เชียงใหม่ยะเยือก! แห่ขึ้นดอยสัมผัสหนาว-ชมเหมยขาบ อุณหภูมิ

ติดลบ2องศา!เมื่อเวลา 09.00 น วันที่ 20 ธ.ค. นายรุ่ง หิรัญวงษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า อุณหภูมิในวันนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิติดลบ วัดได้ -2 องศาเซลเซียส ส่วนที่กิ่วแม่ปาน อุณหภูมิอยู่ที่ 3 องศาเซลเซียส ทำให้นักท่องเที่ยวได้แห่สัมผัสเหมยขาบและถ่ายภาพ มีน้ำค้างแข็งเกาะติดตามดอกไม้ยอดหญ้าสวยงามอย่างมาก อีกทั้ง ในวันนี้สภาพอากาศโดยทั่วไปท้องฟ้าเปิด

นายรุ่ง กล่าวต่อว่า มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา 3,950 คน ทางอุทยานเตรียมพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะแห่ขึ้นมาเที่ยวในเขตอุทยานดอยอินทนนท์อย่างเต็มที่ และยังได้รับความร่วมมือจากธนาคารออมสินในการนำถุงดำแจกให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อให้ได้ทิ้งและเก็บขยะในถุงดำและนำไปทิ้งยังจุดขยะจุดรวม ก่อนลงดอยเพื่อความสะดวกสะบายของนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ด้วย เป็นการร่วมมือกันช่วยกันรักษาความสะอาด ทั้งนี้ ทางอุทยานได้ประกาศในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ งดการเก็บค่าบริการเข้าอุทยานตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 60 ถึง 1 ม.ค. 61

ด้าน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ โดยว่าที่ ร.ต.ปรีชา จินต์ธนาวัฒน์ เวรพยากรณ์อากาศ ได้รายงานมาว่า ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา คือ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง

โดยอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง จ.เชียงใหม่ อากาศหนาวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-4 องศาเซลเซียส ทำให้มีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กิโลเมตร/ชั่วโมง

กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2560 – กลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย จับมือกับบริษัท โอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (โอแลม) ผู้นำด้านธุรกิจการเกษตรซึ่งดำเนินธุรกิจ ใน 70 กว่าประเทศทั่วโลก ประกาศความร่วมมือเพื่อลงทุนในธุรกิจน้ำตาลของโอแลมที่ประเทศอินโดนีเซีย กลุ่มมิตรผล เข้าถือหุ้น 50% ในบริษัท ฟาร์อีสต์ อะกริ จำกัด ของโอแลม ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ในประเทศอินโดนีเชีย ภายใต้ชื่อ PT Dharmapala Usaha Sukses ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะชวา

“กลุ่มมิตรผล มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีประสบการณ์ในประเทศอินโดนีเซียอย่างโอแลม ประเทศอินโดนีเชียถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและออสเตรเลีย

อีกทั้งเรามีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศอินโดนีเซีย และมองเห็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศอินโดนีเซียให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เราหวังอย่างยิ่งว่า กลุ่มมิตรผลจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศอินโดนีเซียสามารถผลิตน้ำตาลให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วน ทั้งโอแลม หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง” นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าว

“นอกเหนือจากโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ที่มีอยู่ 1 แห่งในปัจจุบันนั้น การขยายการลงทุนในโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ คาดว่าจะเป็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศอินโดนีเซีย อีกทั้งกลุ่มมิตรผล มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์อันยาวนาน และยังมีวิสัยทัศน์เช่นเดียวกันกับโอแลม” นายโจ เคนนี กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจน้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากนมของโอแลม กล่าวเสริม

สำหรับการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลทรายแห่งใหม่นี้ คาดว่าจะเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการได้ภายในปีพ.ศ. 2563 โดยจะรับซื้ออ้อยจากชาวไร่อ้อยในพื้นที่ส่งเสริมรอบโรงงานได้ถึงปีละ 1.2 ล้านตัน

การร่วมทุนครั้งนี้ กลุ่มมิตรผล ยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อย ด้วยการนำปรัชญา
การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับที่โอแลมนำมาใช้ดูแลเกษตรกรตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539

ปัญหาเรื่องการผลิตและซื้อขายลำไย ถือเป็นปัญหาที่เกษตรกรชาวไทยแทบทุกรายต้องเคยประสบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของราคา คุณภาพ รวมไปถึงเรื่องของตลาดและการส่งออกด้วย อย่างที่ทราบดีว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการปลูกและส่งออกลำไยเป็นลำดับที่ 2 รองจากประเทศจีน ที่มีพื้นที่การเพาะปลูกกว่า 2.7 ล้านไร่ แต่ถึงอย่างนั้นเกษตรกรก็ยังคงต้องรับมือกับปัญหาดังกล่าวแทบทุกปี

ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวว่า ปัญหาเรื่องลำไยนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องราคา คุณภาพ หรือการส่งออกเท่านั้น แต่ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรผลิตลำไยในระยะเวลาเดียวกัน ทำให้ผลผลิตที่ได้ออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งยังมีส่วนทำให้ต้องขายผลผลิตในราคาที่ต่ำอีกด้วย

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และตัวเกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรฯควรเริ่มแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการผลิต และเพิ่มในส่วนของศูนย์ข้อมูลกลางด้วย เพื่อให้สามารถกำหนดได้ว่าควรให้เกษตรกรแต่ละรายเริ่มปลูกลำไยในช่วงไหน และจะมีผลผลิตออกมาในช่วงใด เพื่อนำมาใช้ในวางแผนส่วนของการส่งออกผลผลิตต่อไป

แม้ว่ากระทรวงเกษตรฯจะเข้ามาช่วยวางแผนในการผลิตลำไยก็จริง แต่ขณะเดียวกันเกษตรกรเองก็ต้องวางแผนการปลูกเพื่อบริหารความเสี่ยงของตัวเองด้วยเช่นกัน ซึ่งความเสี่ยงนั้นก็มีทั้งเรื่องของอากาศที่ไม่แน่นอน รวมไปถึงเรื่องการตลาดและการจัดการแรงงานด้วย โดยต้องปรับจากการปลูกลำไย 1 รุ่นพร้อมกัน ไปเป็นการปลูกลำไยอย่างน้อย 2-3 รุ่น เพื่อป้องกันปัญหาผลผลิตมีมากกว่าความต้องการของตลาด

นอกจากนี้ ผศ.พาวิน ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัญหาเรื่องความไม่หลากหลายของสายพันธุ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญเช่นกัน เพราะการปลูกส่งออก เกษตรกรจะเน้นการปลูกลำไยสายพันธุ์อีดอเพียงอย่างเดียว เพราะมีสีที่สวยกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่ในเรื่องของรสชาตินั้นพันธุ์สีชมพู เบี้ยวเขียว และพวงทอง จะมีรสชาติที่หวานและกรอบต่างจากพันธุ์อีดอที่จะเหนียวกว่าเล็กน้อย ทำให้ตอนนี้เกษตรกรหลายรายได้เริ่มหันมาปลูกลำไยทั้ง 3 สายพันธุ์นี้เพิ่มมากขึ้น

“พันธุ์สีชมพู เบี้ยวเขียว และพวงทอง เป็นลำไยรสชาติดีมาก ทางประเทศจีนสนใจ แต่ไม่มีผลผลิตจำหน่าย เพราะเกษตรกรเน้นไปที่พันธุ์อีดอ” ผศ.พาวินกล่าว

อย่างไรก็ตามผศ.พาวิน ยังเชื่ออีกว่าหากสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่ได้วางเอาไว้ จะช่วยลดและแก้ปัญหาต่างๆในการผลิตและส่งออกลำไยของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน

จากบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ยิ้มสู้” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ถูกน้อมนำมาเป็นแรงบันดาลใจการดำเนินชีวิตของผู้พิการ และล่าสุดกับการเปิดตัวแบรนด์ “ยิ้มสู้” ซึ่งจัดแถลงข่าว ณ ร้านกาแฟยิ้มสู้ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ซอยอรุณอมรินทร์ 39

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวว่า จากพระราชดำรัสในหลวง ร.9 ตอนหนึ่งว่า “งานช่วยคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการมิได้เป็นผู้อยากพิการ แต่อยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่สามารถช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงานอะไรเพื่อช่วยชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้นนโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยให้เขาช่วยตนเองได้ เพื่อที่จะให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม” ซึ่งตนได้น้อมนำมาเป็นวัตถุประสงค์ก่อตั้งมูลนิธิ ในการพัฒนาคนพิการตั้งแต่แรกเกิด และการให้คนพิการมีงานทำ โดยได้ขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมผ่านการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ต้นปี 2560 เป็นต้นมา

“ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เดือนกันยายน 2560 ระบุว่า ปัจจุบันไทยมีคนพิการที่อยู่ในช่วงวัยทำงานคือ 16-60 ปี อยู่จำนวน 8 แสนกว่าคน ในจำนวนนี้แยกเป็นคนพิการที่มีงานทำแล้ว 2.7 แสนคน และยังไม่มีงานทำอีก 5 แสนกว่าคน เราจึงมองว่าจะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้ได้เปลี่ยนจากภาระเป็นพลังอย่างยั่งยืน จึงจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาให้เขามีศักยภาพ มีอาชีพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และลุกขึ้นมาช่วยครอบครัวและสังคมต่อไป” ศ.วิริยะกล่าว

ศูนย์ฝึกอาชีพได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้รับองค์ความรู้จากสถาบันอาหาร และขับเคลื่อนโดยมูลนิธิ โดยอบรมอาชีพให้คนพิการไปแล้ว 2 รุ่น จำนวน 260 คน ใน 3 อาชีพ ได้แก่ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพาะเห็ดนางฟ้า และเลี้ยงจิ้งหรีด อีกทั้งได้ร่วมมือกับบริษัทซีพี ในการนำผลิตภัณฑ์ไปขายในห้างแม็คโครในเขตจังหวัดภาคเหนือ หรือเกษตรกรสามารถนำไปขายเองได้ตามตลาดชุมชน โดยจากผลการดำเนินงานปีแรกเป็นไปตามความคาดหวัง คนพิการมีทักษะ มีรายได้ ชีวิตเปลี่ยนจากหลังมือเป็นหน้ามือ

น.ส.รุ่งรวิภา โปธิวงค์ อายุ 33 ปี ชาว อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งประสบอุบัติเหตุจากการขับมอเตอร์ไซค์เมื่ออายุ 21 ปี ทำให้ต้องดามเหล็กที่ขาเคลื่อนไหวไม่สะดวก กล่าวว่า ช่วงแรกที่ประสบอุบัติเหตุ แทบไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อเลย เพราะจากที่เคยทำอะไรได้เอง ก็ต้องนอนให้แม่ดูแลอย่างเดียว เป็นภาระให้ท่าน

“โชคดีที่ได้กำลังใจที่ดีจากแม่และคนรอบตัว โดยเฉพาะคำพูดที่ว่าไม่ว่าลูกจะเป็นอะไร เกิดเป็นลูกแม่แล้ว แม่จะดูแลเอง ก็ทำให้เริ่มยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง”

หลังจากนั้นเธอก็เริ่มหางานทำด้วยการ “เย็บผ้า” หารายได้ แต่ก็ทำไม่ค่อยไหว เพราะนั่งไม่ได้นานก็ปวดขา กระทั่งได้เข้าไปฝึกอาชีพกับศูนย์ในรุ่นที่ 2 เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา

“ตลอดหลักสูตร 3 เดือน ได้เรียนรู้การปลูกผัก เพาะเห็ด และเลี้ยงจิ้งหรีด ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งได้เรียนรู้เรื่องการตลาด การขาย การทำแพคเกจ ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นก็เริ่มเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริมของพ่อแม่ และเตรียมปลูกผักและเพาะเห็ดตามที่ได้ฝึกอบรมมาด้วย”

จากที่ชีวิตมืดมน แต่เมื่อเธอยิ้มสู้กับชะตาชีวิต ชีวิตของรุ่งรวิภาก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

“วันนี้ที่มีรายได้ ดิฉันรู้สึกมีความสุขมาก ขณะนี้ยังกลับมาเป็นพี่เลี้ยงในศูนย์ฝึกอบรม ยิ่งได้สอนก็ยิ่งมีความสุข ฝากถึงคนพิการว่าเราต้องมีดีสักอย่างแน่นอน หากยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นและลองลุกขึ้นสู้” รุ่งรวิภากล่าวด้วยสีหน้าภูมิใจ

อีกหนึ่งผู้แข็งแกร่งยิ้มสู้ให้กับทุกอุปสรรคที่เข้ามา นายนิพนธ์ ตาซา อายุ 31 ปี ชาว อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้ฝึกอบรมอาชีพรุ่นที่ 1 และกลับไปประกอบอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดขายเป็นล่ำเป็นสัน จนมีรายได้ต่อเดือนสองหมื่นกว่าบาท กล่าวทั้งรอยยิ้มว่า ก่อนหน้านี้อยู่บ้านไม่ได้ทำอะไรเพราะมีพ่อคอยหาเลี้ยง กระทั่งพ่อมาเสียชีวิต เหลือตนกับแม่ที่สุขภาพไม่แข็งแรงทำงานหนักไม่ได้

“พอพ่อเสีย ผมก็เกิดความกดดันว่าจะอยู่ต่อไปอย่างไร กระทั่งโครงการได้มาเชิญชวนไปฝึกอบรม และออกมาลองทำเป็นอาชีพเสริม ปรากฏว่าจิ้งหรีดที่เลี้ยงอยู่ 4 บ่อปูนขายดีมาก ลำพังขายในตลาดชุมชนยังแทบไม่พอ” เขาว่าอย่างเปี่ยมสุข

นิพนธ์ตั้งใจจะขยายไปปลูกผักและเพาะเห็ดขายตามที่ได้เรียนมา เพื่อทำให้มีรายได้หมุนเวียนหลายทาง

“ศูนย์ฝึกแห่งนี้ไม่เพียงสอนทักษะอาชีพ แต่ปรับวิธีคิดให้ผมลุกขึ้นสู้ ซึ่งวันนี้ผมเหมือนมีชีวิตใหม่ เมื่อก่อนไม่มีใครรู้จักและสนใจผม แต่วันนี้ผมเป็นที่รู้จัก เพราะทำหน้าที่แนะนำคนที่มาศึกษาดูงานเลี้ยงจิ้งหรีด จึงรู้สึกภูมิใจที่คนเล็กๆ คนหนึ่งได้มีโอกาสตรงนี้” นายนิพนธ์กล่าว

มูลนิธิยังเตรียมเพิ่มฝึกวิชาชีพ ได้แก่ ปลูกข้าวและกล้วยที่กำลังมาแรง และเพื่อให้คนพิการก้าวเดินบนเส้นทางอาชีพอย่างยั่งยืน

ศ.วิริยะเชิญชวนคนไทยให้มาร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ยิ้มสู้ที่ช่วยคนพิการ อีกทั้งเตรียมหาลู่ทางขายในตลาดออนไลน์ และขยายตลาดส่งออกไปเมืองจีน อาจารย์วิริยะเชื่อว่า “รุ่งแน่นอน”

อีกหนึ่งแบรนด์ที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนจากภาระเป็นพลังอย่างยั่งยืน! นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางการดูแลราคายางพารารวม 7 โครงการ ภายใต้ราคาเป้าหมาย 65 บาท/กิโลกรัม (ก.ก.) ซึ่ง 5 โครงการอนุมัติตามมติ คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 ดังนี้คือ 1. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพาราวงเงิน 10,000 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายเบี้ยประกัน 0.36% ต่อปี หรือ 36 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลา 3 ปี รวม 108 ล้านบาท เดิมครม. ให้ใช้เงินจากกองทุนพัฒนายางพารา แต่กนย. เห็นว่าตามกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้ จึงเสนอครม. ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณค่าเบี้ยประกันแทน และสนับสนุนค่าบริหารโครงการ 0.14% ด้วย

2. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยางวงเงิน 20,000 ล้านบาทเป้าหมายดูดซับยาง 350,000 ตัน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนม.ค. 2561-ธ.ค. 2562 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ไม่เกิน 3% ต่อปี

3. โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้สำรวจปริมาณความต้องการใช้ยางของหน่วยงานรัฐใน 7 กระทรวงมีเป้าหมาย 200,000 ตัน จะใช้งบประมาณรับซื้อยางใหม่จากเกษตรกร 12,000 ล้านบาท โดยใช้งบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

4.โครงการควบคุมปริมาณผลผลิต มีเป้าหมายจะลดพื้นที่การปลูกยางถาวร 200,000 ไร่ และลดพื้นที่ปลูกยางชั่วคราวอีก 200,000 ไร่ รวม 400,000 ไร่ โดยใช้เงินจากกองทุนพัฒนายางพารา และลดปริมาณผลผลิตยางของหน่วยงานภาครัฐที่มีสวนยางจำนวน 121,000 ไร่ ใช้งบกลางมาดำเนินการ 303 ล้านบาท และ
5.โครงการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางระหว่างกยท.และผู้ส่งออกรายใหญ่ 5 บริษัท มีเงินตั้งต้น 1,200 ล้านบาท มอบหมายให้กยท.หารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนไปตั้งกองทุนต่อไป

และ ทบทวนมติครม.เดิม 2 โครงการ คือ โครงการสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางสำหรับขยายกำลังการผลิตหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ให้กับผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางชั้นปลายน้ำ ส่วนนี้ครม. เคยอนุมัติวงเงินสินเชื่อไว้แล้ว 15,000 ล้านบาท และกำหนดให้สมัครเข้าร่วมโครงการถึงเดือนก.ย. 2559 ขณะนี้ยังเหลือวงเงินอยู่ 6,112 ล้านบาท จึงให้ขยายเวลารับสมัครไปถึงเดือนมิ.ย. 2561

สำหรับอีกโครงการคือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางให้สถาบันเกษตรกร ซึ่งกำหนดวงเงินสินเชื่อไว้ 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี รัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% และกองทุนพัฒนาสหกรณ์ สนับสนุนดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร 0.49% ต่อปี เนื่องจากตามพ.ร.บ.สหกรณ์กำหนดให้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ช่วยเหลือได้เฉพาะสถาบันเกษตรกรที่เป็นสหกรณ์เท่านั้น ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชนไม่สามารถรับเงินอุดหนุนดอกเบี้ยจากกองทุนนี้ได้ ครม. จึงมีมติให้รัฐสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยให้กลุ่มเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชนในอัตรา 0.49% แทนกองทุนพัฒนาสหกรณ์

ด้านพล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้หารือถึงประเด็นที่ให้กยท. รับซื้อยางจากเกษตรกรแล้วให้หน่วยงานรัฐมาซื้อยางจากกยท. ไปใช้ในโครงการต่างๆ นั้น อาจเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดซื้อจัดจ้างปี 2560 ตามมาตรา 9 เรื่องการล็อกสเปก จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือกันอีกครั้งในข้อกฎหมาย หากไม่ขัดกฎหมายให้ดำเนินการได้ทันที แต่หากขัดกฎหมายจะใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ให้หน่วยงานรัฐซื้อยางจากกยท. ไปใช้งานได้

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มราคาตก เนื่องจากปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบมีจำนวนมากกว่า 500,000 ตัน และคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) โดย คณะอนุกรรมการบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ตามมติ กนป. โดยลดปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 200,000 ตัน ภายในเดือนธ.ค. 2560 โดยให้ผู้ส่งออก โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเร่งส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 100,000 ตัน และให้กระทรวงพลังงานประสานผู้ค้าน้ำมันซื้อน้ำมันปาล์มดิบไปผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อสต๊อก จำนวน 100,000 ตัน นอกเหนือจากที่ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 สำรองไว้เดิม

นอกจากนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาให้การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกการส่งออก เช่น การขนส่งน้ำมันปาล์มและเรือในการส่งออก ในส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) หารือร่วมกับเกษตรกรและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม กำหนดแนวทางการช่วยเหลือเพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาที่ดีขึ้น โดยเน้นการผลิตปาล์มคุณภาพ

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม เวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งขณะนี้ทุกพื้นที่มีอากาศที่หนาวลงอย่างต่อเนื่อง เป็นวันที่ 3 โดยเช้านี้วัดอุณหภูมิได้ต่ำสุดที่ 13 องศา จึงทำให้มีสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งวัน และจะหนาวเย็นจัดในช่วงเช้าตรู่และช่วงค่ำ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องหาเสื้อกันหนาวมาสวมใส่เพื่อบรรเทาความหนาวเย็นแล้วนั้น ยังส่งผลต่อสัตว์อีกด้วย

โดยฝูงลิงแสมจำนวนนับพันตัว thehistoryof.net ที่อาศัยอยู่ภายในถ้ำและบนเขาปฐวี ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอุทัยธานี ที่ได้รับสภาพความหนาวเย็นจัดดังกล่าว จนไม่ยอมออกมาจากภายในถ้ำเพื่อกินอาหาร หรือปีนป่ายต้นไม้เล่นอย่างเช่นเคย ทางพระสงฆ์ วัดเขาปฐวี และชาวบ้านจิตอาสาที่ดูแลลิงแสมดังกล่าวนั้น ต้องทำการก่อกองไฟไว้ตามจุดต่างๆ ทั้งที่บริเวณวัด และรอบๆ เขาที่ลิงแสมจะลงมา เพื่อให้ลิงนั้นออกมานั่งล้อมวงผิงไฟให้ร่างกายอบอุ่นคลายความหนาวเย็น

ซึ่งตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่จนถึงขณะนี้ บรรดาลิงแสมที่ลงมาหากินอาหาร จึงออกมานั่งผิงไฟคลายความหนาวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นภาพความน่ารัก ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างพระสงฆ์และชาวบ้าน ที่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับลิงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

วันที่ 20 ธันวาคม นายจรัญ สุขดี เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่บ้านร่องไผ่ ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่กว่า 4,000 ตัว เลี้ยงไก่มากว่า 5-6 ปี เลี้ยงในรูปแบบเป็นโรงเลี้ยงเปิดเป็นกรง 2 ชั้น ทั้งนี้สังเกตว่า หากอากาศร้อนไก่จะเครียด ไม่กินอาหาร ปริมาณไข่จะลดลง และไข่จะฟองเล็ก แต่ละวันจะเก็บไข่ได้ 70-80 แผงๆ ละ 30 ฟอง เฉลี่ยวันละ 2.5 ฟอง แต่ล่าสุดสภาพอากาศหนาวส่งผลดีต่อธุรกิจเลี้ยงไก่อย่างชัดเจนเป็นอย่างมาก ไก่แต่ละตัวมีสุขภาพดีกินอาหารได้มาก ส่งผลทำให้ไข่ก็เพิ่มขึ้น และฟองใหญ่ขึ้น ทำให้แต่ละวันสามารถเก็บไข่ได้เพิ่มจากเดิมวันละ 2.8 ฟองมาเป็น 3.0 ฟองหรือกว่า 20% เฉลี่ยแล้ววันละกว่า 100 แผง จากเดิมวันละ 70-80 แผงต่อวัน

นายปิยะศักดิ์ อ้องแสนคำ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาพะเยา จ.พะเยา กล่าวว่า สภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.พะเยา ภาพรวมอากาศหนาวพบว่า อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส มีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาฯ อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 2-4 องศาฯ ทำให้มีน้ำค้างแข็งหรือเหมยขาบเป็นบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม.และในพื้นที่พะเยา 68 ตำบล 9 อำเภอ อุณหภูมิต่ำสุด 13 องศาเซลเซียส

นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำมาตั้งแต่ปี 2559 คณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้พิจารณาข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำ อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นธรรม กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสับปะรด โดยพิจารณาแนวทางดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต 1.ขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกสับปะรดต้องระบุชัดเจน ดังนี้ ระบุประเภทของสับปะรดว่าเป็นการปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูป หรือเพื่อการบริโภคผลสด , ระบุสายพันธุ์ของสับปะรด และระบุจำนวนพื้นที่ที่ปลูกสับปะรดสายพันธุ์นั้นให้ชัดเจน , ระบุปริมาณการเก็บเกี่ยว โดยแยกตามรอบการตัดสับปะรด เนื่องจากต้นทุนผลิตในแต่ละรอบการตัดไม่เท่ากัน , และระบุสิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง