เทคนิคบังคับดอกออกตลอดทั้งปีเบญจมาศที่ปลูกส่วนใหญ่

จะเป็นพืชอายุสั้น เมื่อกลางวันสั้นกว่าประมาณ 14 ชั่วโมง เบญจมาศจะเริ่มสร้างตาดอก แต่ดอกจะพัฒนาเป็นดอกที่สมบูรณ์ได้ต้องมีช่วงวันสั้นกว่าประมาณ 13 ชั่วโมง ดังนั้น หากปลูกเบญจมาศในช่วงวันสั้น เบญจมาศจะออกดอกเร็วหรือให้ดอกเมื่อต้นยังเล็กอยู่ ส่วนเมื่อกลางวันยาวกว่าประมาณ 14 ชั่วโมง เบญจมาศจะไม่สร้างดอกหรือให้ดอกที่ผิดปกติ ดังนั้น จึงใช้การบังคับช่วงวันให้เบญจมาศสร้างดอกเมื่อต้องการได้ตลอดทั้งปี

การบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอก จะต้องให้แสงไฟช่วงกลางคืน เนื่องจากประเทศไทยมีช่วงกลางวันสั้นกว่า 16 ชั่วโมง ตลอดทั้งปีจึงจำเป็นต้องให้แสงช่วงกลางคืนแก่เบญจมาศตลอด ซึ่งระยะเวลาการให้แสงจะยึดหลักให้มีช่วงมืดไม่เกิน 4 ชั่วโมง ปริมาณแสงที่ใช้ 8-100 ลักซ์ (LUX) ที่ระดับแปลง โดยติดตั้งระบบหลอดไฟ 2 เมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของกระแสไฟด้วย ดังนั้น จึงควรตรวจวัดความเข้มของแสงด้วยอุปกรณ์วัดแสงเพื่อให้มั่นใจว่าเบญจมาศได้รับแสงอย่างถูกต้อง และไม่ออกดอกก่อนกำหนด

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม จะทำให้รักษาคุณภาพเบญจมาศได้ดี มีอายุการปักแจกันทนทาน ดังนั้น การตัดดอกเบญจมาศจะตัดดอกเมื่อกลีบดอกบานเต็มที่ หรือประมาณร้อยละ 75 และก่อนที่เกสรตัวผู้หรือกลีบดอกชั้นในจะบาน ควรตัดให้ช่อดอกยาว 70-75 เซนติเมตร และทำให้เหลือตอไว้ 10 เซนติเมตร หากตัดต่ำกว่านี้ก้านจะแข็งเกินไป และดูดน้ำได้น้อย

อย่างแรกคือ การตลาด ทางฟาร์มใช้วิธีสำรวจตลาดด้วยตัวเองว่าตลาดต้องการแบบไหน ต้องการดอกที่ขนฟูๆ มีกลีบเยอะๆ สีขาว เหลือง ชมพู คือสิ่งที่ตลาดต้องการเราก็ทำให้ได้

“การตลาดบางครั้งเราไปขายให้เขาถึงหน้าสวนเขาก็ไม่เอา คือดอกไม้จะมีหน้าหนาวจะปลูกได้เยอะ พอหน้าร้อนจะปลูกไม่ได้ มันต้องมีเทคนิค ทีนี้พอเราทำตอนแรกเราก็ทำได้แค่หน้าหนาวของก็ล้นตลาด ขายให้เขา เขาก็ไม่เอา เขากลัวว่ารับของเรามาแล้ว เจ้าที่เขารับประจำจะรู้แล้วก็ไม่ส่งให้ เราจึงต้องอาศัยความต่อเนื่อง มีของส่งให้ลูกค้าตลอด ราคาก็จะได้เท่าเดิม หน้าร้อน หรือหน้าหนาว ส่งราคาเท่ากันหมด ไม่ใช่พอหน้าร้อนดอกไม้ปลูกยากเราถือโอกาสขึ้นราคา ถ้าทำแบบนี้เราก็ขายได้แค่ครั้งเดียว ครั้งต่อๆ

ไปลูกค้าก็จะไปรับจากเจ้าอื่น และต้องบอกอีกว่าจุดได้เปรียบของฟาร์มเรา คือเราทำได้ทั้งปี เราไม่ได้ปลูกทีเดียวแล้วตัดหมด เราจะทำทีละไร่สองไร่ ค่อยๆ ทยอยปลูก แล้วก็ทำหมุนเวียน ทำให้เราสามารถมีดอกไม้ขายให้ลูกค้าได้ทุกวัน ราคาของเราจะมาตรฐาน ขายเป็นกิโลกรัม ต่อ 1 กำ ขายปลีก 100 บาท ขายส่ง 70 บาท แหล่งส่งที่ตลาดไท ปากคลองตลาด สี่มุมเมือง แล้วก็ตลาดตามร้านดอกไม้ทั่วไป โดยลูกค้าหลักของเราอยู่ทางภาคอีสาน ส่วนรายได้เดือนหนึ่งตัดได้ 15 วัน คือตัดวันเว้นวัน คิดเป็นจำนวนเงินที่ได้ต่อเดือนประมาณ 337,500 บาท ทั้งนี้ ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย” คุณภูธนะ กล่าว

คุณภูธนะ ยังทิ้งท้ายอีกว่า สำหรับท่านที่สนใจอยากปลูกดอกเบญจมาศเพื่อตัดดอกขาย ตลาดยังไปได้อีก เพียงแต่ต้องใส่ใจ ดูแลทุกวัน ไม่ใช่ปลูกทิ้งปลูกขว้าง สองสามวันดูทีหนึ่งไม่ได้ หากสนใจอยากได้ความรู้ ติดต่อสอบถามได้ที่ สวนบิ๊กเต้ เลขที่ 172 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอหมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ 080-455-0659 ยินดีให้คำปรึกษา

ตามนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ 20 ปี ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นการดำเนินงานซึ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต ทั้งนี้ การกำหนดพื้นที่เป้าหมายของเกษตรแปลงใหญ่ดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ โดยเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่จะร่วมกันกำหนดเป้าหมายการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุกขั้นตอน จนถึงการเชื่อมโยงตลาดกับภาคเอกชนแบบประชารัฐ

กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง ตั้งอยู่ที่บ้านทอนหาญ หมู่ที่ 4 ตำบลคลองลุ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่เกิดจากการจุดประกายทางความคิดของพนักงาน การยางแห่งประเทศไทย สาขากันตัง ในเวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้านของ 2 หมู่บ้านที่อยู่ติดกัน จนกระทั่งได้หลอมรวม และก่อเกิดมาเป็น “กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง” ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้านหมู่ที่ 4 ตำบลคลองลุ และหมู่ที่ 5 ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ด้วยสาเหตุที่สมาชิกอยู่ทั้งใน 2 ตำบล จึงเป็นที่มาของชื่อกลุ่มๆ นี้ด้วยการควบรวมชื่อตำบลเข้าด้วยกัน เพื่อบ่งบอกถึงความร่วมมือของชาวบ้านทั้ง 2 ตำบล

กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง เป็นกลุ่มแปลงใหญ่ ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2562 ด้วยสมาชิกเริ่มก่อตั้งเพียงแค่ 37 ราย ได้มีการร่วมมือร่วมใจกันสร้างจุดซื้อน้ำยางสาขาแรกของกลุ่มด้วยเงินแค่ 375 บาท ส่วนที่เหลือได้รับบริจาคสิ่งของจากสมาชิกกลุ่มทั้งหมด และได้เปิดซื้อน้ำยางครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 นับเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราแห่งแรกที่เกิดจากการผลักดันของการยางแห่งประเทศไทย สาขากันตัง ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอกันตัง และกลุ่มนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราเขตพื้นที่อำเภอกันตัง ที่มีการซื้อ-ขายน้ำยางสดผ่านกลไกการบริหารจัดการกลุ่มทั้งระบบตามมาตรฐานที่การยางแห่งประเทศไทยสาขากันตังกำหนด นับว่าเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตและพัฒนาแบบก้าวกระโดดอันเนื่องมาจากกระแสความตื่นตัวของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ที่เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างการขายน้ำยางที่กลุ่มกับการขายน้ำยางทั่วไป

ปัจจุบัน กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง มีสมาชิกรวมทั้งหมด 104 ราย มีจุดบริการรับซื้อน้ำยาง 2 สาขา มีปริมาณน้ำยางสูงสุดที่ซื้อต่อวัน ประมาณ 8,000-10,000 กิโลกรัม มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราทุกแปลง

และกลุ่มน้ำยางสดที่อยู่ภายใต้การดูแลของการยางแห่งประเทศไทยในเขตพื้นที่อำเภอกันตัง รวมกว่า 5 กลุ่ม อันได้แก่ แปลงใหญ่ยางพารา หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อน้ำร้อน, แปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง ตำบลคลองลุ, แปลงใหญ่ยางพาราบ้านบางสัก, กลุ่มธรรมชาติ หมู่ที่ 3 ตำบลคลองลุ และกลุ่มธรรมชาติคลองไม้แดง ตำบลบ่อน้ำร้อน มาร่วมกันขายน้ำยางในนามของกลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง ได้มากสูงสุดถึง 20,000-25,000 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและรักษาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มแปลงใหญ่ทุกแปลงของอำเภอกันตัง ให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดและเท่าเทียมกัน

มีตลาดรองรับผลผลิตตั้งแต่บ่อน้ำยางในท้องถิ่น โรงงานยางแผ่นรมควันเอกชน และโรงงานผลิตน้ำยางข้นในจังหวัดตรัง มีการกำหนดมาตรฐานในการซื้อน้ำยางที่ชัดเจน โดยสำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา รวมถึงมีการประกาศราคาซื้อน้ำยางสดในทุกวัน โดยจะเปิดซื้อในราคาเดียวกันทั้งหมด ตลอดไปถึงกระบวนการหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งก็เช่นเดียวกันทั้ง 5 กลุ่มของอำเภอกันตัง

นายสรวง พรหมบุญทอง เกษตรอำเภอกันตัง กล่าวว่า แปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง ได้จดเป็นวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยางแล้ว ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการจัดการที่ดีมาก ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม มีกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่มที่ชัดเจน มีการเพิ่มองค์ความรู้ในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การลดต้นทุนโดยการรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยสั่งตัดเพื่อใช้เองภายในกลุ่ม มีการปันผลให้แก่สมาชิกปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายการขายน้ำยางเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองน้ำยางสด ทำให้เกิดความเข้มแข็งภายในกลุ่ม และกลุ่มเครือข่ายยางพาราอีก 4 กลุ่ม ในอำเภอกันตัง

นายอานนท์ ทองแดง ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขากันตัง กล่าวว่า แปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง ถือเป็นต้นแบบของแปลงใหญ่ยางพาราในอำเภอกันตัง สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้แก่แปลงใหญ่และกลุ่มต่างๆ ได้ การขายน้ำยางไม่เพียงแต่กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยางเพียงกลุ่มเดียว แต่รวมกลุ่มยางพาราอีกถึง 4 กลุ่ม ในอำเภอกันตัง ทำให้สามารถรวบรวมน้ำยางได้สูงสุดถึงวันละ 20-25 ตัน มีตลาดที่แน่นอน และสามารถขายน้ำยางได้สูงกว่าท้องถิ่น 2-5 บาท ซึ่งในปีนี้คาดการผลประกอบการของเครือข่ายยางพาราทั้ง 5 กลุ่ม ในอำเภอกันตัง มีผลกำไรรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทอย่างแน่นอน นับว่าเป็นความสำเร็จของการรวมกลุ่มยางพาราในอำเภอกันตังเป็นอย่างมาก

จากผลการดำเนินการของกลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยางที่กลุ่มมีความเข้มแข็ง ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอกันตังได้ส่งประกวดแปลงใหญ่ระดับจังหวัด ผลปรากฏได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของทางกลุ่ม และจะเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินการในอนาคตต่อไป

ติดต่อเพื่อศึกษาดูงานหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่ กลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราบ้านคลองยาง หมู่ที่ 4 ตำบลคลองลุ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง นายธวัช ส่อซิ้ว ประธานกลุ่ม เบอร์โทรศัพท์

ช่องทางจำหน่ายมะนาว หญิงสาวเลือกไปติดต่อเข้าห้างสรรพสินค้า สาขาพิษณุโลก และสาขาเชียงใหม่ ส่งสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 400-500 กิโลกรัม (1 เดือน ส่งมะนาวเข้าห้าง 4 ครั้ง) ถ้าช่วงเทศกาล หรือวันหยุดยาวออเดอร์จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว

รัตติกานต์ เกตุแก้ว หรือ ตั๊ก อดีตสาวแบงค์หน้าตาดี จบ ม.ธรรมศาสตร์ วัย 25 ปี แต่ใจรักเกษตร โบกมือลามนุษย์เงินเดือน ขอผันตัวไปเป็นชาวสวนปลูกมะนาวไร้เมล็ดและทำปุ๋ยใช้เองที่บ้านเกิดจังหวัดพิษณุโลก ส่งผลผลิตมะนาวลูกใหญ่ๆ ขายห้างแม็คโคร และตลาดสด กำเงินแสนทุกเดือน ชีวิตแฮปปี้ อนาคตเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้

ตั๊ก เผยกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ว่า หลังจากเรียนจบปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปทำงานธนาคารแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างทำงานจะนำมะนาวไร้เมล็ดที่ปลูกเองมาขายเพื่อหารายได้พิเศษ และจากการขายไม้ผลรสเปรี้ยวจัดชนิดนี้ ทำให้รู้ตัวเองว่าแท้จริงแล้วใจรักเกษตรมากกว่าทำงานประจำ หนที่สุดเลือกที่จะลาออก แล้วกลับบ้านไปปลูกมะนาวขายเป็นเรื่องเป็นราว

สำหรับพื้นที่ปลูกมะนาวที่ตั๊กพูดถึงอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นที่ดินของครอบครัว ราว 50 ไร่ เลี้ยงหมู ปลูกกล้วย และปลูกมะนาวไร้เมล็ดพันธุ์ตาฮิติ ปลอดสารเคมี สาเหตุที่เลือกพันธุนี้ ตั๊ก บอกว่า ทนทานต่อโรค เฉลี่ยต่อไร่ ปลูกมะนาวได้ 90 ต้น ลงทุนไร่ละ 5,000 บาท ทำปุ๋ยใส่เอง ใช้นำขี้หมูรด ผลดกเป็นที่น่าพอใจ

“ตั๊กปลูกมะนาวไร้เมล็ด 10 ไร่ เฉลี่ยต่อไร่ปลูกมะนาวได้ 90 ต้น วิธีการปลูก ซื้อกิ่งพันธุ์มาชำลงดินเว้นระยะห่าง 4×4 เมตร ปลูกในดินทรายปนดินร่วน ใช้น้ำจากบ่อขี้หมูมารดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทำปุ๋ยเอง ราว 8 เดือน ก็สามารถเก็บมะนาวขายได้แล้ว”

สำหรับปุ๋ยที่หญิงสาวทำเอง เธอเผยกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ว่า คือ “ฮอร์โมนจานด่วน” สุดยอดสารอาหารของต้นมะนาว ซึ่งมีด้วยกัน 3 สูตร สูตรที่ 1 ประกอบด้วย นมสด กากน้ำตาล หมัก 7 วัน สูตรที่ 2 มีหน่อกล้วยสับ กากน้ำตาลหมัก 7 วัน สูตรที่ 3 มีไข่ไก่ดิบ น้ำมันมะพร้าว ลูกแป้งข้าวหมาก กะปิ เครื่องดื่มชูกำลัง M150 หมัก 14 วัน

นำทั้ง 3 สูตรนี้มาปั่นรวมกัน เพื่อให้กลายเป็น “ฮอร์โมนจานด่วน” ฉีดต้นมะนาวสัปดาห์ละครั้ง ตั้งแต่แรกปลูกเพื่อกระตุ้นให้มะนาวออกดอก หลังจากนั้นทุกๆ 15 วัน ค่อยฉีดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ามะนาวจะออกผล

คุณตั๊ก บอกว่า ต้นมะนาวยิ่งแก่ ลูกยิ่งดก ปัจจุบัน เธอปลูกมาแล้ว 5 ปี มะนาว 1 ต้น ให้ผลผลิตต้นละ 600 ลูก ซึ่งปัจจุบันปลูกมะนาว 10 ไร่ เฉลี่ยต่อไร่ปลูกมะนาวได้ 90 ต้น มีมะนาว 900 ต้น (10ไร่ x 90 ต้น) 900 ต้น เก็บผลผลิตส่งขายทุกวัน

ด้านช่องทางจำหน่ายมะนาว หญิงสาวเลือกไปติดต่อเข้าห้างสรรพสินค้าสาขาพิษณุโลก และสาขาเชียงใหม่ ส่งสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 400-500 กิโลกรัม (1 เดือน ส่งมะนาวเข้าห้าง 4 ครั้ง) ถ้าช่วงเทศกาล หรือวันหยุดยาวออเดอร์จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว

ในส่วนของราคาที่ส่ง เจ้าของสวนเผยว่า ขึ้นลงลงตามช่วงฤดูกาล ยกตัวอย่าง ช่วงหน้าแล้งเดือนเมษายน ราคากิโลกรัมละ 80 บาท ช่วงหน้าฝนเดือนมิถุนายน กิโลกรัมละ 50 บาท ฤดูหน้าหนาว กิโลกรัมละ 60 บาท หากเป็นช่วงเทศกาลจะส่งสัปดาห์ละ 800-1,000 กิโลกรัม

สเป๊กมะนาวที่ส่งห้างแม็คโคร เป็นมะนาวไร้เมล็ด เฉลี่ย 10 ลูก 1 กิโลกรัม หญิงสาว เผยว่า ส่งมาได้ 2 ปีแล้ว รายได้เฉลี่ยเดือนละแสน (ยังไม่หักรายจ่าย) นอกจากนั้น ยังส่งขายตลาดสดทั่วไป วันละ 400-500 ลูก ราคาลูกละ 3-4 บาท มีรายได้เฉลี่ยทุกวัน วันละ 2,000 บาท อีกด้วย

ในอนาคต หญิงสาวคนขยันบอกต่อว่า อยากขยายพื้นที่ปลูกมะนาวเพิ่มจาก 10 ไร่ เป็น 14 ไร่ วัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการของตลาด รวมถึงเพิ่มรายได้ด้วย “ผมเกิดมาในครอบครัวคนจนครับ พ่อแม่ทำงานรับจ้าง ไม่มีที่ดินของตัวเอง รับจ้างทำงานด้านเกษตรมาตลอด จนมองว่าอาชีพเกษตรยังไงก็จน ไม่มีทางจะสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่ดีได้”

แคน – ธิบดินทร์ ปัญญาวัง หนุ่มแกร่ง วัย 41 ปี แห่งสุโขทัย เอ่ยอย่างทดท้อใจ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน ส่งต่อความคิดถึงกันเหมือนเดิมเดือนละครั้งนะครับ คอลัมน์ ตั้งวงเล่า เกิดจากการพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ กระทั่งถึงผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ทุกครั้งที่ได้สนทนาและนำมาถ่ายทอด ทุกอย่างก็เป็นไปตามครรลองที่ควรจะเป็น แต่ในครั้งนี้มีความต่าง แค่จั่วหัวก็มองไม่ออกแล้วว่า เรื่องราวต่อไปจะเป็นอย่างไร ผมขอถ่ายทอดบางประโยคจากเจ้าของสวนนี้ก่อนนะครับ

“ผมจึงเข้าเรียนช่างไฟฟ้า ด้วยหวังว่าจะมีอาชีพที่สามารถลืมตาอ้าปากได้มากกว่าการเป็นเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเช่นนี้” “ว้าววว แบบนี้ก็ไปโลดเลยสิ”

“มันควรเป็นเช่นนั้นครับ แต่ทีนี้พอถึงช่วงวันหยุดผมก็อยากหารายได้พิเศษนะครับ จึงไปรับจ๊อบสมัครทำสวนเกษตรทั้งทำนา ปลูกผัก” “สรุปว่าหนีไม่รอด ชีวิตวนเวียนกลับมาหางานเกษตรอีก”

“ผิดกันเลยพี่ ทุกอย่างผิดกับเรื่องราวในชีวิตที่ผมเจอมาตั้งแต่แรกเลย เกษตรกรที่ญี่ปุ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเรามาก มีฐานะร่ำรวย ทำงานแบบไม่ต้องใช้แรงงานมาก ที่สำคัญเป็นอาชีพที่มีเกียรติในบ้านเมืองเขามากๆ”

กลับจากญี่ปุ่น แคนก็ยังวนเวียนทำงานเป็นหนุ่มโรงงานอยู่เช่นเดิม ตำแหน่งนายช่างที่โรงงานในจังหวัดชลบุรี ทำให้ยังมีเวลาอีกช่วงหนึ่งที่ยังว่าง ก็เลยเปิดร้านเหล็กดัด หวังเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง มีรายได้เข้ามาหลายช่องทาง แต่ทำไปๆ กลับไม่มีเวลาให้มากพอ รายได้ที่คาดหวังก็ไม่เป็นไปตามเป้า จะเรียกว่าเจ๊งก็คงไม่ผิดนัก

ประกอบกับครอบครัวที่ต้องแยกกันอยู่กับลูก ตัวเองอยู่ชลบุรี ลูกอยู่กับตา-ยายที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งพ่อตาทำสวนยางพาราอยู่ที่นั่น จากรายได้น้ำยางที่ดี พอถึงวันหนึ่งราคาก็ตกลงจนน่าใจหาย ทำให้ทางครอบครัวต้องมาคุยกันว่า จะทำอย่างไร จะหารายได้จากส่วนใดมาเสริมได้บ้าง

จุดแรกที่แคนมองเห็นก็คือ ตลาดบึงกาฬ หาซื้อชมพู่กินยาก ที่มีก็คุณภาพไม่ดีนัก ทำให้มาคิดว่าอยากลดพื้นที่การปลูกยางพาราลง และจะต้องหาพืชเสริมที่มาสร้างรายได้ทดแทนให้ได้ จึงศึกษาเรื่องชมพู่อย่างจริงจัง ในช่วงนั้นชมพู่สตรอเบอรี่กำลังฮิตกันมาก จึงได้เสาะหากิ่งพันธุ์เพื่อนำมาปลูก เริ่มตั้งแต่สวนลุงลี จนมาถึงสวนน้าอ้วน บ้านเกษตรพอเพียงที่หนองเสือ

ที่นี่เองที่แคนได้เปิดความรู้ใหม่ หลายๆ เรื่องที่ได้คุยกับน้าอ้วนเหมือนกับตอนที่ไปเห็นเกษตรกรในญี่ปุ่น การทำเกษตรแบบเน้นคุณภาพ เปิดช่องทางการตลาดใหม่ๆ สร้างทักษะเฉพาะ และเน้นความแตกต่างจากการทำสวนเกษตรแบบเดิมๆ ทำจนมั่นใจว่าสามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ยังไม่มีผลผลิต ทำกิ่งพันธุ์ขยายทั้งปลูกเองและจำหน่ายในตลาดออนไลน์

แรกเริ่มที่สวนก็ปลูกชมพู่และส้มโอ โดยการลดพื้นที่ปลูกยางพาราลงและปลูกไม้ผลทดแทน ปัจจุบัน ที่สวนก็เป็นอีกหนึ่งสวนที่เน้นผลไม้จากไต้หวันเป็นหลัก ทั้งชมพู่ไถหนาน 3 น้อยหน่าสับปะรด ฝรั่งหงเป่าสือ ส้มโอเหวินตัน พุทราน้ำอ้อยเบอร์ 11 และยังมีส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอแดงโรตี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ชมพู่น้ำดอกไม้ ส้มเช้ง ในพื้นที่ 3 ไร่ ตอนนี้ลงเต็มพื้นที่หมดแล้ว รายได้ของสวนก็มาจากการขายกิ่งพันธุ์ การขายผลผลิต ส่วนมากก็เน้นขายออนไลน์ แต่ก็มีไม่น้อยที่มีคนเข้าไปซื้อผลผลิตถึงสวน เพราะอยากเข้าไปเรียนรู้ด้วย

“แคนยังเชื่อเหมือนตอนแรกไหมว่า เกษตรกรต้องจน”

“ไม่แล้วครับพี่ จริงแล้วผมเองเปิดใจตั้งแต่ตอนไปรับจ๊อบทำเกษตรที่ญี่ปุ่นแล้ว มองแบบอิจฉาทุกครั้ง เกษตรกรในญี่ปุ่นเป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก ฐานะร่ำรวย การทำงานก็ไม่ได้เน้นแรงงานมากเหมือนบ้านเรา ระบบน้ำ ระบบอะไรที่เกี่ยวข้องเขาวางไว้อย่างดี ผมยังฝันไว้ว่าสักวันผมจะมาเป็นเกษตรกรที่เมืองไทย และโชคดีที่ทางพ่อตา-แม่ยายมีที่ดินและเปิดใจรับในการทำสวนในแนวที่ผมอยากทำ”

“โห! พี่ พื้นที่ 3 ไร่ในการทำสวนไม่น้อยแล้วนะครับ ทำเท่าที่เราทำไหว จะได้ดูแลให้มีคุณภาพที่ดีได้ ทำเยอะก็เหนื่อย เพราะผมเองก็ยังทำงานโรงงานอยู่ เรียกว่าทำเกษตรแบบสวนผสมผสาน ใช้เทคนิคทางญี่ปุ่นมาผนวกรวมกับชีวิตประจำวันแบบไทยๆ ผมเองก็ทั้งทำสวนและเป็นช่างอาวุโสในโรงงานไปด้วย”

“ในช่วงโควิดได้รับผลกระทบมากไหมครับ”

“หากยังทำงานที่เดียวป่านนี้อาจไม่ไหวแล้วพี่ แต่ผมเองถือว่าโชคดีที่เริ่มต้นมาทำสวนเกษตรควบคู่ไปด้วย ยังพอมีรายได้จากทางสวนมาจุนเจือครอบครัวได้อย่างต่อเนื่องครับ” “มาถูกทางแล้ว ว่างั้นเถอะ”

“ใช่ครับพี่ เกษตรกรเป็นอาชีพที่มีความสุข เราได้ทำงานร่วมกับคนในครอบครัว ได้กิน ได้พบเจอกันตลอด อยากกินอะไรเราก็ปลูก ทั้งไม้ผล ทั้งผักสวนครัวเรามีครบ มีมากก็แบ่งทั้งแจก แลก ขายต่อไป ทุกวันนี้ผมมีความสุขแล้วพี่ มองหน้าคนในครอบครัวก็เห็นรอยยิ้ม ชีวิตก็คงเท่านี้แหละ ความสุขที่เป็นรูปธรรมเราสามารถสร้างเองได้ด้วยมือของเรา” “หากมีคนสนใจจะมาขอเรียนรู้หรือสั่งซื้อผลผลิตจะได้ไหมครับ”

“ยินดีครับพี่ โทร.มานัดกันล่วงหน้าได้เลยครับ 092-628-8299 สวนผมตั้งอยู่ที่บ้านห้วยน้ำคำ อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬครับ”

เป็นอีกหนึ่งสวน GClub SLOT อีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรวันหยุดที่กล้าลงมือ เปิดตัวเองออกจากกรอบเดิมๆ โดยมีฐานความรู้ใหม่มาผสมกับสิ่งเดิมๆ ที่มี แม้ช่วงที่โลกยังสงบนิ่งด้วยโควิด-19 แต่สวนนี้ก็ยังมีกิจกรรมและรายได้อย่างต่อเนื่อง ผมนั้นเชื่ออยู่เสมอ ไม่มีอาชีพใดที่เหมาะไปกว่าอาชีพเกษตรไปได้ เพราะอาหารคือส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตนั่นเอง

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการเรียนในรายวิชาส่งเสริมการเกษตร ของสาขา วิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ซึ่งเป็นรายวิชาในความดูแลของ อาจารย์ธนากร เที่ยงน้อย ในส่วนของบทเรียนการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านการเกษตร อาจารย์ธนากรให้พวกเราลงพื้นที่สัมภาษณ์กับเกษตรกร เพื่อให้พวกเราได้สัมผัสกับชีวิตเกษตรกรและได้ทดลองเป็นนักข่าวไปพร้อมๆ กัน แล้วจึงนำข้อมูลมาเขียนเป็นบทความส่งเพื่อให้อาจารย์พิจารณา หากบทความของใครน่าสนใจก็มีโอกาสจะได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

สวนส้มโชคสมบัติ ตั้งอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มี คุณสกาย คนรุ่นใหม่อายุน้อย ที่เรียนจบสาขาการท่องเที่ยว จากมหาวิทยาลัยว่านเหนิง ประเทศไต้หวัน ผู้เป็นเจ้าของสวนส้มโชคสมบัติ

คุณสกาย เล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีแล้วที่บ้านเคยปลูกส้มมาก่อน ตนเองก็ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก จนมาถึงช่วงหนึ่งที่คุณพ่อทำสวนส้มไม่ไหวจึงเลิกทำไป ก่อนที่ตนเองจะหันกลับมาปลูกส้มอีกครั้งในภายหลัง

สาเหตุที่กลับมาปลูกส้ม คุณสกาย บอกว่า ตอนแรกก็ทำงานในสายอาชีพที่เรียนจบมา ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเกษตรแม้แต่น้อย หลังเรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยว่านเหนิง และกลับมาประกอบอาชีพที่เชียงใหม่ แต่ว่าเงินเดือนในการทำงานในเมืองเชียงใหม่นั้นไม่สูง เลยมาคิดว่ากว่าเราจะมีเงินเก็บคงอีกนาน ประกอบกับอยากมีความรู้ในการทำงานฟรีแลนซ์ เลยตัดสินใจลาออกกลับมาอยู่บ้านกลับมาทำสวนส้มที่บ้านช่วยพ่อช่วยแม่ และได้ฝึกทักษะงานฟรีแลนซ์ไปในตัว

ปลูกส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง

สวนส้มโชคสมบัติ มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ และมีพื้นที่อีกประมาณ 10 ไร่ ใช้ปลูกหอมหัวใหญ่กับข้าว

“ตนเองดูแลเฉพาะในส่วนของสวนส้มโชคสมบัตินั้นมีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ โดยส้มที่ปลูกนั้นคือส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง” ในส่วนของการดูแลรักษาส้ม คุณสกาย เล่าว่า ส้มเป็นพืชที่ต้องการการดูแลมาก ถึงจะทำให้ผลผลิตดี โดยแบ่งการดูแลออกเป็นสองช่วงหลักๆ คือ