เนื่องจากฟาร์มคุณทวดได้เป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจผูกปิ่นโตข้าว

จึงสามารถสื่อสารได้กว้างไกล ผลิตภัณฑ์ของฟาร์มนอกจากข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ถั่วเหลือง แล้วยังมีพืชสวนครัว ไข่เป็ด น้ำพริกถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อื่นอีกในฟาร์ม สนนราคาข้าวไรซ์เบอร์รี่และถั่วเหลืองอินทรีย์แพ็กละ 1 กิโลกรัม ขาย 100 บาท ไม่รวมค่าส่ง ส่วนข้าวหอมมะลิกิโลกรัมละ 80 บาท จะเลือกเป็นข้าวกล้องหรือขัดขาวก็ได้ สนใจรับสินค้าปลอดภัยจากสารเคมี สามารถติดต่อได้ที่ คุณมาร์ค (084) 929-5301 Line: khunthuad Fanpage : khunthuad Farm หรือติดต่อโดยตรงที่ ฟาร์มคุณทวด ตำบลสันติสุข อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

คำแนะนำของคุณมาร์คสำหรับผู้ที่ต้องการออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนนี้คือ จะต้องศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้เสียก่อนทั้งการผลิตและการตลาด นอกจากนี้ ปัจจัยการผลิตที่เป็นทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก นอกจากนี้ การได้ทดลองทำไปก่อนในช่วงที่ยังทำงานประจำอยู่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจอย่างนี้ ถ้าไม่แน่จริง ไม่แนะนำให้ออกจากงานครับ

การบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างมาก หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงสารเคมีตกค้างโดยเลือกบริโภคพืชผลปลอดสารพิษที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ แต่สินค้าเกษตรอินทรีย์ มีราคาค่อนข้างแพงสักหน่อย หากใครอยากปลูกผักกินเอง ลองคิดนอกกรอบดูบ้าง โดยทดลองปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

การเพาะต้นกล้า

เมล็ดผักพันธุ์ดี มักมีราคาแพงมาก บางชนิดมีราคาแพงมาก เรียกว่า นับเมล็ดขาย วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงกล้า จะได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพดีน้อย และเสียหายค่อนข้างมาก เพราะต้นกล้าส่วนหนึ่งจะถูกทำลายโดยด้วงหมัดผัก ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากของผักทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะกล้า และเมื่อย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต้นกล้าก็จะช้ำ หรือเหี่ยวเฉาหรือบางต้นอาจเน่าตายไปเลย ทำให้มีต้นทุนในการเพาะปลูกผักที่สูงมาก

วิธีใช้เมล็ดพันธุ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การตกกล้าลงในกระบะเพาะ หลุมละ 1 เมล็ด ดินสำหรับเพาะกล้า อาจใช้ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักมูลสัตว์ผสมกับเศษพืชผักที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ขุยมะพร้าวหรือขี้เลื้อย และหรือเศษวัสดุอื่นๆ หมักจนได้ที่แล้วจึงนำมาร่อนด้วยตะแกรงที่มีรูขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า เพื่อแยกเอาเศษวัสดุที่มีขนาดใหญ่ออก หรืออาจแยกโดยลักษณะคล้ายๆ กับการแยกกรวดออกจากทรายที่ใช้ในการฉาบปูนสำหรับก่อสร้างก็ได้ จากนั้น จึงค่อยนำดินที่มีความชื้นเหมาะสมปลูกใส่ในกระบะเพาะ หยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงไป จึงค่อยนำดินปลูกมาโรยปิดหน้าอีกครั้ง เพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์กระเด็นหรือลอยเมื่อรดน้ำ

หลังจากนั้นจึงนำกระบะที่หยอดเมล็ดพันธุ์แล้วไปวางเรียงไว้บนชั้นที่ยกเหนือพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร ในโรงเรือน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืชที่อาจจะกระโดดขึ้นมาที่กระบะเพาะกล้าได้ คอยให้น้ำตามปกติ โดยให้น้ำ เป็นละอองฝอยขนาดเล็ก หากมีละอองฝอยขนาดใหญ่ เมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าที่งอกอาจจะเสียหาย เนื่องจากแรงกระแทกของน้ำได้

เมื่อต้นกล้าผักเจริญเติบโตมีใบประมาณ 3-4 ใบ จึงนำออกจากกระบะเพาะโดยการให้น้ำก่อนแล้วจึงค่อยๆ เคาะออก ต้นกล้าก็จะหลุดออกมามีลักษณะเป็นแท่งตามรูปทรงของรูในกระบะเพาะ จากนั้นจึงนำไปปลูกในแปลงปลูก วิธีนี้แม้ว่าจะใช้เวลามากแต่เกษตรกรสามารถประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้เป็นอันมาก และต้นกล้าแข็งแรง ไม่ชะงักหรือเหี่ยวเฉาเมื่อเคลื่อนย้ายลงแปลงปลูก และยังป้องกันความเสียหายของต้นกล้าพันธุ์จากด้วงหมัดผักด้วย

วิธีปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย การปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย โดยปกติแล้วเกษตรกรมักตัดต้นกล้วยแก่ทิ้งทุกครั้งที่ตัดเครือ ขอให้เจาะรูที่ต้นกล้วยในลักษณะทแยงลงไป ให้รูมีขนาดเท่ากับแท่งดินที่ยึดรากต้นกล้าที่ย้ายมาจากกระบะเพาะ จากนั้นจึงเอาต้นกล้า (ผักสลัด) ยัดใส่ลงไปในรูของต้นกล้วยที่เจาะไว้ โดยจำนวนรูที่จะเจาะหรือจำนวนผักที่จะปลูก จากนั้นก็ไม่ต้องรดน้ำให้ผักที่ปลูก หรือรดน้ำให้ต้นกล้วยแต่อย่างใด จะทำเพียงอย่างเดียวคือ คอยค้ำยันไม่ให้ต้นกล้วยล้มเท่านั้น

หลังจากนั้น ประมาณ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับอายุของผักที่ปลูก) ก็เก็บเกี่ยวผักไปขายได้เลย ผักสลัดที่ ปลูกมีรสชาติดีมาก หวาน และกรอบ ใบเป็นเงางาม ทั้งนี้ เป็นเพราะต้นกล้วยมีธาตุโพแทสเซียมสูงนั่นเอง ใครจะนำวิธีนี้ไปทดลองปลูกก็ได้ แต่อายุผักที่ปลูกไม่ควรจะยาวนานเกิน 40 วัน เพราะต้นกล้วยจะโทรมและเหี่ยวแห้งตายเสียก่อน ผักที่ปลูกควรเป็นผักกินใบที่ไม่ต้องการแสงแดดที่แรงมากนัก เพราะใบของกล้วยจะช่วยพรางแสงแดดได้บางส่วน

ตามที่คุณเข้าใจนั้นถูกต้องแล้วครับ มะละกอในตัวมันเองมีทั้งต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นกะเทย ต้นตัวผู้ มีช่อดอกยาว เก้งก้าง มีดอกย่อยเล็กๆ แต่ไม่สามารถพัฒนาเป็นผลต่อไปได้ ต้นตัวเมีย มีผลค่อนข้างกลมและเล็ก ไม่มีเมล็ด และต้นกะเทย มีดอกขนาดใหญ่ มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผลมะละกอที่วางจำหน่ายตามแผงขายผลไม้ หรือตามห้างสรรพสินค้า เป็นมะละกอกะเทย

อย่างไรก็ตาม หากต้นมะละกอเริ่มให้ดอกแสดงเพศชัดเจน คุณสามารถเปลี่ยนเพศได้ โดยใช้มีดคมและสะอาด ตัดยอดต้นตัวเมีย หรือต้นตัวผู้ทิ้งไป เหลือใบไว้เพียง 2-3 ใบ ทาแผลด้วยปูนกินหมาก เร่งบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 กำมือ ต่อน้ำ 1 ถัง หรือ 1 ปี๊บ กวนให้ละลายราดลงบริเวณโคนต้นพอชื้นรอบต้น ระวังอย่าให้เละ ใส่อัตราเดียวกันอีกครั้ง เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ อีกไม่นานยอดใหม่ของต้นมะละกอจะออกดอกเป็นดอกกะเทยในอัตราไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เทคนิคดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมานาน และผมเคยทดลองแล้วได้ผลดี

เทคนิคการคัดเลือกเมล็ดมะละกอให้ได้ต้นตัวผู้ด้วยการเลือกผลมะละกอที่สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ ระยะสุกแก่เต็มที่พร้อมรับประทาน ให้ตัดขวางผลมะละกอออกเป็น 3 ท่อน มีขนาดยาวใกล้เคียงกัน นำท่อนกลางมาคัดเอาแต่เมล็ดสีดำ ส่วนเมล็ดสีน้ำตาลทิ้งไป นำมาผึ่งลมจนแห้งดี เมล็ดที่ได้คุณนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ปลูกได้เลยครับ

หากตั้งประเด็นคำถาม ว่า “กัญชง” กับ “กัญชา” แตกต่างกันอย่างไร ให้ยกตัวอย่าง เชื่อว่าหลายยังคงนึกคำตอบไม่ออกมา และเมื่อถามลึกลงไปยิ่งกว่านั้น “กัญชง” ปลูกได้ทั่วไป หรือไม่ผิดกฎหมายหรือเปล่า? รายงานนี้มีคำตอบในข้อสงสัยและประเด็นคำถาม

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พาคณะสื่อมวลชน เดินทางไปยัง สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามการวิจัยเพาะปลูกกัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp)

สำหรับ กัญชง นั้นได้รับการส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ “กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp)” ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกกัญชง
สำหรับใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ใช้ในการทอเส้นใยผ้า และในเชิงอุตสาหกรรม และอนุญาตให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ขออนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง

อีกทั้งสาระสำคัญของกฎกระทรวง คือ สายพันธุ์ ของ “กัญชง” หรือ เฮมพ์ (Hemp) ที่จะปลูกได้ นั้นต้องมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง ปัจจุบัน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นหน่วยงานเดียว ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้ ตามกฏกระทรวง

“3ปีแรกหน่วยงานรัฐเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชง”
ดร.สริตา ปิ่นมณี นักวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้อธิบายถึงขั้นตอนการวิจัยว่า ปัจจุบันทางสถาบันนั้นได้ทำการวิจัย มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549

มีทั้งการปรับปรุงพันธุ์ให้มีสารเสพติดต่ำ เพื่อให้กับวัตถุประสงค์ พัฒนาวิธีการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และวิจัยเพื่อแปรรูปจากส่วนต่างๆ ซึ่งในพื้นที่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ จะมี พันธุ์ “เฮมพ์” ที่มีสารเสพติดต่ำกว่าร้อยละ 0.3 และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร แล้ว 4 พันธุ์ ประกอบด้วยพันธุ์ RBF1 RBF2 RBF3 และ RBF 4

จากสภาพแปลงปลูก “กัญชง” จะพบว่าต้นกัญชง จะสูง มากกว่า 2 เมตร ใบ ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง หากเปรียบเทียบกับ ต้น กัญชา ความสูงแยกได้ชัดเจน เพราะต้นกัญชา จะมีความสูงไม่ถึง 2 เมตร ใบกัญชามีประมาณ 5-7 แฉก การเรียงตัวของใบจะชิดกัน

ความต่างระหว่าง “กัญชง” กับ “กัญชา”

ดร.สริตา อธิบายลักษณะความแตกต่างของ “กัญชง” กับ “กัญชา” เพิ่มเติมว่า กัญชง จะมีปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เปลือกเหนียวลอกง่าย ให้เส้นใยยาวคุณภาพสูง เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกไม่มาก เมล็ดมีขนาดใหญ่และเป็นลายบ้าง ผิวเมล็ดหยาบ ด้านใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย ทำให้ผู้เสพปวดหัว มีสาร tetrahydrocannabinol (THC) น้อยกว่า 0.3% การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะแคบ เพราะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยเพียงอย่างเดียว

ส่วน ต้น กัญชา มีปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมากและแตกกิ่งเป็นแบบสลับ เปลือกไม่เหนียว ลอกได้ยาก ให้เส้นใยสั้นมีคุณภาพต่ำ เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวเมล็ดมันวาว ค่า THC ประมาณ 1-10% การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะกว้าง เพราะปลูกเพื่อต้องการใบ

กัญชง ยังคงเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภท 5

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ กัญชง หรือ”เฮมพ์” จะได้รับการอนุญาต ให้มีปลูก และสนับสนุนให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ในพื้นที่ที่กำหนด 6 จังหวัด 15 อำเภอ ได้แก่ เชียงใหม่ 4 อำเภอ คือ แม่วาง , แม่ริม,สะเมิง ,และแม่แจ่ม เชียงราย3 อำเภอ คือ เทิง, เวียงป่าเป้า , และแม่สายน่าน 3 อำเภอ คือ นาหมื่น,สันติสุข, และสองแคว ตาก เฉพาะที่ อ.พบพระ เพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง, หล่มเก่า ,เขาค้อ แม่ฮ่องสอน อ.เมือง

แต่ กัญชง ก็ยังเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ. ศ. 2522 แต่ชาวบ้านทั่วไป ยังปลูกไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายในช่วง 3 ปีแรก ต้องเป็นหน่วยของรัฐเท่านั้น ที่มีสิทธิขออนุญาต จากทางอย.

ดร.สริตา ยังอธิบายว่า ช่อดอกของกัญชง จำนวนประมาณ 30 ช่อ จึงจะมีสารออกฤทธ์เทียบเท่ากัญชาเพียง 1 ช่อ เท่านั้น แต่หากเทียบกับความคุ้มค่าที่ต้นกัญชงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ถือว่าคุ้มค่า แต่ทั้งหมดควรปลูกภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้น ชาวบ้านที่จะปลูก เฮมพ์ นั้นทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จะมีระบบควบคุมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเริ่ม ตั้งแต่การขออนุญาต จากทางอย. ให้เมล็ดพันธุ์ ที่มีปริมาณ THC ต่ำ มีแผนการปลูก เก็บเกี่ยวที่ชัดเจน และรายงานผลการดำเนินงานตลอดปี ร่วมทั้งมีการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด ป.ป.ส. ในการติดตามปลูก เก็บเกี่ยวตามแผนการผลิต ประสานหน่วยงานท้องถิ่นในการร่วมติดตามและควบคุมการเพาะปลูก ให้เป็นไปตามระบบควบคุมที่กำหนด

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. พาคณะสื่อมวลชน ไปยังชุมชน บ้านแม่สาน้อย ที่มีวิถีชีวิตยึดโยงกับต้นกัญชง มาตั้งแต่เกิดจนถึงวาระสุดท้ายของพิธีศพ ชีวิตยึดโยง ใยกัญชง ตั้งแต่เกิด – จนตาย

นายเกษม แซ่โซ่ง ชาวม้งบ้านแม่สาน้อย เล่าให้ฟังว่า ชุดใยกัญชง เป็นชุดสำคัญที่แต่ละบ้านของชาวม้งจะต้องมี เพื่อใส่เป็นชุดสุดท้ายในชีวิต ในพิธีศพของตนเอง เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าใส่ชุดใยกัญชงในวาระสุดท้ายจะได้ไปสวรรค์ ดังนั้น ทุกครัวเรือนจะต้องเตรียมปลูกกัญชงไว้ใช้ในงานพิธีดังกล่าว

นายเกษม แซ่โซ่ง ชาวม้งบ้านแม่สาน้อยนอกเหนือจากใช้ในการพิธีแล้ว ก็ยังทอใยกัญชงเอาไว้จำหน่ายบ้างในบางส่วน นายเกษม ยังบอกว่า ตอนนี้มีอุปสรรค เนื่องจาก ต้นทุนการผลิต สินค้าที่มาจากใยกัญชง ค่อนข้างมีราคาแพง ขั้นตอนการผลิตก็ยากมีหลายขั้นตอน คนเดียวก็ทำไม่ได้ ผืนหนึ่งต้องใช่เวลา เป็น ปี ต้องทำหลังจากเก็บเกี่ยว

อย่างไรก็ตาม ในอนาคต กัญชง หรือ เฮมพ์ อาจจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ได้รับการสนับสนุน อย่างแผ่หลาย กลายเป็น สินค้ามีคุณภาพ เพิ่มรายได้ ให้กับประเทศและชุมชน แต่ทุกอย่างต้องอยุ่ภายใต้ระบบควบคุมพร้อมและดีพอในการจัดการ

ในช่วงเข้าสู่สภาพอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร แนะให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวเฝ้าระวังการระบาดของ 3 แมลงศัตรูพืช คือ เพลี้ยจักจั่น หนอนม้วนใบ และหนอนกระทู้ผัก

โดยจะพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นถั่วเขียวอายุประมาณ 30 วัน สำหรับเพลี้ยจักจั่น มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ ยจักจั่นดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ทำให้ใบห่อลง หงิกงอ และใบไหม้ ในกรณีที่ระบาดรุนแรงใบจะร่วงหล่นทั้งต้น หากเกิดการเข้าทำลายก่อนระยะออกดอก จะทำให้ต้นถั่วเขียวไม่ออกดอก ส่วนการเข้าทำลายในระยะออกดอก จะทำให้ดอกร่วงและไม่ติดฝัก หรือฝักและเมล็ดลีบ ผลผลิตเสียหายมากกว่า 30-80 เปอร์เซ็นต์ หากพบให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ส่วน หนอนม้วนใบ จะพบหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และชักใยบางคลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกระจายกันออกไปหาใบหรือชักใยดึงเอาใบหลายๆ ใบมาห่อรวมกัน และอาศัยกัดกินอยู่ภายในใบที่ม้วนนั้นจนหมด จากนั้นจึงเคลื่อนย้ ายไปทำลายใบอื่นต่อไป

หากพบใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์ในระยะก่อนออกดอกถึงระยะฝักยังเขียวอยู่ หรือใบถูกทำลาย 60 เปอร์เซ็นต์หลังดอกบาน 4 สัปดาห์ ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องเฝ้าระวังหนอนกระทู้ ผัก มักพบหนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มแทะกัดกินผิ วใบด้านล่าง ทำให้เหลือแต่ผิวใบด้านบนจนมองเห็นใบโปร่งใสคล้ายร่างแห เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกกลุ่มออกไปกัดกินใบทั่วทั้งแปลง ทำให้ผลผลิตลดลง

หากพบการระบาด ให้เกษตรกรพ่นเชื้อไวรัสของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 1-2 ครั้ง กรณีที่พบใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์ในระยะก่อนออกดอกถึงระยะฝักยังเขียวอยู่ หรือใบถูกทำลาย 60 เปอร์เซ็นต์หลังดอกบาน 4 สัปดาห์ ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา- ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ฟลูอาซูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

เป็นความรู้สึกที่ดีของคนไทย ดูเหมือนว่าพืชเกษตรชนิดเดียวที่ให้ความภาคภูมิใจ ว่าเราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง นั่นคือ “พริกไทย” กล่าวกันว่า พริกไทยเป็นพืชสมุนไพรอันดับแรก ที่ให้ทั้งคุณประโยชน์ และสรรพคุณความเป็นสมุนไพร ยิ่งเราได้รู้จัก ยิ่งรักพริกไทยมากยิ่งขึ้น มากกว่าเก่าที่เราเคยมี และยังเต็มร้อยกับความภาคภูมิใจ ช่วยกันคิดด้วย พืชที่เรารู้จักมักคุ้น ที่มีชื่อต่อท้ายด้วย “ไทย” มีเพียงไม่กี่อย่าง รู้จักเช่น แตงไทย และก็มี พริกไทย

พริกไทยที่เรารู้จักกันมาก คงจะเป็นพริกไทยป่น ก็คงเป็นเพราะเรานำมาใช้ปรุงแต่งอาหารกันหลายอย่าง ต้ม ผัด แกง ทอด ใช้พริกไทยป่นปรุงแต่งรส นานหลายปีแล้ว ดร.จอห์น ครีสโตเฟอร์ สหรัฐอเมริกา บันทึกไว้ว่า พริกไทยป่น ใช้รักษาโรค บำรุงร่างกายได้ถึง 13 อย่าง รักษาโรคกระเพาะ โดยชงน้ำดื่มวันละ 3 ถ้วย ทำให้หายปวดแผลในกระเพาะ ใช้พริกไทยป่น 1 ช้อนชา ชงน้ำอุ่น 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 เวลา รักษาโรคความดันโลหิตสูง บำรุงหัวใจ ช่วยแก้ปัญหาการย่อยอาหาร แก้หวัด เจ็บคอ ทำให้ผิวหนังสดใส

พริกไทยเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงสมอง ทำให้ความทรงจำดี สมองดี ใส่ปรุงอาหารวันละ 3 ช้อนชา รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยการหมุนเวียนโลหิต พริกไทยป่นใช้โรยแผลห้ามเลือดได้ ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำมันเบบี้ออยล์ ทาและคลุมพลาสติกที่พุง ลดความอ้วนได้ ใช้สูตรนี้ทาหัวล้านปลูกผมได้ ทากล้ามเนื้อแก้ปวดเมื่อย มากมายคุณประโยชน์จริงๆ

เมื่อหลายสิบปีก่อน ตลาดพริกไทยมีปัญหา เพราะผลผลิตออกมามากเกินความต้องการของตลาด ขาดการควบคุมที่ดี เกษตรกรลงทุนปลูกกันมากแถบภาคตะวันออกและภาคใต้ รวม 12 จังหวัด

แต่ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก ตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าเกษตรชนิดนี้ มีการรวมกลุ่มของประเทศผู้ผลิตและค้าขายกัน เรียกว่า “ประชาคมพริกไทยระหว่างประเทศ” หรือ IPC : International Pepper Community เป็นกลุ่มผลิตพริกไทยป้อนตลาดร้อยละ 90 ของโลก ซึ่งขณะนั้น ประกอบด้วยประเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล มาเลเซีย และไทย ผลผลิตของไทยเรามีตั้งร้อยละ 5 ของโลกเชียวนะ

พริกไทย หรือ Pepper เป็นไม้เลื้อยยืนต้น มีอายุการให้ผลผลิตหลายปีมาก เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ต้องการน้ำเฉลี่ย 1,200-2,500 มิลลิเมตร ต่อปี อุณหภูมิระหว่าง 25-40 องศาเซลเซียส ชอบดินร่วนซุย อินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ไม่มีน้ำขัง

พันธุ์ที่นิยมปลูกแต่ดั้งเดิมคือพันธุ์ซาราวัค กับพันธุ์คุชชิ่ง ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 440 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้นทุนการผลิตประมาณ 150 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ยประมาณกิโลกรัมละ 400 บาท

การปลูกพริกไทย นิยมปลูกด้วยกิ่งชำ เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำได้ การปลูกพริกไทย ต้องมีค้าง หรือเสา หรือหลัก ให้ต้นพริกไทยเลื้อยเกาะอาศัย ส่วนใหญ่นิยมใช้ค้างเสาหลักปูนซีเมนต์ เพราะให้ความคงทนถาวร อยู่ได้นานหลายปี

ถ้าเป็นเสาหลักไม้เนื้อแข็ง จะอยู่ได้แค่ 4-5 ปี หรืออาจไม่ถึง ระยะปลูกที่นิยม 2×2 เมตร ได้ 400 ค้าง ค้างละ 2 ต้น ได้ 800 ต้น ต่อไร่ มีความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ บำรุงทุกปี อย่างน้อยต้องใช้ค้างหรือหลักละ 5 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ยเคมี ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 17-17-17 อัตราค้างละ 20-30 กรัม ปีละ 4 ครั้ง เมื่อปลูกช่วงแรกๆ ต้องให้น้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน พอต้นตั้งตัวได้ ให้น้ำ 2-3 วันครั้ง เมื่อพริกไทยให้ผลผลิตแล้ว ให้น้ำ 3-5 วัน ต่อครั้ง พริกไทยเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีพอสมควร ให้น้ำบ้างนิดหน่อยถึงไม่สมบูรณ์เพียงพอ

เกษตรกรก็ยังมีวิธีช่วยเหลือต้นพริกไทย สมัครเแทงบอล ไม่ให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะชาวสวนพริกไทยรู้ดีว่า ต้องการน้ำ ความชื้นแค่ไหน มีบางช่วงบางเวลาแทบไม่ได้ให้น้ำเลย ตรงกันข้ามกับต้องระวังอย่างมาก กรณีหน้าฝนแล้วน้ำท่วมขัง อันตรายมากทีเดียวกับกรณีพายุลมแรง ค้างเสาหลักที่ใช้มักทำให้หวั่นใจเสมอว่ามันจะโค่นล้ม เสียของ งานเข้าแน่ๆ

อีกประการหนึ่งคือ ชาวสวนจะต้องทำการตัดแต่งพุ่ม โดยทำการเด็ดใบที่เกิดบริเวณภายในทรงพุ่มออกให้หมด ตัดแต่งกิ่งแขนงที่แตกบริเวณโคนต้น จนเหนือระดับผิวดิน 8-10 เซนติเมตร ตัดออกให้โคนพุ่มโปร่ง รวมทั้งตัดยอดที่เจริญเติบโตพ้นค้างขึ้นไป

ส่วนโรคแมลงที่ควรระวัง ที่สำคัญคือโรครากเน่า โคนเน่า ป้องกันอย่าให้น้ำขัง ตัดแต่งกิ่ง หรือถ้าพบระบาด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี พวกแมลงที่พบระบาดเสมอคือ เพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อน พบระบาดในระยะติดผล ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงเด็ดขาด ควรใช้สารชีวภัณฑ์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชดีที่สุด

พริกไทย นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ท่านที่คิดจะลงทุนต้องศึกษาวิถีตลาดให้ดี พืชชนิดนี้เป็นสินค้าระดับโลก อยู่ในสายตาของผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ขออย่าให้มีปัญหาเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนเลย อนาคตยังไปได้สวย แต่ต้องอย่าละเลย ศึกษาเรียนรู้ให้ถ้วนถี่ มีข้อมูล มีความรู้ บ้านเรามีหลายคนที่กำลังจะตัดสินใจปลูกพริกไทย เพราะเห็นว่าพริกไทยเป็นพืชที่ให้ผลผลิตที่มีระยะยาว ผลผลิตออกมาหลายรูปแบบ ตั้งแต่การขยายต้นกล้าพริกไทยขาย ต้นละ 30-50 บาท ขายพริกไทยอ่อนให้ใช้ผัดเผ็ดหมูป่า ปลาไหล ไก่ หมู เนื้อ เป็นพริกไทยดำ เป็นพริกไทยขาว ทั้งแบบเม็ดและแบบป่น ให้ทั้งรสและกลิ่นปรุงแต่งอาหาร ของกินของขบเคี้ยวสารพัด น่าสนใจ เป็นอีกสินค้าหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อท่านรู้จักพริกไทยแล้ว เชื่อว่าคงรักพริกไทยมากยิ่งขึ้น