เจ้าของสวนผลไม้รุ่นใหม่วัย 50 ปี ยังเล่าถึงแรงบันดาลใจในการเริ่ม

ทำสวนเกษตรยุคดิจิตอลว่า มาจากลูกชายในช่วงอายุไม่กี่เดือน ได้รับประทานแอปเปิ้ลเมล่อนและมีแววตาเป็นประกาย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เดินหน้าศึกษาเมล่อนแอปเปิ้ล และมะเขือเทศ ตามมาด้วยการทำกล้วยตากจากโซล่าร์เซลล์ โดยใช้หลักการทำเกษตรผสมผสาน บนพื้นที่ไม่มาก

“มีลูกชาย เป็นลูกอ่อน วันหนึ่งเขาก็ทานเมล่อน แล้วเขาก็ทำตาโต เป็นประกาย ตอนนั้นลูกชายอายุประมาณ 7-8 เดือน เราก็ไม่รู้ปลอดภัยไหม เราก็เริ่มศึกษาดู ศึกษาเดินสายทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่ผมจบเศรษฐศาสตร์ และมีงานประจำด้วยเป็นพนักงานในธุรกิจสายการเงินการธนาคาร พอมาจับตรงนี้ และใช้เวลาวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ไปทำ ผมว่าก็ไม่ยาก และผมมองว่าทุกอย่างมันทำได้หมด ที่สำคัญผมชอบทำเกษตร คือได้อยู่กับธรรมชาติ ได้อยู่กับสิ่งที่เราเห็นและสร้างมันขึ้นมา พอเราได้ผลผลิตที่ประสบความสำเร็จ เราก็ดีใจกับมัน อย่างผลผลิตแอปเปิ้ลเมล่อน จริงๆ คือ เป็นพันธุ์เมล่อนที่ทานได้ทั้งเปลือก ก็มีคนถามเหมือนกันว่า มันคือ แอปเปิ้ล หรือ เมล่อน จริงๆ มันคือ เมล่อน แต่เป็นเมล่อนที่เป็นเอกลักษณ์คือ ทานเปลือกได้ เมล่อนของผมนำเข้ามาจากไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันสายพันธุ์เมล่อนมาจาก 2 ที่ คือ ไต้หวัน กับอิสราเอล แต่ผมเลือกนำพันธุ์จากไต้หวันเข้ามาปลูก” เกษตรกรรุ่นใหม่เปิดใจถึงจุดเริ่มต้นการก้าวสู่เส้นทางเกษตรกรรมมืออาชีพ

วันนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของคุณพีระชื่นชอบมะเขือเทศ โดยวัดได้จากการไปออกงานต่างๆ อาทิ งานฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต และงานเกษตรมหัศจรรย์ ซึ่งจัดโดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านในเครือมติชน ซึ่งคุณพีระก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า ผลจากการศึกษาก่อนลงมือทำ และไม่ตามกระแสนั้น ทำให้ได้ผลผลิตการเพาะปลูกที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำตลาดตามมาด้วยนั่นเอง

สภาพอากาศแปรปรวนมีฝนตกปานกลางถึงหนักมากในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนสะละเฝ้าระวังการระบาดของโรคผลเน่า มักพบโรคในช่วงที่ต้นสะละมีผลแก่ กำลังเก็บเกี่ยว เริ่มแรกพบเปลือกผลสะละมีสีน้ำตาล

กรณีที่มีความชื้นสูงจะพบเส้นใย เชื้อราสีขาวหรือสีขาวอมชมพู เส้นใยเชื้อราจะแทงทะลุเปลือกเข้าไปในผลสะละ ทำให้เปลือกเปราะแตก เนื้อด้านในผลเน่าและผลร่วงในที่สุด หากเส้นใยเชื้อราที่พบบนผลสะละเจริญเต็มที่จะสร้างดอกเห็ดสีขาว เมื่อดอกเห็ดบานจะปลดปล่อยสปอร์ แพร่กระจายระบาดไปสู่ผลสะละทะลายอื่นๆ และต้นอื่นได้

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคผลเน่า ให้เกษตรกรตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ปลิดผลที่เป็นโรคบนทะลาย เก็บซากพืช และผลที่ร่วงใต้ต้นที่เป็นโรคนำ ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสม

จากนั้นให้ตัดแต่งทางใบแก่หมดสภาพที่อยู่ด้านล่าง และปรับร่มเงาให้เหมาะสม เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ลดการสะสมเชื้อโรค และลดความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป รวมทั้งตัดแต่งช่อผลสะละ เพื่อลดการเบียดกันจนทำให้เกิดแผล ซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายได้ง่าย เกษตรกรควรค้ำยันทะลายผลไม่ให้ติดดิน เพื่อป้องกันเชื้อราสาเหตุโรคในดินเข้าสู่ผลสะละ

ส่วนในช่วง 10 สัปดาห์ หลังต้นสะละติดผลอ่อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่าให้ต้นสะละเกิดอาการขาดน้ำ เพื่อป้องกันผลสะละแตกในขณะผลแก่ จากเหตุได้รับน้ำฝนมากเกินไปในช่วงฝนตกชุก หากพบการระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารทีบูโคนาโซล+ไตรฟลอกซีสโ ตรบิน 50%+25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 2 ครั้ง ทุก 7 วัน และควรหยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว ผลผลิตอย่างน้อย 15 วัน

ในช่วงนี้มีฝนฟ้าคะนองกระจายทุกพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกอะโวกาโดให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคแอนแทรคโนส สามารถพบได้ในระยะที่ต้นอะโวกาโดติดผลอ่อนถึงระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว

อาการที่ใบ ในระยะแรกอาการของโรคจะเห็นเป็นจุดแผลสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาแผลขยายตัวมีหลายแผลในหนึ่งใบ หากอาการรุนแรง แผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ใบจะแห้งและร่วงหล่น

อาการที่ก้านใบ กิ่ง และก้านช่อดอก พบแผลจุดหรือขีดสีม่วง ถ้าอาการรุนแรงแผลจะขยายลุกลามทำให้ก้านใบและกิ่งแห้ง หากเกิดที่ก้านช่อดอกจะทำให้ช่อดอกเหี่ยว แห้ง และหลุดร่วงก่อนติดผล

อาการที่ผล ผลอ่อนเป็นจุดแผลสีน้ำตาลถึงดำ หากอาการรุนแรง ผลจะหลุดร่วงก่อนกำหนด

อาการบนผลแก่ มักพบในระยะใกล้เก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต พบแผลจุดสีน้ำตาลถึงดำรูปร่างกลมขนาดไม่แน่นอน ต่อมาแผลขยายลุกลามเป็นแผลยุบตัวในเนื้อผล ทำให้ผลเน่า บางครั้งพบเมือกสีส้มซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราที่บริเวณแผล

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบเริ่มมีอาการระบาดของโรคแอนแทรคโนส ให้เกษตรกรตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค

จากนั้น ควรกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อไม่ให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค ลดความชื้นสะสม และลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค กรณีพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7-10 วัน และภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในทรงพุ่ม

ในระยะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูเพาะปลูกข้าวโพดฝักสด กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักสด อาทิ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน และข้าวโพดข้าวเหนียว ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน

ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กๆ สีเขียวฉ่ำน้ำ บนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก

บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

สำหรับแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรค หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ มีอุณหภูมิต่ำ และมีความชื้นในอากาศสูง เมื่อข้าวโพดมีอายุ 5-7 วัน เกษตรกรควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7 วัน และพ่นติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

นอกจากนี้ ในฤดูเพาะปลูกข้าวโพดฝักสดถัดไป เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรค และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7-10 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือสารเมทาแลกซิล-เอ็ม 35% อีเอส อัตรา 3.5 มิลลิลิตร ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

หลีกเลี่ยงการเพาะปลูกข้าวโพดในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาดของโรครุนแรง กรณีพบเริ่มระบาด ให้ถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้

สวนส้มโอ ในระยะที่สภาพอากาศมีเมฆมาก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรสวนส้มโอให้เฝ้าระวัง หนอนเจาะผลส้มโอ ในระยะที่ต้นส้มโอติดผล จะพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่บนผลส้มโออายุประมาณ 2 สัปดาห์ จนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ประมาณ 2-29 ฟอง เมื่อหนอนฟักจะกัดกินเข้าไปในผลส้มโอ ซึ่งรอยเจาะทำลายของหนอนจะมีมูลที่ถ่ายออกมา และมียางไหลเยิ้ม ทำให้ผลเน่าและร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลส้มโอ เกษตรกรควรควบคุมบังคับให้ต้นส้มโอแตกยอด ออกดอก และติดผลในระยะเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัด สะดวกในการดูแลรักษา และช่วยลดปริมาณหนอนเจาะผลส้มโอ จากนั้นให้เกษตรกรเก็บหรือเด็ดผลอ่อนที่ ถูกหนอนเจาะผลส้มโอเข้าทำลายนำไปฝังหรือเผาไฟทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดต่อไป

สำหรับในแหล่งปลูกที่พบการระบาดเป็นประจำ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจดูหนอนเจาะผลส้มโอในแปลงปลูกช่วงที่ต้นส้มโอติดผลอ่อน เมื่อผลส้มโอ อายุประมาณ 2 สัปดาห์ เกษตรกรควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรฟีโนฟอส 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารแลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 4 ครั้ง และพ่นห่างกันทุก 7 วัน จากนั้น เมื่อผลส้มโออายุประมาณ 1.5 เดือน เกษตรกรควรห่อผลส้มโอด้วยถุงกระดาษห่อผลสีขาว เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลส้มโอ

ทุเรียนไทยมีหลากหลายพันธุ์ และมีหลายลักษณะ ผมอยากทราบว่า ที่ผ่านมามีการจำแนกประเภทหรือเผ่าพันธุ์ของทุเรียนเป็นอย่างไร ที่จำได้ง่าย ผมจึงขอคำแนะนำจากคุณหมอเกษตร ผมจะติดตามอ่านในคอลัมน์หมอเกษตรนะครับ

ตอบ คุณอภิชาติ จันทร์สงบ

แม้ว่าประเทศไทยมิใช่ถิ่นกำเนิดของทุเรียนก็ตาม แต่เนื่องจากมีการนำเข้ามาปลูกเป็นเวลาช้านาน ทำให้เกิดการผสมข้ามบ้าง เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นบ้าง อีกทั้งบรรพบุรุษของเรามีความสามารถสูงในเรื่องการปรับปรุงพันธุ์พืช ทำให้มีความหลากหลายของพันธุ์ทุเรียนตามที่กล่าวมาแล้ว

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รวบรวมและจำแนกพันธุ์ทุเรียนไว้โดยแบ่งเป็นกลุ่มไว้จำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มกบ มีใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โค้ง ฐานใบกลมมน ลักษณะของผลมี 3 แบบ ทั้งกลม กลมรี และกลมแป้น หนามของผลแหลมและโค้งงอ พันธุ์ที่จัดไว้ในกลุ่มนี้มี กบชายน้ำ กบตาขำ กบพิกุล กบแม่เฒ่า กบวัดกล้วย กบสุวรรณ กบหน้าศาล กบเจ้าคุณ กบดำ กบตาท้วม กบทองคำ กบทองเพ็ง กบกวง กบมังกร กบรัศมี กบลำเจียก กบสีนาก กบหลังวิหาร และ การะเกด

กลุ่มลวง มีใบป้อมตอนกลาง ปลายใบและฐานใบแหลม ผลมีสองรูปทรง คือ ทรงกระบอก และทรงรี หนามของผลมีลักษณะเว้า กลุ่มนี้มี พันธุ์ชมพูสี ย่ำมะหวาด และ ลวงทอง

กลุ่มก้านยาว ใบมีรูปป้อมกลาง ปลายแหลม โคนใบเรียว ทรงผลมีทั้งรูปไข่และกลม หนามของผลนูน กลุ่มนี้มี พันธุ์ก้านยาว ก้านยาวสีนาก ชมพูพาน และ ทองสุก

กลุ่มกำปั่น ใบเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ทรงผลเป็นขอบขนาน หรือทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผลมีหนามแหลมและตรง กลุ่มนี้มีพันธุ์กำปั่นเจ้ากรม กำปั่นเดิม กำปั่นพวง กำปั่นดำ กำปั่นเนื้อเหลือง และ กำปั่นชายมะไฟ

กลุ่มทองย้อย มีใบป้อม ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานมน ผลมีรูปไข่ และมีหนามนูน ปลายแหลม กลุ่มนี้มีพันธุ์ฉัตรสีทอง ทองย้อยฉัตร ธรณีไหว และ นกหยิบ

กลุ่มเบ็ดเตล็ด กลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะไปเหมือนกับกลุ่มอื่น แต่บางลักษณะจะแตกต่างไป ผลมีทั้งสามแบบ ทั้งกลมแป้น กลมรี และทรงกระบอก หนามของผลเว้า แต่ปลายแหลม กลุ่มนี้มีพันธุ์กระดุมเขียว กระดุมทอง กะเทยเนื้อขาว กะเทยเนื้อเหลือง จอกลอย ตะพาบน้ำ ทองหยิบ ทูลถวาย และ ฝอยทอง

