เกษียณมา 13 ปีแล้ว อยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

สิ่งใดรับใช้สังคมได้ก็จะทำ มาเพาะเห็ดด้วยความคิดที่ว่าคนเราต้องมีสุขภาพดี การจะมีสุขภาพที่ดีได้ต้องมีการจัดการ มีการบริโภคอาหารที่ดี การป้องกันตนเอง รักษาสุขภาพที่ดีนั้นเป็นอย่างไร ทำให้คิดถึงการป่วย บางครั้งไม่มียารักษา ยานั้นมีผลข้างเคียง มาคิดถึงประเด็นนี้ มาใช้สมุนไพรเป็นทางเลือก ที่จะช่วยให้ปัญหาเช่นนี้สามารถแก้ไขได้ ก็เลยมาเพาะเห็ดถั่งเช่า

เดิมเคยอยู่ที่วิทยาเขตจันทบุรี สถาบันมีศักยภาพ งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ มีอาจารย์ ดร. สาโรจน์ เก่งทางด้านนี้ ท่านมีผลงานเพาะขยายกล้วยไม้เหลืองจันทบูร ได้ต้นจำนวนมาก ปล่อยคืนสู่ป่า เป็นการอนุรักษ์พืชพื้นบ้าน จึงขอให้ท่านช่วยเรื่องการเพาะเลี้ยงเห็ด โดยเฉพาะเห็ดถั่งเช่าที่มีผลดีต่อสุขภาพ เป็นเห็ดสำคัญช่วยป้องกันและรักษาโรคบางอย่างที่บางครั้งรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันไม่ได้ อย่างเรื่องของตับ ไต เห็ดถั่งเช่าสนับสนุนให้ตับ ไต ทำงานดี ทำให้เลือดหมุนเวียนดี เป็นเรื่องป้องกันและส่ง

อาจารย์สมควร เล่าและบอกต่ออีกว่า

“เรารับเทคโนโลยีมา มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของชุมชน มหาวิทยาลัยวิจัยอยู่ 3 ปี ถึงจะได้เห็ดมีคุณภาพที่มีสารสำคัญสูง ทำให้เห็ดที่เพาะโดยฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏมีคุณภาพดี สารสำคัญคอร์ไดเซปินสูง ที่พบซึ่งตรวจโดยสถาบันอาหารที่มีชื่อเสียง พบ 6,000-7,000 พีพีเอ็ม…กิจการมีลูกสาวประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันอื่นๆ ให้เข้าถึงวิชาการ ทำให้รู้ว่าเห็ดมีคุณภาพมีกระบวนการอย่างไร เพาะสำเร็จแล้ว เห็ดเป็นอาหารและยา มีแปรรูปเอาไปเป็นอาหารเสริม เมื่อก่อนวิทยาเขตจันทบุรีทำน้ำสำรองได้ผล ก็ทดลองนำเห็ดไปใส่ในน้ำสำรอง

เพาะเลี้ยงในห้องปลอดเชื้อ

งานวิจัยการเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทอง เริ่มเมื่อปี 2554 ใช้เวลา 3 ปี จึงประสบความสำเร็จ

ดร. อรวดี อานามวัฒน์ ลูกสาวของอาจารย์สมควร คือผู้ดูแลฟาร์มเห็ดและประสานงานทุกอย่าง

วันที่เข้าไปเยี่ยมชมงานเพาะเห็ด ดร. อรวดี ติดงานที่กรุงเทพฯ ผู้พาเยี่ยมชมคือ อาจารย์สมควร งานเพาะเห็ดถั่งเช่าของฟาร์มแห่งนี้ เพาะในห้องที่ปรับอุณหภูมิ และอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ ดังนั้น เวลาเข้าไปชมต้องสวมเสื้อของฟาร์มทับอีกทีหนึ่ง สวมหมวก พร้อมทั้งเปลี่ยนรองเท้า

ทางฟาร์มเห็ดแนะนำขั้นตอนการเพาะเห็ดถั่งเช่า โดยเริ่มจากเตรียมอาหารเห็ดในขวด โดยที่อาหารหลักๆ คือธัญพืชจำพวกข้าวโพด ลูกเดือย เมื่อเตรียมเสร็จแล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ในหม้อนึ่งความดันไอ 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ความร้อน 121 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที

จากนั้นเขี่ยเชื้อเห็ดถั่งเช่าลงในขวด

แล้วย้ายสู่ห้องบ่ม ช่วงอยู่ในห้องบ่มนี้ ใช้ผ้าสีดำคลุมขวดเห็ดให้อยู่ในความมืด เป็นเวลา 1 เดือน อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงให้ขวดที่มีเชื้อเห็ดได้รับแสงอีก 40 วัน อุณหภูมิช่วงนี้ 25 องศาเซลเซียส ช่วงที่ขวดเชื้อเห็ดอยู่ในความมืด เชื้อเห็ดมีสีขาว เมื่อถูกแสง 2-3 วัน จึงเริ่มเป็นสีเหลือง จนกระทั่งเป็นสีเหลืองทองในที่สุด

รวมระยะเวลา ตั้งแต่เริ่มเขี่ยเชื้อจนนำมาใช้ประโยชน์ได้ ใช้เวลา 70 วัน เมื่อมีผลผลิตเห็ดแล้ว ทางฟาร์มนำมาอบและบด ซึ่งก็ทำในห้องที่ปลอดเชื้อเช่นกัน

ทางฟาร์มบอกว่า เห็ดน้ำหนัก 30 กิโลกรัม อบและบดแล้วจะเหลือน้ำหนักแห้ง 10 กิโลกรัม

ความละเอียดของเห็ดที่บดใกล้เคียงกับแป้ง คือ 250-260 เมช (mesh) มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายแล้ว

ดร. อรวดี อานามวัฒน์ บอกว่า เดิมทำงานเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล จากนั้นมาทำฟาร์มเห็ด เพราะเห็นว่าน่าสนใจ

“ผลิตภัณฑ์ของฟาร์ม มีการแปรรูปได้มาตรฐาน ตอนนี้ได้ อย. แล้ว” ดร. อรวดี บอก

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปขณะนี้มี ผงเห็ด ขนาดบรรจุ 50 กรัม จำหน่าย 1,300 บาท ขนาด 100 กรัม จำหน่าย 2,500 บาท เห็ดถั่งเช่าผสมกาแฟ 10 ซอง จำหน่าย 250 บาท

เห็ดแคปซูล แบบเข้มข้น 10 เม็ด จำหน่าย 400 บาท

เห็ดแคปซูล แบบปกติ 10 เม็ด จำหน่าย 300 บาท

ผงเห็ดถั่งเช่า เมื่อชงในน้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส จะละลายน้ำดี เพราะบดละเอียดมากถึง 250 เมช ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ปัจจุบันกล้วยหอมทองของประเทศไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เหตุเพราะกล้วยหอมทองของประเทศไทยรสชาติอร่อย หอมหวาน ทั้งยังมีสีเหลืองทอง จนทำให้ใครๆ ต่างอยากที่จะบริโภค

เพียงแต่ช่วงผ่านมา อาจไม่ค่อยมีใครทราบเท่าไรนักว่าแหล่งผลิตกล้วยหอมทองอยู่บริเวณไหนของประเทศไทย เพราะสภาพพื้นที่โดยรวมสามารถเพาะปลูกกล้วยต่างๆ ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอม

แต่สำหรับกล้วยหอมทองที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น แหล่งเพาะปลูกสำคัญกลับอยู่ที่ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในอำเภอบ้านลาด ที่ในอดีตต่างประกอบอาชีพทำนา และทำการเกษตรอื่นๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

เนื่องจากถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ

เกษตรกรเหล่านี้จึงรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นครั้งแรกในปี 2483 เพียงแต่ตอนนั้น การจัดตั้งสหกรณ์ยังไม่มีการจดทะเบียน และยังมีอุปสรรคในการดำเนินงานหาทุนหลายอย่าง จึงทำให้มีความคืบหน้าน้อยมาก กระทั่งในปี 2518 มีการจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในปีเดียวกัน สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด ได้รับโล่รางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประเภทสหกรณ์การเกษตรดีเด่น โดยยึดหลักความต้องการของสมาชิกเป็นสำคัญ ทั้งยังมุ่งเน้นให้สมาชิกเกิดความพึงพอใจในการดำเนินการ

เพียงแต่ระยะเบื้องต้นแนวทางการทำการเกษตรอาจมีความหลากหลาย เนื่องจากพวกเขาเคยชินต่อการทำนา ทำตาลโตนด เลี้ยงวัว ปลูกกล้วยน้ำว้า มะนาว เพาะเห็ดฟาง และอื่นๆ

โดยมีเกษตรกรส่วนน้อยที่ปลูกกล้วยหอมทอง

จนปี 2539 “บรรเจิด สมหวัง” อดีตผู้ตรวจราชการสหกรณ์ เขต 8 ขณะนั้น ชักชวน “ยามา โมโต้” ประธานกรรมการ บริษัท แพนแปซิฟิคฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด จากสำนักงานใหญ่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มาเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด พร้อมกับมีการเจรจานำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศไทย โดยเฉพาะกล้วยหอมทอง เพราะทางประเทศของเขามีความต้องการอย่างมาก

ทั้งยังเห็นว่า จังหวัดเพชรบุรีเป็นแหล่งผลิตกล้วยหอมทองที่ดีมาก ทั้งรสชาติและความหอม จึงอยากให้สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด ดำเนินการด้านการผลิตกล้วยหอมทองให้แก่ญี่ปุ่น ปรากฏว่าทางสหกรณ์ตอบรับ และพร้อมดำเนินการ ทั้งยังมีการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกของสหกรณ์

ที่สุดจึงมีการรวบรวมกล้วยหอมทองส่งยังญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 จำนวน 6 ตัน ต่อสัปดาห์

ต่อมาราวเดือนกรกฎาคม 2542 “ยามา โมโต้” นำคณะกรรมการ 2 นาย จากชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคน ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภค Palsystem มาแวะเยี่ยมสหกรณ์อีกครั้ง โดยทางชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคนตกลงรับซื้อกล้วยหอมทองจากสหกรณ์โดยตรง พวกเขาจึงดำเนินการส่งกล้วยหอมทองให้กับชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคนทุกๆ สัปดาห์ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 8 ตัน

จากนั้นอีก 1 ปี คือในวันที่ 9 กรกฎาคม 2543 สหกรณ์การเกษตรบ้านลาดกับชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคน (Palsystem) จัดทำพิธีลงนามแถลงการณ์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีสาระสำคัญในการยึดหลักการเคารพสิทธิของแต่ละฝ่าย และการให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อมิตรสัมพันธ์ตลอดไป

จนปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี สามารถส่งออกกล้วยหอมทองให้กับชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคน (Palsystem) มากกว่าสัปดาห์ละ 8 ตันแล้ว

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ “ศิริชัย จันทร์นาค” ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี บอกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยกว่าจะมาถึงวันนี้ เพราะการส่งออกกล้วยหอมทองไปญี่ปุ่นต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยทางด้านสินค้าอย่างเข้มข้น ฉะนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำเกษตรอินทรีย์ โดยไม่มีการใช้สารเคมีตั้งแต่การเพาะปลูก

“พูดง่ายๆ เราดำเนินการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงทุกอย่าง และเราก็น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์มาปรับใช้ด้วย อย่างตอนแรกที่เราเริ่มปลูกกล้วยหอมทองมีเกษตรกรเพียงไม่กี่กลุ่ม กลุ่มละ 10-20 คน แต่หลังจากกลุ่มแรกๆ ส่งกล้วยหอมทองไปญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ กลุ่มอื่นๆ ที่เห็นก็อยากที่จะปลูกบ้าง จนทุกวันนี้เรามีเกษตรกรทั้งหมด 82 กลุ่มที่ปลูกกล้วยหอมทองส่งออก”

“เพราะ 1 ไร่ จะลงทุนประมาณ 20,000 บาท สามารถปลูกกล้วยหอมทองได้ทั้งหมด 400 หน่อ ต่อไร่ แต่ขายผลผลิตได้ประมาณ 80,000 บาท ต่อไร่ ถือว่ามีรายได้ค่อนข้างดี และทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ซึ่งผ่านมาเราส่งกล้วยหอมทองภายในกลุ่มของเราไปญี่ปุ่น 100% แต่ตอนหลังจึงมาประชุมร่วมกันว่าเราน่าจะส่งขายภายในประเทศบ้าง เพื่อให้คนไทยมีโอกาสกินกล้วยหอมทอง”

“จนที่สุดจึงติดต่อกับ 7-11 เพื่อขอนำกล้วยหอมทองจากสหกรณ์การเกษตรบ้านลาดเข้าไปวางจำหน่ายในสาขาทั้งหมดที่มีมากกว่า 8,000-9,000 สาขาทั่วประเทศ จนทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นเหลือเพียง 90% และ 10% วางจำหน่ายภายในร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์”

“ศิริชัย” บอกว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากองค์ความรู้ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ ที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยให้ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของชุมชนพึ่งตนเอง เพื่อเดินตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกส่วนหนึ่งได้วิชาการทางด้านการเกษตรจากเกษตรตำบล อำเภอ และจังหวัด รวมถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ที่เราเข้าไปศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริในที่ต่างๆ นอกจากนั้น ก็เป็นองค์ความรู้การปลูกกล้วยหอมทองให้ได้คุณภาพจากเกษตรกรชาวญี่ปุ่น

“เพราะเป้าหมายที่เราต้องการจริงๆ คือการสร้างเกษตรกรให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือเป็นเกษตรกรตัวอย่างในการเป็น Smart Farmer เพราะถ้าเราสามารถสร้างเกษตรกรให้มีความรู้ขนาดนั้นได้ เขาจะได้นำองค์ความรู้ที่มีไปต่อยอด และให้ความรู้แก่เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป เสมือนเป็นการแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน เหมือนอย่างทุกวันนี้เกษตรกรของเราไปช่วยในพื้นที่ต่างๆ บ้าง แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะทุกคนอยากประสบความสำเร็จ แต่การจะประสบความสำเร็จได้ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง”

“ตอนนี้กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมทองที่อำเภอบ้านลาด ถูกรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น จนมีชื่อเสียงในต่างประเทศ และภายในประเทศ กระทั่งมีเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ อยากเป็นเหมือนเราบ้าง ซึ่งเราก็ไม่ว่าอะไร พร้อมสนับสนุนด้วยซ้ำ แต่อย่างว่าการปลูกกล้วยหอมทองแต่ละพื้นที่คุณภาพที่ได้อาจมีความแตกต่างกัน เพราะกล้วยหอมทองชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศา และที่บ้านลาดอุณหภูมิเหมาะสมต่อการปลูกกล้วยหอมทองอย่างมาก”

“ซึ่งเหมือนกับทางภาคใต้ เขาปลูกกล้วยหอมทองเหมือนกัน แต่ผลผลิตที่ได้กลับแตกต่าง ของเขาเปลือกจะหนา และผลจะใหญ่คล้ายกับกล้วยฟิลิปปินส์ และไม่หอมเหมือนกล้วยหอมทองบ้านลาด อีกอย่างอาจอยู่ที่แหล่งน้ำด้วย ที่ทำให้คุณภาพรสชาติของกล้วยมีความแตกต่างกัน”

ถึงตรงนี้ จึงอดถาม “ศิริชัย” ไม่ได้ ว่าเพราะเหตุใด? ทำไม? กล้วยหอมทองจึงไปมีชื่อเสียงที่ประเทศญี่ปุ่น เขาจึงตอบให้ฟังว่าญี่ปุ่นเขาจะมีการจัดงานเทศกาลผลไม้นานาชาติทุกปี ผู้คนจากทั่วโลกจะนำผลไม้ประจำชาติของตัวเองมาร่วมออกงาน ส่วนของประเทศไทยเองก็มีผลไม้หลายชนิดมาร่วมงาน แต่เรานำกล้วยหอมทองจากบ้านลาดไปร่วมออกงาน

“ภายในงานจะมีบริการให้ทุกคนลองชิมกล้วยหอมจากประเทศต่างๆ ซึ่งมีกล้วยหอมจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมงาน อาทิ แอฟริกา เอกวาดอร์ สาธารณรัฐโดมินิกัน ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย พอชิมเสร็จแล้ว เขาจะให้คนเหล่านั้นเขียนใบโหวตลงกล่องว่ากล้วยหอมจากประเทศไหนอร่อยที่สุด ปรากฏว่าของเราได้ที่ 1 ตรงนี้จึงกลายเป็นตัวชี้วัดว่ากล้วยหอมทองของเราอร่อยกว่าใครๆ รู้สึกตอนนั้นจะประมาณปี 2557”

ผ่านมาเพียง 3 ปี

แต่เป็น 3 ปีที่ทำให้สมาชิกภายในสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งยังทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นด้วย ที่สำคัญยังทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในสหกรณ์มากขึ้นตามมาด้วย

แต่กระนั้น “ศิริชัย” ยังเป็นห่วงว่าในการบริหารจัดการสมาชิกภายในกลุ่มให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน จะต้องสร้างตัวตายตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ขึ้นมา เพราะสมาชิกในปัจจุบันอายุล่วงเข้ามัชฌิมวัย และปัจฉิมวัยกันเกือบหมดแล้ว ดังนั้น หากไม่มีการสร้างทายาทขึ้นมาทดแทน อาจทำให้เกิดการขาดแคลนเกษตรกรได้

“ผมจึงประชุมร่วมกับสมาชิกทุกคนเพื่อจัดทำโครงการทายาทเกษตรรุ่นใหม่ขึ้นมา เริ่มต้นจากลูกหลานภายในกลุ่มก่อน อายุตั้งแต่ 18-30 ปี โดยให้พวกเขาเขียนโครงการเข้ามานำเสนอว่าถ้าเขาจะทำการเกษตรเขาจะปลูกอะไร โดยทางกลุ่มจะให้เงินทุนเริ่มต้น 1 แสนบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ตอนนี้เราทำไปทั้งหมด 3 รุ่นแล้ว ปรากฏว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีมาก”

“เพราะเราเห็นว่าลูกๆ หลานๆ ของพวกเขา พอเรียนหนังสือสูงๆ จะไปทำงานในเมืองกันหมด ไม่ค่อยมีใครอยากทำเกษตรกร เราจึงพยายามปลูกฝังพวกเขาตรงนี้ และพยายามสร้างแรงบันดาลใจให้เขาเห็นว่าที่พวกคุณประสบความสำเร็จเรียนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ล้วนมาจากเงินของพ่อแม่ที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น อีกอย่างพ่อแม่พวกคุณก็เริ่มแก่ชรามากแล้ว ถ้าคุณมาทำการเกษตร ก็จะได้มาดูแลพวกเขายามเจ็บไข้ได้ป่วยด้วย”

“ยิ่งเดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มหันมาเป็นเกษตรกรกันมาก แต่เรามีที่ดิน มีสวน มีไร่อยู่แล้ว น่าจะมาทำอาชีพเสริมตรงนี้อีกทาง ซึ่งหลายคนเห็นด้วย เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าปัจจุบันกลุ่มสหกรณ์เกษตรกรบ้านลาดมีชื่อเสียงขจรขจายไปไกล และเขาเองก็เป็นลูกหลานของที่นี่ น่าจะต่อยอดจากสิ่งที่พ่อแม่ทำมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยใช้ความชำนาญทางเทคโนโลยีที่เขามีมาเป็น Smart Farmer ในที่สุด”

การทำอย่างนี้ไม่เพียงเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจ หากยังเป็นการสอนให้พวกเขากลับยังถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างมีความสุข

ทั้งยังเป็นความสุขที่เกิดจากการสร้างภายในของตัวเอง

จนทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต “สวนหลงบูรพา” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 5 ซอยหนองหว้ากอก ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สวนทุเรียนคนรุ่นใหม่ ครอบครัวของ ร้อยตรีกรีฑา งาเจือ หรือ “อาจารย์เฟิร์น” วัย 30 ปี และ คุณณัฐวรรณ แปลงดี หรือ “น้องหนู” ภรรยา ปัจจุบัน คุณกรีฑาเป็นรองประธานชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทยภาคตะวันนออก และหัวหน้าศูนย์ศึกษาการผลิตทุเรียนคุณภาพ จังหวัดตราด และล่าสุดเป็นอาจารย์พิเศษสอนนักศึกษา สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีอีกด้วย

คุณกรีฑาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และปริญญาโท บริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แต่เลือกสืบทอดอาชีพทำสวนตามพ่อแม่ โดยผสมผสานภูมิปัญญารุ่นพ่อกับประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากเกษตรกรรมยุคใหม่ เป็นแนวทางพัฒนาสู่เกษตรกรยุค 4.0 ออกแบบการผลิตทุเรียนให้เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการบริหารจัดการด้านการตลาดแบบใหม่ด้วยสื่อโซเชียลมีเดีย สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ปั้น หลงลับแล ทุเรียนคุณภาพภาคตะวันออก

ป้อนตลาดพรีเมี่ยมทั้งไทยและต่างประเทศ

คุณกรีฑา งาเจือ เล่าว่า สวนหลงบูรพานี้ แปลงแรกรับสืบทอดจากพ่อและแม่ที่ทำสวนผลไม้มากว่า 30 ปีแล้ว เมื่อเรียนจบปริญญาตรี อายุ 20-21 ปี พ่อให้อยู่ช่วยทำสวนที่บ้าน เพราะเป็นลูกคนเดียว แรกทีเดียวได้เรียนรู้จากพ่อไปก่อน ตอนนั้นเรียนต่อปริญญาโทไปด้วย และแต่งงานมีครอบครัว กับ “คุณณัฐวรรณ แปลงดี หรือ “น้องหนู” จึงตัดสินใจยึดอาชีพทำสวนกันแบบครอบครัว พ่อ แม่ ลูกๆ รวม 4 คน เริ่มต้นจากสวนเดิมที่พ่อทำไว้ ขนาด 44 ไร่ เป็นสวนผลไม้รวม มีทุเรียน เงาะ มังคุด ปะปนกัน ปลูกทุเรียนพันธุ์ชะนี กระดุม เมื่อเป็นโรคตาย จึงนำพันธุ์หมอนทองมาปลูกทดแทน ต่อมาพันธุ์หมอนทองที่ให้ผลผลิตเริ่มมีปัญหาเป็นโรคตายอีก แต่ไม่มากนัก จึงทยอยปลูก พันธุ์ก้านยาว หลงลับแล แทนที่หลากหลายสายพันธุ์ ปัจจุบันแปลงนี้มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์ จำนวน 200-300 ต้น

หลังจากทำสวนทุเรียนแปลงแรกแล้ว ต่อมาทางบ้านได้ซื้อที่ดินที่เป็นสวนผลไม้ ขนาด 13 ไร่ มีทุเรียนเดิมๆพันธุ์ชะนี กระดุม ที่คุณพ่อดูแลต่อจากเจ้าของเดิม อายุ 30 ปี ต้นใหญ่มาก ชะนีเหลือ 3 ต้น กระดุมเหลือ 7 ต้น ระหว่างนั้นได้ปลูกหมอนทองเหลือง ก้านยาว พวงมณี และหลงลับแล ทดแทนต้นที่ตายไป ตอนนี้มีสวนทุเรียนที่ขยายเพิ่มขึ้นและต้องดูแลรวม 5 แปลง แปลงที่ 3 ขนาด 5 ไร่ ปลูกหมอนทองทั้งแปลง เริ่มให้ผลในปีนี้ ส่วนอีก 2 แปลง ปลูกหลากหลายสายพันธุ์เช่นกัน ยังไม่ให้ผล มีทั้งหมอนทอง และพันธุ์พื้นเมืองที่พัฒนาแล้ว เช่น หลงลับแล พวงมณี พานพระศรี นวลทองจันทร์

แม้ว่าหมอนทองตลาดทั้งต่างประเทศและในประเทศให้ความนิยมมาก แต่ตลาดในอนาคตไม่แน่นอน เพราะต่างคนต่างปลูกหมอนทองตามๆ กันจำนวนมาก ขณะที่ทุเรียนมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย รวมทั้งรสนิยมผู้บริโภคที่ชื่นชอบทุเรียนแต่ละพันธุ์ต่างกัน โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มพรีเมี่ยมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ชื่นชอบทุเรียนคุณภาพ การปลูกไว้หลายๆ พันธุ์ จึงเป็นการกระจายความเสี่ยง เป็นทางเลือกของตลาด ซึ่งสายพันธุ์พื้นเมืองได้พัฒนาเป็นทุเรียนคุณภาพแล้ว บางพันธุ์ราคาดีกว่าหมอนทอง อย่างปีที่แล้ว ทุเรียนหมอนทอง กิโลกรัมละ 120-130 บาท หลงลับแล กิโลกรัมละ 280-300 บาท พวงมณี ราคา 100-120 บาท ก้านยาว 200-300 บาท ซึ่งหลงลับแลตลาดจีน ไต้หวัน ยังต้องการมาก แต่ยังผลิตกันน้อย

“หลงลับแล ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของอุตรดิตถ์ นำมาปลูกในสภาพดิน น้ำ ของจังหวัดตราดที่เหมาะสม ดูแลบำรุงรักษาให้เป็นทุเรียนคุณภาพได้ ลูกใหญ่ ทรงสวย เนื้อเนียนละเอียด สีเหลืองสวย กลิ่นอ่อน รสชาติดีไม่หวานมาก ต่อไปจะปั้นให้เป็นดาวเด่น นางงามตามชื่อสวนหลงบูรพา หมายถึงทุเรียนพื้นเมืองของที่อื่น แต่มาพัฒนาเป็นทุเรียนคุณภาพในภาคตะวันออก คือที่จังหวัดตราด พื้นที่ 5 แปลง ปลูกไว้ ร่วมๆ 100 ต้น รุ่นแรกมี 10 ต้น ให้ผลมาเป็นปีที่ 4 มีคุณภาพดี ตลาดพรีเมี่ยมรับไม่อั้น ทั้งจีนและภายในประเทศ คาดว่าประมาณอีก 3 ปี จะทยอยให้ผลทั้งหมด และจะเป็นทุเรียนที่ขึ้นชื่อของสวนหลงบูรพา” คุณกรีฑากล่าว

ชะนี กระดุม ผลผลิตออกก่อน… ต่อทุนให้ หมอนทอง หลงลับแล ก้านยาว

คุณกรีฑา เล่าว่า พื้นที่ปลูกทุเรียน 2 แปลงแรกที่ให้ผล จะมีทุเรียนชะนี กระดุม พวงมณี ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกกันมานาน ปลูกไว้ด้วยถึงแม้ว่าจะมีพันธุ์พัฒนาใหม่ๆ ปลูกเสริมทดแทน ตามความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น เช่น หมอนทอง ก้านยาว หลงลับแล แปลงที่ 2 ที่ซื้อสวนมาทำต่อ ชะนี กระดุม ปัจจุบันอายุ 30 ปี มีทุเรียนพันธุ์ชะนี 4 ต้น และกระดุม 7 ต้น ที่ยังดูแลรักษาไว้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ข้อ คือ

1. ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ผสมเกสร เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่แข็งแรงทนทานต่อโรค และ
2. เป็นทุเรียนที่ออกช่วงต้นฤดู เก็บเกี่ยวได้เงินเร็ว มีราคาสูง

แต่ละปีประมาณปลายกุมภาพันธ์-ต้นมีนาคม จะให้ผลผลิตก่อนพันธุ์อื่น เก็บเกี่ยวผลชะนีต้นละเกือบ 200 ลูก กระดุม 130-150 ลูก ช่วงต้นฤดูทำรายได้ประมาณ 200,000 บาทเศษ ใช้เป็นต้นทุนสะสมหมุนเวียนค่าใช้จ่ายดูแลเก็บเกี่ยว รุ่นน้องๆ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว หลงลับแลที่ทยอยสู่ตลาดในช่วงปลายมีนาคม-เมษายน ซึ่งช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวมีค่าใช้จ่ายสูง เสมือนพี่ดูแลน้องๆ

“ทุเรียนชะนี กระดุม ต้นใหญ่จะสูงถึง 10 กว่าเมตร การดูแลรักษาจะยุ่งยากกว่าทุเรียนพุ่มเล็ก ทั้งพ่นยา ตัดแต่งกิ่ง แต่งผล และการตัดผล โดยเฉพาะการดูแลช่วงให้ผลต้องใช้ไม้ไผ่ค้ำยัน ผูกเชือกโยงกิ่งรับน้ำหนัก บางต้นต้องใช้วิธีการตัดยอดใช้ไม้ไผ่ด้ามช่วยรับน้ำหนักกิ่ง ช่วงโยงกิ่งต้องจ้างแรงงานมาช่วยกัน 5-6 คน แต่ชะนี กระดุม ที่อายุมากเปลือกจะบาง เนื้อเหนียว รสชาติหวานแหลม ต้นฤดูเดือนมีนาคมได้ราคาดี ชะนีกิโลกรัมละ 90-100 บาท กระดุม 110-120 บาท” คุณกรีฑา กล่าว

หลงลับแล…ดูแลง่ายกว่าหมอนทอง

คุณกรีฑา เล่าถึงการทำสวนทุเรียนหลงลับแลว่า UFABET ขึ้นอยู่กับสภาพชนิดดิน แหล่งน้ำ วิธีการปลูก ดูแล บำรุงต้น การผสมเกสรและการดูแลดอกและผล ไม่ต่างจากทุเรียนทั่วๆ ไป สามารถใช้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ให้อาหารทางดิน ใบ ลูกด้วยกันได้ ปลูก 4-5 ปี เริ่มให้ผล แต่ถ้าเปรียบเทียบกับหมอนทองจะดูแลง่ายกว่า ทั้งเรื่องโรครากเน่า โคนเน่า เพราะเป็นพันธุ์พื้นเมืองจะแข็งแรง มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดีกว่า รวมทั้งการบริหารจัดการให้ได้คุณภาพและไซซ์มาตรฐานทำได้ดีกว่า แม้ว่าหลงลับแลจะลูกเล็กกว่า ไม่ได้น้ำหนักเท่าหมอนทอง แต่ราคาดีกว่า เพราะผลผลิตน้อย ตลาดมีความต้องการสูง

ขั้นตอนการปลูกและดูแลหลงลับแล

ขั้นตอนสำคัญๆ มีดังนี้

ควรเริ่มดูแลตั้งแต่กิ่งพันธุ์ ควรใช้ยอดกิ่งพันธุ์หลงลับแลจากแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพติดตากับตอต้นพันธุ์พื้นเมืองที่แข็งแรง ที่ปลูกอยู่จะใช้ยอดกิ่งพันธุ์ของสวนเอง จะเติบโตเร็ว แข็งแรง ให้ผลที่มีคุณภาพ
2. การปลูกให้ได้ผลดี ควรปลูกแบบยกร่องลอนลูกฟูก เพราะระบายน้ำได้ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก การจัดการง่าย แต่ถ้าเป็นสวนเดิมเป็นที่สวนเก่า ปลูกในระยะชิดกันไม่ได้ยกร่อง ต้องตกแต่งกิ่งให้โปร่งแสงส่องได้ทั่วถึง
3. ตกแต่งลูก หรือ “การซอยลูก” ให้ได้ขนาดมาตรฐาน และให้เป็นรุ่นเดียวกันเพื่อง่ายต่อการจัดการ ช่วง 3 ระยะติดผลแล้ว 30 วัน 45 วัน และ 60 วัน ลักษณะการออกลูกของหลงลับแลไม่ดก ออกลูกเป็นพวงมาก มีแค่ 1-2 ลูก สามารถไว้ลูกขั้วใหญ่ได้สมบูรณ์ สวยงาม พูเต็ม ขนาดมาตรฐานที่ตลาดต้องการ ลูกละ 4-5 กิโลกรัม ได้ราคาดี หาตลาดง่าย ต่างจากหมอนทองที่พวงใหญ่มี 6-7 ลูก บางครั้งลูกทิ้งเดี่ยวคุมยากตกไซซ์ ขนาดใหญ่เกินลูกละ 6-7 หรือ 10 กิโลกรัม จะเสี่ยงต่อการหาตลาดยากและราคาถูก
4. การตัดทุเรียน ต้องให้แก่จัด ระยะ 3-4 วันสุก จะทำให้ได้รสชาติดี สีสวย หลงลับแลจะเนื้อเหนียว สีเหลืองเข้ม เนื้อหนา เม็ดเล็ก รสไม่หวานจัด กลิ่นไม่แรง