เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม เกษตรอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทฟาร์ม

(Smart Farming) เป็นการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่นามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อยระดับไร่ และระดับมหภาคมาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

สำหรับอุปกรณ์ที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นำมาใช้ในสวนส้มโอทับทิมสยามครั้งนี้ ได้แก่ การติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดอากาศ ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นในดิน รวมไปถึงระบบประมวลผลเทคโนโลยีสารสนเทศบนคลาวด์ (Cloud) แสดงผลแบบเว็บท่าทำให้เกษตรกรสวนส้มโอทับทิมสยามสามารถตัดสินใจให้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) กล่าวว่า งานด้านการเกษตรแม่นยำที่เป็นกรณีศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นดินกับความหวานของผลส้มโอที่เหมาะสมในการเก็บผลผลิต ซึ่งจากการสังเกตการณ์และการทดลองของชาวสวนส้มโอทับทิมสยาม พบว่า เนื้อส้มโอจะหวานขึ้นเมื่อความชื้นในดินลดลงถึงระดับหนึ่ง

อุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ทดสอบในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย เซ็นเซอร์วัดค่าความกดอากาศ ตัววัดความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศได้ ถังวัดปริมาณน้ำฝน เซ็นเซอร์วัดค่าการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ และค่าดัชนีอัลตราไวโอเล็ต เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิห้อง เซ็นเซอร์วัดความเร็วลม และอุปกรณ์ยังมีแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์สำหรับการต่อเข้ากับเครื่องตรวจวัดที่สามารถสำรองไฟไว้ใช้ได้ในช่วงไม่มีแสงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 8 เดือน นอกจากนี้เกษตรกรสามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งแบบ USB และแบบสายแลน (LAN line) และระบบไร้สายได้

สถานีตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติจะถูกติดตั้งไว้ในสวนส้มโอทับทิมสยาม จะตรวจวัดสภาพอากาศทุก 5 นาที และส่งข้อมูลดังกล่าว แบบไร้สายมายังอุปกรณ์รับสัญญาณ (Local Console) ซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต (Router) และส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Portable Computer) ตามลำดับ นอกจากนี้ ข้อมูลสภาพอากาศดังกล่าว ยังถูกส่งสัญญาณผ่านเครือข่าย 3G (Cellular Console) ไปเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลสภาพอากาศระยะยาวบนคลาวด์ (Cloud) เพื่อที่เกษตรกรสามารถดูข้อมูลย้อนหลัง เพื่อวิเคราะห์การตัดสินใจในการจัดการสวนส้มโอทับทิมสยามได้

จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ นำเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมาใช้ โดยติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ สถานีวัดอุณหภูมิและความชื้นในดินแบบแม่นยำและระบบกล้องติดตาม นำข้อมูลเชิงสภาพอากาศที่วัดได้นี้มาหาองค์ความรู้ พัฒนาระบบเว็บท่าที่สามารถแสดงข้อมูลสภาพอากาศและดินแบบทันที เพื่อนำไปสู่การทำเกษตรแม่นยำของสวนส้มโอทับทิมสยาม ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตส้มโอทับทิมสยามคุณภาพรสชาติหวานจัด เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และลดการสูญเสียของผลผลิตแก้ปัญหาผลส้มโอแตกก่อนการเก็บเกี่ยว

สำหรับผู้อ่านที่สนใจ เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม และระบบเกษตรแม่นยำของสวนส้มโอทับทิมสยาม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กับ รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ได้ทางอีเมล Krisanadej@gmail.com หรือทาง https://www.facebook.com/ krisanadej

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์แปรรูปกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภค โดยเฉพาะผลไม้ที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ หรือศูนย์ของฝากของแต่ละจังหวัดที่ขึ้นชื่อ จึงทำให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานแปรรูปได้ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งฝรั่งเองเป็นอีกหนึ่งไม้ผลที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาแปรรูปเป็นน้ำฝรั่ง ตลอดไปจนถึงการทำเป็นของรับประทานเล่น ก็ทำให้ขบเคี้ยวไปพร้อมกับการได้รับคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ กันด้วย

คุณธวัช อุทัย เกษตรกรชาวสมุทรสาคร ได้ปลูกฝรั่งแป้นสีทอง นอกจากจำหน่ายผลสดแล้ว ผลผลิตที่ได้จากการคัดเกรดจะนำมาแปรรูป จึงทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้หลากหลาย เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญสินค้าแปรรูปมีโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้สามารถส่งจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นและการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

คุณธวัช เล่าให้ฟังว่า ตลอดของการทำอาชีพเพื่อสร้างรายได้นั้น ยึดการทำเกษตรมาโดยตลอด มีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชไปตามความเหมาะสม โดยก่อนที่จะมาปลูกฝรั่งแป้นสีทองเหมือนเช่นในปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นได้ทำสวนกล้วยไม้มาก่อน แต่ด้วยระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่มีปัญหาในเรื่องของน้ำเค็ม จึงทำให้น้ำที่ใช้รดให้กับกล้วยไม้มีปัญหา จึงได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกฝรั่งแป้นสีทองแทนการทำสวนกล้วยไม้

“ประมาณ ปี 2557 เราก็เริ่มมาทำสวนฝรั่ง เพราะดูจากสภาพแวดล้อมแล้วไม่น่าจะทำสวนกล้วยไม้ต่อไป โดยพืชที่เลือกก็จะเป็นไม้ผลเป็นหลัก คือมาปลูกฝรั่งแป้นสีทอง เหตุที่เลือกสายพันธุ์นี้ เพราะว่ามีผลที่ใหญ่และให้น้ำหนักที่ดี เมื่อเทียบกับฝรั่งสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้ในเรื่องของการจัดการอาจมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ฝรั่งแป้นสีทองเราไม่ได้มองที่จะขายผลสดเพียงอย่างเดียว เรามองไกลไปถึงในเรื่องของการแปรรูป ดังนั้น จึงเลือกปลูกสายพันธุ์นี้เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของการทำตลาดที่หลากหลาย” คุณธวัช บอกถึงที่มาของการเลือกปลูกฝรั่งแป้นสีทอง

โดยวิธีการปลูกฝรั่งแป้นสีทองให้ได้ผลที่มีคุณภาพนั้น คุณธวัช บอกว่า จะต้องทำพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมด้วยการยกร่องสวนให้มีพื้นที่ปลูกและร่องน้ำที่เพียงพอ โดยร่องน้ำจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.20 เมตร ส่วนพื้นแปลงปลูกจะมีขนาดกว้างอยู่ที่ 6 เมตร ซึ่งการปลูกต้นฝรั่งจะปลูกแบบ 2 คู่ ให้มีระยะห่างต้นและแถวอยู่ที่ 2 เมตร โดย 1 ไร่ สามารถปลูกต้นฝรั่งได้ถึง 200 ต้น

เมื่อปลูกฝรั่งลงแปลงในวันแรกๆ คุณธวัช บอกว่า จะต้องรดน้ำให้กับไม้ทุกวัน ดูแลต่อไปเรื่อยๆ จนได้อายุ 5 เดือน จึงจะเริ่มทำค้างสำหรับใช้รับน้ำหนักของผลฝรั่ง เพื่อไม่ให้กิ่งของไม้หักหรือฉีกในช่วงที่ผลผลิตออกมา ซึ่งในช่วงที่ต้นฝรั่งจะให้ผลผลิตจะหมั่นมัดกิ่งให้ติดอยู่กับค้างสม่ำเสมอ

“การใส่ปุ๋ยให้กับต้นฝรั่ง หลังจากปลูกลงดินได้ 45 วัน จะใส่สูตร 25-7-7 ทุก 45 วันครั้ง สลับกับให้ปุ๋ยคอกทุก 3 เดือนครั้ง เมื่อฝรั่งเข้าสู่อายุ 6-7 เดือน เราจะเริ่มโน้มกิ่งติดกับค้างที่ทำไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการติดผล ก็จะเปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 หลังใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 2 เดือน ก็จะมีดอกและติดผลเล็กๆ ให้เห็น 1 ต้น จะปล่อยให้มีผลอยู่ที่ 25 ผล เพื่อไม่ให้มีผลเล็กเกินไป จากนั้นเราก็ห่อผลทั้งหมด เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ นับวันห่อผลไป 2-3 เดือน ผลฝรั่งก็จะแก่สามารถตัดขายได้” คุณธวัช บอก

ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงของฝรั่งแป้นสีทองนั้น คุณธวัช บอกว่า ศัตรูพืชที่ต้องระวังมากที่สุดเป็น เพลี้ยแป้ง สามารถเข้าทำลายได้ตลอดทั้งปี ดังนั้น จะมีการป้องกันอยู่เสมอในเรื่องของการกำจัด ด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ ในการฉีดพ่น

ฝรั่ง 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 ตัน การเก็บจำหน่ายสามารถทำได้ตลอดทั้งปี หากมีการบำรุงรักษาต้นให้มีความสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลผลิตภายในสวนของเขาได้รับรองมาตรฐาน จีเอพี (GAP) จึงทำให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเชื่อมั่นในการผลิตของเขา โดยจะมีลูกค้าเข้ามาติดต่อขอซื้อเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ และผลที่เหลือจากการคัดไซซ์ จะนำไปแปรรูปเพื่อให้ผลผลิตภายในสวนสามารถจำหน่ายได้ทั้งหมด

“ตลาดต่างประเทศค่อนข้างที่จะต้องการฝรั่งผลสด ที่มีคุณภาพดี ดังนั้น ในเรื่องนี้กลุ่มของเราจะเน้นมาก ว่าทุกผลที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศต้องได้มาตรฐาน ซึ่งราคาขายผลสดก็อยู่ที่ 25-35 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนผลที่ตกเกรดเราก็จะนำมาแปรรูป ด้วยการมาอบแห้ง ทำเป็นฝรั่งบ๊วย หรือน้ำฝรั่ง ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตมากขึ้น ทำให้เราทำตลาดได้หลากหลายและขายได้ทุกช่องทาง ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้ถูกคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการเกษตร ไปร่วมงาน The International Horticultural Exhibition 2019 : Beijing Expo 2019 ที่เมืองเหยียนชิง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นการเปิดตลาดในประเทศจีนอีกช่องทาง จึงทำให้เราได้พบกับลูกค้าคนจีนที่เป็นรายใหม่ๆ และจะได้นำความต้องการของลูกค้ามาพัฒนาสินค้าและนำมาบอกทางกลุ่มเพื่อสร้างมาตรฐานสินค้าต่อไป” คุณธวัช บอก

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกฝรั่งเพื่อสร้างรายได้ คุณธวัช แนะนำว่า การจะประสบผลสำเร็จในเรื่องของการปลูกไม้ผลอย่างฝรั่งได้นั้น การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องหมั่นหาข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ ทั้งเรื่องของการปลูกและการประหยัดต้นทุน โดยการผลิตอาจไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเหมือนเช่นสมัยก่อน เพื่อปรับเปลี่ยนการปลูกให้มีมาตรฐานมากขึ้น พร้อมทั้งทำตลาดให้มีความหลากหลาย ด้วยการนำมาแปรรูป ก็จะช่วยให้มีรายได้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณธวัช อุทัย ณ บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร หมายเลขโทรศัพท์ เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมาก ความเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำให้บางสิ่งบางอย่างที่เคยใช้ในสมัยก่อนต้องถูกทิ้งภายในระยะเวลาไม่นาน ดังจะเห็นธุรกิจกล้องถ่ายภาพและฟิล์มที่ดำรงอยู่ร้อยกว่าปีล่มสลายภายในไม่กี่ปีที่มีกล้องถ่ายรูประบบดิจิตอล โทรเลขที่เคยเฟื่องฟูก็ต้องยกเลิกไปเมื่อหลายปีก่อน และตู้โทรศัพท์ที่เคยมีอยู่มากมายอยู่ตามที่สาธารณะต่างๆ ก็ถูกทอดทิ้งด้วยระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่

ผู้เขียนอยู่ในกลุ่มสื่อสารในระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มต่างๆ มากมายเกี่ยวกับการเกษตร พบว่ามีคนส่วนหนึ่งที่เป็นมนุษย์เงินเดือนอยากกลับมาทำการเกษตรที่บ้าน แต่ความฝันของเขายังไม่เป็นจริง เพราะมีปัจจัยต่างๆที่ยังไม่พร้อม มีคนที่ออกจากมนุษย์เงินเดือนมาทำเกษตรต้องประสบความผิดหวังหลายราย แต่คนที่ประสบความสำเร็จก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง

คุณเอ๋ หรือ คุณมนธิดา อยู่หนู แห่งสวนแม่หอมแดง เป็นชาวจังหวัดราชบุรีโดยกำเนิด จบปริญญาตรี ด้านคหกรรมศาสตร์ ได้เข้าทำงานในบริษัทโรงงานอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ในตำแหน่งพนักงานแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งปี 2546 วันหนึ่งเห็นแม่บ้านอายุ 60 ปี ได้เกษียณอายุจากโรงงาน ป้าแม่บ้านบอกว่าพอมีที่ทางอยู่บ้าง แต่ก็กลับไปทำไร่ทำสวนไม่ไหว เพราะอายุมากแล้ว แต่โชคดีร้านอาหารในโรงงานได้จ้างให้มาช่วยงานในร้าน ป้าบอกว่าโชคดีที่เขาจ้าง ถ้าไม่จ้างก็ไม่รู้จะทำงานอะไรได้ เลยกลับมาคิดถึงตัวเองว่า ถ้าทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนจนเกษียณอายุ 60 ปี จะมีใครจ้างต่อเหมือนป้าที่โชคดีไหม จึงได้คิดเรื่องการลาออกมาทำงานเกษตรเพื่อเป็นนายตัวเอง

จากพื้นที่เพียง 1 ไร่ ข้างบ้าน ที่มีแม่และป้าเป็นเจ้าของ คุณเอ๋ จึงนำชื่อแม่แดงและป้าหอมมาเป็นสวนแม่หอมแดง คิดว่าจะทำอย่างไรที่เป็นการเกษตรแล้วมีรายได้ตลอดปี เพราะสวนที่ว่านี้เป็นสวนป่าไผ่รวกหวาน ที่มีรายได้จากการตัดหน่อไม้เพียงปีละครั้ง ก่อนหน้านี้ได้กลับมาช่วยแม่และป้าตัดหน่อไม้และนำไปขายในหมู่บ้านตอนวันเสาร์อาทิตย์ ได้มีโอกาสสัมผัสวิถีชุมชน ก็เริ่มคิดทำการเกษตร พอดีเห็นพันธุ์ต้นขจรพื้นบ้านในสวน ก็ลองนำกิ่งมาฝังดิน ต้นมันก็งอกผลิดอกออกผลให้ เมื่อได้กลับมาทำเกษตรก็เลยเอาดงไผ่ออกทั้งหมด ซื้อกิ่งพันธุ์ดอกขจรมาปลูก 100 กิ่ง รอดเพียง 40 กิ่ง ในช่วงนั้นก็ปลูกผัก คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักชี ไปด้วย ขายให้ชาวบ้านในชุมชน และได้ขยายต้นขจรไปเรื่อยๆ จนปัจจุบันขจรมีทั้งหมด 8 แถว โดยแต่ละแถวยาว 60 เมตร พอมีผลผลิตก็เอามาขายที่ตลาดนัด สัปดาห์ละ 2 วัน ต่อมาก็ปลูกผักสลัดเอาไปขายด้วย

ในปี 2560 ลมพัดค้างล้ม จึงคิดตอนกิ่งพันธุ์เอามาขาย ในราคากิ่งละ 10 บาท แต่ก็มีปัญหาเรื่องการขนส่งกิ่งพันธุ์เสียหายมาก และลูกค้าต้องจ่ายค่าขนส่งแพง จึงคิดตัดขายกิ่งสด ในราคากิ่งละ 2 บาท สั่งอย่างน้อย 50 กิ่งขึ้นไป ค่ากิ่ง 100 บาท ค่าขนส่ง 65 บาท รวมเป็น 165 บาท ปัจจุบันกิ่งที่มีอยู่ไม่พอส่ง เพราะจำเป็นต้องเหลือไว้ให้เก็บดอกขายด้วย ราคาดอกขจรหน้าสวน ขายปลีก ขีดละ 10 บาท ขายส่ง กิโลกรัมละ 70 บาท

กิ่งพันธุ์ต้นขจรที่ได้มา จะยาวประมาณ 5-7 นิ้ว ก่อนชำให้แช่น้ำยาเร่งรากก่อน 1 ชั่วโมง แล้วนำออกมาพักให้แห้ง ใช้ถุงดำ ขนาด 2×6 นิ้ว ต่อ 1 กิ่ง ดินที่ใช้ควรเป็นดินพร้อมปลูกธรรมดา ยังไม่ควรใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ใดๆ เข้ามาร่วม เนื่องจากรากจะไม่เดิน นำไปไว้ใต้หลังคา ไม่ให้โดนฝน และห้ามรดน้ำทุกวัน ควรรดน้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง ใช้เวลา 2 เดือน ต้นจะแข็งแรงเต็มที่พร้อมปลูกที่สวนแม่หอมแดง ใช้เสาปูนหน้า 3 สูง 2.5 เมตร ฝังลงในดิน 50 เซนติเมตร ความสูงจึงเหลือ 2 เมตร ระยะเสาห่างกัน 6 เมตร ในช่องกลางปักท่อพีวีซี 1 นิ้ว จำนวน 3 เสา เพื่อพยุงต้น ใช้ตาข่ายที่สำหรับปลูกแตงกวาขึงยาวไป แล้วจึงเอากิ่งชำที่พร้อมแล้วมาลงดิน

ในช่วงแรกยังไม่ควรใส่ปุ๋ย ให้เวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน จึงเริ่มใส่ปุ๋ย แต่ที่สวนแม่หอมแดงจะใช้น้ำหมักขี้วัวรดแทน โดยจะใช้ขี้วัว 1 กระสอบ ใส่ถัง 200 ลิตร ใส่น้ำให้เต็มและใส่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 3 ลิตร หมักไว้ในที่ร่ม 1 เดือน จึงจะนำมาใช้ได้ ในการใช้รด ใช้น้ำหมัก 100 ซีซี ต่อ น้ำ 15 ลิตร ใช้รด ต้นละ 100 ซีซี 7-15 วันครั้ง โดยจะรดน้ำธรรมดาให้ชุ่มก่อน แล้วจึงใช้น้ำหมักเจือจางรด
ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จากวันที่ปลูก ต้นดอกขจรจะเริ่มให้ผลผลิต สามารถปลูกได้ทุกฤดู และพันธุ์ดอกขจรนี้จะออกดอกทั้งปี ดอกจะมีขนาดใหญ่ ในช่วงหน้าหนาวดอกจะออกน้อยกว่าฤดูอื่น ในฤดูฝนดอกจะออกมากกว่าฤดูอื่น

ศัตรูพืชของต้นขจรคือ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ถ้ามีปรากฏในแปลงจะใช้น้ำหมักใบยาสูบและน้ำหมักใบสะเดา หมักไว้ 1 คืน แล้วนำมาฉีดในช่วงเวลาเย็นที่ไม่มีแดดแล้ว ดอกขจรจะเก็บขายได้ทุก 2 วัน เนื่องจากปลูกจำนวนไม่มาก หลังจากต้นมีอายุ 1 ปี จะต้องตัดแต่งกิ่ง โดยตัดต้นให้สูงจากดิน ประมาณ 50 เซนติเมตร กิ่งซ้ายขวาจะตัดนำออกมาขายเป็นกิ่งพันธุ์

ผักสลัดบนโต๊ะ

สวนแม่หอมแดง จะปลูกสลัดบนโต๊ะที่มีความยาว 4 เมตร กว้าง 1 เมตร ความสูงของหลังคา วัดจากพื้น 2 เมตร ปลูกโดยใช้วัสดุปลูกเป็นหญ้าที่เก็บออกจากสวนมาหมักสลับกับขี้วัวแห้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่มโดยไม่พลิกกอง ใช้เวลาอย่างเร็วที่สุด 2 เดือน เมื่อกองปุ๋ยหมักได้ที่ก็จะนำมาผสมกับขุยมะพร้าวรวมกัน แล้วนำขึ้นบนโต๊ะ รดน้ำให้ชุ่มปูหน้าดินด้วยใบไผ่ เนื่องจากฟางแถบนี้หาค่อนข้างยาก เอาต้นกล้าที่เพาะไว้ประมาณ 15 วัน มาปลูก ใช้สายยางรดน้ำ สาเหตุที่เอาใบไผ่ปูหน้าดินเนื่องจากเมื่อใช้สายยางฉีดดินจะไม่กระเด็นออกจากโต๊ะ ช่วงนี้จะรดจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอะไรเข้าไปเพิ่ม ผักสลัดจะต้องพรางแสงให้ด้วย เนื่องจากผักสลัดไม่ชอบแสงจ้ามากเกินไป น้ำที่รดจะเป็น 2 รอบ เช้ากับบ่าย ถ้าในหน้าร้อนจะรดถึง 4 รอบ ใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน ก็จะเริ่มเก็บผักขาย

ผักสลัดที่ปลูกได้ส่วนใหญ่ จะมีลูกค้ามาสั่งไว้เป็นประจำ เนื่องจากปริมาณโต๊ะยังไม่เพียงพอ ราคาขายผักสลัดในปัจจุบัน กิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนดอกขจรก็จะมีแม่ค้ามารับไปขายตามตลาดนัด สำหรับกิ่งพันธุ์ขายกันอยู่หน้าเพจ ซึ่งปัจจุบันยังไม่พอขาย เนื่องจากพื้นที่มีน้อย แต่ว่าสวนแม่หอมแดงมีพื้นที่เพียง 1 ไร่ ข้างบ้านก็สามารถทำรายได้จากผลผลิต 3 อย่าง คือผัก ดอกขจร และกิ่งพันธุ์ดอกขจร โดยเฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาท ซึ่งอาจจะไม่มากนัก แต่ด้วยแรงงานของผู้หญิงคนเดียวและมีพื้นที่จำกัด ยังสามารถทำรายได้ขนาดนี้ถือว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะฉะนั้นท่านที่มีเนื้อที่ทำเกษตรหลายไร่น่าจะมีรายได้ได้ดีกว่า ด้วยการปลูกพืชที่มีตลาดจำหน่ายแน่นอน ไม่ซ้ำกับพืชของเกษตรกรในพื้นที่

คุณเอ๋ ฝากถึงมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการทำการเกษตรว่า “การทำการเกษตรต้องพร้อมทั้งใจและกาย การทำเกษตรไม่ใช่เห่อไปตามเขา เพราะมีความเสี่ยงมากกว่าการทำงานประจำ เราจะต้องพร้อมเรียนรู้กับการปลูกพืชนั้นๆ มีการทดลองทำจริง ไม่ใช่คิดจะทำก็ออกมา ต้องมีทุน มีที่ดิน มีความรู้ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเริ่มต้นทำเกษตร ถ้าสนใจอยากแบ่งปันความรู้ทางด้านนี้ สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 089-744-9592 ID Line :suanmaehomdang เฟซบุ๊ก Aey Monthita หรือสวนแม่หอมแดง หมู่บ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี”

การปลูกต้นขจรและการปลูกสลัดไม่ใช่เรื่องที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ เพราะมีคนเขียนกันมากมายแล้ว แต่ที่ต้องการนำมาเผยแพร่คือ ความคิดของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งรักความเป็นเกษตรกรและต้องการมีอาชีพอิสระอย่างยั่งยืน บนพื้นที่เพียง 1 ไร่ อันน้อยนิด บางคนบอกว่า ตัวเองมีพื้นที่เป็นหลายสิบไร่ยังเอาตัวไม่รอด ยังเป็นหนี้เป็นสินเลย ผู้เขียนพูดมาตลอดเรื่องการทำการตลาดก่อนทำการเกษตร เพราะนั่นจะทำให้มีความมั่นคงในอาชีพเป็นเกษตรกร และวันนี้ก็ยังคงยืนยันคำเดิม

ข่าวฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ พีเอ็ม 2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้ผู้เขียนต้องหาหน้ากากมาสวมป้องกัน เพราะรู้สึกระคายเคืองจากการหายใจและแสบคอ ความตื่นตัวงวดนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปน้อยกว่าครั้งที่แล้ว ที่ตื่นตระหนกขนาดทำให้หน้ากากป้องกันขาดตลาด ต่อไปสภาพอากาศคงเป็นเรื่องที่ “คนเมือง” ต้องให้ความสนใจเป็นกิจวัตรประจำวัน และภาพผู้คนที่เดินตามท้องถนนสวมมาสก์ปิดปากปิดจมูกคงเป็นภาพชินตา

ถ้าฝุ่นละอองดังกล่าวที่เปรียบเสมือน “หมอกควันพิษ” มีผลเสียต่อสุขภาพของคน การเพาะปลูกท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหาแบบนี้ จะส่งผลต่อสุขอนามัยจากการบริโภคหรือไม่?

จากรายงานวิจัย ของ Economic Intelligence Center (EIC) ของธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า “การเกษตรในร่ม หรือ Indoor farming เป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญของภาคการเกษตร ที่ค่อยๆ มีบทบาทในเชิงพาณิชย์มากขึ้นในไทย โดยการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ๆ รวมถึงเทรนด์การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านอาหารและการตรวจสอบย้อนกลับของผู้บริโภค เป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของการเกษตร แบบ Indoor farming ในไทย”

การเกษตรในร่ม หรือ Indoor farming คือ การทำเกษตรในสถานที่ปิด อย่างเช่น อาคารโรงเรือน มีการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของผัก ผลไม้ เช่น การให้น้ำ-ปุ๋ย ปริมาณแสงแดด เป็นต้น ตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยๆ คือ การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกผักโดยให้รากแช่อยู่ในน้ำที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ การเกษตรในร่มจะช่วยลดพื้นที่เพาะปลูกและแรงงาน ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป ได้รับความนิยมและมีธุรกิจให้บริการจำนวนมาก โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน

รูปแบบการเกษตรในร่ม ที่ผู้เขียนให้ความสนใจ คือ คาสิโน UFABET การเพาะปลูกพืชแนวตั้ง (Vertical Farm) การปลูกพืชเป็นชั้นๆ ในโรงเรือนที่มีหลังคา อาจมีตาข่ายป้องกันแมลงเข้ามากัดกินผลผลิต มีการควบคุมน้ำ ปุ๋ย แสง สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก และปลูกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล การเพาะปลูกพืชแนวตั้งได้รับความนิยมแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยนำ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” (Internet of Things – IoT) “การเรียนรู้ของเครื่อง” (Machine Learning) “ระบบอัตโนมัติ” (automation) “หุ่นยนต์” (Robotic) มาใช้ เพื่อเก็บข้อมูลการเพาะปลูกภายใต้การควบคุมปัจจัยต่างๆ และหารูปแบบการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เป็นต้น

การเกษตรในร่ม จะทำให้เกษตรกรสามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพผลผลิตได้ตามที่ต้องการ ช่วยลดความผันผวนได้ดีกว่าการเกษตรแบบดั้งเดิม แต่จะมีอุปสรรคที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงในเรื่องระบบและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ ส่งผลให้ผู้สนใจทำการเกษตรในร่มส่วนใหญ่จะเลือกเพาะปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะเวลาสั้น เพิ่มความถี่ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และขายสู่ตลาดได้หลายรอบ ดังนั้น ผู้เขียนอยากเชิญชวนเกษตรกรหรือผู้สนใจ Indoor Farming ลองศึกษาพัฒนาระบบเอง โดยสามารถดูตัวอย่างได้จากผู้ประกอบการประเทศเพื่อนบ้าน-สิงคโปร์ (YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=cY7O5YNxKuI) เพื่อทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง และสามารถต่อยอดเป็นผู้ให้บริการด้านนี้ต่อไป เกิดความแพร่หลายเป็นผลดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ข้อจำกัดด้านพื้นที่การเพาะปลูก สภาพอากาศที่หนาวเย็น ทำให้การเกษตรในร่มมีความก้าวหน้ามากในประเทศหรือพื้นที่ประสบปัญหาดังกล่าว เพราะฉะนั้นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นก็มาจากข้อจำกัดที่มีนั่นเอง

ประเทศไทย ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก รวมทั้งมีแหล่งน้ำและแรงงานที่เพียงพอ เราเป็นผู้นำผลผลิตการเกษตรในหลายประเภท แม้ว่าผลผลิตต่อไร่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีผลผลิตทำนองเดียวกัน ผู้เขียนจึงเชื่อว่า หากมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น ผลผลิตจะก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม การเกษตรในร่มเหมาะสมกับการเพาะปลูกผักและผลไม้บางชนิดเท่านั้น และที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา จะเป็นผักผลไม้เมืองหนาว เช่น ผักสลัด เมล่อน สตรอเบอรี่ เป็นต้น จึงทำให้มีตลาดจำกัด เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ และยินดีที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษที่ราคาสูงกว่าปรกติทั่วไป