เทคนิคปลูกลำไยนอกฤดูให้ได้ผลผลิตดี ต้นไม่โทรม

ทุกปีเกษตรกรผู้ผลิตลำไยมีความเสี่ยงกับปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยเฉพาะลำไยในฤดู ที่มักมีปัญหาผลผลิตเข้าสู่ตลาดแบบกระจุกตัวในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาราคาตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพให้กับชาวสวนลำไย ได้แก่ การเตรียมความพร้อมของต้นลำไยหลังการเก็บเกี่ยว การกระตุ้นการออกดอกในระยะที่เหมาะสม การจัดการคุณภาพเน้นไว้ผลไม่เกิน 50 ผล/ช่อ และแนะนำให้จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานเพื่อลดปัญหาสารเคมีตกค้างปนเปื้อน

ขั้นตอนการปฏิบัติในสวนลำไยนอกฤดู โดย ราดสารคลอเรต ช่วงเดือนมิถุนายนนั้น จะเริ่มจากคัดเลือก ต้นที่สมบูรณ์ และใบเต็มที่ กำจัดวัชพืช และใบแห้งในทรงพุ่ม ดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชื้น ดินชุ่มเกินไปปล่อยให้ดินแห้ง หว่านสารโพแทสเซียมคลอเรต 100-120 ก./ศก. ทรงพุ่ม 1 เมตร รดน้ำให้ชื้นทุกวัน 3-5 วัน ทั้งนี้แนะนำให้สารโพแทสเซียมคลอเรตที่มีสารออกฤทธิ์ 15% คืออัตรา 600 กรัมขึ้นไปต่อเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร และยับยั้งการแตกใบอ่อนโดยใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0

ส่วนเดือนกรกฎาคม (ออกดอก) เริ่มให้น้ำเล็กน้อยเมื่อออกดอก และเพิ่มปริมาณขึ้นตามลำดับ เฝ้าระวังและป้องกันกำจัดแมลงทำลายช่อดอก เช่น หนอนเจาะช่อดอกเกิน 20% พ่นคลอร์ไพรีฟอส 30 มล./น้ำ 20 ลิตร เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยแป้งเกิน 20% พ่นคลอร์ไพริฟอส 30 มล. ผสมปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 30 มล./น้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงก่อนดอกบาน หลีกเลี่ยงช่วงดอกบาน

ช่วงเดือนสิงหาคม (ผสมเกสร) ให้น้ำอัตรา 250-350 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากมีแมลงช่วยผสมเกสรน้อยควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในสวน เพลี้ยไฟเกิน 30% พ่นอิมิดาโคลพริด 8 มล./น้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

เดือนกันยายน-ตุลาคม (ติดผลและผลพัฒนา) ดูแลให้น้ำอัตรา 250-350 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เมื่อติดผลใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 ผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กก./ต้น มวนลำไยเกิน 20 % พ่นคาร์บาริล 40 ก./น้ำ 20ลิตร เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยแป้งเกิน 20% พ่นคลอร์ไพริฟอส 30 มล. ผสมปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 30 มล./น้ำ 20 ล. 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ป้องกันกำจัดผีเสื้อมวนหวานด้วยกับดักไฟฟ้า หรือเหยื่อพิษ ก่อนเก็บเกี่ยว 30 วันใส่ปุ๋ยเคมี 0-0-60 หรือ 13-13-21 อัตรา 1-2 กก./ต้น

การปรับปรุงสีผิวผลพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Azoxystrobin (AMISTAR 25 SC) อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรจำนวน 3 ครั้งในช่วงผลอายุ 4-5 เดือน หรือสาร Benzimidazole (Carbendazim) 10 อัตรา ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 5 ครั้งในช่วงอายุผล 4-5 เดือน จะทำให้ผลมีสีทอง ในสภาพพื้นที่ลุ่มและที่ดอน นอกจากนี้ ควรตัดแต่งช่อผลให้เหลือจำนวนผลไม่เกิน 80 ผล/ช่อ และพ่นสาร NAA 200 ppm หลังจากดอกบาน 15 วันทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น

แนวทางกาเก็บเกี่ยวผล ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ควรเก็บเกี่ยวประมาณ 22 สัปดาห์หลังติดผล เปลือกผลเรียบเกือบไม่มีกระและสีน้ำตาลอ่อน หักหรือตัดช่อผลให้มีใบย่อยสุดท้ายติดไปด้วย รวบรวมผลผลิตไว้ในภาชนะหรือสถานที่ที่สะอาด ตัดแต่งช่อผล คัดขนาด และคุณภาพผลผลิตตามมาตรฐานลำไย

ดูแลตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนมีนาคม ทั้งนี้ เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว โดยตัดกิ่งกลาง กิ่งทับซ้อน กิ่งแห้งตายหรือโรค- แมลงทำลาย เก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมหรือ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กก./ต้น และปุ๋ยเคมี 15-15-15 ใส่ปุ๋ยผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กก./ต้น

เดือนเมษายน-พฤษภาคม (เตรียมความพร้อมต้น) โดยป้องกันกำจัดแมลงช่วงแตกใบอ่อน ป้องกัน ไรสี่ขาเกิน 10 % พ่นกำมะถันผง 40 ก./น้ำ 20 ล. หรืออามีทราซ 40 มล./น้ำ 20 ล. 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ป้องกันหนอนคืบเกิน 20% พ่นคาร์บาริล 40 ก./น้ำ 20 ล. ดูแลใส่ปุ๋ยเคมี 0-46-0 ผสม 0-0-60 สัดส่วน 1:1 ประมาณ 1-2 กก./ต้น พ่นปุ๋ยเคมี 0-52-34 อัตรา 150 ก. /น้ำ 20 ล. 2 ครั้ง ห่าง 10-14 วัน

หากใครต้องการให้ ปลูกลำไยนอกฤดู ไม่ให้ต้นโทรม ขอแนะนำเทคนิคการดูแลสวนลำไยพันธุ์พวงทอง และสายพันธุ์อีดอ ของ คุณลุงเกษม จิตฉายา ซึ่งอยู่เลขที่ 110 หมู่ 2 ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140

สวนแห่งนี้ทำ ลำไยนอกฤดู โดยราดสารลำไย แบบ ปีเว้นปีอย่างเคร่งครัด ทำให้ไม่มีปัญหาต้นโทรม เริ่มจากแบ่งลำไย 400 ต้น ออกเป็นชุด จากนั้นราดสาร ให้ออกผลผลิตตามที่ต้องการ ตั้งแต่ราดจนเก็บผลผลิตได้ ใช้เวลาราว 7 เดือน อย่างต้องการให้ออกเดือนมกราคม ก็นับถอยหลังไป 7 เดือน จึงราดสาร หลังเก็บผลผลิตเดือนมิถุนายนเสร็จ จะใส่ปุ๋ยขี้ไก่ให้อย่างน้อย ต้นละ 1 กระสอบปุ๋ย จากนั้นตัดแต่งกิ่ง

การผลิตลำไยนอกฤดูปีเว้นปีนั้น เกษตรกรจะราดสารต้นลำไยเป็นรุ่นๆ ละ 50-60 ต้น จะทำให้มีผลผลิตหมุนเวียนไม่เคยขาด ปีหนึ่งทำได้หลายรุ่น การราดสารให้ลำไยออกนอกฤดู สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ต้นลำไยต้องแตกใบใหม่ 3 ครั้ง จึงจะราดสารเพื่อให้ออกดอกได้

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นายรุจน์ประทีป ธรรมรพีภัทร์ นายอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในพิธีเกี่ยวข้าวแปลงนาสาธิตพันธุ์ไรช์เบอรี่ โครงการเกษตรอินทรีย์วัดห้วยมงคล ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางพระราชดำริด้านเกษตรผสมผสาน ที่แปลงนาสาธิตวัดห้วยมงคล โดยมีเกษตรกรจำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

จากนั้นพระครูปภัสสรวรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล กล่าวว่า แปลงนาพันธุ์ข้าวไรช์เบอรรี่นี้ เป็นแปลงนาตัวอย่างเพื่อให้เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และพื้นที่ใกล้เคียงได้ศึกษาหาความรู้วิธีการปลูกข้าวปลอดสารเคมี เกษตรอินทรีย์โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางพระราชดำริ

สำหรับแปลงนาสาธิตมีพื้นที่จำนวน 5 ไร่ เป็นแบบนาหว่านและนาดำ ใช้ระยะเวลาปลูกตั้งแต่หว่านพันธุ์เมล็ดถึงเวลาเก็บเกี่ยวรวม 130 วัน ได้ผลผลิตประมาณ700กิโลกรัมต่อไร่ รวมผลผลิตทั้งหมด ประมาณ 3 ตัน

จากนั้นจะนำเม็ดพันธ์ข้าวส่วนหนึ่งแจกให้เกษตรกรที่สนใจไปปลูก สำหรับที่เหลือจะนำเข้าโรงสี แปรรูปเพื่อไปใช้ในประกอบอาหารโรงทานของวัด ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากราบสักการะหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่หรือทำบุญที่วัดได้รับประทานข้าวที่มีคุณภาพปลอดสารพิษ

คนในเมืองโดยเฉพาะคนชั้นกลางทุกวันนี้ สนใจในเรื่องสุขภาพและอาหาร ซึ่งถือว่า เป็นกระแสทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ การปลูกผักในเมืองจึงเป็นที่สนใจและมีการเปิดอบรมอย่างกว้างขวางในบ้านเรา

ครอบครัวของคมสัน หุตะแพทย์ เผยแพร่ความรู้เรื่องการพึ่งพาตนเองภายในบ้านมาเป็น เวลานาน ตั้งแต่สมัยลูกสาวทั้งสามคนยังเป็นเด็กเล็กๆ ผ่านไปเกือบ 20 ปี เด็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ เรียนจบมหาวิทยาลัย ทำงานทำการแล้ว ก็ยังมาเป็นกำลังสำคัญช่วยคุณพ่อให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์เรื่องการปลูกผัก การพึ่งพาตนเองภายในบ้านในหลายๆ ด้านให้ผู้ที่สนใจ

ตั้งแต่เด็กจนโต สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้เห็นและชักชวนให้ลงมือทำกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างกลมกลืน ทุกวันนี้ฝ้าย ฝน และ ฟ้า หุตะแพทย์ ใช้เวลาวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นวิทยากรอบรมปลูกผัก สอนทำอาหาร และช่วยคุณพ่ออบรมเรื่อง โซลาร์เซลล์ พลังงานทดแทน เป็นประจำทุกเดือน ที่สวนผักบ้านคุณตา ในซอยสุขุมวิท 62 กรุงเทพมหานคร

สวนผักบ้านคุณตา เป็นศูนย์อบรมเกษตรในเมือง เปิดให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหันกลับมาพึ่งพาตัวเองภายในบ้าน มีการเปิดอบรมทุกเดือนในหลักสูตรเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวภายในบ้าน การทำปุ๋ย การจัดการขยะภายในครัวเรือน การประยุกต์ดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ให้เป็นข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน และเรื่องของพลังงาน ทดแทน สิ่งที่ครอบครัวหุตะแพทย์ทำมานานแล้วในวันวาน มีผู้สนใจเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในวันนี้

กรชชนก หุตะแพทย์ หรือ ฝ้าย พี่สาว คนโต เป็นผู้ประสานงาน นำกิจกรรม ฝึกอบรม และเป็นวิทยากร ส่วน กฤดิ์ชนา (ฝน) และกรรณชนก (ฟ้า) ช่วยดูแล จัดการ รวมทั้งเป็นวิทยากรในการลงฐานฝึกปฏิบัติของผู้เข้าอบรม ไม่ว่าจะเป็นการสอนปลูกผัก หรือ สอนทำอาหาร เรียกได้ว่าทั้งสามสาวสามารถช่วยคุณพ่อเผยแพร่ให้ความรู้และขยายแนวคิด การใช้ชีวิตพึ่งพาตนเองแบบคนเมืองได้ เกือบทั้งหมด

ฝ้าย กรชชนก กล่าวว่า “วัตถุประสงค์หลักคือเราเผยแพร่ให้ความรู้ ปีแรกๆ เราเน้นเรื่องปลูกผัก เรื่องอาหาร แล้วก็ขยายต่อยอด ไปเรื่องของพลังงาน เรื่องโซลาร์เซลล์ การบำบัดน้ำภายในบ้านมาใช้ในแปลงผัก ต่อไป ก็อยากจะทำให้ครบวงจร เป็น Eco House Eco Community ให้มากยิ่งขึ้น”

การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่ในบ้าน มีผลต่อการเติบโตของเด็กๆ การที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างหรือทำอยู่ในชีวิตประจำวัน เมื่อมีงานก็เปิดโอกาสให้ลูกๆ เข้ามาช่วย ทำให้สามพี่น้องบ้านหุตะแพทย์เรียนรู้และซึมซับไปทีละเล็กทีละน้อย จนมั่นใจ ในแนวทางการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่ในเมืองก็ปลูกผัก พึ่งพาตัวเองได้ ผู้ใหญ่หลายๆ คนที่ได้รู้จักพบเจอต่างมองวัยรุ่น บ้านนี้ในมุมมองต่างออกไป

ชีวิตวัยรุ่นของฝนและฟ้า กฤดิ์ชนาและกรรณชนก ไม่ได้อยู่ที่การเดินห้าง ช็อปปิ้ง ดูหนัง โซเชี่ยลมากมาย สามสาวอยู่กับแปลงผัก เป็นวิทยากรให้ความรู้ผู้คน มีความคิดต่อส่วนรวม ต่อสิ่งแวดล้อม ฟ้ากล่าวว่า “เป็นวัยรุ่นอีกแนวหนึ่ง คนอื่นๆ ได้เห็นว่าวัยรุ่นแนวนี้ ก็มีที่ประทับใจคือ คนอื่นเขามองว่าเราเป็นตัวอย่างได้ ถึงเป็นวัยรุ่นถึงอยู่ในเมืองก็ใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติได้”

ส่วน ฝน กฤดิ์ชนา นอกจากเป็นวิทยากรสวนผักบ้านคุณตาแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลเว็บเพจของสวนผักบ้านคุณตา และของวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติอีกด้วย “ตอนนี้พี่ฝ้ายทำงานประจำแล้ว ฝนเข้ามา รับช่วงต่อ ทำงานหลักๆ คล้ายๆ กันทุกคน ช่วยกันค่ะ”

สวนผักบ้านคุณตา เปิดอบรมทุกเดือน เดินทางสะดวกไม่ว่าจะมาด้วยรถยนต์ หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส วิทยากรสามใบเถาสอนเข้าใจง่าย ได้ลงมือปฏิบัติจริง เห็นผลจริง การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคนเมืองเป็นไปได้ไม่ยาก ขอแค่มีความตั้งใจจริง

เรื่องราวของฝ้าย ฝน ฟ้า หุตะแพทย์ เป็นสารคดีเรื่องที่ 12 ในสารคดีชุดพิเศษ “วันนี้ของวันวาน” ที่ทีมงานรายการทุ่งแสงตะวัน สืบเสาะ ค้นหา และนำมาบอกเล่า 12 คน 12 ตอนด้วยกัน ทางช่อง 3 และช่อง 33 เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามของเด็กๆ ในวันวาน เมื่อ 20-25 ปีก่อน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

เด็กๆ เหล่านี้เป็นเสมือนตัวแทนเด็กในสังคมไทยในสองทศวรรษที่ผ่านมา พวกเขาเติบโต เดินทาง ค้นหาความหมายของชีวิตบนเส้นทางเดินเช่นไร ติดตามดูย้อนหลังได้ทางยูทูบ Payai TV

และสำหรับเรื่องราวของฝ้าย ฝน ฟ้า หุตะแพทย์ เส้นทางที่เติบโตและเลือกเดินจะเป็นอย่างไร เช้าวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคมนี้ พบกันในทุ่งแสงตะวัน ตอน สามใบเถา เวลา 06.25 น. ทางช่อง 3 ช่อง 13 และช่อง 33

อบเชย ชื่อสามัญ Cinnamon, Cassia ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum spp. อบเชยที่คุ้นเคยกันคือชื่อของเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น

การใช้ประโยชน์ยอดนิยมของอบเชยคือนำไปประกอบในเครื่องแกง เช่น พริกแกงกะหรี่ หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทพะโล้ เนื้อตุ๋น ขณะที่แถบตะวันตกมักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรล หรือใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรตเซล ทั้งยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชย

อบเชยมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติหรือสรรพคุณทางยาใกล้เคียงกัน นำมาใช้แทนกันได้ พันธุ์ที่มีชื่อเสียงคุณภาพดีและราคาแพงที่สุด คือสายพันธุ์จากศรีลังกา อบเชย สายพันธุ์จากจีนจะอ่อนที่สุด ส่วนอบเชยไทยไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะเปลือกหนาและไม่หอม

บางข้อมูลระบุว่า อบเชยญวนมีคุณภาพสูงสุด รองลงมาคืออบเชยจีน และอบเชยเทศ ทั้งนี้ ส่วนประกอบของสารเคมีและน้ำมันระเหยแต่ละชนิดไม่เท่ากัน

สำหรับประเทศไทยมีอบเชยมากกว่า 16 ชนิด โดยมีชนิดใหญ่ๆ อยู่ 5 ชนิด ได้แก่ อบเชยเทศ หรืออบเชยลังกา, อบเชยจีน, อบเชยญวน, อบเชยชวา หรืออบเชยอินโดนีเซีย และอบเชยไทย

อบเชยเป็นเครื่องยาหรือเครื่องเทศที่ได้มาจากการขูดเอาเปลือกชั้นนอกออกให้หมด แล้วลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น โดยใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง แล้วผึ่งในที่ร่มสลับกับตากแดดประมาณ 5 วัน ในขณะที่ตากให้ใช้มือม้วนเอาขอบทั้งสองข้างเข้าหากัน เมื่อเปลือกแห้งแล้วจึงมัดรวมกัน เปลือกอบเชยที่ดีจะต้องเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีสนิม มีความตรงและยาวอย่างสม่ำเสมอ โดยยาวประมาณ 1 เมตร

อบเชยมีรสเผ็ด หวานชุ่ม กลิ่นหอม เป็นยาร้อนออกฤทธิ์ต่อไต ม้าม และกระเพาะปัสสาวะ โดยรวมสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ ชูกำลัง ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยกระจายความเย็นในร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับผายลม อาหารไม่ย่อย แก้เบื่ออาหาร แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ทั้งยังใช้ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ แก้ลมวิงเวียน ทำให้สดชื่น แก้ปวดศีรษะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการอ่อนเพลีย ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการไอ

อบเชยยังช่วยลดความดันโลหิต โดยใช้ผงอบเชยที่หาซื้อได้ทั่วไป หรือที่เป็นแท่งนำมาบด ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น

นอกจากนี้มีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายมีความสามารถในการใช้อินซูลินเพื่อการสันดาปกลูโคสได้ดีขึ้น ลดการดื้ออินซูลิน ทำให้เซลล์ต่างๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด

สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1,200 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 4 มื้อ ซึ่งจะได้ผงอบเชยในปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับแคปซูลเบอร์ 1

ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน กินได้วันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือประมาณวันละ 2 แคปซูล ทั้งช่วยย่อยสลายไขมัน ควบคุมระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ให้มีระดับต่ำลง ช่วยต้านมะเร็ง เพราะมีสารคลีเซอไรซินเข้มข้น

อบเชยจัดอยู่ในพิกัดยาไทยร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ หลายตำรับ ได้แก่ พิกัดตรีธาตุ (เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้ไข้ แก้เสมหะ), พิกัดตรีทิพย์รส (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ), พิกัดจตุวาตะผล (เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้พรรดึก ขับผายลม แก้ลมกองริดสีดวง แก้ ตรีสมุฏฐาน), พิกัดทศกุลาผล (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้เสมหะ บำรุงปอด ขับลมในลำไส้ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต)

คำเตือน อบเชยจีนเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมากๆ หรือไม่ได้รับประทานตามคำแนะนำในฉลากหรือจากแพทย์ ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากอบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในระยะยาวก็อาจมีปัญหาต่อตับได้

หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวต่างถิ่นที่ระบาดเข้ามาในไทย พบการระบาดครั้งแรกที่ประจวบคีรีขันธ์ หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยจะแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ โดยเฉพาะใบแก่ หากการทำลายรุนแรงจะทำลายก้านทางใบ จั่น และผลมะพร้าว

ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายจะมีใบแห้ง และมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ หนอนหัวดำมะพร้าวสามารถแพร่กระจายตัวโดยติดไปกับต้นกล้ามะพร้าว หรือปาล์มประดับ ผลมะพร้าว หรือส่วนใบมะพร้าวที่มาจากแหล่งที่มีการระบาดแล้วนำเข้าไปในพื้นที่ใหม่ ดังนั้นหนอนหัวดำจึงจัดเป็นแมลงศัตรูสำคัญของต้นมะพร้าวที่กำลังแพร่ขยายไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

จังหวัดศรีสะเกษ แม้จะมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวไม่มาก แต่ชาวบ้านก็ใช้ประโยชน์จากมะพร้าวในการบริโภค อีกทั้งในบางพื้นที่มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านเริ่มมองมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะสามารถส่งขายให้แก่นักท่องเที่ยว และส่งขายประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาสูงกว่าด้วย ฉะนั้น หากหนอนหัวดำเกิดระบาดขึ้นในพื้นที่อาจส่งผลเสียหายต่อรายได้เกษตรกรทันที

“โครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว ด้วยวิธีผสมผสาน แบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” เป็นอีกหนึ่งโครงการของสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนอนหัวดำที่เป็นศัตรูตัวร้ายของมะพร้าวเพื่อไม่ให้แพร่ระบาดในวงกว้าง จึงควรหาวิธีเร่งกำจัดเสียก่อน

งานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือและผนึกกำลังกันของทุกหน่วยงานภาคเกษตร รวมถึงเกษตรกรทุกคนในพื้นที่อย่างคึกคักเข้มแข็ง ภายในงานมีการสาธิตที่มาของหนอนหัวดำ พร้อมแสดงให้เห็นความร้ายกาจของศัตรูตัวนี้ อีกทั้งยังมีการสาธิตปล่อยแตนเบียนเพื่อเข้าทำลายหนอนหัวดำ พร้อมกับการเผาทำลายทางมะพร้าวที่หนอนหัวดำวางไข่ด้วย

โอกาสนี้ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านจึงเชิญผู้เกี่ยวข้องกับงานในครั้งนี้มาล้อมวงคุยกันบริเวณสวนมะพร้าวของชาวบ้านทุ่งมั่ง หมู่ที่ 4 ตำบลอีปาด อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ในประเด็นความพร้อมต่อการป้องกันหนอนหัวดำของศรีสะเกษ

คุณชัยยงค์ เมธาสุรวิทย์ นายอำเภอกันทรารมย์ กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีการแพร่ระบาดหนอนหัวดำในพื้นที่บ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นบริเวณกว้าง แล้วถือว่ายังไม่ร้ายแรง ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าควรแนะนำและให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อป้องกันไว้ก่อน อีกทั้งวิธีที่นำมาใช้จะไม่มีสารเคมีเลย เนื่องจากต้องการให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

ขณะเดียวกันถ้าเกษตรกรยึดแนวทางนี้จะช่วยทำให้เกิดความยั่งยืน นำมาสู่การยอมรับจากหลายหน่วยงานว่ามะพร้าวในพื้นที่นี้ปลอดสารเคมีอย่างแท้จริง เพื่อจะเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกกีดกันทางการค้าด้วย

มะพร้าว เป็นพืชที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการนำมาบริโภค แล้วยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อร่างกายด้วย รวมถึงยังมีการโยงใยไปถึงทางด้านท่องเที่ยว ทางด้านสปา แล้วดีต่อสุขภาพเมื่อนำน้ำมันมะพร้าวไปใช้ ฉะนั้นจึงมีการสนับสนุนการปลูกมะพร้าวในเชิงเศรษฐกิจแก่ชาวบ้านในจังหวัด เพราะมองตลาดผู้บริโภคมะพร้าวทุกประเภทแล้วต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ว่าที่พันตรี ณรงค์ชัย ค่ายใส ผอ. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าภารกิจของหน่วยงานนี้คือ ต้องการให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชด้วยการใช้วิธีทางธรรมชาติในการปราบศัตรูมะพร้าว ซึ่งแนวทางนี้ได้ดำเนินไปหลายพื้นที่ ในเขต 8 จังหวัด ภาคอีสานตอนล่าง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรและชาวบ้าน เหตุผลสำคัญคือ ต้องการให้สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความสมดุลกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างเดิม

สำหรับแนวทางที่ป้องกันศัตรูพืชในมะพร้าวคือ การใช้แตนเบียนที่เป็นแมลงขนาดเล็กปล่อยไปในธรรมชาติบริเวณต้นมะพร้าว เพื่อให้ไปจัดการปราบหนอนหัวดำที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้าเปรียบแตนเบียนเหมือนตำรวจ และหนอนหัวดำเป็นผู้ร้าย ฉะนั้นตอนนี้พบว่าเริ่มมีผู้ร้ายเข้ามาก่อกวน จึงต้องจัดหาตำรวจมาปราบ แล้วการเข้ามาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษก็เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกับภาคราชการสร้างตำรวจขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อให้ปราบผู้ร้าย

อย่างไรก็ตาม มะพร้าว นอกจากมีประโยชน์ด้านการบริโภคแล้ว ทุกส่วนของลำต้นยังมีประโยชน์ในการประดิษฐ์เป็นของใช้ในครัวเรือน อย่าง ไม้กวาด หรือกะลา ไว้ใช้หรือจำหน่ายสร้างรายได้อีก ทั้งนี้ลักษณะทรงต้นของมะพร้าวยังไม่มีกิ่งก้าน จึงทำให้สามารถปลูกพืชอายุสั้นบริเวณใต้ต้นมะพร้าวได้อีก เพื่อเป็นการหารายได้ระหว่างรอมะพร้าวให้ผลผลิต

มะพร้าว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติทนต่อสภาพอากาศ ขณะที่มะพร้าวน้ำหอมยังเป็นสินค้าบริโภคด้านการท่องเที่ยว แล้วในตอนนี้มีหลายพื้นที่ทางภาคอีสานที่ปลูกมะพร้าวในเชิงพาณิชย์กันแล้ว อาจเป็นเพราะโดยธรรมชาติของมะพร้าวเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยากมากนัก

นอกจากจะใช้แมลงทางธรรมชาติเพื่อกำจัดหนอนหัวดำ ตัวผมยังได้คิดค้นอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับปล่อยแตนเบียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้จะเป็นท่อต่อยาวขึ้นไปเกือบถึงยอดสุดของมะพร้าว แล้วจัดการปล่อยแตนเบียนออกจากภาชนะใส่ ทั้งนี้ เพื่อให้แตนเบียนเข้าไปใกล้หนอนหัวดำมากที่สุด เพราะวิธีเดิมคือการปล่อยด้านล่างทำให้แตนเบียนมีโอกาสบินขึ้นไปกำจัดหนอนหัวดำได้น้อยกว่าวิธีนี้

อุปกรณ์นี้ได้ทำต้นแบบแล้วนำไปใช้ทางพื้นที่ภาคใต้ที่ปลูกมะพร้าว ก็ประสบความสำเร็จดีตามความคาดหมาย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เวลาคิดแก้ไข ประมาณ 2 เดือน มีต้นทุนไม่เกิน 300 บาท จึงเหมาะกับเกษตรกรจะนำไปผลิตเองเพราะวัสดุมีขายตามร้านค้าทั่วไป และไม่ยุ่งยาก

คุณกิตติศักดิ์ วิมลสุข หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ชาวบ้านในจังหวัดศรีสะเกษปลูกมะพร้าวกันมานานแล้ว ในช่วงแรกไม่มีเจตนาเพื่อการค้า แต่ปลูกไว้ใช้บริโภค ฉะนั้น ส่วนใหญ่จึงปลูกกันตามหัวไร่ปลายนา รุ่นนี้ต้นมะพร้าวมีอายุสิบกว่าปี และต่อมามีการปลูกเพิ่มในเชิงการค้า รุ่นนี้มีอายุประมาณ 4-5 ปี เนื้อที่ปลูกรวมทั้งหมด ประมาณ 590 ไร่ เป็นทั้งมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิ ปลูกเพื่อบริโภคและสร้างรายได้ด้วย

จากสถานการณ์โรค เว็บ SBOBET แมลงศัตรูพืชที่เริ่มมีการระบาดคือ หนอนหัวดำ ที่เกิดขึ้นเกือบทุกอำเภอ โดยทางหน่วยงานได้ติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้าน โดยผ่านศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนที่ตั้งอยู่ทุกอำเภอ ทุกพื้นที่เพื่อจะได้รายงานให้ต้นสังกัดทราบถึงการระบาดและความเสียหายที่เกิดขึ้น

สำหรับอำเภอที่ปลูกมะพร้าวมากที่สุดคือ กันทรลักษ์ ศรีรัตนะ และขุนหาญ ลักษณะคุณภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและมีความเหมาะสม อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ไม่เคยขาดแคลนด้วย จึงทำให้มะพร้าวน้ำหอมมีคุณภาพดี มีความหวาน หอม และมีศักยภาพถึงขนาดส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันชาวบ้านเห็นช่องทางสร้างรายได้ด้วยการขายหน่อมะพร้าวกันเป็นจำนวนมาก เพราะมีราคาสูงกว่าขายผลสด จึงทำให้มะพร้าวผลสดขาดแคลนในตลาด โดยชาวบ้านจะขายมะพร้าวอยู่ในพื้นที่ เพราะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงในสวน

ผมคิดว่าขณะนี้มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดที่กำลังมีอัตราเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ สามารถปลูกพืชไม้ผลได้คุณภาพทุกชนิด รวมถึงยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง แล้วมะพร้าวจะเป็นผลไม้ดึงดูดที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน จึงมองว่าคงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีกทั้งคงมีการจัดระบบการปลูกให้มีมาตรฐานตามมาด้วยเช่นกัน

คุณสมาน ประดับทอง เกษตรอำเภอกันทรารมย์ เผยว่า สำหรับปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำในพื้นที่ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนี้ไม่หนักใจ เนื่องจากลักษณะการปลูกมะพร้าวของชาวบ้านไม่ได้มีขนาดเป็นแปลงใหญ่ แต่มีลักษณะแบบหัวไร่ปลายนาที่มีอายุ 10 ปี หรือสวนขนาดเล็กที่มีอายุ 4-5 ปี แต่จะปลูกในทุกพื้นที่ จึงสามารถควบคุมได้