เนื่องจาก ชันโรง” มีลำตัวขนาดเล็กและลักษณะการบินไม่เป็น

แนวตรงหรือโค้งการบินของชันโรงจะเป็นแบบหักมุมซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ทำให้หลบศัตรูได้ง่าย ยากแก่การจับกินของแมลงและนกต่างๆ ภายในรังของชันโรงจะเก็บยางไม้ไว้สำหรับป้องกันศัตรู เรื่องของศัตรูจึงไม่ค่อยมี

จะเห็นได้ว่า ชันโรง เป็นแมลงผสมเกสรที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่ทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) มีการศึกษาวงจรชีวิต ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รู้จักวิธีการเลี้ยง การดูแลอนุรักษ์ และยังมีนโยบายในการใช้ชันโรงผสมเกสรพืช หากเกษตรกรผู้ใดสนใจหรือมีปัญหาข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงชันโรง และใช้ชันโรงผสมเกสรพืช กรุณาติดต่อโดยตรงกับทาง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) โทรศัพท์ 077-574-519-20 ได้ทุกวัน ในเวลาราชการ

เทคโนโลยีชาวบ้านจัดงานใหญ่ประจำปี! “นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรกรไทยยุค 5G” ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ที่ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ข่าวสด จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

“แตงร้าน” เป็นหนึ่งในพืชตระกูลแตงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และได้รับความนิยมบริโภคทั่วโลก โดยในประเทศไทยนั้นมีแหล่งผลิตกระจายอยู่ทั่วทุกภาค แต่ละปีนั้นมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 10,000 ไร่ และบางปีอาจสูงถึง 20,000 ไร่ ตามราคาผลผลิตที่สูงขึ้น (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ระหว่างปี 2557-2562) นอกจากนี้ อีกจุดเด่นหนึ่งคือเป็นพืชใช้น้ำน้อย อายุสั้น ให้ผลผลิตเร็ว เกษตรกรจึงนิยมปลูกเป็นพืชเสริมในช่วงฤดูแล้ง หรือระหว่างฤดูการผลิตพืชชนิดอื่น สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ทุกวัน

คุณสุพัฒน์ พรมประสิทธิ์ วัย 30 ปี ชาวบ้านหมู่ 6 บ้านวังหัวแหวน ต.วังหามแห อ.ขาณุวรลักษณบุรี จ.กำแพงเพชร เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกแตงร้านเสริมกับพืชไร่อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง ต่อเนื่องมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ โดยเมื่อปลูกมาได้สักระยะ รายได้จากพืชเสริมชนิดนี้เริ่มแซงพืชหลัก ทั้งยังสามารถทำเงินได้ไว สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะสั้นเพียง 35-38 วัน ใน 1 ปีสามารถปลูกได้ 3-4 รอบ ต่างจากพืชไร่ที่ปลูกได้เพียงปีละรอบ คุณสุพัฒน์ จึงหันมายึดการปลูกแตงร้านเป็นอาชีพเต็มตัวกว่า 10 ปี บนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 15 ไร่

กว่าจะมาถึงวันนี้ คุณสุพัฒน์ ผ่านการลองผิดลองถูกมาไม่น้อย ลองมาแกะรอยความสำเร็จของเกษตรกรหนุ่มคนนี้กัน เลือกสายพันธุ์เหมาะสม
ปัจจัยช่วยให้มีตลาดรองรับ-คุ้มค่าต้นทุน
คุณสุพัฒน์ เล่าว่าตนเองนั้นเคยทดลองปลูกแตงร้านมาแล้วหลายสายพันธุ์ด้วยกัน จนมาลงตัวที่พันธุ์ “เขียวอมตะ 2” เนื่องจากมีลักษณะตรงตามที่ตลาดต้องการคือ ผลทรงกระบอก ความยาวผลประมาณ 18-22 เซนติเมตร ผิวสีเขียวนวลสม่ำเสมอ เนื้อหนา ก้นไม่เหลือง และทนทานต่อการขนส่ง

แต่นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว คุณสุพัฒน์ บอกว่าอีกปัจจัยที่ควรคำนึงถึงคือเรื่อง “คุณภาพของเมล็ดพันธุ์” ต้องมีความทนทานต่อโรค-สภาพอากาศ และอัตราการงอกสูง เพราะหากต้นอ่อนแอเป็นโรคก็ต้องถอนทิ้ง หรือถ้าเมล็ดไม่งอก ก็ต้องปลูกซ่อม ทั้งหมดนั้นล้วนส่งผลต่อต้นทุนโดยตรง เกษตรกรจึงต้องคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งแตงร้านพันธุ์ “เขียวอมตะ 2” นั้นตอบโจทย์ทั้งในแง่ของการตลาดและในมุมของเกษตรกร

“เตรียมแปลง-ตากดิน” จุดเริ่มต้นสำคัญ
ช่วยลดโรค-เติมธาตุอาหารเตรียมความพร้อมให้พืช
การเตรียมดินให้ถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังเป็นการลดปัญหาจากศัตรูพืช และโรคทางดิน อย่าง “โรคเหี่ยว” ซึ่งเป็นโรคสำคัญของพืชตระกูลแตง ลักษณะอาการของโรคนี้คือ ใบจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา มีสาเหตุเกิดได้ทั้งจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในดิน

ก่อนปลูกแตงร้าน คุณสุพัฒน์ จึงต้องตรียมแปลงด้วยการ “ไถดะ” พร้อมตากดินไว้อย่างน้อย
7 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช โรค-แมลงที่อาศัยอยู่ในดิน จากนั้นตามด้วยการ “ไถแปร” อีกประมาณ 2 รอบ เพื่อเตรียมดินให้มีเนื้อละเอียดร่วนซุยเหมาะแก่การปลูกพืช

โดยระหว่างไถแปรรอบแรก คุณสุพัฒน์ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพ และร่วมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 ในอัตราส่วน 1:1 คือ 25 กก./ไร่ โรยรองพื้นไปตามแนวรอยไถ จากนั้นเมื่อไถแปรรอบต่อมา ใบผานของรถไถก็จะช่วยคลุกเคล้าปุ๋ยไปกับเนื้อดิน ช่วยให้ได้ดินที่มีคุณภาพ เตรียมพร้อมสำหรับการลงเมล็ด

คุณสุพัฒน์ เผยว่า ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 นั้น จะช่วยกระตุ้นให้เมล็ดแตงร้านงอกได้เร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในระยะแรก เมื่อใช้ควบคู่กับปุ๋ยชีวภาพที่ช่วยปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย จะยิ่งช่วยให้รากดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น

วางระบบน้ำหยด ได้ผลตรงจุด
ช่วยประหยัดทั้งน้ำและเวลา
หลังจากการปรับปรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธีแล้ว จะเริ่มคราดและยกร่องแปลงปลูก โดยความสูงของแปลงนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะดินของแต่ละพื้นที่ กรณีพื้นที่ของคุณสุพัฒน์ นั้นเป็นดินทราย ไม่อุ้มน้ำ จึงไม่จำเป็นต้องยกร่องสูงมาก เพราะหากสูงเกินเวลาให้น้ำๆ จะไหลทิ้งโดยที่พืชยังไม่ทันได้ดูดซึม
เมื่อยกร่องเสร็จ ต่อมาจะวางสายน้ำหยด (ท่อ PE) ไปตามแนวร่อง แล้วคลุมพลาสติกเพื่อป้องกันวัชพืช โดยใช้ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 70-80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม ประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งคุณสุพัฒน์บอกว่าเป็นระยะห่างที่กำลังดี แขนงไม่แน่นจนเกินไป หากแน่นเกินจะทำให้แสงส่องไม่ถึง ทำให้ผลเล็ก และเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากเชื้อรา

คุณสุพัฒน์อธิบายเพิ่มเติมว่า การใช้ระบบน้ำหยดนั้นเหมาะกับแตงร้านซึ่งเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง โดยน้ำจะค่อยๆ หยดซึมลงมาที่บริเวณรากของต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ ช่วยให้ดินมีความชื้นคงที่ ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

อย่างไรก็ตาม การให้น้ำในระบบน้ำหยดมีข้อควรระวังคือ ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำช่วงสาย หรือช่วงที่แดดเริ่มแรง เนื่องจากน้ำที่ค้างอยู่ในท่ออาจร้อน ทำให้แตงร้านเฉาได้ ทำค้างแบบ “กระโจม”
รับน้ำหนักได้ดี เก็บเกี่ยวสะดวก
สำหรับพืชเถาเลื้อยอย่างแตงร้าน “ค้าง” เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คุณสุพัฒน์ แนะนำว่า หลังจากหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว ควรปักค้างตามทันที เพื่อให้ทันกับเวลาที่แตงร้านเริ่มมีหนวดเลื้อยและหาที่เกาะ (ระยะเวลาประมาณ 7 วัน หลังหยอดเมล็ด) เพราะหากเกษตรกรปักค้างไม่ทัน แล้วจับเครือมาเกาะภายหลัง จะทำให้โคนต้นหลวมได้

ส่วนรูปแบบของค้าง คุณสุพัฒน์ เลือกใช้เป็นแบบ “กระโจม” หรือแบบ “ตัวเอ” เนื่องจากมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักแตงร้านได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยให้เก็บเกี่ยวได้สะดวก เพราะผลแตงร้านส่วนใหญ่จะทิ้งตัวอยู่ด้านในกระโจม เมื่อเกษตรกรลอดใต้ซุ้มกระโจมเพื่อเก็บผลผลิต เครือของแตงร้านจะช่วยพรางแดดได้

“ช่างสังเกต-หมั่นเติมธาตุอาหาร”
หลักสำคัญช่วยแตงร้านผลดก-ได้เบอร์เอ
วงจรของแตงร้านตั้งแต่หยอดเมล็ดจนถึง “ระยะติดดอก-เริ่มเห็นผลเล็ก” จะอยู่ที่ประมาณ 20-25 วัน ต่อมาผลจะค่อยๆ โตจนสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 35-38 วัน และสามารถเก็บผลผลิตต่อเนื่องได้อีกราว 20-25 มีด (ครั้ง) จากนั้นต้นจะเริ่มแก่ เกษตรกรจะถอนทิ้งเพื่อเตรียมแปลงปลูกรอบใหม่
เห็นช่วงเวลาสั้นๆ แบบนี้ แต่คุณสุพัฒน์ บอกว่า กว่าจะได้แตงร้านคุณภาพ ผลทรงกระบอก ผิวสีเขียวนวล หรือที่ตลาดเรียกว่า “เบอร์เอ” นั้น เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างมาก โดยปัจจัยสำคัญนั้นอยู่ที่ “น้ำ” และ “การบำรุงเพิ่มธาตุอาหาร” ที่เพียงพอ

สำหรับวิธีการบำรุงเพิ่มธาตุอาหารนั้น คุณสุพัฒน์ ใช้วิธีประยุกต์ให้ปุ๋ยผ่านระบบสายน้ำหยด สามารถให้ทั้งปุ๋ยและน้ำไปพร้อมกัน ได้ประโยชน์ 2 ต่อ คือ ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารโดยตรงและประหยัดเวลา ดังนั้น ข้อสำคัญของการให้ปุ๋ยวิธีนี้คือ “ต้องเลือกใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ สามารถละลายน้ำได้ดี” เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วน และไม่ให้เกิดกากปุ๋ยอุดตันในระบบท่อน้ำ

ด้านระยะการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำหยด จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลักคือ ระยะหลังย้ายปลูก, ระยะติดดอก-เริ่มเห็นผลเล็ก และระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต

– ระยะหลังย้ายปลูก หรือ อายุประมาณ 7 วัน (เริ่มแตกใบอ่อน 2-3 ใบ) จะเริ่มให้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) ร่วมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 ในอัตราผสม 1:3 คือ สูตร 46-0-0 จำนวน 1 กก. ต่อ สูตร 15-15-15 จำนวน 3 กก. เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นและใบให้เขียว ความถี่ทุก 2 วัน/ครั้ง จำนวน 2 รอบ

– ระยะติดดอก-เริ่มเห็นผลเล็ก หรืออายุประมาณ 20 วัน จะเริ่มเพิ่มปริมาณปุ๋ยและน้ำขึ้น โดยให้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร16-16-16 บลู ปริมาณ 3 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร/ไร่ ความถี่วันเว้นวัน วันละ 2 ครั้ง ผ่านระบบน้ำหยดในช่วงเช้าและช่วงบ่ายที่แดดไม่แรงมาก ช่วยเพิ่มอัตราการติดผล ทำให้ผลดก และเพิ่มขนาดของผล

– ระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือตั้งแต่แตงร้านอายุ 35 วันเป็นต้นไป ถือว่าเป็นอีกช่วงที่สำคัญ เกษตรกรต้องคอยดูแลให้แตงร้านได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอตลอดอายุการเก็บเกี่ยว จนเมื่อแตงร้านเริ่มแก่ หรือประมาณมีดที่ 20 จึงจะหยุดการบำรุง

โดยในระยะนี้ คุณสุพัฒน์ จะปรับปริมาณการให้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ตามความสมบูรณ์ของต้นและผลเป็นหลัก โดยยึดปริมาณคร่าวๆ ที่จำนวน 3 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร/ไร่ ความถี่วันเว้นวัน วันละ 2 ครั้ง แต่หากช่วงไหนผลแตงร้านเริ่มคด หรือมีผิวกร้าน จะต้องเร่งบำรุงเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้เกษตรกรต้องมีความละเอียดและใส่ใจอยู่เสมอ

“เราต้องหมั่นสังเกต…เพราะแตงร้านเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ในทุกๆ วันจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของผลที่โตขึ้น หากพบว่าผลที่ได้เหี่ยว งอ หรือมีผิวกร้าน แสดงว่าปุ๋ยและน้ำที่ให้ไปไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ของแตงร้าน ดังนั้นในช่วงติดดอกและติดผลผลิตแล้ว ควรค่อยๆ เพิ่มอัตราการให้ปุ๋ยผสมน้ำอย่างเหมาะสม”

“สมมติว่าเราเห็นแตงร้านลูกเล็ก แล้วใส่ปุ๋ยลงไป ขนาดของแตงร้านจะใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยอดเครือก็จะเดินดีกว่ากันมาก แต่หากเราใส่ปุ๋ยในปริมาณไม่เพียงพอ หรือเว้นช่วงการใส่ปุ๋ยไป จะส่งผลให้แตงร้านฝ่อ เป็นลูกข้องอ ถือเป็นความแตกต่างระหว่างแตงร้านที่ผ่านการบำรุงและไม่บำรุงอย่างชัดเจน” คุณสุพัฒน์ เผยประสบการณ์ให้ฟัง

เก็บผลผลิตได้ทุกวัน
สร้างรายได้หมุนเวียน
ภาพรวมของราคารับซื้อแตงร้านนั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ และมีความผันผวนเช่นเดียวกับพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ แต่คุณสุพัฒน์ มองว่าจุดแข็งของแตงร้านคือ เป็นพืชที่ใช้เวลาปลูกสั้น “สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวัน” ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน และเปรียบเสมือนการกระจายความเสี่ยง เพราะเกษตรกรไม่ต้องรอลุ้นกับรายได้รายปีรอบเดียวเหมือนการปลูกพืชอีกหลายชนิด

คุณสุพัฒน์ เผยว่า ช่วงราคาแตงร้านจะอยู่ที่ราว 5 -14 บาท/กิโลกรัม ซึ่งในมุมของตนเองนั้น หากขายได้ราคา 6-7 บาท/กิโลกรัม ก็สามารถอยู่ได้สบายแล้ว โดยเฉพาะถ้าทำแตงร้านได้ “เบอร์เอ” เป็นสัดส่วนที่มาก ก็จะมีผู้รับซื้อเจ้าประจำ หมดปัญหาเรื่องไม่มีตลาดรองรับ

การปลูกพืชระยะสั้นอย่าง “แตงร้าน” ถือเป็นทางเลือกให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างรายได้เสริม สามารถทดลองทำตามได้บนพื้นที่ไม่มากนัก และหากเลือกปลูกสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด และได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจเปลี่ยนจากพืชปลูกเสริม กลายเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้แบบคาดไม่ถึง

คุณสุพัฒน์ ถือเป็นตัวอย่างเกษตรกรที่หมั่นปรับตัวและมองหาทางเลือกใหม่อยู่เสมอ จนสามารถเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างน่าชื่นชม ปัญหาหลักของเกษตรกรยุคเก่า คือ ราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดในระยะเวลาใกล้เคียงกันจำนวนมาก ทำให้ราคาผลผลิตต่ำตามกลไกของดีมานด์ ซัพพลาย คือมีมากราคาก็ถูก มีน้อยราคาก็แพง ขณะเดียวกันเกษตรยุคก่อนไม่สามารถคำนวณต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ขาดการเรียนรู้เรื่องการลดต้นทุนภาคผลิต พึ่งพาตลาดเดียว ก็ยิ่งทำให้เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องรายได้ สุดท้าย เกิดเป็นปัญหาระดับชาติ คือความยากจนในภาคเกษตร

ปัจจุบัน วงการเกษตรไทยมีการพัฒนามากขึ้น เกิดเป็นภาพลักษณ์ใหม่ ที่เรียกว่า “เกษตรปราดเปรื่อง” หรือ Smart Farming แนวคิดการทำเกษตรแบบใหม่ โดยเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักการเกษตร หรือ Young Smart Farmer ส่งเสริมให้รู้จักบริหารจัดการเกษตร โดยนำ Agriculture Technology (Agritech) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิต

คุณนิธิภัทร์ ทองอ่อน หรือ คุณโอ๋ เจ้าของสวนทุเรียนลุงแกละ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง หนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ด้วยการนำแนวคิดสมัยใหม่มาปรับเปลี่ยนสวนทุเรียนที่รับสืบทอดจากคุณพ่อ คือ “ลุงแกละ” หรือ คุณสำรวย ทองอ่อน ซึ่งแต่เดิมทำการเกษตรในแปลงแบบผสมผสาน ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง ขนุน และยางพารา บนผืนดินขนาด 60 ไร่ ซึ่งเป็นมรดกของตระกูล

เมื่อ คุณโอ๋ เข้ามารับไม้ต่อจากคุณพ่อ สิ่งแรกที่ทำคือ “การเคลียร์แปลง” โดยเก็บเฉพาะต้นทุเรียนและจัดการแปลงใหม่ให้มีพื้นที่เป็นสัดส่วน เพื่อให้การนำเครื่องจักรเข้ามาใช้งานในแปลงทำได้สะดวกขึ้น และกำหนดเป้าหมายในการทำให้ทุเรียนออกผลผลิตนอกฤดูกาล ซึ่งมีราคาสูงกว่าผลผลิตตามฤดูกาลนั่นเอง

โดยหลักการทำให้ทุเรียนออกผลผลิตนอกฤดูกาลนั้นก็ไม่ซับซ้อน คือ ดินดี น้ำดี ปุ๋ยดี สิ่งเหล่านี้สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในแปลงปลูกได้ อาทิ การใช้แอปพลิเคชั่นพยากรณ์อากาศที่มีฟังก์ชั่นตรวจสภาพพื้นดินในแปลงว่าผืนดินตรงไหนมีความสมบูรณ์ ตรงไหนแห้งแล้ง ควรบำรุงดิน ตรวจความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ แถมยังมีฟังก์ชั่นคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนล่วงหน้าได้ ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการกำหนดเวลาให้ฮอร์โมน ปุ๋ย และน้ำ ที่เหมาะสมสำหรับทุเรียน เมื่อต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ ก็จะมีความพร้อมในการออกผลผลิตแม้จะยังไม่ใช่ฤดูกาลก็ตาม ทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับการวางแผน บริหารจัดการ คำนวณเวลา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

ลงทุนเครื่องจักร ลดแรงงานคน ประหยัดเวลา

ปัญหาอีกประการของเกษตรกร คือ “ต้นทุนแรงงาน” ขณะที่การนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคนในปัจจุบันต้องลงทุนสูง แต่คุณโอ๋มองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แถมตนยังเรียนจบในสาขาการจัดการอุตสาหกรรม ทำให้มีความรู้ด้านเครื่องจักรที่สามารถนำมาใช้ทดแทนแรงงานคนได้ เลยลงทุนซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้งานในสวนทุเรียน โดยเครื่องจักรที่นำมาใช้หลักๆ คือ รถพ่นยา รถกระเช้า และรถตัดหญ้า รถพ่นยาสามารถลดแรงงานคนได้มาก จากเดิมต้องใช้แรงงานอย่างน้อย 3 คน พอมีรถพ่นยาก็ใช้แค่คนเดียว แถมประสิทธิภาพของรถพ่นยาก็ดีกว่าใช้แรงงานคน

ส่วนการนำรถกระเช้า มาใช้ในสวนทุเรียน คุณโอ๋ มองเรื่องความปลอดภัย ทุเรียนเป็นไม้ยืนต้นสูง การเก็บเกี่ยวจึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำงานบนที่สูง จึงนำรถกระเช้ามาใช้ในการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งทรงพุ่ม แต่งดอก รวมถึงการเก็บผลทุเรียน สำหรับรถตัดหญ้า หากเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคน สวนทุเรียน พื้นที่ 60 ไร่ ต้องใช้แรงงานตัดหญ้าอย่างน้อย 4 คน และต้องใช้เวลาถึง 10 วัน กว่าจะเสร็จ แต่เมื่อนำรถตัดหญ้ามาใช้งาน สามารถทำงานคนเดียวได้ ตัดหญ้าได้วันละ 20 ไร่ พื้นที่ 60 ไร่ ใช้เวลาแค่ 3 วันเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนแรงงาน ยังลดเวลาทำงาน สามารถนำเวลาที่เหลือไปทำงานอย่างอื่นได้อีก

“การนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรมาใช้ในการเกษตรจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะในอนาคตแรงงานในภาคเกษตรจะน้อยลง และเมื่อเกิดสถานการณ์นั้นจริง เราก็ยังมีเครื่องจักรที่ทดแทนแรงงานคนมาทำงานได้ต่อ”

สำหรับปัญหาหลักๆ ของเครื่องจักรคือ การดูแลรักษา และซ่อมบำรุง โชคดีที่ คุณโอ๋ มีความรู้ด้านนี้ เนื่องจากเรียนจบด้านเครื่องจักรโดยตรง ทำให้สามารถจัดการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงในเบื้องต้นได้ ทั้งมองว่าปัญหาเรื่องเครื่องจักรนั้นมีน้อยกว่าปัญหาแรงงานคนเสียด้วยซ้ำ

จัดการเงินหมุนเวียน และการตลาดทั้งออนไลน์-ออฟไลน์

ในด้านการบริหารเงินทุนในสวนทุเรียนลุงแกละ คุณโอ๋ บอกว่าต้องเตรียมเงินหมุนเวียนไว้ 7 เดือน เพราะในช่วงพักต้นทุเรียนจะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน ดังนั้น เงินก้อนที่ได้จากการขายทุเรียน 40% จะนำไปเป็นเงินสำรอง ปันส่วนอีก 40% เป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป อาทิ ค่าปุ๋ย ฮอร์โมน ยา ค่าแรงงานคน และยังแบ่งไปในการลงทุนด้านเครื่องจักรอีกด้วย

ส่วนการตลาด ได้มีการวางแผนไว้ 2 แบบ โดย 80% ยังเป็นการทำตลาดแบบออฟไลน์ ขายส่งให้พ่อค้าในประเทศ และส่งออกไปขายที่ประเทศจีน ส่วนอีก 20% เน้นทำการตลาดออนไลน์ ในรูปแบบการเปิดรับจองทุเรียนผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กสวนทุเรียนลุงแกละ

สำหรับลูกค้าที่สั่งจองทุเรียนออนไลน์ ทางสวนจะแขวนป้ายชื่อและรูปลูกค้าเอาไว้ที่ผลทุเรียน รวมถึงมีสมุดคู่มือแนะนำ การเช็กระยะการสุกของทุเรียน ควรเก็บอย่างไร และวิธีเคาะฟังเสียง แยกเสียงทุเรียนว่าสุกถึงระยะไหน เพื่อให้ตรงกับความชอบของลูกค้า โดยจะอธิบายไว้ในสมุดคู่มือส่งให้ลูกค้าในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย

คุณโอ๋ แนะนำเกษตรกรที่มีแนวคิดนำเทคโนโลยีมาใช้ในสวนว่า อยากให้เกษตรกรย้อนกลับไปมองปัญหาที่สวนก่อนว่ามีอะไรบ้าง และตีโจทย์ให้แตก ถ้าอยากใช้เครื่องจักร อาจเริ่มต้นจากการศึกษาหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก่อนว่า เครื่องจักรนั้นทำงานอย่างไร เหมาะสมกับแปลงปลูกของเราหรือไม่ สามารถนำมาปรับใช้ได้ไหม และที่สำคัญ ยังไม่ต้องเริ่มลงทุนในเครื่องจักรราคาแพง อาจเริ่มจากเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งก่อน แล้วเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่อยลงทุนด้านเครื่องจักรเพิ่มเติม ทั้งนี้ต้องใช้ความต่อเนื่องและการวางแผนที่รอบคอบ

การนำองค์ความรู้มาต่อยอด ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรสมัยใหม่อย่างเหมาะสมจากแนวคิดของคุณโอ๋ เจ้าของสวนทุเรียนลุงแกละ นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของการทำเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อว่าผู้อ่านจะสามารถนำแนวทางเหล่านี้ไปต่อยอดธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทุ่งทานตะวันที่กว้างใหญ่ไพศาล มีดอกสีเหลืองอร่ามตา หมู่ผึ้งบินตอมดอกที่เบ่งบานวนเวียนไปมา ในขณะที่ดอกกำลังหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ (positive phototropism) ตอนเช้าจะหันไปทางทิศตะวันออกและชูสู้แสงตะวัน ตอนเย็นหันไปทางทิศตะวันตก

อยู่ในวงศ์ Asteraceae พืชในวงศ์นี้ ที่เรารู้จักคือ บัวตอง เบญจมาศ คำฝอย และดาวเรือง ฯลฯ

เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว ได้ข่าวว่า สมัครปั่นสล็อต สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ได้นำพันธุ์ทานตะวันจากประเทศรัสเซีย ชื่อพันธุ์ Saratovsky มาทดลองปลูกในประเทศไทย เนื่องจากพันธุ์ดังกล่าวเป็นพันธุ์ผสมเปิด ต้องใช้แมลง จำพวกผึ้งมาช่วยผสมเกสร จึงจะได้ผลผลิต ซึ่งในระยะนั้น การเลี้ยงผึ้งยังไม่แพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน และคิดว่าคงยังไม่มีอุตสาหกรรมน้ำมันพืชของภาคเอกชนรองรับการปลูกทานตะวันในช่วงนั้น จึงไม่ได้ดำเนินการต่อ

ทานตะวันถึงแม้จะมีดอกสมบูรณ์เพศ แต่เป็นพืชที่ผสมข้ามเป็นส่วนใหญ่ เพราะเกสรตัวผู้จะเจริญ (fertile) ก่อนเกสรตัวเมีย จึงต้องใช้แมลง เช่น ผึ้ง เป็นพาหะนำละอองเรณูไปผสมต่างดอกกัน ในช่อดอก จะมีดอกย่อย (สมบูรณ์เพศ) อยู่เป็นพันๆ ดอก ตั้งแต่ 700-3,000 ดอก และพันธุ์ที่ให้น้ำมัน (oil type) มีถึง 8,000 ดอก ดอกจะบานตั้งแต่รอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์กลาง รอบนอกสุดเป็นกลีบดอก และถ้ามีการผสมติด ก็จะติดเมล็ดตั้งแต่รอบนอกเข้าไปเช่นเดียวกัน แถบศูนย์กลาง วงในของช่อดอกมักจะผสมไม่ติด

เมื่อประมาณปี 2526 ในช่วงนั้น สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับความช่วยเหลือ โครงการพัฒนาพืชน้ำมันจากสหภาพยุโรป สมัยนั้นเรียกว่า EEC ซึ่งได้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมในโครงการด้วย ซึ่งในช่วงเดียวกัน ทางบริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด (คุณสุขเกษม จิตรสิงห์) ได้สั่งเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน ลูกผสม ไฮซัน ๓๓ เข้ามาจากออสเตรเลีย ซึ่งหลังจากงานทดสอบในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความร่วมมือกับบริษัท มาทำแปลงทดสอบในท้องถิ่น ซึ่งยึดเอาพื้นที่ๆ ปลูกพืชไร่ปลายฤดูฝนจังหวัดต่างๆ เป็นพื้นที่ทดสอบ ภายใต้การให้คำแนะนำจากหน่วยงานวิจัยและวิชาการต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพืชน้ำมัน ต่อมาได้มีบริษัทเมล็ดพันธุ์อีกหลายแห่งได้ส่งพันธุ์ลูกผสมมาร่วมทำแปลงทดสอบกับเราด้วย ปรากฏว่าได้ผลดี

เนื่องด้วยทานตะวันเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในพื้นที่แห้งแล้ง เพราะมีระบบรากลึก นัยว่า ถ้าดินชั้นบนแห้งแล้ง ทานตะวันสามารถหยั่งรากลึกลงไปในดินเพื่อดูดน้ำธาตุอาหารได้ลึกถึง 30 เซนติเมตร หรือ

อาจจะหยั่งรากได้ลึกถึง 100 เซนติเมตร ถ้าแล้งจริงๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากดินดี มีความชื้นอุดมสมบูรณ์ ทานตะวันก็สามารถให้ผลผลิตสูง ข้อดีของพันธุ์ลูกผสมคือ สามารถผลิตละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า ทำให้ไม่ต้องใช้แมลงช่วยผสมเกสร แต่อย่างไรก็ตาม การใช้แมลงช่วยผสมเกสร ก็จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีก ราว 30 เปอร์เซ็นต์