เตือนเกษตรกรระวังขี้ขาวในกุ้ง แนะเลี้ยงปลานิลในบ่อลงทุนน้อย

ลดการเกิดโรคสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ติดตามการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เผย เกษตรกรมีการบริหารจัดการการเลี้ยงที่ดีขึ้น ส่งผลให้โรคตายด่วนลดลง เตือนอาจพบอาการ ขี้ขาว แนะ เลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้ง ช่วยลดการเกิดโรคได้ อีกทั้งเป็นการลงทุนที่ไม่สูงมาก

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ติดตามสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 24 – 28 เมษายน 2560 พบว่า การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่ภาคใต้ เกษตรกรมีการบริหารจัดการการเลี้ยงได้ดีขึ้น ทำให้ความเสียหายจากโรคตายด่วนลดลง

จากการติดตาม กุ้งที่เลี้ยงในช่วงนี้ อาจมีอาการขี้ขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไมโครสปอร์ริเดีย (Enterocytozoon hepatopenaei) ที่พบอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ตะกอนดินที่หมักหมมก้นบ่อ ซึ่งแม้ลูกพันธุ์กุ้งที่ปล่อยลงเลี้ยงจะมีคุณภาพดีแต่หากปล่อยในบ่อเลี้ยงที่ไม่สะอาดและมีการจัดการการเลี้ยงที่ไม่ดี กุ้งที่เลี้ยงอาจมีอาการขี้ขาวได้ ส่งผลให้กุ้งทยอยตายเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 50 วันขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่กุ้งที่จับในช่วงอายุนี้ จะมีขนาดประมาณ 100 ตัวต่อกิโลกรัม

หากเกษตรกรพบอาการดังกล่าว (มีขี้ขาวลอยขึ้นมา) สามารถจับกุ้งขายก่อนกำหนดได้ในราคากิโลกรัมละ 141.87 บาท แต่หากกุ้งไม่มีอาการ เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ครบ 90 วัน ซึ่งจะได้กุ้งที่โตขึ้นขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และขายได้ (เฉลี่ย ณ มกราคม – เมษายน 2560) ในราคากิโลกรัมละ 204.13 บาท

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้บางราย ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง โดยการปล่อยลูกพันธ์ปลานิลลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง และปล่อยกุ้งหนาแน่นน้อยลงเฉลี่ย 100,000 ตัวต่อไร่ หลังจากปล่อยลูกกุ้งไปได้ 15 – 20 วัน จึงปล่อยลูกพันธุ์ปลานิลในอัตรา 250 – 300 ตัวต่อไร่ ซึ่งปลานิลจะเป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดบ่อเลี้ยง มีการกินเศษอาหารที่เหลือค้างก้นบ่อ ช่วยลดการหมักหมมของตะกอนก้นบ่อที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ ส่งผลให้กุ้งมีอัตรารอดถึงร้อยละ 80 เกษตรกรได้ผลผลิตกุ้งไร่ละ 1.3 – 1.5 ตันต่อรุ่น

ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบ่อเลี้ยงให้มีความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการเลี้ยงปลานิล ในบ่อกุ้ง นับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดโรคที่ทำได้ง่ายภายใต้การลงทุนที่ไม่สูงมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคได้ รองเลขาธิการ กล่าวทิ้งท้าย

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เสนอผลการพิจารณาระบายข้าวกลุ่ม 3 หรือข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มิใช่คนและสัตว์บริโภค ซึ่งเปิดประมูลไปเมื่อวันที่ ให้กับประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาและได้อนุมัติขายให้กับเอกชนจำนวน 10 ราย ใน 81 คลัง ปริมาณ 5 แสนตัน จากทั้งหมดที่นำมาเปิดประมูล 1.03 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,523 ล้านบาท

ทั้งนี้ การอนุมัติขายข้าวเสื่อมเข้าสู่อุตสาหกรรม เนื่องจากทางคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ซึ่งมีน.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิจารณาแล้ว และได้กำหนดเกณฑ์ราคาที่จะอนุมัติขายให้กับผู้เสนอซื้อในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 2,000 บาท เพราะการเสนอซื้อข้าวเสื่อมรอบนี้ มีการเสนอซื้อหลากหลายราคา โดยราคาต่ำสุดอยู่ที่ตันละ 500 บาท จึงต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมา ส่วนที่เสนอต่ำกว่าก็ไม่อนุมัติขาย

อย่างไรก็ตาม หากนับรวมการอนุมัติขายข้าวเสื่อมเข้าสู่อุตสาหกรรมรอบนี้ จะทำให้ตั้งแต่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศในช่วง 3 ปี สามารถระบายสต๊อกรัฐบาลออกไปได้แล้ว 12.74 ล้านตัน มูลค่า 1.14 แสนล้านบาท

สำหรับการเปิดประมูลข้าวสารเป็นการทั่วไปล็อตสุดท้าย ซึ่งเป็นข้าวกลุ่ม 1 ที่ใช้เพื่อการบริโภคปกติปริมาณ 1.82 ล้านตัน โดยในวันนี้ (24 พ.ค.) มีผู้ยื่นซองเสนอราคา 58 ราย จากที่ผ่านคุณสมบัติ 59 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดซองเสนอราคา หลังจากนั้นจะเสนอที่ประชุม คณะทำงานระบายในวันที่ 26 พฤษภาคม ก่อนที่จะสรุป เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ต่อไป

“ในการประชุมนบข.วันที่ 12 มิ.ย. กรมจะเสนอแนวทางการระบายข้าวที่เหลือค้างสต๊อก ซึ่งก่อนจะถึงวันนั้นจะทราบผลการประมูลข้าวทั่วไปว่าขายหมดหรือไม่ หากขายหมด จะเหลือข้าวกลุ่ม 2 หรือข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่อาหารคน 2 ล้านตัน ซึ่งจะเปิดระบายในเดือนมิ.ย.นี้ และข้าวกลุ่ม 3 อีก 5 แสนตันที่ยังเหลืออยู่จะระบายในเดือนก.ค.นี้”

สำหรับการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค. 2560 ไทยส่งออกข้าวได้แล้ว 4.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 14.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาส่งออกได้ 3.8 ล้านตัน มูลค่า 6.65 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกมูลค่า 6.12 หมื่นล้านบาท หากคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ จะมีมูลค่า 1,951 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.6% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 1,728 ล้านเหรียญสหรัฐ

“การส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดย 5 เดือน สามารถส่งออกได้แล้วสัดส่วน 48% ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 9.5 ล้านตัน ทำให้คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในปีนี้น่าจะไปได้ถึง 10 ล้านตันอย่างแน่นอน” นางดวงพร กล่าว

รศ.ดร. บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวในการแถลงข่าวการจัดงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2560 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคเหนือตอนบนกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ว่า งานวันสหกิจศึกษาไทยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของผู้ผลิตบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลผลิตของอุดมศึกษาไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่ร่วมจัดสหกิจศึกษา และภาคสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญรวมทั้งประโยชน์ของการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา

รศ.ดร. บัณฑิต กล่าวอีกว่า ทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้องค์กรและบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมดำเนินการสหกิจศึกษาได้มีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาสหกิจศึกษาของประเทศไทยอย่างจริงจังต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยต่อไป

รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คาดหวังให้การจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลเจริญก้าวหน้ามากว่า 20 ปี ด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถานประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนของประเทศ

“งานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 8 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ไทยแลนด์ 4.0 : ความท้าทายสหกิจศึกษา” ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ การเสวนาสหกิจศึกษากับไทยแลนด์ 4.0 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานดีเด่นด้านสหกิจศึกษาระดับชาติ และการประกาศเกียรติคุณสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติและระดับโลกแก่สถาบันอุดมศึกษา องค์กร และบุคคลดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์ด้านสหกิจศึกษา ตลอดจนการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีและผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆ ทั้งในประเทศและนานาชาติ” รองเลขาธิการ กกอ.กล่าว

วันนี้ (24 พฤษภาคม 2560) กยท. และ เหินฟง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายยาง ณ การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ทั้ง 2 ฝ่ายจะซื้อขายยางประเภท ยางแท่ง STR 20 หรือยางคอมปาวด์ ตามมาตรฐานสากล ปริมาณเฉลี่ยเดือนละ 5,000 ตัน ส่งมอบล๊อตแรกช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ เปิดรับสมัครสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ เข้าร่วมโครงการฯ หวังดูดซับยางในฤดูกาลเปิดกรีดที่จะถึงเร็วๆนี้ ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค 1 ใน 3 บริษัทผู้ผลิตยางล้อยักษ์ใหญ่ของจีน

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากลงนามบันทึกช่วยจำ เมื่อครั้งที่ กยท.ไปดูงานที่ประเทศจีนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้มีโอกาสได้ไปดูศักยภาพการผลิตของบริษัท เหินฟง รับเบอร์ อินดัสเทรียล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศจีน ที่มีกำลังการผลิตจำนวนมาก เพราะมีความต้องการใช้ยางวันละประมาณ 30,000 ตัน เราจึงนำความต้องการนี้มาพิจารณาว่ากำลังการผลิตที่สามารถหาได้จะตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท เหินฟง ได้มากน้อยเท่าไรได้บ้าง ณ วันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อขายยาง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ส่งผู้มีอำนาจลงนาม มาลงนามซื้อขายฉบับแรก โดยในสัญญาซื้อขายฉบับแรกนั้นได้แสดงความจำนงต้องการซื้อยางจากการยางแห่งประเทศไทยเดือนละ 5,040 ตัน ซึ่งจะเป็นยางประเภท STR 20 หรือยางคอมปาวน์ ตามมาตรฐานสากล โดย กยท. จะเป็นผู้รวบรวมยางจากพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางด้วยการซื้อผ่านทางสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และคัดเลือกยางที่มีคุณภาพเหมาะสมตรงตามความต้องการ ทั้งนี้ จะเป็นการดูดซับเอายางจากฤดูกาลเปิดกรีดนี้ออกจากตลาดได้ประจำทุกเดือน ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยาง หรือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่มีศักยภาพจะมีส่วนร่วมในการจำหน่ายวัตถุดิบในโครงการนี้ด้วย

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ความต้องการใช้ยางของบริษัท เหินฟง นั้นมีมากกว่านี้มาก แต่ในจุดเริ่มต้นจะเริ่มที่ประมาณ 5,000 ตันต่อเดือน และหากผ่านไปแล้ว 6 เดือนถึง 8 เดือน ถ้าเราเห็นศักยภาพของคู่ค้าและศักยภาพของผู้ผลิตแล้ว กยท.ก็อาจจะปรับเพิ่มตามความต้องการใช้ เพราะในเครือบริษัทของกลุ่ม เหินฟง มีมากถึง 45 บริษัท ที่อยู่ในมลฑลชานตุง ซึ่งมีความต้องการใช้ยางปีละ 1.5 ล้านตัน

“สำหรับโครงการนี้ กยท. ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตรายเดียว แต่จะต้องรับซื้อยางไม่ว่าจะเป็นยางก้อนถ้วย หรือยางประเภทอื่นๆ จากเกษตรกร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นยาง STR 20 ผ่านโรงงานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ กยท. แต่ถ้าปริมาณความต้องการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น จะเปิดรับจากสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว ซึ่งมีโรงงานที่จะมาเข้าร่วมโครงการและผลิตคุณภาพเดียวกัน ภายใต้การรับรองของ กยท.”

Mr.SHUO LU ประธานกรรมการ บริษัท เหินฟง รับเบอร์ อินดัสเทรียล จำกัด กล่าวว่า มีความยินดีมากที่มีการดำเนินการทำสัญญาซื้อขายยางอย่างเป็นทางการร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมาเป็นเวลายาวนาน ประเทศจีนถือว่ามีการใช้ยางในมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางมากที่สุดในโลก ซึ่งในปีที่ผ่านมาประเทศจีนนำเข้ายางจากประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนประมาณ 4.8 ล้านตัน โดยนำเข้ายางจากประเทศไทยในปริมาณมากที่สุด ทั้งนี้ ทางบริษัทได้นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทยและมาเลเซียป้อนเข้าโรงงานเพื่อผลิตยางล้อ คิดเป็น 30,000 ตัน/วัน และในปีนี้โรงงานจะผลิตยางล้อ 800,000 เส้น และ ยางรถเล็ก 300,000 เส้น

“การร่วมธุรกิจซื้อขายยางครั้งนี้จะส่งผลดีในด้านราคาที่ยุติธรรม เนื่องจากเป็นการซื้อขายที่ไม่ผ่านคนกลางใดๆ ทั้งสิ้น และรู้สึกเชื่อมั่นในคุณภาพยางของประเทศไทย เชื่อมั่นใน กยท. และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางผู้ผลิตยางที่ กยท. ดูแล ซึ่ง กยท. จะสามารถนำยางที่มีคุณภาพส่งให้บริษัทตามที่ต้องการได้ ซึ่งนำไปสู่การร่วมดำเนินธุรกิจซื้อขายยางที่ดีต่อไปในอนาคต” Mr.SHUO LU กล่าวทิ้งท้าย

นายสังข์เวิน ทวดห้อย ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง กรรมการคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงซื้อขายยางระหว่าง กยท. และ บริษัท เหินฟง รับเบอร์ อินดัสเทรียล จำกัด จากประเทศจีน ในฐานะเกษตรกรชาวสวนยางมีความพึงพอใจมาก เพราะเรามีความมุ่งหวังในการเป็นผู้นำด้านการผลิตยาง ซึ่งในระดับต่างประเทศ เกษตรกรชาวสวนยางก็สามารถทำได้ และขณะนี้ กยท.ได้ทำหน้าที่ในการมองหาตลาด เป็นสื่อกลางให้กับพ่อค้า เพื่อรวบรวมวัตถุดิบที่มีคุณภาพขายให้ผู้บริโภคโดยตรง ฉะนั้นเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายวัตถุดิบจะต้องให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำคือ การดูแลและควบคุมเรื่องคุณภาพ อย่างเช่นยางก้อนถ้วย ควรให้ความระมัดระวังไม่ให้มีสิ่งปลอมปน ในส่วนของกลางน้ำ จะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพเช่นกัน เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของยางพาราไทย ซึ่งผู้บริโภค หรือผู้ซื้อจะได้เชื่อมั่นและพึงพอใจต่อสินค้า ก่อให้เกิดการซื้อขายและทำธุรกิจร่วมกันอย่างยาวนานที่สุด

(จังหวัดแพร่) ปศุสัตว์จังหวัดแพร่มอบตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” แก่ผู้ประกอบการเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP จำนวน 10 รายนำร่อง ที่ร่วมกันพัฒนาสถานที่จัดจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัยตามมาตรฐานขอกรมปศุสัตว์ พร้อมชื่นชมที่ร่วมกันยกระดับความปลอดภัยในอาหารให้กับประชาชนชาวแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

นายราชันย์ ภุมมะภูติปศุสัตว์จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ตระหนักถึงความปลอดภัยในอาหารของผู้บริโภค จึงมุ่งดำเนินโครงการเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค หรือ ปศุสัตว์ OK ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความอย่างยั่งยืน โดยกรมปศุสัตว์ได้ตั้งเป้ารับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ปศุสัตว์ OK ให้ได้ 4,000 แห่งภายในสิ้นปี 2560 นี้ ปศุสัตว์จังหวัดแพร่รับนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการเร่งรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันระบบการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง พร้อมเชิญชวนให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์

ทั้งในตลาดสด และผู้จำหน่ายในลักษณะตู้หมูชุมชน ได้หันมาร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาสถานที่จัดจำหน่ายของตนเองให้มีมาตรฐาน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เก็บเนื้อสัตว์รอจำหน่ายในตู้แช่เย็น เพื่อคงคุณค่าและความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์จนถึงมือผู้บริโภค เพราะจุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะถือเป็นปลายน้ำก่อนไปสู่ผู้บริโภค เมื่อจุดจำหน่ายได้รับสัญลักษณ์ดังกล่าว เท่ากับเป็นการการันตีว่าตลอดการผลิตจนกระทั่งได้เนื้อสัตว์มาจำหน่ายนั้น มีการการเฝ้าระวังสารตกค้าง อาทิ สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งโต อย่างเข้มงวด และมีการตรวจสอบจุลินทรีย์ที่จุดจำหน่ายเป็นประจำ

“เนื้อสัตว์ปลอดภัยต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เลี้ยงในฟาร์มมาตรฐาน (GAP) ผ่านโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย และสถานที่จำหน่ายสะอาด ดังเช่นเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP ที่ซีพีเอฟส่งเสริมให้ผู้ประกอบรายย่อยได้มีอาชีพมั่นคงและเป็นต้นแบบของการสนับสนุนการส่งมอบอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอยู่แล้ว เมื่อเข้าร่วมโครงการปศุสัตว์ OK ก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าเมื่อเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่ได้รับการรับรอง จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน สด สะอาด ปลอดภัย ปลอดสาร ถือเป็นความร่วมมืออันดีของทุกฝ่ายเพื่อประชาชนชาวแพร่” นายราชันย์ กล่าว

ด้าน นายวิรัตน์ ตันหยงรองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจสุกรภาคเหนือตอนบน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวเสริมว่า โครงการปศุสัตว์ OK มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อตรวจสอบ และรับรองกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งตรงกับเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการสร้างผู้ประกอบการเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP ด้วยการสนับสนุนให้คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างช่องทางการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัย จากฟาร์มเลี้ยงที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ที่มีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด มีการดูแลสัตว์เลี้ยงให้อยู่สบายปลอดจากโรค และไม่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างเด็ดขาด จึงได้หมูที่มีคุณภาพเพื่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ส่วน นายพยุงเกียร์ติ ปันศิล อายุ 60 ปี เถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ กล่าวว่า เดิมประกอบกิจการร้านขายของชำและเถ้าแก่เล็กไก่ย่างห้าดาว เมื่อเห็นโครงการเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน ก็มีความสนใจมากเพราะร้านมีมาตรฐาน ซึ่งตรงกับความต้องการของตนเองที่อยากขายสินค้าที่มีคุณภาพ จึงเข้าร่วมโครงการกับซีพีเอฟมาตั้งแต่ปลายปี 2559 ที่ผ่านมาผู้บริโภคให้ความสนใจและตอบรับเป็นอย่างดี เพราะมีความมั่นใจในสินค้า และสถานที่จำหน่ายและระบบการจัดจำหน่ายที่มีมาตรฐานทั้งของบริษัทและปศุสัตว์ OK ทำให้ผู้บริโภคยิ่งเข้ามาเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะการเก็บเนื้อสัตว์ในตู้แช่เย็นตลอดเวลา ทำให้เนื้อสัตว์มีความใหม่ สด สะอาด ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเพื่อนๆในชุมชนได้เลือกซื้อเนื้อสัตว์สะดวกขึ้นและสามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ตลอดเวลาไม่ต้องซื้อจำนวนมากไปเก็บไว้ที่บ้านให้ยุ่งยากเหมือนในอดีต

ขณะที่ นางบังอร พรินทรากูล อายุ 52 ปี เถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ บอกว่า ก่อนนี้เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอย และน้ำเงี้ยว รวมถึงเป็นเถ้าแก่เล็กไก่ย่างห้าดาวอยู่แล้ว แต่พบว่าในชุมชนที่มีประชากรอยู่หนาแน่นยังมีความต้องการเรื่องเนื้อสัตว์อีก เนื่องจากแหล่งจำหน่ายอยู่ห่างไกลจากชุมชน จึงมีแนวคิดหารายได้เสริมด้วยการจำหน่ายเนื้อสัตว์เพิ่มเติมเพราะยังมีพื้นที่ร้านที่ว่างอยู่ เมื่อได้รับคำแนะนำจากพนักงานของซีพีเอฟเรื่องตู้หมูชุมชน จึงตัดสินใจร่วมโครงการ จากการจำหน่ายมาประมาณ 5 เดือน สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น และร้านเป็นที่รู้จักว่า จำหน่ายเนื้อหมูชำแหละที่สด สะอาด ปลอดภัย และยังได้รับตราสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK ด้วย ตนเองรู้สึกภูมิใจที่มีส่วนสนับสนุนให้ผู้บริโภคในชุมชนมีโอกาสเข้าถึงอาหารคุณภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2560) “ ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2560

ในช่วงวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2560 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือก่อน หลังจากนั้น ภาคตะวันออกและภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ในวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2560
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย mobiltarca.com หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธิ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ
– ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ และ กำแพงเพชร
– ภาคกลาง บริเวณจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2560
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดชัยภูมิ นคราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
– ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และตาก
– ภาคกลาง บริเวณจังหวัด อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้ จะมีฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตจราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
– ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนาม และอ่าวตังเกี๋ย และในช่วงวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2560 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนขึ้นไปบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนและประเทศเมียนมาลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้

ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ทราบจากเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกสับปะรดว่าตอนนี้เดือดร้อน เนื่องจากต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ ทำให้โรงงานมีสต๊อคค้างเยอะสิ่งที่สภาฯจะเสนอเรียกร้องรัฐบาลคือการเรียกประชุมคณะกรรมการสับปะรดแห่งชาติโดยด่วน เพื่อที่จะพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาให้ทั้งระบบ ทั้งนี้ อยากเห็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างโรงงานและผู้ปลูกสับปะรด ซึ่งอาจจะใช้แผนพัฒนาสับปะรดอย่างยั่งยืนของคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อทำการวางแผนซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อกำหนดราคาได้

โรงงานก็จะมีหลักประกันเรื่องวัตถุดิบไม่ผันแปรมากนัก และทั้ง 2 ฝ่ายสามารถวางแผนการผลิตร่วมกันได้ นอกจากนั้น สภาเกษตรกรฯก็อยากเห็นการผลักดันตลาดใหม่ๆเพื่อผลักดันออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น จีน ที่มีกำลังซื้อมากและต้องการผลสด โดยเฉพาะพันธุ์ MD2 ซึ่งเก็บรักษาความสดได้นานกว่า หากรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์จริงจังแล้วคุยกับเครือข่ายเกษตรกรจะผลักดันเข้าสู่ตลาดประเทศจีนได้ล็อตใหญ่ ซึ่งต้องรีบดำเนินการหากให้เกษตรกรดำเนินการเองเวลานี้ก็เกินกำลัง อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติยังคงเดินหน้าผลักดันเรื่องของสับปะรดด้วยการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้งจากเกษตรกร ,ผู้ประกอบการ และส่วนราชการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุม 301 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี