เทคโนโลยีในการตรวจสอบคัดแยกไข่ที่มีโอกาสฟักอัตโนมัติ

โดยใช้การประมวลผลและใช้แขนกลในการคัดแยกไข่ที่ไม่มีโอกาสฟักออก วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีต้นทองกวาวที่อยู่สองข้างถนนสายพะเยา-เชียงคำ บริเวณตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลดอกคำใต้ ถึง ต.สันโค้ง ระยะทางประมาณ 8 กม. กำลังบานสะพรั่งสีแสดสดใสงดงามตลอดทั้งวัน ซึ่งทุกปีจะเริ่มบานมาตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ยาวจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งความงามของถนนสายดอกไม้ ดอกทองกวาวสะพรั่งตลอดสองข้างทาง เป็นที่ประทับใจของผู้ใช้รถใช้ถนนบนเส้นทางดังกล่าว แวะเวียนถ่ายรูป บันทึกความงดงาม

นายอาทิตย์ มานัสสา อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)สันโค้ง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า ต้นทองกวางที่โตและออกดอกงดงามเช่นทุกวันนี้ เริ่มต้นจากแขวงการทางพะเยาที่เป็นผู้ริเริ่มนำต้นทองกวาวดังกล่าวมาปลูกสองข้างถนนเมื่อครั้งการทำถนนสาย 1021 พะเยา-เชียงคำ กว่า 20 ปี มาแล้ว ซึ่งอายุของต้นดอกทองกวาวแต่ละต้นมีอายุ 10-20 ปี ขึ้นไป เมื่อถึงเวลาใกล้จะผ่านพ้นฤดูหนาวแล้ว ดอกทองกวาวจะเริ่มผลิดอกสีแสดสดใสสวยงามเห็นเป็นเด่นชัดแต่ไกล ซึ่งสีแสดตลอดสองข้างทางถือได้ว่าเป็นถนนดอกไม้ที่สวยที่สุดสายหนึ่งของจังหวัดพะเยา และในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดอกทองกวาวบานอย่างเต็มที่ จึงขอเชิญชวนผู้ที่ใช้รถใช้ถนนทั้งประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่ผ่านเส้นทางดังกล่าว แวะถ่ายรูปเก็บบันทึกภาพกับถนนสายดอกไม้ เช็คอินให้เป็นแลนด์มาร์คอีกหนึ่งหนึ่งของ อ.ดอกคำใต้ และ จ.พะเยา

“ทราบว่าทางภาครัฐกำลังมีนโยบายยกระดับโครงข่ายถนนเพื่อรองรับเส้นทาง R3A จากประเทศจีน โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางหลักหนึ่งที่จะต้องเชื่อมรองรับด้วย เมื่อการยกระดับโครงการจะต้องขยายถนนจาก 2 ช่องทางจราจรเป็น 4 ช่องทางจราจร ประชาชนจึงเป็นกังวลว่าต้นดอกทองกวาวที่งดงามหลายร้อยต้นเหล่านี้จะต้องถูกตัดโค่นทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่รับผิดชอบโครงการ ช่วยหาวิธีการขุดล้อมย้ายต้นทองกวาวไปปลูกในสถานที่อื่นเพื่อจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ ที่มีพื้นที่ใกล้และสามารถขนย้ายต้นทองกวาวได้ง่าย เพราะหากตัดทิ้งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หากจะปลูกใหม่ก็ไม่ต่ำกว่า 10 ปี กว่าหนึ่งต้นที่จะโตและออกดอกที่สวยงามเช่นนี้ได้”นายอาทิตย์กล่าว

วันที่ 7 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบชาวนาในหลายพื้นที่ จ.นครราชสีมา พากันจุดไฟเผาตอซังข้าวจนส่งกระทบกับการดำรงชีวิตของสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือ ในพื้นที่ ต.เมืองปราสาท อ.โนนสูง หลายรายกำลังประสบกับปัญหาความเดือดร้อน ขาดแคลนแหล่งอาหารของโค กระบือ หลังพบว่าชาวนาส่วนใหญ่ลักลอบจุดไฟเผาตอซังข้าวเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ เกษตรกรผู้เลี้ยงโค ได้รับความเดือดร้อน จำเป็นต้องนำโคกระบือ ไปเลี้ยงในต่างอำเภอ โดยระยะทางไป-กลับประมาณ 20 กิโลเมตร

นายปราณี เย็นใจ อายุ 60 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงโค ต.เมืองปราสาท อ.โนนสูง กล่าวว่า ตนเลี้ยงโคทั้งหมด 44 ตัว ในแต่ล่ะวันจะนำโคทั้งหมดเดินทางไกล เพื่อไปเลี้ยงกินหญ้า ในเขตพื้นที่ อ.พิมาย และ อ.โนนไทย เนื่องจากในพื้นที่ อ.โนนสูง มีชาวนาจุดไฟเผาตอซังข้าวเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในปีนี้พบว่าภัยแล้งเริ่มมาเร็วกว่าทุกปี จำเป็นต้องนำโคเดินทางไปหาแหล่งอาหารไกล อย่างไรก็ตาม วอนขอความร่วมมือจากชาวนา ไม่ให้จุดไฟเผาตอซังข้าวหรือจุดไฟเผาหญ้าข้างทาง เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือ ในพื้นที่หลายราย กำลังได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากในขณะนี้

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเด็นปาฐกถาในงาน “Thailand Take Off 2018” โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ว่า ตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใหม่ๆ หลายคนแปลกใจว่า ทาไมปลัดมหาดไทย ถึงได้มาเป็นรัฐมนตรีเกษตรฯ ตนเป็นลูกเกษตรกรเมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้านเกิดอยู่ภาคตะวันออก รับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นนายอำเภออยู่ภาคเหนือ แล้วย้ายไปภาคกลาง ต่อมาก็ลงใต้ไปยะลา เรียกว่า เหนือจรดใต้ไปมาหมด เห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร

นายกฤษฎากล่าวว่า ประชากรโลกกว่า 7,500 ล้านคน ตามตัวเลขของสหประชาชาติ ยังมีคนอดอยากกว่า 2,000 ล้านคน ขณะที่เศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกาตลาดหุ้นดี ประเทศฟื้นตัว จีนผู้นำเก่ง นโยบายดี เช่น วันเบลท์ วันโรด เศรษฐกิจดี แค่ 2 ประเทศนี้ ก็เห็นเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ประกอบกับจีน อินเดีย จับมือกัน ทำให้ตลาดเอเชียมีผู้บริโภคกว่า 3,500 คน ขณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ศูนย์กลางระบบคมนาคมขนส่ง พื้นฐานแข็งแกร่ง ไทยไม่เคยเป็นศัตรูกับใคร เป็นมิตรกับทุกประเทศ

มีเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ 1 ใน 3 ของประชากร หรือ 29.53 ล้านคน คิดง่ายๆ เดินสวนกัน 3 คน 1 คนเป็นเกษตรกร ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรยากจน 3.9 ล้านคน นึกง่ายๆ คน 3.9 ล้านคน มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อคนต่อปี เกษตรกรไทยเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง แต่ผลตอบแทนต่ำ เพราะสภาพดินฟ้าอากาศ ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด และที่สำคัญนโยบายทางการเมือง วันนี้ปัญหาภาคเกษตรที่เผชิญ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ทำเกษตรกรรมไม่ร่ำรวย มีหนี้สินซ้ำซาก ต้นทุนสูง คุณภาพต่ำ ประสบภัยแล้ง น้ำท่วม เกษตรกรไทยยังขาดปัจจัยสาคัญ 3 ด้าน คือ ขาดความรู้ ขาดเงินทุน และไม่มีตลาด ทางเดียวที่จะรอดพ้นวิกฤต คือ ปฏิรูปภาคการเกษตรโดย ยึดมั่นตามแนวทางหลักการทรงงานและพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9

“ยางพาราเราผลิตได้ราว 4 ล้านตันต่อปี แต่ใช้ยางกันในประเทศเพียงแค่ 5 แสนตันเท่านั้น อีก 3 ล้านกว่าตันหรือ กว่า 80% ส่งออก นั่นหมายความว่า พึ่งพิงตลาดต่างประเทศมากยางพาราจากที่เคยขายกันได้ 100 กว่าบาทเมื่อ 4 – 5 ปีที่แล้ว วันนี้ลดลง ไม่ถึง 50 บาท เขาว่านี่คือ วิกฤติของยางพารา แต่สาหรับผม นี่คือ โอกาส ที่ทำให้ตื่นรู้ว่า การพึ่งเพียงแต่การส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศไม่ทำให้เราอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมทั้งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ ได้ให้แนวทางไว้ว่า รัฐบาลจะน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ เราต้องพึ่งตัวเองให้ได้

ดังนั้น สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ จึงเป็นโอกาสที่เราจะได้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีบริหารจัดการใหม่ วางแผนการผลิตให้อุปสงค์ อุปทานเกิดความสมดุล และที่สำคัญคือ โอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ จากวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่เราผลิตได้เอง ทุกวันนี้ไม่ใช่คนทั้งโลกจะมีรายได้เพียงพอที่จะหาซื้อรถมาใช้ นั่นหมายความว่า ตลาดโลก ยังไม่อิ่มตัว เศรษฐกิจโลกโตขึ้น คนมีรายได้มากขึ้น หมายถึงคนที่มีกำลังซื้อพอจะซื้อรถ ก็จะมีมากขึ้น จีน ยุโรปตะวันออก แอฟริกา 70% ของยางพารา นำไปใช้ผลิตยางรถยนต์ ฉะนั้น

โอกาสของยางพารายังมีอีกมาก แต่เราจะได้ประโยชน์จากโอกาสนั้นมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับเราเตรียมพร้อมมาดีหรือ ถ้าเรายังเคยชินอยู่กับวิถีเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง คือ มุ่งขายแต่วัตถุดิบ ผลประโยชน์ที่จะได้ก็ เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าสร้างให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน ที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น เปลี่ยนจากขายในรูปน้ำยางสด หรือยางแผ่น ยางแท่ง เป็นขายในรูปยางรถยนต์มูลค่าก็เพิ่มสูงขึ้น เงินที่ได้ก็มากขึ้น”นายกฤษฎากล่าว

นายกฤษฎากล่าวว่า การเกษตรคือพื้นฐานของประเทศ ฉะนั้นถึงเวลาปฏิรูปภาคเกษตรกษตรกรทำอะไรต้องขายได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทุน และตลาด วันนี้เกษตรจับมือกับพาณิชย์ ตนไปมอบนโยบายในส่วนภูมิภาคให้กับทั้งข้าราชการเกษตร พาณิชย์ ธกส. หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำการผลิต” จะทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 เท่าตัว ภายในปี 2565 และในปี 2570 เรามี โรดแมปที่จะให้เกษตรกรที่ยากจน 3.9 ล้านคน หมดไป

จะมีสินค้าเกษตรปลอดภัยให้ได้ 100% ภายในปี 2565 และภายในปี 2570 จะผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 60% ของผลผลิตที่ได้ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลนี้ เราสร้างคนรุ่นใหม่มาเป็น”ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ “ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน มี 7,598 ราย และยังมุ่งเน้นให้เขาเป็นผู้ประกอบการ ด้านการเกษตร สร้างระบบสหกรณ์การเกษตรที่เข้มแข็ง และวิสาหกิจชุมชนให้เป็น ที่พึ่งของเกษตรกร เราจะไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เป็นที่ยอมรับให้เกิดขึ้นกับ สังคมไทยต่อไป และกำลังจะสร้างระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตร

เพื่อการบริหารจัดการด้านการเกษตรที่ถูกต้อง แม่นยำ วันนี้กระทรวงเกษตรฯได้เตรียมพร้อมวางระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก หรือ อีอีซี เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว และเร่งขยายพื้นที่เขตชลประทาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ได้น้อยกว่า 30% ปัจจุบันมีอยู่เพียง 10%ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เขียนแผนงานเสร็จแล้ว เกษตรกรรมจะเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ผลผลิตและสินค้าเกษตรจะถูกชี้นำโดยตลาด อาชีพเกษตรจะเป็นอาชีพที่มีวัยรุ่น วัยหนุ่มสาวเข้ามามากขึ้น ในอนาคตอาชีพเกษตรจะสร้างฐานะที่มั่นคง มั่งคั่ง แม้คนที่จบการศึกษาระดับสูงจะเข้ามา ข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นที่รัก คนที่จบการศึกษาใหม่ จะเลือกเป็นข้าราชการกระทรวงเกษตรมาเป็นอันดับหนึ่ง

นายกฤษฎากล่าวว่า ประชุมทูตเกษตร 8 ประเทศ 11 แห่งทั่วโลก เน้นย้ำให้ต้องทำาหน้าที่ ติดตามสถานการณ์ด้านเกษตรในพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งรายงานสถานการณ์และ ความต้องการสินค้าเกษตรในประเทศนั้น ๆ และให้ข้อมูลข่าวสารด้านเกษตรที่ถูกต้อง พร้อมทั้งแสวงหาช่องทางการค้า ตลาดใหม่ เชื่อมตลาดโลก อาทิ ยางพารา เรายังไม่เคยขายแถวอเมริกาใต้ เม็กซิโก ซึ่งมีความต้องการใช้ยางพาราสูงมากเช่นกัน และสำคัญเน้นย้าว่า คนเกษตรต้องไม่ลืมคำว่า “ตลาดนำการผลิต” ต้องร่วมมือกับ ผช.ทูตพาณิชย์อย่างแข็งขัน มุ่งมั่นหาดีมานต์สินค้าเกษตรมา แล้วเราจะไปบอกเกษตรกรว่า มีออเดอร์สินค้าตัวนี้เท่านี้ ตัวนั้นเท่านั้น และคนเกษตรต้องเข้าไป สอนควบคุมคุณภาพ และประสานการจำหน่ายร่วมกับพาณิชย์ เราต้องทำให้สำเร็จให้ได้ อาเซียนและไทยจึงเป็นจุดเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของโลก ดังนั้นประเทศไทย ยังมีโอกาสอีกมาก

“ถ้าภาคเกษตรไทยสามารถปรับตัวได้ทันเชื่อว่า “เทคออฟ ไทยแลนด์” ประเทศไทย พุ่งไปข้างหน้าได้อีกไกล และภาคเกษตร ที่จะเป็นเครื่องยนต์สำคัญขับเคลื่อนประเทศไทย เพราะเราคือ “ต้นทาง” จุดเริ่มต้นของทุกอย่าง เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ทุกคนในกระทรวงเกษตรฯพร้อมแล้วที่จะขึ้นเครื่องบินลำนี้ไปกับรัฐบาลชุดนี้ เป็นเครื่องบินลำใหม่ กัปตันที่เป็นมืออาชีพ และสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย เพื่อให้ไปถึงปลายทางได้อย่างที่ตั้งใจไว้พร้อมกันทุกคน โดยจะไม่มีผู้โดยสารคนใดตกค้าง ขอนำคำพูดพล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีย้ำเตือนอีกครั้งว่า “เราจะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน สตรองทูเก็ตเตอร์ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง””รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯกล่าว

การยางแห่งประเทศไทย ดำเนินการเร่งจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้แก่คนกรีดยางในพื้นที่สวนยางของ กยท. แล้ว หลังเริ่มมาตรการหยุดกรีดยางในสวนยางของรัฐในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตามเป้าหมายโครงการควบคุมปริมาณผลผลิตของรัฐบาล

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า จากมาตรการหยุดกรีดยางในพื้นที่ของรัฐบาล 3 หน่วยงาน ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวนประมาณ 100,000 ไร่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2561 ซึ่งเป็นอีกแนวทางเพื่อลดผลผลิตยางออกสู่ตลาด ช่วยกระตุ้นให้มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น และจะทำให้ราคายางมีการขยับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ กยท. เดินหน้าสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในโครงการควบคุมปริมาณผลผลิต โดยหยุดกรีดยางในสวนยางของ กยท. ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทั่วประเทศที่ ประมาณ 28,000 ไร่ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและตะวันออก รวมถึง ภาคใต้ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ในความดูแลของการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง

“ประชุมคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้กับลูกจ้างกรีดยาง และลูกจ้างสำรองกรีดของ กยท. จำนวน 1,075 รายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นผู้เสียโอกาสในการหยุดกรีดยางตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2561 เนื่องจากปกติ กยท.จะมีการจ้างกรีดยาง ปีละ 11 เดือน ยกเว้นเดือน มีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงปิดกรีดยางของ กยท. ดังนั้น กยท. จึงจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรีดยาง ในส่วนของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2561 โดยเห็นชอบให้ใช้เงินตามมาตรา 49 (1) เพื่อชดเชยรายได้ รวมงบประมาณทั้งสิ้นกว่า 28.8 ล้านบาท”

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจ่ายเงินค่าจ้างชดเชยการหยุดกรีดยางให้แก่ลูกจ้างกรีดยางของ กยท. ในเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2561 กำหนดให้จ่ายเป็นงวดตามช่วงเวลา โดยค่าจ้างชดเชยของวันที่ 1-15 จะจ่ายในวันที่ 21-23 ของเดือนนั้น ส่วนค่าจ้างชดเชยของวันที่ 16-31 จะจ่ายในวันที่ 7-9 ของเดือนถัดไป ซึ่ง กยท. ได้เริ่มเบิกจ่ายและโอนเงินค่าจ้างชดเชยงวดวันที่ 1-15 มกราคม ให้แก่ลูกจ้างกรีดยางในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เรียบร้อยแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข มีการออกคำเตือนบ่อยครั้ง ถึงการจัดฟันแฟชั่น หรือ การซื้อลวดมาติดฟันกันเอง ไม่ผ่านการตรวจโดยแพทย์ ซึ่งการดัดฟันนั้น ถือเป็นการใส่เครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องผ่านการทำโดยแพทย์เท่านั้น เนื่องจากมีความเสี่ยง ทั้งติดเชื้อ หรือ การดัดที่องศามากไปก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของฟันได้เช่นเดียวกัน

โดยล่าสุด สมาชิกเฟซบุ๊ก อมฤต ชัยบุตร ซึ่งเป็นทันตแพทย์ ได้นำภาพผลของการใส่เหล็กดัดฟันแฟชั่นมาเผยแพร่ โดยระบุว่า “หมอลูกศิษย์ส่งเคสมาให้ดู คนไข้ไปจัดฟันแฟชั่นมาเลยเป็นอย่างนี้ แล้วมาขอให้หมอช่วยรักษาให้ครับ#ไม่อยากเจอแบบนี้อย่าไปจัดฟันแฟชั่น #หมอรายงานว่าเคสนี้ไปทจัดฟันแฟชั่นมาแค่ 7 เดือน”

ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวถือว่าเป็นผลอย่างหนึ่งของการใส่เหล็กดัดฟันที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ฟันล้มเก ทั้งด้านล่างและด้านบน โดยคุณหมอผู้โพสต์ ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า เคสดังกล่าวนั้น สามารถรักษาได้ แต่แน่นอนว่าต้องใช้เวลา และเงินค่ารักษามากกว่าเหล็กดัดฟันแฟชั่นที่ซื้อมาเพียงไม่กี่บาทแน่นอน

หากพูดถึงแหล่งผลไม้ในจังหวัดตรัง ต้องยกให้อำเภอรัษฎา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ทั้งฝรั่งแป้นสีทอง และมะละกอเรดเลดี้ ล่าสุดที่ศูนย์การเรียนรู้ หมู่ 7 ต.ควนเมา อ.รัษฎา จ.ตรัง ได้มี “กลุ่มเกษตรกรบ้านกลางเหนือ” ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่หัวไวใจสู้ โดยมีนายสุรวุฒิ ขันธ์คง ผอ.กศน.อ.รัษฎา นายประภาส นวลจันทร์ อดีต ผอ.เชี่ยวชาญโรงเรียนวัดควนเมา คศ.4 และนายสมนึก ธรรมกิจ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 ต.ควนเมา รวมตัวกันปลูกเมลอนพันธุ์พอร์ท ออเร้นจ์ และผลักดันผลไม้ทางเลือกให้เป็นผลไม้หลักของอำเภอรัษฎา

โดย เมลอนพันธุ์พอท ออเร้นจ์ จะมีลักษณะผิวเปลือกสีเหลืองทอง ส่วนเนื้อข้างในจะเป็นสีส้ม และมีกลิ่นที่หอมหวาน โดยวิธีการปลูกใช้วิธีแนวเชิงเกษตรอินทรีย์ เน้นให้เกษตรกรยุคใหม่ปลูกพืชสลับหมุนเวียน พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เกษตรรุ่นใหม่หัวไวใจสู้จะเน้นให้มีเมลอนทั้งปีเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค

ทั้งนี้จุดเริ่มต้นนั้นเกิดจากทางกลุ่มได้สร้างโรงเรือน และมีการทดลองปลูกเป็นครั้งแรก เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เรียนรู้ และให้เป็นพืชทางเลือกที่ช่วยสร้างรายได้เสริมอีกช่องหนึ่ง โดยนำชาวบ้านจาก 80 ครัวเรือน คัดเลือกมา 20 คน ที่เข้ามาศึกษาเรื่องเมลอนอย่างเดียว โดยเน้นให้ปลูกเมลอนเป็นพืชหลักของอำเภอรัษฎา

นายประภาส นวลจันทร์ อดีต ผอ.เชี่ยวชาญโรงเรียนวัดควนเมา คศ.4 กล่าวว่า แนวคิดหลักในการปลูกเมลอน เกิดจากขณะนี้เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ที่ประกอบอาชีพสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ขายสินค้าไม่ได้ราคา ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องของการหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งตนเองก็ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับพี่น้องประชาชนว่า เราจะต้องเปลี่ยนแนวคิด จากการที่เราคิดแบบเดิมๆ ที่ทำแต่สวนยางพาราอย่างเดียว ปลูกปาล์มอย่างเดียว หรือปลูกพืชเชิงเดี่ยว

จากนั้นจึงได้มีการวางแผนการจัดการและรวมกลุ่มกัน ประกอบกับหมู่บ้านของเราได้รับโครงการ 9101 ได้รับงบประมาณมา 5 แสนบาท จึงได้มาสร้างโรงเรือนด้วยงบประมาณ 250,000 บาท และได้ดำเนินการปลูกเมลอนมาแล้วจำนวน 1 รุ่น ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นแรก 430 ต้น คาดว่าจะทำให้เงินเข้ากลุ่มประมาณ 45,000 บาท ทำให้กลุ่มพออยู่ได้

“หลังจากนี้ทางกลุ่มจะมีการปันผลให้สมาชิกจำนวน 20 ครัวเรือน เป็นงบประมาณที่ได้จากการจำหน่ายผลผลิตประมาณ 50% หรือประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท ซึ่งคิดว่าใน 2 เดือน จะทำให้ชาวบ้านพอมีรายได้ โดยเมล่อนพันธุ์พอท ออเร้นจ์ มีสีเหลืองอร่าม สวย เนื้อข้างในจะเป็นสีส้มสวย มีกลิ่นที่หอมหวาน รวมถึงที่ต้องการของตลาดในขณะนี้ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 80 บาท หรือลูกละ 100 กว่าบาท”

นอกจากนี้ทางกลุ่มได้มีการวางแผนเรื่องการตลาด โดยตลาดหลักยังคงเป็นตลาดในชุมชน รวมถึงยังมุ่งเน้นตลาดออนไลน์ ซึ่งขณะนี้มีออเดอร์เข้ามาแล้วประมาณ 30% แล้ว รวมถึงจำหน่ายที่ตลาดประชารัฐของอำเภอรัษฎา และโรงพยาบาลรัษฎา ทุกวันพุธ อีกทั้งยังมีการจำหน่ายพืชผักทางการเกษตรเป็นผักปลอดสารพิษ ทั้งนี้หากลูกค้าสนใจสามารถติดต่อได้ที่ 08-9465-7471 และสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ที่ศูนย์เมลอนบ้านกลางเหนือ หมู่ 7 ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา ได้ตลอดเวลา

ปิดงานอย่างยิ่งใหญ่สร้างความอิ่มเอมใจไม่รู้ลืม กับงานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติประจำปี 2561 โดยในปีนี้มีทัพผลงานการประดิษฐ์คิดค้นจัดแสดงล้นงานกว่า 2,000 ผลงานจากนักคิดของไทยและนานาชาติรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ ประชันผลงานกันแบบไม่มีกั๊ก ในวันปิดงานปีนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานมอบรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ทั้งในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ได้มีพลังใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อมาช่วยกันพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านต่อไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้นในระดับเยาวชนภายใต้โครงการ “รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่” ขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนได้ร่วมแข่งขันประกวดสิ่งประดิษฐ์ และนำเสนอแนวคิดในการประดิษฐ์ผลงานมีเยาวชนทั้งนักเรียน และนักศึกษาทั่วประเทศนำผลงานเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 550 ผลงาน แบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 3 ประเภท คือประเภท มัธยมศึกษา 4 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกตร สิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคมและภูมิปัญญาไทย สิ่งประดิษฐ์เพื่อพลังงาน และ สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและทุพพลภาพ ประเภทอาชีวศึกษาและ มหาวิทยาลัย 5 กลุ่มเรื่องได้แก่ กลุ่มอาหาร กลุ่มเกษตร กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และกลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม

โดยปีนี้มีโรงเรียนและ มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลต่างๆมากมายอาทิ ระดับมัธยมศึกษา รางวัลชนะเลิศกลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตร ได้แก่ ผลงานเครื่องปั๊มพลังงานสูญญากาศ โรงเรียนศรีรัตนวิทยา :: รางวัลชนะเลิศกลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคมภูมิปัญญาไทย ได้แก่ ผลงานชุดกระเป๋าพยาบาลอัจฉริยะ จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :: รางวัลชนะเลิศกลุ่มสิ่งประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์เพื่อพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ผลงาน พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลก :: รางวัลชนะเลิศกลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ ผลงาน การพัฒนารูปแบบอักษรเบรลล์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรม Fontforge จากโรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี