เตือนภัยผู้บริโภคอย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริม

อาหารที่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์อาหารใดที่มีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางการค้า ต้องได้รับ ความเห็นชอบจาก อย. เท่านั้น ผู้ขออนุญาตต้องแสดงเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์การกล่าวอ้างนั้น และ ปฏิบัติตามคู่มือประชาชน เรื่อง การขอประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ถ้าเผยแพร่โฆษณาเฉพาะท้องถิ่นหรือจังหวัดสามารถยื่นขออนุญาตได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้น ๆ แต่หากเผยแพร่ทั่วประเทศจำเป็น ต้องขออนุญาตต่อ อย. อีกครั้งหนึ่งก่อนจึงจะเผยแพร่ได้” นพ.วันชัย กล่าว

นพ.วันชัย กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการการดำเนินการของ อย. กรณีพบการโฆษณาสรรพคุณ คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการโฆษณา แสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือ สรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ โอ้อวด หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ โดยไม่สมควร ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ หากพิสูจน์ได้ว่า ข้อความบนฉลากเป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ เข้าข่ายหลอกลวง มีโทษจำคุก 6 เดือน – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท

รวมทั้งประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อดำเนินการตรวจสอบว่ามีการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแบบตรงหรือไม่ และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อตรวจสอบเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านค้าออนไลน์ หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือพบการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สามารถร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปรามและดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด

สวนสัตว์เชียงใหม่มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เปิดตัวนกแขวก อพยพมาอาศัยและขยายพันธุ์ในแหล่งสงบเงียบ มีอาหารธรรมชาติเพียบ พร้อมสักการะวัดกู่ดินขาว วัดโบราณก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่

คุณนิพนธิ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสวนสัตว์เชียงใหม่มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในด้านสัตว์ที่มีอยู่หลากหลายและเพิ่มจำนวนมากขึ้น การบริการและการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว การให้บริการวิชาการความรู้แก่เยาวชน การเข้าค่ายเยาวชน ฯลฯ

นอกจากนักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมสัตว์ต่าง ๆ แล้ว ขณะนี้สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้มีนกแขวกอพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก เนื่องจากภายในสวนสัตว์มีต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่น มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำที่เหมาะสม นกแขวกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติปี 2535 เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซีย จะออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ลูกกบ ลูกเขียด ลูกปลา แมลงต่าง ๆ ในเวลากลางวันจะพักผ่อนบนต้นไม้ที่ร่มรื่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน บนหัวและขนเป็นสีน้ำเงินเข้ม ปีกและหางสีเทา บริเวณหน้าผากใต้คอ ท้องและใต้หางสีขาว ขณะนี้ได้อาศัยและวางไข่ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มากกว่า 200 รัง

จุดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งคือ วัดกู่ดินขาว เป็นโบราณสถานภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ มีความสัมพันธ์กับเวียงเจ็ดลิน ตามประวัติล้านนากล่าวไว้ว่า เป็นการตั้งถิ่นฐานชุมชนในระยะก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่และเมืองหริภุญไชย ราวพุธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ.1201-1300) และมีการพัฒนาสืบเนื่องในระยะหลังเรื่อยมา วัดกู่ขาวจัดเป็นวัดเดียวของเวียงเจ็ดลินที่ยังคงหลงเหลือหลักฐาน การก่อสร้างค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่นอกกำแพงเวียงเจ็ดลินทางทิศใต้ กลุ่มโบราณสถานของวัดกู่ดินขาวประกอบด้วย เจดีย์รายประธาน เจดีย์แปดเหลี่ยม และกำแพงแก้วเขตพุทธวาส

ที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีและวิศวกรรมในการก่อสร้างในสมัยนั้น ใช้อิฐก้อนใหญ่ ๆ เผาด้วยความร้อนสูงไม่ต่ำกว่า 3,000 องศาขึ้นไป ทำให้เกิดก้อนอิฐที่มีความแข็งแกร่ง สามารถรับน้ำหนักองค์เจดีย์ประธาน ซึ่งไม่เคยพบก้อนอิฐโบราณที่ใหญ่ขนาดนี้ ระหว่างการบูรณะวัดกู่ดินขาวของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เชียงใหม่ ได้พบชิ้นส่วนเป็นหลักฐานที่บริเวณนี้ เช่น ด้านหน้าส่วนพระอุระพระพุทธรูปปูนปั้น ขมวดพระเกษาพระพุทธรูปดินเผามีรอยการลงรักปิดทอง ชิ้นส่วนแผ่นรักทาสีแดงชาดหรือการปิดทองคำเปลว

ตะปูที่มีสนิมเกาะเป็นเวลานาน พระพิมพ์ดินเผาแบบหริภุญไชย ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องเงินสีออกเทาไม่เคลือบและเนื้อเครื่องดินสีออกส้ม ผางประทีปดินเผา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาทรงชาม เนื้อแกร่ง ตกแต่งลายเขียนสีออกดำ สีเขียวขุ่น แหล่งเตาเผาบ้านป่ายาง-เกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลัย ชิ้นส่วนบัวปูนบั้น สัณนิษฐานว่าเป็นบัวปูนปั้นในส่วนฐานชุกชีพระประธาน ชิ้นส่วภาชนะดินเผาเครื่องหินตกแต่งลายขูดขีดเป็นเส้นบริเวณไหล่ อิฐของดั้งเดิมที่ใช้ก่อสร้างวิหาร อิฐที่ใช้ก่อสร้างวงโค้งของซุ้มมณฑปพระประธาน

ขณะนี้สวนสัตว์เชียงใหม่ มอบหมายให้คุณวิทยา สิงห์คำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ ทำการตกแต่งสถานที่ จัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมสวยงามแก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ พร้อมทั้งประสานงานกับคุณนพดล จริภักดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ ชมรมนักท่องเที่ยว ชมรมมัคคุเทศก์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ให้การส่งเสริมและสนับสนุนในโอกาสต่อไป

วันนี้เดินทางผ่านทุ่งกุลาร้องไห้ แสงแดดระยิบระยับ ทุ่งกว้างที่เวิ้งว้าง ผมใช้เส้นทางกู่กาสิงห์ โพนทอน แสนศรี ตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย ข้ามลำน้ำพลับพลา เข้าเขตตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เดินทางอีกไม่ไกลนัก มีป้ายบอกเส้นทาง และสอบถามผู้คน ทุกคนมีน้ำใจบอกเส้นทางไปอย่างมิตรภาพที่ดี ผมต้องตะลึงเพราะ ผู้คนจำนวนมากมาย น้ำที่เป็นสีฟ้าครามคล้ายน้ำทะเล คุ้มค่ากับการเดินทางมาจริงๆ ..ทะเลสาบทุ่งกุลาร้องไห้..

คุณเจียม หุนทอง อายุ 57 ปี โทร.088-4767931 กรรมการหมู่บ้าน บ้านม่วงสวรรค์ บ้านเลขที่ 48 ม.7 ตำบลไพรขลา เล่าให้ฟังว่า ปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 100 ล้านบาทขุดลอกพื้นที่กว่า 700 ไร่ สมัยคุณคำแปลง ลุนโน เป็นนายก อบต.ไพรขลา ปัจจุบันคุณคมสัน จันทร์หอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา คุณเชิดพงษ์ พวงแก้ว กำนันตำบลไพรขลา สถานที่แห่งนี้คือ “ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์” ของชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านม่วงสรรค์ คือคุณคมสันต์ จันทร์หอม ขุดลอกพื้นที่ 4-5 ปี เสร็จเรียบร้อย แบ่งพื้นที่ให้เกษตรกร ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ มีผู้คนมาทำซุ้มอาหาร แพอาหาร จนปี 2557 คณะกรรมการหมู่บ้าน ตำบล อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้เสนอโครงการเป็นแหล่งท่องเที่ยว “ทะเลสาบทุ่งกุลาร้องไห้” แบบติดตลาดอย่างรวดเร็วมาก ภายใน 3-4 ปีเท่านั้น ร้านอาหารประมาณ 100 ร้านค้า แพน้ำ 100 เรือน ผู้คนเรือนหมื่นแห่ไปท่องเที่ยว ทะเลสาบทุ่งกุลาฯ

คุณเจียม นำเดินชมแพน้ำพร้อมเล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านที่นี่ มาทำการค้าขาย บริการห่วงยาง ล้อยาง เสื้อชูชีพ เรือแบนนานาโบ๊ต สกู๊ตเตอร์ อาหาร มีปลาเผา ปลานึ่งมะนาว ไก่ย่าง ข้าวเหนียว ข้าวสวย เครื่องดื่ม นั่งแบบสบายใจ พื้นที่ริมฝั่งทะเลสาบทุ่งกุลาฯความยาว 1,500 เมตร แบ่งเป็น 13 โซน ผมจับสลากได้ โซน 8 เป็นการดำเนินการแบบประชาธิปไตย ไม่มีอิทธิพลใดๆมาเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่นี่

รายได้เข้าชาวบ้าน เข้าประชาชน คนหนึ่งเป็นหมื่นบาทในช่วงฤดูร้อน น้ำใสสีฟ้าคราม เรือสปีดโบ๊ต เรือสกู๊ตเตอร์ ปลอดภัยมีคณะกรรมการคอยสอดส่องดูแลตลอด ด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ชุมพลบุรี ตำรวจอาสา อปพร.คอยอำนวยความสะดวก ตลอดเส้นทางเข้าออก

คุณเจียม กล่าวว่า ทะเลสาบทุ่งกุลาฯ แห่งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน คนทุ่งกุลาร้องไห้ได้ ชุ่มฉ่ำกับสายน้ำเย็น จากอำเภอรัตนะ อำเภอท่าตูม เรียบถนนเส้นทางชุมพลบุรี ถึงทะเลสาบทุ่งกุลา จากอำเภอชุมพลบุรี ประชาชนมาจาก อำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ หรือพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม หรือ ประชาชนมาจากอำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ผ่านดงครั่งใหญ่ บ้านนกเหาะ ดงครั่งน้อย หรือจากอำเภอเกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ ผ่านกู่กาสิงห์ บ้านโพนทอน แสนศรี ข้ามลำน้ำพลับพลา เส้นทางล้วนสะดวก สบาย

แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำแห่งใหม่ของคนทุ่งกุลาร้องไห้ “ทะเลสาบทุ่งกุลาฯ” เป็นความน่าทึ่งอย่างแท้จริง ลงทุน 100 ล้านบาทของรัฐบาล เป็นงบประมาณเพียงน้อยนิด ต้องเปิดใจกว้างแล้วครับ ทุ่งกุลาร้องไห้ สามารถพัฒนาได้ ไม่เชื่อต้องแวะเที่ยวแล้วครับ ใจกลางทุ่งกุลาร้องไห้ ก็มี ดีดี

จากความไม่อุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ เพาะปลูกไม่ได้ผล ชุมชนขาดแคลนอาหาร นักเรียนประสบปัญหาภาวะทางโภชนาการ จึงริเริ่มสร้างความมั่นคง ยั่งยืน ทางอาหาร ทั้งในโรงเรียนและชุมชน ผ่านกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร

นายเสมอ หาริวร ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ปี 2560 และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเพียงหลวง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการจัดตั้ง กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง 12 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 นักเรียนทั้งหมดเป็นคนชุมชนบ้านท่าล้ง เป็นชนเผ่าไทบรู มีประชากร ๓๕๐ คน ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน เป็นที่ลาดเชิงเขาอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม สภาพดินไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช เป็นชั้นหิน ไม่มีแหล่งน้ำ ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ทำให้ผลผลิตข้าวในชุมชนไม่พอเลี้ยงครอบครัว ชุมชนขาดแคลนอาหาร นักเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพ มีพัฒนาการด้านร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์

ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน จึงมีความคิดริเริ่มแก้ปัญหาโดยการสร้างแหล่งอาหารให้นักเรียน ผ่านกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน ทั้งในโรงเรียนและชุมชน พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบประณีตผ่านกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร เพื่อสร้างผลผลิตเกษตรในพื้นที่ที่มีจำกัดแต่ให้มูลค่าสูง เร่งศึกษาพัฒนา การแก้ปัญหาทั้งเรื่องดินและน้ำ รวมทั้งความรู้กระบวนการทางด้านการเกษตร โดยดำเนินการตั้งแต่เด็กช่วงวัยเรียนในโรงเรียน ปลูกฝังและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีทางด้านอาหาร ให้มีความต่อเนื่อง มั่นคงและยั่งยืน โดยน้อมนำเอาแนวทางปฏิบัติตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร พร้อมประสานความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ เร่งศึกษาพัฒนาการแก้ปัญหาเรื่องดินและน้ำ ความรู้กระบวนการทางด้านการเกษตรให้กับกลุ่มยุวเกษตรกร

ปัจจุบันกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง 12 มีสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร 40 คน โดยโรงเรียนได้บูรณาการงานกลุ่มยุวเกษตรกรเข้าไว้ในสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คุณลักษณะ และสมรรถนะ กำหนดในหลักสูตรการเรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร และหลังจากการเรียนการสอนในห้องเรียนตั้งแต่เวลา ๑๔.๓๐ น. เป็นต้นไปของทุกวัน คือ ช่วงเวลาของ การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร โดยไม่เว้นวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ และช่วงปิดภาคเรียน โดยงานของยุวเกษตรกร ถูกแบ่งออกเป็น งานรวมที่โรงเรียน งานกลุ่มย่อยที่โรงเรียน และงานขยายผลที่บ้าน เพื่อขยายองค์ความรู้ทางการเกษตรสู่ครอบครัวของยุวเกษตรกรและชุมชน

ผ่านกิจกรรมการทำดินปลูก ทำปุ๋ยหมัก ทำสารไล่แมลง ทำนำยาเอนกประสงค์ สวนดอกแกลดิโอลัส สวนแก่นตะวัน เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงปลา เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงให้โรงเรียน และชุมชน ทำให้นักเรียนมีอาหารพอตลอดปี และมีรายได้ มีเงินออมสร้างความยั่งยืนผ่านกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร การพัฒนากลุ่มฯอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง 12 เป็นกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบของจังหวัดอุบลราชธานีให้โรงเรียน ทั้งในท้องถิ่นและจังหวัดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร และงานด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ เคหกิจเกษตร ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชนเกษตร นายเสมอ จึงเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ปี 2560

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่หมู่ 7 ต.ขุนพิทักษ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากน้ำในลำคลองเกิดการเน่าเสียใช้ในการเกษตรไม่ได้ และ ปลาหลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในคลองธรรมชาติลอยตายจำนวนมาก

นายธำรงค์ พูนทองดีวัฒนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขุนพิทักษ์ อ.ดำเนินสะดวก หลังได้รับแจ้งจึงเดินทางไปตรวจสอบบริเวณลำคลองที่ประชาชนใช้ประโยชน์ พบว่าปลาขนาดใหญ่ลอยตายเกลื่อนเป็นตัน เช่น ปลาตะเพียนขาว ตะเพียนแดง ปลาแขยง ปลาบึก และอื่น ๆ อีกหลายชนิด บางตัวเริ่มลอยหัวขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ นอกจากนี้น้ำเริ่มส่งกลิ่นเหม็นไปตลอดลำคลอง ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนดำเนินสะดวกที่ปลูกพืชผัก ผลไม้ อย่างมะนาว ละมุด องุ่น และพืชผักอีกหลายชนิดไม่สามารถใช้น้ำในลำคลองสายนี้ได้

นายธำรงค์ พูนทองดีวัฒนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขุนพิทักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการตายของปลาที่ลอยตายอยู่ตลอดคลอง ซึ่งเป็นคลองซอยที่เชื่อมต่อจากคลองซินแซครก และคลองรางห้าตำลึง ซึ่งจะไหลเชื่อมต่อคลองในตำบลดอนมโนรา จ.สมุทรสงคราม และยังเชื่อมต่อคลองในตำบลโรงเข้ จังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย จากการตรวจสอบตั้งแต่ต้นคลองจนถึงปลายคลองก็พบปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาตะเพียน และปลาบึกลอยตายเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ยังมีสีดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็นปะปนมาด้วย พร้อมกับแจ้งชาวบ้านและเกษตรกรที่อยู่ริมคลองให้ช่วยกันนำสวิงช้อนปลาที่ลอยตายขึ้นจากน้ำเพื่อลดผลกระทบ และกลิ่นเหม็นในพื้นที่ หลังจากนั้นจะได้แจ้งให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัดทราบ เพื่อเร่งตรวจสอบพร้อมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว

ด้านนายมาน้อม วรรณศิริ อายุ 65 ปี เกษตรกรผู้ปลูกมะนาว เปิดเผยว่า ส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีโรงงานปล่อยน้ำเสียออกมา ที่ผ่านมาเคยมีแต่ไม่หนักมากถึงขนาดนี้ หลังได้เกิดปลาตายมาแล้วเมื่อประมาณ 2 วันที่แล้วและเริ่มตายเป็นจำนวนมากในวันนี้จากที่เกิดฝนตกหนักลงมาในช่วงกลางคืนและจะมีการปล่อยน้ำไหลลงมาถึงที่บริเวณนี้ประมาณ 4-5 วัน ส่งผลกระทบให้น้ำเสียเข้าสวนผัก ผลไม้ ทำให้ใช้น้ำไม่ได้หากนำน้ำเสียเข้าไปผสมกับสารเคมีเพื่อฉีดพ่นผักผลไม้ก็จะได้รับความเสียหาย

ขณะนี้ได้แจ้งเรื่องมาที่ อบต.ขุนพิทักษ์ให้เข้ามาตรวจสอบหาสาเหตุ เบื้องต้นคงจะต้องนำสวิงช้อนปลาที่ตายขึ้นจากน้ำก่อนเพื่อลดปัญหาน้ำเสียและเรื่องกลิ่นเหม็น นอกจากนี้ยังได้ประสานไปยังเกษตรกรที่เลี้ยงปลากะพงในพื้นที่ใกล้เคียงอย่าเพิ่งสูบน้ำเข้าบ่อปลา เพราะน้ำเสียอาจทำให้ปลากะพงที่เลี้ยงตายได้ จึงขอฝากสื่อช่วยประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือเรื่องการกระตุ้นการแก้ไขปัญหาให้ได้รับการแก้ไขโดยเร็วด้วย

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของเกษตรกรไทย รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีนโยบายในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวและรายได้ของชาวนาไทย โดยจัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการผลิตข้าวของชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลปยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯจึงได้จัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2560/61ขึ้น

ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบไปเมื่อเร็วๆนี้ โดยแผนดังกล่าวประกอบด้วยรวม 3 โครงการ โดยมีระยะดำเนินการ 5 ปี (2560-2564) เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 25,871 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ปี 2560 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรในพื้นที่ 21 จังหวัด ซึ่งเป็นเกษตรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์) ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ โดยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิราคาถูกให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 60,000 ครัวเรือน รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว 4,500,000 กิโลกรัม อัตราการช่วยเหลือครัวเรือนละไม่เกิน 5 ไร่ ไร่ละ 15 กิโลกรัม โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่เดือน มี.ค.- ต.ค.60) วงเงินรวม 57 ล้านบาท

ส่วนโครงการที่ 2 เป็นโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่หลักเกณฑ์ใหม่) ปี 2560-2564 โดยการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมตัวกันเพื่อการผลิตและจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน และสามารถลดต้นทุน โดยมีเป้าหมาย 18,800 กลุ่ม พื้นที่ 19.375 ล้านไร่ ใช้งบประมาณ 16,117.62 ล้านบาท โดยมีการส่งเสริมด้านการพัฒนาการผลิตข้าว เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวและเครื่องจักรกลการเกษตร มีการถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการตรวจรับรองตรวจคุณภาพ GAP แบบกลุ่ม พร้อมทั้งส่งเสริมการบริหารจัดการ โดยการจัดจ้างผู้จัดการแปลงมืออาชีพเพื่อบริหารจัดการกลุ่ม พัฒนาด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายผลผลิตข้าว โดยให้มีการจัดทำแผนการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการการซื้อข้าว มีการจัดเวทีเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อสร้างข้อตกลงด้านการตลาดข้าว ตลอดทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐหลายๆ ส่วน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์

ส่วนโครงการที่ 3 คือโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ valenth.com มีระยะเวลาดำเนินการ 5ปี (2560-2564) ภายใต้วงเงินงบประมาณ 9,696.52 ล้านบาทแบ่งเป็น เงินอุดหนุนเกษตรกร วงเงิน 9,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีกจำนวน 696.52 ล้านบาท วางเป้าหมายเกษตรกร 66,700 ราย พื้นที่ 1ล้านไร่ภายในปี 2564 สำหรับวิธีดำเนินการ จะรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรที่รวมกลุ่ม 5คนขึ้นไป มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 100ไร่ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว 15กิโลกรัมต่อไร่ อุดหนุนเงินให้แก่เกษตรกรเพื่อชดเชยรายได้รายละไม่เกิน 15ไร่ๆละ9,000 บาท แบ่งจ่ายเป็น 3ปี ได้แก่ ปีที่ 1 จำนวน 2,000 บาทปีที่ 2 จำนวน 3,000 บาทและปีที่ 3จำนวน 4,000 บาท

เมื่อได้รับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ (Organic Thailand) รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดข้าวอินทรีย์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตลอดจนสนับสนุนการตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์แบบกลุ่มและการเชื่อมโยงการตลาดข้าว ผู้แปรรูปและผู้จำหน่ายข้าวอินทรีย์ โดยผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรเชื่อมั่นว่าแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรดังกล่าว จะช่วยให้ชาวนามีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มีวางแผนการตลาดล่วงหน้า ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาด เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจําหน่ายเมล็ดพันธุ์ ลดต้นทุนการผลิต ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เองและกระจายในท้องถิ่นความยั่งยืนในอนาคต

นายประลอง ดำรงค์ไทย โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นถึงปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน ทส.จึงได้มอบหมายให้ กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้การแปลภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต ในการตรวจสอบสภาพพื้นที่ป่า พบว่าตั้งแต่ปี 2557 มาจนถึงปัจจุบัน อัตราการลดลงของพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน เฉลี่ยเหลือเพียงปีละ 345 ไร่ จากก่อนหน้าปี 2557 พื้นที่เคยถูกบุกรุกกว่า ปีละ 74,000ไร่(ข้อมูลพบว่าปี 2551 จังหวัดน่านมีพื้นที่ป่า 5,103,550 ไร่ ปี 2557 มีพื้นที่ป่า 4,659,641 ไร่ ปี 2559 มีพื้นที่ป่า 4,658,605 ไร่) เนื่องจากนโยบายการหยุดยั้งการบุกรุกพื้นที่ป่าของรัฐบาล คสช. ที่เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น

โดยเฉพาะจังหวัดน่าน สามารถทวงคืนพื้นที่ป่าได้กว่า 20,040 ไร่ โดยการทำงานบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ในการจัดการป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน โดยเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน ใช้หลักการแก้ไขปัญหารูปแบบประชารัฐในการลงไปสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการและประชาชน รวมทั้งกลุ่มต่างๆในจ.น่าน ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ให้ร่วมกันฟื้นฟู ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินการ 7 ข้อ ได้แก่

การสร้างความเข้าใจทุกภาคส่วน (มท.)

– การจัดระเบียบคนและพื้นที่ (ทส.)

– การป้องกันและรักษาป่า (ทส.) การฟื้นฟูระบบนิเวศ (ทส.)

– การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ (กษ.)

– การสร้างองค์ๆๆรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ศธ.) นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของกลุ่มเกษตรกร ในเขตป่าของจังหวัดน่าน ได้มีการประชุมและประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ระหว่าง 4 หน่วยงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ในการปรับแก้พืชเกษตรที่จะมาทดแทนข้าวโพด โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชาในเรื่องของการปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง มาใช้ในการดำเนินการ พร้อมกันนี้กระทรวงทรัพยากรฯ โดยกรมป่าไม้ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเลือกชนิดพืชเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับที่จะไปดำเนินการในเรื่องนี้ อีกทั้งมีการหารือเรื่องการลดการใช้สารเคมี และการนำรูปแบบวนเกษตรมาใช้