีลังกา ใช้ตอนยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นชื่อที่อังกฤษเรียกเกาะแห่งนี้ จนเมื่อเขาได้รับอิสรภาพแล้วเขาก็เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นภาษาถิ่นตนเอง

ที่ว่าภาษาถิ่นนี่ เขาจะมีสองภาษา คือภาษาทมิฬ กับภาษาสิงหล ใครเชื้อสายไหนก็พูดภาษานั้น ทั้งสองภาษาเป็นภาษาราชการ

ชื่อเมืองในศรีลังกาทุกวันนี้ใช้ภาษาถิ่นเกือบทั้งหมด อย่างเมืองรัตนปุระ เมืองกตรคาม เมืองศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ ซึ่งเป็นเมืองหลวง มีโคลัมโบเมืองเดียวที่ยังมีชื่อฝรั่ง เพราะสมัยอังกฤษปกครองเขาตั้งหลักอยู่ที่โคลัมโบนี่แหละเป็นเมืองหลัก ทุกวันนี้โคลัมโบเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและเมืองใหญ่ที่สุด ส่วนเมืองหลวงนั่นไม่ค่อยมีใครรู้จัก เขาใช้เป็นศูนย์ราชการ

ในที่นี้เราจะข้ามเรื่องชาไป เพราะชาส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปขายอังกฤษและทั่วโลก คนศรีลังกาไม่ได้ติดนิสัยกินชาตอนบ่ายมาจากเจ้าอาณานิคมเหมือนพม่า เขาไม่ค่อยกินชา

อาหารหลักของเขาคือ แกง และประสาเมืองเกาะ แกงหลักของเขาก็คือ แกงปลา ทำเป็นแกงส้มแบบขลุกขลิก ราดข้าวแล้วเอามือเปิบกิน รสเปรี้ยวของแกงไม่ได้มาจากมะนาว แต่มาจากส้มแขก หรือไม่ก็มะขาม จากนั้นใส่ผักผลไม้ที่มีมาก มะพร้าวก็เป็นเครื่องปรุงหลัก เพราะเป็นผลไม้ที่ปลูกมากพอๆ กับกล้วย เนื่องจากภูมิอากาศแบบเกาะในมหาสมุทรอินเดียนั้นเอื้อให้กับผลไม้สองประเภทนี้อย่างเต็มที่

รสชาติอาหารศรีลังกาเหมือนอาหารอินเดียตอนใต้ บางส่วนเหมือนอาหารอินโดนีเซีย แต่น่าจะหลากหลายน้อยกว่าผักที่เขากินกันเป็นประจำ ไม่ต่างจากเมืองไทย ต้นหอม หอมแดง กระเทียม หัวปลี ขนุนดิบ ถั่ว มะเขือ ฟักทอง มะระขี้นก กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว มะเขือยาว แตง ข้าวโพด พวกนี้เขาใช้มากในแกงเกือบทุกอย่าง ขมิ้น พริกไทยนี่ก็ใช้หนัก เพราะอาหารเขาออกรสเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ รากบัว พริกชี้ฟ้า เขาก็กิน แต่ไม่เห็นพริกขี้หนูนะ

ผักอีกอย่างที่ศรีลังกากินกันมากคือ ใบบัวบก เขาเอามายำใส่หอม พริก และส้มแขก กินแบบยำที่เมืองไทย

ส่วนผลไม้ที่เขากินกันจัง นอกจากมะพร้าว กล้วย สับปะรด ที่ปลูกได้ทั่วประเทศแล้ว ที่แปลกตาไปบ้างคือ มะขวิด มีทั้งแบบกินสุก หรือปั่นเป็นน้ำผลไม้ รสอมเปรี้ยว มะขวิดนี่มีขายทุกตลาด คนชอบกินกันจัง

อีกส่วนผสมสำคัญของอาหารเขาคือ มะพร้าวคั่ว หรือผงมะพร้าวตากแห้งแล้วคั่ว ใส่ลงไปในแกง เอาคลุกข้าวกิน หรือใส่ขนม เรียกว่าอาหารแทบทุกขนานขาดมะพร้าวไม่ได้

ศรีลังกาส่งกล้วยไปขายถึงอังกฤษ และภูมิใจว่าประเทศตนเองเป็นแหล่งผลิตกล้วยที่มีความหลากหลายมาก เพราะในขณะที่ประเทศผลิตกล้วยอื่นๆ อย่าง เม็กซิโก หรือฟิลิปปินส์ เน้นปลูกกล้วยหอมสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ศรีลังกาปลูกกล้วยเกือบ 30 สายพันธุ์ มีทั้งกล้วยที่ใช้กินแบบผลไม้ แบบทำขนม ไปจนถึงใส่ลงไปในแกงส้ม

ศรีลังกาส่งออกกล้วยปีละเกือบสองพันตัน ไปยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เกือบครึ่งหนึ่งของกล้วยศรีลังกามาจากเมือง Kurunegala, Ratnapura และ Moneragala ผลผลิตเริ่มลดลงในระยะสิบปีที่ผ่านมา เพราะเกษตรกรหันไปปลูกข้าวเนื่องจากต้นทุนปุ๋ยข้าวถูกกว่า

สับปะรดนั้น ปลูกกันมากแถบเมือง Gampaha และ Kurunegala เฉพาะสองเมืองนี้ผลผลิตมีสัดส่วนกว่า 70% ของผลผลิตทั้งหมด สับปะรดนี่ถ้าแบบยังไม่สุกส่งไปดูไบ แบบสุกส่งไปยุโรป

ในตลาดเราจะเห็นพ่อค้าเอากล้วย มะพร้าว และสับปะรด ที่เกรดไม่งามพอที่จะส่งออกมาวางขาย รูปร่างก็ไม่ขี้ริ้วขี้เหร่อะไร และราคาถูก ถึงกระนั้นก็มีคนซื้อไม่มาก เพราะศรีลังกามีกล้วยและมะพร้าวดกดื่น หาง่ายไม่ต้องซื้อ

นอกเสียจากว่าในเมืองใหญ่อย่างโคลัมโบ เมืองหลักทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งที่ดินหายากและแพง เราจึงจะพบว่ามีคนซื้อกล้วย สับปะรด และมะพร้าวไป สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์จากประเทศอังกฤษประสบความสำเร็จในการตัดต่อพันธุกรรมไก่ให้ปลอดจากการติดไวรัสไข้หวัดนก ส่วนหนึ่งของความพยายามในการป้องกันการแพร่เชื่อหวัดนกสู่มนุษย์

โดย เวนดีย์ บาร์เคลย์ ศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอเลจลอนดอน ผู้ร่วมนำทีมวิจัยระบุว่าไก่ตัวแรกที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมจะฟักจากไข่ที่สถาบันโรสลิน มหาวิทยาลัยเอดินบะระ สก็อตแลนด์

โดยไก่ตัวดังกล่าวได้ถูกตัดต่อพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า ซีอาร์ไอเอสพีอาร์ ในกรณีนี้เป็นการดึงเอาโปรตีนที่ไวรัสต้องใช้พึ่งพิงออกไป ทำให้ไก่นั้นทนทานต่อไวรัสได้ โดยทีมวิจัยเตรียมใช้ไก่ที่ตัดต่อยีนดังกล่าวเป็นกันชนเพื่อป้องกันการระบาดมาสู่มนุษย์
ทั้งนี้ การระบาดของเอช 1 เอ็น 1 เมื่อ ปี 2552-2553 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 500,000 คน ทั่วโลก ขณะที่ไข้หวัดสเปนที่ระบาด เมื่อ ปี 2461 ส่งผลให้มีคนเสียชีวิตถึง 50 ล้านคน

สวัสดีปีใหม่ครับ เริ่มศักราช 2562 ด้วยความสุข สดชื่น และสมหวังกันทุกท่านนะครับ คอลัมน์ ตั้งวงเล่า ก็ยังจะพาท่านผู้อ่านไปพบกับเรื่องราวของพี่น้องเกษตรกรที่น่าสนใจ เรื่องแปลก ทำรายได้เลี้ยงครอบครัว รวมถึงสร้างงานต่อเนื่องให้กับสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพืช สัตว์ หรือกระทั่งเรื่องราวของผู้คนที่มีที่มาที่ไปน่าติดตาม เราจะไปสืบค้นหามาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักครับ ที่สำคัญ แต่ละท่านไม่หวงวิชาครับ สามารถสอบถามได้ตามเบอร์ที่ผมจะแนบให้ไว้เสมอ

ช่วงปี 2561 ที่ผ่านมา วงการนกกรงหัวจุกแฟนซีฮือฮาเป็นอย่างมาก นอกจากจะเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินสำหรับคนที่ชอบแล้ว ยังขยายไปสู่การแข่งขันในสนามต่างๆ สร้างโอกาสให้มีสมาชิกหน้าใหม่ๆ เข้ามาสู่วงการมากขึ้น เราได้เห็นการพัฒนาในเรื่องของการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์นก ได้นกสีใหม่ๆ ได้นกสายพันธุ์ผสมเพิ่มมากขึ้น มีการซื้อหากันในราคาไม่เบา แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่วงการคนเลี้ยงนกกรงหัวจุกแฟนซีก็คือ “กรง” เราจะเห็นกรงหลากหลาย ราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสน จนถึงหลายแสนบาท เคยรู้กันไหมว่าที่มาของกรงเป็นอย่างไร ใครเป็นนายช่าง

ผมมีโอกาสได้รู้จักกลุ่มคนรักนกกรงหัวจุกแฟนซี เคยเข้าสนามแข่งขัน และได้เห็นทั้งตัวนกและกรงนก สะดุดตากับงานศิลปะชั้นครูที่อวดตัวอย่างสง่างาม มีมาจากหลายช่าง แต่ละช่างก็จะมีงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งงานไม้ งานโลหะ และด้วยการเปิดโลกครั้งนี้ทำให้ผมได้รู้จักกับ “ช่างบี นคร”

ช่างบี เป็นชาวนครศรีธรรมราชตั้งแต่กำเนิด ด้วยความที่ครอบครัวแตกแยก จึงได้อาศัยอยู่กับลุงและป้ามาตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นลุงประกอบอาชีพคนทำกรงนกมาตลอด โดยเฉพาะ บังเละ – นายมนตรี อิสลาม หากจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการนกกรงในนครศรีธรรมราชเลยก็ว่าได้ ซึ่งคนในวงการนกรุ่นเก่าๆ จะรู้กันดี ช่างบีมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่ตรงนั้น ได้หยิบจับ ช่วยเล็กๆ น้อยๆ จนเกิดความรักและความเคยชินมากขึ้น เรียกว่าเกิดและโตมากับงานกรงนกเลยก็ว่าได้ ในขณะที่พี่น้องคนอื่นไปเรียนและแยกกันไปทำงานประกอบอาชีพอย่างอื่นเสียหมด

“ช่วงนั้นช่างบีทำกรงได้เองแล้วใช่ไหมครับ”

“ก็ได้ครับ ผมช่วยมาตั้งแต่เล็กจนลงมือเองได้ ทั้งงานไม้ งานมุก งานอื่นๆ ในการประกอบกรงแต่ละกรง” “ยากไหมครับ สำหรับงานแบบนี้”

“ยากครับ ต้องทำทีละชิ้น ซี่กรงไม้แต่ละชิ้นต้องเหลาต้องแต่ง ทั้งงานมุกอีก”

“แล้วขอแขวน” “งานโลหะครับ จะแยกทำอีกต่างหาก บางทีก็สั่งจากช่างคนอื่น”

“ทำอยู่นานไหมครับ”

“ไม่นานครับ พอดีบังเละเสีย ทุกอย่างก็เลยหยุด ผมเองก็ต้องหาอาชีพอื่นทำไป”

หลังจากสิ้นบังเละ งานทุกอย่างเกี่ยวกับกรงนกก็หยุดชะงัก ช่างบีก็ไปทำอาชีพอื่นด้วยการขับรถรับ-ส่งนักเรียน ว่างจากงานก็มาทำกรงไว้ใส่นกของตัวเอง เก็บทุนสะสมไว้ซื้อเครื่องมือทีละชิ้นสองชิ้น จนเครื่องมือครบพอที่จะประกอบอาชีพได้ก็เลยหยุดขับรถ หันมาทำกรงอย่างเป็นจริงเป็นจัง แรกๆ ไม่มีลูกค้าก็ทำไปฝากขายกับร้านใหญ่ในตัวเมืองก่อน เริ่มจากกรงธรรมดา หรือฝังมุกเล็กน้อย ในราคาเบาๆ ให้คนรักนกมาซื้อหาไปใช้งานได้ ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ล้มลุกคลุกคลานอยู่อีก 4-5 ปี จนมารู้จักกับโลกโซเชียล ที่เป็นทั้งแหล่งพบปะเพื่อนที่รักในเรื่องเดียวกัน และได้ศึกษาจากคนอื่นๆ เพื่อมาปรับปรุงงานของตัวเอง

เมื่อมีเพื่อนมากขึ้นก็มีโอกาสนำเสนองานได้มากขึ้น มีคำสั่งซื้อกรงมาจากทั่วประเทศ ผลตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ สร้างกำลังใจให้เดินหน้าผลิตงานฝีมือได้ต่อไป ซึ่งงานกรงในส่วนของช่างบีจะมีเอกลักษณ์ ส่วนใหญ่จะเป็นงานฝังมุก ซึ่งต้องใช้ทักษะและเวลาในการประกอบกรงยาวนานมากขึ้น แต่ก็สร้างรายได้ให้พอเลี้ยงครอบครัวได้

ช่างบีเปิดร้านบนเฟซบุ๊ก สมาชิกที่สั่งจองก็เป็นคนในวงการนกกรงเป็นส่วนมาก แต่ก็เคยมีบางครั้ง ที่มีคนสั่งทำเพื่อเอาไปตั้งโชว์ เพราะความสวยงาม ทั้งงานไม้ งานมุก งานโลหะ ที่ผสมผสานในแต่ละกรง ที่สำคัญงานทุกชิ้นของช่างบีทำมือทั้งหมด นั่นหมายความว่าแต่ละคนก็จะมีเพียงกรงเดียวในโลกเท่านั้น

“ไหนลองบอกความโดดเด่นของกรงนกช่างบีหน่อยครับ”

“ส่วนมากผมจะทำตามออเดอร์ เป็นงานฝังมุกครับ”

“ผมเห็นคนอื่นก็มีงานฝังมุก แล้วของช่างบีแตกต่างอย่างไรครับ”

“จุดเด่นในงานของผมคือ มุกทุกชิ้นผมจะฉลุลายเส้นลงไปในเนื้อมุกเลยครับ”

“โห! ไม่ยากหรือ”

“ยากครับ แต่จะมีข้อดีคือ เวลาเราทำสีกรงครั้งต่อๆ ไปลายจะไม่หายครับ”

“หลักการทำกรงของช่างบีเป็นยังไงครับ”

“ผมยกให้เรื่องรูปร่างกรงครับ ต้องดูสวยสะดุดตา ไม่แข็งเทอะทะ งานฉลุมุกต้องคมพลิ้วชวนมอง เรียกว่ามองกรงอย่าเดียวก็สบายตามากๆ แล้วครับ” “นั่นต้องใส่ใจทุกรายละเอียดเลยสิ”

“ของเราทุกกรงเน้นใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอนครับ ก่อนรับงานผมจะคุยกับลูกค้าก่อนว่าต้องใช้เวลานะ”

“นานไหม”

“อยู่ที่ฝังมากฝังน้อยด้วยครับ แต่ละใบก็ต้องมีอย่างน้อย 2-3 เดือน”

“โห! นานขนาดนี้เลย”

“งานผมทำมือและทำเองทุกขั้นตอนครับ ทุกชิ้นผมทำเองทั้งหมด ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ยินดีรอได้ครับ”

“ใช้มุกแบบไหนครับ”

“งานผมต้นทุนค่อนข้างสูงมากครับ เพราะคัดมุกเกรดคุณภาพ ขึ้นชื่อว่ามุกไฟสีต้องขึ้นทุกจุดครับ”

“ราคาเป็นไงครับ”

“กำหนดกันจากงานครับพี่ เน้นสบายใจทั้งสองฝ่าย ผมอยู่ได้ลูกค้ารับได้ก็แล้วแต่ตกลงกัน”

“พอประมาณได้ไหมครับ”

“ก็เริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลายๆ หมื่นครับ เรียกว่าสั่งมาเถอะ ผมทำให้ได้ทุกราคา”

“หากเจอกรงตั้งอยู่หลายสิบใบ ช่างบีบอกได้ไหมว่ากรงไหนฝีมือช่างบี”

“ได้ครับพี่ เพราะแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ในงานของตัวเองอยู่แล้ว”

“ถามจริง ตอนนี้เปิดรับลูกศิษย์ไหมครับ” “มาเรียนรู้ได้ครับพี่ ผมเองก็ต้องพัฒนางานฝีมืออยู่เสมอ ตอนนี้มีลูกน้อย ก็อยากให้เขาได้สืบทอดงานนี้เอาไว้”

“ฝากอะไรเป็นของขวัญปีใหม่ท่านผู้อ่านหน่อยไหมครับ”

“ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ เกิดมาแล้วอย่าท้อ ผมเองมาจากเด็กครอบครัวแตกแยก อาศัยกับลุงและป้า เรียนมาในแบบครูพักลักจำ และมาเรียนรู้พัฒนาฝีมือกับการทำงานจริงๆ ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้หรอกครับ ขอให้เราเดินหน้าสู้ สักวันจะเป็นวันของเราครับ”

“หากมีผู้อ่านสนใจจะติดต่อได้อย่างไรครับ”

“เฟซบุ๊กผมใช้ชื่อนี้เลยครับ ช่างบี นคร หรือโทร.มาได้ครับ (081) 677-7469 นายสุรชัย มะลิดง ครับ หรือหากอยู่แถวนี้ก็มาที่บ้านได้ครับ ผมอยู่หมู่ 6 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ” วันนี้ (23 ม.ค.) ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปพ.ศ. ๒๕๖๒ มีรายละเอียดระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป

มาตรา ๔ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ หากพูดถึงนักขยายพันธุ์ไม้ผลมืออาชีพของเมืองไทย ที่ยืนหยัดมานานกว่า 10 ปี คุณประภาส สุภาผล ต้องติด 1 ใน 10 ของประเทศอย่างแน่นอน

ปัจจุบัน คุณประภาส อยู่บ้านเลขที่ 33/4 หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20250 คุณประภาส เจ้าของสวน “ประภาสไม้ผล” เรียนจบมาทางกฎหมาย แต่ยึดอาชีพเป็นเกษตรกร ปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผลจำหน่าย ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของสวนแห่งนี้มี กระท้อนพันธุ์ผอบทอง ขนุนพันธุ์แดงสุริยา มะม่วงอาร์ทูอีทู ละมุดยักษ์ CM19 มะปรางหวาน มะยงชิด และล่าสุดมะละกอพันธุ์ศรีสุภา

มะละกอศรีสุภา ของดีที่ค้นพบ พื้นที่ 40 ไร่ ของคุณประภาส ไม่เคยขาดสิ่งดีๆ เขาปลูกพันธุ์ไม้เพื่อการศึกษา เมื่อเห็นว่าน่าสนใจก็จะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ เช่นขนุน เมื่อก่อนที่สวนคุณประภาสปลูกไว้มากกว่า 10 สายพันธุ์ ต่อมาได้คัดพันธุ์ที่เด่นๆ ไว้ อย่าง แดงสุริยา เป็นขนุนเนื้อสีจำปาออกแดงเข้ม มีความสม่ำเสมอของสี

มะม่วงก็เช่นกัน มะม่วงอาร์ทูอีทู นำเข้ามาจากออสเตรเลียกว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังได้รับความนิยม คุณประภาสก็มีตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ

มะละกอ เป็นพืชใหม่ ที่คุณประภาสเริ่มศึกษา ซึ่งก็พบของดี จึงตั้งชื่อว่า ศรีสุภา ส่วนหนึ่งของชื่อมาจากนานสกุลนั่นเอง “สุภา มาจากนามสกุล เติมศรีเข้าไป เพราะแลไพเราะดี” คุณประภาส ให้เหตุผล สำเนียงคนเมืองชล

มะละกอในบ้านเรานั้น อดีตมีชื่อเสียงมากๆ คือมะละกอแขกดำ ต่อมามะละกอแขกดำได้ถูกนำไปปรับปรุงพันธุ์หรือปลูกยังต่างถิ่น จนได้ชื่อว่าเป็นแขกดำต่างๆ เช่น ปลูกอยู่ที่จันทบุรี ชื่อว่า “แขกดำหนองแหวน”

ปลูกอยู่ที่พุทธมณฑล ได้ชื่อว่า “แขกดำนายปรุง”

งานวิจัยอยู่ที่ขอนแก่น ได้ชื่อว่า “แขกดำท่าพระ” มะละกอแขกดำ จัดเป็นมะละกออเนกประสงค์ ทำเป็นส้มตำได้ กินผลสุกดี ส่วนแขกดำที่ไหนจะโดดเด่นทางด้านใดก็สุดแท้แต่

มะละกออีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่เน้นไปทางด้านส้มตำคือมะละกอแขกนวล

ยุคหลังที่โดดเด่นมากคือ มะละกอฮอลแลนด์ แต่เหมาะสำหรับกินผลสุกเท่านั้น

เมื่อ ปี 2549 ญาติของคุณประภาสได้ผสมพันธุ์มะละกอขึ้น โดยใช้มะละกอแขกนวลเป็นต้นแม่ นำพ่อพันธุ์มาจากมะละกอฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นเกสรตัวผู้นั่นเอง เมื่อเขี่ยเกสรแล้ว ใช้ถุงครอบไว้ ไม่ให้เกสรจากดอกอื่นมาผสม ผลที่ได้มะละกอมีความโดดเด่นมาก จึงตั้งชื่อว่า ศรีสุภา

ศรีสุภา ดีอย่างไร

ไม่มีอะไรครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวทั้งหมด ไม่ว่า คน สัตว์ และพืช

มะละกอศรีสุภา เป็นการรวมจุดเด่นของฮอลแลนด์ทางด้านกินสุก แต่ด้อยทางด้านส้มตำ ผสมกับแขกนวล ที่เหมาะต่อการทำส้มตำอย่างยิ่งเข้าไว้ด้วยกัน

คุณประภาส เล่าถึงคุณสมบัติของมะละกอที่มีอยู่ว่า หลังปลูกให้ผลผลิตเร็ว ผลโดยเฉลี่ย น้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม ต่อผล

ผิวผลเมื่อดิบเขียว เมื่อสุกสีเหลืองออกแดง เนื้อใน เมื่อดิบทำส้มตำได้เยี่ยมยอด เมื่อสุกมีรสหวาน สีแดงส้ม เนื้อแข็งกว่ามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ใกล้เคียงกับมะละกอแขกดำ

“จุดเด่นอยู่ที่รสชาติหวาน เนื้อแข็ง เหมาะทั้งส้มตำและกินสุก ความต้านทานโรคก็เหมือนกับมะละกอทั่วๆ ไป รูปร่างคล้ายฮอลแลนด์ผสมกับแขกนวล ขนาดใหญ่กว่าฮอลแลนด์ แต่เล็กกว่าแขกนวล” คุณประภาส บอก ไม้ผลที่ปลูกกันได้ทั่วไป

มะละกอ เป็นได้ทั้งพืชผักและไม้ผล

มะละกอดิบ นำมาทำเป็นส้มตำ แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก ครั้นเป็นมะละกอสุก สามารถบริโภคเป็นผลไม้ได้อย่างดี มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ แรกสุดทีเดียว ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย คนเราเมื่อกินได้ถ่ายสะดวก อย่างอื่นก็จะดีตามมา

มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก เพียงแต่หาตำแหน่งที่สูงจากน้ำ หมายถึง น้ำไม่ท่วมขัง มะละกอต้องการความชื้นแต่ไม่แฉะ รอบๆ บริเวณที่ปลูกมะละกอ ควรจะโล่งแจ้งพอสมควร หากปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ การเจริญเติบโตจะไม่ดีเท่าที่ควร

พันธุ์มะละกอ หาได้ง่ายๆ จากมะละกอที่ซื้อผลมากิน เมื่อได้เมล็ดนำมาล้างเอาเมือกออก ผึ่งให้แห้ง ในอากาศสภาพห้อง ราว 2-3 วัน จากนั้นนำลงเพาะในถุง อายุกล้าราว 1 เดือน ก็ย้ายปลูกได้ หรือจะหยอดเมล็ดลงแปลง ปลูก 2-3 ต้น เลือกไว้เพียงต้นเดียว ต้นที่มีดอกกะเทย หลังปลูก 8-9 เดือน ก็จะมีมะละกอไว้กินแล้ว

หากผู้อ่านท่านใด ต้องการพันธุ์เด่นๆ ก็ซื้อหาตามแหล่งที่เชื่อถือได้ ราคาต้นพันธุ์ มีตั้งแต่ ต้นละ 10-60 บาท หรือจะซื้อเมล็ดไปเพาะเองก็ได้โรงคัดบรรจุผลิตผลเกษตรอินทรีย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับมาตรฐาน อย. / GMP / HACCP ตามมาตรฐาน Codex พร้อมเปิดให้บริการแก่เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ นักหล่อ ผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะผู้ดำเนินกิจการ กล่าวว่า “ในการทำเกษตรเรื่องของเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งโรงคัดบรรจุผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดการสูญเสียของพืชผักอินทรีย์ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดการค้าทั้งในและต่างประเทศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของชุมชน นอกจากนั้น ยังตอบสนองการขับเคลื่อนยุทศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ Maejo GO Eco University รองรับผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากแปลงผลิตพื้นที่นำร่องของมหาวิทยาลัย รวมถึงผลผลิตของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ภายใต้การส่งเสริมของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอีกด้วย

โรงคัดบรรจุของมหาวิทยาลัยได้เริ่มจัดตั้งมาแต่ปี 2558 โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีทั้งการติดตั้งครุภัณฑ์ ปรับปรุงโครงสร้างโรงงานให้ได้มาตรฐานผ่านการตรวจรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมถึงการปรับปรุงระบบการจัดการขยะและของเสียในโรงคัดบรรจุฯ ทั้งนี้ เพื่อลดการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ที่จะจำหน่าย ตามมาตรฐานของ GMP พร้อมทั้งการอบรมเจ้าหน้าที่และบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้เป็นอย่างดี

ในปี 2561 โรงคัดบรรจุผลิตผลเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ใบอนุญาตเลขที่ 50-2-09561 และยังผ่านการรับรอง มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) TAS 9023-2007 และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) TAS 9024-2007 ตามมาตรฐาน Codex ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ซึ่งโรงคัดบรรจุฯ แห่งนี้สามารถรองรับผลผลิตอินทรีย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการตัดแต่ง คัดบรรจุ การเก็บรักษารวมถึงการจำหน่ายในตลาดตามมาตรฐานสากลสามารถส่งจำหน่ายได้ทั่วโลก”

เกษตรกรและหน่วยงานเอกชนที่สนใจจะใช้บริการโรงคัดบรรจุผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ติดต่อได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 5040

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศตุรกี นับเป็นตลาดคู่ค้าที่สำคัญ ซึ่งมีประชากรกว่า 80 ล้านคน ตั้งอยู่ระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ซึ่งทำให้ไทยสามารถใช้จุดเด่นดังกล่าว ในการกระจายสินค้าเกษตรไปยังภูมิภาคต่างๆ ได้ หากมองถึงมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรเฉลี่ยระหว่างไทยและตุรกี 3 ปี ระหว่างปี 2559-2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 5,600 ล้านบาท/ปี แบ่งเป็นมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรเฉลี่ย 4,600 ล้านบาท/ปี และมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตร 1,000 ล้านบาท/ปี

ที่ผ่านมาไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรมาโดยตลอด สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ยางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควัน อาหารปรุงแต่งเพื่อใช้บริโภค น้ำยางธรรมชาติ และข้าว ส่วนสินค้าเกษตรนำเข้าสำคัญของไทย ได้แก่ แป้งข้าวสาลี น้ำผลไม้ น้ำมันที่ได้จากธัญพืชจำพวกเมล็ดทานตะวัน และเมล็ดดอกคำฝอยหรือเมล็ดฝ้าย ขนมที่ทำจากน้ำตาล และอาหารปรุงแต่ง