เกิดจาก ชะนี+พวงมณี ผลผลิตออกต้นฤดูอายุเก็บเกี่ยวสั้น

95 วัน หลังดอกบาน ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 1.52-2.27 กิโลกรัม ต่อผล สีเนื้อเหลือง เข้ม รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวละเอียด กลิ่นอ่อน พันธุ์แนะนำ : 09 ตุลาคม 2549

เกิดจาก ก้านยาว+ชะนี ผลผลิตออกต้นฤดู อายุเก็บเกี่ยวสั้น 97 วัน หลังดอกบาน ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ น้ำหนัก 2.54-3.67 กิโลกรัม ต่อผล สีเนื้อเหลืองเข้ม รสชาติหวานมัน เนื้อละเอียด เหนียว พันธุ์แนะนำ : 09 ตุลาคม 2549

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 3ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 4

เกิดจาก ก้านยาว+หมอนทอง ลักษณะเด่น คือ มีอายุเก็บเกี่ยวราว 114 วัน หลังดอกบาน เปอร์เซ็นต์การติดผลดีถึง 10% รูปผลทรงผลสวยเต็มพู น้ำหนักผลละ 2.5-3 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสูง ราว 45-60 ผล/ต้น น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล 27% เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ ราว 28% เนื้อในสีเหลืองเข้มสวย เนื้อละเอียดเหนียว มีกลิ่นน้อย และรสชาติหวานมันปนระหว่างก้านยาวกับหมอนทอง พันธุ์แนะนำ : 2555

ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 5

เกิดจากก้านยาวผสมเปิดตามธรรมชาติ ลักษณะเด่น คืออายุเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 104 วัน หลังดอกบาน เปอร์เซ็นต์การติดผลดี ประมาณ 7% ให้ผลผลิตสูงราว 50-60 ผล ต่อต้น น้ำหนักผลเฉลี่ย ผลละ 3 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างกลม น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล ประมาณ 25% เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ ราว 28% เนื้อในสีเหลืองเข้มกว่าพันธุ์ก้านยาว เนื้อเหนียวปานกลาง กลิ่นปานกลางแต่ไม่ฉุน รสชาติค่อนข้างมันมากกว่าหวาน พันธุ์แนะนำ : 2555

ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 6

เกิดจาก ก้านยาว+หมอนทอง ลักษณะเด่นคือ มีอายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ประมาณ 115 วัน หลังดอกบาน เปอร์เซ็นต์ติดผลอยู่ในเกณฑ์ดี ประมาณ 8% น้ำหนักผลราว 3 กิโลกรัม น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผลประมาณ 31% เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ ประมาณ 21-22% ให้ผลผลิต 40-50 ผล ต่อต้น เนื้อในมีสีเหลืองคล้ายหมอนทอง รสชาติหวานมันมาก เนื้อละเอียดเหนียว และมีกลิ่นปานกลาง พันธุ์แนะนำ : 2555

ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 7

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 7 เกิดจาก ก้านยาว+ชะนี มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 95 วัน หลังดอกบาน มีคุณภาพดีเด่นด้านรสชาติและคุณภาพในการรับประทานใกล้เคียงกับพันธุ์มาตรฐานที่เป็นการค้าในปัจจุบัน เช่น ชะนีและหมอนทอง มีเนื้อละเอียด สีเนื้อมีสีเหลืองเข้ม เหนียว รสชาติหวาน มัน อร่อยและกลิ่นอ่อน มีรูปทรงผลกลมรี ก้านผลยาว 5.8 เซนติเมตร ความหนาเปลือก 1.6 เซนติเมตร ความหนาเนื้อ 0.9 เซนติเมตร พื้นที่แนะนำให้ปลูกในภาคตะวันออก เช่น จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง เป็นต้น พันธุ์แนะนำ : 2560

ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 8

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 8 เกิดจาก ชะนี+หมอนทอง มีอายุการเก็บเกี่ยวปานกลาง เฉลี่ย 114 วัน หลังดอกบาน มีคุณภาพดีเด่นด้านรสชาติและคุณภาพในการรับประทานใกล้เคียงกับพันธุ์มาตรฐานที่เป็นพันธุ์การค้าในปัจจุบัน เช่น ชะนีและหมอนทอง มีเนื้อละเอียด สีเนื้อมีสีเหลือง เหนียว รสชาติหวาน มันดีมากและมีกลิ่นอ่อน น้ำหนักเฉลี่ย 2.45 กิโลกรัม ความยาวผล 21 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางผล 16.67 เซนติเมตร ความยาวเส้นรอบวงผล 58.66 เซนติเมตร พื้นที่แนะนำให้ปลูกในเขตปลูกทุเรียนภาคตะวันออก เช่น จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง เป็นต้น พันธุ์แนะนำ : 2560

ทุเรียนลูกผสมจันทบุรี 8ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 9

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 9 เกิดจาก ชะนี+หมอนทอง มีอายุการเก็บเกี่ยวค่อนข้างยาว เฉลี่ย 138 วัน หลังดอกบาน มีคุณภาพดี เด่นด้านรสชาติ คุณภาพในการรับประทานใกล้เคียงหรือดีกว่าพันธุ์มาตรฐานที่เป็นพันธุ์การค้าในปัจจุบัน เช่น ชะนีและหมอนทอง มีเนื้อละเอียด เหนียว รสชาติดี หวานมัน อร่อยและมีกลิ่นอ่อน ผลมีลักษณะรูปทรงผลค่อนข้างกลมรูปไข่ น้ำหนักผล 3.43 กิโลกรัม ความหนาเปลือก 1.59 เซนติเมตร ความหนาเนื้อ 1.30 เซนติเมตร มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล ประมาณ 19.01 เปอร์เซ็นต์ และมีเมล็ดลีบ พันธุ์แนะนำ : 2560

ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 10

ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 10 เกิดจาก ชะนี+นกหยิบ ลักษณะเด่นคือ เป็นทุเรียนทรงสวย น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ลักษณะเนื้อละเอียดครีม เหนียวแบบชะนี กลิ่นหอมแบบดอกไม้ แต่ไม่ฉุนแบบพันธุ์ชะนี มีรสชาติหวานมัน เม็ดใหญ่ แต่เนื้อเยอะ

“การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด” เป็นหนึ่งในอาชีพเกษตรกรรมทำเงิน ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีการเพาะพันธุ์ในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก และปลาหมอเทศ ฯลฯ ทั้งนี้กระแสความนิยมส่วนใหญ่เน้นการเลี้ยงปลาในบ่อดินมากกว่า เนื่องจากสามารถจัดการบ่อได้ง่าย และสามารถเพาะพันธุ์ปลาได้ตลอดทั้งปี แต่การเลี้ยงปลาในบ่อดิน น้ำนิ่ง ต้องใช้กังหันตีน้ำเพื่อเติมออกซิเจนตลอดเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และมักเกิดปัญหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อยกว่าความต้องการของปลา ทำให้ปลาตายหรือปลาน็อกน้ำ จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เกษตรกรพึ่งพาการใช้ไฟฟ้าในการเลี้ยงปลาเป็นหลัก ทำให้แบกภาระต้นทุนที่สูงและเกิดความเสี่ยงเมื่อเกิดภาวะไฟฟ้าดับ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนงบวิจัยให้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การนำของ ผศ.ดร. สราวุธ พลวงษ์ศรี หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ดร. สุลักษณา มงคล ดร. ชวโรจน์ ใจสิน ผศ.ดร. อัครินทร์ อินทนิเวศน์ ผศ.ดร. ธงชัย มณีชูเกตุ ดร. รจพรรณ นิรัญศิลป์ ดร. ปริญ คงกระพันธ์ ดร. จุฑาภรณ์ ชนะถาวร ดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบ เลี้ยงปลาอัจฉริยะสีเขียว เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งยาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อลดปัญหาการใช้พลังงานแบบดั้งเดิมโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า

อาชีพเลี้ยงปลานิลเชียงใหม่

ผศ.ดร. สราวุธ พลวงษ์ศรี หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า “บ้านทุ่งยาว” หมู่ที่ 1 ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนหนึ่งที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเพาะเลี้ยงปลานิลและปลาดุก คิดเป็น 70% ของประชากร และอีก 30% ประชากรประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และอื่นๆ

ชุมชนบ้านทุ่งยาว ได้ก่อตั้งชมรมผู้เลี้ยงปลานิลเชียงใหม่ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน มีจำนวนสมาชิกประมาณ 60คน ซึ่งเป็นชาวบ้านภายในชุมชนบ้านทุ่งยาว และจากอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง ระยะแรกการจัดตั้งชมรมผู้เลี้ยงปลานิลเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาตลาดปลานิลให้แก่สมาชิก

ชมรมผู้เลี้ยงปลานิลเชียงใหม่โดยมีพื้นที่บ่อเลี้ยงปลารวมทั้งหมดกว่า 400 ไร่ ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาของสมาชิกมีทั้งฟาร์มขนาดเล็ก และฟาร์มขนาดใหญ่ ฟาร์มขนาดเล็กประกอบด้วยพื้นที่เลี้ยงปลา ประมาณ 2-3 ไร่ ต่อครัวเรือน มีขนาดพื้นที่บ่อดิน ประมาณ 1-2 งาน ต่อบ่อ ลึกประมาณ 2-3 เมตร เลี้ยงปลาประมาณ 20,000 ตัว ต่อบ่อ สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ประกอบด้วยขนาดบ่อประมาณ 1-2 ไร่ ต่อบ่อ ไปจนถึงบ่อขนาดใหญ่บ่อละ 8 ไร่

ปัญหาปลาน็อกน้ำ

การเลี้ยงปลาในชุมชนบ้านทุ่งยาว นิยมเลี้ยงในบ่อดิน ใช้เวลาในการเลี้ยง 3-4 เดือน ต่อรอบ ปัญหาหลักของการเลี้ยงปลาที่พบคือ ปริมาณก๊าซออกซิเจนในน้ำน้อยกว่าความต้องการของปลา ทำให้มีปัญหาปลาตาย หรือปลาน็อกน้ำ ทั้งในช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะเมื่อเลี้ยงปลาไประยะเวลาหนึ่งน้ำในบ่อดินจะเกิดความขุ่นที่เกิดจากตะกอนแพลงตอน โคลนตม ขี้เลน ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ต่างๆ ในบ่อปลา ทําให้แสงส่องผ่านลงไปในน้ำได้น้อย ทําให้พืชน้ำและสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้น้อย ปัญหาปลาน็อกน้ำ หากเกิดในช่วงเวลากลางคืน มักจะเกิดรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากพืชในน้ำไม่สามารถสังเคราะห์แสงและให้ออกซิเจนได้ โดยปกติปลาต้องการก๊าซออกซิเจนที่มีค่ามากกว่า 5 mg/l และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ไม่ต่ำกว่า 3 mg/l

ปัจจุบัน เกษตรกรแก้ไขปัญหาโดยใช้กังหันตีน้ำเพื่อเติมออกซิเจน โดยบ่อดินขนาดเล็กจะใช้กังหันน้ำที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า 3 เฟส จำนวน 1-2 ชุด ต่อพื้นที่บ่อดิน 1 ไร่ ในขณะที่บ่อดินขนาดใหญ่อาจใช้กังหันน้ำทำงานพร้อมกัน 6 ชุด ในการเติมออกซิเจนให้น้ำ สำหรับชั่วโมงการทำงานของกังหันน้ำ จะทำงานเฉลี่ย 10 ชั่วโมง ต่อวัน ในช่วงเวลาเพาะเลี้ยงปกติ และอาจสูง 15-20 ชั่วโมง ต่อวัน เมื่อใกล้ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต

แต่บางครั้ง เกิดปัญหาไฟฟ้าดับทำให้ไม่สามารถใช้กังหันน้ำได้ ปลาจะเกิดการน็อกน้ำอย่างรวดเร็ว การใช้กังหันน้ำทำให้ค่าไฟฟ้าที่เกษตรกรต้องจ่ายสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นด้วย ในส่วนการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับทางเกษตรกรมีการใช้เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นต้นกำลังในการขับกังหันน้ำเพื่อเติมออกซิเจน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราว

เนื่องจากชุมชนแห่งนี้ใช้น้ำประปาหมู่บ้านเป็นหลัก โดยระบบประปาหมู่บ้านมีการใช้เครื่องสูบน้ำบาดาล (Submersible pump) ขนาดมอเตอร์ 3 แรงม้า จำนวน 2 ชุด และใช้เครื่องสูบน้ำขนาด 2 แรงม้า จำนวน 2 ชุด สูบน้ำจากถังพักขึ้นเก็บถังเก็บน้ำเพื่อจ่ายให้ทั้งหมู่บ้าน โดยปั๊มทั้ง 4 ชุด สูบน้ำได้วันละ 10 ลูกบาศก์เมตร ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ต่อวัน ทำให้ค่าไฟฟ้าของประปาหมู่บ้านสูงถึง 10,000 บาท ต่อเดือน ลักษณะการใช้น้ำประปาในชุมชนบ้านทุ่งยาวจะใช้อุปโภคในครัวเรือน และมีเกษตรกรที่ใช้น้ำประปาในการเลี้ยงปลาโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่ปริมาณน้ำมีจำนวนจำกัด

นักวิจัยวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ใช้เทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar PV (Solar photovoltaic) มาใช้ในระบบเติมอากาศ และพัฒนาการเลี้ยงปลา โดยระบบอัจฉริยะ รวมถึงศึกษาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลในเครื่องสูบน้ำของบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งขณะนี้ได้มีการขยายผลใช้งานแก่เกษตรกรในชุมชนดังกล่าว จำนวน 7 ราย

ผศ.ดร. สราวุธ กล่าวว่า คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าของกังหันน้ำ และเครื่องสูบน้ำในช่วงเวลากลางวันเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบที่จะใช้งานวิจัยนี้จะเป็นแบบจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก Solar PV ร่วมกับไฟฟ้าจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ซึ่งจะควบคุมการใช้ไฟฟ้าของฟาร์มในรูปแบบของระบบฟาร์มอัจฉริยะที่ใช้พลังงานทดแทน สำหรับปัญหาการเติมออกซิเจนในช่วงไฟฟ้าดับ ซึ่งปกติเกษตรกรใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องต้นกำลัง

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะผลิตและพัฒนาไบโอดีเซลที่มีคุณภาพสูงโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากธรรมชาติ เช่น เถ้าเปลือกไม้ และการใช้น้ำมันชีวภาพคุณภาพสูง เช่น Emulsified oil มาทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล และทดสอบกับเครื่องยนต์ต้นกำลัง โดยมุ่งหวังจะลดการใช้พลังงานฟอสซิลของชุมชนลงและพัฒนาให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนต่อไป

“ผลการศึกษาในภาพรวมของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงงานแสงอาทิตย์ในบ่อเลี้ยงปลาตัวอย่างและระบบประปาหมู่บ้านทุ่งยาวพบว่า ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งส่วนได้ 52.67% ของปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด เทียบเท่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ลดลงเท่ากับ 11,641.01 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์/ปี คิดเป็นค่าพลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 93,544.39 บาท/ปี มีการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 620,000 บาท คิดเป็นระยะเวลาคืนทุน 6.63 ปี” ผศ.ดร. สราวุธ กล่าวในที่สุด

เป็นอาหารจานเด็ดที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเข้าสู่ครัวตามบ้านเรือน รวมทั้งร้านอาหารหรูตั้งแต่ภัตตาคารถึงร้านยาจกประเภทรถเข็น ซึ่งมีเมนูเด็ดทั้งกบผัดเผ็ด กบย่างพริกไทย ต้มยำกบ ความแพร่หลายทางอาหารที่ใช้กบเป็นองค์ประกอบสำคัญ ทำให้ปริมาณกบที่หาได้ตามธรรมชาติ เพื่อนำมาตอบสนองความต้องการทางตลาดหายากมากขึ้นทุกวัน ทำให้หลายคนสนใจทำอาชีพเลี้ยงกบส่งเข้าตลาดสร้างรายได้เหมือนเนื้อสัตว์ประเภทอื่น

การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด โดยบ่อที่นิยมมีขนาด 3×4 เมตร หรือใหญ่กว่า เพราะสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อ รวมทั้งการควบคุมโรค

บ่อควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นที่ที่เป็นพื้นบกสำหรับกบอาศัยอย่างน้อย 70% ของบ่อ ที่เหลือเป็นพื้นน้ำ ลักษณะบ่อปูนซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยงกบ โดยทั่วไปแล้วบ่อเลี้ยงกบจะเป็นบ่ออเนกประสงค์ คือ ใช้ตั้งแต่ผสมพันธุ์ อนุบาลลูกอ๊อด อนุบาลลูกกบ จนถึงเลี้ยงกบขุน หรือกบเนื้อ บ่อเลี้ยงกบ มักเป็นบ่อซีเมนต์ มีหลายรูปแบบ เช่น ปูกระเบื้อง ทาสีเหลือง มีหลายขนาด เช่น 3×4, 3.2×4, 4×4, 4×5, 4×6 เมตร สูง 1.2 เมตร ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่บ่อเลี้ยง จะมีการเทคานและใช้อิฐบล็อก 4-6 ก้อน ก่อเป็นผนัง พื้นบ่อมีการเทปูนหนาพอสมควรเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ด้านในของบ่อทั้ง 4 ด้าน ฉาบผิวสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร บ่อกบควรตั้งอยู่กลางแจ้ง มีซาแรนกรองแสงทำเป็นหลังคาและกันแดด รวมทั้งมีตาข่ายกันนกหรือศัตรูที่จะเข้ามาจับกบกิน

คุณภาพน้ำ

น้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบ ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ความกระด้าง ค่าอัลคาไลนิตี้ ปริมาณแอมโมเนีย แร่ธาตุในน้ำ ฯลฯ ว่าเหมาะสมหรือไม่ หากน้ำที่ใช้เป็นกรด จะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำ และตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งต้องพักน้ำดังกล่าวไว้ก่อนนำมาเลี้ยงกบ เพราะน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะจะมีคุณภาพน้ำไม่สม่ำเสมอ หรือปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ดังนั้น ถ้าจะนำมาใช้ ควรมีบ่อพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน แต่หากน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาล ควรผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้ด้วย

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงถูกต้องตามวิธี ใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน กบจะมีน้ำหนัก 4-5 ตัว ต่อกิโลกรัม และกบนาเป็นกบที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว ทั้งยังเป็นที่นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคมากกว่ากบพันธุ์อื่น ลักษณะของกบนา ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากล่างทั้ง 2 ข้าง ในฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง กบตัวเมียที่มีไข่แก่ สังเกตที่บริเวณท้องจะบวมและใหญ่กว่าปกติ

โดยธรรมชาติกบจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูฝน ถ้าเกษตรกรมีพ่อแม่พันธุ์อยู่แล้ว ก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป ใช้ผสมพันธุ์ได้ทันที แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างสูงคือ อย่าจับผิดคู่ เพราะถ้าไม่ใช่คู่ของมันที่จับคู่แล้วนำไปเลี้ยงในบ่อเพาะ มันก็จะไม่ผสมพันธุ์กัน บ่อผสมพันธุ์หรือบ่อเพาะ อาจเป็นบ่อซีเมนต์ หรือถังส้วม หรือจะเป็นกระชังมุ้งไนลอนก็ได้

ภายในให้มีพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวาขนาดเล็ก และน้ำไม่ควรสูงเกิน 5 เซนติเมตร เพราะถ้ามีน้ำมากจะไม่สะดวกในการที่ตัวผู้เข้าโอบรัดตัวเมีย ขณะที่ตัวเมียซึ่งทำหน้าที่เบ่งไข่ และต้องใช้แรงขาหลังยันยืนพื้น ถ้าน้ำมากขาหลังก็จะลอยน้ำทำให้ไม่มีกำลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก

กบตัวผู้จะทำหน้าที่ปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ของกบตัวเมียทันที ระยะเวลาผสมพันธุ์และวางไข่คือ ระหว่างเวลา 04.00-06.00 น. แต่ถ้าอากาศเย็นชุ่มฉ่ำ เช่น มีฝนตกพรำ อาจจะเลยไปถึง 08.00 น. ก็ได้ เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้ว จึงนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อเพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก จากการเคลื่อนไหวของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ

เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้วระยะ 2 วันแรก ไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น รำละเอียด ปลาบด ไข่แดงต้ม ไข่ตุ๋น ลูกไร ตลอดจนใบผักกาด ผักบุ้ง ที่นำมานึ่งให้อ่อนตัว หรือจะให้อาหารปลาดุกชนิดเม็ดลอยน้ำ บางรายอาจใช้ปลาสวายย่างทั้งตัวและผูกหัวท้ายให้ปลาเรี่ยน้ำ

การให้อาหารลูกอ๊อดเหล่านี้ ควรสังเกตการกินมากกินน้อยของลูกอ๊อด เพราะถ้าอาหารเหลือมากจะหมักหมมอยู่ภายในบ่อ เป็นต้นเหตุให้น้ำเสีย ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาโดยการดูดของเหลือทิ้ง หรือมีการถ่ายน้ำเปลี่ยนใหม่ ถ้าทำได้บ่อยครั้ง โอกาสที่ลูกอ๊อดจะเจริญเติบโตและแข็งแรงมีมาก

เมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จะกลายเป็นลูกกบเต็มวัย ช่วงนี้ ต้องหาไม้กระดาน ขอนไม้ หรือแผ่นโฟมลอยน้ำ เพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะเป็นลูกกบเต็มวัยไม่พร้อมกัน โดยจะเป็นลูกกบ 70% ส่วนอีก 30% ยังอยู่ในสภาพไม่พร้อม เช่น ขางอกไม่ครบทั้ง 4 ขา หรือหางหดไม่หมด ถ้าไม่มีวัสดุลอยน้ำให้กบตัวเต็มวัยขึ้นมาอาศัยอยู่ จะถูกลูกอ๊อดตอดหางที่เพิ่งจะกุด จนเป็นบาดแผล ถ้าโดนตอดมากๆ อาจถึงตายได้

ลูกอ๊อดที่เจริญเติบโตเป็นกบเต็มวัยเหล่านี้ จะถูกลูกกบรุ่นแรกที่ใหญ่กว่ารังแก จึงต้องมีการคัดขนาดเพื่อแยกลูกกบที่โตเท่าๆ กันนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่ออื่นด้วย สำหรับบ่อเลี้ยงลูกอ๊อด ในระยะที่ลูกอ๊อดออกเป็นตัวใหม่ๆ ไม่ควรให้น้ำลึกเกิน 30 เซนติเมตร และคอยสังเกตเมื่อลูกอ๊อดเติบโตเต็มที่ มีขาหลังงอกแล้ว จึงค่อยเพิ่มน้ำในบ่อเลี้ยงเป็น 50 เซนติเมตร และระยะแรกควรให้ฟองอากาศช่วยหายใจ ใช้ผักบุ้งหรือพืชน้ำอื่น สร้างความร่มเย็นให้ลูกอ๊อดได้เกาะอาศัยด้วย

การจับกบขาย

เกษตรกรสามารถจับกบได้ทุกโอกาส และจับขายแบบหมดทั้งบ่อ หรือจับขายปลีกตามความต้องการของผู้ซื้อก็ได้ สำหรับช่วงเวลาที่ควรเพาะเลี้ยงกบมากที่สุดคือ ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูแล้ง เพราะเป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการมาก ส่วนระยะเวลาเลี้ยงกบต่อรุ่น ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ก็จับขายได้แล้ว

ปัจจุบัน กบ กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการส่งขายไปยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เยอรมนี สเปน สหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงไม่น่าห่วงเรื่องตลาดที่รองรับหลังการเพาะเลี้ยง

ออเดอร์จากลูกค้าต่อวัน 3,000 ตัน ไม่นับรวมจำนวนที่ลูกค้าออเดอร์มามากกว่านั้น แต่ไม่สามารถจัดหาสับปะรดภูแลส่งให้กับลูกค้าได้ เพราะการผลิตสับปะรดภูแลในพื้นที่ ยังได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แม้ 2 ปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาสับปะรดราคาตกต่ำ เกษตรกรเทขายเป็นกอง แต่สับปะรดภูแลเป็นสับปะรดที่ไม่ได้ถูกนับรวมไปกับปัญหานั้น เพราะมีลักษณะเด่นเฉพาะ มีตลาดเฉพาะ ที่ปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำไม่ได้ส่งผลกระทบเลย

ผู้ใหญ่สมชาติ วรรณคำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 18 บ้านโป่งพระบาท ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ยืนยันด้วยตนเองและน่าเชื่อถือ เพราะเป็นพ่อหลวงหรือผู้ใหญ่บ้านที่ชุมชนให้ความเคารพ ทั้งยังเปรียบเสมือนล้งรายใหญ่รับซื้อสับปะรดภูแลจากเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อส่งขายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ราว 12 ปีก่อน ผู้ใหญ่สมชาติ ก็เป็นลูกจ้างทำงานในเมืองเช่นเดียวกับวัยรุ่นทั่วๆ ไป เมื่อถึงวัยที่เริ่มตั้งหลักฐานให้กับชีวิต ก็กลับสู่ภูมิลำเนา กลับสู่เกษตรกรรม อาชีพของบรรพบุรุษ และด้วยลักษณะการเป็นผู้นำในตัวของผู้ใหญ่สมชาติ ทำให้ได้รับความไว้วางใจให้ทำงานเป็นผู้นำหลายอย่าง แต่ก็ยังมีเวลาให้กับเกษตรกรรม

เมื่อก่อนใครๆ ก็ปลูกสับปะรดนางแล พันธุ์ที่เป็นต้นตอเดิม ถิ่นกำเนิดของสับปะรดนางแลก็คือที่นี่เมื่อมีคนนำสับปะรดพันธุ์ภูเก็ตมาปลูกที่ตำบลนางแล สับปะรดถูกพัฒนาพันธุ์ คุณภาพดีขึ้น จึงเรียกชื่อสับปะรดพันธุ์นี้ว่า “ภูแล”

สับปะรดภูแล คือสับปะรดที่เกิดมาจากการปลูกสับปะรดพันธุ์ภูเก็ตในบริเวณพื้นที่บ้านนางแล ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สับปะรดพันธุ์ภูเก็ตซึ่งมีขนาดเล็ก เนื้อแห้ง สีเหลืองทอง หวานกรอบ เมื่อปลูกในบริเวณพื้นที่จังหวัดเชียงราย จะให้ผลผลิตตามคุณลักษณะของสับปะรดภูแล คือรสชาติหอมหวาน เนื้อกรอบไม่แข็ง ผลมีขนาดเล็กโดยเฉลี่ย 4-5 ผล ต่อกิโลกรัม