เทคนิคและการบริหารจัดการลำไยนอกฤดูของการบริหารจัดการ

การผลิตลำไยให้ประสบความสำเร็จจะต้องเอาการตลาดเป็นตัวนำการผลิต เพราะเมื่อผลผลิตออกจะตรงกับความต้องการของตลาดและราคาจะสูง ตามเทศกาลของประเทศจีนเป็นหลักและลดความเสี่ยง คือ

ช่วงที่ 1 ให้สารเดือนมีนาคม เก็บผลผลิตเดือนกันยายน ตรงกับงานชาติจีน (1-7 ตุลาคม ของทุกปี)

ช่วงที่ 2 ให้สารเดือนเมษายน เก็บผลผลิตเดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่สากล

ช่วงที่ 3 ให้สารเดือนมิถุนายน เก็บผลผลิตเดือนมกราคม ก่อนเทศกาลตรุษจีน

ช่วงที่ 4 ให้สารเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม วันเช็งเม้ง เนื่องจากตลาดจีนเป็นตลาดรับซื้อและนำเข้าลำไยของไทยที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะการให้ผลผลิตออกช่วงเดือนมกราคมถึง พฤษภาคม จะเป็นช่วงเวลาที่ตลาดคู่แข่งอย่างเวียดนามและแหล่งอื่นๆ ไม่มีผลผลิต

นอกจากการใช้ตลาดเป็นตัวนำแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอและความสมบูรณ์ของต้นลำไยและการแบ่งทำเป็นรุ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคา

มีชาวสวนลำไยหลายท่านปีนี้ที่ประสบความสำเร็จในการทำลำไยนอกฤดู และสามารถขายเหมาลำไยหลักล้านบาทขึ้นหลายรายปีนี้ เพราะว่าราคานอกฤดูก่อนตรุษจีนที่จะมาถึงปีนี้ ถือว่าราคาค่อนข้างดีทีเดียว โดยปกติราคาลำไยในช่วงเทศกาลตรุษจีน หรือปีใหม่ วันชาติจีน ราคาจะดีกว่าช่วงอื่นๆ ในการวางแผนการทำลำไยนอกฤดู ถ้าเราต้องการให้ได้ราคาดี ก็ควรให้ออกก่อนช่วงเทศกาลเล็กน้อยก็จะขายได้ราคาที่แพงกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของต้นลำไยด้วย ว่าได้ต้นลำไยพร้อมสมบูรณ์ที่จะราดสารหรือไม่ โดยแตกยอดอ่อนอย่างน้อยสองครั้งถึงจะราดสารหรือพ่นสารทางใบ เพื่อให้ลำไยออกดอก

พูดถึง ต้นหญ้า หลายคนจะมองว่าเป็นพืชทีไร้ค่าไม่มีประโยชน์ สร้างความรกรุงรังใครเจอก็มักจะถอนทิ้งด้วยความฝังใจ แต่ในปัจจุบัน ต้นหญ้า ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปนั้น ถูกหยิบขึ้นมาใช้งาน สร้างคุณประโยชน์และคุณค่า

คุณสาธิต พุทธวรรักษ์ ผู้ที่หลงไหลและมีความรักในธรรมชาติ ชอบปลูกต้นไม้มาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังเรียนจบจึงออกมาประกอบธุรกิจเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับร่วมกับเพื่อน

คุณสาธิต เล่าให้ฟังว่า หญ้าประดับ คือ หญ้าที่นำมาจัดสวน มีทรงพุ่มสวยงาม ใบเป็นเส้นเรียวยาว ผิวสัมผัสละเอียด ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย เป็นต้นไม้ที่ไม่ต้องตัดแต่ง ไม่ต้องดูแล ทนความร้อนและแสงแดดได้ดี

“สมัยเรียนเพื่อนๆ ที่เรียนมาด้วยกันส่วนใหญ่จะมีธุรกิจรองรับเมื่อเรียนจบ ผมจึงคิดหาธุรกิจทำ ซึ่งการทำธรุกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรเป็นอะไรที่ลงทุนน้อย มีเนื้อที่อยู่ส่วนหนึ่งจึงมาปรับปรุงใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกจำหน่ายทำมาได้ระยะหนึ่งเริ่มอิ่มตัว จึงเริ่มหาไม้ใหม่ๆ ที่อยู่ได้นานกว่าไม้ดอกไม้ประดับเข้ามาปลูก และการศึกษาดูงานในต่างประเทศบวกกับการศึกษาผ่านระบบโซเชียวต่างๆ ที่มีการนำต้นหญ้านานาชนิดมาเป็นส่วนประกอบในการจัดสวนได้อย่างลงตัว จึงมีความรู้สึกแปลกและตระการตาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีใครที่นำมาสร้างทำเป็นธุรกิจ และด้วยความอยากได้จึงหันมาปลูกเอง”

สร้างมิติใหม่ให้สวน ด้วยหญ้าประดับ

คุณสาธิต เริ่มเก็บสะสมหญ้าที่หาเก็บได้ตามท้องถนนมาทดลองปลูก โดยเฉพาะหญ้าแดง ซึ่งในระยะเริ่มต้นไม่มีตลาดรองรับ จนกระทั่งกลุ่มธุรกิจผู้รับเหมาจัดสวนตามโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ เริ่มรู้และเข้ามาเป็นลูกค้าสั่งชื้อเพื่อนำไปปลูกประดับตามสวนต่างๆ หน้าโครงการและหมู่บ้านสร้างความโดดเด่นโดยเฉพาะสีแดงจนกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

“หลังจากปลูกหญ้าแดงจำหน่ายได้ประมาณ 2 ปี มีคนใช้เยอะ ทำให้ธุรกิจการปลูกหญ้าประดับมีคนหันมาให้ความสนใจและจับเป็นอาชีพมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลทำให้เราขายไม่ดีเท่ากับช่วยแรก อีกทั้งประกอบกับต้นหญ้ามีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อไม่ได้ขยายกระถางหรือขายออกไปทำให้ต้นหญ้าเริ่มโทรม จากหญ้าแดงก็เปลี่ยนมาปลูกน้ำพุ ทำอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ประสบกับปัญหามีผู้ผลิตมากกว่าปริมาณความต้องการของตลาด แต่อย่างไรก็ตามเป็นการดีที่คนเข้าใจและเริ่มรู้ว่าหญ้าสามารถปลูกและนำมาจัดสวนได้จากหญ้าแดงและหญ้าน้ำพุที่ปลูกจำหน่ายซึ่งคนเริ่มให้ความสนใจ ผมจึงมองว่าหญ้าตัวอื่นๆ ที่เราเก็บสะสมคัดมาปลูกจำหน่าย”

คุณสาธิต เริ่มคัดสายพันธ์หญ้าที่มีลักษณะต้นไม่สูงกว่าและไม่เตี้ยกว่าหญ้าแดงและหญ้าน้ำพุ เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างในการนำไปจัดสวน อาทิเช่น ลักษณะดอกและใบจะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะเมื่อปลูกไปนานๆ ต้นหญ้าจะไม่มีดอกตลอดทั้งปี เหลือแต่ใบแต่เขาก็ยังคงความสวยงามอยู่

“หญ้าทุกสายพันธุ์ที่นำมาเพาะจำหน่ายผมจะทำการทดลองดูคุณสมบัติทุกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องการนำไปใช้การนำไปจัดสวนได้ ไหลหรือหน่อจะต้องไม่วิ่งไปไกล เมล็ดจะต้องงอกได้ยากหรืองอกได้แต่ต้องงอกพร้อมกันทั้งหมดไปไม่แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อง่ายต่อการจัดการดูแล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีทั้งที่นำเข้าและหาได้ในประเทศ ทดลองจนกระทั้งแน่ใจว่าไม่แสดงตัวว่าเป็นวัชพืช โดยใช้ระยะเวลาทดลองหลายปีกว่าจะได้หญ้าแต่ละสายพันธุ์ที่การันตรีคุณภาพออกมาก่อนนำไปเสนอขายให้กับลูกค้า”

ขยายพันธุ์สร้างมูลค่า จำหน่ายตามออเดอร์

แม้ว่าหญ้าจะมีข้อดีในแง่ของการปลูกเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นดาบสองคมเพราะพืชเหล่านี้หากไม่มีการนำมาใช้ที่ดีก็จะส่งผลเสียในแง่ของการกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนทำลายพืชปลูกหลักได้ ซึ่งโดยทั่วไปนั้นหญ้าสามารถขยายพันธุ์และขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สำหรับหญ้าน้ำพุหรือหญ้าประดับที่คุณสาธิตได้ทำการทดลองคัดสายพันธุ์นั้น ในสภาพธรรมชาติทั่วไปจะขึ้นได้ยาก ต้องนำมาเพาะ ซึ่งการขยายพันธุ์จะไม่นิยมเพาะเมล็ด เนื่องจากมีแนวโน้มเกิดการกลายพันธุ์ ปรับสภาพสามารถเจริญเติบโตในธรรมชาติได้ จะใช้วิธีการผ่าหน่อในการเพาะขยายพันธ์เท่านั้น

สำหรับการขยายพันธุ์คุณสาธิตจะใช้วิธีการผ่านหน่อปักชำและเพาะเมล็ดเพื่อหวังผลทางการกลายพันธุ์โดยต้นหญ้าที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์จะต้องมีความสมบูรณ์ ซึ่งในที่นี่คือเริ่มออกดอกหรือหลังออกดอกแล้วตัดแต่งกิ่งให้แตกกอใหม่ก่อนทำการผ่าหน่อ ซึ่งบางชนิดเป็นพันธ์เบา 1-2 เดือน บางชนิดเป็นพันธุ์หนัก 3-4 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ก่อนออกดอกจะได้ผลดีที่สุด

ส่วนขั้นตอนการขยายพันธุ์ คุณสาธิต บอกว่า นำต้นพันธุ์ที่ได้จากการผ่าหนอจะก่อนหรือหลังออกดอกมาปลูกลงกระถาง 6 นิ้ว เว้นแต่ว่าต้นใหญ่จะใช้กระถาง 8 นิ้ว กลบด้วยวัสดุปลูกที่เป็นดินผสมทั่วไป นำไปตั้งทิ้งไว้กลางแดด ประมาณ 1-3 เดือน แต่ะจะมีหญ้าบางชนิดที่ต้องอยู่ในร่ม (แดด 50 เปอร์เซ็นต์)

การให้น้ำการดูแลรักษา จะไม่แตกต่างจากไม้ทั่วไป แห้งหรือแฉะมากไปก็จะตาย แต่ที่สำคัญแต่ละแปลงแดดจะต้องเหมาะสมกับชนิดหญ้า

“คุณสมบัติของหญ้า ปลูกต้นเดียวก็เก๋ ปลูกต้นเดียวก็เป็นแมสก็สวย เนื่องจากว่าเป็นไม้ประดับที่มีใบเรียวเล็ก ดอกที่คล้ายกัน เมื่อนำมาปลูกเป็นซีรี่ต่อให้ปลูกอย่างไร นำมาจัดรวมกันอย่างไรก็เกิดความสวยงาม ซึ่งจะนิยมนำไปจัดสวนแนวโมเดิล สวนอังกฤษ จะเข้ากับสถานที่และสถาปัตยกรรมที่เป็นเส้นตรงได้อย่างลงตัว ไม่โดดเด่นกว่าสถาปัตยกรรม หญ้าประดับส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น อายุการใช้งานจะยาวนาน ดึ้งนั้นต้องการดูแล เช่นการตัดแต่ง 1 ปี ตัดแต่ง 1-2 ครั้ง แล้วแต่ละชนิด เพื่อความสวยงาม ส่วนการนำไปใช้งานในปัจจุบันคือ งานโปรเจคใหญ่ การจัดสวนตัวอย่างตามโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ งานอีเว้นท์ หรืองานนิศรรการสถานปัตยกรรม อาคารสำหนักงาน”

ราคาจำหน่าย คุณสาธิต บอกว่า มีราคาตั้งแต่ 20-80 บาท ซึ่งถ้าหากราคาแพงกว่านั้นจะขายไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าเฉพาะ เช่น รับจัดสวน นักจัดสวนที่รู้จักกัน ซึ่งลูกค้าเหล่านี้จะไปนำเสนอให้กับลูกค้ารายย่อยอีกทีหนึ่ง

ภาคเกษตรของไทยหลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน และกิจกรรมภาคเกษตร บางท้องถิ่นอยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำชลประทาน จึงไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับดูแลแปลงเพาะปลูก ในฉบับนี้จึงขอนำเสนอการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือก ที่ช่วยให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้ในหลากหลายรูปแบบ

ผลิตไฟฟ้า จาก “แบตเตอรี่ดิน” “แบตเตอรี่ดิน” เป็นแบตเตอรี่ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีชื่อเรียกว่า แบตเตอรี่พาร์เทียน หรือ แบตเตอรี่แบกแดด ถูกประดิษฐ์ขึ้นกว่า 2,000 ปีที่แล้ว ในยุคพาร์เทียน (343 ปี ก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. 746) ณ นครแบกแดด ประเทศอิรัก แบตเตอรี่พาร์เทียนเป็นไหดิน มีท่อทองแดงล้อมแท่งเหล็กอยู่ภายในไห สันนิษฐานว่าอิเล็กโทรไลต์เป็นกรด จากธรรมชาติ เช่น น้ำผลไม้ หรือน้ำส้มสายชู ได้มีการลองประกอบแบตเตอรี่จำลองโดยใช้น้ำองุ่น ปรากฏว่าให้แรงดันประมาณ 2 โวลต์ สันนิษฐานว่า แบตเตอรี่ดินดังกล่าวอาจใช้สำหรับชุบเคลือบโลหะ

ใครๆ ก็สามารถผลิต “แบตเตอรี่ดิน” ที่ให้พลังงานไฟฟ้าได้จริงๆ เพียงแค่นำขวดน้ำขนาดเล็กมาตัดครึ่ง เอาแผ่นสังกะสีใส่เข้าไปให้พอดีกับขนาดขวด จากนั้นเติมดินให้เต็ม แล้วเติมน้ำกับน้ำส้มสายชูอีก 2-3 หยด เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า จากนั้นก็ปักแท่งทองแดงขนาดเล็กลงไปในดิน แล้วต่อขั้วกระแสตรงเข้ากับหลอดไฟ ไฟก็จะสว่างขึ้น ซึ่งกระบะดิน 4 ใบ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 โวลต์ สามารถให้แสงสว่างในห้องน้ำ ทางเดิน หรือสวนหย่อม ผ่านหลอดไฟแอลอีดีแบบสว่างสูงได้ หรือหากต้องการแสงสว่างที่มากขึ้นก็เพิ่มจำนวนของกระบะดินผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น

ใครๆ ก็รู้ว่า น้ำคือ ชีวิต สำหรับภาคการเกษตร ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรในพื้นที่ตำบลชุมแสง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ กว่า 1,290 ครัวเรือน ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี และเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในฤดูนาปี เกษตรกรไม่สามารถปลูกข้าวได้ หรือได้ผลผลิตต่ำ และยังขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชหลังนา ทำให้เกษตรกรขาดรายได้เสริมในช่วงฤดูแล้ง หลายครอบครัวประสบปัญหาว่างงาน จึงต้องอพยพญาติพี่น้องเข้าไปขายแรงงานในกรุงเทพฯ

จนกระทั่ง เมื่อปี 2558 ชาวบ้านกาบอัก หมู่ที่ 11 และบ้านหัวช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลชุมแสง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับงบฯ สนับสนุนจากรัฐบาล จำนวน 992,212 บาท สำหรับใช้บรรเทาปัญหาภัยแล้ง จึงได้นำงบประมาณดังกล่าวมาใช้ก่อสร้างระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยดึงน้ำจากลำน้ำชีซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนขึ้นมาหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร พร้อมขุดวางท่อส่งน้ำจากโรงสูบไปยังพื้นที่การเกษตรบ้านหัวช้าง ระยะทาง 760 เมตร และขุดลอกคลองส่งน้ำสาธารณะเพื่อขยายพื้นที่ส่งน้ำ ขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ระยะทาง 920 เมตร

ชุมชนแห่งนี้ ได้ติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ค่าวัสดุ จำนวน 684,812 บาท ค่าแรงงาน 307,400 บาท จ้างแรงงานในชุมชน 103 คน ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 300 วัตต์ จำนวน 28 แผง ชุดอินวอร์เตอร์ปั๊ม ขนาด 5.5 แรง และชุดปั๊มน้ำหอยโข่ง ขนาด 3 แรงม้า 2 เครื่อง ซึ่งประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ ให้ไฟแบบ 380 โวลต์ กำลังไฟ 8,400 วัตต์ สามารถจ่ายไฟให้เครื่องสูบทำงานได้แม้แสงแดดอ่อน หากแสงแดดจัดสามารถสูบน้ำได้มากถึง 100,000 ลิตร/วัน

ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ของชุมชน สามารถดึงน้ำจากลำน้ำชีขึ้นไปหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรได้กว่า 700-800 ไร่ ทางชุมชนได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นดูแลรักษาระบบแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องสูบ พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ไม่สามารถเก็บน้ำและจ่ายน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพดินค่อนข้างเป็นดินทรายและมีสภาพแห้งแล้งอย่างมาก ทำให้อัตราการซึมของน้ำรวดเร็ว ชุมชนได้พยายามแก้ไขปัญหาโดยจัดหาแผ่นพลาสติกมารองเสริมเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ซึ่งพบว่า ได้ผลดี

โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ในระยะยาว และช่วยยกระดับคุณภาพผลผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่จากเดิมได้ผลผลิตไม่เกิน 350 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 490 กิโลกรัม/ไร่ โดยเกษตรกรสามารถพัฒนาระบบการผลิตข้าวเข้าสู่มาตรฐาน จีเอพี (GAP) หรือข้าวอินทรีย์ต่อไปได้ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชหลังนา เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว แตงกวา พริกชี้ฟ้า บวบเหลี่ยม และมะเขือเทศ พื้นที่กว่า 120 ไร่ สามารถช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร และลดปัญหาการว่างงาน ช่วยลดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานในช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย

“พญาแร้งให้น้ำ” สูบน้ำได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ใช้ไฟฟ้า

การนำน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ มาใช้ โดยใช้หลักการของธรรมชาติ แรงโน้มถ่วง หรือที่เรารู้จักกันในนาม กาลักน้ำ หรือ พญาแร้งให้น้ำ เป็นระบบปั๊มน้ำด้วยระบบสุญญากาศจากภูมิปัญญาชาวบ้าน สามารถสูบน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแม้แต่บาทเดียว

หากใครสนใจนวัตกรรมนี้ กศน. อำเภอเมืองปราจีนบุรี ได้นำเสนอแนวคิดการผลิต “พญาแร้งให้น้ำ” ซึ่งหัวใจสำคัญของนวัตกรรมนี้ ก็คือ การทำให้ถังบรรจุน้ำที่อยู่บนขอบสระเป็นสุญญากาศดูดน้ำจากที่ต่ำขึ้นถังแล้วปล่อยออกในแนวระดับที่ต่ำกว่าถัง และใช้ระบบท่อให้มีขนาดเหมาะสมเพื่อให้การไหลของน้ำไม่เสียสมดุลในระบบสุญญากาศภายในถัง “พญาแร้งให้น้ำ” เป็นประโยชน์กับการเกษตร สามารถสูบน้ำได้ทั้งวันทั้งคืน มีราคาต่ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า หรือพื้นที่ที่ต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า สามารถตั้งในพื้นที่ห่างไกลจากบ้าน

ผู้สนใจสามารถผลิตเครื่องสูบน้ำแรงดันสุญญากาศ หรือพญาแร้งให้น้ำ ได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ ถังบรรจุน้ำ 200 ลิตร ท่อ พีวีซี ดูดน้ำ 6 หุน 4 หุน 1 นิ้ว และ 2 นิ้ว ท่อ พีวีซี ส่งน้ำ 2 นิ้ว และ 1 นิ้ว 6 หุนและ 4 หุน ท่อพักอากาศระหว่างทาง ฟุตวาล์วหัวกะโหลก หรือเช็ควาล์ว ข้องอ ท่อเหล็ก กาว เทปพันเกลียว และฐานวาง วาล์วเปิดปิดที่ วาล์วเติมน้ำ วาล์วลม และวาล์วปลายสาย

ขั้นตอนการเตรียมถังบรรจุน้ำสุญญากาศ

นำถังเหล็ก ขนาด 200 ลิตร มาล้างทำความสะอาด ควรเลือกใช้ถังที่ไม่ได้ใช้บรรจุน้ำมันหรือสารไวไฟมาก่อน เพราะจะเกิดปัญหาถังระเบิดระหว่างที่เชื่อมข้อต่อได้ จึงควรเลือกถังที่เหมาะสม ทำความสะอาดถังให้ดี ถังพลาสติกจะมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ
เจาะถังสำหรับต่อวาล์วเติมน้ำเพื่อเชื่อมข้องอ
เชื่อมข้องอเหล็กเข้ากับขอบด้านก้นถัง (วาล์วเติมน้ำ) โดยข้องอจะต้องต่อท่อเหล็กยาว อย่างน้อยประมาณ 15 เซนติเมตร ให้ลึกลงไปภายในถัง
วางถังบนฐานและต่อท่อดูด และวาล์วเติมน้ำ โดยที่ปลายของท่อดูดจะต่อฟุตวาล์วที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับลงไปในบ่อ ปลายท่อดูดควรจะจมอยู่ในน้ำลึก ประมาณ 15 เซนติเมตร โดยผูกติดกับแกลลอนไว้ที่ปลายท่อดูด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อดูดน้ำ ควรมีขนาด 6 หุน ยาวประมาณ 3 เมตร จะเหมาะกับถัง ขนาด 200 ลิตร และควรปรับแต่งสปริงของฟุตวาล์วลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ฟุตวาล์วแบบเหล็กจะมีสปริงอ่อนกว่าฟุตวาล์วแบบพลาสติก
ต่อวาล์วลม ที่รูระบายอากาศด้านบนของถัง ขนาดท่อ 6 หุน ต่อท่อส่งน้ำ ขนาด 2 นิ้ว ด้านบนของถัง
เดินระบบท่อส่งน้ำไปยังแปลงเพาะปลูก โดยท่อส่งน้ำในช่วงแรกจะมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว อย่างน้อย 15 เมตร และทุก 50 เมตร จะต้องต่อท่อพักลมไว้ด้วย
เมื่อระยะไกลมากขึ้น ควรลดขนาดท่อส่งให้เหลือ 1 นิ้ว เพื่อรีดน้ำให้ไหลแรงขึ้น หรือเล็กลงเรื่อยๆ เพื่อให้น้ำเต็มท่อ
ต่อวาล์วเปิดปิดที่ปลายสายใช้งาน

ขั้นตอนการใช้งาน

เปิดวาล์วลมและวาล์วเติมน้ำ ปิดวาล์วปลายสายโดยเติมน้ำให้เต็มถัง คอยสังเกตด้วยว่า ถังรั่วหรือไม่ หากถังไม่รั่วเมื่อเติมน้ำเต็มถังแล้ว น้ำจะไม่ลดลง น้ำจะนิ่งอยู่อย่างนั้น หากถังรั่วหรือส่วนใดส่วนหนึ่งรั่ว น้ำจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จะต้องแก้ปัญหารอยรั่วให้เรียบร้อยเสียก่อน
ปิดวาล์วลมและวาล์วเติมน้ำแล้ว ปิดวาล์วปลายสายค่อยๆ ให้น้ำไหลออก ไม่ควรเปิดแรงมาก น้ำจะไหลออกมาระยะหนึ่งแล้วจะหยุดไหล หลังจากนั้นปิดวาล์วที่ปลายสายแล้วเติมอากาศเข้าสู่ระบบ โดยการเอามือปิดที่ปลายวาล์วเติมน้ำแล้ว เปิดวาล์วเติมน้ำพญาแร้ง
หมายเหตุ ถ้าน้ำไหลแล้วหยุดแสดงว่า น้ำกำลังไหลเข้าสู่ถัง เพื่อปรับให้สุญญากาศเข้าสู่สมดุลเช่นเดิม วิธีแก้อาจจะเพิ่มถังให้เก็บปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า อาชีพทางการเกษตรไม่ได้เป็นงานที่สนใจเฉพาะผู้อยู่ในวัยเกษียณหรือผู้ที่เข้าสู่วัยกลางคน แต่ยังเป็นอาชีพที่คนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันให้ความสนใจมากขึ้น โดยบางท่านเมื่อเรียนจบการศึกษาแล้ว เมื่อได้ไปทดลองทำงานในบริษัทได้สักระยะ รู้สึกว่ายังไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของชีวิต จึงลาออกจากงานนั้นมาประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรก็มี เพราะได้ทำในสิ่งที่รักและที่สำคัญยังมีเวลาอยู่กับครอบครัวโดยที่ไม่ต้องจากบ้านไปไหนไกล

คุณบุญทวี ประดิษฐ อยู่บ้านเลขที่ 21/3 หมู่ที่ 4 ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความสนใจที่อยากจะมีอาชีพทางการเกษตร ซึ่งเขามีดีกรีเป็นบัณฑิตแม่โจ้ รุ่นที่ 76 สาขาการผลิตสุกร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเขาได้มาปลูกองุ่นโดยใช้พื้นที่บริเวณบ้านให้เกิดประโยชน์ เรียกว่าการปลูกองุ่นแทบไม่ได้ตรงกับสายที่เขาเรียนมาเลยก็ว่าได้ แต่เขาสามารถดูแลองุ่นให้มีผลผลิตที่ทำรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี

ชอบงานเกษตร มาตั้งแต่เด็ก

คุณบุญทวี เล่าให้ฟังว่า ได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อประมาณ ปี 2558 จากนั้นได้ไปทำงานในบริษัทได้สักระยะ แต่รู้สึกว่ายังไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของชีวิต จึงได้มีแนวความคิดที่อยากจะกลับมาอยู่บ้าน โดยนำความรู้ที่ได้ศึกษามาพัฒนาต่อยอดทำเกษตรของครอบครัวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“บ้านผมทำอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร เรียกว่าตั้งแต่เด็กจนโตมา ก็เห็นคุณพ่อคุณแม่ทำอาชีพนี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ผมเด็กๆ ช่วงที่ผมว่างหลังเลิกเรียน ก็จะมีเวลาว่างช่วงนั้น ก็จะช่วยงานที่บ้านตลอด จึงทำให้รู้สึกชอบทำการเกษตร ซึ่งช่วงที่ผมไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย ตอนนั้นจะเลือกเรียนเกี่ยวกับพืช แต่คุณแม่บอกว่าให้เลือกเรียนเกี่ยวกับสัตว์แทน เพราะคิดว่าเรื่องพืชทำมาเยอะแล้ว น่าจะเอาความรู้ทางด้านสัตว์มาปรับใช้ที่บ้านบ้าง แต่พอจบมาจริงๆ เกี่ยวกับสัตว์ที่เรียนมาก็ไม่ได้มาประกอบอาชีพ แต่กลับมาทำเกี่ยวกับพืชอยู่ดี” คุณบุญทวี เล่าถึงที่มาให้ฟังด้วยใบหน้าที่เปี่ยมสุขปนด้วยรอยยิ้ม

เมื่อได้จบการศึกษาเกี่ยวกับทางด้านสัตว์มาแล้ว คุณบุญทวี บอกว่า ก็ได้ไปทดลองทำงานเกี่ยวกับด้านนี้สักระยะ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของชีวิต จึงได้กลับมาอยู่บ้านและทดลองปลูกองุ่นแทน เพราะเป็นพืชที่มีคนรู้จักมาแนะนำให้ปลูก จึงทำให้เขาเริ่มปลูกองุ่นเป็นรายได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อได้รับโอกาส จึงตัดสินใจลงมือทำ

คุณบุญทวี เล่าให้ฟังไปว่า เมื่อคนที่รู้จักได้บอกให้มาปลูกองุ่นสร้างรายได้ จึงได้ตัดสินใจทำและเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ โดยในการลงทุนช่วงแรกคนที่รู้จักที่ให้ปลูกได้เป็นผู้สนับสนุนกิ่งพันธุ์มาให้ รวมทั้งปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเขาเองยังไม่ต้องจ่ายเงินลงทุน จะจ่ายให้ก็ต่อเมื่อสามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายแล้วจึงค่อยให้เงินคืนในภายหลังได้

“ช่วงที่กลับมาอยู่บ้าน เราก็หมักไก่ไปย่างขายตามตลาดนัดก่อน เสร็จแล้วไปขายเรื่อยๆ คนรู้จักที่เขาทำสวนองุ่นอยู่ เขาเห็นว่าเราเรียนจบเกษตรมา ทำไมไม่เอาความรู้เรื่องนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ บวกกับพื้นที่ที่บ้านผมยังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แกก็เลยแนะนำให้ผมมาปลูกองุ่น โดยที่แกจะช่วยเรื่องกิ่งพันธุ์ให้เอามาปลูกก่อน โดยยังไม่คิดเงินเลย พอผมเห็นว่ามีโอกาส ก็เลยรับไว้และทดลองปลูกทันที” คุณบุญทวี บอก

เนื่องจากการปลูกองุ่นเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับคุณบุญทวี ในช่วงแรกนั้นก็มีสะดุดบ้าง จนต้นพันธุ์องุ่นเกือบตายยกแปลง แต่เมื่อได้เรียนรู้และศึกษาอย่างจริงจัง จึงทำให้เขาสามารถผ่านปัญหาที่ประสบพบเจอมาได้ จนทำให้การปลูกองุ่นเป็นเรื่องที่ถนัดและทำรายได้ให้กับเขาตั้งแต่นั้นมา

พันธุ์องุ่นที่คุณบุญทวีได้มาปลูก เป็นพันธุ์องุ่นแดงและองุ่นดำ ที่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็นแบบไร้เมล็ด โดยปลูกองุ่นให้มีความห่างระหว่างต้น ประมาณ 5×5 เมตร ส่วนคานสำหรับให้องุ่นเลื้อยเป็นโรงเรือนเก่าที่คุณแม่ใช้ปลูกดอกเบญจมาศ จึงทำให้ไม่ต้องลงทุนในเรื่องนี้ เมื่อองุ่นลงดินแล้วดูแลต่อไปอีกประมาณ 8 เดือน ขนาดของต้นก็จะเริ่มเจริญเติบโต พร้อมที่จะรับการแต่งกิ่งและให้ผลผลิตได้

“1 ปี องุ่นสามารถให้ผลผลิตได้ 2 ครั้ง ซึ่งพอหลังจากที่เราตัดแต่งกิ่งแล้ว ซึ่งอายุตั้งแต่ออกดอกจนติดผล จนเก็บขายได้ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน พอเราเริ่มเห็นดอกหลังตัดแต่งแล้ว จากนั้นเราก็จะรดน้ำทุกวัน และใส่ปุ๋ยอาทิตย์ละครั้ง ต้นละประมาณ 1 กำมือ ในเดือนแรกที่ติดดอกจะใส่ปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15 พอเข้าสู่เดือนที่ 2 จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตร 13-13-21 และเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3 ก็จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็น สูตร 8-24-24 จากนั้นพอจะเข้าสู่เดือนที่ 4 ผลผลิตใกล้จะแก่จนเก็บขายได้ จะเปลี่ยนเป็นให้น้ำทุก 3 วันครั้ง จะไม่ให้บ่อยเหมือนช่วงแรกๆ ที่ออกดอก ซึ่งถ้าต้องการให้ผลสวยก็จะมีการห่อผลองุ่นด้วยก็จะเป็นการดี” คุณบุญทวี บอกถึงวิธีการดูแลองุ่น

นอกจากจะมีการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในช่วงออกดอกแล้ว ช่วงที่องุ่นเริ่มติดผลเห็นมีลักษณะเท่าไข่ปลา ก็จะฉีดฮอร์โมนช่วยยืดบริเวณช่ออีกประมาณ 2 ครั้ง ก็จะช่วยให้พวงของผลองุ่นยาวขึ้นและมีผลผลิตที่ดี

เรื่องโรคที่น่ากลัวมากที่สุดขององุ่น คุณบุญทวี บอกว่า โรคราน้ำค้าง ที่เกิดจากสภาพอากาศร้อนสลับฝน ก็จะทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมเกิดโรคได้ง่าย จึงต้องหมั่นดูแลและป้องกันอย่างใกล้ชิดยู่เสมอในช่วงที่องุ่นติดผล และเมื่อเก็บองุ่นจำหน่ายจนหมดทั้งต้นแล้ว ก็จะพักต้นไปอีกประมาณ 1-2 เดือน จึงจะตัดแต่งกิ่งใหม่เพื่อให้มีผลผลิตต่อไป

ทำแพ็กเกจจิ้งให้น่าซื้อ แต่เป็นราคาที่จับต้องได้

เมื่อองุ่นที่ปลูกสามารถให้ผลผลิตจนสามารถจำหน่ายได้แล้ว คุณบุญทวี บอกว่า จะนำไปฝากจำหน่ายกับร้านที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนร้านอาหารที่มีผู้คนเข้ามาใช้บริการ โดยเน้นให้ตัวสินค้าน่าซื้อในราคาย่อมเยา โดยที่ลูกค้าจับต้องได้ และที่สำคัญซื้อเป็นของฝากกลับบ้านติดไม้ติดมือไปได้อีกด้วย

“ช่วงแรกๆ การทำตลาดต้องบอกเลยว่า ยังไม่มีความชำนาญพอ จะเน้นขายแบบเป็นกิโลกรัม ซึ่งเมื่อลูกค้าเห็นก็จะมองว่ามันแพงไป ก็จะยังไม่ตัดสินใจซื้อ ทีนี้เราก็มาลองคิดใหม่ว่า จะทำยังไง ที่คนจะสามารถซื้อได้ง่ายๆ และเป็นของฝากได้ด้วย จึงได้ปรับเปลี่ยนทำเป็นแพ็กเกจจิ้งขนาดเล็กลงมา ให้ดูน่าซื้อมากยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนจากการขายเป็นกิโลกรัม มาเป็นกล่องเล็กๆ 100-200 กรัม ที่สามารถซื้อได้ทุกเพศทุกวัย และเป็นของฝากให้แก่กันได้” คุณบุญทวี บอกถึงเรื่องการตลาด

โดยราคาองุ่นดำไร้เมล็ด จำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 180-240 บาท และองุ่นแดงไร้เมล็ด ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 260-300 บาท ความนิยมของลูกค้าที่ซื้อจะชอบองุ่นแดงมากกว่าองุ่นดำ ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่ากันก็ตาม

คุณบุญทวี บอกว่า ขณะนี้กำลังเตรียมขยายพื้นที่ปลูกให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตมีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำการเกษตรเพื่อสร้างรายได้เขาแนะว่า

“งานเกษตรเมื่อเทียบกับงานอื่นๆ มันเป็นงานที่เร่งเวลาไม่ได้ แต่เมื่อทำไปได้สักระยะ เมื่อสิ่งที่เราทำลงตัว และเห็นผลผลิตออกมา เราก็จะมีกำลังใจที่จะทำต่อไป เพราะอะไรที่จะเพียบพร้อมทุกอย่างมันไม่มีในโลก มีแต่ตัวเราเองที่ต้องลงมือทำเอง หากเอาแต่คิด แต่ไม่ลงมือทำ ความสำเร็จมันก็เกิดขึ้นได้ยาก เพราะฉะนั้นค่อยๆ ทำ และให้ประสบการณ์เหล่านั้นเป็นครูให้เรา ผมเชื่อว่าทุกคนประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน”

ส้มเช้ง หรือ ส้มตรา เป็นพืชพื้นเมืองของจีน มีเปลือกหนา ผิวขรุขระ ผลกลม เมื่อผลอ่อนเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม พอสุกเปลือกจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวาน ฉ่ำน้ำ นิยมใช้ไหว้ในเทศกาลต่างๆ อย่างเทศกาลสารทจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์

ปัจจุบัน การปลูกส้มเช้งลดน้อยถอยลง สมัคร SBOBET ถึงแม้จะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ในตำบลประสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีเกษตรกรที่ปลูกส้มเช้งอยู่ 2 แปลงใหญ่ๆ หนึ่งในนั้นก็คือ คุณฉัตรชัย จันทนะโสด เจ้าของสวนส้มเช้ง พื้นที่ประมาณ 12 ไร่

คุณฉัตรชัย โตมากับการทำสวน เริ่มแรกที่สวนปลูกมะนาว องุ่น ปัจจุบัน ก็หันมาปลูกส้มเช้ง ถามถึงเหตุผลที่หันมาปลูกส้มเช้ง คุณฉัตรชัย บอกว่า คนนิยมปลูกกันน้อย จนใกล้จะสูญพันธุ์ จึงอยากจะปลูกเพื่ออนุรักษ์ไว้

ลักษณะของส้มเช้ง มี 2 ประเภท คือ พันธุ์ใบใหญ่ กับใบเล็ก แต่ที่สวนของคุณฉัตรชัยปลูกพันธุ์ใบเล็ก มีการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง คล้ายๆ กับการปลูกมะนาว พื้นที่ในการปลูกระยะห่างระหว่างต้นกับแถว จะอยู่ที่ประมาณ 8 ศอก เพราะเป็นพื้นที่ที่เคยปลูกองุ่นมาก่อน

ตั้งแต่เริ่มปลูกส้มเช้ง ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ก็จะมีผลออกมาให้ได้เก็บเกี่ยว และผลผลิตที่ได้จะอยู่ที่ ประมาณ 30,000 กิโลกรัม ของพื้นที่ 12 ไร่ หรือต่อต้นก็จะอยู่ที่กว่า 100 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเป็นในช่วงเทศกาลไหว้ต่างๆ แล้วก็จะมีการทยอยเก็บผลเรื่อยๆ เก็บหนักอีกทีก็จะช่วงลอยกระทง

ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละครั้ง จะไม่มีการใส่ปุ๋ย เพราะจะทำให้ต้นมีปัญหา มีการบำรุงตั้งแต่ต้นยังเล็ก วิธีการเก็บเกี่ยวก็จะดูที่สีของเปลือก ถ้าสีออกเขียวอมเหลืองนิดๆ ก็เก็บผลได้แล้ว เพราะส้มจะมีรสชาติหวาน ยิ่งเหลืองมากจะยิ่งหวานฉ่ำ

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็จะมีการดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ย ฉีดยาตามปกติ แต่ก็จะมีการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ มูลสัตว์ ขึ้นอยู่กับสถาพของต้น ปุ๋ยมูลสัตว์ที่ใช้ก็จะมีขี้วัว ขี้นกกระทา หรือขี้ค้างคาว บางครั้งก็มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในแต่ละปุ๋ยมีปริมาณการใส่ที่ไม่เท่ากัน อย่าง ปุ๋ยขี้วัว ใส่ประมาณ 800 กระสอบ ต่อพื้นที่ 12 ไร่ ปุ๋ยเคมี ใส่อยู่ประมาณ 350-400 กิโลกรัม