“เขากะโหลกฟาร์ม” ผักไฮโดรโปนิกส์ ปลูกผักให้ดีที่สุดที่ปราณบุรี

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป มีผู้คร่ำหวอดในวงการนี้จำนวนมากชนิดเชี่ยวชาญทุกเรื่องตั้งแต่การปลูกไปถึงการเก็บขาย ทำคลิปแนะนำวิธีปลูก การดูแล ใส่ปุ๋ย แหล่งขายอุปกรณ์ปลูก ฯลฯ ออกมามากมาย ใครอยากรู้หาดูได้ในยูทูบ

อีกทั้งอุปกรณ์ราคาถูกลงกว่าสมัยเริ่มแรก บางรายสามารถดัดแปลงใช้วัสดุที่หาง่ายช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ปลูกได้ทั้งพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลูกได้ทุกที่ ไม่มีขอบเขต ไม่ว่าจะปลูกจำนวนน้อยเพื่อใช้บริโภคเองภายในครัวเรือนตามบ้าน ตามอาคารที่พักอาศัย หรือต้องการจำนวนมากปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นโรงเรือนในเชิงธุรกิจ ส่วนความต่างของคุณภาพผักขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การปลูก

“เขากะโหลกฟาร์ม” เป็นฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปลูกผักทุกชนิดด้วยความใส่ใจเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย ภายใต้ระบบ GAP สามารถตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการปลูกได้ โดยยึดแนวคิด “ไม่ต้องการปลูกผักเพียงให้ดีและมีคุณภาพ แต่ต้องมีรสอร่อยถูกใจด้วย”

คุณพีระพงษ์ คงมาก หรือ คุณแชมป์ เจ้าของฟาร์มบอกถึงความตั้งใจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขายว่าเน้นปลูกขายตรงให้กับผู้บริโภค ให้ความสำคัญกับคุณภาพความปลอดภัยมากกว่ารูปลักษณ์ ชนิดผักที่ปลูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผักสลัดที่แยกย่อยปลูกประมาณ 5-6 ชนิด อย่างกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค คอส บัตเตอร์เฮด เรดคอลลอน เรดปัตตาเวีย ฟินเล่ย์ กับกลุ่มผักไทย อย่างคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง และอื่นๆ อีกหลายชนิด

รูปแบบการปลูกมีทั้งแบบโรงเรือนบนโต๊ะยกพื้น กับปลูกในดินบนพื้นราบ ถ้าปลูกแบบโต๊ะมีจำนวนทั้งสิ้น 40 โต๊ะ แบ่งเป็น 2 แห่ง คือที่ปราณบุรีจำนวน 30 โต๊ะ กับที่นครปฐมจำนวน 10 โต๊ะ ขนาดโต๊ะปลูก 2 คูณ 6 เมตร แต่ละโต๊ะมีจำนวน 10 ราง รางละ 30 ต้น ห่างต้นละ 20 เซนติเมตร รวมโต๊ะละ 300 ต้น

เมล็ดพันธุ์ทั้งหมดซื้อมาจากบริษัทที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะต้องการคุณภาพ มาตรฐาน แม้ราคาจะมากกว่าเมื่อเทียบกับคุณภาพผลผลิตที่ได้ถือว่าคุ้มกว่า มีอัตราการงอกดีกว่า รสชาติ ความสมบูรณ์ทุกต้น สามารถควบคุมและวางแผนการปลูกได้แน่นอนตามที่ต้องการ

พิถีพิถันทุกขั้นตอนปลูก

เพาะเมล็ดพันธุ์ในฟองน้ำใช้เวลา 48 ชั่วโมง แล้วนำออกตากแดดอ่อนอย่าให้นานกว่า 48 ชั่วโมงเพราะลำต้นอาจยืดตัวสูงเพื่อหาแดดเอง ทำให้โครงสร้างต้นไม่สมบูรณ์

เมื่อแตกใบเลี้ยง 2 ใบหมั่นตรวจดูปริมาณน้ำเลี้ยงในภาชนะให้มีปริมาณที่พอเหมาะ ในช่วงนี้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพราะในเมล็ดพันธุ์มีแร่ธาตุอาหารอยู่ หลังจากนั้นประมาณ 7 วันจึงเริ่มแตกใบจริงแล้วจึงย้ายต้นไปอยู่ที่โต๊ะอนุบาล แล้วจึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรอ่อนๆ ก่อนเพื่อให้รากที่งอกออกมาใหม่คุ้นเคยกับปุ๋ย แล้วเมื่อครบ 3 สัปดาห์จะย้ายจากโต๊ะอนุบาลไปปลูกยังโต๊ะจริง แล้วจึงปรับสูตรปุ๋ยอีกครั้งให้เหมาะสม โดยจะปลูกต่อไปอีก 3 สัปดาห์แล้วจึงเก็บผลผลิตขายได้

คุณแชมป์ เพิ่มเติมว่า ได้วางแผนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้จำนวน 3 โต๊ะ แต่ละโต๊ะใช้วิธีบริหารจัดการเรื่องปุ๋ยและน้ำ แนวทางนี้จะทยอยเก็บทีละโต๊ะโดยไม่ต้องสต๊อกผักไว้ซึ่งจะช่วยให้ผักที่เก็บแต่ละรุ่นมีความสด ใหม่ กรอบ โดยไม่จำเป็นต้องนำไปแช่เก็บไว้ในตู้เย็นก่อนขาย แล้วยังช่วยลดต้นทุนค่าไฟได้ด้วย

น้ำที่ใช้เป็นระบบน้ำวนเป็นบ่อแยกแต่ละโต๊ะปลูกร่วมกับปั๊มที่นำปั๊มของตู้เลี้ยงปลามาใช้เพราะเป็นขนาดที่เหมาะสมกับขนาดจำนวนปลูกที่ไม่มาก โรคที่พบเป็นเชื้อราจะแก้ไขที่ใช้ไตรโคเดอร์ม่า แล้วมักพบบ่อยเมื่อมีความชื้นมาก อย่างไรก็ตาม จะแก้ที่ต้นทางด้วยการนำอุปกรณ์ปลูกมาล้างรางปลูกและดูแลความสะอาดรางปลูก ตากแดดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค เพราะหากระบบปลูกผักสกปรก จะส่งผลถึงผลผลิตที่ได้รับได้ เชื้อโรคที่สะสมในรางปลูกสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนศัตรูพืชเจอหนอนผีเสื้อมักจะไข่เกาะตามต้นและใบโดยมากจะตัดทิ้งเพื่อตัดวงจร แต่หากมีความจำเป็นต้องพึ่งยาฆ่าแมลงก็จะใช้ในปริมาณเล็กน้อยหรือตามเกณฑ์มาตรฐาน GAP แล้วมักจะปล่อยเวลาเก็บผลผลิตให้ยาวขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยไม่มีสารตกค้างจริง

ตลาดจำหน่ายเจาะกลุ่มตามสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของร้านอาหารหรือโรงแรมที่จำเป็นต้องใช้ผักชนิดนี้ทำอาหาร กลุ่มนี้ทางฟาร์มจะปลูกผักตามที่ชนิดที่ใช้งานจริงตามที่ต้องการหรือ Made by Order กับอีกประเภทเป็นคนเดินตลาดวางขายให้ลูกค้าโดยตรง ส่วนราคาขายกำหนดผักทุกชนิดขายเหมือนกันคือกิโลกรัมละ 120 บาท

“เขากะโหลกฟาร์ม” ปลูกและจำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยกัน 2 แห่ง คือที่ปราณบุรีกับที่นครปฐม ผักทั้งสองแห่งมีชนิดและมาตรฐานคุณภาพเหมือนกัน วิธีการขายของฟาร์มไม่มีการส่งทางช่องทางออนไลน์เพราะเป็นของสดที่ควบคุมยาก ดังนั้น ลูกค้าที่สนใจต้องการซื้อผักคงต้องแวะเวียนไปหาซื้อที่ฟาร์มทั้ง 2 แห่ง แล้วแต่ใครอยู่ใกล้จุดไหน หรือแต่ถ้าลูกค้าที่อยู่ในพิกัดที่พอวิ่งไปส่งให้ได้ก็พอจะทำได้ แต่ขอทราบพิกัดก่อน

เขากะโหลก หาดปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะเป็นภูเขาขนาดเล็กยื่นออกไปในทะเล เป็นแหล่งพักผ่อน มีหาดทรายสวย น้ำทะเลใสที่เงียบสงบ สามารถลงเล่นน้ำได้ บริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของวนอุทยานท้าวโกษา มีร้านอาหาร มีที่พักทั้งโรงแรม รีสอร์ต และบ้านหลังทุกระดับราคา แนะนำให้เที่ยวหลังช่วงต้นปีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เพราะช่วงนั้นน้ำทะเลใส ฟ้าสวย

“เขากะโหลกฟาร์มต้องการปลูกผักคุณภาพขายโดยใช้ความจริงใจและไม่โกหก ลูกค้าสามารถตรวจสอบขั้นตอนและวิธีปลูกได้ตลอดเวลา หากเจอปัญหาจากผักที่ส่งถึงมือขอให้บอกมาเลย ขณะเดียวกัน หากที่ฟาร์มเจอปัญหาขาดแคลนผักจากโรคและศัตรูจะแจ้งล่วงหน้าให้ลูกค้าทราบทันทีเพื่อไม่ให้ลูกค้าเสียเวลารอแล้วจะไม่วิ่งหาผักจากแหล่งอื่นมาส่งแทนเพราะทางฟาร์มมีความจริงใจ ภายใต้หลักคิดว่า ตั้งใจปลูกผักให้ดีที่สุด ที่เหลือฝากลูกค้าพิจารณา” เจ้าของฟาร์มกล่าวทิ้งท้าย

วันหยุดที่จะถึงนี้หากกำลังมองหาโปรแกรมเที่ยวแบบหาดทราย ทะเล สายลม พร้อมดื่มด่ำธรรมชาติที่ไม่วุ่นวายในแบบชายทะเล แนะให้ไปเที่ยวปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วอย่าลืมแวะไปอุดหนุนผักไฮโดรโปนิกส์และผักอื่นที่ “เขากะโหลกฟาร์ม” ตั้งอยู่เลขที่ 27/1 หมู่ที่ 4 ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ติดต่อคุณแชมป์โทรศัพท์ 084-974-4599 หรือทาง เฟซบุ๊ก : เขากะโหลกฟาร์ม

สวัสดีค่ะ จากการเรียนในรายวิชาส่งเสริมการเกษตร ของ อาจารย์ธนากร เที่ยงน้อย ในบทเรียนการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านการเกษตร อาจารย์ให้งานพวกเราลงพื้นที่เพื่อสัมผัสชีวิตเกษตรกร รวมทั้งสัมภาษณ์ถ่ายภาพเกษตรกรที่น่าสนใจในเรื่องแนวคิด วิธีการทำสวน ทำไร่ แล้วนำมาเขียนบทความส่งให้อาจารย์พิจารณา กลุ่มของเราจึงสืบเสาะค้นหาเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่ทำการเกษตรได้ประสบความสำเร็จ จนได้พบกับข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ไม่รอช้าเรารีบบึ่งไปหาทันที ที่ “สวนองุ่นคาเฟ่”

ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี นับเป็นตำบลหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีการทำการเกษตรทั้งพืชไร่และพืชสวน รวมไปถึงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรที่มีคนให้ความนิยม และให้ความสนใจอีกเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการทำ “สวนองุ่นคาเฟ่” ซึ่งเป็นธุรกิจที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจและเรียนรู้ที่จะทำธุรกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางด้านการเกษตร นับเป็นความโชคดีของทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ที่คุณวริทธิ์ กลมศิลา เจ้าของไร่องุ่นศิวริทธิ์ (SV. Vineyard) จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 081-420-0586 ให้เกียรติสละเวลาพาทีมนักศึกษาเยี่ยมชมไร่องุ่น คุณวริทธิ์ เจ้าของไร่องุ่นศิวริทธิ์ กล่าวว่า “แต่เดิมพี่เป็นคนกรุงเทพฯ เรียนที่กรุงเทพฯ เรียนเกี่ยวกับการทำอาหารและการโรงแรม อยากทำอะไรที่เรารัก เลยกลับมาทำงานที่บ้านเมืองกาญจน์ เริ่มเรียนรู้การทำการเกษตร ได้เรียนรู้กับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับต้นองุ่น เลยกลับมาทำที่บ้าน เริ่มต้นตั้งแต่ ปี 2546”

ลงมือ เรียนรู้ ล้มลุก สำเร็จ คุณวริทธิ์ เล่าว่า “ช่วงที่เริ่มต้นลงมือทำสวนองุ่น ประมาณปี 2546 ซึ่งเป็นสมัยที่การปลูกองุ่นยังไม่มีโรงเรือน เป็นการปลูกแบบ open ปัญหาที่ตามมาคือ เชื้อรา ความชื้น และเรื่องฝน จนค้นคว้าข้อมูล พบว่า มีงานวิจัยทดลองทำโรงเรือนขึ้นมา โรงเรือนทำให้องุ่นมีคุณภาพและลดการใช้สารเคมี เรียนรู้และเริ่มทำมาตั้งแต่ ปี 2546 จนมาได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ในปี 2550” ปัจจุบันนี้ ไร่องุ่นศิวริทธิ์ (SV. Vineyard) มีพื้นที่การปลูกองุ่น จำนวน 6 ไร่ โดยที่พื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกองุ่นได้ 10 โรงเรือน คุณวริทธิ์ บอกว่าการปลูกองุ่นของที่นี่จะต้องปลูกต้นองุ่นให้ห่างกัน เพราะเมืองกาญจน์เป็นจังหวัดที่มีอากาศร้อน ถ้าปลูกโรงเรือนใหญ่มันจะร้อนอบอ้าวเกินไป ปัญหาที่ตามมาคือเชื้อราระบาดเยอะ และจะมีพวกเพลี้ยเข้ามา เลยมีการทำให้โรงเรือนห่าง เพื่อให้อากาศสามารถระบายได้ดี

คุณวริทธิ์ เล่าว่า “ผมปลูกองุ่นพันธุ์มารูน หรือที่ชาวสวนเรียกว่า องุ่นแบล็คโอปอล (Black Opal) เป็นองุ่นปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว ใช้เวลาปลูก 10-12 เดือน ก็ติดผลได้แล้ว และปลูกพันธุ์ลูซเพอร์เลทท์ (Loose Perlette) ผลสีเขียว ทรงกลมๆ สีเขียว ไร้เมล็ด หวาน กรอบ อร่อย กลิ่นหอม เป็นองุ่นไร้เมล็ดทั้งหมด”

องุ่นพันธุ์มารูน ที่ไร่องุ่นศิวริทธิ์ ให้ผลผลิตอยู่ประมาณ 1 ตัน ถึง 1 ตันครึ่ง ต่อ 1 ไร่ ส่วนพันธุ์ลูซเพอร์เลทท์ ให้ผลผลิตอยู่ประมาณ 500-800 กิโลกรัม ต่อไร่ นอกจากนั้น ก็มีการทดลองปลูกองุ่นพันธุ์ใหม่ๆ โดยทำค้างแบบตัววายและตัวที ซึ่งมีแบบมาจากอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลจะมีสภาพอากาศร้อนกว่าบ้านเรา แต่เขาสามารถปลูกองุ่นได้ดี ทางไร่องุ่นศิวริทธิ์เลยมาทดลองทำตามซึ่งก็ได้ผลดี ในการทำโรงเรือนของคุณวริทธิ์ได้ศึกษาและพัฒนา แก้ไขปัญหาในบางจุดและสามารถทำได้เองจนสำเร็จอย่างดี ส่วนปัญหาที่พบ คุณวริทธิ์ เล่าว่า “ปัญหาหลักเกิดจากน้ำฝน มีผลตอนช่วงที่องุ่นใกล้เก็บ เพราะว่าจะทำให้ความหวานลด และผลผลิตแตก เสียหาย ดังนั้น ต้องมีการวางแผนการตัดแต่งกิ่ง เนื่องจากมีผลต่อการออกผล เราจึงบังคับไม่ให้มีองุ่นออกผลผลิตในช่วงหน้าฝน คือเดือนกันยายนถึงตุลาคม ในช่วงสองเดือนนี้เราจะบำรุงและตัดแต่งกิ่ง หลีกเลี่ยงการให้ปุ๋ยกระตุ้นตาดอก”

คุณวริทธิ์ เล่าต่อไปว่า “หลังจากที่เราประสบความสำเร็จในการผลิตองุ่นแล้ว เมื่อก่อนเราขายผลผลิตผ่านทางพ่อค้าคนกลาง แต่ตอนนี้เราทำตลาดเอง ขายเอง และสามารถแปรรูปองุ่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เอง เช่น แยม น้ำองุ่น ไวน์ ก้าวต่อไปคือเรากำลังพัฒนาต่อยอดให้ไร่องุ่นศิวริทธิ์ (SV. Vineyard) เปิดเป็นฟาร์ม outlet หรือ “สวนองุ่นคาเฟ่” ผลผลิตองุ่นสดปัจจุบันเราจะขายเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในสวน โดยที่จำนวนองุ่น 1 ตัน จะขายประมาณ 2 อาทิตย์ เราจะไม่มีการตัดองุ่นมาสต๊อกเก็บไว้ ถ้าไม่มีการสั่งเข้ามา คุณวริทธิ์ ยังกล่าวอีกว่า “เมื่อเราเปิดเป็น “สวนองุ่นคาเฟ่” การวางแผนการผลิตและแผนตลาดจะต้องทำให้องุ่นออกผลผลิตในทุกเดือน ก็จะต้องวางแผนการบังคับให้องุ่นออกผลผลิตตามช่วงเวลาที่เรากำหนด โดยใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งองุ่นเดือนละครั้ง เราจึงมีองุ่น 6 ชุด ทำให้ทางไร่มีรายได้จากการขายองุ่น อยู่ที่ประมาณ 200,000 บาท ต่อ 1 ตัน ถ้าขายปลีกเป็นกิโล ราคากิโลกรัมละ 200 บาท ช่วงเวลา 1 เดือน เราจะมีรายได้ประมาณ 100,000 บาท หักค่าปุ๋ย ประมาณ 20,000 บาท รวมค่าแรงไม่เกิน 50,000 บาท

เมื่อประสบความสำเร็จในการผลิตองุ่น คุณวริทธิ์ จึงเดินหน้าต่อยอดความรู้ เทคนิควิธีการสู่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ มีการสอนการปลูก การติดตา และมีต้นพันธุ์จำหน่าย ที่ติดตาเอง ใช้พันธุ์ของที่ไร่ การใช้สารเคมีที่ถูกต้อง “การดูแลการเพาะปลูกองุ่นของที่ไร่องุ่นศิวริทธิ์ จะมีการใช้เคมีแค่ช่วงเริ่มต้น และจะมาใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ขี้หมู ที่มีธาตุ N P K สูง แทนการใช้สารเคมี และให้ปุ๋ย สูตร 82-24-24 ซึ่งเป็นปุ๋ยหวาน ในช่วงเริ่มปลูกจะแนะนำให้มีการล้อมตาข่าย จะไม่มีการพ่นยาทางใบ ตอนต้นเล็กๆ จะมีพวกเพลี้ย หนอน แมลง จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีในช่วงแรก สารเคมีจะตกค้างอยู่ 2 อาทิตย์ ส่วนในด้านการตัดแต่งกิ่ง พันธุ์มารูนจะตัดใบทิ้ง ประมาณ 5-7 ตา ในการตัดใบออก ก่อนตัดแต่งกิ่งต้องมีการสะสมอาหารก่อน คือต้องมีการให้ P K ที่สูงก่อน ส่วนผู้ที่สนใจจะปลูกองุ่นอย่างจริงจัง เราก็มีอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ จำหน่าย อย่างต้นทุนในการลงทุนครั้งแรกของผู้ที่สนใจ ราคาค่าโรงเรือนขนาด 32×2.75 เมตร ต่อ 1 ไร่ ราคา 25,000-30,000 บาท รวมค่าต้นพันธุ์และระบบน้ำ ทางไร่จะเป็นคนเพาะปลูกต้น และสอนวิธีปลูกขึ้นค้าง เลี้ยงกิ่ง จนถึงช่วงของการสะสมอาหารของต้นองุ่นให้ ซึ่งตอนนี้มีเครือข่ายลูกค้าภายในจังหวัดกาญจนบุรีที่มาซื้ออุปกรณ์และใช้ชุดความรู้จากไร่องุ่นศิวริทธิ์หลายแห่งอีกด้วย ทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอท่าม่วง”

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจที่อยากเข้ามาชม ทางไร่ยินดีต้อนรับ และให้ข้อมูลได้ทุกวัน หรือสามารถติดต่อให้ทางไร่เข้าไปดูพื้นที่ที่สนใจทำไร่องุ่นได้ ติดต่อได้ที่ คุณวริทธิ์ กลมศิลา โทร. 081-420-0586 Facebook : ไร่องุ่น ศิวริทธิ์

ก่อนจากกันมีคำคมดีๆ จากคุณวริทธิ์ ที่ผ่านประสบการณ์มากมายกับองุ่น จนมีวันนี้ได้ เพราะ “ทำอะไรก็ได้ที่เป็นสิ่งที่เรารัก แล้วเราจะไม่มองปัญหาเป็นเรื่องใหญ่ เราจะไม่มองปัญหาที่เกิด เพราะใจเรารักไง” “ข้าวโพดหวานกินดิบที่ “ไร่ชมเดือน” นั้น จะมีทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ราชินีทับทิมสยาม ฝีมือการวิจัยของคนไทย และสายพันธุ์นมสดฮอกไกโด นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มีวิธีการปลูกที่เหมือนกับข้าวโพดหวานทั่วไป นับเวลาปลูกตั้งแต่หยอดเมล็ดพันธุ์ถึงหักกินดิบ 58-63 วัน หรือนับหลังออกไหม 18-21 วัน”

คุณเจริญพร ตราชัย และ คุณวัชรากรณ์ ธเนศวรมีชัย สองตายาย เจ้าของสวน “ไร่ชมเดือน” ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองเนิน ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ด้วยการผันตัวเป็นเกษตรกร ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขในพื้นที่ต่างจังหวัด ด้วยการปลูกพืชหลากหลายชนิด ทำเกษตรแบบผสมผสาน จนกลายเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญอีกหนึ่งที่ของจังหวัดนครสวรรค์

คุณวัชรากรณ์ เล่าว่า จุดเริ่มต้นของ “ไร่ชมเดือน” เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณตาและคุณยาย ที่อยากจะทำไร่เกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ต่างจังหวัด รวมถึงครั้งที่คุณตาอยู่ต่างประเทศ คุณยายอยู่ประเทศไทย มีหนึ่งสิ่งที่ทั้งคุณตา คุณยาย สามารถมองเห็นด้วยกันได้ คือ “พระจันทร์” อีกทั้งปีที่คุณตาและคุณยายเริ่มรู้จักกันยังเป็นปีที่พระจันทร์ยิ้มและดวงใหญ่ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ไร่ชมเดือน”

“ไร่ชมเดือน ส่วนมากคนที่ได้ยินชื่อ มักจะเข้าใจว่าคุณตา คุณยาย จะทำรีสอร์ต เพื่อให้มานอนชมเดือน โดยปกติไร่ชมเดือน คุณตา คุณยาย ทำไว้เพื่อชมกันสองคน เพราะว่าที่นี่เป็นบ้านนอก อากาศสดชื่น สดใส ไม่มีต้นไม้บัง แล้วทีนี้คุณตาอยู่ต่างประเทศ คุณยายอยู่ประเทศไทย สิ่งเดียวที่เรามองเห็นด้วยกันได้ ก่อนที่จะมาทำไร่นั้นคือ พระจันทร์ เราก็เลยตั้งชื่อว่า “ไร่ชมเดือน” ซึ่งปีที่คุณตา คุณยาย รู้จักกันจะเป็นปีที่พระจันทร์ยิ้ม เป็นปีที่พระจันทร์ดวงใหญ่”

เมื่อสอบถามถึงการปลูกข้าวโพดหวานกินดิบที่ “ไร่ชมเดือน” นั้น จะมีทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ราชินีทับทิมสยาม ฝีมือการวิจัยของคนไทย และสายพันธุ์นมสดฮอกไกโด นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มีวิธีการปลูกที่เหมือนกับข้าวโพดหวานทั่วไป นับเวลาปลูกตั้งแต่หยอดเมล็ดพันธุ์ถึงหักกินดิบ 58-63 วัน หรือนับหลังออกไหม 18-21 วัน จะเป็นช่วงที่สามารถกินข้าวโพดหวานดิบได้ ซึ่งจะมีรสชาติอร่อยและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งหลังจากนั้น 7 วัน ไม่ควรที่จะกินดิบ เพราะมีความเข้มข้นของแป้งสูงนั่นเอง ควรจะทำให้สุกก่อนกิน ด้วยวิธีการต้มหรือนึ่ง

“ตอนแรกก็มองเป็นเมล่อน มะเขือเทศหวาน ปลูกผักหลากหลายชนิด ปลูกมาเรื่อยๆ จนมาเจอข้าวโพดหวานกินดิบค่ะ ในปี 2562 ก็เริ่มรู้จักตัวราชินีทับทิมสยาม เป็นผลงานการวิจัยของคนไทยของ ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ ซึ่งในตอนนั้นเป็นของใหม่ เพราะเป็นสีแดง เป็นหนึ่งเดียวในโลกค่ะ ข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยาม หนึ่งเดียวในโลกที่สามารถกินดิบได้ จากนั้นก็ได้เข้าไปร่วมอบรมกับ ดร.ทวีศักดิ์ ก็ได้ลองชิม ลองกิน ก็รู้สึกว่าประทับใจ เพราะเราเคยกินข้าวโพดที่ต้องต้ม ต้องย่าง แต่ตัวนี้สามารถกินดิบได้เลย ก็จะปลูกเหมือนกับข้าวโพดหวานทั่วไป”

การนำเข้าข้าวโพดหวานกินดิบสายพันธุ์นมสดฮอกไกโดนั้น เริ่มขึ้นจากตัวคุณวัชรากรณ์ที่มีความสนใจที่จะปลูกข้าวโพดหวานกินดิบสายพันธุ์นมสดฮอกไกโด จึงติดต่อไปยังบริษัทตัวแทนที่มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ของประเทศญี่ปุ่น ทางบริษัทตัวแทนของญี่ปุ่นเห็นว่าเกษตรกรในประเทศไทยสนใจ จึงประกาศหาตัวแทนเกษตรกร 11 แห่ง เพื่อมารับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานกินดิบสายพันธุ์นมสดฮอกไกโดไปทดลองปลูกไร่ละ 200 เมล็ด ปรากฏว่าไร่ชมเดือนเป็นที่เดียวที่สามารถปลูกข้าวโพดหวานกินดิบสายพันธุ์นมสดฮอกไกโดได้ประสบความสำเร็จ เพียงใช้ระยะเวลาการปลูก 58-60 วัน จากเดิมที่ปลูกในประเทศญี่ปุ่นใช้เวลาปลูกถึง 94 วัน จึงทำให้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสหกรณ์ประเทศญี่ปุ่น เพราะด้วยสภาพอากาศที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

“เริ่มจากคุณยายติดต่อทางตัวแทนที่เขานำเมล็ดพันธุ์ของประเทศญี่ปุ่น ขอซื้อเมล็ดข้าวโพดตัวที่กินดิบ ตัวนมสดฮอกไกโดมาปลูกที่ประเทศไทย ทางญี่ปุ่นก็หวั่นใจว่าเราจะปลูกได้หรือไม่ในประเทศไทย ปลูกบ้านเขาใช้เวลา 94 วัน ไทยกับญี่ปุ่นอากาศคนละเรื่องกันเลย ซึ่งตัวนมสดฮอกไกโดเป็นตัวของสหกรณ์ญี่ปุ่น คุณยายจึงบอกว่าไม่เป็นอะไร ถึงจะปลูกได้หรือไม่ได้ เราก็ขอนำมาทดลองก่อน ทางบริษัทจึงสนใจว่ามีคนในประเทศไทยสนใจข้าวโพดตัวนี้ จึงประกาศหาตัวแทน 11 ไร่ในประเทศไทย โดยให้เมล็ดพันธุ์ฟรี ไร่ละ 200 เมล็ด และบอกว่าหากไร่ไหนปลูกแล้วประสบความสำเร็จ เขาจะส่งบริษัทของสหกรณ์เพี่อมาดูงาน ทั้ง 11 ไร่ ก็มีไร่ชมเดือนเพียงไร่เดียวที่ปลูกประสบความสำเร็จ ซึ่งคุณยายไม่ได้นำไปปลูกลงแปลงเหมือนคนอื่นเขา แต่ใช้วิธีการเพาะต้นอ่อนก่อน จากนั้นก็นำไปปลูกในแปลงของเมล่อนเดิม ซึ่งใช้เวลาปลูกเพียง 58-60 วันค่ะ”

สำหรับโรคที่เกิดขึ้น คุณวัชรากรณ์ เล่าว่า ข้าวโพดหวานกินดิบทั้งสองสายพันธุ์นั้น จะมีโรคเหมือนกับข้าวโพดหวานทั่วไป สามารถเกิดโรคได้ทั้งปี เพราะเกษตรกรสามารถปลูกสลับแปลงได้ เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดปี ผู้ปลูกจึงควรหมั่นสังเกตและกำจัดโรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ให้ถูกวิธี

“โรคของข้าวโพดก็จะเป็นโรคเหมือนข้าวโพดหวานทั่วไป ถึงแม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์กินดิบค่ะ พวกราน้ำค้าง ใบลาย ส่วนมากจะเกิดจากเมล็ดพันธุ์และช่วงฤดู สภาวะของอากาศ ข้าวโพดสามารถปลูกได้ทั้งปี สลับแปลงปลูกได้ เพราะในแต่ละช่วง เช่น อากาศชื้น ฝนตกฉ่ำมากจนเกินไป ก็จะพบเจอโรค หรือว่าช่วงที่ปลูกอากาศแล้ง ช่วงที่เขาออกดอกผสมเกสรของเขา มันก็จะไปแห้ง”

ด้านผลผลิตของข้าวโพดหวานกินดิบนั้น neswsports.com สามารถหาซื้อเพื่อนำมากินได้ ทั้งร้านข้างทางและห้างสรรพสินค้า เมื่อสอบถามผลตอบรับจากลูกค้า คุณวัชรากรณ์ เล่าว่า ได้รับความนิยมและความสนใจจากลูกค้าทั่วประเทศไทย ที่ต่างเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศภายใน “ไร่ชมเดือน” กันอย่างไม่ขาดสาย ทำให้เกิดรายได้ที่น่าพึงพอใจ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คุณตาและคุณยายทั้งสองท่าน ไม่ได้มองถึงเรื่องเงินทองเป็นหลัก แต่เป็นเรื่องของความสุขในบั้นปลายของชีวิตที่ตั้งเป้าหมายไว้นั่นเอง

สำหรับท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับข้าวโพดหวานกินดิบทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถติดต่อ คุณเจริญพร ตราชัย และ คุณวัชรากรณ์ ธเนศวรมีชัย ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก “ไร่ ชมเดือน” หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 092-553-6600 คุณตาคุณยายยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านที่สนใจค่ะ

“ทุเรียน” ได้ชื่อว่าเป็นผลไม้ที่ปลูกยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากต้องอาศัยความใส่ใจในการปลูกสูง และยังมีปัจจัยเรื่องสภาพอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตโดยตรง ทำให้เกษตรกรต้องใช้ประสบการณ์ในการสังเกต ดูแล วางแผนการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อให้ทุเรียนสามารถออกผลผลิตได้อย่างราบรื่น

ปกติแล้วทุเรียนจะเริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 4-5 ปี แต่ที่แปลงของ เฮียสิน-คุณนิสิน จิตวิสุทธิ์ศรี ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี สามารถปลูกทุเรียนให้ออกผลผลิตในเวลา 3 ปี เท่านั้น

คุณนิสิน เผยว่า การปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตเร็ว มีพื้นฐานตั้งแต่การคัดเลือกกิ่งพันธุ์ การบำรุงต้น-ใบให้สมบูรณ์ รวมถึงการตัดแต่งกิ่งให้อยู่ในสภาพเหมาะสมสำหรับการออกดอก ซึ่งช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อเลยก็คือ “ช่วงติดดอก” เพราะเป็นตัวชี้วัดสำคัญว่าทุเรียนนั้นจะให้ผลผลิตได้มาก-น้อยแค่ไหน ยิ่งในระยะหลังนั้นมีปัญหาเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวน ก็ยิ่งส่งผลกับดอกทุเรียนโดยตรง หากเกษตรกรไม่สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม ดอกอาจจะร่วงหมดจนไม่เหลือให้ติดผลเลยก็ได้

ปัจจุบัน คุณนิสินมีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 60 ไร่ สามารถมีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 80 ตัน โดยเป็นเกรดส่งออกมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ความสำเร็จนี้เกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์กว่า 10 ปี

ถ้าอยากรู้ว่า ทำอย่างไรให้ทุเรียนออกดอกดี สามารถติดผลทรงสวย ได้เกรดส่งออกแบบนี้ คุณนิสิน จะมาเผยเคล็ดลับให้ฟังกันแบบเต็มๆ!