เกาะพะงัน คุณดาวใช้ปลูกผัก 1 ไร่ ส่วนที่เหลือเธอปลูกพืชอย่างอื่น

ถามว่าทำไมไม่ทำรีสอร์ตหรือห้องพัก หญิงสาว บอกว่า เนื่องจากเพิ่งกลับมาอยู่เมืองไทยได้ไม่นาน ยังไม่รู้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่จากประสบการณ์ที่ทำร้านอาหารที่ประเทศออสเตเรียมา รู้ว่าผักปลอดสารพิษกำลังได้รับความนิยม ตลาดกำลังต้องการ ทั้งชาวและชาวต่างชาติจะนิยมบริโภคกันมาก จึงศึกษาอย่างจริงจัง และเริ่มลงมือทำ

สำหรับพื้นที่ปลูกผักสลัดของคุณดาว ได้กระแสการตอบรับเป็นอย่างดี ผลผลิต 1 ไร่ต่อวัน ราว 40 กิโลกรัม จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 130 บาท ส่งขายโรงแรมในพื้นที่ และจำหน่ายในร้านอาหารของตัวเอง

“แต่ละวัน ที่ไร่จะเก็บผักสลัดได้ 30 – 40 กิโลกรัม นอกจากส่งขายโรงแรม ยังนำมาประกอบอาหาร เพราะเมื่อปลายปี 59 เปิดร้านอาหารชื่อ Seed to seed ใช้ผักที่ปลูกเอง เมนูแนะนำ สลัดไก่

ด้านรายได้ หญิงสาว บอกว่า แม้จะสู้ตอนที่อยู่ออสเตเรียไม่ได้ เพราะเฉลี่ยแต่ละเดือนเกือบ 2 แสนบาท แต่ทุกวันนี้มีความสุข ได้อยู่กับครอบครัว อนาคตจะทำฟาร์มให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทำระบบน้ำทิ้ง และจะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่บง ให้ชาวไทย และต่างชาติ เข้าชม

มีไม้ผลเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถเกิดและเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ และกล้วยก็เป็นหนึ่งในนั้น นอกจากการเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดีโดยแทบจะไม่ดูแลก็ออกผลให้รับประทานได้ตลอดเวลาแล้ว มักพบเห็นต้นกล้วยอยู่ตามบ้านแทบทุกหลังคาเรือน ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงเกิดความผูกพันกับกล้วยมาเป็นเวลายาวนาน

ยิ่งขณะนี้ผู้คนหันมาบริโภคกล้วยกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากพบว่ามีสรรพคุณที่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งกระแสนี้ทำให้กล้วยถูกยกระดับกลายเป็นผลไม้ทางการตลาดที่สำคัญ แล้วยังหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน แทนที่จะต้องเดินทางไปถึงตลาด

สำหรับเนื้อหาการบรรยายในงานสัมมนา “กล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า” ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน ตอนที่ 3 ยังคงอยู่ในประเด็นเรื่องการปลูกและการดูแล ทั้งนี้ วิทยากรท่านต่อมาอาจไม่ใช่สายตรงทางเกษตรกรรม แต่มีอาชีพโหรดังระดับประเทศ ในนาม “อาจารย์พัชนี ตุษยะเดช”

ทว่า…เส้นทางชีวิตของอาจารย์พัชนี ไม่ได้โด่งดังเฉพาะเรื่องการเป็นโหรเท่านั้น แต่กลับมีจุดหักเหจากดวงตัวเองเมื่อทำให้ต้องเข้าสู่วงการกล้วย เพราะไปได้กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องที่กลายพันธุ์ในทางที่ดีมาปลูก ทำให้ตั้งแต่ผล เครือ และปลีมีขนาดใหญ่มาก รวมถึงยังมีผลดกอีกด้วย จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะใหญ่ว่า “มะลิอ่องยักษ์” สร้างความตื่นตาให้แก่ผู้สนใจ กระทั่งนำผลไปขายได้ราคาดี แถมยังต่อยอดด้วยการทำหน่อพันธุ์ขายอีก

อาจารย์พัชนี กล่าวว่า ตัวเองไม่ได้เป็นเกษตรกรชาวสวนเต็มตัว แต่จุดเริ่มต้นที่มาถึงวันนี้ได้เพราะมีความชอบสะสมที่ดิน แต่เดิมที่ดินแปลงที่ปลูกกล้วยน้ำว้าอยู่นี้ชาวบ้านเคยปลูกมันสำปะหลังอยู่ก่อน แล้วตัวดิฉันก็รับช่วงปลูกด้วยเช่นกัน แต่หลังจากปลูกไปแล้วปรากฏว่าขาดทุนยับเยิน เลยเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดก็ไม่สำเร็จ หรือไปปลูกอ้อยก็ไม่สำเร็จเช่นกัน

จึงกลับมาทบทวนดูว่าการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเดิมคงไม่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังต้องผ่านคนกลางด้วย จากนั้นมองว่าควรจะปลูกอะไรดี ก็เห็นว่าที่ดินของเรามีน้ำสมบูรณ์จึงควรลองไปซื้อกล้วยพันธุ์มะลิอ่องเนื้อเยื่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ราคาต้นละ 40 บาทมาปลูก คราวที่เริ่มต้นปลูกจำนวนพันกว่าต้น

เมื่อมีผลผลิตเกิดขึ้นก็มีพ่อค้าเข้ามารับซื้อในสวนในราคาหวีละ 7-10 บาท ในเครือหนึ่งมีประมาณ 10 หวี พอหักแล้วได้กำไรตกเครือละร้อยกว่าบาท กลับมาคิดว่าแล้วมันจะคุ้มค่าไหม แต่ในที่สุดก็ต้องทำต่อไป

กระทั่งมาพบ คุณลออ ท่านเป็นข้าราชการซี 8 ปลูกกล้วยอยู่แถวจังหวัดกาญจนบุรี แล้วมาที่สวนดิฉันเพื่อต้องการซื้อหน่อมะลิอ่อง แต่เราไม่มีจึงพาไปหาซื้อพันธุ์มะลิอ่องให้คุณลออ หลังจากนั้นอีก 8 เดือน กลับไปเยี่ยมเยียนคุณลออที่บ้าน พบว่ากล้วยมะลิอ่องที่ปลูกคราวนั้นมีขนาดผล หวีใหญ่มาก ก็เลยขอแบ่งหน่อมาปลูก จนพบว่าได้ผลดีมีขนาดใหญ่ จากนั้นจึงตัดสินใจขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเนื้อเยื่อ ทั้งนี้ กล้วยน้ำว้ายักษ์พันธุ์นี้ถ้ามีความสมบูรณ์เต็มที่จะมีน้ำหนักเครือละประมาณ 65 กิโลกรัม หรือตกหวีละประมาณ 5-6 กิโลกรัม

อาจารย์พัชนี ชี้ว่า กล้วยน้ำว้ายักษ์ที่ปลูกทุกวันนี้ดูแลการปลูกตามปกติ ไม่ได้ใส่อะไรลงไปพิเศษ แต่เป็นเพราะเกิดจากสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ จึงกลายพันธุ์มาเป็นกล้วยน้ำว้ายักษ์ ถ้าหากนำไปปลูกแถวนครปฐมหรือสุพรรณบุรี ซึ่งมีคุณภาพดินสมบูรณ์มากอาจได้น้ำหนักถึง 5 กิโลกรัม ต่อหวี แต่จากการที่สวนเคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อนก็เลยได้น้ำหนักเพียง 4 กิโลกรัม ต่อหวี เท่านั้น ซึ่งถ้าดูที่จำนวนผลผลิตก็ได้มากอยู่ แต่คุณภาพยังไม่พอใจนัก และราคาก็ไม่ลดลงเพราะขายอยู่ที่หวีละ 50-60 บาท เนื่องจากมีขนาดผลใหญ่

อาจารย์พัชนี เผยว่า โดยนิสัยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบทำอะไรไม่ให้เหมือนคนอื่น หรือเรียกว่าต้องทำให้แปลกกว่าคนอื่น ดังนั้น เรื่องปลูกกล้วยหอมก็เช่นกันคือจะต้องปลูกแล้วให้มีผลผลิตต่างจากรายอื่น แต่ไม่ได้เน้นความแปลกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีคุณภาพ รสชาติต้องอร่อยด้วย

เพราะฉะนั้น ในช่วง 5 ปีที่คลุกคลีกับกล้วยน้ำว้าต้องบอกว่ามีการลองผิด-ถูกตลอดเวลา เพราะตัวเราเองไม่ใช่เกษตรกรโดยสายเลือด แต่การเป็นเกษตรกรที่ดีและประสบความสำเร็จก็ไม่จำเป็นต้องมีเลือดเกษตรกรมาก่อน เพราะถ้าหากเราใส่ใจ ตั้งใจ ทุ่มเท มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ด้วยการศึกษาหาความรู้ สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ แล้วหมั่นซักถามเป็นนิสัยแล้ว คงไม่เป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพนี้อย่างแน่นอน

“กล้วยที่ปลูกในสวนจะมีผลขนาดใหญ่ รสหวาน มีเนื้อเหนียวเหมือนกล้วยสวนโบราณ ซึ่งสามารถพิสูจน์เปรียบเทียบกับกล้วยมะลิอ่องที่บางกระทุ่มได้ ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบรสชาติแล้ว โดยมีการสั่งซื้อไปทำกล้วยตาก นอกจากนั้น ยังเหมาะกับการทำกล้วยบวชชี แล้วมองว่าเป็นพันธุ์กล้วยที่ดูแล้วมีอนาคตไกลแน่นอน”

อาจารย์พัชนี บอกต่ออีกว่า ตามหลักปฏิบัติทั่วไปแล้วการปลูกกล้วยจะตัดหน่อภายหลังที่ได้ผลผลิตแล้ว แต่สำหรับที่สวนตัวเองถึงแม้จะปล่อยหน่อไว้จำนวนมากก็ไม่มีผลเสียหาย เพราะขนาดกล้วยยังใหญ่เท่าเดิม แล้วรสชาติยังมีคุณภาพเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนด้วย

นอกจากนั้น ยังชี้ให้เห็นถึงความต่างในการปลูกกล้วยทั่วไปกับกล้วยยักษ์ที่ปลูกอยู่ว่า โดยปกติหลุมปลูกมีขนาด 50 คูณ 50 เซนติเมตร แต่เนื่องจากกล้วยยักษ์พันธุ์มีขนาดหน่อใหญ่กว่าทั่วไปมาก จึงต้องใช้รถแบ๊กโฮขุดเพื่อให้หลุมปลูกมีขนาดลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตรกว่า แล้วให้ใส่ชี้หมูรองก้นหลุม ยังไม่ต้องใส่ปุ๋ยรอให้ผ่านไปสักเดือนจึงเริ่มใส่ดินที่อยู่ด้านบนพร้อมขี้หมูอีกให้กลบลงไปกับหญ้าที่ขึ้น

จากนั้นใส่ยาหนอนกอ ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ไปตลอดเดือนละครั้ง พอในช่วง 11 เดือน กล้วยจะแทงปลีออกมา หลังจากตัดปลีแล้วทิ้งไว้ 2 เดือน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย แต่ควรใส่ปุ๋ยคอกแทน จากนั้นอีกประมาณ 4 เดือนจึงเก็บได้ เพราะอายุเก็บเกี่ยวกล้วยพันธุ์นี้ใช้เวลานานถึง 16 เดือน

“ถือว่าเป็นสิ่งแปลกหนึ่งเดียวในประเทศไทย จนทำให้ที่เขมรต้องการสั่งซื้อทั้งผลผลิตและหน่อพันธุ์จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ไปติดต่อหาซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีความสมบูรณ์กว่า แล้ววางแผนว่าในปีหน้าตั้งใจจะปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์นี้ แล้วจะทำให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อเตรียมขยายตลาดอีกครั้ง”

สอบถามรายละเอียดกล้วยน้ำว้า “มะลิอ่องยักษ์” ได้ที่ อาจารย์พัชนี ตุษยะเดช โทรศัพท์ (086) 128-8000 หรือ (084) 527-9000

ในคราวหน้าท่านผู้อ่านยังคงติดตามเรื่องราวการปลูก การดูแล ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางแก้ไขการปลูกกล้วยกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทองได้จากวิทยากรท่านอื่นกันที่มีมุมมองและแนวทางปลูกต่างๆ ต่อไป ฉะนั้น…ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง…

เนื่องจากทุเรียนในสมัยก่อน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด จึงพบลักษณะแปลกใหม่อยู่เสมอ ผู้ที่ติดตามทุเรียนได้แบ่งทุเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม หลักการแบ่งนั้น ส่วนหนึ่งยึดบรรพบุรุษ แต่บางพันธุ์ไม่ได้เป็นญาติกัน เพราะมีลักษณะใกล้กัน จึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

นามของทุเรียนต่อไปนี้ บางพันธุ์สาบสูญไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วยังมีเก็บรักษาอยู่ เกษตรกรมีปลูกอยู่ที่สวนละอองฟ้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เขารวมไว้กว่า 40 พันธุ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เก็บไว้กว่า 200 พันธุ์

เกษตรกรรายอื่นก็มีบางสวน 20 พันธุ์ บางสวน 80 พันธุ์ หนึ่ง.กลุ่มกบ ได้แก่ จอมกบ กบแม่เฒ่า กบเล็บเหยี่ยว กบตาขำ กบพิกุล กบวัดกล้วย กบชายน้ำ กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) กบสุวรรณ กบเจ้าคุณ กบตาท้วม (กบดำ) กบตาปุ่น กบหน้าศาล กบจำปา (กบแข้งสิงห์) กบเบา กบรัศมี กบตาโห้ กบตาแจ่ม กบทองคำ กบสีนาค กบทองก้อน กบไว กบงู กบตาเฒ่า กบชมพู กบพลเทพ กบพวง กบวัดเพลง กบก้านเหลือง กบตานวล กบตามาก กบทองเพ็ง กบราชเนตร กบแก้ว กบตานุช กบตามิตร กลีบสมุทร กบตาแม้น การะเกด กบซ่อนกลิ่น กบตาเป็น กบทองดี กบธีระ กบมังกร กบลำเจียก กบหลังวิหาร กบหัวล้าน

สอง.กลุ่มลวง ได้แก่ ลวง ลวงทอง ลวงมะรุม ชะนี ชะนีกิ่งม้วน ชมพูศรี ย่ำมะหวาด สายหยุด ชะนี ก้านยาว ชะนีน้ำตาลทราย มดแดง สีเทา

สาม.กลุ่มก้านยาว ได้แก่ก้านยาว ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) ก้านยาวสีนาก ก้านยาวพวง ทองสุก ก้านยาวใบด่าง ชมภูบาน ต้นใหญ่

สี่.กลุ่มกำปั่น ได้แก่กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) กำปั่นแดง ปั่นตาแพ กำปั่นพวง ชายมะไฟ ปิ่นทอง เม็ดในกำปั่น เห-รา หมอนเดิม หมอนทอง กำปั่นบางสีทอง ลุงเกตุ

ห้า.กลุ่มทองย้อย ได้แก่ ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ฉัตร ฉัตรสีนาค ฉัตรสีทอง พวงฉัตร ทองใหม่ นมสวรรค์ ทับทิม ธรณีไหว นกหยิบ แดงรัศมี อีอึ่ง อีทุย

หก.กลุ่มเบ็ดเตล็ด ได้แก่ กะเทยเนื้อขาว กะเทยเนื้อแดง กะเทยเนื้อเหลือง กระดุมทอง กระดุมสีนาก กระโปรงทอง กระปุกทอง (กระปุกทองดี) ก้อนทอง เขียวตำลึง ขุนทอง จอกลอย ชายมังคุด แดงช่างเขียน แดงตาน้อย แดงตาเผื่อน แดงสาวน้อย ดาวกระจาย ตะพาบน้ำ ตะโก (ทองแดง) ตุ้มทอง ทศพิณ ทองคำ ตาพรวด ทองม้วน ทองคำ นกกระจิบ บาตรทองคำ (อีบาตร) บางขุนนนท์ เป็ดถบ ฝอยทอง พวงมาลัย พวงมณี เม็ดในยายปราง(เมล็ดในยายปราง) เม็ดในบางขุนนนท์ ยินดี ลำเจียก สีทอง สีไพร สาวชมเห็ด สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) หางสิงห์ เหรียญทอง ไอ้เข้ อินทรชิต อีล่า อีลีบ อียักษ์ อีหนัก ตอสามเส้า ทองนพคุณ ทองหยอด ทองหยิบ นมสด เนื้อหนา โบราณ ฟักข้าว พื้นเมืองเกาะช้าง มะนาว เม็ดในกระดุม เม็ดในก้านยาว เม็ดในลวง เมล็ดเผียน เมล็ดพงษ์พันธุ์ เมล็ดลับแล เมล็ดสม เมล็ดอารีย์ ย่ามแม่วาด ลวงเพาะเมล็ด ลุงไหล ลูกหนัก สาเก สาวใหญ่ หมอนข้าง หมอนละอองฟ้า หลงลับแล เหมราช ห้าลูกไม่ถึงผัว เหลืองทอง อีงอน ไอ้เม่น ไอ้ใหม่ กะเทยขั้วสั้น

ผู้สนใจอยากเรียนรู้เรื่องสายพันธุ์ทุเรียน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มส่งเสริมไม้ผล สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 02-579-3816 หรือ เยี่ยมชมแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนโบราณของประเทศไทย ได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อ.ขลุง จ.จันทบุรี

ผู้อยากซื้อทุเรียนนกหยิบ ติดต่อได้ที่คุณสุทธิเดช กฤษณะเศระณี อ.ขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร.061-5149829 วัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ได้รับมอบหมายจากคุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ดำเนินโครงการเกษตรกรรมทางเลือก สู่เกษตรทฤษฎีใหม่ ไร่นาสวนผสม ของคุณราตรี ปาโท โทร. 0817399128,0807580203 บ้านหางเหย 62 หมู่ 6 ต.นาใหญ่ พื้นที่ 20 ไร่

มีกิจกรรม นาข้าวหอมมะลิ 7 ไร่ ไม้ผละม่วง มะนาว ฝรั่ง 5 ไร่ ไม้ใช้สอยพยุง สักทอง 4 ไร่ บ่อปลานิล ปลาไน ปลาดุก 3 ไร่ กำลังเจริญเติบโต สามารถจับขายได้ ที่อยู่อาศัย1ไร่ปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ งบประมาณกรมส่งเสริมการเกษตร ปี พ.ศ. 2560 เกษตรกรร่วมโครงการ 10 ราย

คุณอนัญทยา ลาศา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ บอกว่า ที่นี่ เป็นการสร้างสวนป่าแกมเมือง หรือ ป่าใหญ่เลี้ยงน้องเล็ก อยู่ด้วยกันแบบผสมสานอย่างลงตัว ที่นี่คือ “ซูเปอร์มาเก็ตชุมชน” ป่าเห็ดตะไค เห็ดก่อ เห็ดปลวก จำนวนมาก นอกนั้นชาวบ้านมาทำน้ำมันยาง หรือขุมขี้ยาง เป็นเชื้อเพลิง

คุณราตรี ปาโท เกษตรกรเกษตรกรรมทางเลือก นำเยี่ยมชมสวนที่มีการปรับเปลี่ยน เป็น “เกษตรทฤษฎีใหม่” ได้อย่างลงตัว สามีคือคุณฟ้าฮ่วน ปาโท นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการให้เป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)เครือข่าย

คุณราตรี บอกว่า พื้นที่ทางการเกษตรของตนเองพร้อมสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตร ที่เป็นแบบอย่างของเกษตรกรทั่ว ไป ที่สำคัญพื้นที่ติดสวนป่าชุมชน ป่าเห็ดพื้นบ้าน ตนเองพยายามจัดระบบป่าเห็ดให้ออกนอกฤดูกาล โดยเฉพาะเห็ดปลวก ให้น้ำระบบท่อ ระบบสปริงเกอร์ เห็ดออกดอกให้เห็น หากสำเร็จจากการลองผิดลองถูก ที่คือสวนป่าเห็ดนอกฤดูกาล

คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการตามนโยบายของ ฯพณฯ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านท่านสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เรื่อง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ด้านดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง เกษตรอินทรีย์ แปรรูผลผลิตทางการเกษตร บัญชีฟาร์ม สู่การตลาดอย่างมีคุณภาพ ศพก.เครือข่าย คือ เป้าหมายสำคัญอย่างยิ่ง ทุก ศพก.ไม่เป็นโชว์รูม แต่เป็น ศพก.ที่มีชีวิต เป็นแบบอย่างของเกษตรกรที่ไปพบเห็น เกษตรกรอยู่อย่างพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน เกิดรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี ที่สำคัญที่สุด คือ “เกษตรกร กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครัวเรือนเกษตรกรมีความสุข”

คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ดำเนินการตามระบบส่งเสริมการเกษตร คือ TSVหรือ การฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ให้มีเกษตรกรต้นแบบ ขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียง อำเภอสุวรรณภูมิ 199 หมู่บ้าน 15 ตำบล 16 อปท.พื้นที่ทางการเกษตร 691,901 ไร่ พื้นที่ทำนา 347,742 ไร่ พื้นที่ทำไร่ 31,595 ไร่ ไม้ผล-ไม้ยืนต้น 9,350 ไร่ นอกนั้น เป็นการเกษตรและพืชอื่น ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่อาศัยน้ำฝน อยู่ในทุ่งกุลาร้องไห้ 10 ตำบล 136 หมู่บ้าน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้เป็นยุคที่เทรนด์การเกษตรมาแรง เราจะพบเห็นในข่าวว่า เริ่มมีการเกิดของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อยหันมาทำเกษตรกันมากขึ้น และการเกษตรไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด ผสมกับแนวคิดของเด็กรุ่นใหม่ที่หันมาทำเกษตรก็มักมีวิธีการทำที่แปลกแนว เพื่อพัฒนาและต่อยอดในไร่สวนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

ดังเช่น คุณนันทรัฐ ลิ้มประยูร อยู่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 4 ถนนเทศบาล 10 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เขาจบจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการเดินเรือ แต่ผันชีวิตทำเกษตร

โดยคุณนันทรัฐ หรือ คุณเติ้ล เล่าให้ฟังว่า พื้นเพที่บ้านทำเกษตรอยู่แล้ว โดยมีคุณพ่อเป็นหลัก คือคุณพ่อจะจบเรื่องสัตวบาลมา เลี้ยงโคนมมานานกว่า 30 ปี มีพื้นที่รอบบ้านประมาณ 20 ไร่ คุณพ่อแบ่งไปเลี้ยงวัว 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลืออีก 10 กว่าไร่ ใช้ปลูกไม้ผล พืชไร่ ผักสวนครัว ทำสลับกันไป แต่ไม่เชิงว่าจะทำเป็นระบบเหมือนปัจจุบันนี้ คือปลูกแบบขายบ้าง แจกบ้าง เพิ่งจะมาทำเป็นระบบได้สักประมาณ 3-4 ปี มานี้

“เรามองตลาดพืช ตลาดต้นไม้ ว่ามันค่อนข้างไปได้ไกลพอสมควร ก็เลยเริ่มจัดแจงพื้นที่ แบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน เริ่มวางผัง ทำระบบน้ำให้เข้าที่เข้าทางเพื่อที่จะสะดวกในการทำ ดูประสิทธิผลของต้นที่จะให้ผลผลิต จริงๆ แล้วคอนเซ็ปต์ของผมคือไม่ต้องทำเยอะ คือเราทำในอัตราส่วนที่พอเหมาะแล้วเราดูแลถึง ผลผลิตก็จะเต็มร้อย แต่ถ้าในขณะเดียวกันเราทำ 100 ไร่ แต่ดูแลไม่ทั่วถึง แน่นอนว่าเราก็จะไม่ได้ผลผลิตเต็ม 100%” คุณเติ้ล กล่าว

ปัจจัยช่วยตัดสินใจในการเลือกปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้

อันดับแรก คุณเติ้ลให้ดูที่แนวโน้มการตลาด ว่าจะสามารถขายได้ทั้งในช่วงที่ราคาแพง และในช่วงที่ราคาถูกได้หรือไม่ ไม่ใช่เหลือกิโลกรัมละ 5-10 บาท มันต้องสามารถเลี้ยงตัวเองและอยู่ได้ พืชบางชนิด ยกตัวอย่าง เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นพืชที่คู่ครัวไทยมาช้านาน ถ้าขาดไปคงไม่ใช่อาหารไทย ดังนั้น ความต้องการของตลาดก็ต้องสูงตามกัน มันขาดไม่ได้เลย ของจะต้องกินต้องใช้ยังไงก็ต้องปลูก แล้วพืชบางชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ในขณะนั้นออกมาน้อย ถ้าเราสามารถทำให้ออกนอกฤดูได้ก็ช่วยสร้างรายได้ดี แต่ผลเสียคือเรื่องของสารเคมี เพราะพืชโดยธรรมชาติเขาจะออกตามฤดูกาล ออกนอกฤดูยิ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น การใช้สารเคมีก็ต้องใช้มากกว่าปกติ ตรงนี้เราก็ต้องมาดูกันอีกทีว่าควรทำอย่างไร

แนวคิดของเกษตรกรรุ่นใหม่ เลือกที่จะปลูกกิ่งพันธุ์ ต้องเริ่มอย่างไร

คุณเติ้ล บอกว่า…อย่างแรกเราต้องมีแรงบรรดาลใจ ให้มองว่า เราทำงาน 30 วัน เพื่อที่จะได้รับเงินก้อน หรือที่เรียกว่าเงินเดือน คุณจะทำแค่นั้น ต่อให้มีตำแหน่งใหญ่ๆ แต่ถ้าตราบใดเราไม่ใช่เจ้าของบริษัท เราก็อยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นลูกน้องเขาอยู่ดี แต่ถามว่า การมาทำสวน ทำอะไรที่เป็นของตัวเอง แน่นอนว่าเราเป็นนายตัวเอง เรามีพื้นที่เป็นของตัวเอง เราสามารถเลือกได้ว่า วันนี้เราขยันก็ทำเยอะหน่อย วันไหนรู้สึกไม่ค่อยสบายเราก็หยุดได้ ถามว่าเกษตรยุคใหม่อย่างผม ผมมองที่ความต้องการของตลาดเป็นหลัก พืชตัวนี้ตลาดต้องการ แต่ก็ไม่ได้ปลูกแบบตะบี้ตะบันปลูก เพราะเห็นราคาดี เราก็ต้องปลูกในอัตราส่วนที่เราสามารถดูแลได้ เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและออกมาเต็มร้อย และสำคัญคือต้องคำนึงถึงพืชชนิดที่เราจะปลูกว่า พืชชนิดนั้นดูแลยากง่ายอย่างไร ต้องบำรุงรักษาอย่างไร ใช่ว่าเราปลูกเห็นว่าพืชชนิดนี้ราคาแพง แต่ว่าดูแลยาก ก็ประสบผลสำเร็จยาก ทุกอย่างจะมีอัตราส่วนที่เหมาะสมในตัวอยู่แล้ว

ปลูกทับทิม 1 ไร่ เน้นตอนกิ่งพันธุ์ สร้างรายได้

ที่สวนของคุณเติ้ล ปลูกทับทิมเพื่อตอนขาย ประมาณ 1 ไร่เศษ พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 400 ต้น

เจ้าของบอกว่า ต้นไม้ทุกต้นถ้าลงดินจะโตไว สมัคร SBOBET หาอาหารกินเองได้ ตีสักประมาณ 1 ปี สามารถตอนกิ่งแล้วเอามาลงถุงขายได้ ส่วนเรื่องผลลัพธ์ถือว่าคุ้มมาก สมมุติเป็นกิ่งแบบที่เห็น ตุ้มตอนเบ็ดเสร็จเลย ถ้าจ้างประมาณ 3 บาท แล้วจะมีไม้เสียบ เขาเรียกไม้ร้อย ไม้แปดสิบ ตามความยาว มัดหนึ่งประมาณ 40 บาท เฉลี่ยอันหนึ่งประมาณ 40 สตางค์ คือต้นทุนต่อถุง 10 บาท ประเภทว่าจ้างเขามานั่งกรอกแล้วนะ แล้วเราไปขาย 15 บาท เราก็ยังได้กำไร นี่คือ ราคาที่เขามารับถึงที่ แต่ถ้าเราวิ่งไปส่งเองก็ได้ราคา 28-30 บาท จะเห็นว่าอย่างไรก็ได้กำไร แต่ถ้าตัดขายเป็นกิ่งไปเลย แล้วจะไปทำยังไงก็ได้ อยู่ประมาณ 10-15 บาท แล้วแต่ขนาดกิ่ง ถ้าใหญ่ก็เพิ่มราคาได้ แต่ราคาจะไม่เกิน 15 บาท ขายกันง่ายๆ 10 บาท เพราะว่าเราก็ไม่ได้รับประกันว่ามันจะรอด แต่ถ้าเราใส่อย่างที่ตั้งผลิดอกออกใบมาแล้ว 25 บาท ขายไปเลยได้แน่นอน คุณเติ้ล กล่าว

วิธีขยายกิ่งพันธุ์ทับทิม

แรกเริ่มเดิมทีที่สวนของคุณเติ้ลปลูกทับทิมเป็นส่วนใหญ่ คือชักร่องปลูก สมมุติว่าเป็นพื้นที่โล่ง ก็ไถเปิดหน้าดิน พอไถเปิดหน้าดินสักพักให้ไถพรวนอีกรอบ เพื่อเตรียมชักร่อง วัดระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 1 เมตร ระหว่างร่อง 1.5 เมตร ก็คือ 1×1.50 เมตร การปลูกในลักษณะนี้เป็นการปลูกเน้นตอนกิ่งขาย แต่ถ้าปลูกเอาผล ให้เว้นประมาณ 2×2.5 เมตร ระยะห่างอาจจะ 2 เมตร เพื่อจะเน้นเป็นพุ่มใหญ่ๆ เพื่อเอาผล