เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภูทุเรียน

ได้ดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ด้วยการน้อมนำหลักการทฤษฎีใหม่ และแนวทางแก้ปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานไว้

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน
เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเครือข่ายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาภาคการเกษตรของชุมชนมีส่วนร่วมแบบประชารัฐอย่างยั่งยืน

โดยจังหวัดหนองบัวลำภู ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ 74 ชุมชน ชุมชนละ 2 ล้าน 5 แสนบาท แต่ละชุมชนจะทำ 1 โครงการ หรือมากกว่าก็ได้ แต่ละโครงการต้องเป็นค่าจ้างแรงงานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือเป็นค่าวัสดุ มีกลุ่มเสนอโครงการ 118 โครงการ เงิน 185 ล้านบาท ดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามโครงการเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จากนั้นทำให้เกิดกองทุนและดำเนินการเพื่อให้เกิดอาชีพอย่างยั่งยืน ซึ่งจากการดำเนินการขณะนี้ได้สร้างอาชีพที่มั่นคง รวมทั้งขยายผลแก่เกษตรกรรายอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น

จะเห็นว่า โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ได้ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสดีๆ ให้กับผู้ที่ขาดโอกาส เกิดกลุ่มที่เข้มแข็ง เกิดความยั่งยืน และจะเป็นย่างก้าวที่สำคัญที่จะนำพาเกษตรกรไปสู่การเกษตร 4.0

ทุเรียน เมื่อเก็บในระยะที่สุกแก่เหมาะสม จะได้กลิ่นหอม เนื้อแห้ง กรอบนอกนุ่มใน หวานกำลังดี เป็นหนึ่งผลไม้ที่ทั้งชาวไทยและเทศชื่นชอบในรสชาติความอร่อย ทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ มีหลากหลายสายพันธุ์ และที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลายในขณะนี้ก็คือ ทุเรียนทรายขาวคุณภาพจากแปลงใหญ่ ที่จังหวัดปัตตานี

คุณไพศาล สังข์มงคล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เล่าให้ฟังว่า ทุเรียนทรายขาว เป็นไม้ผลเศรษฐกิจ สายพันธุ์หมอนทองพันธุ์ดีที่มีการปลูกและปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาสืบต่อกันมาด้วยประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ที่มีการผสมผสานแนวคิดวิชาการเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นกระทั่งได้คุณภาพมาตรฐาน

ประกอบกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีความเหมาะสมในการสร้างสวนไม้ผลหลายชนิดได้คุณภาพ โดยเฉพาะบริเวณเชิงเขาของเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ได้จากธรรมชาติบริเวณเทือกเขาและมีอากาศบริสุทธิ์ ทำให้การปลูกและปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาทุเรียน ที่ทำให้ได้ทุเรียนทรายขาวดีมีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารเคมีและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นคือ เปลือกบาง เนื้อแห้ง หอม รสหวาน

การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตไม้ผลคุณภาพ ได้ดำเนินตามแนวทางที่ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายที่เน้นให้ความสำคัญในเรื่องการรวมแปลงการผลิตของเกษตรกรให้เป็นแปลงใหญ่ เพื่อก่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งได้ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด มีการผลิตร่วมกันเป็นกลุ่ม และมีการเชื่อมโยงกับด้านการตลาดเพื่อบริหารจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของสินค้าเกษตร แก้ปัญหาเรื่องสินค้าล้นตลาด ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำหรือเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตร ที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

การกำกับดูแลการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ปัจจุบันมีโครงการแปลงใหญ่ที่ผ่านระบบการรายงานจากจังหวัดแล้ว 149 แปลง เกษตรกรเข้าร่วมในโครงการแปลงใหญ่ 11,423 ราย พื้นที่ 80,058 ไร่ และอยู่ระหว่างการพิจารณาแปลงใหญ่เพิ่มเติมอีก 29 แปลง

ในปี 2559 ได้จัดเป็นแปลงใหญ่ 29 แปลง และในปี 2560 จัดเป็นแปลงใหญ่ 120 แปลง และได้ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ 19 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ส้มโอปูโก มะนาว ส้มโชกุน สะละ ฝรั่ง มะพร้าว กล้วยหิน พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ผึ้ง แพะ และกุ้งขาว ซึ่งสินค้าเกษตรทุกชนิดที่ผลิตได้คุณภาพเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้างอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะแปลงใหญ่ทุเรียนทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี หนึ่งผลไม้เศรษฐกิจคุณภาพเลิศรส

คุณดลรอมาน สาเมาะบาซา ประธานโครงการแปลงใหญ่ทุเรียนทรายขาว ตำบลททรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เล่าให้ฟังว่า ทุเรียนเป็นราชาแห่งผลไม้ที่คนไทยและชาวต่างชาติให้การยอมรับในรสชาติความอร่อยคือ เปลือกบาง เนื้อแห้ง หอม รสหวาน ที่สำคัญคือ ปลอดภัยจากสารเคมี ด้วยความเด่นจึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

การได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ ที่เป็นหนึ่งนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ตำบลทรายขาวมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนในอาชีพด้านการเกษตร ปัจจุบัน มีเกษตรกรเป็นสมาชิกในรูปแบบแปลงใหญ่ 120 ราย จำนวน 136 แปลง พื้นที่ 263 ไร่

ในปี 2559 เกษตรกรสามารถผลิตทุเรียนระดับพรีเมี่ยม (Premium Grade) ได้จำนวน 18.1 ตัน ขายราคา 90-100 บาท ต่อกิโลกรัม ที่ต่างจากราคาทั่วไป 30 บาท ต่อกิโลกรัม และรับซื้อทุเรียนตกเกรดจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด 1 บาท ต่อกิโลกรัม เพื่อนำไปขายต่อ ทำให้มีรายได้เข้าสู่ชุมชน เป็นความสำเร็จที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ที่ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้และมีความมั่นคงยั่งยืนในการยังชีพ

คุณไพศาล สังข์มงคล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ผลสำเร็จจากการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรในรูปแบบแปลงใหญ่ สรุปได้ดังนี้

มีบูรณาการขับเคลื่อน ของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ประกอบด้วยสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร สถานีพัฒนาที่ดิน องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือห้างเซ็นทรัล และเกษตรกร/ประชาชน
2. ลดต้นทุนการผลิต จากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใช้สารสมุนไพรชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงจาก 11,000 บาท ต่อไร่ เป็น 9,500 บาท ต่อไร่ ลดลง คิดเป็นร้อยละ 64
เพิ่มผลผลิต จากการใช้ปุ๋ยถูกต้องเหมาะสม ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มหรือป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็น 1,200 กิโลกรัม ต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.33
เพิ่มคุณภาพผลผลิต ด้วยการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) มีการตรวจรับรองการผลิตตามมาตรฐานทุกแปลง
5. เพิ่มมูลค่าผลผลิต ด้วยการผลิตทุเรียนระดับพรีเมี่ยม (Premium Grade) จัดทำระบบ QR code ทำให้ทุเรียนทรายขาวได้รับรางวัลชนะเลิศสุดยอดทุเรียน ในงาน Amazing Durian Festival 2016 ณ กรุงเทพมหานคร จากนักชิมทุเรียนชาวไทยและต่างชาติ
6. มีการทำอาชีพเสริม ด้วยการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพริกไทยหรือผักเหลียง ทำให้รายจ่ายลดลง 1,000-2,000 บาท ต่อครัวเรือน

จากเรื่อง ทุเรียนทรายขาว ไม้ผลเศรษฐกิจ จากแปลงใหญ่ คุณภาพดี ของภาคใต้ เป็นการจัดการให้เกษตรกรรวมกลุ่มปลูกไม้ผลคุณภาพเป็นแบบแปลงใหญ่ โดยเฉพาะทุเรียนทรายขาว ราชาผลไม้ที่สุดยอดความอร่อย ที่ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อการยังชีพที่มั่นคง

มีโอกาสไปเยี่ยมชมการทำนาแบบผสมผสาน ของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดย ครอปไลฟ์ เอเชีย ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐาน (GAP) ที่สร้างรายได้สูงกว่าข้าวเปลือกธรรมดา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบวกกับแนวทางการปลูกพืชแบบผสมผสาน (IPM)

ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2554 เพื่อผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้เพียงพอในชุมชน เน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เมื่อปี พ.ศ. 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คัดเลือกให้เป็นสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ และยังได้เข้ารับโล่รางวัลพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และผลิตภัณฑ์เมล็ดข้าวหอมมะลิชุมชน ยังได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

คุณพ่อสมัคร สมรภูมิ อายุ 70 ปี สมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 5 ไร่ แบ่งปลูกข้าว 4.2 ไร่ ที่เหลือก็จะขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชผสมผสานไว้กินในยามที่ไม่ได้ปลูกข้าว ก่อนที่คุณพ่อสมัครจะหันมาทำนา เป็นอดีตข้าราชการกรมพัฒนาชุมชน หลังเป็นข้าราชการบำนาญจึงได้มาใช้ชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มต้นทำนาจริงจัง ระยะเวลาเพียง 5 ปี เรียนรู้การทำนาจากปู่ ย่า ตา ยาย ประกอบกับคำแนะนำในการเข้าร่วมอบรมจากหลายหน่วยงานผ่านศูนย์ส่งเสริมฯ และได้นำมาประยุกต์ใช้ในนาของตน ในรูปแบบเกษตรผสมผสาน การทำนาของคุณพ่อสมัคร ทำได้ปีละ 2 ครั้ง

ขั้นตอนการทำนาปี

มีการเตรียมดินไถกลบตอซังข้าว 1 สัปดาห์ ก่อนไถแปร และพร้อมลงปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเร่งการย่อยสลายจุลินทรีย์ในดินรองพื้นก่อนเพาะปลูก มีการปล่อยน้ำเข้านาช่วยเร่งการย่อยสลาย ระบายน้ำออกเพื่อไถปรับดิน หลังจากนั้นให้รถดำของกลุ่มฯ มาดำเนินการปักดำ เมื่อต้นข้าวมีอายุ 7 วัน จะมีการฉีดยาคุมและฆ่าหญ้า หลังจากนั้นจะปล่อยน้ำเข้านาในระดับน้ำไม่เกิน 15 เซนติเมตร สังเกตดูศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่ ปู หากมีการระบาดขั้นรุนแรง จะฉีดยาฆ่าหอย เมทัลดีไฮด์ ต้นข้าวอายุ 3 เดือน หมั่นสังเกตโรคและแมลง ใช้ปุ๋ยบำรุงต้นข้าว สูตร 46-0-0 รักษาระดับน้ำที่ 15 เซนติเมตร

หมั่นดูโรค หนู และแมลงศัตรูพืช พวกหนอนม้วนใบ หนอนกอ หากมีการระบาดตั้งแต่เริ่มต้น จะใช้สารประเภทฟิโปรนิล หรือสารเบนซัลแทป แต่ที่ผ่านมา นาของคุณพ่อสมัครยังไม่มีการระบาด ต้นข้าวอายุ 4 เดือน จะใส่ปุ๋ยบำรุง สูตร 15-15-15 เมื่อเข้าระยะตั้งท้อง จะให้ฮอร์โมนรับรวงข้าวบำรุงโดยฉีดพ่น

สารเคมี ใช้เมื่อจำเป็น

การใช้สารเคมีในระหว่างทำนาของสมาชิก จะสังเกตจากการระบาดของโรคและแมลง ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด จึงจะมีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัด “ผมทำไม่ได้หรอกที่จะมาเก็บปู เก็บหอย ถ้ามันมีมากจริงๆ หรือหากสังเกตว่าช่วงก่อนตั้งท้อง ต้นข้าวขาดความสมบูรณ์ เขาแนะนำให้เสริมฮอร์โมนไข่ ผมก็ใช้หรือเพิ่มฮอร์โมนบางตัว เพราะเสี่ยงไม่ได้เด็ดขาด” คุณพ่อสมัคร บอก

ในการใช้สารเคมีกำจัด ทางกลุ่มได้มีการเรียนรู้จากอารักขาพืช ในเรื่องของการเลือกใช้สารให้ถูกต้องเหมาะสมกับแมลงและโรคต่างๆ ในการอ่านฉลาก การปฏิบัติตนขณะฉีดพ่น การเก็บซากบรรจุภัณฑ์ จนถึงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัย เพื่อให้ได้สินค้าตามมาตรฐานที่ต้องการ

ผลตอบรับจากข้าวเปลือก

ผลผลิตที่ได้ในการทำนาปี 2559/2560 จากพื้นที่ 4.2 ไร่ ได้ข้าวเปลือก จำนวน 700 กิโลกรัม ต่อไร่ รวม 2,940 กิโลกรัม คิดต้นทุนการผลิต อยู่ที่กิโลกรัมละ 5.10 บาท ราคาขายเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกหอมละลิในกลุ่ม จะขายกิโลกรัมละ 15 บาท หากขายให้คนภายนอก จะขายในราคา กิโลกรัมละ 25 บาท ในขณะที่ราคาซื้อขายข้าวเปลือกหอมมะลิในตลาดอยู่ที่ กิโลกรัมละ 9 บาท และคาดว่าในอนาคตมีแนวโน้มราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวจะสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่

ในการทำนาของสมาชิกกลุ่ม จะเป็นการทำนาแบบผสมผสานระหว่างเคมีกับอินทรีย์ เพราะว่าต้องการที่จะได้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตควบคู่กัน และมีความปลอดภัยตามมาตรฐาน

ปัจจุบัน เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถคัดเลือกและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวภายใต้ตรารับรอง GAP และมีเครื่องจักรทางการเกษตรเป็นของชุมชน ไม่ว่าจะเป็น รถดำนา รถเกี่ยวข้าว โรงสีชุมชน และยังมีเงินหมุนเวียนจากกองทุนหมู่บ้าน จึงมั่นใจว่าสมาชิกในชุมชนไม่มีปัญหาหนี้นอกระบบแน่นอน

ผู้ที่สนใจ สามารถเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง ได้ที่ อาคารศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านดงลิง หมู่ที่ 11 ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลา

“มะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวแกง” เป็นมะพร้าวที่สามารถจะสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้อย่างมากไม่แพ้มะพร้าวน้ำหอม สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล เพราะทนต่อทุกสภาพอากาศทุกอย่าง มีอายุยืนนับร้อยปี ฉะนั้น ถ้าปลูกมะพร้าวแกงครั้งเดียวแล้วดูแลเอาใจใส่อย่างดีก็ถือว่าคุ้มไปตลอดยาวนาน

มะพร้าวแกงมีประโยชน์ต่อวงการอาหารและขนมหลายชนิด อาทิ ถ้านำเนื้อมะพร้าวมาคั้นน้ำกะทิเพื่อไว้ประกอบอาหาร หรือทำขนมหวาน เป็นเมนูต่างๆ ที่คุณอยากจะสร้างสรรค์ เมื่อผลยังอ่อนก็สามารถดื่มน้ำมะพร้าวแก้กระหายได้ ส่วนผลที่กำลังจะแก่ก็นำมาขูด หรือนำไปขายเป็นมะพร้าวทึนทึก

การปลูกมะพร้าวแกงถึงแม้ดูแล้วจะไม่ยุ่งยากมากนัก แต่การปลูกเชิงพาณิชย์ก็ควรมีการใส่ใจอย่างเต็มที่ เนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมมะพร้าวแกงเติบโตอย่างก้าวกระโดดซึ่งไปไกลถึงต่างประเทศและทั่วโลก จึงอาจสร้างเม็ดเงินได้อย่างมาก

คุณวิชาญ บำรุงยา ปราชญ์มะพร้าว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นอีกคนที่ประสบความสำเร็จกับอาชีพปลูกมะพร้าวแกงมาเป็นเวลายาวนาน เป็นผู้ที่สะสมความรู้ ทักษะ ตลอดจนภูมิปัญญาสร้างคุณภาพมะพร้าวแกงจนเป็นที่ยอมรับในวงการมะพร้าว จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ดังนั้น ในเวทีสัมมนามะพร้าวคราวนี้ คุณวิชาญตั้งใจเดินทางนำองค์ความรู้ทุกเรื่องมาถ่ายทอดให้ผู้ร่วมสัมมนาตลอดจนผู้อ่านเทคโนโลยีชาวบ้านในประเด็น “ปลูกมะพร้าวแกงอย่างมืออาชีพ”

คุณวิชาญ กล่าวว่า สำหรับมะพร้าวที่ปลูกในสวนเน้นเฉพาะมะพร้าวแกงที่มีลักษณะต้นสูง ซึ่งตัวเองได้คลุกคลีมะพร้าวมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวและบรรพบุรุษยึดอาชีพนี้สืบทอดต่อกันมา ถ้าเป็นมะพร้าวหมูสีจะปลูกไว้ใช้ในครัวเรือน ยิ่งสมัยเด็กไม่มีน้ำอัดลมก็ต้องดื่มน้ำมะพร้าวหมูสี ที่มีรสหวานหอม

ราคาจำหน่ายมะพร้าวแกงที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอบางละมุง ราคาลูกละ 16 บาท โดยเจ้าของสวนมะพร้าวไม่ต้องทำอะไร เพียงแต่คอยนับจำนวนเท่านั้น เพราะผู้รับซื้อจะมาสอยและลำเลียงขึ้นรถเอง

การเลือกทำเลปลูกมะพร้าวนับเป็นปัจจัยแรกสำหรับผู้ที่เริ่มต้นปลูก หลักทั่วไปในการคัดเลือกสถานที่ปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงเรื่องดิน ควรเป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ดี แต่ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี สภาพดินเป็นกลาง หรือเป็นกรดเพียงเล็กน้อย pH ระหว่าง 6-7 หน้าดินมีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรตื้นกว่า 2 เมตร และควรมีระยะห่างของต้นมะพร้าวระหว่างต้น 8.70 เมตร ระหว่างแถว 9 เมตร ก็จะได้จำนวนต้นมะพร้าวต่อไร่ประมาณ 22-25 ต้น

หลังจากที่ได้พันธุ์มะพร้าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้แล้วควรจัดการขุดหลุมปลูก ถ้าต้องปลูกในหน้าแล้งขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากหลุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ใบไม้แห้งหรือขยะในหลุม อาจจะใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมแทนการเผาก็ได้ ให้ใช้กาบมะพร้าวรองก้นหลุมโดยวางกาบมะพร้าวให้ด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นด้านบน วางซ้อนกัน 2-3 ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน

ในกรณีไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่นๆ เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1:7 รองก้นหลุม ส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยร็อกฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 2 กระป๋องนม) และใส่ฟูราดาน 1 กระป๋องนม เพื่อป้องกันปลวกกินผลพันธุ์มะพร้าว เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก

“จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเคยขุดหลุมตามหลักวิชาการคือ กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ปรากฏว่ามะพร้าวเน่าเพราะพื้นที่เป็นดินปนทราย จึงได้ปรับแนวหาความเหมาะสมของพื้นที่ด้วยการจำกัดความลึกแค่พอฝังลูกมะพร้าวได้เท่านั้น แต่เปลี่ยนมาเป็นความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกลบเหยียบให้แน่น แล้วให้ดูสภาพอากาศตามจริงว่าร้อนหรือแล้งเพื่อให้น้ำตามความเหมาะสมในสถานการณ์นั้น”

แต่ถ้าให้ได้ผลควร ปลูกในฤดูฝน ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ให้เป็นหลุมขนาดเล็กเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง ตัดหน่อไปในทิศทางเดียวกัน เอาดินกลบอย่างน้อย 2/3 ของผล เพื่อให้พอดีมิดผลมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้า

เมื่อมะพร้าวโตขึ้นก็ควรจะกลบดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยก เหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยง ให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย ปลูกมะพร้าวให้ต้นตั้งตรง มัดหลักยึดต้นกันลมโยก ทำร่มบังแดดให้ในระยะแรกหลังปลูก

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการทดลองปลูกในแนวทางของสวนผลไม้ด้วยการวางระบบน้ำ จากนั้นสัก 6 เดือน ให้ดูว่าต้นเป็นอย่างไร ตายหรือแตกยอด ถ้ารอดก็เริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สักกำมือ หรือ 13-13-21 โดยให้โรยรอบโคน อย่าให้ชิดโคนในช่วงต้นฝน

แต่ก่อนหน้านี้ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ให้ใส่รองพื้นก้นหลุม แต่สำหรับสูตรตัวเองจะใส่เกลือสักกำมือลงไปในหลุมด้วย เพื่อช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของมะพร้าว พอมะพร้าวมีต้นโตขึ้นให้เพิ่มปุ๋ยเป็น 2 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่ต้นฝน 1 กิโลกรัม และก่อนหมดฝนอีก 1 กิโลกรัม แล้วควรโรยให้ห่างจากต้นสัก 1 เมตร หรือให้ขุดรอบโคนลึกประมาณหน้าจอบแล้วใส่ปุ๋ยลงไปกลบร่อง

นอกจากนั้นแล้ว การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสด ก็เป็นแนวทางที่ช่วยในเรื่องการสร้างคุณภาพผลผลิต เพราะมีอินทรียวัตถุช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดี รากของมะพร้าวสามารถชอนไชไปหาอาหารได้อย่างกว้างขวาง การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินสามารถกระทำได้หลายแบบ เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง แล้วทำการไถกลบ

ปุ๋ยที่มะพร้าวแกงต้องการก็เหมือนกับพืชทั่วไปคือ NPK แต่ต้องเสริมด้วยโดโลไมท์บ้างเพื่อช่วยให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แล้วมีผลผลิตดีมีคุณภาพ

นอกจากนั้นแล้ว แสงแดดมีส่วนสำคัญกับมะพร้าว ซึ่งในแต่ละวันต้นมะพร้าวควรได้รับแสงแดดไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ต่อวัน หากได้รับแสงแดดน้อยมะพร้าวจะไม่ค่อยออกดอกติดผล หรือติดผลแต่เนื้อบาง

ขณะนี้มีแปลงสาธิตไว้สำหรับทดลองปลูกมะพร้าวในแนวทางและวิธีการต่างๆ อย่างตอนนี้ได้นำแนวทางการปลูกด้วยการใช้ปุ๋ยหมักเติมอากาศของทางกรมวิชาการเกษตร เป็นการนำมูลสัตว์มาผลิตปุ๋ยที่ผ่านกระบวนการเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่เป็นศัตรูของมะพร้าว เพื่อให้เหลือแต่สิ่งที่มีประโยชน์ล้วนๆ

นอกจากนั้น ยังนำปุ๋ยสั่งตัดมาใช้ด้วย แต่ก่อนนำมาใช้ต้องนำตัวอย่างดินในสวนไปวิเคราะห์หาค่าอาหารที่ขาดไปเพื่อจะได้ใช้ปุ๋ยที่จัดไว้อย่างเหมาะสมต่อดินในแปลง อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้งหลายที่ได้รับการแนะนำจากภาคราชการถือเป็นหนทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาผลผลิตตกต่ำ รวมถึงยังช่วยในเรื่องการลดต้นทุนได้จำนวนมากด้วย

ทั้งนี้ หากบางท่านไม่ได้ปลูกพืชแซมแล้วต้องการปรับปรุงดิน แนะนำให้ใช้ผาลพรวนที่มีหลายแถว เพราะหากใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นอาจจะทำลายรากมะพร้าวเสียหายได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีประสบการณ์มาแล้ว ขณะที่การกำจัดวัชพืชควรใช้วิธีตัดเพียงอย่างเดียว แล้วหมั่นตัดอย่าปล่อยให้มีมาก

ส่วนโรค/ศัตรูที่พบกับมะพร้าวมักเป็นพวกด้วงแรด ด้วงงวง แต่พอหลังจากปี 2540 เป็นต้นมาพบว่าหนอนหัวดำและแมลงหนามดำเข้ามาสร้างปัญหากับมะพร้าวเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ ที่ศูนย์ได้ผลิตแตนเบียนบราคอนเพื่อไว้กำจัดหนอนหัวดำ เนื่องจากหนอนชนิดนี้มักกินใบแก่ของมะพร้าวจากด้านล่างขึ้นไปที่ยอดจนทำให้ใบมะพร้าวเสียหาย มีผลต่อจำนวนผลผลิตที่ลดลง

อีกแนวทางนอกจากแตนเบียนคือการฉีดสารเคมีที่ทางราชการแนะนำ เป็นการฉีดเข้าไปในลำต้นเพื่อให้ใบดูดซึมแล้วเมื่อหนอนกินใบจะตาย โดยแนวทางนี้จะเหมาะกับต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร แต่วิธีนี้ยังติดขัดอยู่เพราะค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น ตอนนี้คงใช้แตนเบียนมาช่วยก่อน

ศัตรูอีกชนิดคือแมลงดำหนามที่มักกินยอดใบทำให้มะพร้าวแห้ง โดยแนวทางป้องกันคือใช้ยาปราบซึ่งอาจมีอันตรายอยู่บ้าง แต่เท่าที่ทำกันตอนนี้คือตัดใบแล้วนำมาเผา หรือใช้แตนเบียนอีกสายพันธุ์มาช่วยกำจัด ส่วนด้วงแรด ด้วงงวงจะใช้วิธีทำลายด้วยการเจาะเปิดแผล จากนั้นด้วงงวงจะเข้าไปที่ยอดมะพร้าวเพื่อวางไข่ พอไข่เจริญเติบโตจะเป็นหนอนเจาะกินยอดมะพร้าวตายแล้วหักออก

สำหรับแนวทางแก้ไขคือจะทำกองล่อที่ผลิตจากมูลสัตว์ขุยมะพร้าว เศษวัชพืช สร้างกองไว้ 2 แห่ง อีกแนวทางคืออย่าปล่อยให้สวนมะพร้าวรก ไม่ว่าจะด้วยอะไรก็ตาม เพราะจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชนิดต่างๆ ทุกอย่าง

ในต้นมะพร้าวแกงผมทดลองใส่กากน้ำปลาลงไป พบว่าให้ผลผลิตดี ดก ผลใหญ่ เพราะกากน้ำปลามีส่วนผสมของเกลืออยู่แล้ว รวมถึงเศษจากตัวปลาด้วย

หลักและวิธีปลูกมะพร้าวจะต้องใส่ใจอย่างมาก ต้องทุ่มเทอย่างหนัก ไม่ควรปลูกแบบปล่อยเหมือนสมัยก่อนที่ให้เทวดาเลี้ยง ในสมัยนี้ทำเช่นนั้นคงไม่ได้แน่ เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป การแข่งขันทวีความเข้มข้น ทุกปัจจัยเป็นตัวแปรต่อรายได้ที่เกิดขึ้น

“การดำรงอยู่ในอาชีพนี้จึงต้องอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน เพราะทุกสวนที่ปลูกได้มีการรวมตัวเป็นแปลงใหญ่เพื่อจะได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้วให้ความช่วยเหลือทุกเรื่อง ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างกัน มีการช่วยเหลือพึ่งพากันละกัน ท้ายนี้หากท่านสนใจข้อมูลการปลูกมะพร้าวขอเรียนเชิญได้ที่ศูนย์” คุณวิชาญ กล่าว

บทสรุปของคุณวิชาญในเรื่องการปลูกมะพร้าวแกงอย่างมีคุณภาพจึงฟันธงไปตรงที่การเข้าถึงกระบวนการปลูกในทุกขั้นตอน เพราะในทุกระยะของการเจริญเติบโต มะพร้าวต้องการความเอาใจใส่ ขณะเดียวกัน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนต่อผลผลิตมะพร้าวเพื่อการค้าย่อมทำให้ผู้ปลูกยิ่งหมั่นดูแลอย่างใกล้ชิด

ดังนั้น หากเริ่มลงมือปลูกมะพร้าวแกงในวันนี้อย่างมีคุณภาพ ในวันข้างหน้าคุณคงไม่พลาดที่จะมีรายได้อย่างงาม…แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า คุณเล็ก เกตุนาค ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อยู่บ้านเลขที่ 70/3 หมู่ที่ 3 บ้านหนองโสน ตำบลเขาคิริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร โทร. (061) 684-1969 เล่าย้อนกลับไปว่า ตนเองและเพื่อนๆ เกษตรกรได้รวมกลุ่มปลูกพริก เริ่มปลูกพริกเพื่อป้อนเข้าโรงงานน้ำพริก ได้มา 3 ปีแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีอาชีพทำนาและไร่อ้อย หลายปีที่ผ่านมาข้าวราคาตกต่ำมาก ไม่คุ้มต่อการลงทุนปลูกจึงมองหาพืชปลูกใหม่ พอได้มีโอกาสรู้จักกับตัวแทนบริษัทที่เขาเข้ามาส่งเสริมปลูกพริกและรับซื้อคืนในราคาประกันก็มีความสนใจ เริ่มปลูกในปี 2558 กับเพื่อนเกษตรกรเกือบ 20 คน ที่สนใจ แต่ก็ไม่ได้ปลูกมาก

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่เคยปลูกพริกเชิงการค้ามาก่อน ก็เริ่มต้นปลูกกันคนละ 1-2 ไร่ ก็มีพื้นที่ปลูกรวมกันได้ 30 ไร่ ในตอนนั้น ซึ่งผลที่ได้คือกลางๆ หมายถึงไม่ขาดทุน มีกำไรบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งเป็นเพราะยังขาดประสบการณ์ในการปลูก ดูแลและการรักษา โดยเฉพาะเรื่องโรคและแมลงที่ยังไม่รู้จักและการใช้สารเคมีที่ถูกต้องนัก ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทก็พยายามเข้ามาให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องของการปลูกพริกเป็นระยะๆ จนเกิดความรู้ความเข้าใจกันมากขึ้น การปลูกพริกเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานก็ดีขึ้นตามลำดับ

ปลูกพริก “ซุปเปอร์ฮอท” สมัครยูฟ่าเบท ซึ่งเป็นพริกขี้หนูเม็ดใหญ่ เม็ดเล็กผลยาว 5-7 เซนติเมตร มีลักษณะต้นแข็งแรง แตกแขนงดี ทรงพุ่มกว้างปานกลาง ต้นสูง 70-80 เซนติเมตร ติดผลดกมาก ผลชูเหนือทรงพุ่ม ผลดิบสีเขียว-เขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงสด ผลสดเก็บได้นานโดยขั้วผลไม่เน่า อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังการย้ายกล้า กับ “ฮอท ชิลลี่” ซึ่งจัดเป็นพริกหนุ่มเขียวลูกผสม เป็นพริกเม็ดใหญ่ ลักษณะผลจะยาว ประมาณ 12-14 เซนติเมตร ผลดิบจะมีสีเขียวสด ผลสุกจะมีสีแดงสวย ผิวผลเรียบเป็นมันเงา เนื้อผลหนา เนื้อแน่น แข็ง ทนทานต่อการขนส่งไกล ต้นพริกแตกแขนงดี ออกดอกต่อเนื่อง ติดผลดก ผลผลิตต่อไร่สูง อายุเก็บเกี่ยว 60-70 วัน หลังการย้ายกล้า เหมาะต่อการส่งโรงงาน

แต่เกษตรกรบางคนที่ต้องการปลูกช่วงปลายปีเก็บผลพริกตั้งแต่หน้าแล้งเป็นต้นไปก็จะมีสายพันธุ์พริกที่เหมาะสม คือ พริกพันธุ์ “ซีอาน” เป็นสายพันธุ์พริกที่มีสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดง สวย ผลดก ทนโรค น้ำหนักดีซึ่งคล้ายกับพันธุ์ฮอท ชิลลี่ เป็นพริกพันธุ์หนึ่งที่นำไปผลิตซอสพริก พันธุ์ซีอานจะนำมาปลูกสลับ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม สำหรับคนที่จะปลูกผ่านหน้าแล้ง เนื่องจากพริกพันธุ์ซีอาน สามารถสู้อากาศร้อนได้ดีกว่าพันธุ์ฮอท ชิลลี่ ออกดอกติดผลดกดีในสภาพอากาศร้อน แต่ก็ไม่สู้ฝนเหมือนพันธุ์ฮอท ชิลลี่

แต่กลับกัน พันธุ์ฮอท ชิลลี่ สู้ฝนแต่ออกดอกติดผลไม่ดีในช่วงหน้าร้อน ก็มีสายพันธุ์ให้เลือกปลูกช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับสมาชิกกลุ่มที่ต้องการปลูกในช่วงนี้ แต่ทั้งนั้นสายพันธุ์พริกต้องเป็นพันธุ์ที่บริษัทหรือโรงงานกำหนดเพื่อให้ได้ผลผลิตพริกที่เหมาะต่อการนำไปใช้แปรรูป