เจ้าของสวน พออยู่พอกินบ้านมายิ้ม บางท่านอาจทราบได้จากสื่อ

พี่ประทีป เป็นเจ้าของสูตรพื้นที่น้อยแต่สร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างไม่ให้เดือดร้อน ในทุกตารางนิ้วสามารถสร้างงานสร้างเงินได้ไม่ต่างกัน เริ่มมาจากเมื่อเรียนจบใหม่ๆ พี่ประทีปเดินทางไปทำงานที่ตะวันออกกลาง หนักเอาเบาสู้ เพราะเป้าหมายเพื่อเก็บเงินและเก็บเกี่ยวความรู้และเทคโนโลยีของบ้านเมืองเขา นำกลับมาปรับใช้ในพื้นที่ตัวเอง พื้นที่ 1 ไร่เศษๆ กับการเริ่มต้นด้วยเงิน 70,000 บาท เพื่อสร้างบ้านสักหลัง โดยวางแผนไว้ว่าบ้านหลังนี้จะมีเทคโนโลยีของตะวันออกกลางมาปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่

เริ่มจากปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียง วางระบบน้ำทิ้ง น้ำดี ให้ไหลไปยังจุดกักเก็บด้านหลังบ้าน น้ำอาบน้ำใช้ก็ส่งตรงไปตามท่อเข้าสู่ต้นไม้ทุกต้นที่ปลูกรองรับไว้ด้วยระบบน้ำใต้ดิน ส่วนน้ำที่เกิดจากการขับถ่ายจะเข้าสู่บ่อบำบัดใช้จุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลายและนำไปใช้ต่อไป ส่วนระบบธนาคารน้ำใต้ดินมีการวางจุดดักและสร้างระบบกรองไว้ เพื่อเติมน้ำดีลงในชั้นบาดาล

เงิน 70,000 เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้วได้บ้านหนึ่งหลังเล็กๆ พี่ประทีปวางแผนใช้หลังคาให้เกิดประโยชน์ โดยการปลูกไม้เลื้อยคลุมหลังคา ทั้งฟัก แฟง ฟักข้าว ฟักทอง แตงไทย ปล่อยให้เลื้อยอยู่บนหลังคา ผลที่ได้จากการกระทำแบบนี้คือ มีรายได้จากการขายผลผลิต และบ้านก็เย็นมากขึ้น เพราะแดดส่องไม่ถึงตัวหลังคาบ้าน พี่ประทีป บอกว่า ในปัจจุบัน รายได้ต่อปีต่อ 1 ตารางเมตร บนหลังคาคือ 10,000 บาท จากการขายผลผลิตที่ปลูกคลุม และเมื่อมีรายได้ก็เก็บสะสมและนำมาต่อเติมบ้านจนกลายเป็นหลังใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน พื้นที่รอบบ้านเต็มไปด้วยพืชผักสวนครัว ส่วนหนึ่งเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปลา เลี้ยงไก่ไข่ และที่ว่างทั้งในห้องนอน ห้องต่างๆ จะมีชั้นเป็นลิ้นชักเลี้ยงกุ้งอยู่เต็มไปหมด เรียกได้ว่าสร้างงานสร้างเงินได้เต็มพื้นที่จริงๆ

นั่นเป็นเรื่องราวที่คนส่วนมากได้รับรู้เรื่องของพี่ประทีป แต่สำหรับครั้งนี้ผมนัดคุยกับพี่ประทีปในแง่ของคนทำไม้ คนปลูกป่าเศรษฐกิจมาก่อน รู้กันไหมว่า ต้นสักที่ปลูกไว้ที่บ้านมายิ้ม อายุเพียง 12 ปี ก็สามารถตัดมาใช้ทำประโยชน์หรือขายได้แล้ว ด้วยเทคนิคของคนปลูกป่ามาก่อนนั่นเอง น่าสนไหมล่ะ ทำง่ายๆ ไม่ยากด้วยนะ

เริ่มจากการขยายพันธุ์สัก ที่สวนนี้จะปลูกเฉพาะสักทองเท่านั้น สักขี้ควาย สักขี้หมูไม่ปลูก ถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสักที่ปลูกเป็นสักทอง พี่ประทีปแนะนำว่า ให้เด็ดใบมาสักนิด ใช้นิ้วขยี้ๆ สักพักจะเห็นเป็นสีออกแดงแบบน้ำหมาก นั่นแหละสักทองของแท้ นำมาปลูกแล้วได้ของดีแน่นอน การขยายพันธุ์สักทองของพี่ประทีป จะใช้การแกะตาชำ เริ่มจากใช้สิ่ว ค้อน ไปแกะตาสักทองขนาดเพิ่งโผล่ตา ตอกสิ่วให้ลงไปถึงเนื้อไม้ แล้วนำมาชำในกระบะทรายชื้นๆ ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ก็สามารถนำเอาไปชำถุง หรือปลูกลงแปลงได้แล้ว คราวนี้ระยะปลูก พี่ประทีป บอกว่า 4×4 หรือ 4×5 ก็พอ เพราะเรากำหนดอายุตัดไม้ได้

“ทำแบบนี้ติดแน่หรือพี่” “แน่นอนครับ แล้วขยายได้มากด้วยนะ จากตาเดียวเราอาจจะได้ 4-8 ต้นใหม่เลยนะ มันขยายได้เรื่อยๆ”

“เพิ่งรู้จริงๆ นะเนี่ย แล้วทำกับไม้อื่นได้ไหมครับ”

“เอาไปลองกันดูนะครับ ผมเองขยายแต่พันธุ์สักทองเท่านั้น”

“อัตรารอดจนได้ปลูกเยอะไหมพี่” “หากตอบว่า 100% ก็จะหาว่าโม้ เอาเป็นว่าเกินกว่า 80% แน่นอน รับรองได้”

ในธรรมชาติต้นไม้ทุกต้นจะโคนใหญ่และปลายเล็ก สูตรของคนปลูกป่าเช่นพี่ประทีป บอกว่า เราสามารถทำให้ไม้สักทองของเรามีขนาดโคนและปลายเท่ากันได้ โดยการกำหนดความยาวของแผ่นไม้ที่เราต้องการ เช่น 4 เมตร, 6 เมตร เมื่อกำหนดขนาดความยาวของไม้ได้แล้วก็วัดจากพื้นสูง ประมาณ 50 เซนติเมตร และวัดขึ้นไปตามขนาดที่เราต้องการ แล้วจึงตัดยอด ต้นไม้ก็จะสร้างยอดใหม่ขึ้นมา แต่ขนาดของไม้ที่เราจะได้โคนถึงปลายมีขนาดเท่ากัน ข้อดีของไม้ที่มีพูพอน เช่น สักทอง กระบก เราสามารถเพิ่มเนื้อไม้ได้โดยการถากเปลือก ส่วนไหนที่โบ๋ไม่เต็มก็ถากเปลือกออก ให้ไม้สร้างเนื้อเพิ่มขึ้นมา ทำแบบนี้ทุกต้น โดยการถากสลับกัน ปีนี้ถากทางเหนือ ใต้ ปีหน้าก็ถากทางตะวันตก ตะวันออก สลับกันเช่นนี้ เราก็จะได้ไม้ที่เติบโตได้ดี มีขนาดเท่ากัน ได้ราคา

การทำป่าเศรษฐกิจ จะต้องไปแจ้งต่อเกษตรอำเภอประจำท้องที่ ต้องมีค้อนประจำสวน มีเอกสารเป็นหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.3) และต้องมีหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากสวนป่า สมมติว่าเมื่อเราแจ้งตัด พอตัดแล้วก็เอาค้อนตีตราที่ตอไม้ และเมื่อเราเลื่อยไม้เป็นแผ่นแล้วก็ต้องใช้ค้อนตีตราและตีเลขทุกแผ่น แล้วจึงนำมากรอกข้อมูลลงในหนังสือแสดงบัญชีรายการ หากทำครบเช่นนี้แล้วก็สามารถขนส่งหรือนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยถูกต้องตามกฎหมาย

“ถามจริงๆ นะพี่ ยากไหมครับสำหรับการจดแจ้งทำสวนป่าเศรษฐกิจ” “ไม่ยากหรอกครับ มีอะไรเข้าไปปรึกษาเกษตรอำเภอ จะได้รับคำแนะนำและบริการอย่างดีเลยเชียว”

“หากมีผู้อ่านสนใจอยากมาเรียนรู้แบบนี้ พี่พอจะแนะนำได้ไหม”

“มาเลยครับ โทร.มาก่อนก็จะดี จะได้เช็คว่าผมติดธุระที่ไหนไหม เพราะช่วงนี้เดินสายอบรมให้สมาชิกทั่วประเทศ” นี่แหละครับ อีกหนึ่งความรู้ที่ผมเพิ่งทราบมาจากผู้รู้ ขอบคุณครับพี่ ขอเวลาสักนิด รอผลว่าการที่ผมนำตาไม้มาชำตามสูตรพี่จะได้ผลเพียงไหน แล้วจะมาเล่าให้ฟังครับ

“ลุงอุบล การะเวก” อดีตข้าราชการ ได้ตัดสินใจลาออกก่อนเกษียณเมื่ออายุ 56 ปี เพื่อทำสวนส้มโอ บนที่ดินมรดกเนื้อที่ 8 ไร่ ของคุณพ่อ ในพื้นที่ ต.บางเตย อ.สามพราน จ.นครปฐม ปัจจุบัน สวนแห่งนี้นับเป็นสวนส้มโออินทรีย์แห่งแรกและหนึ่งเดียวในพื้นที่ตำบลบางเตย

ครอบครัวของลุงอุบลทำสวนส้มโอมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ เมื่อลาออกจากราชการมาดูแลรับผิดชอบสวนส้มโอแห่งนี้อย่างเต็มตัวเมื่อ 8 ปีก่อน ต้นส้มโอที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อนั้น มีหลายช่วงอายุ ทั้งต้นส้มโออายุ 20 ปี ไปจนถึงต้นส้มโออายุ 40-50 ปี ที่ยังให้ผลผลิตที่ดี มีรายได้เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว

ต่อมาปี 2554 เกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง ต้นส้มโอเจอน้ำท่วมขังนานประมาณ 45 วัน ทำให้ต้นส้มโอยืนต้นตายหมดทั้งสวน ลุงอุบลต้องมาลงทุนทำสวนส้มโอใหม่อีกรอบ โดยหาซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอขาวน้ำผึ้งและทองดี อย่างละ 150 ต้น จากแหล่งพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและเชื่อถือได้

การปลูกดูแล

ลุงอุบล วัย 64 ปี เล่าให้ฟังว่า ผมหาซื้อกิ่งส้มโอ จำนวน 300 ต้น มาปลูกในแปลงยกร่อง ในระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 7-8 ศอก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเล็กน้อย หลังปลูกก็ดูแลให้น้ำต้นส้มโอตามปกติ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกส้มโอได้ 40 ต้น ที่นี่ดูแลจัดการสวนแบบผสมผสาน ภายในสวนปลูกแซมด้วยกล้วยหลากหลายพันธุ์ รวมทั้งมะนาว เพื่อให้มีผลผลิตขายได้ทั้งปี

ลุงอุบล นำต้นส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง มาปลูกสลับแปลงกับต้นส้มโอพันธุ์ทองดี จนเต็มพื้นที่ 8 ไร่ เช่นเดียวกับเกษตรกรชาวสวนส้มโอจำนวนมากที่เชื่อว่า การปลูกส้มโอคนละพันธุ์แบบสลับแปลงกันจะช่วยให้ผลส้มโอไร้เมล็ด ซึ่งลุงอุบลได้ข้อสรุปว่า ความเชื่อดังกล่าวไม่ได้ผลเต็มร้อย เพราะทุกวันนี้ ผลผลิตที่ได้ยังมีเมล็ดอยู่ แต่เจอผลส้มโอที่ไร้เมล็ดอยู่บ้าง

“ช่วงแรกที่ลงกิ่งตอนต้องใช้ปุ๋ยเคมีประคองให้ต้นแตกกิ่งอ่อนประมาณ 5-6 เดือน จนต้นเป็นพุ่มจึงหยุดใช้ปุ๋ยเคมี จากนั้นหันมาใช้น้ำหมักมูลสุกรคอยรดโคนต้น เพราะน้ำหมักมีธาตุอาหารของดินครบถ้วน คือ NPK พอๆ กับปุ๋ยเคมีที่โฆษณากัน นอกจากนี้จะช่วยปรับสภาพให้ดินเป็นกรดเป็นด่างดีขึ้น” ลุงอุบล กล่าว

การบริหารจัดการสวนส้มโออินทรีย์

ลุงอุบล หัวหน้ากลุ่มเกษตรอินทรีย์หอมเกร็ด เครือข่ายสามพรานโมเดล เล่าให้ฟังว่า สมัยรุ่นคุณพ่อ ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการดูแลสวนส้มโอ แต่เนื่องจากผมไม่ชอบสารเคมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงค่อยๆ ปรับลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง หันมาศึกษาเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ต่อมาผมได้รู้จักกับ มูลนิธิสังคมสุขใจ ที่ขับเคลื่อนโครงการสามพรานโมเดล ทำให้ได้รับองค์ความรู้ในเรื่องมาตรฐานการทำเกษตรแบบอินทรีย์แบบครบวงจรทำให้มีพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการในเรื่องต่างๆ อีกทั้งยังแนะนำช่องทางการตลาดให้อีกด้วย

“สามพรานโมเดล ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ แต่เข้ามาสอนให้เรารู้จักการทำธุรกิจ การบริหารจัดการ ให้เราคำนวณต้นทุนเป็น เน้นการจดบันทึก ซึ่งทำให้รู้ต้นทุนที่แท้จริง และสามารถกำหนดราคาขายเองได้ กระบวนการเหล่านี้ยังสามารถคำนวณรายได้ล่วงหน้าที่ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับเกษตรกร” ลุงอุบล กล่าว

หลังจากลุงอุบลหันมาทำสวนส้มโอระบบอินทรีย์พบว่า ตั้งแต่เลิกใช้ปุ๋ยเคมีสามารถ ลดต้นทุนได้ราว 80- 90% เพราะรายได้ส่วนใหญ่หมดไปกับการซื้อปุ๋ยเคมี แต่เมื่อเข้าสู่ระบบอินทรีย์ ต้นทุนเราแค่ซื้อมูลสัตว์ (สุกร) เพื่อมาหมักทำปุ๋ยคอก ส่วนสมุนไพรที่ทำน้ำหมักชีวภาพต่างๆ เราหาเองได้ซื้อก็ราคาไม่สูงนัก นอกจากนี้ มีค่าน้ำมันสำหรับเครื่องตัดหญ้า ค่าไฟไปสำหรับการให้น้ำทางสปริงเกลอร์ และอื่นๆ บ้างเท่าที่จำเป็น ส่วนเงินที่เหลือนั่น คือ กำไร

อย่าง น้ำสกัดจากมูลสุกร สารสกัดจากสะเดา ไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถทำได้เอง เช่น น้ำหมักมูลสุกร ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากเลย โดยใช้มูลสุกรแห้ง 1 กก.ต่อน้ำ 7 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 วัน 1 คืน แล้วตักตะกอนขึ้นมาเก็บไปใส่โคนต้นส้มโอต่อ หลังจากนั้น ทิ้งน้ำหมักไว้ 1 เดือน เพื่อให้หมดก๊าซ จากนั้นนำไปผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อใช้รดโคนต้น 15 วัน รดครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ ยังใช้สารชีวภาพฉีดป้องกันเพลี้ยไฟแดง ซึ่งผสมรวมกันกับน้ำหมักมูลสุกรฉีดพ่นเพื่อประหยัดแรงงาน

หรือการทำเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อใช้ป้องกันรากเน่าโคนเน่าก็ทำได้ไม่ยาก โดยนำมาเพาะเชื้อเองให้อาหารเป็นรำข้าว จากเชื้อราเพียงน้อยนิดเมื่อได้รำข้าวจะแพร่กระจายไปได้เร็ว นำมาผสมน้ำฉีดจะฉีดก่อนเข้าช่วงหน้าฝน ผสมกับน้ำมูลสุกรเช่นกันรดไปทีเดียว

สารชีวภาพเหล่านี้ไม่ได้ทำให้แมลงตาย แต่จะทำหน้าที่ควบคุมแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธุ์ ที่คุมได้อยู่คือเพลี้ยไฟ ไรแดง สวนที่ใช้เคมี บางครั้งใช้ยาแล้วยังเอาไม่อยู่ ต้องยอมให้เพลี้ยไฟลงทั้งสวน ส่วนปัญหาโรคหนอนชอนใบใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ที่สำคัญการเลือกใช้ธรรมชาติมาดูแลต้นส้มโอ ตั้งแต่ต้นจะช่วยทำให้อายุของต้นยืนยาว

ทั้งนี้ ในสวนของลุงอุบล นอกจากส้มโอ ยังปลูกกล้วยหลากหลายพันธุ์ รวมทั้งมะนาว แซมไว้ระหว่างต้นส้มโอ เพื่อให้มีผลผลิตเหล่านี้ขายได้ทั้งปี และที่สำคัญการทำสวนอินทรีย์ลดต้นทุนเห็นได้ชัด เพราะจากที่ลุงบอกเล่าถึงวิธีการใช้ปุ๋ย ใช้สารชีวภาพต่างๆ มีค่าใช้จ่ายน้อยมาก แต่ที่ลงทุนมากเห็นจะเป็นแรงกาย และความเพียรมากกว่า

ข้อดีของการปลูกส้มโออินทรีย์

ลุงอุบล แจกแจงคุณลักษณะพิเศษของส้มโอที่ผลผลิตระบบอินทรีย์ให้ฟังว่า ส้มโออินทรีย์ เนื้อจะแห้งไม่ฉ่ำน้ำ แม้จะเก็บไว้หลายวัน ส่วนความหวานนั้นอาจจะน้อยกว่าเคมี แต่ไม่ต่างกันมากหวานแบบธรรมชาติ ทั้งนี้ส้มโอที่ใช้เคมีก่อนเก็บจะใส่ปุ๋ยเพิ่มความหวาน เท่ากับว่ากินความหวานจากปุ๋ยเคมีเข้าไป

โดยทั่วไป พ่อค้ามักซื้อส้มโออินทรีย์ในราคาเท่ากับส้มโอที่ปลูกโดยใช้สารเคมี โดยรับซื้อส้มโอพันธุ์ทองดี ในราคาหน้าสวน ลูกละ 40 บาท ขาวน้ำผึ้ง 100-120 บาท แต่ลุงอุบลส่งส้มโออินทรีย์ขายให้กับโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ ผ่านโครงการสามพรานโมเดล ได้ในราคาที่สูงกว่า

สำหรับส้มโอพันธุ์ทองดี ขายได้ลูกละ 90 บาท ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ขายได้ลูกละ 150 บาท เนื่องจากทางโรงแรมเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามาารถกำหนดราคาขายได้เองตามความเหมาะสมที่ทั้งสองฝ่ายรับได้

“ผมยืนยันได้ว่า การทำส้มโออินทรีย์ไม่ยากเลย เพียงแต่เกษตรกรยึดติดกับเคมีมากเกินไป ถ้าใจยอมที่จะเปลี่ยนก็สามารถเอาชนะสิ่งต่างๆ ได้ไม่ยาก เพียงแค่อดทนในช่วงระยะปรับเปลี่ยน หนึ่งถึงสองปีแรกเท่านั้นเอง พอปีที่สามเริ่มเห็นผลความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระบบนิเวศที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ ส่วนผลผลิตที่ได้รูปร่างไม่ได้ต่างจากเคมีมากนัก ผิวสวย ผลโต รสชาติก็ดี” ลุงอุบล กล่าว

ปัจจุบัน สวนของลุงอุบล มีพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งและพันธุ์ทองดีมีอายุ 5 ปีแล้ว ให้ผลผลิตแล้วกว่า 20-30% จากจำนวน 800 ต้น ที่ปลูกไว้ทั้งหมดเนื่องจากเจอปัญหาโรคโคนเน่าคุกคาม

“ช่วงปีแรก ต้นส้มโออาจให้ผลผลิตได้ไม่เยอะ หากต้นส้มโอโตเต็มที่ ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งให้จะผลผลิตประมาณ 50-60 ลูก/ต้น/ปี ส่วนพันธุ์ทองดี จะได้ประมาณ 80-100 ลูก/ต้น/ปี ซึ่งปกติส้มโอจะออกลูกครั้งแรกตอนอายุประมาณ 6 ปี และถ้าไม่มีปัญหาเรื่องรากเน่าโคนเน่าสามารถให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 20-30 ปี เลยทีเดียว” ลุงอุบล บอก

เมื่อตัวเองค้นพบความสุขที่แท้จริงในวัยเกษียณ ก็หวังอยากให้เพื่อนเกษตรกรที่ปลูกส้มโอ หันมาทำสวนส้มโอระบบอินทรีย์กันมากขึ้น อย่างน้อยช่วยลดต้นทุนในการผลิต อย่างมากคือเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเองและคนในครอบครัวรวมถึงผลพลอยได้ที่กระจายสู่ผู้บริโภคโดยไม่คิดหวงความรู้ หากใครสนใจอยากอยากเรียนรู้ เคล็ดลับความสำเร็จการทำสวนส้มโออินทรีย์ สามารถสอบถามและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ลุงอุบล การะเวก โทร. 089-134-8499 หรือ Facebook/สามพรานโมเดล

เมื่อก่อนเคยได้ยินว่า ที่ประเทศมาเลเซีย สามารถปลูกขนุนให้ออกผลภายในปีเดียวได้ แต่ไม่ค่อยมีใครเชื่อกันนัก

ต่อมาเรื่องนี้เกิดขึ้นกับบ้านเรา มีเกษตรกรนำขนุนจากประเทศมาเลเซียมาแกะกินเนื้อ จากนั้นนำเมล็ดลงเพาะที่จังหวัดจันทบุรี ให้น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก หลังปลูกได้ปีเดียวขนุนให้ผลผลิตกับเจ้าของได้ จึงมีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งเผยแพร่ พร้อมกับตั้งชื่อว่า “ทองทวีโชค” ชื่ออื่นๆ ก็มีคือ “ปีเดียวทะวาย” และ “แปดเดือนทะวาย”

ขนุนปีเดียวทะวาย ออกดอกติดผลเร็ว บางครั้งขณะที่ต้นพันธุ์อยู่ในถุง ก็มีดอกให้เห็น

เมื่อนำปลูกลงดิน ดูแลพอสมควร ภายใน 1 ปี มีดอกแน่นอน แต่การไว้ผลนั้นควรดูทรงพุ่มเป็นสิ่งตัดสินใจด้วย หากต้นเล็กอยู่ แต่ไว้ผลน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ต้นก็อาจจะโทรมได้ ขนุนปีเดียวทะวาย ออกผลผลิตต่อเนื่อง หากไว้ผลต่อต้นน้อย ผลมีขนาดใหญ่เหมือนกับขนุนพันธุ์อื่นๆ

เนื้อในขนุนปีเดียวทะวาย สีจำปา หากช่วงฝนอาจจะสีไม่เข้มนัก รสชาติหวาน แนวทางการผลิตขนุนปีเดียวทะวายให้ได้รสชาติดี เจ้าของควรไว้ผลช่วงปลายฝน คือเดือนกันยายน-ตุลาคม พอถึงเดือนธันวาคม ฝนหยุด ดินแห้ง เมื่อเก็บเกี่ยวขนุน เนื้อขนุนจะแห้ง รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม

ข้อควรระวังนั้น อย่าไว้ผลมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นโทรม ทางที่ดีควรไว้ผลในตำแหน่งกิ่งใหญ่ หรือบริเวณลำต้น

ขนุนปีเดียวทะวาย เหมาะปลูกในพื้นที่ไม่กว้างนัก สามารถตัดแต่งทรงต้นให้อยู่ในระดับที่เจ้าของต้องการได้ การดูแลขนุนที่ปลูก หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ส่วนปุ๋ยเพิ่มความหวาน ขนุนมีรสชาติหวานอยู่แล้ว

ต้นพันธุ์ขนุนปีเดียวทะวาย มีจำหน่ายตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป เช่น แถวถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตก เลยห้างสรรพสินค้าโลตัส ไปทางบางใหญ่ อีกจุดหนึ่งฝั่งตะวันตกของถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เช่นกัน อยู่ตรงข้ามกับอู่รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ปัจจุบัน เรื่องของสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมคือ การกำจัดขยะอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหาร เศษผักและผลไม้ เป็นต้น หากกำจัดไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น มลพิษทางน้ำและกลิ่น ปัญหาขยะล้นเมือง แหล่งเพาะเชื้อโรค แมลง ที่ส่งผลต่อมวลมนุษย์

วิธีการหนึ่งในการกำจัดขยะอินทรีย์คือ การใช้ไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะ ในทางตรงแล้ว ยังทำให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตรหลายชนิด ได้เป็นปุ๋ยไส้เดือนดิน และปุ๋ยน้ำหมักไส้เดือนดิน

ครูพิศมัย ลิ้มสมวงศ์ อดีตข้าราชการครู โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการศึกษาด้านการเกษตรที่โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก หรือเกษตรบ้านกร่าง รุ่นที่ 8 ได้สอบบรรจุเป็นครูสอนในจังหวัดพิษณุโลกหลายปี ล่าสุดย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ที่เป็นถิ่นกำเนิดของตนเอง ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา

ในฐานะที่เป็นครูเกษตรจึงได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นจึงสร้างเรือนโรงเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดเล็กๆ ภายในโรงเรียน สอนเด็กนักเรียนตั้งแต่การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังน้ำสีดำ เลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก แบบ 4 ชั้น จนเด็กนักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติและใช้ที่บ้านของตนเองได้

ในปี 2558 ครูพิศมัย เกษียณอายุราชการ จึงเริ่มเลี้ยงไส้เดือนบริเวณบ้าน และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนดินสำหรับนักเรียนและเกษตรกรทั่วไป เนื่องจากบ้านและโรงเรียนที่เคยสอนนั้นอยู่ใกล้กัน

ครูพิศมัย เล่าต่อว่า ไส้เดือนดินมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรามี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์สีแดงออกม่วง ตัวขนาดเล็ก ชอบอาศัยผิวดินอยู่ในขยะอินทรีย์ มูลสัตว์ กินอาหารเก่ง ที่เรียกกันว่า “ขี้ตาแร่”

ไส้เดือนดินอีกชนิดหนึ่งลำตัวสีเทา มีขนาดใหญ่ ชอบอาศัยอยู่ใต้ดินค่อนข้างลึก พบได้ในสวนผลไม้ สนามหญ้า กินอาหารน้อย เมื่อเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ต้องการได้แล้วจึงจัดเตรียมสถานที่ ต้องไม่เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขัง อยู่ใกล้กับแหล่งขยะอินทรีย์ หรือใกล้แหล่งผลิตจำหน่ายผัก ผลไม้ หรือตลาดผักสด

“บ้านตนเองอยู่ใกล้ตลาดสดแม่โจ้ มีเศษผักที่แม่ค้าตัดและคัดใบผักออกทิ้ง จึงมีอาหารเลี้ยงไส้เดือนดินตลอดเวลา จากนั้นสร้างบ่อเลี้ยงด้วยปูนซีเมนต์แบบสี่เหลี่ยม ยาวตามขนาดของพื้นที่ นำดิน 4 ส่วน ผสมกับมูลวัว 1 ส่วน ผสมให้เข้ากัน เกลี่ยให้สม่ำเสมอ รดน้ำให้มีความชื้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน

จากนั้นจึงปล่อยไส้เดือนดิน พื้นที่ 1 ตารางเมตร สมัครแทงบอลสเต็ป จะใช้ไส้เดือนประมาณ 1 กิโลกรัม ให้อาหารด้วยการนำเศษผักวาง หรือขุดหลุมไว้เป็นจุดๆ ไม่ควรเทกองรวมกันซึ่งจะเป็นสาเหตุให้แมลงวันมาวางไข่ได้ หรืออาจใช้ลวดตาข่าย ตะแกรงปิดด้านบนป้องกันแมลงวัน นก หนู เข้าไปกินอาหารในที่เลี้ยง” ครูพิศมัย กล่าว

ครูพิศมัย บอกว่า หลังจากที่ไส้เดือนดินขึ้นมากินอาหารแล้ว อาหารและดินบางส่วนจะถูกย่อยสลายภายในลำไส้ของไส้เดือน แล้วถ่ายออกมาเป็นมูล มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำปนน้ำตาล จะมีธาตุอาหารสูงและมีจุลินทรีย์จำนวนมาก จึงเรียกว่า “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” จึงตักปุ๋ยที่อยู่บริเวณผิวหน้าดินเหล่านี้ออกไปตากแห้ง ร่อนให้แตก และเม็ดเท่าๆ กัน พร้อมที่จะนำไปใช้ได้

ในขณะเดียวกันภายในบ่อซีเมนต์หรือถังที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนดินก็จะเกิดน้ำที่ได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ที่เกิดจากการเน่าสลายของเศษขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดิน เรียกว่าน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลดำ ไม่มีกลิ่นเหม็น และมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืช ฮอร์โมนพืช และจุลินทรีย์หลายชนิด

ครูพิศมัย ให้คำแนะนำว่า การนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้ปลูกต้นไม้ ควรใช้ปุ๋ย 1 ส่วน ดินปลูก 3 ส่วน หากใช้บำรุงต้นไม้ ควรโรยรอบๆ โคนต้น ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้ หรือ 1-2 ช้อนโต๊ะ ในไม้กระถางทุก 15 วัน

หากนำไปใช้ในแปลงพืชผักพื้นที่ตารางเมตรละ 1 กิโลกรัม ใส่ในช่วงปรับปรุงดินก่อนปลูก จากนั้นใส่มูลไส้เดือนดินทุก 15 วัน จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต

หากนำไปใช้กับไม้กระถาง ไม้ใบ ไม้ดอก ใช้ 2-4 ช้อนโต๊ะ ขึ้นอยู่กับขนาดความกว้างของกระถาง ใส่ทุก 15 วัน อาจนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า เพาะเมล็ด โดยไม่ต้องผสมดินเลยก็ได้

ทั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์แสดงและจำหน่าย ได้แก่ พันธุ์ไส้เดือนดินทั้ง 2 สายพันธุ์ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน