เกษตรกรในพื้นที่ป่าละอูหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองตั้งแต่เมื่อ

40 ปีก่อน หลังจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวป่าละอู เมื่อประมาณปี 2523 สมเด็จย่าทรงเห็นว่าป่าละอูมีดินน้ำสมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน จึงทรงปลูกทุเรียนไว้ประมาณ 10 ต้น ต่อมาชาวป่าละอูได้ขยายพันธุ์ทุเรียนพระราชทานนำไปปลูกในที่ดินของตนเองจนกลายเป็นไม้ผลที่ปลูกอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ ทุเรียนป่าละอู เป็นผลไม้ชนิดแรกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ได้รับการจดทะเบียนสินค้า GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557

ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน

ล่าสุดในปีนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เปิดตัว “ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน” สินค้าตัวใหม่ที่เพิ่งผ่านการจดทะเบียนรายชื่อพันธุ์พืช ตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืช 2518 กับกรมวิชาการเกษตร เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพานเป็นสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอบางสะพานในอนาคต

คุณวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เล่าถึงที่มาของทุเรียนพันธุ์นี้ว่า คุณสมัย เทศรำลึก เจ้าของสวนผลไม้ ที่ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 157/1 หมู่ที่ 8 ตำบลกำเนิดนพคุณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77140 ได้นำกิ่งพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจากจังหวัดนนทบุรีมาปลูกในสวน เมื่อปี 2526 หลังจากปลูกไปได้ระยะหนึ่ง ยอดของต้นทุเรียนเกิดหัก ต้นตอจากการเพาะเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ จึงแตกยอดใหม่ขึ้นมา

คุณสมัย ได้ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอกและติดผลในปี 2533 บุตรชายคุณสมัยคือ คุณธวัชชัย เทศรำลึก ได้พบว่า เนื้อของทุเรียนพันธุ์นี้มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่น เนื่องจากทุเรียนมีเนื้อละเอียด เหนียว ไม่เละง่าย สีเหลืองเข้มคล้ายทองคำ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ขณะอยู่ในลำคอ รสชาติมันอมหวาน เข้มปานกลาง น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 2-5.4 กิโลกรัม จากนั้น คุณสมัยได้ติดตามความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ของทุเรียนชนิดนี้เป็นเวลา 25 ปี จึงได้ตั้งชื่อทุเรียนพันธุ์ใหม่นี้ว่า “ทุเรียนทองบางสะพาน” พร้อมยื่นขอจดทะเบียนรายชื่อพันธุ์พืชจากกรมวิชาการเกษตรอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา

ลักษณะประจำพันธุ์

ทุเรียนทองบางสะพาน จัดอยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้น ประเภทไม้ผล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Durio zibethinus “Thong Bang Saphan” วงศ์ Malvaceae

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ของ ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน

ราก ต้นแม่ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีระบบรากแก้ว ต้นที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นรากพิเศษ ต้น ทรงพุ่มรูปสามเหลี่ยม ยอดแหลม กิ่งก้านทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 5.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16.1 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบสีเขียวเป็นมันก้านใบยาวประมาณ 1.9 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.25 เซนติเมตร

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ดอกออกตามลำต้นและกิ่ง ดอกตูมรูปไข่ ปลายดอกแหลม กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก

ผล ผลเดี่ยว รูปไข่ กว้างประมาณ 17.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 21.8 เซนติเมตร ฐานผลกลมบุ๋มเล็กน้อย ปลายผลค่อนข้างมน มี 5 พู ร่องพูลึกปานกลาง เปลือกสีเขียวอมเทาอ่อน เปลือกหนาประมาณ 1.3 เซนติเมตร หนามค่อนข้างสั้น และหนาแน่นปานกลาง หนามแบบนูนปลายแหลมบริเวณกลางพู และแบบแหลมบริเวณร่องพู ก้านผลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.8 เซนติเมตร รอยต่อขั้วผลนูนน้อย เนื้อละเอียดพอสมควร สีเหลืองเข้ม หนาประมาณ 1.0-2.2 เซนติเมตร มีกลิ่นอ่อน

เมล็ด เมล็ดรูปรี กว้างประมาณ 4.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9.8 เซนติเมตร หนาประมาณ 1.8 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดลีบประมรณ 50 เปอร์เซ็นต์

ปลูกง่าย ขายดี

ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน ปลูกดูแลง่าย ทุเรียนเนื้อละเอียด เหนียว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติมันอมหวาน ทำให้ได้ความสนใจจากผู้บริโภคและเกษตรกรทั่วไป ปัจจุบัน คุณสมัย และคุณธวัชชัย เทศรำลึก เกษตรกรเจ้าของสวนได้ขยายพันธุ์ทุเรียนทองบางสะพานด้วยการเสียบยอดและจำหน่ายกิ่งพันธุ์ให้กับผู้สนใจนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อ ในราคากิ่งละประมาณ 400 บาท ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ คุณธวัชชัย เทศรำลึก โทรศัพท์ 081-348-7595

ความนิยมในการปลูกพืชแบบผสมผสานแพร่กระจายไปในหลายพื้นที่ เหตุผลสำคัญที่หลีกเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพราะหากเกิดปัญหาใดที่ทำให้กิจการภายในพื้นที่เพาะปลูกดำเนินต่อไปไม่ได้ นั่นหมายถึง ต้องยุติการทำการเกษตรลงชั่วคราวหรือถาวร และเหตุผลนี้ก็เป็นเหตุผลเดียวกับที่ คุณอำนาจ ศรีชุ่ม เกษตรกรชาวสวน วัย 66 ปี ตัดสินใจปลูก “กระท้อน” เป็นพืชแบบผสมผสาน ไว้ในแปลงเดียวกัน

คุณอำนาจ เป็นชาวอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยกำเนิด เกิดและเติบโตมากับการทำสวนหลายชนิด โดยเฉพาะสวนไม้ผลที่เป็นผลไม้นิยมและขึ้นชื่อของจังหวัดปราจีนบุรี อาทิ ทุเรียน กระท้อน เงาะ ส้มโอ มังคุด ทำให้ประสบการณ์การดูแลสวนไม้ผลแทรกซึมเข้าร่างกายอย่างปฏิเสธไม่ได้

พื้นที่ทำสวนไม้ผลของคุณอำนาจมีหลายแปลง แต่แปลงหนึ่งที่น่าสนใจ มีพื้นที่ 32 ไร่ ไม้ผลที่ปลูกเป็นหลักมี 3 ชนิด ได้แก่ กระท้อน ทุเรียน และไผ่ตง แต่ยังผสมผสานไปด้วย มังคุด เงาะ มะยงชิด มะปรางหวาน และไม้ประดับในกลุ่มจันทน์ผา

แต่ในที่นี้ คุณอำนาจ แนะนำไม้ผลเพียงชนิดเดียว คือ กระท้อน เนื่องจากเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำมากที่สุดกว่าไม้ผลชนิดอื่นที่มีอยู่

“เดิมผมซื้อที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อปลูกไผ่ตง เพียง 2 ปี ไผ่ตงออกดอก นั่นหมายถึง ไผ่ตงเจริญเติบโตเต็มที่และสุดท้ายก็ตาย ทำให้ผมต้องเปลี่ยนไปปลูกไม้ผล ในระยะแรกปลูกทุเรียนบ้าง เงาะบ้าง มังคุดบ้าง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเกิดปัญหาราคาตกต่ำ”

กระท้อน เป็นไม้ผลชนิดที่ไม่อยู่ในสายตาคุณอำนาจ กระทั่งในยุคที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กระท้อน เป็นไม้ผลชนิดเดียวในละแวกนั้นที่สร้างรายได้ให้เห็น จากเหตุผลเดิมที่คุณอำนาจเห็นว่ากระท้อนเป็นไม้ผลที่มีความยุ่งยากในขั้นตอนการปลูกและดูแล กลับกลายเป็น กระท้อนเป็นไม้ผลที่สร้างรายได้ หากผู้ปลูกให้ความใส่ใจในการดูแล

กระท้อนทั้งหมดในแปลงมีประมาณ 150 ต้น เป็นไม้ผลจำนวนมากที่สุดของแปลง รองลงมา เป็นทุเรียน และไผ่ตง

เมื่อคุณอำนาจตัดสินใจปลูกกระท้อน จึงมองหาสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม เพื่อประโยชน์ทางการตลาด จึงเลือกสายพันธุ์อีล่า และ ปุยฝ้าย อีล่า เป็นสายพันธุ์หนัก มีผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ เมื่อแก่จัดเปลือกนอกจะเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกบาง เนื้อเป็นปุยสีขาว นิ่มมาก มีรสหวานอมเปรี้ยว ออกผลช้า เก็บผลผลิตขายได้ราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม

ปุยฝ้าย เป็นสายพันธุ์เบา เป็นกระท้อนผลใหญ่ ทรงกลมแป้น ผิวผลเนียนละเอียด จับดูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ เนื้อในเป็นปุยสีขาว รสหวานสนิท เก็บผลผลิตขายในช่วงเดือนมิถุนายน

สาเหตุที่เลือก 2 สายพันธุ์นี้ คุณอำนาจบอกว่า เพราะสามารถเก็บผลผลิตขายได้เรื่อยๆ โดยเริ่มเก็บพันธุ์ปุยฝ้ายขายก่อน เพราะให้ผลผลิตก่อน เมื่อพันธุ์ปุยฝ้ายเริ่มน้อยลง ก็สามารถเก็บพันธุ์อีล่าขายได้ ทำให้มีกระท้อนขายต่อเนื่องหลายเดือน นอกจากนี้ ทั้ง 2 สายพันธุ์ หากได้รับการดูแลอย่างดี เพียง 2-3 ปี ก็ให้ผลผลิตเก็บขายได้แล้ว

การปลูกและการดูแล คุณอำนาจ บอกว่า ไม่ใช่เรื่องยาก ปลูกเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่น ส่วนการดูแลไม่มีอะไรเป็นพิเศษ นอกจากการห่อผลกระท้อน ที่ควรทำ เพื่อให้ได้ผลกระท้อนที่ผิวสวย ขายได้ราคา

การปลูก ระยะห่างระหว่างต้นอย่างน้อย 12 เมตร ส่วนระยะห่างระหว่างแถว ผู้ปลูกควรพิจารณาเอง แต่ควรให้มีระยะห่างมาก เพราะกระท้อนเป็นไม้ผลทรงพุ่ม หากปลูกระยะชิดมาก จะทำให้ต้นสูง เมื่อต้องห่อผลกระท้อนจะทำได้ยาก

การให้น้ำ มีความสำคัญกับไม้ผลทุกชนิด กระท้อนก็เช่นกัน คุณอำนาจ แนะนำว่า การให้น้ำกระท้อน ควรเปิดสปริงเกลอร์วันละประมาณ 45 นาที ทุกวัน ให้น้ำชุ่มพื้น เป็นการรักษาความชื้นไว้ ไม่ควรให้ดินในสวนแห้ง แม้ฤดูฝนที่มีฝนตกต่อเนื่องทุกวัน ก็ยังคงให้น้ำตามเดิม

ปุ๋ย เป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต่อการทำเกษตรกรรม คุณอำนาจให้ปุ๋ยตามระยะเวลาที่ควรให้ โดยจะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว และใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 ก่อนออกดอก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสะสมอาหาร และใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 หลังติดผล เพื่อเร่งผลให้เจริญเติบโต

คุณอำนาจ อธิบายว่า ความยุ่งยากของการห่อผลกระท้อน ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่แรงงานห่อผลกระท้อนต่างหากที่สำคัญ เนื่องจากปัจจุบันแรงงานห่อกระท้อนหายาก แม้จะเพิ่มค่าแรงห่อกระท้อนให้ตามกฎหมายแรงงานแล้วก็ตาม

การห่อผลกระท้อน เริ่มขึ้นหลังเริ่มติดผลผลิตประมาณ 1-2 เดือน

สังเกตผลกระท้อน หากกิ่งใดมีผลกระท้อนมาก 2-3 ผล ต้องพิจารณาปลิดทิ้ง เพื่อให้ผลเจริญเติบโตดี

ใช้ถุงห่อกระท้อน ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปห่อ มัดปากถุงห่อด้วยตอก ประมาณ 4-5 เดือน นับจากติดผล สังเกตผลกระท้อนที่ไม่ได้ห่อ หากบริเวณก้นของผลไม่มีสีเขียวเลย นั่นหมายถึง รสชาติดี นำไปจำหน่ายได้

ราคาค่าจ้างห่อกระท้อน อยู่ที่ ร้อยละ 50-60 บาท ถุงห่อกระท้อน ราคาร้อยละ 45 บาท ตอกมัดถุงห่อกระท้อน ราคาร้อยละ 2 บาท คุณอำนาจ แนะนำด้วยว่า หากต้องการราคาถูกกว่านี้ ควรซื้อถุงห่อกระท้อนและตอก หลังจากกระท้อนหมดฤดู

การเก็บผลกระท้อน จำเป็นต้องจ้างแรงงานเช่นกัน โดยราคาจ้างเก็บอยู่ที่ กิโลกรัมละ 2 บาท

โรคและแมลงในกระท้อน ไม่พบบ่อยนัก คุณอำนาจบอก

“โรคและแมลง มีหนอนกินใบ ที่พบในฤดูฝน ถ้าพบน้อยก็ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้ธรรมชาติดูแล ส่วนใหญ่สวนผมไม่ค่อยฉีดยาฆ่าแมลง ตั้งแต่ปลูกมา 15 ปี ยังไม่พบโรคและแมลงที่รุนแรงถึงกับต้องฉีดยาฆ่าแมลง”

คุณอำนาจ เล่าว่า กระท้อนผลใหญ่จะจำหน่ายได้ราคาดีกว่าผลเล็ก ซึ่งหากห่อผลให้ผิวสวย และปลิดผลที่ดกเกินความจำเป็นทิ้ง จะได้ผลกระท้อนใหญ่ น้ำหนักดี อาจได้กระท้อนน้ำหนักผลละ 1 กิโลกรัม ทีเดียว

“ผลผลิตที่เคยได้ต่อต้น อยู่ที่ 200 กิโลกรัม และกระท้อนจะให้ผลผลิตไปเรื่อยๆ หากดูแลดี” คุณอำนาจ กล่าว

สำหรับตลาดจำหน่ายกระท้อน คุณอำนาจ ตัดพ่อค้าคนกลางออก โดยมีแผงผลไม้จำหน่ายเอง ริมถนนสายปราจีนบุรี-ประจันตคาม ราคาขายตามแต่ปริมาณผลผลิต

“กระท้อน เป็นพืชที่ผมไม่คิดจะปลูก แต่เมื่อได้ปลูกก็ทำให้ทราบว่า เป็นไม้ผลที่ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนอะไร มีปัญหาเดียวที่ต้องแก้ไข คือ ปัญหาแรงงานห่อกระท้อน ที่หายาก หากหมดปัญหานี้ไปแล้ว กระท้อนเป็นไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่ผมแนะนำให้ปลูก”

ประสบการณ์ปลูกไม้ผล สำหรับคุณอำนาจ ไม่ได้มีเฉพาะการปลูกกระท้อนเท่านั้น บริเวณสวนยังมีไม้ผลชนิดอื่นไว้สลับสับเปลี่ยนจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ต้องการคำแนะนำการปลูกกระท้อน ติดต่อได้ที่ บ้านเลขที่ 101 หมู่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17 “สู่ก้าวใหม่ของพืชสวนไทย” ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดงาน การจัดประชุมพืชสวนแห่งชาติ เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2544 โดยสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มการดำเนินงาน มีการประชุมต่อเนื่องทุกปีและหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละภูมิภาค ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการสร้างเครือข่าย ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนางานวิชาการทางด้านพืชสวน

ในงานนี้ได้จัดให้มีการนำเสนอทางวิชาการในห้องประชุมและการจัดและสาธิตแสดงผลงาน ทั้งภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษา เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำเสนอ

การเปลี่ยนยอดพันธุ์อะโวกาโด…เริ่มต้นจากการเพาะเมล็ดเพื่อเป็นต้นตอ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน คัดเลือกที่แข็งแรงสมบูรณ์ ขนาดต้นประมาณ 1 เซนติเมตร ตัดต้นตอให้สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ทำแผลต้นตอแบบผ่าฝานบวบ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ตัดกิ่งพันธุ์ดียาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ให้มีตาติด 2-5 ตา ทำแผลกิ่งเป็นรูปลิ่มยาวเท่าแผลที่ต้นตอ เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลของต้นตอ พันพลาสติกหรือพาราฟิล์มให้แน่น ประมาณ 15 วัน ตาที่ยอดพันธุ์ดีจะแทงทะลุแผ่นพาราฟิล์ม นำไปปลูกพักฟื้นในที่ร่ม อายุประมาณ 45-60 วัน ต้นพันธุ์อะโวกาโดพร้อมนำไปปลูก

เสาวรสเปลี่ยนยอด…พันธุ์เสาวรสหวาน ได้มาจากการคัดเลือกจากต้นเพาะเมล็ดที่ได้จากสายพันธุ์ของประเทศไต้หวัน เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมในการรับประทานผลสด ผลสุกมีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอม แต่การคัดเลือกจากเมล็ดอาจมีโอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงเกิดการทดลองเป็นการนำยอดเสาวรสที่เกิดจากการนำพันธุ์ดีมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จนได้ขนาดที่เหมาะสม นำมาเสียบยอดกับต้นตอที่เพาะให้เป็นต้นตอ ทำให้ได้ต้นเสาวรสตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ ไม่มีโรครบกวน ให้ผลผลิตสูง

คัดเลือกพันธุ์ถั่วแขก…เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร ให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง สามารถปลูกพืชร่วมกันในพื้นที่ป่าได้อย่างยั่งยืน พืชผักจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความเหมาะสม โดยเฉพาะถั่วแขก เป็นพืชที่มีความหวานกรอบ รสชาติเอร็ดอร่อย นอกจากใช้บริโภคภายในครอบครัวแล้ว ตลาดยังมีความต้องการสูง จึงทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีรายได้จากการปลูกถั่วแขกเป็นประจำตลอดทั้งปี สายพันธุ์ที่ได้คือ พันธุ์ CB-59-01 พันธุ์ CB-59-02 พันธุ์ CB-59-03

การออกแบบบรรจุภัณฑ์องุ่น…องุ่น เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีปัญหาเรื่องการขนส่งมาโดยตลอด เนื่องจากมีผิวที่บางมากกว่าพืชอื่น ปกติจะบรรจุด้วยถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมที่จำหน่ายทั่วไป ทำให้เกิดความเสียหายทั้งด้านราคา คุณภาพผลผลิต การขนส่ง จึงได้มีการออกแบบให้เหมาะสม เป็นการบรรจุพวงองุ่นทั้งพวงหลังการเก็บเกี่ยว คงรูปทรงพวงองุ่นที่สวยงามในบรรจุภัณฑ์ สามารถรองรับน้ำหนักต่อชั้นในการขนส่ง ฝาปิดเปิดบรรจุภัณฑ์แน่นหนาแข็งแรง มีรูระบายอากาศตลอดทั้งบรรจุภัณฑ์ ได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

แมลงอุตสาหกรรม ชันโรง สมัครเว็บสล็อต หรือผึ้งจิ๋ว…เป็นแมลงตระกูลเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กไน อาศัยอยู่ตามธรรมชาติทั่วทุกภูมิภาคของไทย เป็นแมลงผสมเกสรแก่ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก เกษตรกรสามารถนำรังของชันโรงไปวางไว้ในพื้นที่ของตนเอง ยังช่วยให้เกิดรายได้จากการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งของชันโรง อีกทั้งราคาสูงกว่าน้ำผึ้งด้วย ใช้บริโภคโดยตรง นำไปแปรรูปได้หลายชนิด จิ้งหรีด เป็นแมลงที่เพาะเลี้ยงได้ง่าย มีวงจรชีวิตสั้น ให้ผลผลิตมาก อัตราการวางไข่สูง เป็นแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับไข่ไก่และนมถั่วเหลือง ปัจจุบันการเลี้ยงจิ้งหรีดได้รับความนิยมเลี้ยงกันมาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีการกำหนดมาตรฐานการจัดการเลี้ยงจิ้งหรีดให้มีความเหมาะสม และใช้วัสดุที่ปลอดภัยในการเลี้ยง นำไปแปรรูปเป็นจิ้งหรีดแช่แข็ง จิ้งหรีดผง จิ้งหรีดทอดกรอบ ใช้ผสมกับแป้งในการทำขนมต่างๆ

การตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเกษตรแบบไม่ทำลายด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี…เป็นเทคนิคการตรวจสอบที่ไม่ทำลายตัวอย่างที่นำมาทดสอบ โดยใช้หลักการดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของสารที่อยู่ในผลผลิตเกษตร สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงาน ลดการใช้สารเคมีในการตรวจสอบ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ตรวจสอบผลผลิตเกษตรได้หลายชนิด เช่น มะม่วง ส้ม สับปะรด มะละกอ ข้าว ข้าวโพด และถั่วเหลือง

การปลูกหัวดอกทิวลิปด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์…สามารถทำได้ทั้งการปลูกเพื่อจำหน่ายและการขยายพันธุ์

การทำหัวเชื้อฮอร์โมน…ผลิตฮอร์โมนเพื่อเป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช พืชสามารถดูดซับอาหารได้มากขึ้น เครื่องผลิตน้ำอิเล็กโทรไลต์…เป็นผลงานคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการผลิตน้ำ โดยมีระบบไฟฟ้าเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการแยกสลายสารโดยใช้น้ำเกลือลงไปผ่านขั้วไฟฟ้าบวกและลบ เป็นเครื่องที่ได้จากการประยุกต์จากการทำวิจัยร่วมมือกันของ ผศ.ดร. กานดา หวังชัย ภาควิชาชีววิทยา และสถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และ ผศ. สาธิต ปิยนลินมาศ

ความร่วมมือด้านการวิจัยกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ…โครงการศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2523 จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้ ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาวิจัยคัดเลือกพืชพันธุ์ดี เพื่อนำไปส่งเสริมให้ราษฎรในถิ่นทุรกันดารได้ใช้ประโยชน์ เนื่องจากสมัยก่อนพืชพันธุ์ดีหายากมาก ต่อมาได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน จนถึงปัจจุบันนี้