เขาได้ยกตัวอย่างภาคการผลิตอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

ทรายของไทยที่มีพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศราว 10 ล้านไร่ มีตัวเลขผลผลิตต่อปีประมาณ 100 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ แสนล้านบาท ไทยส่งออกน้ำตาลและผลผลิตน้ำตาลในรูปแบบอื่นปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจาก บราซิล อินเดีย และจีน แต่ในภูมิภาคอาเซียนไทยส่งออกคิดเป็นปริมาณ 50% ของการบริโภค ในขณะที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย กำลังมุ่งไปที่พลังงานทดแทน ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติก ไทยเป็นผู้นำของภูมิภาคอาเซียน จำเป็นที่พืชไร่อย่างอ้อยยังต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในพื้นที่ไร่อ้อยขนาดใหญ่ และในกระบวนการปลูกอ้อยเองใช้สารเคมีสำหรับศัตรูพืชและวัชพืชอยู่ที่ ประมาณ 500 บาทต่อไร่ ในขณะที่ต้นทุนรวมอยู่ที่ 9,000 บาทต่อไร่ ถือว่ายังน้อยหากเทียบกับต้นทุนการผลิตทั้งหมด

“ปัญหานี้เป็นเรื่องการบริหารจัดการถ้าทำอย่างเป็นระบบมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ว่าใครได้รับอนุญาตให้ใช้ ขึ้นทะเบียนร้านค้า ใครเป็นคนขาย ขึ้นทะเบียนสารเคมีอย่างถูกต้องมีหลักเกณฑ์ชัดเจน รวมถึงจัดอบรมเจ้าหน้าที่แนะนำสารเคมีประจำร้าน หรือนำเจ้าของร้านที่ผ่านการขึ้นทะเบียนมาอบรมรับใบรับรอง ว่าเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการแนะนำผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับเภสัชกรประจำรู้ร้านขายยา ตรงนี้จะช่วยทำให้ปัญหานี้ถูกแก้ไข ตรงจุดคือระเบียบและกฎเกณฑ์ที่กรมวิชาการเกษตรในฐานะผู้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงต้องมีความทันสมัย ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก มีความชัดเจน มีงานวิจัยของกรมฯ ที่หนักแน่นสร้างความน่าเชื่อถือป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้นตอบข้อสงสัยของสังคมได้” นายกิตติกล่าวทิ้งท้าย

หลังจบการประชุมวันนั้น เกษตรกรใจชื้นขึ้นที่ภาครัฐเข้ามา “ฟัง” ความจริงจากผู้ใช้ถึงความจำเป็นและภาระที่เกษตรกรเผชิญหน้าอยู่ ทว่าสิ่งที่เกษตรกรอยากให้ความจริงนี้สะท้อนเป็นความจริงใจของภาครัฐที่จะช่วยเหลือเกษตรกร 17 ล้านครัวเรือน ที่เป็นทั้งผู้ผลิต และฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจขนาด 1.22 ล้าน ต่อปีหรือไม่ อันนี้ต้องจับตากันต่อไป

กรมโรงงานฯ เผยผลตรวจเบื้องต้นพบปลากะพงขาวตายในทะเลสาบสงขลา ไม่ใช่น้ำเสียจากโรงงาน ด้านกรมประมงพร้อมวางแนวทางแก้ปัญหาระยะเร่งด่วน และ ระยะยาว

กรมโรงงานอุตสาหกรรม แจงกรณีชาวบ้าน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบน้ำเน่าเสียในเส้นทางน้ำที่ระบายลงทะเลสาบสงขลา หลังพบปลากะพงขาวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบสงขลา ตายไม่ต่ำกว่า 30 ตัน ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบแล้วพบว่า สาเหตุน้ำเน่าเสียเกิดจากในช่วงวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2560 ในพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกจำนวนมาก จึงส่งผลให้คุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลามีค่าความเค็มเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหลือเพียง 1 ppt จากค่ามาตรฐานประมาณ 10-20 ppt ซึ่งทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากกรณีชาวบ้านตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเส้นทางน้ำที่ระบายลงทะเลสาบสงขลา หลังพบปลากะพงขาวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบสงขลา ตายไม่ต่ำกว่า 30 ตัน ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2560 และชาวบ้านเชื่อว่าอาจเกิดจากโรงงานลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองธรรมชาติ ก่อนที่จะถูกระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลา

กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า สาเหตุที่ปลากะพงตาย เกิดจากในช่วงวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2560 ในพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกหนัก น้ำจืดไหลลงทะเลสาบสงขลาจำนวนมาก ส่งผลให้คุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลามีค่าความเค็มเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหลือเพียง 1 ppt จากค่าที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลากะพงในกระชังประมาณ 10-20 ppt

นอกจากนี้บริเวณที่ประสบปัญหามีโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 1 โรงงาน ที่มีการปล่อยน้ำเสียที่มีปริมาณการทิ้งน้ำอยู่ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ที่ระบายน้ำทิ้งลงสู่คลองพะวงและออกสู่ทะเลสาบสงขลา โดยโรงงานดังกล่าวมีการติดตั้งเครื่อง BOD online เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง ผลการเฝ้าระวังมีค่า BOD ระหว่าง 10-12 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในค่าที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร และยังมีผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมประจำโรงงาน ตลอดจนมีระบบการรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมส่งโดยตรงมาที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงงานภาคใต้เข้าไปตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่เกิดเหตุ โดยผลอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือมีอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส ค่าความเค็ม 3.5-11 ppt ค่าออกซิเจนละลายน้ำ 8.95 มิลลิกรัม/ลิตร โดยกรมโรงงานฯ มีแผนในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลาอย่างต่อเนื่อง

ทางด้าน นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ปลากะพงที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบสงขลา พื้นที่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 9 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ลอยตายติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา รวมจำนวนหลายสิบตัน ทำให้ผู้เลี้ยงปลาได้รับความเดือดร้อนนั้นได้สั่งการให้สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง มาตั้งแต่เกิดเหตุ ซึ่งขณะนี้ ได้รับรายงานว่า ปริมาณการตายของปลากะพงขาวลดลงแล้ว โดยปลาที่ตายส่วนใหญ่จะเป็นปลากะพงขาว ขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3 – 5 กิโลกรัมต่อตัว และจากการเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณเกิดเหตุไปตรวจ พบว่าคุณภาพน้ำผิดปกติ

มีค่าออกซิเจนเพียง 0.9 – 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (ค่าออกซิเจนที่เหมาะสมสำหรับสัตว์น้ำควรมากกว่า 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซี่งน่าจะมาจากหลายสาเหตุหลายปัจจัยของสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าว อาทิ การเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำอย่างฉับพลัน เพราะมีการระบายน้ำจืดลงสู่ทะเลสาบเนื่องจากฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้แพลงก์ตอนพืชลดลงอย่างรวดเร็ว การสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชในช่วงที่มีแสงก็ลดลง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง อีกทั้ง บริเวณแหล่งเลี้ยงปลากระชังมีสภาพตื้นเขิน มีความลึกของน้ำอยู่เพียง 1 – 1.5 เมตร และพื้นที่เลี้ยงมีลักษณะเป็นอ่าวทำให้มีการไหลเวียนของกระแสน้ำน้อย ประกอบกับ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2560 เป็นช่วงน้ำตาย น้ำมีการขึ้นลงน้อย ผนวกกับอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงมาก การละลายและหมุนเวียนของออกซิเจนจึงน้อยลง นอกจากนี้ ยังพบว่าปลากะพงขาวในกระชังเลี้ยงของเกษตรกร มีขนาดตัวที่โต จึงมีความหนาแน่นมาก เมื่อออกซิเจนในน้ำน้อย จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของปลาตัวใหญ่และจำนวนมากขนาดนี้ เป็นสาเหตุให้เกิดจากสภาวะการขาดออกซิเจนและช็อคตาย

ทั้งนี้ จากข้อมูลพื้นที่ตำบลเกาะยอ จำนวน 9 หมู่บ้าน มีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง จำนวน 323 ราย จำนวน 1,838 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 81,147 ตารางเมตร โดยพบว่ามีจำนวนเกษตรกร จาก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 9 ที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 40 ราย มีปริมาณสัตว์น้ำที่ตาย ประมาณ 80 ตัน (80,000 กิโลกรัม) คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 12 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กรมประมงได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะเร่งด่วน :
(1) แนะนำให้เกษตรกรเร่งเพิ่มออกซิเจน โดยวิธีปั๊มออกซิเจนร่วมกับใช้เครื่องสูบน้ำพ่นน้ำร่วมด้วย และอาจใช้ออกซิเจนผงในการเพิ่มออกซิเจนอีกทางหนึ่ง

(2) ร่วมกับจังหวัดสงขลา หาทางเยียวยาและจัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังโดยใช้งบยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

ทั้งนี้ ก่อนหน้าตั้งแต่เกิดเหตุ ทางสำนักงานประมงจังหวัดสงขลาก็ได้มีการเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังเร่งจับปลาที่ได้ขนาดขายโดยด่วนแล้ว อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ช่วงนี้ หากปลากะพงที่เลี้ยงไว้ มีน้ำหนัก 0.8 – 1.0 กิโลกรัม ก็สามารถจับขายได้เลย ไม่ต้องรอให้โตเต็มที่ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เลี้ยงปลากะพงขาวให้ทราบถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะปัญหาการตายของปลากะพงขาวบริเวณเกาะยอ เป็นปัญหาสำคัญและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน และทุกครั้งที่ไปตรวจสอบก็จะเป็นเพราะสาเหตุเดียวกัน คือ ปริมาณออกซิเจนในน้ำน้อยกว่าที่สัตว์น้ำจะมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการลดจำนวนอัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง การวางกระชังเลี้ยงในทะเลต้องให้มีระยะห่างพอสมควร เพื่อให้การไหลเวียนของน้ำสะดวกขึ้น และพื้นที่ที่เกิดปัญหาปริมาณออกซิเจนต่ำบ่อยๆ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มออกซิเจนสำรองไว้เพื่อลดความเสี่ยงในการที่จะเกิดปัญหาอีก

อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้าย ว่าขอให้เกษตรกรในทุกพื้นที่ติดตามการรายงานสภาพอากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และหมั่นดูแลปลาที่เลี้ยงไว้และปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมง หากพบความผิดปกติของปลาที่เลี้ยงไว้ขอให้แจ้งไปยังสำนักงานประมงจังหวัดหรือสำนักงานประมงอำเภอใกล้บ้าน

วันที่ 26 เม.ย. รายงานว่า นางเอร์ล่า โปเรย์ โอลาฟส์ดอต์เทียร์ เกษตรกรเลี้ยงแพะ ในเมืองฮเราน์โกติ ประเทศไอซ์แลนด์ พบแกะตัวหนึ่งที่มีเขาเดียวถูกทิ้งไว้บริเวณภูเขา ที่บรรดาเกษตรกรมักปล่อยแกะออกเล็มหญ้า ก่อนจะต้อนกลับมาก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยครั้งแรกที่เห็นแกะตัวนี้คิดว่าเป็นแพะด้วยซ้ำ แต่ด้วยความแปลกกว่าแกะตัวอื่น จึงตั้งชื่อว่า “ไอเฮิร์นอินกูร์” มีความหมายเดียวกับ “ยูนิคอร์น” แปลว่า “เขาเดียว” ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานโบราณของลุ่มแม่น้ำสินธุและอารยธรรมกรีกโบราณ กลุ่มเกษตรกรตัดสินใจรับเลี้ยงแกะเขาเดียวจนถึงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เนื่องจากตัวผายผอมไม่เหมาะแก่การทำพันธุ์ แต่สื่อท้องถิ่นรายงานว่า แกะยูนิคอร์นตัวนี้อาจถูกส่งไปที่สวนสัตว์ในกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของประเทศ

เมื่อเวลา 07.00น. วันที่ 29 เมษายน ที่บริเวณท่าเทียบเรือกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง ผู้สื่อข่าว ได้รับแจ้งจาก นายวิรัตน์ แจ้งอักษร อายุ 70 ปี อดีตไต๋เรือ อยู่บ้านเลขที่ 33 ถนนคลองภาษี อ.กันตัง จ.ตรัง ว่า ให้มาดูสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพทำการประมง ที่มีแพปลาทั้งขนาดใหญ่และเล็ก จอดนิ่งตายเป็นส่วนใหญ่และไม่สามารถออกเรือไปหาปลาได้ หลังจากที่ทางรัฐบาลออกมาตรการล้อมกรอบวางข้อจำกัดตามนโยบายป้องกันการค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดระยะเวลาออกเรือ ระยะทางที่ไกลออกไป รวมถึงการคุมเข้มลูกเรือที่จะออกไปกับเรือ

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ท่าเทียบเรือกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งอดีตเคยเป็นท่าเทียบเรือที่มีผู้ประกอบทำธุรกิจประมงกันอย่างคึกคัก มีแพปลาทั้งเล็กและใหญ่กว่า 10แห่ง และเรือประมงกว่า 500 ลำ แต่ขณะนี้ต้องจอดตาย เหลือเพียง 10 กว่าลำเท่านั้นที่ออกหาปลากันอยู่ เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักหลังจากที่รัฐบาลวางมาตรการล้อมกรอบให้ผู้ประกอบการปฎิบัติตามนโยบายป้องกันการค้ามนุษย์ อย่างเข้มงวดและเคร่งครัด

“ไม่ว่าจะเป็นระยะทางกำหนดจากเดิม 3,500 เมตร ออกไปเป็น 4,500 เมตร ซึ่งเป็นทะเลน้ำลึกปริมาณสัตว์น้ำมีจำนวนลดลง หรือแม้กระทั้งเรื่องของเวลา จากเดิมที่ออกได้ทั้งปี แต่มากำหนดให้เหลือเพียง 205 วัน อีกทั้งยังมีการจัดระเบียบวางกฎเกณฑ์เข้มงวดกับบรรดาลูกเรือ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างยิ่งในทางปฎิบัติ ทำให้ผู้ประกอบการประมงกันตัง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก แพเล็กๆทนรับแบกภาระต้นทุนที่สูงไม่ได้ ต้องกู้เงินจากธนาคารจนกลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน” นายวิรัตน์ กล่าว

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดระยะเวลานั้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะสามารถหาปลาได้ตลอดทั้งปี แต่สภาพความเป็นจริง เรือประมงออกเรือได้เพียง 6 เดือน อีก 6 เดือนเป็นช่วงมรสุมก็ต้องจอดเรือ เมื่อมากำหนดให้ออกได้ปีละ 205 วัน ยิ่งมาซ้ำเติม ทำให้รอบปีหนึ่งทำได้เพียง 100 กว่าวันเท่านั้น ที่แย่ยิ่งกว่านั้น ลูกเรือประมงที่ออกเรือจะต้องทำประวัติอย่างละเอียด พร้อมทั้งถ่ายรูปทุกคน หากลูกเรือป่วยต้องนำเข้าฝั่ง การจะหาลูกเรือมาทดแทนก็ไม่ได้ต้องเป็นคนเดิม เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหา ทำให้ลูกเรือที่เป็นแรงงานต่างด้าว หนีไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียกันแล้ว ทำให้เกิดปัญหาแรงงานขึ้นอย่างมาก

นายวิรัตน์ กล่าวว่า สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะติดช่วงมรสุม ลูกเรือป่วย ลูกเรือไม่มาทำงาน หรือแม้กระทั้งการเปลี่ยนลูกเรือไม่ได้ เหล่านี้สร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของแพปลาเป็นอย่างมาก จึงอยากวอนมายังรัฐบาลได้เข้ามาช่วยดูแลและแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการธุรกิจประมงด้วย ตนเชื่อว่าหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ ไม่นานธุรกิจประมงจะล้มเทกระจาดเป็นโดมิโน่ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นคิดกันดูเอาเอง

สิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรกก่อนอ่านบทความนี้คือให้ดาวน์โหลด(ร่าง) พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับตัวจริงจากเวปไซด์(สนช.) http://library2.parliament.go.th/giventake/nlalaw2557.html เพื่ออ่านทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน เมื่อได้อ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติฯที่ผ่านการรับรองของสภานิติบัญญัติวาระแรกไปแล้ว จะพบว่าร่างกฎหมายตัวจริงไม่ตรงกับข้อมูลที่กระทรวงการคลังประชาสัมพันธ์ แต่ไม่ต้องงง! เพราะร่างกฎหมายฯ ที่ท่านดาวน์โหลดนี้คือกฎหมายแม่ มีอำนาจจริง โดยกฎหมายลูกจะแย้งไม่ได้ ส่วนข้อมูลประชาสัมพันธ์กระทรวงการคลัง คือ แนวคิดกฎหมายลูก ที่อาจจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบไม่ยากนักตามแนวทางของรัฐบาลในขณะนั้น

อันดับแรก ดูมาตราสำคัญสุดของร่างฯ ฉบับล่าสุดก่อน ในหมวด 5 ว่าด้วย ฐานภาษี อัตราภาษี และการคำนวณภาษี บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา 34 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้จัดเก็บตามอัตราภาษี ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดสองของฐานภาษี
(2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าของฐานภาษี
(3) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก (1)และ(2) ให้มีอัตราร้อยละสองของฐานภาษี
(4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละสองของฐานภาษี ……….” ฉะนั้น มันจึงเกิดเรื่องต่อไปนี้

เรื่องแรก – ลาก่อน…. ชาวนา ชาวสวน เกษตรกรรายย่อย เจอ 4 ดอกพิฆาต ถึงขั้นสูญพันธุ์

อย่าตกใจนะ! หากพบว่า ความจริงของร่างกฎหมายล่าสุด ตัวจริงที่เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถูกแก้ไขไปมาก จึงไม่ใช่เรื่องอย่างที่คุณทราบมาก่อน เพราะร่างกฎหมายตัวจริง ตัวแม่ บัญญัติให้ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ต้องเสียภาษีทุกแปลง เกษตรกรรายย่อยก็ไม่เว้น…ย้ำ เพราะไม่มีบทบัญญัติมาตราใดในร่างพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ ที่ยกเว้นการเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เลย ย้ำอีกครั้ง.. ไม่มีการยกเว้นภาษีที่ดินเกษตรกรรมมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ในตัวร่างกฎหมายตัวจริง หากชาวนาหรือเกษตรกรรายย่อยต้องการให้ยกเว้นภาษีที่ดินเกษตรกรรม ก็ต้องย้ายบ้านไปปลูกไว้ในที่นา ที่สวน พร้อมทั้งขอทะเบียนบ้านและย้ายชื่อเข้าไปอยู่ในบ้านเพื่อขอยกเว้นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน 50 ล้านบาทตามมาตรา 38 ที่บัญญัติไว้ว่า

มาตรา 38 ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณไม่เกินห้าสิบล้านบาท (50ล้านบาท)……..”

แต่กระนั้นก็อาจจะยังไม่แน่นะว่าจะได้รับยกเว้นภาษีที่นา ทั้งที่อุตส่าห์ย้ายบ้านไปตั้งไว้ในนา เพราะขึ้นกับพนักงานสำรวจว่า จะตัดสินให้ที่ดินเกษตรกรรมที่มีบ้านพักอาศัยอยู่นั้น จัดให้อยู่ในบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทใด เช่น หากตัดสินที่ดินปลูกบ้านมีแค่ส่วนหนึ่งเล็กๆ และ ที่ดินที่เหลือส่วนใหญ่คือที่ดินเกษตรกรรม ชาวนาก็ต้องจ่ายภาษีที่ดินเกษตรกรรมอยู่ดี เรียกว่าหนีไม่รอด ด้วยอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 หรือ จ่ายภาษีล้านละ 2 พันบาทต่อปีเป็นประจำทุกปี เหมือนรีดเลือดจากปู จนกลายเป็นปูตากแห้ง เพราะกฎหมายให้อำนาจ พนักงานสำรวจเป็นผู้ชี้ขาดว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ควรเสียภาษีในบัญชีประเภทใด ตามบทบัญญัติมาตรา 26 ที่ว่า

“…….มาตรา 26 ให้พนักงานสำรวจมีอำนาจหน้าที่สำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนที่เกี่ยวกับประเภท จำนวน ขนาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการประเมินภาษี………”

สรุปแล้ว เรื่องจริงๆ คือ ชาวนา ชาวสวนที่เป็นเกษตรกรรายย่อยจะต้องจ่ายภาษีที่ดินเกษตรกรรมทุกแปลง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 เพราะกฎหมายหลักคือพระราชบัญญัติไม่ได้ยกเว้นให้ จึงจัดเป็น ดอกที่หนึ่ง มอบเป็นรางวัลให้ชาวนา ชาวสวน เกษตรกรรายย่อย ทุกคน เป็นการเก็บภาษีที่ดินซ้ำเติมความยากจนและหนี้สินที่มีอยู่แล้ว เท่านี้ไม่พอ กฎหมายฉบับนี้เตรียม ดอกที่สอง มอบให้ชาวนา/ชาวสวน คือ หากไม่มีเงินจ่ายภาษีภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 64 มาตรา 65 สูงสุดคือหนึ่งเท่าของเบี้ยภาษี และ ตามซ้ำด้วย ดอกที่สาม คือ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มของภาษีค้าง (ที่จริงแล้วคือดอกเบี้ย) ตามมาตรา 66 ในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือ ร้อยละ 12 ต่อปี (แอบแพงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาฯ ของธนาคารพาณิชย์เกือบเท่าตัว) แต่ช้าก่อน…..

… มันยังไม่พอที่จะทำให้ปัญหาของชาวนา/ชาวสวนหมดสิ้นไปจากประเทศไทยเพราะยังมีที่ดินเกษตรกรรมถือครองอยู่อีก ต้องจัด ดอกที่สี หรือ ดอกพิฆาต เพื่อกำจัดสาเหตุของปัญหาให้สิ้นซาก คือ ใช้มาตรา 58 ทำการอายัด ยึดที่ดิน มาขายทอดตลาดซะเลย จะได้จบๆ ขายได้เท่าไร ก็เอามาจ่ายภาษีและเบี้ยปรับ ค่าดำเนินการทุกอย่าง เหลือเงินเท่าไร จะคืนให้ชาวนา/ชาวสวน เพียงเท่านี้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ถาวร เพราะชาวนา/ชาวสวน ไม่มีที่ดินถือครองเหลืออยู่ให้เป็นปัญหาอีกต่อไป ให้ไปทำงานรับจ้างแทนจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษี ไม่ต้องมาทำตัวเป็นภาระให้รัฐบาลไหนๆอีก ถือเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับปรมาจารย์ อาจดูโหดนิดหนึ่งนะ แต่รับรองหมดปัญหาถาวร เพราะ ดอกที่สี่ซึ่งเป็นดอกพิฆาตคนจนนี้ ในร่างกฎหมายล่าสุด บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา 58 ถ้าผู้เสียภาษีมิได้ชำระภาษีค้างชำระ iocco-uk.info เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งเตือนตามมาตรา 57 เมื่อพ้นเก้าสิบวันนับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าวแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของผู้เสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระภาษีคงค้าง เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน…………….
วิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้นำวิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับใช้โดยอนุโลม……….”

อ่านแล้ว เข้าใจเลยว่า มันเป็นกฎหมายภาษีที่มหัศจรรย์ที่สุดในระดับต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์แผ่นดินเพราะมองเกษตรกรผู้ยากไร้เป็นขยะส่วนเกินของประเทศต้องกำจัดออกไป แถมให้อำนาจกฎหมายผู้บริหารท้องถิ่น คือ นายก อบต. นายก อบจ. มีอำนาจแบบศาลเตี้ย ทำหน้าที่แทน ศาลแพ่ง จัดการการยึดทรัพย์แบบรวดเร็วทันใจ ผู้ร่างกฎหมายคงเห็นว่า ประชาชนผู้ค้างภาษียังไงก็ผิดแน่ๆ ต้องลงโทษให้เด็ดขาด โดยเฉพาะชาวนา/ชาวสวน เกษตรรายย่อยพวกนี้ ชอบทำตัวเป็นภาระรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย มารอบนี้ เจอกฎหมายภาษีมหัศจรรย์ฉบับนี้ ถ้าไม่จ่ายภาษีอีก ก็ให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากนักการเมืองท้องถิ่นจัดการเด็ดขาดไปเลย แล้วไปทะเลาะกันเองนะเพราะอยู่ท้องที่เดียวกัน รับรองถูกกด(…)แน่นอน (คนร่างกฎหมายช่างเก่งจริงๆ)

ต่อไปเกษตรกรรายย่อยจะไม่มีที่ดินทำนา/ทำสวน นั่นหมายความว่าเกษตรกรยากจนพวกนี้จะได้ไม่เป็นภาระให้กับประเทศไทยอีกตลอดกาล ผู้ร่างฯคงกะว่าจะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ให้หมด เพราะนายทุนทำนาทำสวนแปลงละเป็นแสนๆไร่ หรือล้านๆไร่ คนรวยทำเกษตรดีกว่า คุมง่าย ไม่เดือดร้อน ประเทศนี้จะได้หมดปัญหาไปเลย เกษตรกรผู้ยากจนเหล่านี้ช่างเป็นตัวถ่วงความเจริญของประเทศไทยเสียจริง เพราะต้องให้รัฐบาลจัดสรรเงินช่วยเหลือให้ทุกยุคทุกสมัย อย่ากระนั้นเลย ใครมากเรื่อง เงินก็ไม่มี ภาษีก็ไม่จ่าย ยึดที่ดินมาขายซะจะได้จบๆ ไป ค้างภาษีดีนัก ยึดทรัพย์จัดเต็มแบบเดียวกับนักโทษยาเสพติด ดีกว่าหน่อยถ้าเงินเหลือจะคืนให้ และนี่ถือว่าโชคดีแล้วนะ เพราะผู้ร่างฯไม่ได้บัญญัติว่า ถ้าขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอจ่ายค่าดำเนินการ จะให้จำคุกชดใช้ วันละกี่บาทว่าไป แค่นี้ก็บุญแล้ว เข้าใจเสียใหม่นะว่าการเก็บภาษีเข้าท้องถิ่นสำคัญกว่าชีวิตคนจนและคนชั้นกลางเป็นไหนๆ เอาไปพัฒนาท้องถิ่นไง ไม่ต้องกลัวนะว่าจะไม่ที่อยู่ เพราะจะเหลือบ้านให้ 1 หลังไม่ยึดแน่ๆ เพราะเขียนไว้แล้วในมาตรา ๓๘ ขอเชียร์ดังๆเลย สุดยอดมาก… คิดได้ไง! เปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นบริษัทไทยแลนด์เลยดีไหม จะได้ตรงตามภารกิจ

เรื่องที่สอง – คนชั้นกลาง…… อย่านึกว่าจะรอด

คนชั้นกลางทั้งหลาย โปรดอ่านร่างกฎหมายตัวจริงเสียนะ จะได้หูตาสว่าง ก่อนที่จะเสียใจภายหลัง เพราะ ร่างกฎหมายตัวจริงจะอนุญาตให้คนชั้นกลางเป็นเจ้าของ บ้านและที่ดิน หรือ คอนโด ก็ได้ แค่หลังเดียวเท่านั้นนะ เอาไปเลยหรูๆ ไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่อย่าเข้าใจผิดนะว่า กฎหมายบัญญัติเรื่องบ้านหลังที่สองที่จะเสียภาษีถูกๆ ไม่มีจริงนะครับ ร่างกฎหมายตัวจริงเสียงจริงไม่ได้บัญญัติไว้ อัตราภาษีบ้านหลังที่สองที่เห็นๆ กัน เกิดจากการยืมมาตรา 34 (3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพาณิชยกรรมมาใช้ชั่วคราวก่อน ทำเป็นกฎหมายลูก แรกๆ ก็ถูกลวงไปก่อนนะจะได้สบายใจ เพราะจะลดภาษีสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ ให้ถูกๆ ก่อนชั่วคราว คนชั้นกลางรวยเมื่อไรหรือรัฐจนลงเมื่อไร ก็เจอต้องของจริง เพราะจะแก้กฎหมายลูกขึ้นภาษีแบบจัดเต็มตามมาตรา 34 (3) เปิดเผยร่างที่แท้จริงออกมาว่า

อ๋อ! ที่แท้จริงภาษีบ้านหลังที่สองแล้วก็คือภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างพาณิชยกรรมนี่เอง เราไม่น่าพลาด ฉะนั้นถ้าเข้าใจแล้วตามทัน ไม่อยากเสียภาษี ก็ทิ้งให้หมด ให้เหลือบ้านหลังเดียว เอาเฉพาะที่อยู่ตามทะเบียนบ้านจริง เพราะบ้านหลังที่สอง หลังที่สาม นั้น เขายืมมาตราของบ้านเช่าคิดภาษีเชิงพาณิชย์มาลดให้ชั่วคราว โผล่ของจริงมาเมื่อไหร่ก็ซวย เพราะเท่ากับเช่าบ้านหลังที่สองของตัวเอง ก็ต้องจ่ายภาษีบ้านเช่าเต็มๆ เลิกคิดที่จะซื้อบ้านเผื่อให้ลูกไปเลย เอาตัวเองให้รอดพอ ปล่อยให้ลูกไปตายเอาดาบหน้า อย่าลืมนะ ภาษีบ้านเช่า ร้อยละ 2 หรือ จ่ายล้านละ 2 หมื่นต่อปี ทุกปี แพงกว่าภาษีโรงเรือนแค่ราวๆ เท่าตัวเท่านั้น (มีคนเช่าหรือไม่มีคนเช่าก็ต้องจ่ายภาษีนะครับ)

หากไม่จ่ายภาษี จะถูกยึดเอาไปขายทอดตลาดอย่างเร็วเลย รู้แบบนี้ก็ไม่ต้องซื้อเลยจะดีกว่า ไหนจะดอกเบี้ยเงินกู้ ไหนจะภาษี รอนะประชาชนไทยถึงยุคประเทศไทย 4.0 แล้ว บรรดาชาวนา ชาวสวน (ทุกชนิด) จะไม่เป็นปัญหาให้รัฐบาลไหนปวดหัวอีกแล้ว เพราะหมดสิ้นที่ดินของตัวเองเท่ากับหมดสิทธิเรียกร้องที่จะทำตัวเป็นปัญหาอีก รับจ้างใช้แรงงานไปนะ จะเหลือบ้านให้อยู่ 1 หลัง ลูกหลานก็อัดกันอยู่ในบ้านหลังเดียวแหละนะ

ปัญหาของประเทศไทยก็จะจบแบบสวยๆ ด้วยประการฉะนี้

ที่มา : มติชนออนไลน์
ผู้เขียน : ผศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย