เครื่องจะปล่อยน้ำมาทำความสะอาด และมีลูกกลิ้งแปรงขัดหมุนขัดผิว

มันเทศให้เปลือกหลุดอย่างเบาบาง ช่วยลดระยะเวลาในการล้างและขัดผิวมันเทศ จาก 4 ชั่วโมง เหลือเพียง 45 นาที ต่อปริมาณหัวมันจำนวน 100 กิโลกรัม และลดความสูญเสียเนื้อมันเทศในการปอกเปลือก จาก 10 กิโลกรัม เหลือเพียง 3 กิโลกรัม ทางกลุ่มจึงขอขอบคุณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นอย่างยิ่งที่มอบเครื่องนี้ให้กับทางกลุ่ม เราจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ สด สะอาด และอร่อย ยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ” พี่เจี๊ยบ หรือ คุณประทีป หรับจันทร์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มผลิตมันทอดบ้านเขากลอยตก ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าว

สุดสัปดาห์นี้ ขอชวนคุณเที่ยวแบบชิวๆ ไปกับสมุดโคจร On The Way ด้วยคอนเซ็ปต์ “เมืองต้องห้ามพลาด” เช็คอินได้หลายที่ แฮปปี้ได้ทุกเวลา กับการขับรถเดินทางท่องเที่ยวสบายๆ ในจังหวัดใกล้เคียงที่ใครก็เที่ยวได้

เปิดทริปเล็กๆ เติมความสดชื่นให้ร่างกายและจิตใจที่เหนื่อยล้าจากการทำงานตลอดทั้งวีค ด้วยการพาเที่ยวเส้นทางปลาทูขึ้นชื่อ ณ แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม บุก “บ้านน้องแก้ม” ล้วงลึกขั้นตอนการทำปลาทูนึ่งส่งออกตลาด ต่อด้วยขอพาไปผ่อนคลายที่ “ตาลพวา คาเฟ่” แหล่งพักผ่อนชิวๆ ท่ามกลางสวนมะพร้าวสไตล์โมเดิร์น สัมผัสวิถีชีวิตของชาวอัมพวาอย่างใกล้ชิด ยามค่ำนัดพบก๊วนเพื่อนกันต่อที่ “ตลาดน้ำอัมพวา” มนต์เสน่ห์ของเมืองแม่กลอง เรียนรู้ด้วยวิถีชุมชนดั้งเดิมที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ และเดินทางต่อเนื่องมาถึงดินแดนโอ่งมังกร ราชบุรี พาเยือนสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ “ณ สัทธา อุทยานไทย” แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ปลูกรากเหง้าความเป็นไทย ด้วยการนำเสนอมุมมองใหม่ในยุคดิจิตอลที่ไม่เหมือนใคร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัย แล้วคุณจะสัมผัสความเป็นไทยอีกมิติหนึ่งได้อย่างเพลิดเพลิน

มาร่วมสัมผัสมิติใหม่แห่งการเดินทางพร้อมกัน ในรายการ สมุดโคจร On The Way : 7 Greens Turismo “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” วันเสาร์ ที่ 18 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 28 3SD หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 23 เรื่อง “พายุเบบินคา”โดยสรุปว่า พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 16 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันพรุ่งนี้ (17 ส.ค.61) จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวในวันที่ 18 ส.ค. ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่

โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบตามภาคต่างๆ ช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. ดังนี้ ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

ช่วงวันที่ 19 ส.ค. ภาคเหนือ : บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย และตาก ภาคตะวันออก : จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

สำหรับพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2561

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง ทำให้ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 20 ส.ค. ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ พายุโซนร้อน “เบบินคา” (BEBINCA) บริเวณอ่าวตังเกี๋ย มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 20.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เปิดวาร์ปเส้นทางสุดหรรษาใกล้กรุง ชวนเที่ยววันธรรมดา “นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว” กับฝรั่งมาดทะเล้น “แดเนียล เฟรเซอร์” ปะทะดาราหนุ่มมาดกวน “เลโอ โซสเซย์” แท็กทีมป่วนนครนายก พาสัมผัสธรรมชาติสุดแอดเวนเจอร์

รายการหลงรักยิ้ม ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ชวนเที่ยวภาคตะวันออก นำเสนอเส้นทางใกล้กรุง อย่าง “นครนายก, ปราจีนบุรี และ สระแก้ว” มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในวันธรรมดา เพิ่มรายได้สู่ชุมชน ภายใต้แคมเปญ “วันธรรมดาน่าเที่ยว หรรษาใกล้กรุง” โดยพิธีกรฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล เฟรเซอร์” ชวนแขกรับเชิญ “เลโอ โซสเซย์” เดินทางท่องเที่ยวสุดหรรษา ในจังหวัดนครนายก

สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวสุดมันส์ “สาริกา แอดเวนเจอร์ พอยท์” ผจญภัยเชิงนิเวศ เอาใจสายฮาร์ดคอ คนชอบความท้าทายห้ามพลาดกิจกรรม เดินป่า ปีนหน้าผา พายเรือคยัค ล่องแก่ง พร้อมสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติแบบใกล้ชิด เช็คอินยอดฮิตที่ “เขื่อนขุนด่านปราการชล” ล่องเรือชมดินแดนในฝันที่หลบซ่อนอยู่ในเขื่อนแห่งนี้ พบสามน้ำตกงาม น้ำตกผางามงอน, น้ำตกคลองคราม และน้ำตกช่องลม ซึ่งเขื่อนขุนด่านปราการชลสร้างตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่ยาวที่สุดในเมืองไทย สัมผัสวิถีภูกะเหรี่ยง “หมู่บ้านคีรีวัน” ชมศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร และพลาดไม่ได้กับบรรยากาศยามเย็น ชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ “สะพานไม้ ภูกะเหรี่ยง” สะพานไม้ธรรมชาติทอดยาวกลางทุ่งนาสีเขียว บนเนื้อที่กว่า 60 ไร่

เที่ยววันธรรมดาหรรษาใกล้กรุง สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวสุดแอดเวนเจอร์ และธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของนครนายก ติดตามได้ในรายการหลงรักยิ้ม วันเสาร์ ที่ 18 สิงหาคม 2561 เวลา 16.30 น. ทางช่อง 28 (3SD) หรือทาง Facebook

ทำไม ต้องงดน้ำ เพื่อให้มะนาวออกดอก ในช่วงกลางเดือนกันยายน หากไม่มีฝนตกต่อเนื่อง ก็ไม่ต้องรดน้ำต้นมะนาวเลย เป็นการเร่งให้ต้นมะนาวเกิดความเครียด จะออกดอกได้ง่าย ตามธรรมชาติแล้ว หากมะนาวขาดน้ำซักระยะแล้ว ได้รับน้ำใหม่ติดต่อกัน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะออกดอกตามมา ถ้าต้นมะนาวยังไม่ออกดอก แนะนำให้ใช้สูตรการเร่งการสะสมอาหารและสูตรเร่งการออกดอก โดยอาจจะเติมสารโพลีเอไซม์ อัตรา 50 ซีซี กับ เทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี ฉีดร่วมกับปุ๋ย สูตร 10-52-17 อีก 1-2 ครั้ง

ต้นเดือนตุลาคม เร่งการออกดอก ในการเร่งการออกดอกนั้น ต้นมะนาวจะต้องพร้อม โดยให้สังเกตที่ใบมะนาวเป็นหลัก ใบมะนาวที่พร้อมจะออกดอก จะต้องมีสีเขียวเข้ม ใบยกตั้งขึ้นคล้ายผีเสื้อ หากเรามองไปในแปลงจะมองเห็นท้องใบมะนาวเป็นสีขาว อาการแบบนี้ จะดึงดอกได้ง่าย การดึงดอกจะใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) อัตรา 250 กรัม ร่วมกับฮอร์โมนกลุ่มสาหร่าย-สกัด เช่น แอ็กกรีน อัตรา 20 ซีซี ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง มะนาวจะออกดอกตามมา หลังเปิดตาดอกจะต้องให้น้ำติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ มะนาวจะเริ่มพัฒนาตาดอก โดยดอกของมะนาวจะออกตามใบอ่อนชุดใหม่ หรือออกดอกที่ซอกใบแก่ก็ได้

ช่วงออกดอก จะพบศัตรูทำลายดอกที่สำคัญ คือ เพลี้ยไฟ จะเข้าทำลายดอกตั้งแต่ดอกตูม จะทำให้ดอกแตกผสมไม่ติด นอกจากนั้น เพลี้ยไฟจะลงทำลายผิวของผลอ่อน ทำให้ผิวผลเป็นรอยสีน้ำตาล ผิวไม่สวย เสียหาย ถ้าลงทำลายมาก ผลอ่อนจะร่วง เสียหายมาก แนะนำให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด (ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด 70% WG) อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารโปรวาโด เป็นยาเย็นไม่ทำลายดอก) หรือเลือกใช้สารเอ็กซอล (ชื่อสามัญ สไปนีโทแรม) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จำไว้เสมอ ช่วงดอกบานให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มยาน้ำมัน และยาเชื้อรากลุ่มคอปเปอร์ เพื่อไม่ให้ความร้อนจากยาที่ฉีดพ่นไปทำลายดอกมะนาว

ดูแลผลอ่อน ถ้ามะนาวออกดอกได้ในช่วงเดือนตุลาคมก็จะเก็บขายได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน การดูแลผลอ่อนหลังดอกโรยแล้ว จะต้องคอยดูเพลี้ยไฟให้ดี เพราะเพลี้ยไฟจะคอยทำลายผิว ทำให้ขายไม่ได้ราคา ดูแลเรื่องการให้น้ำดีๆ ป้องกันผลร่วง เมื่อเห็นดอกมะนาวแล้ว จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันผลอ่อนหลุดร่วง ทางดิน อาจใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือหากไม่มี อาจใช้ปุ๋ยสูตรสะสมที่เราเหลืออยู่ก็ได้ ดอกมะนาวจากเริ่มบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ใช้เวลา 4 เดือนขึ้นไป (แต่ถ้าราคาซื้อขายมะนาวแพง ผลมะนาวมีน้ำก็สามารถเก็บขายได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้ผลมะนาวครบอายุแต่อย่างใด) และผลมะนาวจะเริ่มร่วงหล่นเมื่อมีอายุผลได้ 5 เดือนครึ่ง ถึง 6 เดือน ช่วงเลี้ยงผลอ่อนก็จะฉีดพ่นด้วยฮอร์โมน เช่น แคลเซียมโบรอน จิบเบอเรลลิน (เช่น จิพแซด) เพื่อช่วยขยายขนาดผลให้ผลมะนาวโตเร็วขึ้นให้ทันราคาขายที่แพง
ตัวอย่าง การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในสวนมะนาว

หนอนชอนใบ ชื่อสามัญ อะบาแม็กติน (ชื่อการค้า แจคเก็ต, โกลแจ็กซ์) ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด (ชื่อการค้า โปรวาโด, โคฮีนอร์) ชื่อสามัญ ไทอะมีโซแซม (ชื่อการค้า มีโซแซม) ชื่อสามัญ โคลไทอะนิดิน (ชื่อการค้า แดนท็อซ) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

เพลี้ยไฟ ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด (ชื่อการค้า โปรวาโด), (เพลี้ยไฟ จะใช้อัตราที่สูงกว่าการฉีดกำจัดหนอนชอนใบ) ชื่อสามัญ สไปนีโทแรม (ชื่อการค้า เอ็กซอล) ชื่อสามัญ อะเซททามิพริด (ชื่อการค้า โมแลน) ชื่อสามัญ คาร์โบซัลแฟน (ชื่อการค้า ไฟท์ช็อต, พอสซ์) ชื่อสามัญ อีไธออน ชื่อสามัญ ไธอะมีโซแซม (ชื่อการค้า มีโซแซม) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

เพลี้ยไก่แจ้ ชื่อสามัญ โคลไทอะนิดิน (ชื่อการค้า แดนท็อซ) ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด (ชื่อการค้า โปรวาโด) ชื่อสามัญ ไดโนทีฟูแรน (ชื่อการค้า สตาร์เกิล) ชื่อสามัญ แลมป์ดาไซฮาโลทริน (ชื่อการค้า เคเต้, คาราเต้) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

ไรแดง ชื่อสามัญ โพรพาริไกด์ (ชื่อการค้า โอไมท์) ชื่อสามัญ อามีทราซ ชื่อสามัญ สไปนีโทแรม (ชื่อการค้า เอ็กซอล) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไปเพื่อป้องกันการดื้อยา

ไรสนิม ชื่อสามัญ กำมะถัน (ชื่อการค้า กำมะถันทอง) ชื่อสามัญ โพรพาริไกด์ (ชื่อการค้า โอไมท์) ชื่อสามัญ อามิทราซ ชื่อสามัญ ไพริดาเบน (ชื่อการค้า แซนไมท์) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

หนอนแปะใบ ชื่อสามัญ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส หรือ เชื้อ “บีที” ถ้าเป็นชนิดน้ำ ใช้อัตรา 80-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ซีซี ถ้าเป็นชนิดผง ใช้อัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ซีซี

และถ้าท่านสังเกต จะพบว่า สารเคมีบางชนิดสามารถคุมแมลงศัตรูได้หลายชนิดในการฉีดพ่นในครั้งนั้นๆ การใช้ปุ๋ยในสวนมะนาว

หลายท่านที่เคยอ่านหนังสือมะนาวและพบบทสัมภาษณ์ของเกษตรกรที่ปลูกมะนาวหลายรายว่า ใช้ปุ๋ยสูตรนั้นดี สูตรนี้ดี แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่า ปุ๋ยในแต่ละสูตรจะใส่ช่วงไหนบ้าง และมีข้อจำกัดในการใส่อย่างไร ทีมงานชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรจังหวัดพิจิตร ได้สอบถามชาวสวนมะนาวที่มีประสบการณ์หลายท่าน และได้พูดคุยกับเกษตรกรชั้นเซียนเหล่านั้น ได้ให้ข้อแนะนำดังนี้ ข้างกระสอบปุ๋ยเขียน N-P-K คืออะไรบ้าง N = ไนโตรเจน ชาวบ้านให้นึกถึง ใบ, P = ฟอสฟอรัส ชาวบ้านให้นึกถึง ดอกและราก และ K = โพแทสเซียม ชาวบ้านให้นึกถึงผล ดังนั้น ถ้าสูตรปุ๋ย เขียนว่า 15-15-15 ก็ง่ายๆหมายถึง บำรุงใบ 15% บำรุงดอก 15% และเร่งผล 15%

สูตรเร่งใบอ่อน ทางดิน

กรณีเป็นต้นมะนาวปลูกใหม่ ให้ใส่ สูตร 25-7-7 เพื่อเร่งการแตกใบอ่อน ทรงพุ่มจะได้โตเร็ว แต่ถ้าไม่มีให้ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 แทนได้ การใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน มีข้อควรระวังคือ ต้องใส่แต่น้อย แต่เน้นใส่บ่อยครั้ง, ยกตัวอย่าง ใส่ปุ๋ยทางดินครั้งแรก หลังปลูกไปได้ 20 วัน โดยใช้ปลายนิ้วหยิบปุ๋ยหว่านรอบๆ โคนต้นแล้วรดน้ำตาม (ปริมาณที่ใส่น้อย จริงๆ ถ้าตวงก็ไม่น่าจะเกิน 1 ช้อนชา) การใส่ปุ๋ยมาก ในแต่ละครั้งจะทำให้สภาพดินเป็นกรดเร็ว และต้นมะนาวอาจจะน็อกปุ๋ยตายได้เมื่อใส่ครั้งต่อไป เมื่อเห็นว่าต้นมะนาวมีความเขียวลดลง หรือกำหนดเวลา ประมาณ 1-2 เดือน การใส่ในครั้งต่อไปให้เพิ่มปริมาณปุ๋ยทีละน้อย จนเมื่อมะนาวอายุ 1 ปี และมีทรงพุ่ม ประมาณ 1-2 เมตร ปริมาณปุ๋ยที่ใส่จะอยู่ที่ 2 กำมือ ต่อครั้ง เท่านั้น

สูตรเร่งใบอ่อน ด้วยปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยที่ฉีดทางใบเป็นคนละชนิดกับที่ใส่ทางดิน ไม่แนะนำให้เอามาใช้ทดแทนกัน ปุ๋ยทางดินนั้น แม้จะเป็นสูตรที่เราต้องการ แต่ส่วนผสมที่ใส่ไว้เพื่อเพิ่มน้ำหนัก (filler) จะมีปัญหากับระบบการฉีดพ่นทางใบมาก ดังนั้น ถ้าเราจะฉีดพ่นทางใบ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยที่ทำมาเพื่อฉีดพ่นทางใบเท่านั้น ในตลาดบ้านเราพบเห็นได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยเกล็ด เช่น ปุ๋ยนิวตริไจเซอร์ (20-20-20) และ ปุ๋ยเหลว เช่น 12-12-12, 18-6-6 ในการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ แนะนำให้ใช้ตามอัตราที่ฉลากแจ้งไว้ เพราะปุ๋ยแต่ละสูตรอัตราการใช้ไม่เท่ากัน

แต่ควรฉีดในช่วงที่อากาศเย็น ไม่ร้อน โดยปกติจะนิยมฉีดช่วงเช้ามืด หรือช่วงเย็นๆ กรณีใช้ปุ๋ยเกล็ดต้องนำไปละลายน้ำให้ดีเสียก่อน จึงใส่ลงในถังฉีดพ่น ถ้าใส่ลงไปเลยอาจเกิดปัญหาการไม่ละลาย ทำให้หัวฉีดอุดตัน และได้รับประสิทธิภาพของปุ๋ยไม่เต็มที่

การฉีดพ่นปุ๋ยเร่งการแตกใบอ่อน

ในกรณีต้นมะนาวโทรม หรือไม่ยอมแตกใบอ่อน ปัญหานี้มักเกิดกับต้นมะนาวที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบราก หรือมะนาวมีประวัติออกลูกมากเกินไป จะต้องบำรุงและดูแลอย่างดี ทางดินแนะนำให้ตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินก่อน ส่วนมากถ้าปลูกนานๆ ดินมักจะมีสภาพเป็นกรด การตรวจ pH ของดินต้องไม่ต่ำกว่า 6 ถ้าตัวเลขน้อยกว่านี้ แสดงว่าดินเป็นกรดมาก เกษตรกรจะต้องเร่งปรับสภาพดินด้วยการใส่ปูน เช่น ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ ฯลฯ หลังใส่ปูนตรวจวัด pH อีกครั้ง ถ้าอยู่ในระหว่าง (pH 6-7) ให้ถือว่าใช้ได้ ให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ปริมาณขึ้นอยู่กับขนาดและสภาพของต้น (ใส่แต่เพียงพอดี)

บางครั้งพบว่า หลังปรับสภาพดินด้วยปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์แล้ว มะนาวกลับเขียวและฟื้นสภาพเอง โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี เพราะปูนได้ไปช่วยปลดปล่อยปุ๋ยในดินให้รากต้นมะนาวเอากลับไปใช้ได้ (อธิบายแบบชาวบ้านจะได้เข้าใจง่าย) ควรหมั่นตรวจดูสภาพโคนต้นมะนาว ว่ามีอาการของโรครากเน่า โคนเน่า หรือเปล่า? เพราะโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นมะนาวทรุดโทรม ไม่ยอมแตกใบอ่อน ถ้าพบต้องรีบแก้ไข เมื่อตรวจทุกอย่างดีแล้ว จึงใช้ปุ๋ยทางดิน ช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้น และสม่ำเสมอ สูตรที่นิยมใช้และหาง่าย คือ สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 การใส่ปุ๋ยทางดินกับมะนาวที่โต หรือให้ผลผลิตแล้ว