เธอจึงปลูกไผ่ซางหม่น ทั้งหมด 6 ไร่ ที่ 6 ไร่นี้แต่ก่อนเคย

เช่าเขาทำข้าวโพด เป็นเอกสาร นส.3 ก ติดถนนใหญ่ เธอได้ซื้อเอาไว้เป็นของตนเอง 6 ไร่ ปลูกไผ่ซางหม่น 600-700 กอ ไผ่หวานช่อแฮ 2 ไร่ ไผ่บงหวาน 1 ไร่ เต็มพื้นที่…มีสระน้ำอยู่ตรงกลาง การขุดสระน้ำ เนื้อที่ 1 ไร่ ขุดโดยกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานของราชการ ขุดให้ฟรี แต่ต้องรอคิวนานเป็นปี

ตอนนี้สวนของน้องเปามีไผ่ซางหม่น 600 กอ และไผ่หวาน ส่วนอีก 20 ไร่ เป็นสวนมะขามเปรี้ยวยักษ์ฝักใหญ่ ขายได้กิโลกรัมละ 25-30 ขายฝักสด แต่น้องเปาเอามาแปรรูปเป็นมะขามแช่อิ่มได้เพิ่มเป็นราคากิโลกรัมละ 100 บาทขึ้นไป มะขามเปรี้ยวยักษ์ ปีหนึ่งก็เก็บได้ประมาณ 5,000 กิโลกรัม ถ้าขายฝักสดได้กิโลกรัมละ 30 บาท ได้เงินปีละ 1.5 แสนบาท เป็นรายได้ประจำปี

ส่วนไผ่ซางหม่นที่ปลูกไว้ทั้งหมดก็แยกแขนงทำต้นพันธุ์จำหน่ายได้หลายหมื่นต้น โดยกรมป่าไม้ จะสั่งซื้อเพื่อเอาไปแจกให้ชาวบ้านปลูกบนดอยหัวโล้น เขตเมืองลำปาง จำนวนหลายหมื่นต้น ทำให้สวนไผ่ซางหม่น หรือไผ่ราชินีของน้องเปา มีรายได้จากการเพาะกิ่งพันธุ์ไผ่ซางหม่นเป็นรายได้ประจำวันของสวนไผ่ซางหม่น

หากต้องการกิ่งพันธุ์ไผ่ซางหม่น หรือกิ่งพันธุ์ไผ่หวานช่อแฮ ในราคาย่อมเยา ติดต่อน้องเปา หรือ คุณสุสาณี นันท์ตา ได้ที่ เลขที่ 113 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง โทร. 081-287-0089, 064-429-8814

คุณสมบัติพิเศษของไผ่ซางหม่น คือ มีลำต้นสวยงาม ออกหน่อตลอดปี ให้ผลผลิตหลังจากลงปลูก 1 ปี เก็บหน่อขายได้ เมื่ออายุ 2 ปี ตัดลำขายได้ เมื่ออายุ 3 ปี ลำไผ่ชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ลำต้นแข็ง มีความหนา ลำตรงสวยงาม ราคาขายก็จะเพิ่มขึ้นอีก นิยมนำไปแปรรูปทำเครื่องเรือนระดับคุณภาพ นอกจากนี้ ลำต้นจะมีกิ่งแขนงไม่มาก ต้นและแปลงที่ปลูกจึงดูโปร่ง ส่วนหน่อให้รสชาติดี มีกรดยูริกน้อย

การปลูกและการดูแลไผ่ซางหม่นในภาพรวมนั้นง่าย เพราะทนแล้ง แมลงและศัตรูพืชไม่มากวนใจ ปลูกได้ทุกสภาพดิน ใช้ประโยชน์เป็นแนวกันลมไปพร้อมกับให้ความร่มรื่นและสวยงาม คุณสมบัติทั้งหมดเป็นลักษณะเด่นของไผ่ซางหม่น ซึ่งตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรได้ครบ จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เพราะตลาดยังเปิดกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

เมื่อลำไผ่ซางหม่นเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยคุณสมบัติโดดเด่นในหลายด้าน เกษตรกรจึงเกรงว่าจะขาดเสถียรภาพในเรื่องราคา เพราะระหว่าง พ.ศ. 2540-2545 เป็นช่วงเวลาที่ไผ่ซางหม่นเป็นที่ต้องการสูง เคยเกิดกระบวนการนายหน้าซื้อขาย เกษตรกรเองกลัวว่าจะกำหนดราคาเองไม่ได้ จึงมีความคิดที่รวมตัวกันเพื่อกำหนดราคา เพราะไม่ต้องการให้ราคาถูก กำหนดโดยนายหน้า เกษตรกรจึงตัดสินใจรวมกลุ่มกัน

เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ตัดลำขายอยู่แล้ว และเปิดพื้นที่เกษตรกรรมของตนเป็นตลาดกลางซื้อขายไผ่ตัดลำ จนเป็นศูนย์รวมของไผ่ตัดลำของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก เป็นตลาดที่ผู้ขายมาเจรจากับผู้ซื้อ ทำให้ทั้งผู้ขายกับผู้ซื้อทำธุรกิจซื้อขายไผ่ตัดลำเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

นอกจากการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันของเกษตรกรผู้ปลูกไผ่ตัดลำเพื่อต้องการให้ราคาไผ่นิ่งมีเสถียรภาพแล้ว ทางชมรมไผ่ยังศึกษาทิศทางของตลาดว่ามีความต้องการไผ่ตัดลำปริมาณมากน้อยเพียงใด ตลาดต้องการไผ่สายพันธุ์อะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ทำให้นอกจากปลูกไผ่ซางหม่น สมาชิกบางรายก็ปลูกไผ่หลายๆ ชนิดควบคู่ไปด้วย เช่น ไผ่กิมซุ่ง ซึ่งเป็นไผ่กินหน่อ ไผ่กาบแดง ใช้ทำกระบอกข้าวหลาม ไผ่ตงยักษ์ หรือไผ่หก ที่ให้ลำใหญ่ ยาว เนื้อหนา เหมาะไปทำเสาค้ำยัน เสาเรือนพัก หรือแปรรูปทำเครื่องเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์รวมของการรวมลำไผ่กรณีมีการสั่งซื้อจำนวนมากๆ เช่น หลักหมื่นลำขึ้นไป ชมรมจะเป็นคนกลางรวบรวมจากเกษตรกรรายย่อย

ต้นพันธุ์ ความต้องการสูง

นอกจากการตัดลำไผ่ขายแล้ว ชมรมไผ่ยังรวมตัวกันจำหน่ายกิ่งพันธุ์ไผ่โดยเฉพาะสายพันธุ์ซางหม่น เพราะมีลูกค้าที่เป็นเกษตรกรรายย่อยจากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศสั่งซื้อกิ่งพันธุ์เข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของชมรมทำให้ไม่ทัน เพราะแต่ละรายมีจำหน่ายเพียงหลักร้อย แต่ยอดสั่งซื้อไปไกลถึงหลักพันหลักหมื่น เพราะการตอนกิ่งไผ่ขายก็ต้องใช้เวลาปลูกแยกแปลงต่างหากเพื่อขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ไผ่ซางหม่นทำได้ด้วยการตอน โดยต้องรอให้ไผ่ตั้งกอได้ปีครึ่งขึ้นไปจึงเริ่มตอนกิ่งได้ ถ้าอายุน้อยกิ่งตอนที่ได้จะไม่แข็งแรง การตอนกิ่งไผ่ เกษตรกรต้องเลือกกิ่งที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด ตอนด้วยตุ้มขุยมะพร้าว มัดให้กิ่งที่เป็นปมตาไผ่ไว้ 20 วัน เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นเมื่อรากเดินเต็มถุง จึงตัดถุงชำไว้อีก 30 วัน จะเห็นว่าการทำกิ่งไผ่เพื่อจำหน่ายเป็นกิ่งพันธุ์ต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร

ดังนั้น การขยายกิ่งพันธุ์เพื่อจำหน่ายก็ต้องใช้พื้นที่ปลูกและใช้เวลาอยู่พอสมควร เกษตรกรรายย่อยจึงต้องขยันและลงแรงกันพอสมควร การขยายกิ่งพันธุ์จำหน่ายคราวละมากๆ จึงเป็นปัญหาไม่พอกับความต้องการของลูกค้า เมื่อลูกค้าต้องการคราวละมากๆ ชมรมจึงต้องเป็นจุดศูนย์รวมกิ่งพันธุ์ไผ่ซางหม่น

เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมาก ชมรมจะระดมกิ่งพันธุ์จากเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิก จะเห็นว่าภารกิจหลักๆ ของชมรมไผ่ คือทำหน้าที่รวบรวมไผ่ตัดลำและกิ่งไผ่จำหน่ายให้กับลูกค้า ควบคุมราคาให้เป็นไปตามกลไกของตลาด สร้างความพอใจให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนี้ ยังคอยวิเคราะห์ทิศทางของตลาดในแต่ละปีว่าตลาดไม้ไผ่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด เพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้ปลูกไผ่จะได้ปรับตัวให้ทันกับทิศทางการตลาด

ตลาดไผ่ขายลำ ที่จับต้องได้จริง

จากการเป็นศูนย์รวมไผ่ตัดลำและกิ่งพันธุ์แล้ว ชมรมไผ่ยังมีการปลูกไผ่ให้กับเกษตรกรที่สนใจจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกไผ่ตัดลำ พร้อมเป็นที่ปรึกษาดูแลสวนไผ่ของเกษตรกรรายใหม่ อีกทั้งยังจัดฝึกอบรมการปลูกไผ่ตัดลำให้กับเกษตรกรที่ต้องการปลูกไผ่เป็นอาชีพ ชมรมไผ่ยังมีกิจกรรมด้านการเพาะปลูก การจำหน่ายไผ่ตัดลำให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ตลาดยังเปิดกว้างมีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยจำแนกความความต้องการของตลาดไผ่ขายลำได้ ดังนี้

1.ตลาดที่ต้องการรับซื้อลำไผ่ ขนาดความยาว 6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว ส่วนมากลำไผ่ขนาดนี้หน่วยงานภาครัฐจะซื้อเพื่อไปสร้างเป็นกำแพงป้องกันคลื่นกัดเซาะผิวดินตามป่าชายเลน หรือพื้นที่ชายหาดที่มีการกัดเซาะตลิ่งชายฝั่งทะเล ซึ่งหน่วยงานภาครัฐยังมีความต้องการอีกมาก

2.ตลาดต้องการลำไผ่ไปแปรรูปเป็นไม้เส้น หรือไม้แปรรูป ขนาดความยาว 30-40 เซนติเมตร หน้ากว้างและสูง 5×5 เซนติเมตร หรือตามแต่ลูกค้าจะสั่ง ไม้เส้นนี้จะนำไปเข้าเครื่องแปรรูปอีกต่อหนึ่ง เพื่อไปทำตะเกียบสำเร็จรูปที่ใช้ทั้งในประเทศ และยังส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น หรือกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก ซึ่งยังมีความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด

นอกจากตะเกียบแล้ว ยังนำไปทำวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ เช่น ไม้เสียบอาหารปิ้งย่าง ไม้จิ้มฟัน ก้านธูป เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการแปรรูปไม้เส้นนี้ยังมีความต้องการอีกมากเช่นกัน และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับลำไม้ไผ่ที่ปกติตัดขายกันลำละ 40-50 บาท แต่ถ้านำไปแปรรูปเป็นไม้เส้นด้วยเครื่องแปรรูปแบบง่ายๆ จะเพิ่มมูลค่าจากลำละ 40 เป็นลำละ 150 บาท โดยไม้ไผ่เส้น ขายกิโลกรัมละ 30-35 บาท

ไม้ไผ่ที่นำไปแปรรูปที่เป็นไม้เส้นใช้ได้ตั้งแต่โคนต้นจนเกือบถึงยอด แทบไม่ต้องตัดส่วนเกินทิ้ง ทำให้ลำไผ่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นกว่าขายลำตามปกติถึง 3 เท่า ผลจากการแปรรูปจากลำไผ่เป็นไม้เส้นได้ไม่ยาก ทำให้ไผ่ตัดลำยิ่งขาดตลาดมากขึ้นไปอีก เพราะเกษตรกรเลือกปลูกแล้วแปรรูปจำหน่ายเอง

3.ตลาดแปรรูปไม้ลำส่งออก การแปรรูปลำไผ่เพื่อส่งออกมีการผลิตกันที่จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยการนำลำไผ่มาตัดแต่ง ผ่านกระบวนการอบ และเคลือบยากันมด มอด ให้คงรูป คงคุณภาพ ส่งออกไปต่างประเทศที่มีความต้องการนำไผ่ลำไปสร้างเครื่องเรือนคุณภาพสูง โดยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน จากเดิมขายลำละ 40 บาท เมื่อผ่านกระบวนการตัดแต่งและอบให้คงสภาพจะกลายเป็นลำละ 450 บาท ซึ่งโรงงานแปรรูปลำไผ่ตัดแต่งให้มีคุณภาพก็ยังต้องการลำไผ่อีกมากเพื่อการส่งออก

4.ไผ่ตัดลำยังต้องการนำไปผลิตเครื่องเรือนในประเทศ รวมทั้งทำเครื่องใช้อื่นๆ ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ยังตัดหน่อไว้กิน หรือจำหน่ายได้อีก แต่การตัดหน่อไผ่ซางหม่นขายเป็นรายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คนปลูกไผ่ตัดลำขาย จึงไม่ค่อยสนใจที่จะตัดหน่อไผ่ซางหม่น แต่จะปล่อยให้โตแล้วตัดขายเป็นลำจะมีรายได้ดีกว่า

มะละกอเป็นพืชที่ได้รับความนิยม ทั้งในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ เพียงแต่รูปแบบการปรุงแต่งแต่ละท้องที่ แต่ละท้องถิ่น อาจจะแตกต่างกันไป

คนไทย ผลมะละกอดิบนำมาทำส้มตำ จะตำปู หรือตำปลาร้า ก็ว่ากันไป ส่วนผลสุกเป็นผลไม้ได้อย่างดี ชาวต่างชาติ นิยมมะละกอสุกที่ผลเล็กๆ ใช้มีดผ่าตักกิน ปริมาณพอเหมาะพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปต่อมื้อ

งานปลูกมะละกอในบ้านเรา ทำสองระบบด้วยกัน เริ่มจากปลูกเป็นสวนหลังบ้าน หรือปลูกเข้าไปกับไร่นาสวนผสม ตามคันบ่อ หลังปลูกไปปีเดียวก็เก็บผลผลิตได้ อาจถือว่ามะละกอเป็นพืชนำร่อง สำหรับผู้ที่สนใจทำสวนไม้ผล ทั้งนี้เพราะมะละกอให้ผลผลิตเร็ว กว่าที่มะม่วง ขนุน ยางพารา และพืชหลักอย่างอื่นจะได้ผล มะละกอที่ปลูกแซมก็เก็บไปหลายรุ่นแล้ว ระบบปลูกอีกอย่างหนึ่ง คือปลูกเพื่อการค้าอย่างจริงจัง ว่ากันเป็นแปลงใหญ่ๆหลายไร่ เก็บแต่ละครั้งก็หลายคันรถ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บ้านเรามีมะละกอสายพันธุ์ที่ดี แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบคือ โรคจุดวงแหวน เมื่อมีการระบาดยากที่จะเยียวยา อย่างไรก็ตาม งานพัฒนาด้านนี้ มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ไม่เคยหยุดนิ่ง งานที่ทำอยู่ บางครั้งอยู่ไกล ลี้ลับ อยู่ในซอกหลืบ กระนั้นก็ตามผู้วิจัยมุ่งมั่น มีความพยายาม

มีงานวิจัยเด่น ที่แดนอิสาน

ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร ชื่อเดิมคือสถานีทดลองพืชสวนขอนแก่น เคยมีผู้อำนวยการศูนย์ ชื่อวิไล ปราสาทศรี

คุณวิไล เรียนจบจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระดับปริญญาตรี และจบปริญญาโท ที่อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

“เริ่มงานเมื่อปี 2519 คือเมื่อปี 2518 คุณถวิล ศรีสมชัย เขาทำงานนี้อยู่ เมื่อเขาย้ายงาน มารับช่วงต่อ คนอิสานรับประทานมะละกอเยอะ” งานอย่างหนึ่งที่คุณวิไลทำนั้น คือเรื่องของการป้องกันกำจัดโรค ยามที่มะละกอเป็นโรคจุดวงแหวน ต้องขุดทิ้งถอนรากถอนโคน เมื่อเข้าไปแนะนำตามหมู่บ้าน ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากชาวบ้านเสียดายต้นที่ปลูก โรคจุดวงแหวนมีพาหะที่สำคัญคือเพลี้ยอ่อน เพลี้ยชนิดนี้มีพืชอาศัยหลายชนิด อย่างเช่นในถั่วฝักยาว รวมทั้งพืชอื่น

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมะละกอครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2528 ทางจังหวัดมหาสารคาม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดคุณไสว พราหมณี รณรงค์ปลูกมะละกอทั้งจังหวัด มีการเชิญนักวิชาการเกษตร อย่างคุณวิไล ปราสาทศรี เข้าร่วมงาน

ช่วงที่มีการวิจัยมะละกออยู่นั้น ทางต่างประเทศ ดร.กอลซาลเวส โด่งดังมากในการทำวัคซีนมะละกอ จึงมีการเชิญชวนให้เเขามาวิจัยในประเทศไทย แต่ปรากฏว่า เชื้อสาเหตุโรคจุดวงแหวนรุนแรงมาก ผลการทดลองในไทยไม่เป็นบวก ระยะหลังนักวิชาการเกษตรไทย จึงวิจัย โดยมีแนวทางเป็นของตนเอง

ระยะที่มีการวิจัยทางด้านการป้องกันกำจัดโรคมะละกออยู่นั้น ทางผู้วิจัยพบว่า มะละกอต่างประเทศ สายพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแรนต์ มีความต้านทานโรคจุดวงแหวนเป็นอย่างยิ่ง แต่ผลมีลักษณะกลม เนื้อออกสีเหลือง ไม่เหมาะต่อการบริโภคของคนไทย

คุณวิไลเริ่มจับงานวิจัย โดยนำมะละกอสายพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแรนต์ ผสมกับมะละกอแขกำดำของไทย ทุนการวิจัยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจาก “ยูเอสเอไอดี”

“ทำมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2537 ได้ลูกผสมชั่วที่ 5 พอได้ลูกผสม นำไปทดสอบในพื้นที่ต่างๆ 8 จังหวัด ถึงปี 2540 จึงเสนอกรมวิชาการเกษตร ขึ้นทะเบียนพันธุ์แนะนำ” คุณวิไลบอกถึงความก้าวหน้างานวิจัย

มะละกอที่ผสมและคัดเลือกพันธุ์ได้ มีพันธุ์ท่าพระ 1, ท่าพระ 2 และท่าพระ 3

มะละกอแขกดำท่าพระ เป็นมะละกอเอนกประสงค์ นำมาทำส้มตำได้ดี รวมทั้งผลสุกก็รสชาติเยี่ยม ให้ผลผลิตดก หลังปลูก 7 เดือนก็เก็บผลสุกได้ “ตั้งแต่ปี 2541 เราแจกจ่ายไปเยอะ ต้นกล้าบางปีมีเป้าหมายแจกจ่ายแค่ 5 หมื่นต้น แต่แจกจริงมากถึง 3.6 แสนต้นเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 1,200 บาท เป็นราคาราชการไม่คุ้มทุน แต่เกษตรกรก็พอใจซื้อเพราะปลูกได้มากถึง 40 ไร่ อิสานเมื่อก่อนปลูกมะละกอเป็นสวนหลังบ้าน ปัจจุบันปลูกเป็นแปลงใหญ่มากขึ้น ผู้ปลูกภาคกลางมีปัญหาเรื่องโรค ย้ายมาเช่าที่ปลูกที่อิสาน”

มะละกอพันธุ์ใหม่ที่วิจัยได้ มีความต้านทานโรค โดยเฉพาะโรคจุดวงแหวน รูปทรงเหมาะสม ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เหมาะในการทำส้มตำ

ปลูกช่วงไหนราคาดี

ธรรมชาติของมะละกอเมื่อได้รับฝน จะเจริญเติบโตและมีดอกออกมา แล้วพัฒนาเป็นผล มะละกอชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขังแฉะ หากเกษตรกรมีระบบน้ำ ให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตแก่เจ้าของตลอดทั้งปี

มะละกอที่อาศัยน้ำฝน ออกดอกเดือนพฤษภาคม ไปเก็บเกี่ยวได้เดือนกันยายน-พฤศจิกายน ช่วงนี้มะละกอถูก มะละกอแพงช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม เนื่องจากมะละกอผ่านช่วงแล้ง ผลผลิตยังออกไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเดือนกรกฏาคม เป็นเดือนที่มะละกอราคาสูงที่สุดในรอบปี

หากมีระบบน้ำ ปลูกมะละกอปลายฝน เดือนกันยายน-ตุลาคม จะมีผลผลิตเก็บเกี่ยวช่วงที่มะละกอมีน้อย

ได้รับคำแนะนำจากคุณวิไล เกี่ยวกับการเก็บพันธุ์มะละกอว่า เลือกผลที่สวยงาม ไม่มีโรคและแมลง ผ่าผล นำเมล็ดไปล้างในถังน้ำ เมล็ดที่ลอยไม่สมบูรณ์ ไม่ควรเก็บในส่วนนี้

เก็บเมล็ดที่จม นำไปผึ่งในห้องโล่ง 2-3 วัน เมื่อมีความชื้น 5-6 เปอร์เซนต์ เก็บในตู้เย็นยืดอายุได้นาน ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยของเรามานาน แล้วก็เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากพืชชนิดนี้มีคุณประโยชน์มากมายจนหาข้อจำกัดไม่ได้เลย เพราะในตัวผักบุ้งนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่สำคัญอีกด้วย

พืชชนิดนี้จะอาศัยอยู่เหนือน้ำ หรือในที่ที่มีความแฉะ เพราะพืชชนิดนี้จะชอบน้ำมากเป็นพิเศษ ถ้าหากขาดน้ำไปจะกลายเป็นการสร้างความเสียหายให้กับวงจรของผักบุ้งเลยก็ว่าได้ โดยลักษณะทั่วไปของผักบุ้งคือ ลำต้นจะไม่มีขน ภายในลำต้นจะกลวงโบ๋ ส่วนใบจะออกสลับกัน มีปลายใบที่เรียวแหลมดูสวยงาม จะมีความยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร สามารถพบได้ตามลำคลอง หนอง บึง ร่องน้ำในสวน หรือตามแหล่งน้ำต่างๆ

คุณสุภาวดี แตงสุข คือหนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกผักบุ้ง และเป็นเจ้าของแปลงนาผักบุ้งน้ำ ที่ตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ผักบุ้งที่ปลูกจากรุ่นสู่รุ่น

คุณสุภาวดี เล่าว่า เดิมทีที่ดินแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นสวนผลไม้มาก่อน แต่เนื่องจากช่วงนั้นต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เป็นอย่างหนัก จึงเป็นเหตุที่ทำให้ต้องล้มสวนออกจากบริเวณนั้น แล้วเปลี่ยนมาเป็นนาผักบุ้งที่อยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน

คุณสุภาวดี บอกว่า การทำนาผักบุ้งถือเป็นธุรกิจของครอบครัว ที่ทำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งในส่วนของคุณสุภาวดีเอง ก็ทำอาชีพนี้มาเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว โดยมีสาเหตุที่เลือกปลูกผักบุ้งประเภทในน้ำว่า ลักษณะเด่นรวมๆ มันปลูกง่าย รวมถึงขั้นตอนอื่นๆ ไม่ต้องลงทุนลงเมล็ดพันธุ์ใหม่ สามารถเอาตัวเก่าของผักบุ้งมาทำพันธุ์เพื่อใช้ได้ต่อเลย และเป็นการช่วยลดต้นทุนได้ และมันจะต่างจากพันธุ์ทั่วไปตรงที่ ผักบุ้งพันธุ์นี้มันดูแลง่าย ตรงที่ว่า ผักบุ้งจีนจะใช้คนงานเยอะ แต่ถ้าเป็นผักบุ้งน้ำ บางทีเรามี 7-8 คน เราก็ทำได้ แต่ถ้าเป็นผักบุ้งพันธุ์อื่นมันจะใช้แรงงานจากคนค่อนข้างเยอะ แต่อันนี้เราตัดแล้วขึ้นกองได้เลย

ผักบุ้ง ปลูกคล้ายแปลงทำนา

ในส่วนของวิธีการปลูก คุณสุภาวดีจะใช้วิธีคล้ายกับนาข้าว ทุกครั้งที่มีการเตรียมดินจะย่ำให้จม ถ้าเป็นนาเก่าหรือนาที่มีผักค้างอยู่ในแปลงต้องย่ำให้หนักๆ เพื่อให้เกิดดินดำผุดขึ้นมา เมื่อเสร็จสิ้นจากการเตรียมดินแล้ว จึงค่อยๆ นำพันธุ์ผักบุ้งที่เป็นยอดๆ จะใช้ประมาณ 3-4 ยอด มาปักหรือดำเหมือนกับการดำนาข้าวแบบทั่วไป แล้วจัดให้ผักบุ้งที่ดำลงไปให้นอนราบ แล้วก็จัดทำเช่นนี้เรียงต่อไปเรื่อยๆ จนสุดแปลง โดยระยะความห่างของแถวจะอยู่ที่ประมาณ 5 ศอก โดยแปลงแห่งนี้จะใช้เวลาในการเพาะปลูกที่ 2 เดือน ก่อนที่จะย่ำทิ้งเพื่อปรับแปลงนาใหม่

โดยระยะเวลาการเจริญเติบโตของผักบุ้งนี้ ถือว่าเป็นไปได้ค่อนข้างดี เพราะเพียงแค่ 3 สัปดาห์ ผักบุ้งที่เพาะก็จะแตกยอดออกมาอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้เป็นเพราะการใส่ใจในรายละเอียดการใส่ปุ๋ยบำรุง

“ใช้ปกติเหมือนพืชอื่นๆ เลย แต่จะเป็นสูตรปุ๋ยที่เราจะเลือกเอาเอง ว่าจะบำรุงยอด บำรุงใบ หรือว่าบำรุงลำต้น ส่วนมากเขาจะใช้ 25-7-7 เป็นปุ๋ยเม็ด เราจะใช้ถังใส่ปุ๋ย แล้วก็ค่อยๆ มาหยอดมาเหวี่ยงปุ๋ยตามกอผักบุ้งที่เราปลูก จะใส่อาทิตย์ละหน แต่จะใส่ไม่เยอะ ใช้ 50 กิโลกรัม ต่อ 3 ไร่” คุณสุภาวดี กล่าว

ในส่วนของน้ำในคันนาผักบุ้งถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ โดยน้ำที่จะเลี้ยงผักบุ้งได้ ต้องมีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผู้ดูแลต้องพยายามไม่ปล่อยให้น้ำแห้งจนเกินไป จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำลงนาผักบุ้งเมื่อพื้นที่เริ่มแห้ง 7 วันหลังจากที่ปล่อยน้ำไปแล้ว เมื่อผักบุ้งอยู่ในช่วงที่ดีเราจะต้องรีบตัดทันที ไม่อย่างนั้นขี้ตะไคร่ที่เกิดขึ้นจะมาเกาะได้ เพราะจะทำให้ผักบุ้งโตมาแบบไม่สวย เมื่อนำไปขายจะได้ราคาไม่ดี

ระยะเวลา 2 เดือน คือช่วงเวลาที่ดีในการเก็บผักบุ้ง เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ยอดผักบุ้งยาวและสวยงาม ยอดผักบุ้งของคุณสุภาวดีที่ได้จะมีความยาวอยู่ที่ ประมาณ 30 เซนติเมตร ศัตรูพืชตัวฉกาจ

ศัตรูพืชเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณสุภาวดีกำชับว่าเป็นอะไรที่ละเลยไม่ได้แม้แต่นิดเดียว ซึ่งคุณสุภาวดีได้บอกวิธีการป้องกันศัตรูพืชเหล่านี้ว่า “ทุกครั้งที่เราตัดจะมีตัวหนอน ส่วนใหญ่เป็นพวกแมลง เพลี้ยก็กิน ไรแดงก็กิน หนอนก็กวนยอดผักบุ้ง เราหมั่นสังเกตแล้วก็ป้องกัน”

สำหรับการใช้สารเคมี คุณสุภาวดีบอกว่า เน้นความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สำคัญกว่าแรงใจ ก็คือ “แรงงาน”

อุปสรรคอีกอย่างที่แก้ไม่หาย สำหรับคุณสุภาวดีก็คือ เรื่องของคนงานนั่นเอง ด้วยความที่มีคนงานเก็บผักบุ้งอยู่ไม่กี่คน แล้วเขาก็ไม่ได้ดูแลเฉพาะนาผักบุ้งเพียงอย่างเดียว แต่ยังปลูกนาข้าวในละแวกนั้น เป็นการสร้างรายได้เสริมอีกด้วย จึงทำให้การที่ต้องลงเก็บผักบุ้งที่แปลงในทุกๆ ครั้ง จะเหนื่อยมากเป็นพิเศษ คุณสุภาวดีจึงมองว่าปัญหาที่สำคัญคือ เรื่องของแรงงานนั่นเอง

ดูแลผักบุ้ง แล้วอย่าลืมดูแลตัวเอง

อาชีพปลูกผักบุ้งประเภทนี้ เป็นงานที่ต้องทำในน้ำตลอดเวลา สมัคร SBOBET เพราะฉะนั้นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังตลอดเวลาคือ เรื่องของโรคต่างๆ ที่เกิดจากการที่ต้องอยู่ในน้ำนานๆ ทางคุณสุภาวดีเผยว่า การทำงานในน้ำแบบนี้ เป็นเรื่องปกติที่อาจจะมีอาการคันจากแหนในน้ำบ้างในบางครั้ง แต่ก็สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ โดยทุกๆ ครั้งที่ขึ้นจากน้ำ เขาจะใช้ครีมอาบน้ำที่มีสารป้องกันหรือฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในการชำระล้างร่างกายในทุกๆ ส่วน

ผักบุ้ง ยังเป็น ที่ต้องการของตลาด

ด้านของการตลาดการจำหน่ายผักบุ้งของคุณสุภาวดี เผยว่า “การจัดส่งของเรา เราจะส่งแบบเป็นมัด 1 มัด ของเราจะเป็น 25 กำ ของผักบุ้งที่นำมารวมกัน โดยมาตรฐานของมัด จะอยู่ที่ 5 กิโล หรือจะเกินก็ได้ เพราะถ้าหากเรานำไปส่งที่ตลาด ที่นั่นจะมีการสุ่มตรวจน้ำหนักผักของเรา ซึ่งเราต้องให้ได้เกิน 5 กิโลกรัม ไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นเราจะโดนตำหนิได้”

ราคาที่ขายส่ง จะอยู่ที่ มัดละ 30-35 บาท หรือถ้าเป็นในช่วงที่ดีสุดของคนปลูกผักบุ้ง ก็จะมีราคาอยู่ที่ มัดละ 50-60 บาท เลยทีเดียว ถ้าผักดี

ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาของพ่อค้าคนกลางและฤดูกาลตามสภาพอากาศ ถ้าเป็นในช่วงหน้าฝน ผักบุ้งหรือผักอื่นๆ ราคาก็จะตก แต่ถ้าหากอยู่ในช่วงหน้าหนาว ราคาก็จะสลับมาเป็นดี โดยตลาดที่คุณสุภาวดีมักจะนำผักไปส่งเป็นที่หลักๆ ก็คือ ตลาดสี่มุมเมือง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ผักบุ้ง เป็นมิตรกับ ทุกพื้นที่ (ที่ปลูกแล้วอยู่ได้)

ทั้งนี้ในจังหวัดต่างๆ ก็สามารถปลูกผักบุ้งในน้ำได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะที่จังหวัดนนทบุรี ที่คุณสุภาวดีปลูกไว้เท่านั้น แต่หากจังหวัดอื่นมีพื้นที่ที่มีน้ำจืดและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ไม่เป็นอุปสรรคจนเกินไป ก็สามารถปลูกได้เช่นกัน ที่ต้องเน้นย้ำเรื่องน้ำและพื้นที่เป็นเพราะเคยมีนาอยู่ที่สมุทรปราการ แล้วก็เคยไปปลูกผักอยู่ที่นั่น แต่มันไม่โอเค เพราะที่แห่งนั้นเป็นน้ำเค็มน้ำกร่อย พอเอาไปปลูกเหมือนกับว่า ผักมันจะไม่ชอบ พอปลูกก็เหมือนยอดจะเล็ก การเจริญเติบโตก็จะต่างกัน ส่วนมากเหมือนเขาจะชอบน้ำจืดมากกว่า ถ้าเป็นแม่น้ำก็ไม่มีปัญหานะ

สุดท้ายนี้ คุณสุภาวดี ยังฝากถึงคนที่คิดอยากที่จะลองทำผักบุ้งในน้ำ ประกอบเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมว่า“การปลูกผักบุ้ง มันก็เหมือนการปลูกผักทุกอย่างแหละ คือทุกครั้งที่เราทำ ก็ต้องเอาใจใส่เขาให้มากๆ เหมือนกันนะ เราต้องดูพวกศัตรูพืช ถ้ามีวัชพืชมาเกาะหรือมาทำลายผักบุ้งของเรา เราก็ต้องเก็บ เหมือนผักที่เราปลูกทุกอย่าง ถ้าเราทำดีหรือตั้งใจ ผลผลิตที่ได้ก็จะดีตามไปเอง”