เชื่อว่าราคามะกรูดจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคต

เพราะเป็นสินค้าขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออก ไม่ว่าจะเป็นใบมะกรูด และลูกมะกรูด เพราะมะกรูดเป็นพืชสมุนไพรคู่ครัวอาหารไทย ในเมนูอาหารต้มยำ เป็นส่วนผสมในเมนูเครื่องแกง อุตสาหกรรมน้ำพริกเผา ฯลฯ แล้ว มะกรูดยังเป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและธุรกิจน้ำมันหอมระเหย จึงนับได้ว่า มะกรูดเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะปลูกดูแลง่ายกว่าการทำสวนมะนาว แถมราคาซื้อขายคงที่ไม่หวือหวาเหมือนกับราคาผลมะนาว

ตลาดมะกรูดกว้างมาก

ในอดีต คุณแม่ของคุณสันติ มุ่งเก็บลูกมะกรูดและตัดใบมะกรูดออกขายเท่านั้น ระยะหลังได้ผลิต “กิ่งมะกรูดตอน” ออกขายเพิ่มขึ้น เพื่อขยายช่องทางการขายให้กว้างขวางมากขึ้น คุณสันติ บอกว่า คุณแม่ของผมเชี่ยวชาญในเรื่องการผลิตกิ่งตอนมาก ประกอบกับมะกรูดที่ปลูกเป็นพันธุ์เกษตรใบใหญ่ ที่ให้ผลดก เติบโตแข็งแรง ปลูกดูแลง่าย ทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงมาติดต่อขอซื้อกิ่งมะกรูดตอนจากสวนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้ คุณสันติ ผลิตกิ่งมะกรูดพันธุ์เกษตร ที่มีลักษณะเด่น ในเรื่องลูกดก ใบใหญ่ จำหน่ายให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป โดยกิ่งมะกรูดชำบรรจุในถุงดำ จำหน่ายในราคา กิ่งละ 25-35 บาท ส่วนกิ่งตอนตุ้ม ขนาด 30-40 เซนติเมตร จำหน่ายในราคากิ่งละ 10 บาท กิ่งตอนตุ้ม 50 เซนคิเมตร ราคา 15 บาท กิ่งตอนตุ้ม 70 เซนติเมตรขึ้นไป ขายในราคากิ่งละ 20 บาท

ต้นมะกรูด ปลูกดูแลง่าย

คุณสันติ บอกว่า สมัยก่อน พ่อแม่จับจองพื้นที่เอาไว้ ประมาณ 100 กว่าไร่ แบ่งสรรเป็นที่ดินมรดกให้ลูกๆ จำนวน 5 คน ทำสวนมะกรูดเป็นรายได้เลี้ยงดูครอบครัวละ 50 ไร่ นอกจากนี้ ผมยังมีลูกไร่ปลูกมะกรูดส่งขายให้อีกเพราะอาชีพการทำสวนมะกรูดสร้างรายได้ที่ดีมากกว่าการทำนา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง

เนื่องจากต้นมะกรูด ปลูกดูแลง่าย ไม่ต้องค่อยไถค่อยพรวนดินบ่อยๆ เสมือนเสือนอนกินระยะยาว ไม่เหนื่อยมาก แต่มีรายได้เข้าตลอด เกษตรกรที่ปลูกมะกรูด จะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 200-300 บาท ต่อต้น ต้นมะกรูด ยิ่งอายุมาก ต้นยิ่งโตใหญ่ ยิ่งมีโอกาสขายทำเงินได้มากขึ้น ทั้งขายใบทั้งขายลูก หากขายเป็นกิ่งพันธุ์ ราคาขายไม่ต่ำกว่า 10 บาท หากเป็นกิ่งสวยๆ ขนาด ประมาณ 10-15 เซนติเมตร จะขายได้กิ่งละ 15 บาท

ส่วนใบมะกรูดขายได้ที่ กิโลกรัมละ 15 บาท ราคาก็ปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นกิโลกรัมละ 20 บาท จนถึง กิโลกรัมละ 35 บาท ก็เคยขายได้มากแล้ว โดยทั่วไปเกษตรกรสามารถขายใบมะกรูดได้ในราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ราคาซื้อขายใบมะกรูดจะยืนราคาสูงที่กิโลกรัมละ 25-35 บาท ทีเดียว ส่วนผลมะกรูดในช่วงฤดูฝนจะขายได้ในราคาประมาณ ร้อยละ 80-90 บาท

ทั้งนี้ การปลูกมะกรูดไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลง ดูแลรักษาง่าย ที่นี่ปลูกต้นยูคาลิปตัสบริเวณสวนมะกรูด เพื่ออาศัยกลิ่นเหม็นของต้นยูคาลิปตัสไล่แมลงอีกทางหนึ่ง หากใครคิดจะปลูกมะกรูดระยะชิด ควรปลูกไร่ละ 800 ต้น หากจะให้เหมาะสม ควรปลูกระยะ 2×2 จะได้ต้นมะกรูดจำนวน 400 ต้นพอดี และควรให้น้ำในระบบมินิสปริงเกลอร์ โดยฉีดพ่นน้ำให้ชุ่มเพียงวันละครั้งก็เพียงพอแล้ว

จากการพูดคุยกับคุณสันติ ทำให้เห็นว่า อาชีพการทำสวนมะกรูดง่ายไม่ยุ่งยากอะไรเลย เพียงแต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ในระยะแรกๆ ที่ต้นมะกรูดยังเล็กอยู่เท่านั้น ด้านตลาดก็หายห่วง มีแต่คนอยากซื้อมะกรูด ปลูกเท่าไรก็ไม่พอขาย เรียกว่าซื้อง่ายขายคล่อง หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถที่ต่อสอบถามได้ที่คุณสันติ โดยตรง ที่โทร. 087-161-2074 และ 093-682-1067 รับรองไม่ผิดหวัง ได้กิ่งพันธุ์คุณภาพดี ราคาไม่แพง

จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็เป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพ ปัจจุบัน มีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงกว่า 2,500 ไร่ ผลผลิตรวมกว่า 4,000 ตัน มูลค่าเฉียด 70 ล้านบาท เกษตรกรในพื้นที่หันมารวมกลุ่มผลิตเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี และประเทศแถบยุโรป นับเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือกที่สร้างรายได้งามให้กับเกษตรกร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการวิเคราะห์เศรษฐกิจสินค้าเกษตร ตามโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) ซึ่งจากการติดตามสินค้าเกษตรทางเลือกของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 (สศท.4) พบว่า จังหวัดมีศักยภาพในการผลิตมะม่วง ปลูกมะม่วงหลายสายพันธุ์เพื่อเป็นพืชทางเลือก เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ และมหาชนกที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และประเทศแถบยุโรป

ปัจจุบัน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง ได้แก่ อำเภอหนองกุงศรี ห้วยเม็ก ท่าคันโท ร่องคำ ยางตลาด และกมลาไสย จำนวน 2,532 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 1,728 ไร่ ผลผลิตรวม 4,463 ตัน มูลค่า 69.94 ล้านบาท มะม่วงที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานจะส่งไปขายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี โดยมีบริษัทเอกชนรับซื้อมะม่วงจากเกษตรกรในปริมาณไม่จำกัด ขอเพียงสามารถผลิตมะม่วงให้ได้ตามคุณภาพเพื่อการส่งออกเท่านั้น โดยมะม่วงน้ำดอกไม้เกษตรกรสามารถขายส่งบริษัทรับซื้อได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.16 บาท ส่วนมะม่วงมหาชนก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.7 บาท

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงส่งออก ตำบลสำราญ เลขที่ 215 หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี คุณสุดจรัส พันกุล เป็นประธาน ซึ่งมีการผลิตมะม่วงคุณภาพส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และประเทศแถบยุโรป วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงส่งออก ตำบลสำราญ เริ่มจดทะเบียนดำเนินการเมื่อปี 2558

ปัจจุบัน มีสมาชิกประมาณ 147 ราย พื้นที่เพาะปลูกมะม่วง ประมาณ 1,700 ไร่ มะม่วงที่ปลูกมีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน อาทิ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 เขียวเสวย และโชคอนันต์ เป็นต้น แต่พันธุ์ที่เป็นที่นิยมสำหรับประเทศส่งออกจะเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งมะม่วงที่นี่จะเป็นที่นิยมและเป็นที่ติดใจในตลาดต่างประเทศ ทั้งด้านรสชาติ และลักษณะเนื้อมะม่วงแน่น

สำหรับ ปี 2559/60 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงส่งออก ตำบลสำราญ มีพื้นที่ให้ผลผลิตมะม่วง ประมาณ 800 ไร่ ผลผลิตส่งออก 333.78 ตัน มูลค่า 6.2 ล้านบาท ส่งออกผ่านบริษัทไปประเทศต่างๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และประเทศแถบยุโรป และสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูได้ ซึ่งใน 1 ปี มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ 10 เดือน (ยกเว้นเดือนกันยายน-ตุลาคม) มีการแนะนำให้สมาชิกกลุ่มเพาะพันธุ์มะม่วงป่าเป็นต้นตอ และเสียบกิ่งเมื่ออายุต้นตอได้ประมาณ 1 ปี หลังจากเสียบยอดแล้ว อีกประมาณ 3 ปี ก็จะได้ผลผลิต

มีการบริหารจัดการน้ำโดยการใช้น้ำบาดาล และมีแนวคิดที่ว่าผลิตแบบคุณภาพและตามความต้องการของตลาด รวมกลุ่มโดยยึดการตลาดนำการผลิต ทั้งนี้ ท่านที่สนใจเรื่องการทำมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางกลุ่มวิสาหกิจ ติดต่อได้ที่ คุณสุดจรัส พันกุล ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงส่งออก ตำบลสำราญ ยินดีให้คำแนะนำได้ ที่เบอร์โทรศัพท์ (099) 931-9508

ปัจจุบัน เกษตรกรทั้งรายใหม่และรายเก่า ได้มีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรมากขึ้น โดยเน้นผลิตสินค้านำตลาดที่สามารถจำหน่ายได้แน่นอน ส่งผลให้พืชที่ปลูกออกมาแต่ละรอบการผลิตไม่ล้นตลาด แถมยังจำหน่ายได้ราคา จึงมีผลกำไรไม่เกิดหนี้สินทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน

คุณพศิณ พิมมะรัตน์ เป็นเกษตรกรที่ได้เรียนรู้การผลิตสินค้านำตลาด โดยปลูกมะเขือเทศเชอรี่ให้มีคุณภาพ เป็นพืชปลอดสารพิษ พร้อมทั้งใช้ปุ๋ยชีวภาพเสริมในเรื่องของการเจริญเติบโต ทำให้มะเขือเทศเชอรี่ทุกผลมีรสชาติดี และที่สำคัญตลาดมีความต้องการผลผลิตที่เขาปลูก จนบางช่วงสินค้ามีไม่เพียงพอต่อความต้องการเลยทีเดียว

อยากทำงานด้านการเกษตร

โดยมีแรงบันดาลใจจาก ในหลวง ร.9

คุณพศิณ เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักที่ทำอยู่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับงานเกษตรเลยแม้แต่น้อย และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีโอกาสได้ดูสารคดีต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับในหลวงรัชกาลที่ 9 เห็นพระองค์ท่านทรงงานและมีโครงการที่เกี่ยวกับด้านการทำเกษตรเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้รับแรงบันดาลใจว่างานด้านเกษตรนี้เป็นเหมือนอาชีพหลักของคนไทย ทำให้เริ่มมีความสนใจและอยากเรียนรู้การทำเกษตรมากขึ้น จึงได้เข้าอบรมและศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาทำเกษตรในพื้นที่บ้านของเขาเอง

“พอเรามีเวลาใครชวนไปอบรมในเรื่องอะไร เราก็จะไปเพื่อศึกษาหาองค์ความรู้ ช่วงแรกๆ มีโอกาสไปเรียนรู้การปลูกพืชแบบอินทรีย์ พอเสร็จแล้วเราก็นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับพื้นที่บ้านของเรา มาปลูกพืชแบบอินทรีย์ ช่วงแรกๆ ปลูกผักถึง 22 ชนิด การดูแลค่อนข้างมีปัญหา ต่อมาได้ปรับเปลี่ยน ปลูกพืชที่ตลาดมีความต้องการ อย่าง มะเขือเทศเชอรี่ เราก็ปลูกอยู่และได้รสชาติที่ดี จึงได้หันมาปลูกมะเขือเทศเชอรี่อย่างเดียว และปลูกให้มีคุณภาพ ปัจจุบัน ทำให้พืชตัวนี้เป็นสินค้าหลักของสวนเรา และลูกค้ามีความต้องการสูง” คุณพศิณ เล่าถึงที่มาของการทำเกษตร

มะเขือเทศเชอรี่ จึงเป็นพืชหลักของเขา ที่ส่งจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้าและลูกค้าที่มาติดต่อขอซื้อเพียงอย่างเดียว โดยทำสินค้าให้มีคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือเรียกง่ายๆ ว่าหากจะรับประทานมะเขือเทศเชอรี่ที่อร่อยต้องมาซื้อที่นี่เพียงที่เดียว

เพื่อบำรุงต้นมะเขือเทศ

ในเรื่องของการปลูกมะเขือเทศเชอรี่ให้ได้คุณภาพนั้น คุณพศิณ บอกว่า หากมีการจัดการที่ดีมะเขือเทศเชอรี่ก็ไม่ใช่พืชที่ปลูกยากอย่างที่คิด โดยที่สวนของเขาเน้นปลูกแบบปลอดสารพิษ มีการสร้างโรงเรือนและปลูกพืชอยู่ภายใน จึงทำให้ไม่มีแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลาย ซึ่งโรงเรือนมีขนาดอยู่ที่ 7×15 เมตร ความสูงอยู่ที่ 3 เมตร หลังคาโรงเรือนคลุมด้วยพลาสติก ความหนา 150 ไมครอน และด้านข้างล้อมด้วยตาข่ายกันแมลงทั้งหมด

“ก่อนที่จะนำต้นมะเขือเทศเชอรี่มาปลูกในโรงเรือน จะเพาะกล้าแยกไว้ก่อน พอกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็จะนำเข้ามาปลูกภายในโรงเรือน ปลูกลงในวัสดุปลูก วางได้ 4 แถว หรือทั้งหมดประมาณ 140 ต้น ต่อ 1 โรงเรือน โดยการให้น้ำทั้งหมด จะเน้นเป็นระบบน้ำหยด วันละ 1 ครั้ง แต่ช่วงที่ปลูกในโรงเรือนใหม่ๆ 45 วันแรก ต้องรดน้ำด้วยสายยางเข้ามาช่วย เพราะช่วงนี้ต้องการน้ำปริมาณมาก และจะทำให้รากมะเขือเทศกระจายได้ทั่ววัสดุปลูกอีกด้วย” คุณพศิณ บอก

เมื่อต้นมะเขือเทศเชอรี่เริ่มมีความแข็งแรง จะจับยอดให้เลื้อยขึ้นกับหลักที่เตรียมไว้ จากนั้นฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพทุก 3-4 วันครั้ง ให้ทั่วบริเวณโรงเรือนเพื่อบำรุงทางใบ ส่วนธาตุอาหารทางรากจะใส่จุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ดูแลอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนมะเขือเทศเชอรี่ได้อายุ 60-70 วัน พืชจะเริ่มออกดอก หลังจากนั้นอีก 1 เดือน จะมีผลผลิตให้เก็บจำหน่ายได้

ซึ่งผลผลิตที่ออกมาสามารถเก็บจำหน่ายได้เกือบทุกวัน เป็นเวลานานถึง 3 เดือน หลังจากนั้นจะรื้อต้นเก่าทิ้งและเริ่มปลูกใหม่ในรุ่นต่อไป

ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคในมะเขือเทศเชอรี่นั้น คุณพศิณ บอกว่า จะใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ เช่น เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อไตรโคเดอร์ม่า และอื่นๆ อีกหลายชนิด เพื่อเป็นการป้องกันโรคและแมลง จะไม่มีการใช้สารเคมีเด็ดขาด เพราะจากประสบการณ์ที่ได้ปลูกมะเขือเทศเชอรี่มา การใช้สารเคมีส่งผลต่อรสชาติของมะเขือเทศให้เปลี่ยนไป มีรสสัมผัสที่ไม่อร่อยคงเดิม

และมีลูกค้าซื้อถึงหน้าสวน

ในเรื่องของการทำตลาดจำหน่ายมะเขือเทศเชอรี่ คุณพศิณ บอกว่า เกิดจากช่วงแรกที่มีลูกค้าได้มาซื้อผักอินทรีย์ภายในสวน และได้ลองรับประทานมะเขือเทศเชอรี่และติดใจในรสชาติ ก็ยังเป็นลูกค้าประจำซื้อขายกันอยู่เสมอ และลูกค้าบางส่วนเกิดจากการบอกกันไปปากต่อปาก จึงทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางช่วงมะเขือเทศเชอรี่ที่ผลิตในสวนมีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

“โดยการปลูกเราก็จะวางแผนให้มีผลผลิตต่อเนื่อง ขั้นต่ำที่ส่งจำหน่าย อยู่ที่ 50-100 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ โดยผลผลิตแต่ละครั้งจะค่อนข้างพอดี ตามแผนที่วางไว้ จะไม่ผลิตเกินต่อความต้องการ ดังนั้น เราจึงไม่มีของเหลือหรือเกินอายุส่งให้ลูกค้าแน่นอน ราคามะเขือเทศเชอรี่สีแดง ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 170 บาท ส่วนสีเหลือง ขายที่กิโลกรัมละ 300 บาท ซึ่งการเก็บแต่ละครั้งก็จะนำมาคัดไซซ์อีกครั้ง เพื่อให้ได้ขนาดผลเล็ก ผลกลาง และผลใหญ่ ตามความชอบของลูกค้าแต่ละคน” คุณพศิณ บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตรเป็นอาชีพสร้างรายได้นั้น คุณพศิณ แนะนำว่า ให้เลือกพืชชนิดใดก็ได้ที่ตลาดนิยม แต่ต้องมีการปลูกให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ พร้อมทั้งหมั่นศึกษาและทดลองลงมือทำด้วยตนเองอยู่เป็นประจำ ช่วยให้เกิดเป็นประสบการณ์และความชำนาญ ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ และจำหน่ายได้ราคาดี เกิดเป็นอาชีพที่ทำได้อย่างต่อเนื่อง

สนใจศึกษาดูงานและปรึกษาเรื่องการปลูกมะเขือเทศเชอรี่แบบคุณภาพ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณพศิณ พิมมะรัตน์ ณ ตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง หมายเลขโทรศัพท์

สะเดา “มันทะวายยอดแดง” หนึ่งปีออกดอกถึงสามครั้ง รสชาติดี ขมน้อย หนึ่งเดียวที่กลางดง เจ้าของ คุณสุธิชาญ สุขจันทา เริ่มปลูกขยายพันธุ์เพียงต้นเดียว

คุณสุธิชาญ สุขจันทา อยู่บ้านเลขที่ 135/4 หมู่ที่ 11 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คุณสุธิชาญ เล่าว่า ตนเป็นคนปลูกสะเดามันทะวายยอดแดง คนแรกของอำเภอกลางดง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังหาคนปลูกสะเดาพันธุ์นี้ได้น้อยมากอยู่เหมือนเดิม ด้วยความที่พันธุ์ค่อนข้างหายาก ได้พันธุ์มาจาก อาจารย์ประเวช ไชยวงศ์ ท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ที่ตนได้เรียนจบออกมา อาจาร์ยท่านให้มาแค่ 1 ต้น ตอนนั้นยังไม่คิดอะไร เห็นแม่ชอบกินสะเดาจึงเอาไปให้แม่ปลูก พอโตแม่เก็บมากิน รสชาติกลับดี กินสดๆ ได้ ไม่ขม ปลูกไว้ข้างรั้วเพื่อนบ้านมาเก็บกินยังติดใจ

จากมนุษย์เงินเดือนสู่เกษตรกรเต็มตัว

เจ้าของบอกว่า หลังจากที่ได้ลองชิมสะเดา ตอนนั้นก็คิดเพียงว่าอร่อยดี ยังไม่มีวี่แววว่าอยากจะปลูกหรือขยายพันธุ์เพิ่ม เนื่องจากตัวเจ้าของเองยังทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ แต่เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของการทำงานเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่ใช่ชีวิตตัวเอง เราอยากได้อิสระ จึงเริ่มคิดมองหาอาชีพอื่น ขณะนั้นฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าที่บ้านตัวเองมีสะเดารสชาติดีที่หาซื้อที่ไหนก็ไม่ได้อย่างนี้ มีของดีอยู่ในมือทำไมถึงไม่รีบคว้าเอาไว้ หลังจากนั้นจึงตัดสินใจลาออกจากงานมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว และคิดว่าการทำเกษตรคงไม่ไกลตัวไปนัก เพราะเรียนจบทางด้านการเกษตรอยู่แล้วด้วย

ก่อนที่จะปลูกสะเดาเคยปลูกพืชล้มลุกมาก่อนคือ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เมื่อทำไปรู้สึกว่าทำแล้วไม่ได้อะไร เหมือนทำให้คนอื่นมากกว่า จึงนึกไปถึงสะเดาของดีมีอยู่ในมือให้รีบคว้าเอาไว้

เริ่มปลูกสะเดามาเป็นระยะเวลา 6 ปี สะเดาต้นแรกปลูกเมื่อปี 35 เริ่มขยายพันธุ์ปลูกมาเรื่อยๆ ตอนนี้ปลูก จำนวน 10 ไร่ เป็นสะเดามันทะวายยอดแดง

จุดเด่น สามารถกินดิบได้ ทนแล้ง 1 ปี ออกดอกได้ 3 รอบ สมัครเว็บบาคาร่า เทียบกับพันธุ์ทั่วไป 1 ปี ออกแค่ครั้งเดียว หากินยาก ราคาดี สะเดา เป็นพืชปลูกง่าย ทนแล้ง ยิ่งแล้งยิ่งออกดอกดี การปลูกปลูกได้หลายวิธี จะปลูกแบบชำต้นพอต้นสมบูรณ์แล้วค่อยเอาลงดิน หรือปลูกแบบเสียบยอดก็ได้ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ให้ผลรับออกมาเหมือนกัน

การเตรียมดิน เตรียมดินเหมือนปลูกพืชทั่วไป ไถเตรียมแปลง แล้ววัดระยะหลุม 4×4 เมตร ลักษณะดินที่เหมาะสมกับการปลูก เป็นดินที่น้ำไม่ท่วมขัง น้ำไม่แฉะมาก เติบโตได้ดีในดินลูกรัง

ช่วงเวลาที่เหมาะสม แนะให้เลือกปลูกช่วงต้นฤดูฝน สำหรับคนที่ยังไม่มีระบบน้ำ พอผ่านฝน ต้นสะเดารากเดินแล้ว ตรงนั้นถือว่าไม่มีปัญหา ถือว่ารอดตายแล้ว

ปุ๋ย ให้ปีละครั้งหรือสองครั้งก็ได้ ตามที่เจ้าของสะดวก ของผมใส่ปุ๋ยปีละครั้ง เป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือหากใครพอมีกำลังจะใส่ปุ๋ยเคมี หรือน้ำหมักฉีดทางใบก็ได้

ระบบน้ำ ตอนนี้ที่สวนอาศัยเทวดาเลี้ยง เนื่องจากที่บ้านหากจะใช้น้ำปลูกต้องขุดบ่อบาดาลลึกมาก โชคดีที่สะเดาเป็นพืชทนแล้ง มีน้ำจากหน้าฝนรดให้เขาแค่นี้ก็อยู่ได้แล้ว แต่สำหรับท่านที่ระบบชลประทานเข้าถึงอยาก ทำให้ออกดอกตลอดทั้งปี แนะให้ทำระบบน้ำ เราจะสามารถบังคับการปลูกได้

การบังคับสะเดาให้แตกยอด เจ้าของบอกว่า ต้องมีระบบน้ำช่วย ครั้งแรกให้ปุ๋ยสูตรเสมอก่อน ให้น้ำแค่ 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน หลังจากนั้นสะเดาจะแตกยอดอ่อน รอจนกว่าใบจะเพสลาด ให้ใส่ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-54-32 แล้วรดน้ำตามอีกครั้ง พอใบเริ่มแก่แทงตาดอกให้ใส่ปุ๋ย สูตร 13-0-46 อีกครั้ง

โรคแมลง ไม่มี เพราะในใบและเมล็ดสะเดามีสารอะซาไดแรคติน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง

ระยะเวลาการปลูก หากปลูกแบบเสียบยอดใช้เวลาสองปีครึ่งถึงสามปี กิ่งตอนให้ดอก 1 ปี และถ้าเป็นกิ่งใหญ่สูงประมาณ 1.50 เมตร ไม่กี่เดือนก็ให้ผลผลิตได้เก็บกินแล้ว