เช็กให้ชัวร์ ! ช้อปดีมีคืน ช้อปสินค้าอะไร ให้ได้ลดหย่อนภาษี

ภาษีลดหย่อนภาษี ช้อปดีมีคืน Come Back! ถือว่าเป็นข่าวดีรับต้นปีของเหล่าสายช้อป เพราะตอนนี้ทางภาครัฐได้นำมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” กลับมาให้ได้ใช้กันอีกแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชาชนได้ออกไปจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น แถมยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะเคยใช้มาตรการช้อปดีมีคืนกันไปบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะมีบางส่วนที่ยังไม่รู้ว่า มาตรการช้อปดีมีคืนคืออะไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง หรือสินค้าและบริการอะไรบ้างที่นำไปลดหย่อนภาษีได้ วันนี้ลองมาทำความเข้าใจกันอีกครั้งกัน

ช้อปดีมีคืน 2565ใครบ้างที่ได้สิทธิ์ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?
ช้อปดีมีคืน เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นนิติบุคคล) โดยนำจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและบริการมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริง ซึ่งรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

ใครที่สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน ไม่ต้องลงทะเบียน เพียงแค่ซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด แล้วขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบจากร้านค้า ก็สามารถใช้ประกอบการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 เพื่อหักลดหย่อนภาษี ร่วมกับรายการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ได้ตามปกติ

เงื่อนไขมาตรการช้อปดีมีคืน
ผู้ใช้สิทธิ์ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษี
ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถใช้สิทธิ์มาตรการนี้ได้
ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2565 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2566 เท่านั้น

สินค้าและบริการอะไรบ้าง ? ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ และไม่ได้
แม้จะมีมาตรการช้อปดีมีคืน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถช้อปได้ทุกอย่างในโลกนะ ลองมาดูกันว่าสินค้าและบริการอะไรบ้าง ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้และไม่ได้บ้าง ก่อนซื้อจะได้ยับยั้งชั่งใจกันก่อน

+ สินค้าและบริการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้

สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน หรือร้านค้าออนไลน์ก็ได้ แต่ต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษี VAT ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบให้ได้เท่านั้น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ก่อนการสั่งซื้ออย่าลืมเช็กว่าทางร้านค้าออนไลน์ สามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบได้ไหม เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ในการซื้อ
หนังสือ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ทุกประเภท (ยกเว้นหนังสือประเภทนิตยสารและหนังสือพิมพ์) ทั้งนี้ หากเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยสามารถตรวจสอบร้านค้าได้ที่ otoptoday

+ สินค้าและบริการที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
ค่าน้ำมันและก๊าซ สำหรับเติมยานพาหนะ
รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ทั้งสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์
บริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม
ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์

ช้อปดีมีคืน 2565 ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ?

ก่อนช้อปต้องรู้ เพราะมาตรการช้อปดีมีคืน ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2565 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2566 เท่านั้น โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีจากมาตรการช้อปดีมีคืน ดังนี้

เงินได้สุทธิต่อปี 0 -150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ได้สิทธิคืนภาษี
เงินได้สุทธิต่อปี 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 5% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท
เงินได้สุทธิต่อปี 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 10% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 3,000 บาท
เงินได้สุทธิต่อปี 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 15% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท
เงินได้สุทธิต่อปี 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 20% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 25% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 30% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 9,000 บาท
เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษีเงินได้ 35% มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

ส่วนผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี แต่มีค่าลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว จะไม่ได้สามารถใช้สิทธิ์ในมาตรการช้อปดีมีคืนได้

จะเห็นได้ว่ามาตรการช้อปดีมีคืนเหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้สุทธิสูงและต้องเสียภาษีในอัตราสูง เพราะสามารถลดหย่อนภาษีและได้สิทธิคืนภาษีได้มากกว่า ทำให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้น ดังนั้นก่อนชอปอะไรควรวางแผนกันให้ดี ยิ่งเศรษฐกิจตอนนี้ จะจับจ่ายใช้สอยอะไรต้องคิดให้รอบคอบ รวมถึงมองหาแบบประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองไว้ด้วยนะ เพราะนอกจากได้รับความคุ้มครองตามแบบประกันที่ซื้อแล้ว ยังสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ประกันชีวิตทั่วไป ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคาร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ความรับผิดส่วนแรก คืออะไร ทำความเข้าใจกันหน่อย การเงิน “ความรับผิดส่วนแรก”อาจเป็นคำศัพท์ที่คุ้นเคยสำหรับคนที่มีความคุ้มครองสุขภาพอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังใหม่กับคำนี้และยังไม่ค่อยเข้าใจว่าความรับผิดส่วนแรกคืออะไร เกิดเหตุขึ้นมาบริษัทประกันจ่ายหรือเราต้องควักเอง? ยิ่งในปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโรคระบาดที่ทำให้คนหันมาซื้อความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากการเลือกซื้อแบบที่ตอบโจทย์กับตัวเองแล้วสิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับความคุ้มครองให้ดี เพื่อให้เบี้ยประกันที่เราจ่ายไปสามารถสร้างความคุ้มครองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ เมืองไทยประกันชีวิต จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ความรับผิดส่วนแรก” เพิ่มมากขึ้น

ความรับผิดส่วนแรกคืออะไร?
ความรับผิดส่วนแรก (Deductible) คือ เมื่อเราซื้อกรมธรรม์ความคุ้มครองสุขภาพแล้ว เกิดเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เราที่เป็นผู้เอาประกันภัยต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษาเองหรือนำไปเบิกกับสวัสดิการหรือเบิกกับประกันสุขภาพเดิมที่มีส่วนหนึ่ง หากค่าใช้จ่ายเกินกว่าความรับผิดส่วนแรกที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินนั้นให้กับเราหรือผู้เอาประกันภัยนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หากคุณมีความคุ้มครองสุขภาพที่มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท เมื่อเข้ารักษาพยาบาลมีค่ารักษาเกินกว่า 30,000 บาทแรกนี้ ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายส่วนต่างให้เอง ซึ่งข้อดีของความคุ้มครองสุขภาพที่มีความรับผิดส่วนแรกนั้น หากมีวงเงินความรับผิดส่วนแรกมากเท่าไร ก็จะช่วยให้ผู้เอาประกันสามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น

อยากซื้อความคุ้มครองสุขภาพที่มีแผนความรับผิดส่วนแรกต้องทำยังไง?
สำหรับคนที่สนใจอยากซื้อความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มเติม เพราะสวัสดิการเดิมที่มีอยู่วงเงินน้อยความคุ้มครองไม่มากพอที่จะตอบโจทย์ได้ เมืองไทยประกันชีวิตขอแนะนำความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ (D Health) ที่จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้คุณได้ ด้วยความคุ้มครองแบบเหมาๆ ให้คุณเลือกเหมาจ่ายแค่ส่วนเกินจากสวัสดิการที่มีอยู่ ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยซ้ำซ้อน และยังคุ้มครองทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าห้อง ไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ ยังคุ้มครอง โควิด-19 โรคร้ายทุกระยะ และโรคทั่วไป สูงสุด 5 ล้านบาท* ให้คุณคลายกังวลยามเจ็บป่วย

เลือกรับความคุ้มครองให้เหมาะกับคุณ เลือกแผนมีความรับผิดส่วนแรกต่อการเข้าพักรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง โดยสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 30,000 บาท 50,000 บาท หรือ 100,000 บาท ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยจะถูกลง

*กรณีเลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในต่อการเข้าพักรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

หมายเหตุ

ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สุขภาพและความปลอดภัย จะยกให้ใครเป็นที่หนึ่งเป็นที่สองคงไม่ได้ เพราะสำหรับสายปั่นทั้ง 2 ข้อนั้น เราเน้น!! ตามไปดู 5 Gadget ตัวจี๊ดที่เพิ่มทั้งปลอดภัยและให้ความเท่!

1. ชุดลำลอง PowerFly LED Cycling Vest
แค่เห็นดีไซส์กระเป๋าสตางค์ก็สั่น เท่สุดพร้อมกับซัพพอร์ตความปลอดภัยสูงสุด เสื้อกั๊กที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณโดดเด่นบนท้องถนนยามค่ำคืน และ ทำให้คุณดูชัดกว่าใครในเวลากลางวัน เสื้อกั๊กมีแถบไฟสีขาว 12 ดวงที่ด้านหน้า มีทัศนวิสัยอยู่ที่ระดับ 1,000 ฟุต ตัวเสื้อสามารถตั้งค่าไฟเป็นเหมือนไฟฉายได้ ชาร์จแบตครั้งเดียวอยู่นานถึง 15 ชม.

2. FormMount Phone Magnetic Smartphone Bike Mount
ตัวยึดสมาร์ทโฟนกับจักรยาน ภายใต้การติดตั้งที่ดูเรียบง่าย แต่แน่นหนาขั้นสุดด้วยพลังแม่เหล็กแบบนีโอไดเมียร์ 4 และกาว 3M บางเฉียบแต่แกร่ง! เพียงแค่วางสมาร์ทโฟนลงไป FormMount ก็พร้อมดูแลเครื่องให้ปลอดภัย แม้จะปั่นด้วยความเร็วถึง 17 ไมล์ต่อชั่วโมง

3. ShockStop Adjustable Suspension Seatpost หมุดปรับระดับเบาะที่ง่ายและคูลมาก! มีการออกแบบที่เพรียวบางเพียง 35 มม. ซัพพอร์ตเรื่องการกระแทกและลดการสั่นสะเทือน เหมาะสำหรับนักปั่นถนนในเมือง หรือแม้แต่ออกไปท้าทายแบบสายโหดบนถนนกรวดก็ยังได้ คุณสามารถปรับอัตราสปริงให้เหมาะกับสไตล์การปั่นของคุณ ShockStop Seatpost จะช่วยให้อานเมื่อยๆ ที่คุ้นเคยเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

4. The 52 SPEAKER
ลำโพงติดจักรยานที่พร้อมเดินทางไปทุกช่วงเวลา ให้ทริป Healthy ครั้งนี้มีแต่เสียงเพลง โดดเด่นด้วยระบบเสียงทรง พลังคมชัด ฟังเพลงก็ได้หรือรับสายโทรศัพท์ก็ดี ชัดเจนแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่เสียงรบกวน แบตเตอรี่จัดเต็มยาวนานถึง 7 ชั่วโมง ออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ต้องละสายตาจากถนนก็ควบคุมได้สบาย แถมคุณสมบัติกันน้ำและพ่วงกับ GARMIN ได้ด้วย

5. Cycle-On 30-Tool Bicycle Multi-Tool
เป็นทุกอย่างที่นักปั่นต้องการ ใครจะไปรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่าจักรยานคันเก่งจะต้องซ่อมกันเมื่อไหร่ เตรียมพร้อมไว้เริศสุด!! เห็นแพคเล็กๆ แต่มีเครื่องมือถึง 30 ชิ้น ครบทุกเบอร์ที่ต้องใช้ปรับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั้งคันเลยล่ะ!

คลายกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วยด้วยแบบประกันที่คุ้มครองด้านสุขภาพ ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายเพื่อคุณ มือใหม่ต้องรู้ ! ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีแบบไหน ? ภาษี เพราะโควิด 19 อาจทำให้ชีวิตของใครหลายคนเปลี่ยนไป จากที่เคยมีรายได้พอใช้ อาจต้องกลายมาเป็นหารายได้เสริมเข้ามาทดแทน และอาชีพแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือการขายของออนไลน์ เพราะการขายของออนไลน์ไม่ต้องลงทุนมากเหมือนการเปิดหน้าร้านทั่วไป การขายของออนไลน์จึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจในยุคนี้

แต่ก่อนที่จะผันตัวเองมาทำอาชีพนี้ ต้องทำความเข้าใจกับการเสียภาษีกันก่อน เพราะหลายคนอาจยังไม่เข้าใจเรื่องการยื่นภาษีและจ่ายภาษีสำหรับการขายของออนไลน์ เช่น การยื่นแบบภาษีต้องทำยังไง ขายของออนไลน์ รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี หรือควรต้องเตรียมตัวยังไงบ้างก่อนทำอาชีพนี้ พร้อมแล้วตามไปดูกัน !

ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีแบบไหน
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาทางนี้ ไม่ว่าเราจะขายอะไรก็ตามแต่ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษีนะ เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี “เงินได้สุทธิ” หรือ “กำไรสุทธิ” เมื่อหักค่าใช้จ่าย

ซึ่งหากมีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ต่อปี ในการยื่นภาษีของการของออนไลน์ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบหักตามจริง และแบบเหมา 60%

หักค่าใช้จ่ายตามจริง
เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า เพราะวิธีนี้จะทำให้คนที่มีต้นทุนสูงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไป โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวมบัญชีรายรับรายจ่ายพร้อมหลักฐานไว้ให้ครบ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และช่วยลดความสับสนเมื่อต้องยื่นภาษี

หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%
เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ เช่น กำไรที่แท้จริงหักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งข้อดีคือเราไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายกับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริงกับค่าใช้จ่ายแบบเหมา

ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่ ?
พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะทำงานประจำไปด้วยหรือว่าขายของออนไลน์อย่างเดียวต่างก็ต้องยื่นภาษี โดยการยื่นภาษีสำหรับการขายของออนไลน์นั้นจะต้องยื่น 2 รอบ (ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90) ตามช่วงเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้

รอบแรกยื่นภาษีครึ่งปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน โดยสาเหตุที่ให้มีการเสียภาษีครึ่งปีเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้มีรายได้ เพื่อไม่ให้เสียภาษีหนักในครั้งเดียว
รอบสองยื่นภาษีปลายปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป (เช่น เงินได้ปี 2564 ต้องยื่นภายใน มี.ค.2565)

นอกจากนี้ใครที่ขายของออนไลน์แล้วมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียน VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้มาใช้บริการด้วย

ขายของออนไลน์ต้องรู้ e – Payment คืออะไร ?
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มื่อใหม่คงสงสัยกันว่า หากเราไม่ยื่นภาษีจากการขายของออนไลน์ แล้วทางสรรพากรจะรู้ได้ยังไง เอาล่ะ ! ใครที่คิดจะหลบเลี่ยงฟังกันให้ดี เพราะตอนนี้มีกฎหมายออกมารองรับให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “อีเพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ ซึ่งจะมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายโดนสรรพากรตรวจสอบมีดังนี้

เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป

ซึ่งเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ หากธนาคารพบว่าบัญชีไหนเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบและทำการส่งข้อมูลให้ทางสรรพากร ดังนั้นไม่ควรหลบเลี่ยงดีที่สุด

เตรียมตัวยื่นภาษี สำหรับการขายของออนไลน์
มาถึงตรงนี้ใครที่กำลังผันตัวเองเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ต้องมีการวางแผนก่อนยื่นภาษีกันหน่อย เพราะหากขาดเอกสารหรือทำอะไรผิดขั้นตอนไปเพียงนิดเดียว อาจมีปัญหาในการยื่นภาษีได้

ควรจดบันทึกรายการซื้อขายสินค้า ทำบัญชีรายรับรายจ่ายรายวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราไม่สับสนแล้ว ยังช่วยให้เราจัดการเรื่องเงินได้ง่ายกว่าการทำย้อนหลัง
เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการค้า ธุรกรรมทางการเงิน เพราะนอกจากจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเมื่อสรรพากรเข้ามาขอตรวจสอบอีกด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ตรวจสอบพบว่าความถี่และจำนวนเงินโอนเข้าบัญชีเข้าเกณฑ์ภาษีe – Payment ของทุกปี
แนะนำให้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอย่างต่อเนื่อง เพราะเงื่อนไขในแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้เราจัดการภาษีได้อย่างถูกต้องและไม่มีปัญหาย้อนหลัง

แม้การเสียภาษีสำหรับการขายของออนไลน์อาจะมีหลายขั้นตอน แต่เชื่อว่าไม่ได้ยากเกินไปสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่อย่างแน่นอน คิดถึงข้อดีของการเสียภาษีกันไว้ เพราะนอกจากเราจะเสียภาษีแบบถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้ไม่ต้องกังวลการถูกตรวจสอบจากสรรพากร และยังขายของออนไลน์ได้อย่างเปิดเผยอีกด้วย

เตรียมวางแผนการยื่นภาษีกันไปแล้ว อย่าลืมวางแผนลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ คุ้มสองต่อได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพและลดหย่อนภาษี ด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต คุ้มครองโรคอุบัติใหม่ โรคเก่าที่วนกลับมาใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป วงเงินเลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท อายุรับประกันสูงสุด 80 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี* ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 55 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ และ ดี เฮลท์

ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ภาษี ไม่พาเศร้า ใกล้โค้งสุดท้ายกับการลดหย่อนภาษี www.muangthaiagent.vip ต้องเริ่มตัดสินใจเลือกแผนประกันที่ใช่ไว้ใช้เป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษีแล้ววว เพราะถ้าหากคุณมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาท จะต้องเสียภาษีอัตราแบบขั้นบันได ตั้งแต่ 5 – 35% หรือแบบเหมาจ่ายก็ได้ เงินได้สุทธิแค่ไหนต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เราคิดด้วย 2 step ง่าย ๆ ตามนี้

Step 1 คำนวณหาเงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

Step 2 คำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

วางแผนลดหย่อนภาษีดีรับรองว่าไม่มีเศร้า! ได้ทั้งความคุ้มครอง และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก็ได้ สนใจแผนไหน เลือกเลย

แฮปปี้ไม่มีเศร้า รับเงินคืน มีเงินเก็บไว้ใช้ไม่สะดุด
ออมแบบฟิน ๆ มีเงินออกไปซ่า รับเงินคืนไปชอปได้ไม่มีสะดุด ด้วยประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท มีโอกาสรับผลตอบแทนและความคุ้มครองชีวิต เบี้ยที่จ่ายไม่สูญหาย เลือก

โครงการเมืองไทย 101 พลัส จ่ายเบี้ยครั้งเดียวไม่เป็นภาระ
เมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ 15/3 (Global) แบ่งจ่ายเบี้ยสบาย ๆ 3 ปี

โครงการเมืองไทย 101 พลัส เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัย เมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ พลัส 10/1 (Global)
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เจ็บป่วยก็ไม่เศร้า เพราะมีคนช่วยจ่ายค่ารักษา
คุ้มครองสุขภาพ ให้คุณออกไปซ่าได้เต็มที่แบบไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา ด้วยประกันสุขภาพ ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท และหากซื้อให้พ่อแม่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท เลือก

อีลิท เฮลท์ พลัส วงเงินความคุ้มครองสูงถึง 20 – 100 ล้านบาทต่อปี
ดี เฮลท์ พลัส คุ้มครองเหมาจ่าย 1 – 5 ล้านบาทต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เหมาจ่ายไซซ์เล็ก คุ้มครองสูงถึง 500,000 บาท*

*สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง

เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เกษียณไปไม่มีเศร้า รับเงินบำนาญทุกปี
รีไทร์ทั้งทีต้องมีเงินใช้ ให้คุณออกไปซ่ากับกิจกรรมที่ชอบได้เต็มที่ด้วยประกันบำนาญ มั่นใจมีเงินใช้หลังเกษียณ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท เลือก

โครงการเมืองไทย รีเทิร์น รีไทร์ จ่ายเบี้ยสบาย ๆ 5 ปี
เมืองไทย 9901 ดี65 (บำนาญแบบลดหย่อนได้) จ่ายเบี้ยครั้งเดียว ไม่เป็นภาระระยะยาว

โครงการเมืองไทย รีเทิร์น รีไทร์ เป็นชื่อทางการตลาด ของแบบประกันภัยเมืองไทย 8505 (บำนาญแบบลดหย่อนได้) และสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

ลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000 บาท โดยแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บาท แล้วจึงนำเบี้ยประกันส่วนที่เหลือไปใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย