เกษตรกร วัย 51 ปี บ้านลาดทอง ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี

เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้ใช้พื้นที่นี้ปลูกมันสำปะหลัง แต่มาประสบปัญหาราคาตกลงเรื่อย ๆ จนในปี 2537 จึงตกลงใจปรับพื้นที่มาปลูกผักสวนครัว ปลูกผักหลากหลายชนิดสลับกันไปตามฤดูกาลเป็นอาชีพหลัก จะส่งพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่มารับซื้อถึงแปลงปลูกมากกว่า 20 ปี

หลังจากนั้นปลูกมะระจีนเพิ่มขึ้นอีก เพราะราคาดี เริ่มปลูกได้ 2 เดือนแล้ว ใช้เงินทุนประมาณ 6,000 บาท ในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อปุ๋ย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยจะเก็บลูกมะระจีนได้ 2 วันต่อครั้ง ส่งขายให้พ่อค้าแม่ค้าแบบเป็นถุง ๆ ละ 5 กิโลกรัมราคาถุงละ 130-150 บาท

แต่ละครั้งเก็บได้ 10-20 ถุง ทำให้มีรายได้ต่อเดือน ประมาณ 40,000 – 50,000 บาท และถ้ารวมผลผลิตอื่น ๆ จะมีมีรายได้ ประมาณ 200,000-300,000 บาทต่อปี

สำหรับรายได้แต่ละเดือนจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาผักตามฤดูกาล และอายุของพืช เช่น มะระจีน มีอายุ 3 เดือน ปลูกได้ 2 ครั้งต่อปี ต้องเว้นช่วงปลูก เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชระบาด จำพวกหนอน แมลงวันทอง และโรคราน้ำค้าง ที่จะพบมากในช่วงฤดูหนาว

สำหรับน้ำที่ใช้ ในช่วงหลังฤดูฝนมีน้ำมาก ก็ปลูกผักมาก ช่วงภัยแล้ง น้ำน้อย ก็ปลูกผักน้อย เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก

“ผมทำการเกษตรปลูกผักเป็นอาชีพหลัก มีสวนยางพาราด้วย แต่ราคายางพาราไม่ค่อยดี ปัจจุบันจึงได้ดำเนินชีวิตด้วยวิถีพอเพียง ไม่มีหนี้ ไม่ได้กู้เงินมาลงทุน จะใช้เพียงเงินทุนหมุนเวียนจากการขายผลผลิต ที่ตนปลูกทั้งหมด ผมอยู่ได้ ครอบครัวก็อยู่ได้ไม่อดตาย มีรายได้เข้ากระเป๋าทั้งเดือน ซึ่งเกษตรกรจึงถือเป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน”

วันที่ 12 ม.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยเรื่องราวของ “น้องแป้ง” เด็กหญิงวัย 14 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) จากนายอัศวิน คงเพ็ชรศักดิ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ถึงเรื่องราวความกตัญญูรู้คุณ และ เป็นเด็กที่ขยัน ใฝ่เรียนรู้จนได้ผลการเรียนในระดับสูง และยังเป็นตัวแทนจังหวัดราชบุรี แข่งขันคนเก่งโรงเรียนท้องถิ่น ระดับประเทศ ซึ่งสร้างความภูมิใจให้กับคณะครู เพื่อนนักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครองของน้องแป้งด้วย แม้น้องแป้งจะมีสภาพฐานะความเป็นอยู่จากครอบครัวที่ปานกลางยึดอาชีพขายไส้กรอกย่างริมทางเท้าเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว

เดินทางติดตามเรื่องราวชีวิตของ “น้องแป้ง” ด.ญ.ปิยวรรณ ชาวใต้ อายุ 14 ปี อาศัยอยู่กับนายสัมผัส ธุมา อายุ 60 ปี ชาวอ.ประทุมรัช จ.ร้อยเอ็ด และ นางมอญ ธุมา วัย 61 ปี ชาวอ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นตากับยายเป็นผู้ดูแลอยู่ ในบ้านเลขที่ 270 ซอยปิฏฐปาตี ถนนมนตรีสุริยวงศ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี หลังจากที่พ่อและแม่ของน้องแป้งแยกทางกันตั้งแต่น้องแป้งคลอดกำเนิดได้เพียง 7 วัน ทำให้น้องแป้งเรียกตากับยายว่า “พ่อและแม่” มาตลอดจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลา 14 ปี

โดยน้องแป้งออกเข็นรถขายไส้กรอกย่างจากที่บ้านตั้งแต่เวลา 15.00 น. และเข็นขายเลื่อยไป จนไปถึงที่บริเวณหน้าสถานีบริการน้ำมัน ปตท.บ้านไร่ หรือที่ปากซอยมนตรีสุริยวงศ์ 6 ระยะทางไม่ไกลจากบ้านมากนัก น้องแป้งจะทำหน้าที่เข็นรถส่วนยายมอญจะเดินตามและคอยสังเกตไส้กรอกที่ย่างอยู่บนเตาไฟเพื่อไม่ให้เกิดการไหม้ มีลูกค้าขาประจำจะมาคอยรอซื้อไปจนถึงจุดหมายปลายทาง เมื่อมาถึงที่บริเวณริมฟุตบาทที่อยู่มุมทางออกของสถานีบริการน้ำมัน น้องแป้งก็จะเข็นรถไปจอดและเตรียมย่างไส้กรอกเพื่อรอลูกค้ามาอุดหนุน ปกติก็จะขายหมดก่อนเวลา 20.00 น. เนื่องจากไส้กรอกของน้องแป้งจะมี 2 รสชาติ แบบเปรี้ยวกับไม่เปรี้ยว แล้วแต่ความชอบของลูกค้า จำหน่ายก็ไม่แพง 8 ลูก 10 บาท มีผัก พริก และขิงแถมเป็นเครื่องแนม

จากการสังเกตและพูดคุยกับ “น้องแป้ง” พบว่าเป็นเด็กยิ้มแย้มอารมดี บางเวลาจะค่อนข้างเขินอายเป็นที่รักของบรรดาเพื่อนๆในวัยเดียวกัน โดยแต่ละวันน้องแป้งจะเป็นคนที่ตื่นเช้าเพื่อมาล้างภาชนะต่างๆที่อยู่บนรถเข็นที่ใช้สำหรับไปเข็นขายไส้กรอกให้กับยายและตาเพื่อเตรียมที่จะออกขายช่วงเย็นเป็นประจำทุกวันจนเป็นกิจวัตรประจำวันมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต จากนั้นจะเตรียมหุงข้าวก่อนที่จะอาบน้ำแต่งตัวเดินทางไปเรียนหนังสือตามปกติ น้องแป้งจะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในทุกๆวัน เมื่อมีเวลาว่างจะมานั่งอ่านหนังสือ

เตรียมทบทวนวิชาเรียน อีกทั้งยังได้ร่วมกิจกรรมของโรงเรียนตามที่ตัวเองถนัด นอกจากนี้ยังได้รับการไว้วางใจจากโรงเรียนให้เป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารโรงเรียนที่มีหน้าที่จดบันทึกรับฝากเงินของนักเรียนผู้มาใช้บริการ ส่วนหลังเลิกเรียนจะกลับมาทำหน้าที่ภายในบ้านด้วยการปัดกวาดเช็ดถูทำความสะอาดบ้าน หุงข้าว และช่วยทำไส้กรอกย่าง รวมไปถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ บนรถสำหรับให้ยายเข็นรถไปขายไส้กรอกย่าง และบางวันถ้าไม่มีการบ้านน้องแป้งก็จะตามออกไปช่วยยายนั่งยายของด้วย

นายอัศวิน คงเพ็ชรศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า ด.ญ.ปิยวรรณ เป็นเด็กที่ร่าเริง ตั้งใจเรียนอยู่ที่โรงเรียนก็จะทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ค่อนข้างที่จะมาก อย่างเช่นธนาคารโรงเรียนเขาก็จะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องการเงิน เพราะทางโรงเรียนจะต้องคัดเลือกเด็กที่มีความรับผิดชอบ ในเรื่องของภาระงานเขาจะต้องทำทุกวันมีความมานะอดทนมีความระเอียดรอบคอบ มีความเป็นกันเองบุคลิกล่าเริงแจ่มใส รวมไปถึงในเรื่องของกิจกรรมทางวิชาการ นอกจากนี้น้องแป้งยังใช้เวลาหลังจากที่ทำกิจกรรมของทางโรงเรียนแล้วมาอ่านหนังสือ ล่าสุดได้เป็นตัวแทนของจังหวัดราชบุรีเข้าแข่งขันคนเก่งของท้องถิ่นในระดับประเทศ โดยโรงเรียนยังได้ดูในเรื่องของทุนการศึกษาเพราะว่าทางครอบครัวค่อนข้างที่จะไม่ได้มีฐานะที่สูงเท่าไหร่อยู่ในฐานะปานกลาง ทางโรงเรียนก็จะให้ทุนการศึกษารวมถึงในเรื่องของอาชีพเสริมต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการที่จะมีความรู้ไปประกอบอาชีพหรือว่าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไปทางโรงเรียนก็จะเสริมทักษะให้มีความรู้ความชำนาญต่อไป

ด้านนางมอญ ธุมา วัย 61 ปี ยายของน้องแป้ง เล่าให้ฟังว่า ทุกวันหลังจากกลับจากโรงเรียนจะมาช่วยงานที่บ้านและทำการบ้าน บางวันการบ้านไม่เยอะก็จะออกมาช่วยตนเองขายไส้กรอก ภูมิใจที่น้องแป้งเป็นเด็กที่ขยันกตัญญูว่าง่ายไม่เคยทำให้เสียใจ อีกทั้งยังมาเคยออกไปเล่นหรือเที่ยวที่ไหนเหมือนเด็กๆทั่วไปที่มักจะออกไปเที่ยวเตร่ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งห้างหรือไปมั่วสุม น้องแป้งไม่คบเพื่อนเที่ยวจะมีก็ไปแต่เพื่อนที่มีงานทำการบ้านหรือวิชาเรียน ทุกครั้งที่ไปน้องแป้งจะมาบอกและก็กลับตรงเวลา เมื่อตายายไม่สบายน้องแป้งจะมาคอยดูแลคอยเฝ้าทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล เพราะน้องแป้งจะเป็นห่วงตากับยายมาก อีกทั้งตนเองรักเหมือนลูก ส่วนความฝันของตนเคยบอกน้องแป้งว่า ตากับยายอยากให้ตั้งใจเรียนขยันจะได้เรียนจบสูงๆ เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ส่วนตัวเขาเองอยากเป็นทหาร ก็เลยบอกเขาไปว่า เป็นทหารอ่อนแอไม่ได้เป็นทหารต้องฝึกหนัก ตากับยายอยากให้เป็นพยาบาล เขากลัวเลือดไม่เอาไม่งั้นก็เป็นครู แต่น้องแป้งก็คิดอยู่นานและก็บอกยืนยันว่าอยากเป็นทหาร

วันเด็กปีนี้ นางมอญ กล่าวว่า “อยากบอกน้องแป้งว่าให้เป็นเด็กดีอย่างนี้ตลอดไป ให้ตั้งใจเรียนมีอะไรต้องการอะไรก็ขอให้บอกตากับยาย เพราะรักเหมือนลูกตากับยายเลี้ยงและอุ้มชูมาตั้งแต่เกิด ไม่หวังสิ่งอื่นใดทดแทนนอกจากเป็นคนดี”

ด.ญ.ปิยวรรณ เปิดใจเล่าเรื่องราวชีวิตของตนเองให้ฟังว่า ตั้งแต่จำความได้ก็อยู่กับตากับยายมาจนถึงทุกวันนี้เข้า 14 ปีแล้ว ยายจะคอยเลี้ยงดูทะนุถนอมตนเองมาด้วยความรักเหมือนลูก ยายเคยเล่าให้ฟังว่าต้องหยุดขายของมาเพื่อเลี้ยงดูตนเพราะตนเองยังเล็กมากอีกทั้งฐานะก็ไม่ได้ร่ำรวยเหมือนคนอื่น ตาต้องทำงานหนักเพื่อนำเงินมาเลี้ยงดุครอบครัวรวมถึงตนเองด้วย ส่วนพ่อกับแม่แท้ๆ ท่านก็ไม่ได้ทิ้งหนูไปไหนแต่ด้วยท่านทั้งสองแยกทางกัน พ่อไปทำงานต่างประเทศกลับมาไทยก็จะแวะมาหาบ้าง ส่วนแม่ไปมีครอบครัวใหม่แล้วแวะมาเที่ยวหาบ่อยพาไปทานข้าวบ้างไปดูหนัง ซึ่งตนไม่ได้โกรธอะไร ทุกวันนี้อยู่กับตากับยายก็รักและมีความสุข ตนเรียกท่านทั้งสองว่า “พ่อกับแม่” เพราะรักและห่วงมาก ส่วนการเรียนหนังสือ ตนเองมีความตั้งใจและพยายามที่จะเรียนหนังสือให้ออกมาดีที่สุดได้ผลการเรียนในระดับ 3.5 ขึ้น และได้ร่วมกิจกรรมของโรงเรียนเป็นพนักงานธนาคารโรงเรียนและเป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าแข่งขันคนเก่งของโรงเรียนในท้องถิ่นและกำลังจะเข้าแข่งขันในระดับประเทศในวิชาภาษาไทยด้วย

น้องแป้ง เล่าต่อว่า ตนเองไม่เคยได้ออกไปเที่ยวเลย หลังจากเลิกเรียนก็กลับบ้านมาทำงานที่บ้านช่วยป้าที่บ้านและออกมาช่วยยายขายของ เวลาจะออกไปไหนอย่างเช่นถ้าไปทำงานที่บ้านเพื่อก็จะขออนุญาตตากับยายทุกครั้งหากท่านไม่ให้ไปตนเองก็จะไม่ไป แต่ถ้าท่านให้ไปก็จะบอกว่าเดี๋ยวหนูกลับมาเร็วนะ เพราะไม่อยากให้ท่านเป็นห่วง ส่วนอนาคตตนเองอยากเป็นทหาร เพราะว่าตนเองชอบในเรื่องของเครื่องแบบ ไม่อยากให้ตายายลำบากอยากมียศสูงๆ อยากมีเงินเดือนเยอะๆ อยากดูแลยายกับตา เพราะหนูรักยายกับตา หนูอยากบอกว่า “หนูจะไม่ดื้อไม่ซน จะช่วยงานทุกอย่าง”

ประเด็นการเจรจาเปิดตลาดนำเข้าหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐอเมริกา ถือเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่ค้างคามาจากปี 2560 หลังจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นำบรรดาผู้เลี้ยงสุกรบุกล็อบบี้หารือกับผู้บริหารกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมาหลายรอบ เพื่อไม่ให้รัฐบาลไทยไฟเขียวนำเข้าสุกร หรือหมูที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง “แรกโตพามีน(Ractopamine)” แต่ดูเหมือนผู้เลี้ยงหมูจะทำได้แค่ประวิงเวลาเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เคยเสนอเปิดให้นำเข้า แต่ต้อง “ติดฉลาก” (label) ว่า ใช้หรือไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือไม่ ไทยมุ่งกำจัดสารเร่งเนื้อแดง

แต่ล่าสุด “น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มุมมองใหม่ว่าควรให้สหรัฐนำเข้าเฉพาะ “หมูที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง” โดยเสนอให้ไทยและสหรัฐหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ว่า

“ในช่วงที่มีประเด็นการเจรจาเรื่องหมู เป็นช่วงที่อยู่กระทรวงเกษตรฯพอดี ซึ่งไม่เคยมีปัญหาเรื่องการเจรจาในประเด็นนี้ เพราะนโยบายของประเทศไทยชัดเจนมาก คือ “มุ่งกำจัดสารเร่งเนื้อแดง” ไม่ว่าจะมีการเจรจาหรือไม่ก็ตาม”

นายกฯตู่ ให้รอบคอบ

ทางกระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินมาตรการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง เพราะค้นพบแล้วว่ามีสิทธิ์ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้จริง จึงต้องกำหนดให้มีจำนวนที่เหมาะสม ฉะนั้นต้องแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา แต่ถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินการอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามยังมีผู้ใช้สารเร่งเนื้อแดงอยู่ จึงมีการไล่จับกันตลอดเวลา

ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเทคนิค มีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีต่าง ๆ ต้องค่อย ๆ หารือ และมีข้อมูลผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการรองรับ ในปีที่ผ่านมามีการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้นมา ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ดำเนินการอยู่ ผ่านคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board)

ส่วนการหารือระหว่างไทย-สหรัฐ ก่อนหน้านี้ สหรัฐทำหนังสือถึงกรมปศุสัตว์เพื่อขอทราบแนวทางว่า ไทยจะมีการตรวจสอบอย่างไร และสามารถจะเดินทางไปตรวจสอบได้หรือไม่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า (เดือนตุลาคม 2560) แต่ทางกระทรวงเกษตรฯได้เลื่อนการนัดไป 1 ครั้ง และค้างอยู่จนถึงวันนี้ หากมีเวทีหารือระหว่างไทย-สหรัฐ คงจะหยิบยกเรื่องนี้มาหารือแน่นอน เพราะยืดเยื้อมายาวนาน

2 ทางแก้ปมสารเร่งเนื้อแดง

หากมีการเจรจาอีกครั้ง ไทยจะอธิบายด้วยเหตุและผล หากสหรัฐต้องการให้ไทยนำเข้า และยืนยันว่าหมูของสหรัฐมีสารเร่งเนื้อแดงจริง แต่ไม่สูงกว่ามาตรฐานที่ CODEX กำหนด จะต้องวางแนวทางดำเนินการนำเข้าร่วมกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับผู้บริโภค

แนวทางแรก เห็นด้วยว่าควรให้มีการติดฉลาก (label) บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลและสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ ในช่องทางการค้าปลีกปกติ

“ติดฉลาก” คุมไม่ทั่วถึง

แต่คำถามคือ ถ้าเป็นการนำเข้าในปริมาณมาก ๆ เพื่อมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือภัตตาคาร แนวทางแรกสามารถทำได้ครอบคลุมหรือไม่ หรือหากกระทรวงเกษตรฯเข้าไปตรวจสอบในกระบวนการผลิตอาหาร แม้แต่ในครัวของทุกร้านสามารถทำได้หรือไม่ ในทางปฏิบัติอาจทำไม่ได้

แนวทางที่สอง ให้นำเข้าเฉพาะ “หมูที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง” โดยไทยจะวางระบบตรวจสอบทุกฟาร์มที่ต้องการส่งออกมายังประเทศไทย และให้การรับรองฟาร์ม กำหนดลิสต์ออกมา ก่อนจะเปิดให้มีการนำเข้าว่า ไม่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงจริง ไม่ใช่อนุญาตทุกฟาร์ม เช่นเดียวกับที่สหภาพยุโรป และจีน ใช้ในการตรวจสอบโรงงานส่งออกไก่ และฟาร์มเลี้ยงไก่ของไทย

ประเด็นนี้เชื่อมโยงกับ “ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค” หากไทยไม่สามารถตรวจสอบหรือกำกับดูแลได้ ปรากฏว่ามีเนื้อหมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงหลุดออกไปจำหน่ายในท้องตลาด อาจทำให้

ผู้บริโภคฟ้องหน่วยงานได้

“เรื่องนี้ต้องหารือกับสหรัฐด้วยเหตุและผล ที่สำคัญคือให้สังคมยอมรับ เพราะถ้าสหรัฐดันทุรัง ไม่ดีกับภาพลักษณ์ของสินค้าสหรัฐเอง อาจนำไปสู่กระแสความไม่ชอบสินค้าสหรัฐ แล้วจะฝืนกระแสทำไม หากวางมาตรการร่วมแล้วให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสิน เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด” น.ส.ชุติมากล่าวทิ้งท้าย

มั่นใจสหรัฐยอมรับกติกาโลก

อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐไม่ยอมรับฟังเหตุผล มีการใช้ประเด็นอื่น ๆ มาพาดพิง เช่น กำหนดมาตรการทางการค้ากับสินค้าอื่น ๆ ของไทย นางสาวชุติมามองว่า เชื่อว่าสหรัฐจะไม่ทำอย่างนั้น และทุกประเทศในโลกเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) มีการกำหนดกติการ่วมกัน เพื่อให้ความยุติธรรมกับสมาชิก

ผู้เลี้ยงหมูไทยผีซ้ำด้ำพลอย

ทางด้านนายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในความเป็นจริง ไทยไม่นำเข้าหมูจากสหรัฐอเมริกาก็ย่ำแย่อยู่แล้ว ถ้ากระทรวงพาณิชย์จะเปิดให้นำเข้าหมูจากสหรัฐ โดยบินไปรับรองฟาร์มที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง ถือว่าเป็นการซ้ำเติม และเป็นการแก้ไขปัญหาแบบ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด”

ดังนั้น ผู้เลี้ยงหมูจะไปชุมนุมประท้วงที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ หากจะนำเข้าหมูจากสหรัฐ รวมทั้งประท้วงที่กระทรวงพาณิชย์ไม่ยอมแก้ราคาหมูตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ที่ผ่านมาผู้เลี้ยงหมูประท้วงไม่ให้นำเข้าหมูจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐ เพราะหมูภายในประเทศล้นตลาด จึงหยิบเอาการใช้สารเร่งเนื้อแดงของผู้เลี้ยงหมูสหรัฐมาคัดค้านการนำเข้า

ปัจจุบันราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มเหลือ กก.ละ 38 บาท ต้นทุนการเลี้ยง กก.ละ 55-60 บาท จึงขาดทุนตัวละ 1,700-2,200 บาท ขณะที่เขียงหมูควรขายหมูเนื้อแดงที่ กก.ละ 80-90 บาท แต่ยังขายกันสูงถึง กก.ละ 110-120 บาท มีกำไรจากการขายหมูชำแหละถึงตัวละ 3,000-4,000 บาท

แนะพาณิชย์จัดการ “เขียง”

ฉะนั้น กระทรวงพาณิชย์ควรไปจัดการกับ “เขียงหมู” ที่ขายเอากำไรเกินควร เพื่อให้ราคาเนื้อหมูลดลง จะได้บริโภคเนื้อหมูกันมากขึ้น การที่กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และผู้เลี้ยงจัด “โครงการประชารัฐเฉพาะกิจ” ขายเนื้อหมูชำแหละ กก.ละ 60 บาท โดยกระทรวงพาณิชย์ชดเชยต้นทุนที่ กก.ละ 75 บาท บวกค่าขนส่งอีก กก.ละ 3 บาท รวมเป็น กก.ละ 18 บาท ให้ผู้เลี้ยง แต่โครงการนี้ถือว่ายังช่วยผู้เลี้ยงหมูไม่ทั่วถึง

ต้นเหตุราคาหมูเป็นในไทยตกต่ำตั้งแต่ต้นปี 2560 จากที่เคยสูงสุด กก.ละ 65-70 บาท ลงมาเหลือ กก.ละ 38 บาท มาจากการขยายแม่พันธุ์ในฟาร์มทั่วประเทศสูงถึง 1.2-1.3 ล้านแม่ คิดเป็นหมูขุนมากกว่า 20 ล้านตัว ซึ่งมากเกินไป มากกว่ากรมปศุสัตว์ที่รายงาน 1.069 ล้านแม่พันธุ์ สถานการณ์ขณะนี้ควรมีไม่เกิน 1 ล้านแม่ คิดเป็นหมูขุนประมาณ 17-18 ล้านตัว ถือว่ากำลังพอดี

ผู้เลี้ยงกระอัก จีนปิดประตูนำเข้า

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนดี ทำให้มีการบริโภคเนื้อหมูค่อนข้างสูง ต่อมาจีนออกกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ฟาร์มเลี้ยงหมูปรับตัวไม่ทัน ปิดกิจการลง ทำให้มีการนำเข้าหมูที่ไม่ค่อยถูกต้องจากเวียดนาม และไทยค่อนข้างสูง เวียดนามมีการขยายแม่พันธุ์หมูจาก 2-3 ล้านแม่ เป็น 4 ล้านแม่ ส่งหมูเป็นเข้าตลาดจีนภาคเหนือ

ส่วนไทยส่งออกหมูเป็นในปี 2559ถึง 1.6 ล้านตัว ufabets.co.uk ส่วนใหญ่ส่งเข้าจีนภาคใต้ เนื่องจากราคาหมูเป็นในจีนสูงถึง กก.ละ 100 บาท แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฟาร์มหมูในจีนเริ่มปรับตัวได้ ขยายการเลี้ยงหมูอีกครั้งหนึ่ง และรัฐบาลจีนสั่งลดการนำเข้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้เลี้ยงหมูเป็นในจีนอยู่ได้ที่ กก.ละ 70 บาท ทำให้ราคาหมูเป็นในเวียดนามตกต่ำหนักเหลือ กก.ละ 30 บาทเศษ และปัจจุบันราคาหมูเป็นเวียดนามใกล้เคียงกับไทยอยู่ที่ประมาณ กก.ละ 40 บาท และในส่วนของไทยคาดการณ์กันว่า ปี 2560 จะส่งออกไม่เกิน 3 แสนตัว ลดลงไปมากเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหมูล้นตลาด ราคาตกต่ำ ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าและต้องเร่งแก้ไข มีกระแสข่าวล่าสุดว่า ตัวแทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติที่มาจากทุกภาคทั่วประเทศจะเข้าหารือกับนายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ดูแลคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (พิกบอร์ด) ในวันที่ 10 ม.ค. 2561 เพื่อร่วมหาทางแก้ไขแม่พันธุ์หมูมีมากเกิน รวมทั้งการลดปริมาณหมูขุนลงอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร ซึ่งการประชุมครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อราคาหมูว่าจะขึ้น หรือดำดิ่งต่อไปอีก

นางสาวศิริพร บุญชู รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน ร่วมกับ นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตร ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณ และลดการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ส่วนประชาชนที่มาขอรับการบริการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย

ได้รับเชิญเป็นเกียรติในการรับฟังแนวคิดของผู้บริหารปุ๋ย นัดแนะกันย่านใจกลางเมือง พร้อมกับเสริมคอร์สอบรมการทำการตลาดในยุคดิจิทัล โดยเปิดโอกาสให้เกษตรกร ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เข้าร่วม

นายเมดิ เซนท์-อังเดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ของบริษัทต่อจาก นายอเลอฮานโดร วอลเลอร์ต แล้ว หลังดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในเวียดนามเป็นเวลา 4 ปี และก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการค้าของ บริษัท ยารา (ประเทศกานา) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ยารา อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศนอร์เวย์ โดยแผนการดำเนินงานของบริษัทในปีหน้าจะเพิ่มงบฯ ลงทุนด้านการตลาด การออกพบปะเพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรและการลงทุนด้านระบบดิจิทัลเพื่อติดต่อสื่อสารกับเอเย่นต์หรือตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเคมีของบริษัท อีกทั้งเกษตรกรมากขึ้น

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด บอกด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพมาก ถ้าเทียบระดับโลก ไทยติด 1 ใน 10 ที่มียอดขายสูงสุด และในระดับเอเชีย ไทยก็เป็นผู้นำในระดับต้นๆ เช่นกัน เพราะไทยเป็นประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ มีอันดับการเติบโตของยอดขายปุ๋ยยาราที่สูงมาก ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ บริษัท ยารา เป็นอย่างมาก ที่สนับสนุนเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง

“เราทำงานมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าปุ๋ยธาตุอาหารคุณภาพสูงของเรา ที่เน้นคุณภาพที่ดีในระดับพรีเมี่ยม ที่ช่วยส่งเสริมผลผลิตได้สูง คุ้มค่ากับการลงทุนของเกษตรกร ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ องค์ความรู้เรื่องดิน ธาตุอาหาร และเทคนิคการปลูกที่เรามีความเชี่ยวชาญ และมีการวิจัยพัฒนามาเป็นอย่างดี มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องถ่ายทอดข้อมูลความรู้เหล่านี้ให้กับเกษตรกร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรไทยได้ใช้ปุ๋ยยาราได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า”

นายเมดิ กล่าวต่อว่า การแข่งขันในตลาดปุ๋ยเคมีเมืองไทยค่อนข้างสูง จึงไม่ขอเปิดเผยยอดขายปุ๋ยในปีนี้และเป้าหมายยอดขายในปีหน้า รวมทั้งกลยุทธ์ของบริษัทในปีหน้า แต่ภาพยอดขายโดยรวมในปีนี้ดีเท่ากับ ปี 2015 ที่ผ่านมา จากสภาพอากาศฝนตกดี และจากการที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในช่วงที่ผ่าน ไม่ได้ส่งผลกระทบมากมายต่อบริษัทที่เน้นการขายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพืช 5 ชนิด คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผักกินใบและไม้ผล อย่าง ลำไย และทุเรียน เพราะยาราจะมุ่งเน้นที่เกษตรกรและการถ่ายทอดความรู้เป็นสำคัญ โดยเราจะมุ่งพัฒนาและให้ข้อมูลความรู้แก่เกษตรกรให้ตรงตามความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มพืชที่สำคัญที่กล่าวมา