เดิมมีอาชีพปลูกอ้อยมาหลายสิบปีแล้ว จนกระทั่งเจอปัญหาภัย

ทำให้เขาตัดสินใจหันมาปลูกข้าวโพด เสริมรายได้ในไร่อ้อยเมื่อต้นปี 2559 ผลการทดลองปลูกข้าวโพดรุ่นแรก บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ใช้เวลาปลูกแค่ 60-65 วัน สร้างรายได้งาม 9,200-9,600บาท/ไร่ เนื่องจากการปลูกข้าวโพดให้ผลตอบแทนที่ดีคุ้มค่ากับการลงทุน คุณกิจติศักดิ์ จึงได้ชักชวนเพื่อนเกษตรกรในตำบลบ้านจ่าหันมาปลูกข้าวโพดในพื้นที่ของตน เพื่อให้มีรายได้เสริมแก่เกษตรกร ในระหว่างการรอเก็บเกี่ยวอ้อยที่ต้องใช้เวลานาน 8-9 เดือน

ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรในจังหวัดอ่างทองประสบปัญหาภัยแล้งในวงกว้าง เกษตรกรชาวนาหลายรายปรับวิถีชีวิตในการทำการเกษตรเพื่อสู้ภัยแล้ง โดยหันมาปลูกพืชน้ำน้อย เริ่มจากปลูกมะระก่อน หลังจากนั้นหันมาปลูกบวบเหลี่ยม และแตงกวา บนเนื้อที่ 1 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 35,000 บาท/ไร่

หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเหลือผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ที่สำคัญทำงานเหนื่อยน้อยกว่าการปลูกข้าว ใช้เวลาแค่ 2 เดือน ก็เก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว ขณะที่การทำนาต้องใช้เวลาปลูกดูแลนานถึง 4 เดือน ที่สำคัญการปลูกผักได้ผลกำไรต่อไร่มากกว่าการทำนา และการปลูกบวบ ใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาถึง 75% จึงอยากแนะนำให้เพื่อนเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าวเป็นประจำ ให้ลองเปิดใจหันมาเพาะปลูกพืชน้ำน้อยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะปลูกผักใช้ระยะเวลาสั้นๆ แต่ทำเงินได้ทุกวัน และให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเหนื่อย

ด้านชาวนาในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ที่เจอปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการทำนา ก็ปรับตัวสู้ภัยแล้งโดยปรับพื้นที่มาทำไร่นาสวนผสม แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือน พื้นที่ส่วนที่เหลือนำมาปลูกพืชหมุนเวียนที่ใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วฝักยาว กะเพรา มะละกอ แตงกวา ฯลฯ ทำให้มีรายได้ตลอดปี

เกษตรกรปลูกข้าวโพด 6 ไร่ ถั่วฝักยาว 1 ไร่ และแตงกวา 1 ไร่ ซึ่งการปลูกพืชผักอายุสั้นเหล่านี้ ปลูกดูแลง่าย สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 3 รุ่น สามารถลดการใช้น้ำไปได้ประมาณ 75% ของน้ำที่ใช้ในการทำนา แถมมีรายได้เพิ่มมากกว่าการทำนากว่า ไร่ละ 10,000 บาท

แตงร้าน เป็นพืชที่ส่วนมากจะนำผลมากินสดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผักเครื่องเคียงที่กินคู่กับน้ำพริก หรือเป็นผักเคียงที่เข้าได้กับอาหารหลากหลายเมนู นอกจากนี้ ยังมีการนำมาแปรรูปในรูปแบบการดอง ตลอดไปจนถึงนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงามได้อีกด้วย

จากความต้องการของผู้บริโภคที่ยังนิยมกินอยู่นั้น จึงทำให้ผลผลิตมีความต้องการของตลาด จึงทำให้ คุณเอกนรินทร์ คงแท่น อยู่บ้านเลขที่ 143 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มองเห็นถึงโอกาสของพืชชนิดนี้ เพราะเป็นพืชล้มลุกออกผลผลิตไว จึงทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วตามไปด้วย เกษตรกรผู้ปลูกจึงมีรายได้ทันใช้จ่ายไม่ต้องรอผลผลิตนานเป็นแรมปีเหมือนพืชชนิดอื่นๆ อีกด้วย

มาปลูกพืชล้มลุก

คุณเอกนรินทร์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชนเกี่ยวกับทางด้านช่าง ต่อมามีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยในช่วงนั้นก็ได้มีสวนยางพาราเป็นสิ่งที่ครอบครัวทำเป็นอาชีพกันมาอย่างยาวนาน เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของราคา เขาถึงได้คิดปลูกพืชที่มีอายุสั้นมาปลูก เพื่อเพิ่มรายได้ให้มีทันใช้กับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

“พอเริ่มที่จะปลูกพืชชนิดอื่น ก็เลยมีความคิดที่อยากจะปลูกพืชล้มลุก เพราะสมัยที่เด็กๆ ก็เคยเห็นแม่ปลูกไว้กินในครัวเรือน ไม่ได้ทำจริงจังอะไร เราก็คิดว่าพืชชนิดนี้ น่าจะใช้เวลาสั้นกว่าทำอย่างอื่น ก็เลยเริ่มที่จะมาปลูกแบบนี้ให้มากขึ้น ก็จะมีแตงโม ฟักทอง แตงร้าน พอปลูกมาได้สักระยะ แตงร้านตลาดมีความต้องการ ก็เลยปลูกแตงร้านตั้งแต่นั้นมา” คุณเอกนรินทร์ เล่าถึงความเป็นมา

จากสิ่งที่ได้พบเห็นตั้งแต่ครั้งเป็นเด็กที่ดูจากพ่อแม่ทำ จึงทำให้การปลูกพืชล้มลุกเป็นสิ่งที่เขาทำแล้วประสบผลสำเร็จ และผลิตสินค้าตามที่ตลาดต้องการอีกด้วย ก็มีผลให้เก็บจำหน่ายได้

ในขั้นตอนของการเตรียมแปลงนั้น คุณเอกนรินทร์ บอกว่า จะใช้รถไถพรวนหน้าดินก่อน โดยยกหน้าดินให้เป็นสันแปลงสูงขึ้นจากหน้าดินเล็กน้อย เพื่อที่เวลาฝนตกมากๆ น้ำก็จะไม่ท่วมบริเวณแปลงที่ปลูกแตงร้าน ในระหว่างที่เตรียมแปลงจะนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมลงไปในแปลงด้วย เพื่อให้ดินมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

จากนั้นนำต้นกล้าของแตงร้านที่เพาะไว้ มาปลูกลงในแปลงที่เตรียมจนเสร็จแล้ว ซึ่งต้นกล้าที่นำมาปลูกจะมีอายุประมาณ 5-7 วัน

ปลูกต้นกล้าแตงร้านให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 80-100 เซนติเมตร และระยะแถว 1.50 เมตร พร้อมทั้งภายในแปลงจะสร้างร้านสำหรับให้ต้นเลื้อยขึ้นไปในระหว่างที่เจริญเติบโต จากนั้นรดน้ำดูแลตามปกติ เมื่อแตงร้านเริ่มมีอายุประมาณ 10 วัน จะใส่ปุ๋ยและฉีดฮอร์โมนเสริมเข้าไปให้ต้นมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

“พอได้อายุที่กำหนด ก็ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 เพื่อบำรุงต้นและใบ จากนั้นนับไปอีก 15 วัน ก็จะเปลี่ยนเป็นใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 เพื่อเตรียมพร้อมให้พืชแทงตาดอก จากนั้นก็รอเก็บผลผลิต เพราะแตงร้านจะใช้เวลาประมาณ 35-40 วัน ก็จะมีผลแตงชุดแรกออกมาให้เก็บขายได้ โดยหลังจากที่เก็บชุดแรกไปแล้ว ก็จะใส่ปุ๋ยบำรุงเข้าไปทุก 7 วันครั้ง ซึ่งแตงร้านที่ปลูกจะเก็บขายได้ประมาณ 30 ครั้ง จากนั้นก็จะถอนทิ้งแล้วเริ่มปลูกใหม่ทั้งหมด” คุณเอกนรินทร์ บอก

มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงหน้าสวน ซึ่งการส่งจำหน่ายให้กับตลาดนั้น คุณเอกนรินทร์ บอกว่า จะส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ตามตลาดแถวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้น ก็จะเริ่มมีลูกค้ามาติดต่อขอรับซื้อถึงที่หน้าสวน โดยให้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-18 บาท ซึ่งราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกตลาด

“แตงร้านต้องบอกก่อนว่า ราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกลของตลาด ช่วงที่ราคาต่ำสุดเคยขายได้อยู่กิโลกรัมละ 5 บาท ขึ้นไปสูงสุดก็กิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาแล้ว ก็ยังถือว่ายังได้ผลกำไรอยู่ แม้ราคาจะลงไปต่ำสุด เพราะการลงทุนเราลงทุนทีเดียว ไม้คานที่ทำร้านก็อยู่ได้เป็น 3 ปี อะไรที่เก่าเราก็ค่อยๆ เปลี่ยน ก็ทำให้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก เท่ากับการปลูกแต่ละครั้งไม่ได้ลงทุนเยอะ ก็ยังสามารถมีกำไรได้ แม้จะเป็นช่วงได้ราคาน้อยก็ตาม” คุณเอกนรินทร์ บอก

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกแตงร้านเป็นอาชีพ คุณเอกนรินทร์ แนะนำว่า สิ่งแรกที่ต้องมีคือเรื่องของการมีใจรัก เพราะถ้ามีใจรักในด้านการทำเกษตรแล้ว ไม่ว่าจะปลูกพืชผักชนิดไหนก็แล้วแต่ ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้แน่นอน และที่สำคัญหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ผลผลิตทางด้านการเกษตรก็จะให้ผลกำไรตอบแทนกลับมาได้อย่างแน่นอน

อาชีพเกษตรกรรมยุคนี้ ไม่มีอะไรร้อนแรงเท่าการทำสวนทุเรียน

2-3 ปี มานี้ ต่างชาติโดยเฉพาะจีน นำเข้าทุเรียนจากไทย ทำให้ผลผลิตในประเทศมีบริโภคน้อยลง ราคาที่เกษตรกรขายได้จากสวนจึงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เดิมทีมีความเข้าใจว่าทุเรียนปลูกได้ดีเฉพาะแห่ง เช่น ภาคใต้ ภาคกลางบางจังหวัด รวมทั้งภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการสื่อสารทันสมัย เทคโนโลยีก้าวหน้า ทุเรียนได้กระจายไปหลายๆ จังหวัด

เมื่อก่อนอาจจะมีคำถามว่า “จังหวัดไหนปลูกทุเรียนได้บ้าง” แต่ทุกวันนี้ คำถาม อาจจะเปลี่ยนเป็น “จังหวัดไหนไม่ปลูกทุเรียนบ้าง”

อีสานที่ว่าแล้งปลูกทุเรียนได้ดีที่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา จังหวัดอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะปลูกได้ แต่ก็ปลูกมีผลผลิต เช่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ เลย เหมาซานหวาง ทุเรียนมาแรง

ทุเรียนยอดฮิต ที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา เห็นจะได้แก่ หมอนทอง อื่นๆ มี ชะนี ก้านยาว กระดุม พวงมณี ราว 3-4 ปี มานี้ วงการทุเรียนฮือฮามาก เพราะมีทุเรียนเชื้อชาติมาเลเซีย ปลูกได้ดีแถบอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทางมาเลเซียเขาปลูกแล้วส่งผลผลิตไปจีนขายได้ราคาสูงมาก ทุเรียนของมาเลเซีย ถูกนำมาปลูกที่จันทบุรี ได้ผลดีเช่นกัน

ทุเรียนที่ว่าคือ พันธุ์เหมาซานหวาง ซึ่งเคยเผยแพร่ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านไปบ้างแล้ว 1-2 ครั้ง ทุเรียนพันธุ์นี้มีหลายชื่อ นอกจาก เหมาซานหวาง แล้ว ยังเรียกชื่ออื่นๆ อีกคือ เหมาซานหว่อง มูซังคิง ภาษาอังกฤษเรียก โกลด์เด้นคิง

คุณอนวัช สะเดาทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์เด้นคิงแพลนท์ จำกัด ผู้ผลิตต้นกล้าทุเรียนเหมาซานหวาง ได้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของทุเรียนเหมาซานหวาง มาเพื่อเผยแพร่ดังนี้

– ก้นผลมีรูปดาวสีน้ำตาลชัดเจน

– ขั้วผลเห็นเป็นรูปมงกุฎชัดเจน

– เนื้อเนียนนุ่ม เหนียว

– รสชาติหวาน กลิ่นหอม

– เนื้อเยอะ เมล็ดลีบ สีเหลืองสด

– อายุการเก็บเกี่ยว 90 วัน

– ต้นแข็งแรง ต้านทานโรค เนื่องจากเป็นสายพันธุ์จากทุเรียนป่า

“เปรียบเทียบกับทุเรียนหมอนทอง เหมาซานหวางลูกเล็กกว่า แต่อร่อยกว่าหมอนทอง พวงมณี รวมทั้งก้านยาว ออกดอกพร้อมกับหมอนทอง แต่เก็บเกี่ยวเร็วกว่า 1 เดือน ราคาที่ซื้อขายอยู่สูงกว่าหมอนทองมาก ปี 2561 เราผลิตและจำหน่ายกิ่งพันธุ์ 1 แสนต้น ปี 2562 มีเป้าหมาย 2 แสนต้น” คุณอนวัช บอก

ปลูกแบบแปลงลูกฟูกยาว

ระบบปลูกทุเรียนที่จังหวัดนนทบุรี ปลูกแบบร่องสวน

ส่วนภาคตะวันออก ดั้งเดิมปลูกเสมอกับพื้นดินเดิม หลังๆ ยกโคกปลูกเฉพาะต้นนั้น อย่างพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 25 ต้น ก็ยกโคกขึ้น 25 โคก

การยกโคกปลูก มีข้อดีคือ โคนต้นชื้นพอดี ลดการเกิดโรครากและโคนเน่า ช่วยให้ดินแห้งสามารถเตรียมตัวเพื่อการออกดอกได้ง่าย เมื่อมีผลผลิตสามารถปรับปรุงคุณภาพผลผลิตได้ไม่ยาก โดยช่วงเก็บเกี่ยวหากลดการให้น้ำ คุณภาพเนื้อทุเรียนก็จะดี

การยกโคกปลูกที่ช่วยได้มากจริงๆ คือ ลดการเกิดโรครากและโคนเน่า โรคนี้ทำให้ทุเรียนตายมาอย่างต่อเนื่อง เป็นโรคที่ชาวสวนกลัวที่สุด การตายจากโรคนี้ เป็นเรื่องปกติที่ชาวสวนต้องเจอ ซึ่งมีตายทุกปีและปลูกเพิ่มเสริมเข้าไปทุกปี

เป็นที่น่าสังเกตว่า การยกโคกปลูก ต้นโตเร็ว เมื่อก่อนปลูก 5-6 ปี จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทุกวันนี้ 4 ปี ก็ให้ผลผลิตได้ รวมทั้งปลูกถี่ขึ้น ได้จำนวนต้นต่อไร่มากขึ้น การปลูกทุเรียนแบบแปลงลูกฟูกยาว ทางคุณอนุวัชแนะนำให้ลูกค้าที่มาซื้อต้นพันธุ์ไปปลูก เมื่อมีการทำตามปรากฏว่าได้ผลดี

แปลงลูกฟูกยาว เป็นอย่างไร ขอให้หลับตานึกถึงแปลงผัก แต่สูงกว่า คือความสูงอยู่ที่ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ความสูงได้จากการใช้รถขุดทำแปลงให้ ดินที่ทำเป็นแปลงได้จากการขุดดินในแปลง เกษตรกรบางรายซื้อดินจากที่อื่นมาทำแปลง

แล้วแปลงห่างกันเท่าไร ตอบว่า ขึ้นอยู่กับระยะปลูก ซึ่งมีคำแนะนำว่า ระยะ 6 คูณ 8 เมตร (ได้รับความนิยม) พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 33 ต้น ระยะนี้มีความเหมาะสม

ความสูงของแปลง อยู่ที่ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร อย่างที่แนะนำไปแล้ว

แปลงกว้าง 4 เมตร (ยื่นออกข้างละ 2 เมตร ปลูกทุเรียนตรงกลาง) ตรงกลางแปลง (ระหว่างแปลง) กว้าง 4 เมตร เมื่อวัดระหว่างต้นที่ปลูก 8 เมตร

การยกโคกปลูกว่ามีข้อดีแล้ว แต่การปลูกแบบแปลงลูกฟูกยาว คุณอนวัช บอกว่า มีข้อดีเพิ่มขึ้น

“หนึ่ง. วางสปริงเกลอร์ได้ง่าย สอง. รากทุเรียนไม่กระทบกระเทือนช่วงปฏิบัติงาน สาม. กำจัดวัชพืชง่าย สี่. นำเครื่องจักรเข้าทำงานง่าย และ ห้า. ต้นโตเร็วมาก …เป็นข้อดีเพิ่มเติม จากการปลูกแบบยกโคก ตรงนี้เหมือนยกโคกยาวติดต่อกันนั่นเอง ต้นทุนไม่รวมที่ดิน ไร่ละ 1.5 หมื่นบาท รวมต้นพันธุ์แล้ว” คุณอนวัช บอก งานปลูกแบบยกพื้นสูงหรือแบบยกโคกสูง รวมทั้งทำแปลงยาว ทุกวันนี้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก

พื้นที่ปลูกลาดเอียงในเขตภูเขา อาจจะไม่จำเป็นต้องยกสูงขึ้น แต่พื้นที่ราบมีความจำเป็น อาจจะมีข้อสงสัยว่า มีปลูกทุเรียนมาช้านาน โดยเฉพาะภาคตะวันออก ปลูกมาเกือบ 100 ปี ทำไมเพิ่งมาทำ เมื่อก่อนทุเรียนปลูกและดูแลรักษาง่าย เพราะฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล แต่ทุกวันนี้ บางปีเดือนมกราคมฝนตกหนัก หรือมีลมพัดแรงใบร่วง เรื่องโรครากและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า เมื่อก่อนพบน้อยหรือแทบไม่มี แต่ทุกวันนี้ระบาดหนัก แนวทางการยกพื้นสูง ยกโคก ทำแปลงสูงและยาวจึงมีความจำเป็น สิ่งที่ทำมีความชัดเจน มีข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่าได้ผลจริง

ความสันโดษ คือ การดำรงชีพอยู่อย่างพอเพียง พอใจยินดีกับชีวิตที่ตนเป็นอยู่ ไม่โลภ ไม่ไปวุ่นวายกับกิเลสตัณหาอันที่เกิดจากความอยากทั้งสิ้น

ตัวที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็คือ ความอยากทั้งปวง อยากได้ อยากเป็น อยากมี หรือความไม่อยากทั้งปวง ที่เรียกว่า ภวตัณหาและวิภวตัณหา ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น ดังนั้น เราต้องควบคุมจิตใจพร้อมลดตัณหาในใจลงให้ได้ มากเท่าใด ความทุกข์ก็จะลดลงมากเท่านั้น แต่หากหันมาใช้ชีวิตสันโดษ ความวุ่นวายในชีวิตก็จะไม่เกิด หรือหากเกิดก็แก้ไขได้ และสามารถเดินห่าง…จากความจน ได้ชนิดสมบูรณ์แบบได้จริงๆ

สวัสดีครับ แฟนๆ ที่รักยิ่งของผม ระยะนี้ผมอ่านหนังสือธรรมะ ก็เลยนำมาเขียนให้ได้อ่านกัน เพราะเห็นว่าธรรมะนี่แหละที่สามารถที่จะเพิ่มพลังชีวิตให้กับชีวิตเราได้ ลดความทุกข์ให้น้อยลงได้ พร้อมทั้งนำไปประยุกต์แก้ปัญหาให้คลี่คลายได้แล้วจะเกิดแต่ความสุขให้กับชีวิต สำหรับในทางธรรมะนั้น ความสันโดษไม่ได้หมายถึงการพอใจกับการดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังอย่างโดดเดี่ยวหรอกครับแฟนๆ

คนคลองแปด ปทุมธานี นิยมปลูกผักบุ้งลอยคลอง เห็นแล้วเป็นกอๆ แน่นงามมาก นำเรือออกไปเก็บผักบุ้งที่ปลูกไว้ในคลองรังสิต นำมากำเป็นมัด 1 มัด มีประมาณ 7-8 ต้น จำนวนมากน้อยตามแต่ลูกค้าสั่ง อย่างน้อยรวมๆ กันแล้ว ประมาณ 300-400 กำ ต่อครั้ง ใช้เวลาตั้งแต่ตี 5 ถึงประมาณเกือบเที่ยงวัน ตอนบ่ายๆ จึงนำไปส่งลูกค้าที่ตลาด ภารกิจต่อครั้ง ซื้อขายกันด้วยเงินสด

หากปลูกไว้ราวๆ 40 กอ สามารถเก็บได้ทั้งปีที่ลูกค้าต้องการ ปลูกในคลองน้ำไหลผ่านเสมอ จะทำให้ผักบุ้งทั้งต้นทั้งยอดอวบอ้วน ผิวใสสวยเป็นที่ต้องการของตลาดมากครับ ศัตรูหรือครับก็มี แค่หนอนเชอรี่ที่ชอบมาแทะ สามารถกำจัดโดยเก็บไปทำอาหาร แต่ละครั้งก็สบายท้องไปเลย เพราะเนื้อของมันแน่น หวานมันดี เอามาทำเมนูได้หลายอย่าง

ผักบุ้ง โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท คือผักบุ้งไทย กับผักบุ้งจีน แต่ที่นิยมรับประทานกันแพร่หลายก็ต้องเป็นผักบุ้งจีน หากเป็นสายพันธุ์ไต้หวันที่นำมาปลูกในน้ำ ลำต้นจะอวบ สีเขียวสดใส

ผักบุ้ง มีรากเป็นรากแก้วเป็นแขนงแตกออกด้านข้างของรากแก้วและสามารถแตกรากฝอยออกจากข้อของลำต้นได้ด้วย หรือมักจะแตกออกตามโคนเถา นำมาประกอบอาหารได้หลายๆ เมนูเยอะมากตามต้องการ โดยเฉพาะใส่ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ หรือแค่นำมาผัดไฟแดงก็ถือว่าสุดยอดแล้ว เพราะลำต้นจะกรอบอร่อย มีคุณค่าทางอาหารที่เชื่อกันว่าบำรุงสายตา

หากใครใช้เส้นทาง สายรังสิต-นครนายก ที่เรียกว่า สายองครักษ์ เมื่อวิ่งรถถึงคลองห้าให้มองทางขวามือจะเห็นสีเขียวเป็นหย่อมๆ กอๆ เยอะหลายๆ กอ ยาวตลอดทั้ง 2 ริมฝั่งข้างคลอง ให้สังเกตป้ายมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย คลองตรงนั้นใช่เลย ผักบุ้งลอยคลองที่ขายดีทั้งสิ้น

การปลูกผักบุ้ง สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เกษตรกรบางรายสามารถใช้หนี้ได้จนหมด แถมส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรีอีกด้วย จึงถือได้ว่าผักบุ้งลอยคลองทำให้หนีจนได้จริงนะครับ

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่ถูกจับตามองถึงการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเมืองอันเกิดจากแนวคิดตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยการพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City ภายใต้กรอบแนวทางการพัฒนาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาประชากร สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ เทคโนโลยี เป็นต้น

ขณะเดียวกันการถาถมของโครงการก่อสร้างต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งจากรัฐบาลและจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ ทางรถยนต์ ทางอากาศ ที่กำลังดำเนินการอยู่และจะสำเร็จในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็เป็นแรงหนุนให้ภาคเอกชนของไทย ตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศ แห่กันเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อสร้างฐานธุรกิจกันอย่างคับคั่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความเจริญเติบโตของเมืองชนิดก้าวกระโดด

จึงมีคำถามว่า ความเจริญในทุกด้านที่กำลังมาถึงในเร็ววัน สมัครพนันออนไลน์ แล้วภาคเกษตรกรรมที่นับเป็นรากฐานการสร้างเงิน และอาชีพสำคัญนั้นจะปรับตัวเองเพื่อให้ทันและเหมาะสมกับการพัฒนา เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในครั้งนี้อย่างไร??

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ดร. สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หรือพ่อเมืองแห่งนี้ถึงแนวทางการกำหนดทิศทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมในจุดเปลี่ยนผ่านจากวิถีแบบดั้งเดิมไปสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0

ก่อนอื่นต้องมาดูภาพรวมเศรษฐกิจทั้งจังหวัดก่อน โดยได้บอกกับเพื่อนข้าราชการทุกท่านที่ทำงานด้วยกันว่า ให้มองจังหวัดเป็นประเทศ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำมาใช้จะได้จากงานวิจัยของทางคณาจารย์ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลหลากหลายอาชีพในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประมวลร่วมกันจัดทำเป็นแผนพัฒนาจังหวัดหรือเพื่อเป็นแนวทางที่จะขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

จากตัวเลขในปี 2559 ที่จัดทำขึ้นสมบูรณ์ครบทุกด้าน แล้วได้วางข้อมูลและแนวทางของจังหวัดต่อไปอีก 20 ปีข้างหน้า หรือในปี 2579 ปัจจุบัน ขอนแก่น มีประชากรอยู่จำนวนกว่า 1.8 ล้านคน ถ้าในอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีประชากรกว่า 2.1 ล้านคน คือเพิ่มขึ้นจำนวน 3 แสนคน หรือปีละประมาณ 1.5 ล้านคน หรือเดือนละกว่าพันคน หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 40 คน ทั้งนี้ประชากรทั้งหมดในตอนนี้และในอนาคตจะต้องเติบโตขึ้นเป็นบุคลากรสำคัญของจังหวัด

ในเรื่องของ GPP หรือมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ใน ปี 2562 จะต้องแยกออกเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรมและบริการ ทั้งนี้ภาคเกษตรกรรมมี GPP อยู่ที่เฉลี่ย 11 เปอร์เซ็นต์ และเป็นตัวเลขที่คงที่มานาน ดังนั้น จึงต้องหาทางในทุกวิธีเพื่อขยับตัวเลขดังกล่าวให้เพิ่มสูงขึ้นให้ได้

อย่างไรก็ตาม จากสถิติข้อมูลประชากรของจังหวัดยังพบอีกว่า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ขณะที่วัยกลางคนมีอัตราการเพิ่มขึ้นไม่มาก สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าวัยแรงงานที่จะก้าวไปสู่ภาคเกษตรกรรมจะมีจำนวนน้อยมาก จึงเป็นข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมของจังหวัดไม่ให้ติดขัดหรือเชื่องช้า