เครื่องฝานผลกล้วยนี้ ได้จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ร่วม

กันในนามของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มกอช.เสริมศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่จังหวัดเชียงใหม่นำระบบ QR Trace และตลาดสินค้าออนไลน์ www.dgtfarm.com อบรมให้ความรู้ เพิ่มช่องทางในการจำหน่าย หวังแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

นายยุทธนา นรภูมิพิภัชน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดอบรมให้ความรู้ระบบตามสอบสินค้าเกษตรบนระบบคลาวด์ สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (QR Trace on Cloud)

และเปิดเว็บไซต์ตลาดออนไลน์ www.dgtfarm.com ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ ปลูกกระเทียมและปลูกหอมแดง ซึ่งได้แก่ สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่บ้านกาดพัฒนา จำกัด และสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วางจำกัด ในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ รวม 48 ราย ณ ห้องศรีนครใบเงิน โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

เพื่อยกระดับมาตรฐานหอมหัวใหญ่ กระเทียมและหอมแดง เป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกร แก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าเกษตร ให้สามารถตามสอบได้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการปลอมปนเมล็ดพันธุ์นอกโควตาที่ให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ซึ่งมีการปลูกในอำเภอแม่วางและอำเภอสันป่าตอง และเพื่อช่วยป้องกันการลักลอบนำเข้าเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และหอมหัวใหญ่สดจากต่างประเทศ

“ มาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ได้มีการกล่าวถึงและใช้เป็นข้อต่อรองในการเจรจาทางด้านการค้ามาโดยตลอดและจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ประกอบกับผู้ริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินต้าและอาหารเป็นอย่างมาก ดั้งนั้นเกษตรกรผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องใช้ระบบตามสอบสินค้าเกษตร (QR Trace on Cloud) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค”

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มีนโยบายที่จะสร้างความเข้าใจและผลักดันให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสหกรณ์รวมถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สนใจใช้ระบบตามสอบ QR Traceโดยเฉพาะผู้ผลิตที่มีศักยภาพและความโดดเด่นในการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการในภาคเกษตรและอาหารของไทยให้สามารถแข่งขันทางการค้าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

และเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ www.dgtfarm.com ยังสามารถสร้างโอกาสให้แก่ผู้ซื้อและผู้ประกอบการที่ต้องการสินค้าตรงกัน ซึ่งสินค้าที่สามารถเข้ามาจำหน่ายในตลาดออนไลน์ www.dgtfarm.com จะต้องเป็นสินค้าดี มีคุณภาพ มีมาตรฐานต่างๆ ที่มีการผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและแหล่งผลิต

หรือเป็นสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ QR Trace ระบบงานทั้งสองจึงเป็นระบบที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายเดียว กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์และบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่สุดในภาคการเกษตรและอาหารของไทย

ทั้งโลกกินกาแฟปีละ 31,500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือราวหนึ่งล้านล้านบาท หรือราว 1 ใน 3 ของงบประมาณที่ไทยใช้ในการพัฒนาประเทศในปีที่ผ่านมา

อันนี้นับเฉพาะที่มีตัวเลขซื้อขายข้ามประเทศไปมานะ ที่ผลิตแล้วจิบกันเองในประเทศยังไม่รวม ถ้าเอารวมกันจริงๆอาจจะได้อีกเกือบเท่าตัว พูดกันสั้นๆ โลกเราจิบกาแฟกันอย่างจริงจัง อย่างเอาเป็นเอาตาย มูลค่ากาแฟที่เราจิบกันเข้าไป ไม่ได้น้อยหน้าทองคำ หรือเพชรพลอยที่ค้าขายกัน

ในจำนวนนี้ อเมริกาซึ่งมีประชากร 250 ล้านคน จิบกันหนักหนา ถึงปีละ 6,300 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เกือบสองแสนล้านบาท สูงสุดในโลก หรือราว 1 ใน 5 ของกาแฟที่จิบกันทั่วโลก เรื่องบริโภคที่อเมริกานี่ไม่ค่อยเป็นรองใครสักที เพราะฉะนั้นไม่มีใครแปลกใจ

ถ้าว่ากันเป็นทวีป ตัวเลขที่รวบรวมกันเป็นเรื่องเป็นราว บอกว่า ยุโรปกินกาแฟปีละ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 5 แสนล้านบาท ต่อปี หรือ 53% ของกาแฟที่จิบกันทั้งโลก อเมริกาเหนือที่รวมอเมริกาและแคนาดา จิบมาเป็นอันดับสอง ราว 23.5% และเอเชียจิบตามรั้งท้าย 14.5% ส่วนรายเล็กรายน้อย อย่างแอฟริกา จิบปีละ 2.3% โอเชียเนียซึ่งรวมออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จิบจิ๊บๆ แค่ 1.2% เท่ากับประเทศกลุ่มละตินอเมริกา ไม่รวมเม็กซิโก

พูดถึงแถวบ้านเรา ปี 2560 ไทยนำเข้ากาแฟ มูลค่า 149.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือเกือบ 5,000 ล้านบาท ยังไกลจากประเทศที่นำเข้ากาแฟมหาศาลอย่างญี่ปุ่น ที่สั่งซื้อ 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือกว่า 4 หมื่นล้านบาท อันนี้ถือว่ามหาศาลมากเมื่อเทียบกับประชากรของญี่ปุ่นที่มี 127 ล้านคน และเมื่อเทียกับจีนที่มีประชากรกว่าพันล้านคน แต่สั่งซื้อกาแฟแค่ปีละ 620.8 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

เพื่อนบ้านทางใต้ของเราที่ผลิตกาแฟได้ อย่าง มาเลเซีย ก็นำเข้ากาแฟ ปีละ 244.4 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์เห็นเล็กๆ มีคนไม่ถึง 6 ล้านคน ก็นำเข้าปีละ 65.9 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา มากกว่าฟิลิปปินส์ที่มีประชากร 100 ล้านคน แต่นำเข้า 55.1 ล้านเหรียญ มากกว่าอินโดนีเซียที่มีประชากร 350 ล้านคน ที่นำเข้า 32.5 ล้านเหรียญ

เวียดนาม ที่เป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ ก็นำเข้าถึง 57.3 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา กัมพูชา นำเข้า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ส่วนพม่ายังจิ๊บๆ อยู่แถวปีละ 4 แสนเหรียญ ลาวยิ่งน้อยใหญ่ เพราะนำเข้าแค่ปีละแสนกว่าเหรียญเท่านั้น

ที่จริงในระยะสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นผู้ส่งออกกาแฟกันถ้วนหน้า เวียดนาม ปลูกกาแฟโรบัสต้า เวียดนามทางตอนเหนือปลูกอะไรก็งามไปหมด รวมทั้งกาแฟด้วย ทั้งความสูงทั้งอากาศได้หมด ลาวก็ด้วย ภาคใต้ของลาวปลูกอะไรก็ไม่งามเท่ากาแฟ

ที่ราบสูงบอละเวนของลาวใต้ นั้นถูกยกเป็นที่ราบสูงที่เหมาะสำหรับปลูกกาแฟชั้นดี ไม่แพ้ที่ราบสูงหลายแห่งในอเมริกาใต้ จนตอนนี้ตลาดกาแฟโลกมีกาแฟบอละเวนเป็นหนึ่งในยอดกาแฟที่เรียกให้คนสรรหามาชิม

ว่ากันตามจริง กาแฟก็เหมือนอีกหลายสินค้าในโลก มันมีทั้งความต้องการจริง มีสินค้าที่ดีจริง และมีจริตจะก้านกับการผลักดันกาแฟชนิดหนึ่งชนิดใดขึ้นไปสู่ความนิยม โดยใช้แรงป่าวของบรรดาคนที่เขายกย่องให้เป็นกูรู

สินค้าใดที่มีเรื่องรสนิยมเข้ามาผสม ย่อมต้องมีกูรู มีเทพเข้ามาชี้แนะจัดอันดับ เหมือนไวน์ เหมือนน้ำหอม เหมือนชีส และเหมือนอะไรอีกมากมายที่ไม่ได้มีไว้กินแก้หิว แต่กินเพื่อความรื่นรมย์

ของไทยนั้น กาแฟเราอยู่ในอันดับกลาง ขายในตลาดในประเทศไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อออกสู่ตลาดโลก ยังมีน้อยรายมากที่ฝ่าไปได้ ปริมาณการผลิตของเราก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับเวียดนามและลาว

แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เด็ดสุด มาแรงสุดในเรื่องกาแฟ และมาแรงขนาดไต่ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้า การผลิต และแหล่งบ่มความรู้เรื่องกาแฟในภูมิภาคนี้ได้อย่างเผ็ดสุด ก็คือ สิงคโปร์

ใช่แล้ว เป็นสิงคโปร์ที่มีขนาดเล็กขนาดวิ่งข้ามประเทศได้ในเวลาสองชั่วโมง ประชากรไม่ถึง 6 ล้านคน น้อยกว่าคนในกรุงเทพฯ และเป็นสิงคโปร์ที่ไม่มีที่ปลูกกาแฟเลย

เหมือนจะเหลือเชื่อ แต่เพราะแรงดิ้นสุดกำลังแบบที่คนสิงคโปร์เท่านั้นที่ทำได้ในภูมิภาคนี้ สิงคโปร์กำลังดันตัวเองขึ้นไปเป็นศูนย์กลางกาแฟโลก มีเป้าหมายจะนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบเพิ่ม เป็นปีละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ในอีก 2 ปีข้างหน้า และส่งออกหลังจากเพิ่มมูลค่าแล้วเป็น 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

ปล่อยประเทศรายล้อมที่มีพื้นที่ปลูกกาแฟมากมาย อย่าง เวียดนาม ลาว ไทย มองตาปริบๆ สิงคโปร์ ไม่มีพื้นที่ปลูกกาแฟ จะเรียกว่าไม่มีกาแฟสักต้นก็ได้ แต่เขามีความชำนาญในเรื่องการคั่วกาแฟ ซึ่งว่ากันว่าเป็นขั้นตอนสำคัญมากในการกำหนดคุณภาพและกลิ่นรสของกาแฟ

สิงคโปร์มีองค์ความรู้เรื่องคั่วกาแฟมากว่าร้อยปี แต่ครั้งอังกฤษยังมีอิทธิพลอยู่ อย่าลืมว่ากาแฟน่ะมันเรื่องของคนตะวันตกเอามาเผยแพร่ เมืองไทยเราก็เพิ่งรู้จักกาแฟกันเอาจริงเอาจังก็ไม่กี่สิบปีมานี่เอง คนคั่วกาแฟมือเก่งๆ ของไทยไปเรียนจากสิงคโปร์มามากก็มาก

ตอนหลังเขาว่าแหล่งเรียนรู้เรื่องกาแฟต้องออสเตรเลีย แต่นั่นมันเป็นเรื่องการชงการคิดค้นสูตรเครื่องดื่มจากกาแฟแบบใหม่ๆ แต่เรื่องคั่วนี่ยังคงเป็นสิงคโปร์ ตัวเลขการนำเข้าเพื่อบริโภคหรือเพื่อเพิ่มมูลค่าแล้วส่งออกใหม่ของออสเตรเลียก็ยังน้อยมาก

ทั้งอิทธิพลจากการอยู่ใต้อิทธิพลของอังกฤษมานาน และทั้งการเข้าสู่วิถีชีวิตแบบโลกที่หนึ่ง คือคนกินดีอยู่ดี คนสิงคโปร์ปัจจุบันจึงบริโภคกาแฟกันมาก และรู้เรื่องกาแฟดีกว่าคนในประเทศเล็กจ้อยรู้

และเมื่อสิงคโปร์ทำอะไร เขาเล็งไปที่ความเป็นเลิศสถานเดียว

สิงคโปร์ สถาปนาเทศกาลกาแฟประจำชาติของตนเองขึ้นมาหลายปีแล้ว จัดกันใหญ่โตเอิกเกริก เชิญชวนประเทศผู้ผลิต ผู้ซื้อ กาแฟจากทั่วโลกเข้าร่วม โดยสิงคโปร์แสดงบทตัวกลางที่ถนัดมานมนาน

เขาจะรวมคนนำเข้ากาแฟ ผู้ผลิตกาแฟ อันหมายถึง คนที่นำเข้าเมล็ดกาแฟดิบมาคั่วแล้วปรุงกลิ่นรสต่างๆ นานาที่เป็นคนสิงคโปร์โดยแท้ และยังมีบรรดาข้าวของกาแฟยี่ห้อต่างๆ มากมายเกินกว่าจะเชื่อว่านี่เฉพาะในสิงคโปร์เท่านั้นมาไว้ในงาน

ทั้งหมดเป็นยี่ห้อของสิงคโปร์ แม้ว่าเขาจะไม่มีกาแฟสักต้นก็ตาม

เห็นมีกาแฟจากต่างประเทศมาเทียมหน้าเทียมไหล่รายเดียว คือ กาแฟขี้ชะมด จากอินโดนีเซีย ซึ่งเขาขนคนมาเจรจาการค้า เพราะมุ่งหวังเจาะตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากมีกำลังซื้อสูง เหมาะกับสินค้าแพงระยับของเขา

มีร้านกาแฟกว่าหนึ่งร้อยร้านมาเปิดเจรจาการค้า แค่ชิมร้านละอึกก็เมา

ผู้นำเข้าและร้านกาแฟสิงคโปร์ส่วนใหญ่นำเข้ากาแฟจากแอฟริกาและอเมริกาใต้ ทั้งเอธิโอเปีย เอลซัลวาดอร์ บราซิล เรียกว่าเกือบ 70% ล้วนมาจากประเทศเหล่านี้

ถามเขาว่า ทำไม ไม่สั่งซื้อจากไทย เวียดนาม ลาว ซึ่งอยู่ใกล้ๆ เขาบอกว่า เรื่องคุณภาพยังต้องพัฒนา แถมประเทศแถบนี้ยังมีปัญหาที่คั่วกาแฟเข้ม หรือค่อนข้างเข้ม ขณะที่ตลาดโลกเขากินกาแฟอ่อน และเขาเรียกกาแฟเข้มแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า กาแฟไหม้

ฉันเข้าใจว่า คนแถวนี้กินกาแฟเย็นเป็นหลัก เพราะเราเมืองร้อน เราเลยชงกาแฟให้เข้ม เพื่อให้มันไม่จืดเกินไปเวลาใส่น้ำแข็งลงไป

เทศกาลกาแฟสิงคโปร์ จะมีตัวละครหลักหน้าเดิมทุกปีคือ หนังสือพิมพ์ The Straits Times หนังสือพิมพ์ใหญ่และเก่าแก่และทรงอิทธิพลที่สุดของเขา กับ DBS ซึ่งเป็นธนาคารหลักของเขา และมีสปอนเซอร์หลักยาวเหยียด หนึ่งในนั้นคือ กลุ่ม Singtel กลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดของเขา

อันนี้คือ ย้ำที่เล่ามาแต่ต้นว่า ถ้าสิงคโปร์ทำอะไร ทำจริง

และการไต่อันดับขึ้นมาจากการนำเข้ากาแฟแค่ปีละไม่กี่ล้านเหรียญ มาเป็นใกล้ร้อยล้านเหรียญในทุกวันนี้ ทำให้เป้าหมายที่จะไปถึงขั้นศูนย์การค้าและการผลิตกาแฟของโลก เป็นเรื่องไม่ไกลเกินเอื้อม

ลายไทย เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ

ลวดลายที่ปรากฏและรู้จักกันโดยทั่วไป เช่น ลายก้านต่อดอก ลายกระจังใบเทศ ลายเปลว ลายประจำยาม และลายกนก เป็นต้น แต่ละลวดลาย ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง และลวดลายแกะสลักตามโบราณสถานต่างๆ มากมาย การสลักลวดลายเราต้องมีเครื่องมือ

เครื่องมือสลักลวดลายมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับประเภทงาน สำหรับไม้เนื้ออ่อนๆ เรามี สิ่วแกะสลัก เมื่อก่อนช่างคงต้องนำเหล็กมาตีขึ้นรูป แต่งรูปร่างออกมาใช้กันเอง แต่ปัจจุบันมีโรงงานทำออกมาขายโดยทั่วไป

ราคาถูก แพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิต ลักษณะของ สิ่วสลักลาย แต่ละอันมีด้ามเหมือนกัน ความยาวของตัวใบมีดใกล้กัน ต่างกันเพียงคมหน้าสิ่ว มีทั้งคมแบนเหมือนสิ่วทั่วไป มีหน้าโค้งมน มีหน้าเป็นมุมฉาก และมีหน้าเล็ก ใหญ่ สาเหตุที่มีหลายรูปร่างหน้าตา เพราะว่าต้องการให้เหมาะสมกับการใช้งานประเภทต่างๆ อย่างครอบคลุม

ถ้าลายที่,uลักษณะโค้ง ก็ใช้สิ่วหน้าโค้งสลัก ถ้าต้องการใช้สลักเส้นลายตรงก็ใช้สิ่วหน้าแบนออกมาสลัก ถ้ามีเส้นหักมุมก็นำเอาสิ่วหน้าหักมุมเป็นรูปมุมฉากออกมาใช้ เป็นต้น การเลือกใช้หน้าสิ่วเหมาะสมกับงาน นอกจากจะทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานแล้ว ผลงานที่ออกมาก็จะละเอียด ประณีต อีกด้วย

การสร้างสรรค์ลวดลาย แต่ละช่างมีวิธีการแปลกแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับครูของแต่ละคน คำว่า ครูนี้หมายถึง ครูพักลักจำ และครูที่ตั้งหน้าตั้งตาสอนให้ลูกศิษย์มีความรู้อย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่ศิษย์บางคนไม่ค่อยจะสนใจก็ตาม

ตัวอย่าง การสร้างสรรค์ลายที่ผู้เขียนพบมา เช่น ขั้นแรกหาลายที่ถูกใจและตรงกับงานเสียก่อน เมื่อได้ลวดลายตามต้องการแล้วก็นำมาลอกลาย เสร็จแล้วนำลายที่ลอกนั้นไปทาบกับไม้ หรือวัสดุที่ต้องการแกะสลัก

จัดการร่างลายให้เรียบร้อยตามต้องการ

เมื่อได้ลวดลายแล้วก็ลงมือสลักได้เลย โดยแกะสลักไปตามเส้น ตามแนวที่วาดไว้ ค่อยๆ ทำอย่างใจเย็น ถ้าพลาดนิดเดียว ถลำล้ำออกจากเส้นเกิดเรื่องทันที เพราะลวดลายที่ออกมาจะไม่งามตามประสงค์

การดูผลงานว่าประณีตหรือไม่ เราดูกันที่ล้ำเส้นหรือไม่นี่เอง สำนวนที่พูดกันว่า ล้ำเส้น ไม่รู้เหมือนกันว่า มาจากการล้ำเส้นสลักลวดลายหรือมาจากอย่างอื่น เรื่องนี้ค่อยค้นคว้าหาข้อมูลกันต่อไป ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักวิชาการด้านภาษาไปพลางๆ ก่อน

การใช้เครื่องมือช่าง เมื่อเสร็จแล้วต้องดูแล

การดูแลเครื่องมือที่ทำมาจากเหล็ก สมัยก่อนผู้เขียนเห็นพ่อใช้ถ่านหุงข้าวถู หรือไม่ก็นำน้ำมันเครื่องเก่าๆ มาทาก่อนเก็บไว้ในหีบ หรือกล่องเครื่องมือ สมัยนี้ผู้เขียนเห็นมีน้ำมันออกมาใช้ทากันสนิมมากมาย

เลือกใช้ยากันสนิมชนิดไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องมือที่ซื้อมา

เครื่องมือของใช้ที่ทำด้วยเหล็ก ต้องปลอดสนิม ถ้าสนิมขึ้นเขลอะเมื่อใด ไม่ขัดถูให้ดี ไม่นานก็อาจจะต้องซื้อใหม่ เปลืองเงินเปลืองทองไปเปล่าๆ เครื่องมือประเภทสิ่วดีอยู่อย่าง เมื่อเป็นสนิมก็จะเห็นได้ง่าย ไม่เหมือนจำพวกที่มีบ้อง หรือด้ามจับกลมๆ ภายในโปร่ง พวกนี้บางทีสนิมกินด้านใน เจ้าของมองไม่เห็น เมื่อรู้อีกทีก็บ้องขาดเสียแล้ว

บ้องขาดก็หมายความว่า สิ้นอายุการใช้งาน

สนิมที่แอบขึ้นด้านในนั้น มีสำนวนอยู่ 1 สำนวน ความว่า…สนิมกร่อนแต่เนื้อในตน… หมายความว่า สนิมเกิดจากเนื้อสนิมที่เกิดจากเหล็กด้วยกันเอง ในแง่ความเปรียบคือ เหมือนคนที่ทำลายตัวเอง ไม่ต้องให้ใครมาทำลาย

ส่วนเครื่องมือ สิ่ว ก็มีสำนวนเช่นกัน

สำนวนที่เกี่ยวกับสิ่วคือ หน้าสิ่วหน้าขวาน หมายถึง ผู้ที่อยู่ในระยะอันตราย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธ ความเป็นมาของสำนวนนี้ คนโบราณคงต้องการเปรียบให้เห็นว่า การอยู่ต่อหน้าคนถืออาวุธและโกรธนั้นเป็นเรื่องอันตราย

เมื่อรู้ว่าเข้าใกล้แล้วอันตราย ก็ต้องถอยดีกว่า ไม่เข้าไปยุ่งด้วยดีกว่า รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เชิญตัวแทนกลุ่มเกษตรกรภาคกลาง ทำความเข้าใจนโยบายรัฐบาล สนับสนุนให้เกษตรกรลดพื้นที่ทำนา หันมาปลูกพืชชนิดอื่น เพื่อบรรเทาปัญหาข้าวล้นตลาดจนราคาตกต่ำ พร้อมให้ความมั่นใจว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์พยายามจะขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เพื่อช่วยให้ชาวนาอยู่ดีกินดี

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็งว่า ขณะนี้ รัฐบาลมีนโยบายที่จะปฏิรูปการเกษตรในขณะนี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ 20 ปี ในประเด็นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อส่งต่อให้รัฐบาลยุดต่อไปได้ดำเนินการสานต่อ ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้พยายามที่จะทำความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพให้กับสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนหาแนวทางสำหรับพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้มีความเจริญก้าวหน้า และให้ความสำคัญกับกลุ่มสมาชิกเกษตรกร โดยจัดเวทีให้ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และทำความรู้จักกันมากขึ้น และหารือถึงแนวทางในการกำหนดอนาคตกลุ่มเกษตรกรที่จะก้าวเดินต่อไปอย่างเข้มแข็ง

นายเชิดชัย กล่าวต่อว่า รัฐบาลอยากจะให้ระบบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ โดยนโยบายสำคัญของรัฐบาลชุดนี้คือการสนับสนุนให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องปริมาณผลผลิตล้นตลาดส่งผลทำให้ราคาข้าวตกต่ำ จะให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางลดพื้นที่ทำนาปรังลงประมาณ 2 ล้านไร่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ 5 กรม ที่เกี่ยวข้องดำเนินการสำรวจพื้นที่ และสำรวจเกษตรกรที่ทำนาทั้งหมด ว่าถ้าลดพื้นที่ทำนาแล้วจะให้เกษตรกรปลูกพืชอะไรทดแทน ซึ่งจะต้องเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการ

“กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะที่ดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ อยากให้ประธานกลุ่มไปพูดคุยกับสมาชิกของตัวเองว่าจะเข้าร่วมโครงการลดพื้นที่ปลูกข้าวของรัฐบาลหรือไม่ คาดว่าประมาณวันที่ 15 สิงหาคม นี้ รัฐบาลจะประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะให้เกษตรกรดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยจะเริ่มปฏิรูปจากพื้นที่ทำนาเป็นที่แรก เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 158 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่ใดที่ไม่เหมาะสมในการทำการเกษตร ทำแล้วเกษตรกรยังยากจนอยู่ต้องปฏิรูปใหม่ทั้งหมด เพื่อที่จะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรทุกคนอยู่ได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็อยากดูแลเกษตรกรให้อยู่ดีกินดี ดังนั้น จึงพยายามจะแก้ไขให้ตรงจุด ซึ่งเบื้องต้นจะดำเนินการในพื้นที่ทำนาก่อน ต่อไปจะขยายไปยังพืชชนิดอื่น อาทิ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ” นายเชิดชัย กล่าว

ทั้งนี้ ขอฝากให้กลุ่มเกษตรกรนำความรู้ไปพัฒนากลุ่มตัวเองให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด และอยากเห็นกลุ่มเกษตรกรมีมาตรฐานเท่ากันและมีสิทธิเท่ากันทุกกลุ่ม เพื่อให้งบประมาณต่างๆ ที่รัฐบาลสนับสนุนลงไปยังกลุ่มเกษตรกรไม่เกิดการสูญเปล่า ซึ่งกรมจะเข้มงวดในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะอยากให้กลุ่มเกษตรและสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานครบทุกแห่ง

นายนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ส่งไม้ต่อให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เร่งขับเคลื่อน เพื่อดูแลเกษตรกรให้มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดยขับเคลื่อนภายใต้หลัก 3 ต ประกอบด้วย “ต่อ เติม แต่ง” คือ เปิดกว้าง รับฟัง นำสิ่งที่ดีมาปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และการใช้การตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ สามารถลดต้นทุนและยกระดับจังหวัด ส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรในพื้นที่ให้สามารถบูรณาการทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริง

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อเข้าร่วมโครงการมากกว่า 1,000 แปลง ซึ่งการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต การจัดการตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์และเป็นตัวอย่างในการขยายผลการส่งเสริมในพื้นที่อื่นๆ จึงได้มีการประกวดแปลงใหญ่ดีเด่น ประจำปี 2561 ขึ้น ซึ่งการประกวดนี้ ตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มี 3 ระดับ ด้วยกันคือ ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ

สำหรับคุณสมบัติของแปลงใหญ่ที่จะสมัครเข้าร่วมประกวดต้องเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งมีผลการดำเนินงานย้อนหลังให้คณะกรรมการตรวจสอบได้อย่างน้อย 2 ปี ยกเว้นแปลงใหญ่ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดแปลงต้นแบบระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

โดย รางวัลที่ 1 จะได้รับเงิน จำนวน 60,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร รางวัลที่ 2 จะได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร รางวัลที่ 3 จะได้รับเงิน จำนวน 20,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร และรางวัลชมเชย มีจำนวน 6 รางวัล จะได้รับเงิน รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร

ทั้งนี้ ล่าสุด สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดประกวดระดับเขตและได้แปลงใหญ่ดีเด่น ประจำปี 2561 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ แปลงใหญ่ข้าวบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งจะเป็นแปลงใหญ่ที่จะเข้าประกวดในระดับประเทศต่อไป

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนคนไทยชม 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวอังคาร อยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จันทรุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ตั้งแต่ค่ำ วันที่ 27 ถึงรุ่งเช้า 28 กรกฎาคม 2561 เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา พร้อมเครือข่ายดาราศาสตร์ 360 แห่ง ทั่วประเทศ

วันนี้ 24 กรกฎาคม ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า คืนวันที่ 27 กรกฎาคม ถึงรุ่งเช้า วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เป็นคืนที่จะเกิดปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่น่าสนใจถึง 3 ปรากฏการณ์ ได้แก่

1.ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 57.8 ล้านกิโลเมตร เราจะมองเห็นดาวอังคารสีส้มแดงสุกสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ตลอดคืน

2.จันทรุปราคาเต็มดวง ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 27 กรกฎาคม คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที เวลา 02.30 – 04.13 น. นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21

3.ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร ในขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ยังตรงกับช่วงดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดังนั้น ในคืนดังกล่าว เราจึงจะเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงที่ดวงจันทร์มีขนาดเล็กที่สุดในรอบปี และยังจะเห็น “ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง” อีกด้วย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า สดร. กำหนดจัดกิจกรรม ในวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2561 ตั้งแต่ เวลา 18.00 น ถึงรุ่งเช้าวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 04.30 น. เชิญชวนประชาชนส่องขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคาร ดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐ และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ อาทิ ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายชนิด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่

1) เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (โทร. 081-885-4353)

2) นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา (โทร. 086-429-1489)