เนื่องจากอาชีพเดิมเราก็ปลูกผักอยู่แล้ว ทีนี้พอเรื่องสุขภาพมัน

ไม่ค่อยเอื้ออำนวย ก็เปลี่ยนจากไปทำที่สวนในพื้นที่กว้างๆ มาทำอยู่รอบบริเวณบ้าน ใช้วิธีการปลูกผักสวนครัวประดับตกแต่งหน้าบ้านเราให้สวยไปด้วยในตัว เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เราก็ออกแบบให้ผักขึ้นทันเวลา สามารถมีออกขายได้ทุกวัน มันก็สามารถเกิดรายได้ทุกวัน จากการปลูกผักของเรา” คุณนุจรีย์ บอก

โดยผักสวนครัวที่ปลูกหลักๆ เน้นเป็นพืชที่คนสามารถประกอบอาหารได้ทุกวัน คือ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว และอื่นๆ อีกหลายชนิด ตลอดไปจนถึงต้นหอม ผักชี การดูแลผักก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก จะรดน้ำตามความเหมาะสม ถ้าช่วงไหนที่อากาศร้อนก็รดน้ำมากกว่าทุกวัน พร้อมทั้งมีทำปุ๋ยหมักและฮอร์โมนต่างๆ จากที่ได้ไปอบรมนำมาใช้ ทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูง มีผลกำไรเยอะขึ้นจากการขายผัก

ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชนั้น คุณนุจรีย์ บอกว่า เรื่องหนอนและแมลงต่างๆ ยังไม่มีเข้ามาทำลายพืชผักจนเกิดความเสียหาย เพราะระบบนิเวศภายในสวนค่อนข้างดี คือมีแมลงที่เป็นประโยชน์คอยกำจัดแมลงศัตรูพืช จึงทำให้ภายในสวนผักของเธอไม่มีปัญหาเรื่องแมลง และที่สำคัญผักเจริญเติบโตให้ผลผลิตดีอีกด้วย

“ตอนที่เราเรียนรู้ใหม่ๆ ระบบนิเวศที่ดี เราก็ยังไม่เชื่อมั่นว่าจะดีได้ เพราะจากที่เคยทำเกษตรมาตลอด แมลงศัตรูพืชมันก็กินผักตลอด แต่ถ้าได้มาสัมผัสด้วยตัวเอง ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์ ระบบภายในสวนมันดูแลซึ่งกันและกันได้ แมลงดีช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยที่เราไม่ต้องหายาฆ่าแมลงมาฉีดเหมือนสมัยก่อนเลย ที่เห็นได้ชัดๆ คือเรื่องของสุขภาพของเราเอง ที่ดีขึ้นมาเป็นลำดับ ผักที่ปลูกก็สามารถขายได้ทุกต้น เพราะลูกค้าไว้ใจในสิ่งที่ทำ” คุณนุจรีย์ บอก

ผลผลิตขายได้ทุกวัน

เฉลี่ย 400-500 บาทต่อวัน

ในเรื่องของการทำตลาดเพื่อขายสินค้า คุณนุจรีย์ บอกว่า ในช่วงแรกที่เริ่มปลูกใหม่ๆ เน้นปลูกเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน ต่อมาเมื่อผลผลิตเริ่มมีจำนวนที่มากขึ้น ก็จะแจกจ่ายให้กับเพื่อนสนิทมิตรสหายโดยไม่ได้เน้นขายแบบจริงจัง เมื่อคนที่ได้นำผักภายในสวนของเธอไปชิม รู้สึกมีรสชาติอร่อย จึงทำให้บอกกันไปปากต่อปากทำให้มีลูกค้าเข้ามาติดต่อขอซื้อผักอยู่เป็นระยะ

“พอเราเริ่มทำผ่านมาได้ 5-6 เดือน จากการที่เราช่วงแรกก็แจกจ่ายไปก่อน ไม่ได้คิดที่จะขายอะไร เพราะผักที่เราปลูกก็เหมือนความสุขที่ได้ลงมือทำ เสร็จแล้วคราวนี้คนที่เคยนำผักไปกิน เขาก็ติดใจว่า ทำอาหารอร่อย กินสดก็มีรสชาติที่ดี บอกกันไปปากต่อปาก คนก็เริ่มเข้ามาหาซื้อผักเราถึงที่บ้าน โดยมาชมแปลงผักของเราด้วย เขาก็มีแรงบันดาลใจที่อยากจะไปทำเองที่บ้าน พอเราเห็นแบบนี้รู้สึกดีใจมาก ว่าอย่างน้อยสิ่งที่ทำสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คนได้ เพราะทำแบบนี้ไม่ได้มีผักไว้กินอย่างเดียว ยังโชว์แทนไม้ประดับได้ด้วย” คุณนุจรีย์ บอก

ซึ่งราคาผักที่ขายจะมีราคาแพงกว่าท้องตลาดเล็กน้อย เพราะทุกอย่างปลูกแบบไม่ใช้สารเคมี ดูแลในระบบอินทรีย์ ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าผักทุกต้นที่ผ่านการปลูกด้วยมือของเธอมีคุณภาพแน่นอน โดยผักขายแบบคละชนิด 400 กรัม ราคาอยู่ที่ 25 บาท ซึ่งต่อวันผักที่ขายรวมกับไข่ไก่ที่เลี้ยงไว้ สามารถทำเงินให้เฉลี่ย 400-500 บาทต่อวัน ลูกค้าก็หมุนเวียนซื้อกันทุกวัน ทำให้เธอมีรายได้จากการขายผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

การทำเกษตรรอบบ้านแบบเน้นเป็นเกษตรอินทรีย์ คุณนุจรีย์ บอกว่า สามารถมีรายได้และทำเงินได้จริง ในเรื่องของพื้นที่น้อยและมากไม่สำคัญ หากมีการพัฒนาและลงมือทำอย่างจริงจัง ก็สามารถมีรายได้จากผลผลิตที่ทำได้อย่างแน่นอน

สำหรับท่านใดที่สนใจเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และอยากเยี่ยมชมสวนสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณนุจรีย์ ทิพย์ประภาวงศ์ หมายเลขโทรศัพท์ 089-824-4322 “ขนุนทองประเสริฐ” เป็นขนุนกลายพันธุ์ ของ “คุณยงยุทธ วงษ์วิราษฎร์” เกษตรกรชาวอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประมาณปี 2529 คุณยงยุทธ์ได้นำเมล็ดของขนุนเนื้อดีจากจังหวัดยะลา จำนวน 20 เมล็ด มาเพาะขยายพันธุ์จนแตกต้นนำไปปลูก ปรากฏว่า ต้นขนุน 1 ใน 20 ต้น ที่นำมาปลูกได้กลายพันธุ์ และมีลักษณะเด่นคือ สามารถติดผลดีได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ย 10-15 กิโลกรัมต่อผล

เนื้อสุก มีสีเหลืองทอง เนื้อหนา รสชาติหวานกรอบอร่อยมาก คุณยงยุทธตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ว่า “ขนุนทองประเสริฐ” พร้อมจำหน่ายกิ่งพันธุ์ให้แก่ผู้สนใจ ปัจจุบัน เกษตรกรนิยมปลูก “ขนุนทองประเสริฐ” เพื่อแกะเนื้อขายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชีย ที่ชื่นขอบการบริโภคขนุนทองประเสริฐอย่างมาก

พื้นที่ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งใหญ่อีกแห่งในการปลูกขนุน ซึ่งชาวสวนที่นั่นได้รวมตัวกันทำขนุนแปลงใหญ่ ในนามวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ขนุน ตำบลหนองเหียง เน้นปลูกขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ ที่มีลักษณะพิเศษสามารถนำผลเล็กๆ ไปแปรรูปได้

ผลผลิตส่วนใหญ่ของที่นี่ส่งออกต่างประเทศทั้งในรูปแบบผลสดและแบบแกะเนื้อแช่แข็ง ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนและเวียดนาม ทั้งอยู่ระหว่างเตรียมการส่งไปยุโรป ส่วนลูกเล็ก-ผลสุกที่ไม่ได้คุณภาพนำมาแปรรูปทำเป็นขนุนลอยแก้ว ขนุนเชื่อมอบแห้ง และแยมขนุนซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก เป็นขนุนที่ปลูกได้มาตรฐาน GAP มีสมาชิก 74 ราย ในพื้นที่ 749 ไร่ มี คุณสมจิตร พรมมะเสน เป็นประธานกลุ่ม โดย คุณภูวเดช จินาเคียน เกษตรกร หมู่ที่ 7 ตำบลหนองเหียง เล่าว่า สมัครเป็นสมาชิกแปลงใหญ่ขนุนหนองเหียง ได้พัฒนาระบบน้ำเพื่อใช้การตรวจวัดความชื้นในแปลงปลูก มาเป็นตัวกำหนดจำนวนครั้งและปริมาณน้ำในการให้น้ำแปลงปลูกทั้ง 4 ไร่ จำนวน 160 ต้น ได้ผลผลิตประมาณ 5 ตัน ต่อไร่ ในปีที่ผ่านมาราคาขนุนดีอยู่ที่ 37 บาท ต่อกิโลกรัม

“การปลูกขนุนขุดหลุมลึก 50 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ห่างกัน 5.5-6 เมตร ใช้พันธุ์ทองประเสริฐจากจังหวัดระยอง เดิมเป็นพันธุ์ที่ใช้ต่อกิ่ง แต่ช่วงหลังใช้แบบติดตาด้วย ก่อนปลูกใช้ปุ๋ยคอกขี้ไก่คลุกกับดินใส่ก้นหลุม จากนั้นใช้ปุ๋ยเคมีสลับกับปุ๋ยคอก 2 เดือน ต่อครั้ง ประมาณ 4-5 ครั้ง ต่อปี และใส่ปุ๋ยคอกรอบๆ นอกโคนหลุม ช่วงที่ใกล้เก็บผลผลิตประมาณ 3 เดือน จะไม่ฉีดสารเคมี ฉีดเฉพาะช่วงขนุนเริ่มออกดอก กันแมลง ฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งแป้ง และบำรุงผิวให้ผิวดูสวย เป็นช่วงที่ขนุนอ่อนๆ ถึงประมาณ 3 เดือนแล้วจะเลิกฉีดสารเคมี”

คุณภูวเดช บอกด้วยว่า การปลูกขนุนใช้เวลาปลูก 2 ปีขนุนจะออกดอกออกผล แต่ไว้แค่ 1-2 ลูก ต่อต้น เพราะต้นอายุยังน้อยรับน้ำหนักไม่ได้ ถ้าอายุต้น 3 ปี เพิ่มลูกได้อีก 5 ลูก ต่อต้น ระยะการไว้ลูกให้ไว้กิ่งที่ห่างกัน ระยะ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร เก็บไว้กิ่งละ 1 ลูก นอกนั้นตัดขายขนุนอ่อนส่งในประเทศ ขนุนอ่อนระยะ 1 เดือนกว่าๆ แล้วแต่ลูกจะโตเร็ว จะตัดที่ 1-3 กิโลกรัม ถ้าต้นสมบูรณ์ให้น้ำที่เพียงพอจะออกทั้งปี แต่ชาวสวนมักเร่งออกในช่วงที่ราคาดีราคาสูงตั้งแต่ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ถ้าไปในช่วงเมษายน-พฤษภาคม จะไปเจอช่วงทุเรียนออก ราคาจะร่วงลงมา

สำหรับปัญหาของการปลูกขนุนคือ เชื้อราที่น่าจะเกิดจากมูลขี้ไก่ที่ไม่ได้นำมาพักไว้ก่อนใส่ อีกอย่างคือ ขั้วเน่าเกิดจากมีแมลงไปเจาะตรงก้านของขนุน แก้ปัญหาโดยใช้สารชีวภัณฑ์พ่นป้องกันไว้ ปัญหาอื่นๆ ก็มีเรื่องน้ำ ขนุนต้องการน้ำตลอดเพื่อให้ชุ่มชื้นตลอด แต่ไม่ต้องการแฉะ ไม่ใช่ให้น้ำจนขัง ในสวนของตนเองขุดบ่อไว้รองรับน้ำฝนช่วงหน้าฝน ใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์เป็นน้ำหยด ถ้าไม่ได้ขุดบ่อบาดาลจะมีปัญหาช่วงเดือนเมษายน ถ้าขาดน้ำขนุนผิวจะแดง ไม่โต ผิวจะออกเป็นสีน้ำตาล

“ในการดูแลขนุน ต้องดูแลเรื่องผิวมีฮอร์โมนฉีดพ่นเพื่อไม่ให้มีแมลงรบกวนให้สีผิวเป็นสีมรกต แต่สวนของผมเป็นสวนที่มีเครื่องหมาย GAP ต้องเน้นสารชีวภัณฑ์ ลูกที่จะตัดส่งออก ต้นจะมีอายุประมาณ 4 ปี 1 ต้นต้องเก็บลูกไว้ 8 ลูกตามมาตรฐาน ลูกจะสมบูรณ์ รูปทรงสวย น้ำหนัก 12-15 กิโลกรัม ที่เกรดเอที่เราส่งนอก ถ้าน้ำหนักได้ 10 กิโลกรัม เป็นเกรดเอได้เลย ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ถ้ารูปทรงได้ หัวไม่จุกเหมือนไส้ได้เกรดเอหมด”

สำหรับขนุนที่ส่งขายต่างประเทศ ต้องไม่มีการเจาะของแมลง ผิวเป็นสีเขียว เก็บประมาณ 80% ของความแก่ของขนุน ไม่แก่จัด เพราะต่างประเทศชอบรับประทานไม่งอมจัด ไม่หวาน แต่ถ้าตัดขายภายในประเทศต้องประมาณ 95%

พริกไทยสุดยอดเครื่องเทศที่รู้จักกันดีทั่วโลก คุณสมบัติของพริกไทยมีความโดดเด่นเรื่องความเผ็ดร้อนและหอมฉุน อันเป็นลักษณะเฉพาะที่ทำให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านโภชนาการ ทางการแพทย์ หรือแม้แต่ในวงการความสวยงาม สิ่งเหล่านี้ทำให้พริกไทยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้ปลูกได้อีกด้วย

พริกไทยที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบอาหารมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ พริกไทยดำ และพริกไทยขาว ความต่าง ไม่ได้อยู่ที่สายพันธุ์ของต้นพริกไทย แต่อยู่ที่ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว อย่างพริกไทยดำเกิดจากการเก็บผลที่มีสีเขียวแก่ ยังไม่สุก ตากแห้งทั้งเปลือกจนกลายเป็นพริกไทยดำ

ส่วนพริกไทยขาวเก็บมาจากผลพริกไทยที่สุกแก่เต็มที่ มีสีส้มหรือสีแดง มาแช่ในน้ำเพื่อลอกเปลือกออก แล้วจึงนำเอาเฉพาะเม็ดไปตากให้แห้งก่อนนำไปแปรรูปขายแบบเม็ดหรือป่น แต่ก็มีหลายเมนูนิยมใช้พริกไทยอ่อนที่ยังไม่สุกทั้งช่อใส่ลงในอาหารสร้างรสชาติเผ็ดร้อน หอมยวนใจ

แหล่งปลูกพริกไทยเก่าแก่และมีขนาดใหญ่อยู่จังหวัดจันทบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอท่าใหม่ ภายหลังมีไม้ผลทางเศรษฐกิจหลายชนิดที่มาแรงจนเบียดพื้นที่ปลูกพริกไทยน้อยลง กระนั้นชาวบ้านอีกหลายอำเภอยังคงปลูกพริกไทยเป็นอาชีพสร้างรายได้ต่อไปเพื่อรักษาฐานตลาดที่มีอยู่ไม่ให้หายไป

อย่างสวนพริกไทยของ คุณปัทมา วงค์นพรัตน์ หรือ ครูเข็ม บ้านเลขที่ 111/1 หมู่ที่ 1 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ที่มีชื่อว่า “สวนวงค์นพรัตน์” มีผลิตภัณฑ์พริกไทยทั้งแบบเม็ดและผง แบรนด์ “ครูเข็ม พริกไทยจันท์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน แล้วยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI

ครูเข็มบอกถึงจุดเริ่มต้นที่ทำสวนพริกไทยว่า แต่เดิมครอบครัวปลูกไม้ผลหลายชนิด อาทิ ทุเรียน ลองกอง มังคุด หรือแม้แต่ยางพารา เหตุผลที่มาปลูกพริกไทยเนื่องจากญาติทางแฟนมีสวนพริกไทยอยู่อำเภอท่าใหม่แหล่งปลูกพริกไทยขนาดใหญ่เก่าแก่ของจันทบุรี

“พริกไทยที่ปลูกในพื้นที่ท่าใหม่มายาวนานส่งผลต่อคุณภาพพริกไทยด้อยลงอันมาจากคุณภาพดินที่ลดลงเช่นกัน จึงนำพริกไทยมาปลูกที่แก่งหางแมวซึ่งยังเป็นพื้นที่ใหม่ ดินใหม่ ทำให้พริกไทยมีคุณภาพดี กับอีกเหตุผลที่สนใจเนื่องจากอาชีพทำผลไม้ต้องแข่งกับเวลาเมื่อถึงช่วงออกผลผลิตต้องขายทันที แต่พริกไทยรอได้หากยังไม่พร้อม ไม่ต้องรีบ เก็บไว้แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าก่อน แถมได้ราคาดีด้วย”

ดันเป็นกลุ่มพริกไทยแปลงใหญ่
เตรียมขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ GI
ครูเข็มเริ่มปลูกพริกไทยปี 2542 จากที่เป็นดินใหม่ทำให้พริกไทยมีคุณภาพ ดก สวย กลิ่นและรสชาติดี ทำให้ตอนนั้นราคาขายดีมาก ชาวบ้านหลายอำเภอนอกจากท่าใหม่แห่มาปลูกพริกไทยกันจนผลผลิตล้นตลาดส่งผลให้ราคาลดลงมา แต่สวนครูเข็มไม่กังวลเพราะสามารถทำกำไรจากการขายพริกไทยในช่วงเริ่มต้นอย่างดี แม้ตอนนี้ราคาจะลดลงก็ตามแต่ไม่ได้กระทบกับรายได้

ผลจากราคาพริกไทยลดลงทำให้ชาวบ้านหลายรายหยุดปลูก ทางเกษตรจังหวัดเกรงว่าหากพื้นที่ปลูกพริกไทยเหลือน้อยอาจส่งผลต่อผลผลิตพริกไทยในอนาคต จึงรวบรวมชาวบ้านที่ยังคงปลูกตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ พร้อมสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือพัฒนาทุกกระบวนการตั้งแต่การปลูก การเก็บผลผลิต การแปรรูป และการตลาด ทั้งยังผลักดันให้พริกไทยจันทบุรีเป็นผลิตภัณฑ์ GI เพื่อมุ่งเน้นยกระดับมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

สำหรับสวนพริกไทยครูเข็มปลูกพันธุ์ซาราวัคเพื่อการค้า ครั้งแรกปลูกจำนวน 1,000 หลัก หรือ 1,000 ค้าง ปลูกมาได้สัก 1 ปีจึงขยายจำนวนพันธุ์เพิ่มอีก ส่วนพันธุ์อื่นปลูกไว้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและให้ความรู้แก่หน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่สนใจเพราะที่สวนเป็นศูนย์เรียนรู้

พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์คุชซิ่ง เป็นพันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจันทบุรีนิยมเรียกพันธุ์มาเลเซีย นิยมปลูกกันมากเพราะมีคุณสมบัติต้านทานโรคเน่าได้ดีกว่าพันธุ์อื่น เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง

ลักษณะพื้นที่ปลูกพริกไทยสวนครูเข็มมีความลาดเอียง เหมาะกับการปลูกเพราะต้นพริกไทยไม่ชอบน้ำขังหรือแล้ง ชอบน้ำแต่ไม่ชอบแฉะ เริ่มต้นปลูกต้องใช้รถแบ๊กโฮไถแปลงให้ทั่วทั้งหมดก่อน การใช้แบ๊กโฮเพราะต้องการพลิกหน้าดินให้ลึก 60-70 เซนติเมตร

โดยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พริกไทยเป็นพืชในตระกูลไม้เถาเลื้อย เวลาปลูกจึงไม่ต้องการรากแก้วที่แข็งแรง แต่ต้องการเสาหลักค้ำยันไว้ให้เลื้อยเติบโตได้ดี ดังนั้น จึงพบเห็นต้นพริกไทยเลื้อยขึ้นตามไม้ใหญ่ แต่หากปลูกเชิงการค้าต้องปักเสาหรือค้างแทน

กำหนดระยะ 2 คูณ 2 เมตร เพื่อปักเสา ใช้เสาซีเมนต์ขนาดความสูง 4 เมตร ฝังเสาลงดินลึก 70 เซนติเมตร เมื่อปักเสาที่ต้องการปลูกเสร็จแล้วให้คลุมแปลงทั้งหมดด้วยซาแรนขนาดความเข้ม 60-70 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่ต้องการแดดแรงในช่วงเริ่มปลูกเนื่องจากมีผลเรื่องการแตกกิ่ง

กิ่งที่ใช้ทำพันธุ์ตัดมา 5 ข้อปล้อง ริดกิ่งเล็กออกเหลือใบไว้เล็กน้อย ให้ปักทั้งกิ่งลงดินลึก 3 ข้อ โดย 1 หลักจะปลูก 2 กิ่ง เมื่อแตกยอดใน 1 กิ่งจะแตกเป็น 2 ยอด (ดังนั้น 1 หลักจะได้ 4 ยอด ซึ่งพอดีเหลี่ยมเสา 4 ด้าน) เมื่อปักครบแล้วให้รดน้ำทุกวัน ประมาณ 20 วันจะเริ่มแตกตา จากนั้นเว้นช่วงรดน้ำวันเว้นวันหรืออาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความชื้นในดิน

พริกไทยชอบปุ๋ยหมัก ต้องเฉพาะมูลวัวเท่านั้นเนื่องจากมูลชนิดอื่นมีความร้อน เดิมชาวบ้านต่างทำปุ๋ยหมักใช้กันเอง แต่ภายหลังการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ทำให้ชาวบ้านร่วมกันผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้จากมูลวัว แกลบดำ ขุยมะพร้าว และเศษพืชหลายชนิดที่มีในพื้นที่ร่วมกับสาร พด. จากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ ทั้งยังช่วยลดภาระต้นทุนของเกษตรกรได้อีก

ปุ๋ยหมักให้ใส่เมื่อเข้าหน้าฝนใส่ต้นละ 2-3 กำมือรอบต้น ถ้าใส่ไปแล้วพบว่ายอดยังไม่แตกหรือแตกช้ากว่ากำหนดให้เติมปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงตามลงไปเล็กน้อยเท่านั้นเพราะต้องการกระตุ้นให้แตกใบอ่อนเพื่อให้เกิดดอกตามมา ปุ๋ยคอกใส่ปีละครั้งเฉพาะหน้าฝน การให้น้ำใช้ระบบสปริงเกลอร์ ควรดูความเหมาะสมทั้งสภาพอากาศและความชื้นในดิน

เมื่อยอดแตกยาวออกจะต้องใช้เชือกฟางมัดติดกับหลักทุกข้อ ให้มัดไปจนถึงปลายเสา อีกไม่นานจะมีรากอากาศแตกออกเกาะติดกับเสา (คล้ายต้นตีนตุ๊กแก) ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์ให้รอครบปีจึงตัดกิ่งออกนำไปขยายพันธุ์ต่อ แต่หากต้องการผลผลิตให้ดูแลเลี้ยงต้นต่อไปจนครบ 2 ปี พร้อมกับดึงซาแรนออกให้หมดเพื่อให้แสงส่องเตรียมสร้างผลผลิต ทั้งนี้ แนะนำให้ดึงซาแรนออกในช่วงเข้าหน้าฝนเพราะต้นพริกไทยจะได้พร้อมปรับตัว

ใช้คนเก็บที่มีทักษะ ความชำนาญ เพื่อลดความเสียหาย
ผลผลิตเก็บปีละครั้ง ปกติจะเริ่มเก็บต้นปี แต่หากไม่พร้อมจะเลยไปเก็บช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ครูเข็ม เผยว่า พริกไทยที่ปลูกรุ่นแรกมักจะให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ เพราะปลูกด้วยดินใหม่จึงทำให้ต้นได้รับธาตุอาหารสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม คุณภาพพริกไทยจะค่อยลดลงตามจำนวนปีที่ปลูก

เนื่องจากผลผลิตพริกไทยมีลักษณะเป็นช่อที่มีเม็ดเกาะ ดังนั้น การเก็บผลผลิตจึงต้องใช้ความระมัดระวัง พิถีพิถันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย คนเก็บจะต้องมีทักษะ ความชำนาญ ครูเข็ม บอกว่า ที่สวนจะจ้างคนเก็บจากทางจังหวัดสุรินทร์ เป็นคนเก็บพริกไทยที่ว่าจ้างกันมานับสิบปี หลังจากเสร็จฤดูทำนาพวกเขามีเวลาว่างประจวบกับเป็นช่วงกำลังจะเก็บพริกไทย คนเหล่านั้นจะเดินทางมารับเหมาจนเสร็จ โดยแต่ละคนเก็บได้วันละไม่ต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ใช้เวลาเก็บทั้งหมดประมาณ 2 เดือน

หลังจากเก็บผลผลิตจากต้นแล้วนำไปตากแดดที่ลาน ให้ตากแดดจัด 1 แดด แล้วจึงนำเข้าเครื่องตีเพื่อแยกเม็ดออกจากรวง จากนั้นนำเม็ดมาตากแดดจัดอีก 5 แดดเพื่อป้องกันไม่ให้มีราขึ้น หากยังไม่ต้องการแปรรูปให้นำใส่กระสอบข้าวไปเก็บไว้ในห้องที่มิดชิดอย่าให้โดนความชื้น

แบรนด์ “ครูเข็ม พริกไทยจันท์” มีผลิตภัณฑ์พริกไทยทั้งแบบเม็ดและป่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน แล้วยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI การได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI มีส่วนสำคัญทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค เพราะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดกรองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูก ดูแลใส่ปุ๋ย เก็บผลผลิต แปรรูปอย่างเข้มงวด

พริกไทย นอกจากจะเป็นเครื่องเทศที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ให้กลิ่นหอม ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สามารถสร้างรายได้อีกด้วย

หากต้องการพริกไทยที่เผ็ด ร้อน หอม ฉุน สอบถามข้อมูลหรือติดต่อสั่งซื้อพริกไทยคุณภาพแบรนด์ “ครูเข็ม พริกไทยจันท์” ได้ที่ FB : สวนนพรัตน์ หรือโทรศัพท์ 086-174-7988

ส้มเขียวหวาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ส้มบางมด” เทคนิคการเลี้ยงต้นส้มบางมดในช่วงแรกมีการลองผิดลองถูกเรื่องการเลี้ยงต้นส้ม ต้นส้มใช้ระยะเวลาในการเติบโตอยู่ที่ 3 – 6 ปีกว่าจะได้ต้นส้มที่โตเต็มที่และสามรถเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ช่วงปีแรกต้นส้มจะแตกใบอ่อนออกมาชาวสวนจะเริ่มกักท้องร่องให้น้ำแห้งเพื่อให้ต้นเหี่ยว และพอถึงฤดูฝนเจ้าฝนที่ตกลงมาในหน้านั้นจะทำให้ต้นส้มยิ่งผลิดอกและออกผลเป็นอย่างดี

ปีที่ 2 ชาวสวนจะทำการกักน้ำอีกครั้งเหมือนปีแรก เมื่อเริ่มเข้าปีที่ 3 ต้นส้มจะโตเต็มที่ผลสุกกินได้ ซึ่งโดยส่วนมากชาวสวนจะเก็บผลส้มแค่ช่วงล่างๆ เท่านั้น พวกเขาจำเป็นต้องเหลือส้มไว้เลี้ยงลำต้นด้วย

ถัดมาปีที่ 4-5 ปี ชาวสวนถึงจะเก็บช่วงบนของต้นส้มได้ ทำให้ชาวสวนเก็บผลผลิตได้มากกว่าปีแรกๆ และเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ต้นส้มพร้อมโตเต็มที่เราจึงไม่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกไว้อีกแล้ว ชาวสวนสามารถเก็บผลส้มได้ทั้งต้น

สรุปได้ว่าเมื่อครบ 1 ปีชาวสวนสามารถเก็บผลผลิตได้เลยไม่จำเป็นต้องเลี้ยงลำต้น ซึ่งนั้นส่งผลทำให้ชาวสวนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และพอส้มเขียวหวานหรือส้มบางมดเริ่มติดผลดก มีผลผลิตตลอดทั้งปี ทำให้ผลตอบแทนต่อไร่จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรจึงหันมาปลูกส้มเขียวหวานมากขึ้นนั้นเองค่ะ

ผู้เขียนและทีมงาน คือคนขับรถและช่างภาพ (สมัครเล่น) ได้เดินทางไปจังหวัดเลย เริ่มต้นที่อำเภอด่านซ้าย เมื่อเอ่ยถึงอำเภอด่านซ้าย ผู้อ่านทุกท่านต้องนึกถึงประเพณีแห่ผีของจังหวัดเลย ประเพณีการแห่ผีตาโขนของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เขามีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ลูกหลานเลยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือเอกลักษณ์ของเมืองเลย

เมืองเลยนั้น มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาเสียส่วนใหญ่ mindymeyer4senate.com ที่ราบนั้นมีน้อยมาก ชาวเมืองเลยจึงทำการเกษตรกันบนภูเขานั่นแหละ สมัยก่อนนั้นใครอยากได้ที่ทำกินตรงไหนก็เข้าไปจับจองเอาได้เลย ไม่มีใครว่า แต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้แล้ว ใครไปบุกรุกมีสิทธิ์เข้าคุกได้ง่ายๆ

เช่นเดียวกับครอบครัวของ คุณชูเกียรติ นาคพรม พ่อแม่เขาได้มาจับจองที่ดินทำกินไว้ ที่บ้านเลขที่ 4 ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ทั้งหมดประมาณ 30 ไร่ เป็นที่ดินติดลำห้วย เป็นเชิงเขา มีที่ราบให้ทำไร่ข้าวโพดหรือพืชไร่ได้อย่างสบาย หลังจากพ่อแม่แก่แล้ว คุณชูเกียรติจึงสานต่อ

แปลงปลูกถั่วเหลืองและผักกาดขาวปลีของคุณชูเกียรติยาวสุดลูกตา ถึงแม้จะเป็นที่ดินที่ไม่ใช่โฉนด เป็นแค่ใบจอง หรือใบเสียภาษี แต่ก็มีคนอยากได้ที่ดินแปลงนี้ เพราะอยู่ติดลำห้วย น้ำท่าไหลตลอดทั้งปี จะปลูกผักอะไรก็ได้ แต่คุณชูเกียรติไม่ยอมขายให้ใคร

“ผมว่าการขายที่ดินซึ่งไม่ใช่โฉนดมันก็มีความผิดอยู่แล้ว แล้วผมจะขายทำไม ในเมื่อที่ดินผืนนี้เหมือนขุมทองให้เราขุดหากินได้ตลอดทั้งชีวิต” คุณชูเกียรติ เขาก็พูดแบบคนขยันทำมาหากิน แต่สำหรับคนขี้เกียจไม่ชอบทำมาหากิน พ่อแม่เสียชีวิต ลูกก็มักจะขายที่ดินของพ่อแม่กินจนหมด คนประเภทนี้ก็มีอยู่มิใช่น้อยสำหรับประเทศไทยเรา

ผู้เขียนและทีมงานได้ไปนอนบ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลกกสะทอน อากาศดีมาก หน้าร้อนก็เป็นหน้าหนาว กลางคืนอากาศเย็นสบายจนต้องห่มผ้าห่มนวม ไม่ต้องใช้แอร์ให้เปลืองไฟฟ้าเลย

คุณชูเกียรติ บอกว่า เขาปลูกผักหลายชนิด ส่งลูกเรียนหนังสือถึง 3 คน คนโตเรียนจบพยาบาลที่พิษณุโลก ได้ทำงานราชการแล้ว คนที่ 2 กำลังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ คุณชูเกียรติปลูกผักกาดขาวปลีสลับกับถั่วเหลือง ผักกาดขาวปลีนั้นต้องปลูกในฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม ผักกาดขาวปลีเป็นผักอายุสั้น ทำเงินง่าย แค่ 45 วัน ก็ได้เงินแล้ว อีกอย่างเป็นผักที่มีน้ำหนักต่อหัวมาก 1 ไร่ จะได้ผักกาดขาวปลี หนักถึง 10,000 กิโลกรัม ถ้าดินดีก็จะได้ถึง 20,000 กิโลกรัม เกษตรกรจะตัดขายส่งให้พ่อค้าคนกลางมารับเอาที่ไร่ จะได้กิโลกรัมละ 8-10 บาท ปลูก 10 ไร่ ก็เห็นเงินแสนได้ หักต้นทุนออกแล้วจะเหลือประมาณไร่ละ 40,000 บาท ผักกาดขาวปลีต้องใช้ปุ๋ยเคมีมาก ต้นทุนการปลูกจึงต้องมาก แต่ 1 ปี จะปลูกได้ครั้งเดียวคือฤดูหนาวเท่านั้น พอถึงฤดูร้อนคือเดือนมีนาคม เมษายน จะปลูกผักกาดขาวปลีไม่ได้ เพราะผักกาดขาวปลีจะไม่เข้าหัว จึงต้องปลูกถั่วเหลือง เรียกว่าปลูกตามออเดอร์ของผู้สั่งซื้อ หรือความต้องการของตลาดเท่านั้น

สำหรับถั่วเหลืองนั้นปลูกเท่าไรก็จะขายได้หมด ทางบริษัทจะเอาพันธุ์ไปให้เกษตรกรปลูกพันธุ์เชียงใหม่ จะได้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่น คือ 360 กิโลกรัม ต่อไร่ 10 ไร่ จะได้ 3,600 กิโลกรัม 20 ไร่ จะได้ 7,000 กิโลกรัม ต่อ 1 รอบ ในระยะเวลา 90 วัน หรือประมาณ 3 เดือนเศษ พ่อค้าจะให้ราคาที่ไร่ กิโลกรัมละ 20 บาท โดยเกษตรกรไม่ต้องออกไปขายที่ไหน แต่ในปัจจุบันจะได้ราคา กิโลกรัมละ 22 บาท เรียกว่าภายใน 1 ปี ไร่ของคุณชูเกียรติจะมีรายได้จากผักกาดขาวปลีและถั่วเหลือง ทำให้มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องออกไปเร่ร่อนหางานที่ไหน ขายถั่วเหลือง 7,000 กิโลกรัม (20 ไร่) หักต้นทุนออกจะเหลือประมาณ 50,000-60,000 บาท ในระยะเวลา 3 เดือน ก็เท่ากับเกษตรกรมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท โดยมีแรงงาน 3 คน คือ พ่อ แม่ ลูก แต่ชีวิตเกษตรกรบนดอยเขาไม่มีรายจ่ายอะไรมากมาย ไม่ต้องออกไปไหน ไม่มีค่าน้ำมันรถ ค่าเสื้อผ้าราคาแพง อินเตอร์เน็ต ชีวิตนี้ปราศจากหนี้สิน ก็น่าจะมีความสุขอย่างพอเพียง