ทั้งนี้ พันธุ์ทุเรียนที่รวบรวมไว้ เป็นพันธุ์ทุเรียนเฉพาะในจังหวัดนนทบุรีเท่านั้น ที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ โดยนำไปขยายพันธุ์และอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ไว้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์พัฒนาไม้ผลภาคตะวันออก และศูนย์วิจัยและการพัฒนาการเกษตรจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปัจจุบัน รัฐบาลได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาประยุกต์ใช้ปฏิรูปการศึกษาสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ผ่านโครงการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ โดยใช้ “กศน. ตำบล” เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน

และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็ก ภายใต้การเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน และศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศสืบไป

อยากรู้เรื่อง “ศาสตร์พระราชา” แวะหาคำตอบได้ที่ สำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี ซึ่งได้ขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกระบวนการเรียนการสอน “ศาสตร์พระราชา” สู่สถานศึกษา โดยจัดอบรมความรู้ให้ครู กศน. ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชา เพื่อช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู รวมทั้งพานักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส

สำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี เผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณค่าอย่างมาก เหมาะสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน คุณเรวัฒน์ เพ็ชรสงฆ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี ได้จัดแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี สร้างศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่บูรณาการกับวิถีชีวิตของชุมชน เช่น การปลูกพืชผัก ผลไม้ การเลี้ยงปลา การทำบัญชีครัวเรือน ฯลฯ โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ต่างๆ มากมาย

เกษตรทฤษฎีใหม่

“เกษตรทฤษฎีใหม่” หรือ ทฤษฎีใหม่ในการพัฒนาการเกษตร คือแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อันเป็นหลักการบริหารพื้นที่ประกอบอาชีพการเกษตรแบบผสมผสานรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นการเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัว ในชุมชนเหลือแล้วขาย และแนวทางการปฏิบัติในการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีลักษณะเป็นเกษตรกรรมทางเลือกที่มีความยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

กศน. ปัตตานี ได้สร้างแบบจำลองการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ (ขั้นต้น) แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 โดยใช้พื้นที่ 30% สำหรับขุดสระเก็บกักน้ำ 30% ใช้ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ใช้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร และ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ

ระบบน้ำวนในนาข้าว คือระบบการไหลเวียนของน้ำที่เป็นสัญญาณของความมีชีวิต การเคลื่อนที่ การแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างพืช เพื่อการเพิ่มผลผลิตของข้าว ด้วยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนกับระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย การเคลื่อนที่ การแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างเซลล์

บ้านพอกิน พอใช้ มีเก็บ

กศน. ปัตตานี ได้สร้างแบบจำลอง ในลักษณะบ้านพอกิน พอใช้ พอเก็บ เพียงพอสำหรับดำรงชีวิต เช่น มีการส่งเสริมระบบการผลิตบริเวณครัวเรือนแบบพอเพียง เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา ทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เอง

และนำเสนอ “โอ่งการออม” หรือ “โอ่งชีวิต” ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจของชุมชน หรือบุคคล ว่ามีสิ่งใดเป็นรายรับ สิ่งใดเข้ามาเป็นประโยชน์หรือเข้ามาสนับสนุนชุมชน และมีสิ่งใดเป็นรายจ่าย สิ่งใดรั่วไหลออกไป หรือเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย หากรู้ที่มาของรายรับ และที่ไปของรายจ่ายก็จะเป็นข้อมูลในการจัดการด้วยการเพิ่มรายรับและลดรายจ่ายต่อไป

คอกเลี้ยงแพะ

หากใครอยากเลี้ยงแพะนม สำนักงาน กศน. จังหวัดปัตตานี เสนอแนวคิดให้สร้างโรงเรือนคอกแพะที่มีความสูง 3 เมตรขึ้นไป เพื่อให้โปร่งและมีการระบายอากาศได้ดี ทั้งนี้ ผู้สนใจอาจประยุกต์สร้างโรงเรือนคอกแพะโดยใช้สังกะสีหรือกระเบื้องลอนก็ได้ พื้นคอกควรเป็นพื้นซีเมนต์ ด้านข้างคอกก่อซีเมนต์บล็อกสูง ยกเว้นทางเข้าคอกทำเป็นลูกกรงเหล็กกลมมีกลอนหรือที่ล็อกประตูปิด-เปิดได้ จัดทำร่องระบายน้ำออกไปภายนอกตรงทางเดินสำหรับพื้นคอกปูด้วยฟางแห้งเพื่อซับความชื้น

การเลี้ยงไก่เบตง

ไก่เบตง เป็นไก่พื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ทั่วทั้งตัวจะมีขนน้อยมาก ขนมีสีทอง หางสั้น ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องจากไก่เบตงมีเนื้อนุ่ม หนังกรอบ จึงเป็นสินค้าขายดีที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป สำหรับผู้สนใจเลี้ยงไก่เบตง ควรเลือกซื้อพันธุ์ไก่เบตงจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองและเชื่อถือได้ ไก่พ่อแม่พันธุ์ต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ โดยแม่พันธุ์จะต้องมีคุณสมบัติไข่ดก แข็งแรง น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 1.4 กิโลกรัม พ่อพันธุ์ต้องมีขนาดตัวใหญ่ แข็งแรง มีเนื้อมาก น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม สายพันธุ์ที่นิยมคือ สายพันธุ์สีเหลืองทอง

การเลี้ยงไก่เบตง ควรใช้โรงเรือนแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย มีลานดินหรือบริเวณล้อมด้วยอวนหรือตาข่าย อาจจะเลี้ยงแบบรวมฝูงทั้งหมดหรือแบ่งเป็นห้องย่อยๆ อุปกรณ์ภายในโรงเรือนควรมีรางน้ำ รางอาหาร รังไข่ให้พร้อม กรณีเลี้ยงเพื่อฟักลูกไก่ออกจำหน่าย ต้องมีตู้ฟักไข่ และคอกอนุบาล รวมทั้งอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นสำหรับกกลูกไก่เพื่อจำหน่าย ส่วนอาหารควรใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีคุณค่าอาหารครบถ้วนตามความต้องการของไก่ในแต่ละช่วงอายุ และเสริมด้วยอาหารตามธรรมชาติในขณะปล่อยเลี้ยงในลานปล่อย

การเลี้ยงไก่เบตง เริ่มเลี้ยงด้วยไก่พ่อแม่พันธุ์ ในอัตราการผสมพันธุ์ 1 ต่อ 6 การเลี้ยงใช้วิธีกึ่งขังกึ่งปล่อย ไก่สามารถออกกำลังและหาอาหารที่มีตามธรรมชาติกินได้ด้วย จะเริ่มเก็บไข่เข้าฟักหลังไก่ไข่ไปแล้ว 3 สัปดาห์ แม่ไก่ 1 ตัว จะสามารถให้ลูกไก่ได้ประมาณ 4 รุ่น ต่อปี โดยแต่ละรุ่นจะมีไก่เลี้ยงรอดประมาณ 10-20 ตัว ผู้สนใจสามารถเลี้ยงไก่เบตงเพื่อจำหน่ายหรือเลี้ยงเป็นไก่เนื้อจำหน่ายให้ผู้บริโภคได้

การป้องกันโรค ควรทำวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ฝีดาษและอหิวาต์ รวมทั้งถ่ายพยาธิภายในก่อนนำไก่เข้าฟาร์มและถ่ายซ้ำทุกๆ 6 เดือน การเลี้ยงไก่เบตงมีค่าตอบแทนการเลี้ยงโดยคิดเปรียบเทียบค่าอาหารในระหว่างการทดลอง โดยใช้อาหารไก่พื้นเมือง คิดเป็นกิโลกรัมละ 13.66 บาท เปรียบเทียบกับราคาไก่มีชีวิต ในราคากิโลกรัมละ 80 บาท

จะเห็นได้ว่า ราคาขายเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าอาหารแล้ว ยังเหลือผลกำไรค่อนข้างสูง โดยเฉพาะไก่ตัวผู้ จะมีผลตอบแทนต่อตัวสูงกว่าไก่ตัวเมีย เมื่อเปรียบเทียบกับอายุและน้ำหนักไก่ที่พร้อมชำแหละหรือจำหน่าย ควรอยู่ในช่วง 16-20 สัปดาห์ เพราะเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ เนื่องจากไก่เบตงมีขนาดตัวไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปและราคาก็ไม่สูง

การปลูกไผ่หวาน

กศน. ปัตตานี แนะนำให้ผู้สนใจปลูกไผ่หวานในช่วงต้นฤดูฝน โดยขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3 กิโลกรัม ต่อหลุม ระยะปลูก 4×4 เมตร ใช้ส่วนข้อลำต้นในการปลูก โดยการแยกหน่อหรือกอที่มีอายุ 1-1 ปีครึ่ง ตัดโดยวัดความยาวจากโคนขึ้นมาประมาณ 50 เซนติเมตร

หลังปลูก 8 เดือน ต้นไผ่หวานจะเริ่มให้หน่อ หลังปลูก 2-3 ปี สมัครยูฟ่าเบท จึงจะเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ ไผ่หวานเป็นไผ่ที่ออกหน่อดกมาก จึงต้องการอาหารมากตามไปด้วย ยิ่งให้น้ำ ให้ปุ๋ยมาก ยิ่งเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรสำหรับไผ่ตงหวาน ยิ่งให้ผลผลิตเร็วขึ้น การตัดแต่งต้นไผ่ ไม่ควรให้มีลำไผ่หรือลำไผ่แก่เกิน 3 ลำ ต่อกอ หากไว้มากกว่านั้นจะทำให้ต้นไผ่ออกหน่อช้าเพราะมีอาหารบำรุงต้นไม่พอ และหน่อมีขนาดเล็ก ขายไม่ได้ราคา

การดูแลให้ไผ่ออกนอกฤดู หลังจากตัดแต่งกิ่งและลำไผ่ให้เหลือ 2-3 ลำแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพหรือปุ๋ยคอกรอบๆ ต้น ประมาณ 30 กิโลกรัม ต่อต้น แล้วคลุมด้วยฟางหรือแกลบดำเพื่อรักษาความชื้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ สูตร 46-0-0 สลับกันทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยใส่ครั้งละ 2 กำมือ ต่อกอ และเสริมด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรเร่งหน่อ เร่งใบ และรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ หากเป็นช่วงฤดูแล้ง ควรให้น้ำวันเว้นวัน โดยใช้สปริงเกลอร์รดให้ทั่วบริเวณ ไม่ใช่เฉพาะโคนต้น เพื่อให้รากไผ่เจริญเติบโตทั่วบริเวณนั่นเอง

หลังปลูก 5 เดือน จะเริ่มเก็บผลผลิตออกขายได้วันเว้นวัน หลังจากปลูก 6 เดือน จะเก็บผลผลิตออกขายได้ทุกวัน จะได้ผลผลิตประมาณ 10 กิโลกรัม ต่อวัน ต่อไร่ ใช้มีดปลายแหลมตัดให้ความสูงของหน่อประมาณ 35 เซนติเมตร หรือตามต้องการของตลาด

การปลูกแก้วมังกรในบ่อซีเมนต์

กศน. ปัตตานี แนะนำให้ปลูกแก้วมังกรในช่วงฤดูฝน โดยขุดหลุมขนาด 50×50 เซนติเมตร นำเสาที่เจาะรูแล้วใส่ลงไปในหลุม ใช้ปูนซีเมนต์กลบหลุม นำปุ๋ยคอกใส่ลงไปในหลุมจนเกือบเต็มหลุม นำต้นแก้วมังกร 2-3 ต้นปลูกรอบๆ โคนเสา แล้วใช้ดินกลบให้เต็มหลุม ใช้เชือกฟางมัดต้นแก้วมังกรไว้เพื่อไม่ให้ต้นล้มหรือหัก

ต้นแก้วมังกร เป็นต้นไม้ประเภทเดียวกับกระบองเพชร มีนิสัยไม่ชอบน้ำ ควรให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกปีละ 3 ครั้ง ถ้าต้นแก้วมังกรออกยอดสูงพ้นเสานิดหน่อย ให้ใช้มือเด็ดปลายยอดทิ้ง เพื่อทำให้แก้วมังกรแตกยอดออกมากๆ

หญ้าที่ขึ้นใกล้โคนต้นควรถอนออกประจำเพื่อให้ต้นแก้วมังกรได้รับอาหารเต็มที่ การเก็บผลผลิตต้องให้ต้นแก้วมังกรมีผลแดงทั่วทั้งผล ทั้งนี้ อายุของผลแก้วมังกรตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บผลได้ อยู่ประมาณ 2 เดือน เมื่อผลแก้วมังกรสุกเต็มที่แล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดผลออกจากกิ่ง เพื่อไม่ให้กิ่งเสียหาย

คุณเรวัฒน์ คาดหวังว่า ศูนย์แห่งนี้จะช่วยจุดประกายการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนทั่วไป ที่ผ่านมา กศน. ปัตตานี ได้ฝึกอบรมสร้างแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบทั่วทั้งจังหวัด เพื่อพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง