เจ้าของสวน กล่าวว่า มะม่วงจะใช้สารช่วงเดือนเมษายน (นอกฤดู)

ผลผลิตจะได้เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ราคาจะดี ตกกิโลกรัมละ 80-100 บาท ถ้าในฤดูเหลือราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท ในฤดูก็จะใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก สำหรับมะม่วงพันธุ์ “ไขแตก” คนตะพงเรียก “ขายตึกหรือตกตึก” ครั้งแรกนำมาวางขายในหมู่บ้านตะพง ปรากฏว่าขายไม่ได้เพราะคนยังไม่รู้จัก จึงใช้วิธีขายทุเรียน แถมมะม่วงพันธุ์ขายตึก หลังคนซื้อนำไปรับประทานติดใจ เพราะมีรสชาติอร่อย 3 รส คนตะพงเริ่มรู้จัก ตอนนี้ไม่ต้องแถมแล้วเริ่มขายดีมีแต่คนถามหาซื้อ

นายธนิต เจ้าของสวน กล่าวและว่าผลผลิตมะม่วง มะปราง ซึ่งมีผลผลิตจำนวนมากจะมีพ่อค้าประจำมาซื้อถึงที่สวน ส่วนมะปรางปีนี้มีผลผลิตได้ประมาณ 5 ตัน ปีนี้ราคาดีมาก มีพ่อค้าส่งออกในประเทศและต่างประเทศจองคิวซื้อถึงสวน การทำสวนผลไม้นับว่าได้ผลดีประสบความสำเร็จ มีรายได้ตลอดทั้งปีกว่า 3,000,000 บาท แต่ก็มีรายจ่ายที่สูง เพราะมีต้นทุน แต่ก็ยังดีกว่าทำงานโรงงานกว่าจะได้เงินต้องรอเงินเดือน แต่ทำสวนผลไม้เราได้เงินก้อนไม่ต้องรอให้ถึงสิ้นเดือน หนุ่มเจ้าของสวนวัยหนุ่มกล่าว

หากพูดถึงนักขยายพันธุ์ไม้ผลมืออาชีพของเมืองไทย ที่ยืนหยัดมานานกว่า 10 ปี คุณประภาส สุภาผล ต้องติด 1 ใน 10 ของประเทศอย่างแน่นอน

ปัจจุบัน คุณประภาส อยู่บ้านเลขที่ 33/4 หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20250 คุณประภาส เจ้าของสวน “ประภาสไม้ผล” เรียนจบมาทางกฎหมาย แต่ยึดอาชีพเป็นเกษตรกร ปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผลจำหน่าย ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของสวนแห่งนี้มี กระท้อนพันธุ์ผอบทอง ขนุนพันธุ์แดงสุริยา มะม่วงอาร์ทูอีทู ละมุดยักษ์ CM19 มะปรางหวาน มะยงชิด และล่าสุดมะละกอพันธุ์ศรีสุภา

มะละกอศรีสุภา ของดีที่ค้นพบ พื้นที่ 40 ไร่ ของคุณประภาส ไม่เคยขาดสิ่งดีๆ เขาปลูกพันธุ์ไม้เพื่อการศึกษา เมื่อเห็นว่าน่าสนใจก็จะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ เช่นขนุน เมื่อก่อนที่สวนคุณประภาสปลูกไว้มากกว่า 10 สายพันธุ์ ต่อมาได้คัดพันธุ์ที่เด่นๆ ไว้ อย่าง แดงสุริยา เป็นขนุนเนื้อสีจำปาออกแดงเข้ม มีความสม่ำเสมอของสี

มะม่วงก็เช่นกัน มะม่วงอาร์ทูอีทู นำเข้ามาจากออสเตรเลียกว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังได้รับความนิยม คุณประภาสก็มีตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ

มะละกอ เป็นพืชใหม่ ที่คุณประภาสเริ่มศึกษา ซึ่งก็พบของดี จึงตั้งชื่อว่า ศรีสุภา ส่วนหนึ่งของชื่อมาจากนานสกุลนั่นเอง “สุภา มาจากนามสกุล เติมศรีเข้าไป เพราะแลไพเราะดี” คุณประภาส ให้เหตุผล สำเนียงคนเมืองชล

มะละกอในบ้านเรานั้น อดีตมีชื่อเสียงมากๆ คือมะละกอแขกดำ ต่อมามะละกอแขกดำได้ถูกนำไปปรับปรุงพันธุ์หรือปลูกยังต่างถิ่น จนได้ชื่อว่าเป็นแขกดำต่างๆ เช่น ปลูกอยู่ที่จันทบุรี ชื่อว่า “แขกดำหนองแหวน”

ปลูกอยู่ที่พุทธมณฑล ได้ชื่อว่า “แขกดำนายปรุง”

งานวิจัยอยู่ที่ขอนแก่น ได้ชื่อว่า “แขกดำท่าพระ”

ที่ศรีสะเกษ เรียกกันว่า “แขกดำศรีสะเกษ” มะละกอแขกดำ จัดเป็นมะละกออเนกประสงค์ ทำเป็นส้มตำได้ กินผลสุกดี ส่วนแขกดำที่ไหนจะโดดเด่นทางด้านใดก็สุดแท้แต่

มะละกออีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่เน้นไปทางด้านส้มตำคือมะละกอแขกนวล

ยุคหลังที่โดดเด่นมากคือ มะละกอฮอลแลนด์ แต่เหมาะสำหรับกินผลสุกเท่านั้น

เมื่อ ปี 2549 ญาติของคุณประภาสได้ผสมพันธุ์มะละกอขึ้น โดยใช้มะละกอแขกนวลเป็นต้นแม่ นำพ่อพันธุ์มาจากมะละกอฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นเกสรตัวผู้นั่นเอง เมื่อเขี่ยเกสรแล้ว ใช้ถุงครอบไว้ ไม่ให้เกสรจากดอกอื่นมาผสม ผลที่ได้มะละกอมีความโดดเด่นมาก จึงตั้งชื่อว่า ศรีสุภา

ศรีสุภา ดีอย่างไร

ไม่มีอะไรครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวทั้งหมด ไม่ว่า คน สัตว์ และพืช

มะละกอศรีสุภา เป็นการรวมจุดเด่นของฮอลแลนด์ทางด้านกินสุก แต่ด้อยทางด้านส้มตำ ผสมกับแขกนวล ที่เหมาะต่อการทำส้มตำอย่างยิ่งเข้าไว้ด้วยกัน

คุณประภาส เล่าถึงคุณสมบัติของมะละกอที่มีอยู่ว่า หลังปลูกให้ผลผลิตเร็ว ผลโดยเฉลี่ย น้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม ต่อผล

ผิวผลเมื่อดิบเขียว เมื่อสุกสีเหลืองออกแดง เนื้อใน เมื่อดิบทำส้มตำได้เยี่ยมยอด เมื่อสุกมีรสหวาน สีแดงส้ม เนื้อแข็งกว่ามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ใกล้เคียงกับมะละกอแขกดำ

“จุดเด่นอยู่ที่รสชาติหวาน เนื้อแข็ง เหมาะทั้งส้มตำและกินสุก ความต้านทานโรคก็เหมือนกับมะละกอทั่วๆ ไป รูปร่างคล้ายฮอลแลนด์ผสมกับแขกนวล ขนาดใหญ่กว่าฮอลแลนด์ แต่เล็กกว่าแขกนวล” คุณประภาส บอก ไม้ผลที่ปลูกกันได้ทั่วไป

มะละกอ เป็นได้ทั้งพืชผักและไม้ผล

มะละกอดิบ นำมาทำเป็นส้มตำ แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก ครั้นเป็นมะละกอสุก สามารถบริโภคเป็นผลไม้ได้อย่างดี มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ แรกสุดทีเดียว ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย คนเราเมื่อกินได้ถ่ายสะดวก อย่างอื่นก็จะดีตามมา

มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก เพียงแต่หาตำแหน่งที่สูงจากน้ำ หมายถึง น้ำไม่ท่วมขัง มะละกอต้องการความชื้นแต่ไม่แฉะ รอบๆ บริเวณที่ปลูกมะละกอ ควรจะโล่งแจ้งพอสมควร หากปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ การเจริญเติบโตจะไม่ดีเท่าที่ควร

พันธุ์มะละกอ หาได้ง่ายๆ จากมะละกอที่ซื้อผลมากิน เมื่อได้เมล็ดนำมาล้างเอาเมือกออก ผึ่งให้แห้ง ในอากาศสภาพห้อง ราว 2-3 วัน จากนั้นนำลงเพาะในถุง อายุกล้าราว 1 เดือน ก็ย้ายปลูกได้ หรือจะหยอดเมล็ดลงแปลง ปลูก 2-3 ต้น เลือกไว้เพียงต้นเดียว ต้นที่มีดอกกะเทย หลังปลูก 8-9 เดือน ก็จะมีมะละกอไว้กินแล้ว

หากผู้อ่านท่านใด ต้องการพันธุ์เด่นๆ ก็ซื้อหาตามแหล่งที่เชื่อถือได้ ราคาต้นพันธุ์ มีตั้งแต่ ต้นละ 10-60 บาท หรือจะซื้อเมล็ดไปเพาะเองก็ได้

ติดต่อ คุณประภาส สุภาผล ได้ตามที่อยู่ หรือโทร. (080) 646-4699, (087) 149-2189 และ (038) 237-662 ที่บ้าน คุณภีรพร หอมสมบัติ ชาวบ้านบ่อใหญ่ หมู่ 2 ต.บ่อใหญ่ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม และภรรยา คือคุณทัศนีวรรณ์ หอมสมบัติ โทร. (088) 036-2139 เจ้าของพื้นที่ทำการเกษตร 1 ไร่ ได้แสน โดย คุณ ภีรพร กล่าวว่า แปลง 1 ไร่ ได้แสน เน้นการปลูกข้าวอินทรีย์เคมี ใช้มูลโค มูลกระบือ มูลไก่ รองพื้น ตามด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-8 จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 7-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ช่วงปลูกในเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม

การดูแลรักษา ทำโดยการสูบน้ำเข้านา ประมาณต้นเดือนกันยายน ให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 จำนวน 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ได้ผลผลิตต่อฤดูกาล 700-800 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาข้าว ขายตามราคาจำนำ เกวียนละ 15,000 บาท

“ผมเลี้ยงปลาดุกในนาข้าว จำนวน 20,000 ตัว ขายได้ปีละกว่า 20,000 บาท ปลูกมะนาว พันธุ์พิจิตร 1 จำนวน 20 ต้น ในวงบ่อซีเมนต์ รอบแปลงและรอบบ่อปลา ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล มีรายได้วงบ่อละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาท ขยายพันธุ์มะนาวด้วยวิธีการตอนกิ่งจำหน่ายภายในชุมชน ปีละ 100-200 ราคากิ่งละ 100 บาท ปลูกพืชฤดูแล้ง ถั่วลิงสง จำนวน 1 ไร่ ได้เงินกว่า 10,000 บาท เลี้ยงปลาในบ่อ พื้นที่ 1 งาน จับขายได้ 3 รอบ ได้เงินกว่า 10,000 บาท ทำให้พื้นที่เพียง 1 ไร่ สามารถทำเงินได้มากกว่า 100,000 บาท”

คุณภีรพร บอกอีกว่า สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนหญ้าเป็นเนื้อ คือ การขุนวัวขาย โดยซื้อวัวพื้นเมือง 3 ตัว ในราคาตัวละ 2,500-6,000 บาท ขายได้ตัวละ 8,000-15,000 บาท ได้กำไรแบบไม่ต้องลงทุน ทั้งยังได้มูลโคเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีอีกด้วย

คุณภีรพร เล่าอีกว่า ใน 1 ไร่ ได้แสน เขาทำงานระบบครอบครัว ปลูกพืชผักสวนครัว อาทิ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ หอม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ กิน แจก แลก ขาย ปลูกเพื่อเป็นอาหารในครอบครัว ที่เหลือจึงขาย เป็นการสร้างรายได้อย่างพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน

สะตอ พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่ภาคใต้มาช้านาน ด้วยความอร่อยล้ำมีกลิ่นเฉพาะตัว ใครกินแล้วกลิ่นติดปากอยู่นาน ผนวกกับปัจจุบันสะตอสามารถปลูกได้ในภาคอื่นนอกจากภาคใต้ จึงเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจปลูกกันไว้รอบรั้วบ้าน

สะตอ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดชุมพร หรือสุราษฎร์ธานี เรียกว่า “สะตอ” หรือ “กะตอ” หรือตามแต่ละท้องถิ่นในภาคใต้เรียก

นอกจากสะตอจะปลูกกันมากในทางภาคใต้ของประเทศไทยแล้วยังมีปลูกในประเทศมาเลเซียรวมถึงอินโดนีเซียด้วย สายพันธุ์สะตอที่ปลูกอยู่ในภาคใต้คือ พันธุ์สะตอข้าว สะตอดาน

นอกจากสะตอมีการปลูกไว้ในสวนหรือหัวไร่ปลายนาแล้วยังมีเกษตรกรทำสวนสะตอปลูกส่งขายสู่จังหวัดภาคใต้ ส่วนหนึ่งได้มีการส่งขายเข้ามาภายในกรุงเทพมหานครด้วย ลำต้นค่อนข้างสูง ประมาณ 20-30 เมตร เปลือกหนาสีน้ำตาล ผิวเรียบ มีรากแก้วช่วยพยุงลำต้น

เมล็ดสะตอเกิดจากรังไข่ที่ผสมแล้ว เมล็ดมีสีเขียวเรียงตามแนวขวางกับฝัก เมล็ดมีรูปร่างรี สะตอหนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 7-20 เมล็ด ลักษณะใบของต้นสะตอก้านทางใบมีลักษณะเป็นคู่ บริเวณส่วนของก้านทางใบมีใบขนาดเล็กเป็นรูปพาย

ฝักของสะตอเกิดจากรังไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว มีลักษณะตรงห้อยจากตุ่มดอกเป็นพวงลงมาสีค่อนข้างเขียว ฝักอ่อนสีเขียวอ่อน ฝักแก่มีสีเขียวเข้ม

ผลดิบของสะตอสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้โดยต้อง สังเกตุสะตอที่มีฝักแก่ซึ่งเมล็ดจะไม่อ่อนมากเมื่อนำมารับประทานแล้วมีรสชาติที่อร่อยกว่าสะตออ่อน

สะตอสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น เป็นผักเหนาะ (ผักทานคู่กับแกง) สะตอผัดกุ้ง สะตอผัดหมู หรือสะตอดอง นอกจากสะตอสามารถนำมาประกอบอาหารได้แล้ว ภายในเมล็ดของสะตอยังให้คุณค่าทางสารอาหารมากมาย เช่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ปัญหาโรคไต ช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

หากรับประทานสะตอแล้ว ผู้รับประทานมีกลิ่นปากสามารถแก้ได้ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามลงไปจะสามารถดับกลิ่นของสะตอลงได้

แนวทางการปลูกสะตอ หากต้องการทำเป็นการค้าควรปลูกให้อยู่ในระยะปลูก 12 คูณ 12 เมตร (ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว) เนื่องจากสะตอเป็นพืชที่เมื่อเติบโตแล้วต้นมีขนาดใหญ่ต้องการพื้นที่ในการแผ่กิ่งให้ผลจึงควรปลูกในบริเวณสวนหรือพื้นที่ห่างจากบ้านพักอาศัยไม่มากนัก

โดยขุดหลุมให้ได้ขนาดพอดีกันกับต้นสะตอที่จะนำมาปลูก สำหรับดินที่ใช้ปลูกสะตอควรเป็นดินแดงหรือดินร่วนแดงผสมกรวด เพื่อให้รากของสะตอสามารถยึดติดกับดินในแปลงปลูกได้ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกสะตอได้ 11 ต้น

การบำรุงต้นสะตอนั้นไม่ได้มีวิธีการที่ยากนักเพียงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบำรุงให้ต้นสะตอช่วงก่อนติดฝัก (ออกโม้ง) เพียงเท่านี้ก็ได้ฝักสะตอสีเขียวสดพร้อมจำหน่ายหรือรับประทานเองที่บ้านแล้ว

แหล่งปลูกสำคัญคือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก

แต่ปัจจุบันพื้นที่ขยายไปยังจังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ กาญจนบุรี รวมทั้งภาคเหนือหลายจังหวัด น้ำปัสสาวะ น้ำฉี่ น้ำเยี่ยว แค่พูดถึง หลายคนก็รู้สึกรังเกียจแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า น้ำสีเหลืองๆ นี้แหละ มีประโยชน์เหลือหลาย เพราะอุดมด้วย แร่ธาตุ วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ ภูมิคุ้มกัน โปรตีน รวมทั้งสารที่มีประโยชน์อีกมาก และยังพบว่าน้ำปัสสาวะตอนเช้าหลังตื่นนอนมีฮอร์โมนเมลาโทนินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ และยิ่งเป็นน้ำปัสสาวะของเด็กจะมีแร่ธาตุมากมาย ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี ไอโอดิน เหล็ก ยูเรีย ซึ่งสามารถต้านการอักเสบ และบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย

ในการแพทย์แผนโบราณได้บ่งบอกถึงข้อดีของการดื่มน้ำปัสสาวะ จึงมีผู้นำน้ำปัสสาวะมาดื่ม เพื่อป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เพราะเชื่อว่าในน้ำปัสสาวะมีสารอินเตอร์เฟอรอน เป็นสารต้านมะเร็ง เมื่อน้ำปัสสาวะเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการจึงขับออกมา เมื่อดื่มเข้าไปร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวไล่กินปัสสาวะที่เราดื่มเข้าไป ซึ่งกระจายไปทั่วร่างกาย และเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่กินเชื้อโรค กินมะเร็ง กินสิ่งแปลกปลอมรวม ทั้งสิ่งที่มีพิษในร่างกายอยู่แล้ว ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานเพิ่มมากขึ้น

การใช้น้ำปัสสาวะในนาข้าว น้ำปัสสาวะเกิดจากระบบการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยการแยกกาก คือ อุจจาระออกจากกัน ฉะนั้นน้ำปัสสาวะจึงต่างจากอุจจาระที่เป็นของเสีย

เมื่อน้ำปัสสาวะใช้ประโยชน์ในคนได้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้นำมาทดลองใช้กับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย นั่นก็คือ การใช้น้ำปัสสาวะใช้ในนาข้าว

ปกติคนเราจะถ่ายน้ำปัสสาวะ วันละ 1-1.5 ลิตร องค์ประกอบของน้ำปัสสาวะของผู้ใหญ่ 1 คน ต่อวัน ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารเหล่านี้ สามารถนำไปปลูกพืชโดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย สรุปว่า น้ำปัสสาวะที่มนุษย์ขับถ่ายและทิ้งในแต่ละวันสามารถตอบสนองต่อความต้องการปุ๋ยในการปลูกพืชของโลกได้ทั้งหมดโดยธรรมชาติ

การนำไปใช้ประโยชน์

มีการศึกษาพบว่า น้ำปัสสาวะมีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว สามารถนำผล นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรนำน้ำปัสสาวะมาใช้ในนาข้าวเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช่ปุ๋ยในนาข้าว และรณรงค์การใช้น้ำปัสสาวะทดแทนปุ๋ยเคมี

หากสนใจและต้องการข้อมูล การใช้น้ำปัสสาวะในนาข้าว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนธราธิบดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือโทรศัพท์ (077) 311-525 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น 1 ใน 8 จังหวัด ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้พระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ( ส.ป.ก.) เมื่อปี 2518 เพื่อนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรใช้เป็นที่ดินทำกิน

สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อพสกนิกร ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกๆ ด้าน ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและการพัฒนาการเกษตรเป็นปัญหาหนึ่งที่พระองค์ทรงสนพระทัย และทรงเป็นผู้ริเริ่มในการพัฒนาด้านการเกษตรต่างๆ

เมื่อพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกาศใช้บังคับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในพื้นที่ 8 จังหวัด จำนวน 51,967 ไร่ 95 ตารางวา ให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

ต่อมาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้กันเนื้อที่บางส่วนออก เนื่องจากที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเกษตรและมีภาระผูกพันกับหน่วยงานราชการอื่น จึงคงเหลือพื้นที่ให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินได้ 43,902 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครนายก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี

การดำเนินการปฏิรูปที่ดินในผืนดินพระราชทานทั้ง 5 จังหวัด ส.ป.ก. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเส้นทางคมนาคม ชลประทาน และที่สำคัญคือการพัฒนาเกษตรกรตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อสร้างโอกาส “การเข้าถึงองค์ความรู้”, “การเข้าถึงระบบตลาด” และ “การเข้าถึงแหล่งทุน”

ปัจจุบัน มีเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินพระราชทาน 3,264 ราย ส.ป.ก. ได้น้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้ดำเนินตามรอยพระยุคลบาท ส.ป.ก. ได้จัดตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินจัดตั้งศูนย์จัดการที่ดินพระราชทานขึ้น สร้างเครือข่ายเกษตรกร สร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน สร้างเครือข่ายสหกรณ์ในผืนดินพระราชทานให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้สมกับที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ขับเคลื่อนกิจกรรมสู่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินพระราชทานสืบสานพระปณิธานแผ่นดินพ่อ เพื่อการพัฒนาศักยภาพผืนดินทำกิน เพิ่มผลผลิตสร้างรายได้ ให้ความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้และเข้าถึงโอกาสทางเลือกในการเปลี่ยนอาชีพควบคู่กับการสนับสนุนการตลาดและปัจจัยพื้นฐาน ทำให้เกษตรกรในเขตที่ดินพระราชทานมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะพึ่งตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้คงอยู่กับเกษตรกรตลอดไป สมดังพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ข้าวไทย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ข้าวไทย และศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 1 ตําบลช้างใหญ่ อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับ “ผืนดินพระราชทาน…สืบสานพระราชปณิธานแผ่นดินพ่อ” ในเขตปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ข้าวไทย ได้จดทะเบียนวิสาหกิจฯ เมื่อปี พ.ศ. 2550 ภายใต้วิสัยทัศน์ เพื่อคืนสภาพแวดล้อม สร้างความมั่นคงแก่คนในชุมชน และมีพันธกิจสำคัญคือ มุ่งศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ การทำเกษตรชีวภาพ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ข้าวไทย เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรเพื่อสนับสนุนการทำนา ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำนา การเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาล จัดหาพันธุ์ข้าวและทดลองปลูกพันธุ์ข้าวใหม่เพื่อเป็นการทดลองหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และให้ผลผลิตสูงที่สุด การทดลองทำนาแบบชีวภาพโดยอาศัยหลักการใช้ธรรมชาติควบคุมธรรมชาติ การผลิตสารกำจัดแมลง ปลอดภัย เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมตาไรเซียม

ทางกลุ่มฯ มีการบูรณาการทํางานเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้และถ่ายทอดให้สมาชิก ทำงานเชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ ประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้และผลิตภัณฑ์ระหว่างกลุ่ม เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้า แลกเปลี่ยนจุลินทรีย์ป้องกันและกําจัดโรคพืชกับปุ๋ยอินทรีย์

ขณะเดียวกัน สมาชิกกลุ่มฯ UFABET ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการทดลองกระบวนการและรูปแบบการปลูกข้าวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ควบคู่กับการลดต้นทุนและทํากําไรได้มากที่สุด

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ข้าวไทย เน้นสร้างความเข้มแข็งทางด้านการตลาด โดยมองความต้องการของตลาดก่อนการเพาะปลูก ว่าตลาดต้องการข้าวชนิดใด แล้วทําตามเพื่อให้ขายข้าวได้ราคาสูง ทางกลุ่มฯ จะแนะนํากึ่งบังคับให้สมาชิกทําตามความต้องการของตลาด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่สูง

ศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ ส่งเสริมการทำนาแบบชีวภาพ

ศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกข้าว แบบไร่นาสวนผสม สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำนาไม่มาก 5-20 ไร่ โดยแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงผิวนามาทำเกษตรผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย บ้านพักอาศัย ทำนา ปลูกพืชผักไม้ผลและสระน้ำ 5 บ่อ สำหรับเพาะปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี มีฟาร์มเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ที่นี่ยังเป็นศูนย์ข้าวชุมชน เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการปลูกข้าวให้แก่ชาวนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและชาวนาจากทั่วประเทศ

ลุงประมาณ สว่างจิต เกษตรกรปราดเปรื่อง เจ้าของศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ ที่มีอาชีพทำนามาตลอดทั้งชีวิต กล่าวว่า การทำนาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมาก เพราะข้าวไม่ใช่พืชน้ำ แค่ปลูกในผืนดินที่ชุ่มชื้น ต้นข้าวก็เจริญเติบโตได้งอกงามและให้ผลผลิตที่ดี ข้าวที่ได้น้ำน้อย จะมีลำต้นแข็งแรงกว่า คุณภาพแป้งสูง ให้ผลผลิตต่อไร่ดีกว่าต้นข้าวที่ได้น้ำเยอะ การปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อย ลดต้นทุนการผลิตได้เยอะ

เกษตรกรที่แวะเข้าชมกิจการศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ จะได้เรียนรู้เรื่องการทำนาแบบชีวภาพ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับพื้นที่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่าย การสาธิตวิธีการทำนาแบบต่างๆ การทำนาแบบหว่านเมล็ด การทำนาแบบใช้คนปักดำ การทำนาแบบใช้เครื่อจักรดำนา การทำนาแบบโยนกล้า