เทคนิคการปลูกเพื่อผลผลิตที่ดีเทคนิคสำคัญในการปลูกผักหวาน

ให้มีคุณภาพ และต้นแข็งแรงให้ผลผลิตดีอยู่ที่การแซม “ต้นไม้พี่เลี้ยง” หรือไม้ที่ให้ร่มเงา นอกจากผักหวานป่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการแดดมาก ผักหวานต้องการแสงแดดเพียง 30% เท่านั้น พืชพี่เลี้ยงจึงเป็นประโยชน์ในการให้ร่มเงา ในกรณีที่ไม้พี่เลี้ยงยังไม่โตพอที่จะให้ร่มเงากับผักหวานได้ ให้ใช้ซาแรนคลุมต้นผักหวานไปก่อน เป็นการช่วยลดแสงไม่ให้กระทบกับต้นผักหวานโดยตรง นอกจากนี้ ยังเป็นตัวช่วยหาอาหารใต้ดินให้กับผักหวานอีกด้วย เนื่องจากผักหวานจะอาศัยการกินอาหารกับรากพืชอื่น”

ไม้พี่เลี้ยงที่ คุณทองคำ เลือกปลูก ได้แก่ แคบ้าน มะขามเทศ และตะขบ ซึ่งจากการสังเกตแล้ว คุณทองคำ เล่าว่า ผักหวานที่อยู่ใกล้กับไม้พี่เลี้ยงแคบ้าน ใบจะมีสีเขียวสวย สันนิษฐานว่า เนื่องจากแคเป็นพืชในตระกูลถั่ว ซึ่งมีจุดเด่นในการตรึงไนโตรเจน มาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

คุณทองคำ แนะนำสำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกผักหวานป่าว่า ต้องคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ดี หากเก็บมาจากป่าให้เลือกเมล็ดที่แก่จัด มีสีเหลืองอมส้ม เมล็ดโตไม่ลีบ นำมาขยำเอาเปลือกออกด้วยเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการป้องกันเมล็ดเน่าเสียนั่นเอง

ทั้งนี้ ผักหวานป่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae เป็นพืชที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแตกกิ่งและยอดอ่อนได้ด้วยการหักกิ่งทิ้ง นิยมบริโภคใบและยอดอ่อน โดยการนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงใส่ไข่มดแดงและเห็ดฟาง ถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวอีสาน นอกจากนี้ ยังนำมาผัดน้ำมันหอยและรับประทานเป็นผักต้มสำหรับจิ้มกับน้ำพริกได้ด้วย

คุณทองคำ พิลากรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ ผู้เพาะปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ บ้านเลขที่ 79 หมู่ที่ 5 บ้านเปลือย ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เล่าว่า ส่วนตัวแล้วทำอาชีพรับราชการในสำนักงานเกษตร อีกทั้งเป็นเกษตรกรทำไร่มันสำปะหลังและทำนามาจนถึงปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า เนื่องจากเป็นเกษตรกรที่ทำไร่ทำสวนแบบผสมผสาน ประกอบกับมีความสนใจในตัวของผักหวานป่า เนื่องจากเป็นพืชที่คุ้นเคยมีอยู่แล้วในแถบภาคอีสาน และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง เติบโตต่อเนื่อง จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเองจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการค้นคว้าและวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ทำให้ทราบว่า ผักหวานป่า นั้นมีข้อดีหลักๆ อยู่ 2 อย่าง คือ

เป็นพืชที่ดูแลง่าย อายุยืน สามารถปลูกแล้วปล่อยไว้โดยไม่ต้องดูแลมาก ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน
เป็นพืชเกษตรอินทรีย์ หมายความว่า การปลูกพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี ใช้เพียงปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพเท่านั้น
คุณทองคำ เริ่มต้นปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 200 หลุม ปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 2 ไร่แล้ว และยังสร้างเครือข่าย ให้ความรู้กับเพื่อนบ้านผู้ที่สนใจอยากสร้างรายได้จากการปลูกผักหวานป่า ทำให้ปัจจุบันมีเครือข่ายสมาชิกทั้งหมด 30 ราย สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ผักหวานไปแล้วกว่า 2,000 เมล็ด เพื่อทดลองปลูกกับเครือข่าย

“ส่วนตัวแล้วหลังจากที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผักหวานป่า ก็พบว่า ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่ปลูกผักหวานป่าขาย และมีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าด้วย จึงได้ซื้อเมล็ดจากที่อำเภอบ้านหมอ จากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมล็ดจะถูกส่งมาให้ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี” คุณทองคำ กล่าว

เมล็ดผักหวานป่าที่คุณทองคำเลือกซื้อจากอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรีนั้น เป็นเมล็ดที่กะเทาะเปลือก และล้างทำความสะอาดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มาแล้ว เพื่อกำจัดเชื้อราป้องกันเมล็ดเน่าเสีย ราคาเมล็ดพันธุ์ที่กะเทาะเปลือก ขายเป็นเมล็ด เมล็ดละ 3 บาท ไม่กะเทาะเปลือก ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท

วิธีการเพาะเมล็ด

เมื่อมีเมล็ดพันธุ์ ให้นำมาล้าง ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นนำผ้าหรือกระสอบป่านชุบน้ำให้เปียกนำมาคลุมเมล็ดพันธุ์ไว้ ประมาณ 7-10 วัน เมล็ดจะแตก แต่ก็ยังไม่มีต้นอ่อน เนื่องจากต้นผักหวานป่าจะงอกช้ามาก ไม่ต้องรอต้นอ่อนงอก เพียงแค่ให้เมล็ดแตกก็สามารถนำลงดินที่เตรียมไว้ได้เลย

ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ลงดิน ต้องเตรียมพื้นที่ปลูกก่อน ด้วยการขุดหลุม ขนาด 30×30 เซนติเมตร แล้วนำดินผสมกับปุ๋ยคอกเก่า ที่ทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ในอัตรา 1:1 ส่วน ก่อนที่จะนำเมล็ดลงดิน จะใช้เหล็กเส้น ขนาด 6 หุน ยาว 1 ศอก แทงลงในดินที่ขุดหลุมไว้ เพื่อเป็นเส้นทางให้รากของผักหวานลงไปในดินโดยง่าย วางเมล็ดผักหวานแนวขวางและให้เมล็ดโผล่อยู่เหนือดินครึ่งเมล็ด

ดูแลรักษาและให้น้ำ

ผักหวาน เป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนัก เนื่องจากเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าอยู่แล้ว การดูแลจึงไม่ยุ่งยาก ศัตรูพืชของผักหวานคือ จิ้งหรีด ที่จะมากัดกินยอดอ่อนในช่วงแรก คุณทองคำป้องกันด้วยการนำขวดพลาสติกตัดหัวท้ายให้เป็นรูปทรงกระบอก นำมาครอบเพื่อเป็นการล้อมต้นอ่อนผักหวานไว้ เมื่อต้นอ่อนมีความสูง ประมาณ 1 คืบ จึงสามารถนำขวดน้ำออกได้และปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ผักหวานเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยมาก จะให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เท่านั้น ในฤดูแล้ง ที่แล้งจัดให้น้ำ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ส่วนในฤดูฝนจะไม่ให้น้ำเลย

การให้ปุ๋ย

การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเท่านั้น เริ่มใช้มูลสัตว์ในการผสมกับดินใส่หลุมปลูก ในช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นช่วงเตรียมการให้ผลผลิตจะโรยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณรอบโคนต้น และบำรุงใบไปด้วย ด้วยการฉีดน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำ ในอัตรา 1:200 ส่วน ช่วยทำให้ใบเขียว นอกจากนี้ จุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำหมักจะช่วยย่อยสลายปุ๋ยคอกที่โคนต้นอีกด้วย

หลังจากที่ต้นเติบโต อายุได้ประมาณ 2 ปี จะให้ปุ๋ยมูลสัตว์ 2 ครั้ง ต่อปี คือช่วงต้นฝนและปลายฝน และฉีดน้ำหมักอีกเดือนละ 1 ครั้ง แต่การให้ปุ๋ยสำหรับต้นผักหวานป่าก็มีข้อยกเว้นเช่นกัน คือห้ามใส่ปุ๋ยในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต จะให้ก่อนหน้าในช่วงต้นและปลายฝนเท่านั้น ซึ่งอายุของต้นผักหวานที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้คือ อายุตั้งแต่ 2-3 ปี ขึ้นไป

เก็บเกี่ยวผลผลิต

ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะต้องตัดแต่งกิ่ง โดยคุณทองคำจะใช้วิธีการหักกิ่งด้วยมือเปล่า โดยหักช่วงปลายยอดของกิ่งทิ้ง ประมาณ 10-15 เซนติเมตร สามารถหักได้ทั้งกิ่งตรงและกิ่งแขนง จากนั้นลิดใบออก ให้เหลือกิ่งละประมาณ 3-4 ใบ เท่านั้น หลังจากนั้น ประมาณ 2 สัปดาห์ ผักหวานจะเริ่มแตกยอดใหม่ อีกประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเก็บยอดผักหวานจำหน่ายได้

“การเก็บยอด ต้องเลือกยอดที่มีขนาดมาตรฐาน ที่ส่งขายกัน ความยาวจะอยู่ที่ 1 ฟุต สามารถเก็บได้ทั้งปี ช่วงที่ผักหวานให้ผลผลิตตามธรรมชาติคือช่วงปลายเดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนเมษายน” คุณทองคำ กล่าว

ราคาขายผักหวานจะขึ้นอยู่กับว่าผลผลิตออกมาในช่วงนอกหรือในฤดู ราคาขายส่งในฤดู อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 200 บาท หากขายนอกฤดูราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 50 บาท คือขายส่งอยู่ที่ 200 บาท ต่อกิโลกรัม และขายปลีก 250 บาท ต่อกิโลกรัม โดยการขายส่งจะมีแม่ค้ามารับถึงที่ มีทั้งเจ้าประจำและขาจร เป็นรายได้ที่หาได้ตลอดทั้งปี

เทคนิคการปลูกเพื่อผลผลิตที่ดี

คุณทองคำ เล่าว่า “เทคนิคสำคัญในการปลูกผักหวานให้มีคุณภาพ และต้นแข็งแรงให้ผลผลิตดีอยู่ที่การแซม “ต้นไม้พี่เลี้ยง” หรือไม้ที่ให้ร่มเงา นอกจากผักหวานป่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการแดดมาก ผักหวานต้องการแสงแดดเพียง 30% เท่านั้น พืชพี่เลี้ยงจึงเป็นประโยชน์ในการให้ร่มเงา ในกรณีที่ไม้พี่เลี้ยงยังไม่โตพอที่จะให้ร่มเงากับผักหวานได้ ให้ใช้ซาแรนคลุมต้นผักหวานไปก่อน เป็นการช่วยลดแสงไม่ให้กระทบกับต้นผักหวานโดยตรง นอกจากนี้ ยังเป็นตัวช่วยหาอาหารใต้ดินให้กับผักหวานอีกด้วย เนื่องจากผักหวานจะอาศัยการกินอาหารกับรากพืชอื่น”

ไม้พี่เลี้ยงที่ คุณทองคำ เลือกปลูก ได้แก่ แคบ้าน มะขามเทศ และตะขบ ซึ่งจากการสังเกตแล้ว คุณทองคำ เล่าว่า ผักหวานที่อยู่ใกล้กับไม้พี่เลี้ยงแคบ้าน ใบจะมีสีเขียวสวย สันนิษฐานว่า เนื่องจากแคเป็นพืชในตระกูลถั่ว ซึ่งมีจุดเด่นในการตรึงไนโตรเจน มาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

คุณทองคำ แนะนำสำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกผักหวานป่าว่า ต้องคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ดี หากเก็บมาจากป่าให้เลือกเมล็ดที่แก่จัด มีสีเหลืองอมส้ม เมล็ดโตไม่ลีบ นำมาขยำเอาเปลือกออกด้วยเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการป้องกันเมล็ดเน่าเสียนั่นเอง

ทั้งนี้ ผักหวานป่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae เป็นพืชที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแตกกิ่งและยอดอ่อนได้ด้วยการหักกิ่งทิ้ง นิยมบริโภคใบและยอดอ่อน โดยการนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงใส่ไข่มดแดงและเห็ดฟาง ถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวอีสาน นอกจากนี้ ยังนำมาผัดน้ำมันหอยและรับประทานเป็นผักต้มสำหรับจิ้มกับน้ำพริกได้ด้วย

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดี และโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงกรณีสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เรียกร้องให้ภาครัฐเร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำว่า แนวทางการแก้ไขปัญหา กรมปศุสัตว์ ได้ประสานกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ร้องขอ เบื้องต้นรับแจ้งจากกรมการค้าภายใน จะเชิญหารือเพื่อแก้ปัญหาปริมาณไข่ที่ค้างสะสม และการรักษาเสถียรภาพราคา ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และกรมปศุสัตว์จะจัดประชุมคณะกรรมการ Egg Board ภายในเดือนพฤศจิกายน เพื่อพิจารณาแผนการนำเข้าพ่อแม่และปู่ย่าพันธุ์ ปี 2562 เพื่อขอมติปรับลดแผนการนำเข้าและเลี้ยง พีเอส ลงอีก 10% ของปี 2561 เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว

ทั้งนี้ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ระบุว่า ราคาไข่ไก่เกษตรกรขายไข่คละ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ 1.40 -2.30 บาท ซึ่งต่ำสุดในรอบ 30 ปี และสวนทางกับราคาอาหารสัตว์ 33 บาท ต่อกิโลกรัม ไข่ไก่เกินความต้องการกว่า 10 ล้านฟอง เนื่องจากมีการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์มากเกินไป ขณะที่ผู้บริโภคยังคงต้องรับภาระการซื้อไข่ไก่ราคาแพงอยู่ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐตรวจสอบ

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่า;ว่า ทางกรมปศุสัตว์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึงต้นเดือนตุลาคม 2561 ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.54 บาท เบอร์ 0 ราคา 3.54 บาท, เบอร์ 1 ราคา 3.04 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.75 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.45 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.24 บาท, และเบอร์ 6 ราคา 1.85 บาท โดยราคาขายไข่แต่ละภูมิภาค (ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) อาจแตกต่างกัน 10-20 สตางค์ จากต้นเดือนตุลาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.30 บาท เบอร์ 0 ราคา 3.30 บาท, เบอร์ 1 ราคา 2.80 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.35 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.25 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.00 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.65 บาท

ส่วนสาเหตุราคาไข่ลดลง ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2561 ถึงปัจจุบัน เนื่องจากการบริโภคลดลงช่วงเทศกาลกินเจและปิดเทอม ทำให้มีปริมาณไข่ที่สะสมจำนวนมาก และไข่ที่ออกมาช่วงเวลานี้มีขนาดฟองเล็ก ซึ่งข้อมูลสถานการณ์ไก่ไข่ปัจจุบันระบุว่า มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (พีเอส) ที่ให้ผลผลิต 521,860 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรง 56-57 ล้านตัว ผลผลิตไข่เฉลี่ย 44-45 ล้านฟองต่อวัน ข้อมูลราคาอาหารไก่ไข่ระยะให้ไข่ ในระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 11-13 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับพื้นที่และวัตถุดิบที่ใช้ผลิต

“ตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ประชุมหารือร่วมกับ 16 บริษัทผู้นำเข้าและเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์-ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ และมีมติปรับลดแผนการนำเข้าปี 2562 ลง 10% ของแผนปี 2561 ซึ่งจะส่งผลให้ปีหน้า มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ (พีเอส) ไม่เกิน 500,000 ตัว ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (จีพี) ไม่เกิน 4,050 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงประมาณ 50 ล้านตัว ผลผลิตไข่ประมาณ 42-43 ล้านฟอง ต่อวัน ซึ่งจะใกล้เคียงกับการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกทั้งไข่สดและผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูป แนวโน้มราคาไข่คละหน้าฟาร์มน่าจะค่อยๆ ปรับขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากมาตรการซึ่งประกอบด้วย เร่งรัดเพิ่มการส่งออกไข่ไปจำหน่ายต่างประเทศ การปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง การร่วมมือกับกรมการค้าภายใน รวมถึงโรงเรียนเปิดเทอม และกำลังจะเข้าช่วงเทศกาลปลายปี ประชาชนบริโภคไข่เพิ่มขึ้น “นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าว

ชาวนาโวย – วันที่ 5 พ.ย. นายประยูร ศิลลา ผู้ใหญ่บ้าน หมูjที่ 1 ต.บางราย อ.บึงนาราง จ.พิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านกำลังสับสน ในเรื่องราคาข้าวหอมมะลิ เนื่องจากมีข่าวออกมาว่า รัฐบาลให้ ราคาตันละ 16,000-17,000 บาท แต่ปรากฏว่า มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อข้าวหอมมะลิจากชาวนา เพียงตันละ 12,500-13,000 บาท ซึ่งชาวนายังข้องใจกันอยู่ว่า ตกลงพ่อค้าคนกลางกดราคา หรือรัฐบาล ให้ราคาเพียงเท่านี้ แต่ก็ยอมรับว่า ราคาข้าวนั้นดีจริง ที่รัฐบาลช่วยในเรื่องข้าวหอมมะลิ ให้ได้ราคาข้าวดีและแพง

นายประยูร กล่าวต่อว่า แต่สิ่งที่ชาวนากังวลและกังขามากคือ เรื่องของราคาข้าวนาปรัง ตอนนี้ราคาตกมาก พ่อค้าคนกลางกดราคาข้าว รับซื้อข้าวจากชาวนา เพียงตันละ 6,000-6,200 บาท ถามว่า ชาวนาอยู่ได้หรือไม่ ราคาข้าว ราคากว่า 6,000 บาทนั้น ชาวนาอยู่ไม่ได้ เนื่องจากต้นทุนในการทำนาสูง ประกอบกับค่าปุ๋ย ค่ายา ขึ้นราคาไม่มีลด มีแต่จะเพิ่มขึ้น

“ดังนั้น อยากเรียกร้องขอให้รัฐบาลช่วยในเรื่องข้าวนาปรังที่กำลังจะออกมาเป็นจำนวนมาก อยากให้ช่วยเรื่องราคาข้าว โดยอยากเรียกร้องขอให้ช่วยราคาข้าวจาก 6,000 บาท มาเป็น 7,500-8,000 บาท ซึ่งหากได้ราคานี้ชาวนาอยู่ได้โดยไม่ขาดทุน เพราะว่าชาวนาบางคนไม่มีนาข้าว ต้องเช่าที่ทำนา มันมีค่าใช้จ่ายสูง” นายประยูร กล่าว

ด้าน นายประไพ ขำเกิด อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 140/1 หมูที่1 ต.ท่าบัว อ.โพทะเล จ.พิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรชาวนาอำเภอโพทะเล กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากชาวนาเกี่ยวข้าวไปขายให้กับนายทุน ไม่ว่าจะเป็นโรงสี และท่าข้าว ปรากฏว่า ถูกกดราคาเหลือเพียง 5,500-6,000 บาท

นายประไพ กล่าวต่อว่า เมื่อนายทุนรับซื้อในราคาที่ต่ำ โดยไม่สนใจเลยว่าชาวนานั้นอยู่ได้หรือไม่ สาเหตุที่ชาวนาเร่งขาย เนื่องจากชาวนาไม่มีลานตากข้าว จำเป็นต้องขาย ในเมื่อนายทุนรับซื้อเท่าไร ก็จำเป็นต้องขาย ประกอบกับช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี โรงสีพิจิตรปิดตัวหลายแห่ง บางแห่งที่เปิดก็กดราคาชาวนา ยอมรับว่าขายข้าวเที่ยวนี้ขาดทุน

“เนื่องจากต้นทุนการทำนานั้น ใช้ทุนเพิ่มขึ้น ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำมัน ราคาก็ขึ้น แต่ราคาข้าวไม่ได้ขึ้น ดังนั้น อยากเรียกร้องรัฐบาล ขอเร่งออกมาช่วยชาวนาอย่างเร่งด่วน ซึ่งราคาข้าวทั้งนาปี นาปรัง คาบเกี่ยวนาปรัง นาปี อยากให้ได้ ราคา 8,000-9,000 บาท หากได้ราคานี้ชาวนาอยู่กันได้ ยิ่งช่วงนี้ยอมรับว่า เศรษฐกิจยิ่งแย่ลง ชาวนาก็จะตายกันอยู่แล้ว ข้าวเปลือกมาราคานี้” นายประไพ กล่าว

ชุมชนพะตง ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ได้มีการรวมกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากไม้ไผ่ตง…มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ร่วมประชุมหารือในโครงการบริการวิชาการแก่สังคมกับชาวบ้านในชุมชนพะตง ในด้านเทคโนโลยีและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ โดยนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชน อาทิ นำเศษไม้และไม้ไผ่มาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อใช้ในการดับกลิ่น อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกช่องทางหนึ่ง

การสร้างเตาผลิตถ่านไม้ไผ่ มีขั้นตอนการผลิตเตรียมวัสดุอุปกรณ์โดยใช้ถังน้ำมัน ขนาด 200 ลิตร 3 ถัง ท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 1.5 เมตร 4 เส้น ท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร 1 เส้น ตัดถังน้ำมัน 200 ลิตร ออกเป็น 2 ส่วน เพื่อทำเป็นฝาแล้วเจาะช่องเพื่อให้อากาศลอดผ่านในระหว่างการเผาไหม้ ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งมีต้นทุนในการผลิต ประมาณ 3,000 บาท สำหรับขั้นตอนการใช้งานเตาเผาถ่านไม้ไผ่ จะนำวัสดุที่ต้องการผลิตเป็นถ่านใส่ลงในเตาให้แน่นจนเต็มถัง เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปมากเกินไป ก่อไฟทางด้านบนของเตา โดยใช้เศษไม้หรือฟางข้าว

เป็นเชื้อเพลิง แล้วจุดไฟเผาถ่านจากด้านบนลงไปด้านล่าง หลังจากไฟติดดีแล้ว นำปล่องไฟที่เตรียมไว้สวมเข้ากับเตาเผาถ่าน เพื่อระบายก๊าซไอเสียจากการเผาถ่าน โดยใช้เวลาในการเผา ประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง จนกระทั่งไฟถึงก้นถัง ให้ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ยกปล่องควันออก โดยสอดท่อนเหล็กยกออก จากนั้นปิดฝาเตาเผาถ่านและพอกขอบเตาด้วยขี้โคลน เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า จากนั้นยกเตาที่พอกขี้โคลนแล้วไปยังพื้นที่ที่ปูพื้นด้วยขี้โคลนเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง ก็จะได้ถ่านไม้ไผ่จากวัสดุเหลือใช้ในชุมชน นอกจากนั้นชุมชนสามารถนำผ่านไม้ไผ่ที่ผ่านการอัดก้อนและขึ้นรูปเรียบร้อยนำมาใช้ในการดับกลิ่นและจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน

อาจารย์ณัฐวุฒิ สุภารัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีปิโตรเลียม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษา ร่วมกันออกแบบและสร้างเตาผลิตถ่านไม้ไผ่ เพื่อนำไปแปรรูปไม้ไผ่ ใช้เป็นวัสดุดูดซับกลิ่นและใช้ในการดับกลิ่น การลงพื้นที่บริการวิชาการของอาจารย์และนักศึกษาได้รับผลประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของคณาจารย์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร การบูรณาการทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัย การพัฒนาความรู้ด้านวิชาการของอาจารย์ การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่ได้ลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานและเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักศึกษา

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ณัฐวุฒิ สุภารัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีปิโตรเลียม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย โทรศัพท์ 096-6895151

ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกพืชสมุนไพรสำคัญหลายชนิด เกิดการตื่นตัวนำสมุนไพรที่ได้รับการรับรองแล้วมาแปรรูปเป็นยาขายกันแพร่หลาย จนได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีบ้านดงบัง เป็นชุมชนหมู่บ้านที่เป็นศูนย์รวมแหล่งปลูกสมุนไพรและแปรรูปแห่งใหญ่เพื่อป้อนให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ขณะเดียวกัน พืชสมุนไพรเหล่านั้นยังเป็นอาหารชั้นเยี่ยมของเป็ด/ไก่ ที่ชาวบ้านเลี้ยง แล้วพบว่ามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดเลย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้มีโอกาสบริโภคเป็ด/ไก่ และไข่ที่ปลอดภัย มีส่วนช่วยให้พวกเขามีสุขภาพแข็งแรง

จึงทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้เกิดแนวคิดที่จะใช้สมุนไพรเป็นส่วนประกอบของอาหารไก่ เพราะตั้งข้อสังเกตว่าผลผลิตไข่น่าจะเป็นไข่สมุนไพรด้วย แล้วหากเป็นเช่นนั้นจริงจะช่วยเพิ่มมูลค่าพร้อมสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในโอกาสต่อไป

จนในที่สุดเกิดเป็นที่มาของงานวิจัย ภายใต้ “โครงการพัฒนาและสนับสนุนวัตถุดิบสมุนไพรและสิ่งอำนวยความสะดวก” โดยเป็นความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อาทิ ทางจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรบ้านดงบัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์ปีก และศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันออก เพื่อร่วมทำงานในครั้งนี้