เกษตรกรในพื้นที่เจ้าของแปลงกระเพราป่ากว่า 15 ไร่ ที่วันนี้ได้พลิก

หลังจากได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร กับบริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลาดหลุมแก้ว ใน ‘โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน’ ได้รับความรู้ในการปลูกพืชภายใต้ จีเอพี ( GAP : Good Agricultural Practices) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมมาตรฐานระดับโลก ซึ่งเป็นแนวทางการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

“ตั้งแต่ลดการใช้สารเคมี แล้วหันมาใช้สารชีวภาพหรือจุลินทรีย์เป็นส่วนผสมในการเพาะปลูกตามหลักจีเอพี กระเพราของเราจึงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ตัวผมและภรรยา รวมทั้งคนงานก็ไม่ต้องเสี่ยงกับการเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำให้ปลูกกะเพราป่าที่มีความหอมกว่ากระเพราพันธุ์อื่น โดยมีบริษัท มารับซื้อผลผลิตในราคาประกันที่เป็นธรรมกับเกษตรกร จึงทำให้ผมมีรายได้ที่มั่นคง จัดการบัญชีก็ง่ายขึ้น รู้รายรับรายจ่ายแต่ละวันได้ทันที ผมปลูกกระเพราป่าส่งขายได้สัปดาห์ละ 700 กิโลกรัม รวมกับกระเพราเกษตรและโหระพา หักต้นทุนแล้ว มีกำไรประมาณเดือนละ 4-5 หมื่นบาท แต่ที่สำคัญคือทุกอย่างรอบตัวดีขึ้นทั้งคุณภาพชีวิตที่สามารถส่งลูกๆ เรียนหนังสือสูงๆ และยังส่งไปถึงผู้บริโภคได้กินอาหารปลอดภัย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในชีวิต”

นางวาสนา เปรียเวียง คือเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ได้ตัดสินใจทิ้งอาชีพพนักงานบริษัท เพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับสามีและลูกๆ รวมทั้งสานต่ออาชีพเกษตรกรของพ่อแม่ และได้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน เมื่อปีที่ผ่านมา และเลือกนำความรู้ที่ได้รับมาทำเกษตรกรรมปลอดภัยแบบผสมผสาน

“แปลงของเราปลูกพืชหลายชนิด ทั้งกระเพราป่า กระเพราเกษตร ยอดมะรุม ใบชะพลู ใบบัวบก และผลไม้ เช่น ฝรั่ง เพื่อลดการพึ่งพาพืชตัวใดตัวหนึ่ง และมีการรวมกลุ่มกับเกษตรกรละแวกเดียวกันในนามวิสาหกิจปลูกผักปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือกันเรื่องราคาสินค้าที่ไม่แน่นอนและหาวิธีสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ที่ช่วยให้เราทันต่อความเปลี่ยนแปลง ทำให้เรารู้เรื่องข้อกำหนดการใช้สารเคมีและสารชีวภาพที่แตกต่างกันของตลาดส่งออกในแต่ละภูมิภาค เวลาเกิดปัญหา ก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือให้คำแนะนำ เช่น ในช่วงที่เกิดโรคระบาด หรือ
การปรับปรุงให้สินค้าไม่มีปัญหาก่อนจัดส่ง ตอนนี้สามารถปลูกกระเพราป่าขายได้สัปดาห์ละ 200 กว่ากิโลกรัม รวมกับพืช ตัวอื่นด้วยก็มีรายได้ตกเดือนละ 30,000 บาท เป็นรายได้ที่มั่นคงขึ้น และมีความสุขที่มีเวลาให้ครอบครัวและดูแลลูก ตามที่เราฝันไว้”

“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน” ไม่ได้ส่งเสริมเพียงแค่การเพาะปลูกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมอบองค์ความรู้อื่นๆ เช่นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของชุมชน ที่มิใช่เพียงช่วยสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสุขของคนในชุมชนดังเช่นที่ นางลำดวน ทองอำพันธ์ หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลระแหง ได้บอกเล่าให้ฟัง

“เดิมทีนอกจากทำนา ก็ยังมีการปลูกผัก ผลไม้ต่างๆ บ้าง ต่อมาแม่บ้านในชุมชนได้รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มอาชีพสตรีขึ้นตอนนี้มีสมาชิก 32 คน เพื่อจะหารายได้เสริมให้ครอบครัว เรามองที่ผลผลิตในชุมชน เช่น มะม่วง กล้วย ขนุน ข่า ตะไคร้ ที่หากขายโดยตรงไม่ค่อยได้ราคาที่ดี ทางโครงการฯ ได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการนำผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่า มีทั้งที่ทำขายได้ตลอดปี เช่น กล้วยฉาบ และน้ำพริก ที่มีตลาดภายนอกมารับไปขาย และที่ทำตามฤดูกาล คือ ขนุนทอด แต่มีเท่าไหร่ก็จะมีหน่วยงานอย่าง อบต. มารับซื้อเกือบทั้งหมด อย่างกล้วยฉาบ ทำครั้งหนึ่งได้เงิน 1-2 พันบาท เดือนหนึ่งถ้าทำ 3 ครั้ง ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 5-6 พันบาท หลายครอบครัวมีเงินใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น แล้วยังหันหน้ามาพูดคุยปรึกษากันมากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการฯ มาเยี่ยมถึงบ้าน ติดตามถามไถ่ และหาความรู้หรืออาชีพใหม่ๆ มาเสริมให้ตลอด เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และการทำปุ๋ยชีวภาพ ทำให้ชุมชนของเรากลับมาเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”

“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ สู่วิถีเกษตรที่ยั่งยืน” เริ่มจากความตั้งใจจริงของบริษัทซีพีแแรม เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชนรอบโรงงานลาดหลุมแก้ว สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนหลักธรรมาภิบาลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมแก่ผู้ที่สนใจ ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ด้านการปลูกพืชปลอดภัย การปลูกพืชแบบผสมผสาน ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ กระเพรา การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงห่าน การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยหมัก การเพาะเลี้ยงเชื้อไตรโคเดอร์มา
ทั้งยังสนับสนุนทางเลือกอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ที่เหมาะสมให้ครัวเรือน ที่สำคัญคือการรับซื้อผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ในราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร พร้อมเปิดโอกาสให้เกษตรกรในชุมชน นำผลผลิตมาเปิดตลาดจำหน่ายให้แก่พนักงาน ในโรงงาน เป็นการสร้างตลาดที่แข็งแรงให้แก่ชุมชน

โครงการนี้เป็น 1 ใน 38 โครงการซีพีเพื่อชุมชนยั่งยืน ที่ได้รับ รางวัล “ซีพี…เพื่อความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องโครงการเพื่อสังคมดีเด่น สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนสังคม ครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือฯ ในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่การสนับสนุนให้เกษตรกรมั่นคงและชุมชนยั่งยืนอย่างแท้จริง ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 เกิดจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมการข้าว ทำการศึกษาทั้งภายในมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และแปลงนาของเกษตรกร ใช้เวลานาน 13 ปี เป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวหอม ลำต้นเตี้ย เหมาะสำหรับใช้รถเกี่ยวที่เกษตรกรนิยมใช้กันในปัจจุบัน ให้ผลผลิตดี เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ผ่านการรับรองพันธุ์พร้อมขยายให้แก่เกษตรกร

ประวัติ ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ทำการผสมพันธุ์ครั้งแรกในฤดูนาปี 2547 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้ข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับผสมกับข้าวเหนียวหอมพันธุ์ กข 6 ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ทำการผสมกลับ 4 ครั้ง (ภาษาวิชาการใช้ คำว่า ชั่ว) จากนั้นจึงศึกษาพันธุ์โดยปลูก 4 แถว จำนวน 2 ฤดู คือ นาปี 2551 และนาปรัง 2552

จากนั้นจึงทดสอบผลผลิตภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนาปีและนาปรัง ในปี 2553 ต่อมาในปี 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำความตกลงความร่วมมือกับกรมการข้าว ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีวิจัยข้าว จำนวน 3 ฤดู ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย และศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของเกษตรกรไปพร้อมกัน จำนวน 2 ฤดู

ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการของข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้คือ เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม เมล็ดเรียวยาว ต้นเตี้ยเหมาะสำหรับเกษตรกรที่ใช้รถเกี่ยวข้าว ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี จึงได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 รางวัลระดับดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2555 จากการสัมมนาวิชาการ กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนล่างและภาคเหนือตอนบน กรมการข้าว ล่าสุดได้รับการรับรองพันธุ์ กรมการข้าวพันธุ์รับรอง ชื่อ “กข-แม่โจ้ 2” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558

ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 เป็นข้าวเหนียวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวในฤดูนาปี ประมาณ 138 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 685 กิโลกรัม ต่อไร่ หากปลูกช่วงนาปรัง อายุเก็บเกี่ยว 146 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 755 กิโลกรัม ต่อไร่ ลักษณะกอแบะ ลำต้นแข็งปานกลาง ความสูงประมาณ 105 เซนติเมตร ในฤดูฝน และสูง 99 เซนติเมตร ในฤดูนาปรัง รวงข้าวยาว ประมาณ 29.75 เซนติเมตร ลักษณะรวงค่อนข้างกระจาย คอรวงสั้น จำนวนเมล็ดดี ต่อรวง 113 เมล็ด เมล็ดร่วงง่าย

ข้าวเปลือกสีฟาง มีหางบ้าง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.70 มิลลิเมตร กว้าง 2.65 มิลลิเมตร หนา 2.03 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องยาว รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดี ระยะพักตัว 7 สัปดาห์ ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 คือเป็นข้าวเหนียวมีกลิ่นหอมอ่อน เมล็ดเรียวยาว ลำต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ทำให้ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน

ผลิตและจำหน่ายโดยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว สาขาพันธุกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ติดต่อ นางสาวศิรินภา อ้ายเสาร์ โทร. (095) 676-4747

แปลงเตยหอมสีเขียวสดๆ ที่เห็นอยู่นี้อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยพื้นที่นี้เคยใช้ปลูกข้าว แต่ด้วยปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และพื้นที่ขาดแคลนน้ำไม่สามารถทำนาปรังได้ ทำให้เกษตรกรอย่าง คุณโพธิ์ ภูฆัง ได้ปรับพื้นที่นามาปลูกเตยหอมแทน เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย และตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
คุณโพธิ์ บอกว่า เตยหอมเป็นพืชที่ใช้งานได้สารพัดประโยชน์ เป็นได้ทั้งอาหารและสมุนไพรแปรรูปส่งออกไปยังต่างประเทศอีกทั้งเป็นพืชที่ปลูก และดูแลง่ายกว่าพืชชนิดอื่นๆ
ถึงแม้การปลูกเตยหอมจะลงทุนสูงกว่าพืชอื่น เนื่องจากต้องมีตาข่ายพรางแสงในลักษณะโรงเรือน แต่ปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 10 ปี เรียกว่าเก็บกินกันยาวๆ
สำหรับการปลูกเตยหอม คุณโพธิ์ บอกว่าต้องให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมแปลงปลูกให้ดูแลและเข้าจัดการง่าย โดยแปลงจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีท่อระบายน้ำต่อออกมายังบ่อพักน้ำที่หัวแปลงแต่และแปลง ไล่ระดับสูงมาต่ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก เนื่องจากเตยหอมชอบน้ำหมุนเวียน อีกทั้งในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำปริมาณมาก ต้องผันน้ำออกจากแปลง ไม่ให้ท้วมขังภายในแปลง

นอกจากนี้ ระหว่างแปลงจะทำทางเดินรอบๆแปลงทุกแปลง เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าดูแล การใส่ปุ๋ยในแต่ละเดือน รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่จะทำกันทุกๆ 3 เดือน
ส่วนหน่อเตยที่นำมาปลูก จะเลือกหน่อที่ไม่สมบูรณ์มากนัก เมื่อปลูกลงดินและได้รับสารอาหารจะทำให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วกว่า
และด้วยธรรมชาติของเตยเป็นพืชที่ไม่ชอบแดดจัด จะใช้ตาข่ายพรางแสง ความโปร่งแสง 60 เปอร์เซนต์ โดยทำเป็นโรงเรือน แต่อย่าให้ร่มเกินไป เนื่องจากจะทำให้ไม้โตช้า จากนั้นจะเปิดน้ำเข้าแปลง สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 10- 15 เซนติเมตร ส่วนบริเวณรอบๆพื้นที่ก็จะสร้างธรรมชาติให้ร่มรื่น
ส่วนการปลูก จะใช้ต้นพันธุ์ที่มีราก ปักลงไปในแปลง เช่นเดียวกับการดำนา โดยระยะห่างระหว่างต้นและแถว โดย 1แปลงจะปลูกประมาณ 5 แถว ดูแลใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 5-6 เดือน ก็จะเริ่ม ตัดใบจำหน่ายทุกๆ เดือน ตัดหน่อทุก 3 วัน และตัดต้น ทุก 5 เดือน สร้างรายได้ดีกว่าทำนา แน่นอน เนื่องจากพิสูจน์มากว่า 10 ปี
สำหรับการลงทุนปลูกเตยหอมต่อไร่ อยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 ตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาท 3 เดือนคุณโพธิ์จะมีรายได้เข้ามาในครอบครัว 24,000-25,000 บาท เป็นตัวเลขที่น่าสนใจมากๆ
สำหรับใครที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ตามที่สวนเตยหอม โทรศัพท์ 08-7167-2740

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ทนแล้ง ทนทานต่อโรคแมลง แถมขายผลผลิตได้ทุกส่วน ตั้งแต่หัวมันสำปะหลัง ลำต้น ใบมันสำปะหลัง ปัจจุบันเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ไม่ต่ำกว่า 570,000 ครอบครัว ที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

“ปุ๋ยมันสำปะหลัง” นวัตกรรมใหม่ จาก “สวนดุสิต”

“ผศ.ดร. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์” และ “ผศ.ดร. สุรชาติ สินวรณ์” อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้พัฒนานวัตกรรมปุ๋ย คือปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดกำจัดพาราควอท (Suan Dusit Green Fertilizer) และปุ๋ยสวนดุสิตนาโนซิลิคอน (Suan Dusit Nano Silicon Fertilizer) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ควบคู่กับลดต้นทุนการผลิต เพื่อยกระดับรายได้และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของไทย ผลงานทั้ง 2 ชิ้น ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และได้รับรางวัลพิเศษ honorable mention ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 45 เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

สารพาราควอท (Paraquat) หรือชื่อทางการค้าคือ กรัมม็อกโซน (Gramoxone) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะในแปลงมันสำปะหลังจะพบสารพาราควอทตกค้างในพื้นที่มากที่สุด สารพาราควอทก่อให้เกิดพิษต่อมนุษย์ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง และสารพาราควอทยังมีความเป็นพิษต่อพืชอื่น รวมถึงมันสำปะหลังเองด้วย โดยมันสำปะหลังที่ได้รับสารพาราควอทจะแสดงอาการไหม้ เกิดจุดตาย (Necrotic) บนใบ และใบแห้งตาย หากพ่นโดนส่วนยอดอ่อนจะทำให้ยอดแห้งตาย (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2557)

“สารพาราควอท (Paraquat) เป็นยาฆ่าวัชพืชที่นิยมใช้ที่สุดในประเทศไทย เมื่อนำไปใช้งานจะตกค้างในเนื้อดินนานประมาณ 8-9 เดือน ก่อนจะสลายตัวตามธรรมชาติ สาเหตุที่สารพาราควอทสลายตัวได้ช้าเพราะซึมลงเนื้อดิน ทำให้ไม่โดนแสง ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรมลง เพราะสภาพดินที่แข็งและเหนียว ทำให้ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถขยายหัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ “การใช้หลักธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ” ผศ.ดร. สุรชาติ กล่าว

เมื่อปี 2557 คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารพาราควอทที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแยกแบคทีเรียจากดินในแปลงมันสำปะหลัง ที่ปนเปื้อนสารพาราควอท จากการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายพาราควอทมากที่สุด คือ Aeromonas veronii (GenBank accession number JN880412) จึงนำแบคทีเรียดังกล่าวไปจดทะเบียนรับรองเชื้อพันธุกรรมกับธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

ทีมนักวิจัยได้นำผลงานวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดในรูปปุ๋ยชีวภาพ อัดเม็ดเคลือบแบคทีเรีย เพื่อช่วยย่อยสารพาราควอทที่ตกค้างในดิน ปุ๋ยชนิดนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสัดส่วนของธาตุอาหาร NPK 15-7-28 ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง

คณะวิจัยได้นำปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวไปประยุกต์ใช้แหล่งปลูกมันสำปะหลัง เริ่มจากการขยายเชื้อแบคทีเรีย โดยนำปุ๋ยสวนดุสิตไบโอกรีน 25 กิโลกรัม มาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ขายตามท้องตลาด 25 กิโลกรัม ในถังพลาสติกที่มีฝาปิด (ควรใส่ถุงมือทุกครั้งก่อนสัมผัสปุ๋ย และล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสปุ๋ยข้างต้น) หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้ช้อนปลูกหรือส้อมพรวน ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม เป็นเวลา 3 วัน ก่อนนำออกมาผึ่งลมในที่ร่มจนแห้ง จึงนำไปใช้ได้

วิธีใช้กับแปลงปลูกมันสำปะหลัง จะหว่านปุ๋ยชีวภาพ ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยใส่ที่ระยะ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) และระยะ 5 เดือนครึ่ง (165 วัน) หลังปลูกมันสำปะหลัง และใส่เป็นสารปรับปรุงดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 10 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินในแปลงให้เหมาะสม

“ผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียสามารถย่อยสลายพาราควอทที่ตกค้างอยู่ในแปลงปลูกมันสำปะหลังได้หมดภายในระยะเวลา 3 เดือน ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้นุ่มขึ้น หัวมันสำปะหลังขยายตัวได้ง่ายขึ้น และได้ผลผลิตสูงขึ้นเป็นเท่าตัว จากเดิมไร่ละ 3 ตัน ก็เพิ่มขึ้นเป็น 6 ตัน หากมีการดูแลจัดการแปลงที่ดี มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ จะได้ผลผลิตเพิ่มสูงถึงไร่ละ 9 ตัน แถมได้เปอร์เซ็นต์แป้งเพิ่มขึ้นอีก 30% ช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น” ผศ.ดร. สุรชาติ กล่าว

ปุ๋ยสวนดุสิตนาโนซิลิคอน

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเป็นแมลงปากดูดที่ระบาดในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย มีความรุนแรงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการสูญเสียทางผลผลิตและเศรษฐกิจค่อนข้างสูง การใช้สารกำจัดศัตรูพืชในการกำจัดเพลี้ยแป้งมิได้ผลดีนัก เนื่องจากเพลี้ยแป้งสามารถอพยพย้ายหนีบริเวณที่มีฉีดสารกำจัดศัตรูพืชได้ แล้วย้อนกลับมาใหม่เมื่อสารกำจัดศัตรูพืชหมดฤทธิ์

ฉะนั้น การพัฒนาความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลังจึงเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อป้องกันเชิงรับในการบรรเทาความรุนแรงของการทำลายผลผลิตมันสำปะหลังลงได้ โดยให้ธาตุบางชนิดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลัง ซึ่งซิลิคอนเป็นธาตุที่มันสำปะหลังมีความต้องการในการช่วยการเติบโตและช่วยทำให้ผนังเซลล์ของมันสำปะหลังแข็งแรง ลดการทำลายของเพลี้ยแป้งลงได้ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างแป้งที่หัว (ราก) ของต้นมันสำปะหลัง โดยการสร้างคลอโรฟิลล์เพิ่มขึ้นที่ใบ ทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ได้แป้งที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพสูง

ผศ.ดร. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ ได้ศึกษาวิธีสกัดสารซิลิคอนจากวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่การเกษตรพัฒนาเป็นปุ๋ยนาโนซิลิคอน เพื่อใช้เป็นสารเสริมการเติบโต แก้ปัญหาเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เนื่องจากพื้นที่เขตเกษตรกรรมมันสำปะหลังตำบลห้วยบง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิดเป็นจำนวนมาก อาทิ แกลบข้าว ฟางข้าว ชานอ้อย ข้าวโพด ไผ่ หญ้าคา เป็นต้น

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้ สามารถนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยนาโนซิลิคอนได้ เนื่องจากมีปริมาณซิลิกาสูง และปุ๋ยซิลิคอนที่มีอนุภาคเล็กระดับนาโน จะช่วยให้มันสำปะหลังดูดซึมซิลิคอนเข้าไปสะสมที่ใบอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผิวใบ ทำให้แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูไม่สามารถเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงได้

ผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอนในชุมชน โดยใช้เตาเผาที่ทำจากถังน้ำมันเก่า ขนาด 200 ลิตร และใช้วิธีการบด เพื่อให้มีต้นทุนผลิตต่ำ ลดการซื้อปุ๋ยซิลิคอนที่ขายตามท้องตลาดซึ่งมีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น จากผลผลิตมันสำปะหลังที่สูงขึ้นและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เป็นการลดปัจจัยการผลิตจากการใช้สารเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังประเภทซิลิคอนลงได้ 950-1,250 บาท ต่อไร่ (ใช้ 50 กิโลกรัม ต่อไร่) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพืชอื่น ที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ เช่น อ้อย ข้าว ได้ด้วย จึงนับเป็นการสร้างความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองของชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอน

เกษตรกรที่สนใจสามารถผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอนได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากล้างทำความสะอาดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แล้วตากแดดให้แห้งสนิท นำมาเผาในเตาเผาถ่านแกลบ ชนิด semi-oxidize ขนาด 200 ลิตร โดยใส่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรลงในถัง เกลี่ยให้เรียบเสมอ จนระดับผิวบนของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอยู่ต่ำกว่าท่ออากาศออกด้านบน ประมาณ 3 เซนติเมตร

หลังจากนั้น ใส่ฟางข้าว หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ลงไปบนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผา เมื่อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไหม้จนหมด ให้ปิดฝาท่ออากาศเข้าด้านล่างและปล่องควัน รอให้เตาเย็นลง (ใช้เวลา 7-8 ชั่วโมง) หรือทิ้งไว้ข้ามคืน เปิดฝาถังนำซิลิคอนออกกองไว้ในที่โล่งแจ้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไฟดับสนิทแล้ว จึงบรรจุใส่กระสอบ นำซิลิคอนมาบดหรือตำให้ละเอียดด้วยครก แล้วนำมาร่อนผ่านตะแกรง ขนาด 60 เมช นำผงที่ร่อนผ่านตะแกรงไปใช้ได้ เมื่อต้องการใช้งาน ให้นำปุ๋ยไปฝังกลบ ในอัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ ที่ระยะ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) และระยะ 5 เดือนครึ่ง (165 วัน) หลังปลูก และสามารถใช้เป็นสารปรับปรุงดินในการเตรียมแปลงปลูกมันสำปะหลังได้

“ในช่วงฤดูแล้งที่มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง ภาครัฐมักแนะนำให้เกษตรกรใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการจัดการระบบน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีต้นทุนค่าจัดการค่อนข้างสูง วิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ ใช้ปุ๋ยนาโนซิลิคอนบำรุงต้นมันสำปะหลังให้เติบโตแข็งแรง เพื่อให้แมลงศัตรูพืชกัดกินลำต้นและใบได้ยากขึ้น แล้วยังลดปัญหาอาการใบร่วง ใบมีขนาดใหญ่ สังเคราะห์แสงได้มากขึ้น เปอร์เซ็นต์แป้งก็สูงขึ้นตามไปแล้ว” ผศ.ดร. ณัฐบดี กล่าว

ผศ.ดร. สุรชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นวัตกรรมปุ๋ยมันสำปะหลังของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท ถือว่ามีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับแม่ปุ๋ยยูเรียที่ขายในราคากิโลกรัมละ 900 บาท ดังนั้น หากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง จะช่วยให้มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลง และได้ผลผลิตคุณภาพดี ในสัดส่วนที่มากขึ้นด้วย ล่าสุดผลงานวิจัยดังกล่าว กำลังถูกผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ขอซื้ออนุสิทธิบัตร เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ อดใจรออีกสักนิด เกษตรกรไทยจะมีโอกาสทดลองใช้นวัตกรรมปุ๋ยใหม่นี้ในไม่ช้า

หากใครสนใจผลงานนวัตกรรมนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณภรภัทร โรจนมงคล ทายาทรุ่นที่ 2 ของบริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด บริษัทแปรรูปไม้ยางพาราส่งออก ตั้งอยู่เลขที่ 91/2 หมู่ 2 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้ง เป็นธุรกิจที่รับซื้อไม้ยางพาราที่ครบอายุการกรีดน้ำยางจากเกษตรกร แล้วนำมาแปรรูปเป็นไม้ยางพาราอบแห้ง ก่อนจำหน่ายในประเทศ 5 เปอร์เซ็นต์ อีก 95 เปอร์เซ็นต์ส่งจำหน่ายยังประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่รับซื้อไม้ยางพาราอบแห้ง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือ เครื่องเรือนตกแต่งที่อยู่อาศัย โดยบริษัทก่อตั้งมานานกว่า 16 ปีแล้ว

คุณภรภัทร กล่าวอีกว่า GClub V2 ธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้งส่งตลาดประเทศจีน มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนมีการเติบโตในทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีวัฒนธรรมใหม่เป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น มีการก่อสร้างคอนโดและที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมาก ทำให้ความต้องการเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ตกแต่งภายในบ้านค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศจีนมองว่าประเทศไทยมีวัตถุดิบคือไม้ยางพาราอบแห้งป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของประเทศจีนได้ตลอด ส่วนไม้ชนิดอื่น แม้จะมีคุณภาพมากกว่า แต่หากปริมาณการป้อนเข้าตลาดในประเทศจีนไม่ต่อเนื่อง ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจได้

“อดีตที่ผ่านมา โรงงานรับซื้อจากเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อำเภอเมืองตรังก็เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ปัจจุบัน วัตถุดิบจากในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หรือแม้แต่ทั้งจังหวัดตรังก็ไม่เพียงพอแล้ว ต้องรับซื้อจากทุกจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งปัจจัยหลักที่ไม้ยางพาราไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่า”

ในแต่ละวัน ความสามารถในการแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้งของบริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด สามารถรับไม้ยางพารามาแปรรูปเป็นไม้ยางพาราอบแห้งได้มากถึง 500-700 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือจากการแปรรูป เช่น ปีกไม้ จะมีบริษัทรับซื้อไปใช้ผลิตพลังงานให้กับโรงไฟฟ้า หรือ โรงงานผลิตไม้อัดแผ่นอีกทอด ซึ่งที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาในระบบการผลิต ยกเว้นในช่วงฤดูฝน ที่การผลิตอาจล่าช้าบ้าง เนื่องจากติดปัญหาในการขนย้ายจากแปลงของเกษตรกรออกมายังโรงงาน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้งจะมีปริมาณมากเท่าใด ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภคในประเทศจีน

บริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่การใช้งานทั้งสิ้น 46 ไร่ มีแรงงานผลิต 300 คน