เน้นการจ้างแรงงานในชุมชน ที่เป็นเกษตรกรรายได้น้อย

ที่มีความสามารถสอดคล้องกับกิจกรรมที่ชุมชนขอรับการสนับสนุน มีสัดส่วนการจ้างแรงงาน ร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน 3.วัสดุโครงการ จัดซื้อจากแหล่งวัสดุในชุมชน 4.โครงการกิจกรรม เป็นความต้องการของชุมชน ผ่านกระบวนการเวทีชุมชนแบบมีส่วนร่วม พิจารณาเห็นชอบโดยชุมชน ดำเนินการตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ชุมชนคิด ชุมชนทำ ชุมชนรับประโยชน์)

5.ดำเนินการโดยกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรในชุมชน ที่หน่วยงานสนับสนุน หรือกลุ่มธรรมชาติที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการระดับชุมชน

6.สถานที่ดำเนินการเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ที่มีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ถ้าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้พื้นที่ 7.ต้องไม่เป็นกิจกรรม ที่มีการก่อสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างที่ถาวรขึ้นใหม่

8.ต้องไม่เป็นโครงการที่ซ้ำซ้อนกับโครงการ ที่ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานราชการ หรือ อปท.

9.ต้องเป็นโครงการที่พร้อมจะดำเนินการได้ทันที

ส่วนกรอบระยะเวลาดำเนินการตามโครงการงบประมาณ กำหนดงบประมาณลงสู่ชุมชน 14 กรกฎาคม 2560 ชุมชนเริ่มดำเนินการ 15 กรกฎาคม 2560 บรรลุผลการดำเนินงานร้อยละ 50 วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 สำเร็จเสร็จสมบูรณ์ วันที่ 30 กันยายน 2560 รวมเวลาดำเนินงาน 89 วัน แล้วมีการสรุปผล 5 ธันวาคม 2560

อำเภอน้ำปาด ได้รับความร่วมมือ พร้อมการสนับสนุนการดำเนินงาน จากทุกภาคส่วนด้วยดีอย่างยิ่ง คาดว่าการดำเนินงาน “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” จะต้องสำเร็จผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ เกิดประโยชน์ต่อขุมชนอย่างแน่นอน เกษตรอำเภอน้ำปาดเปิดเผยในที่สุด.

กรมทางหลวงชนบท(ทช.)ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.33 – บ้านภูน้ำเกลี้ยง ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง 10.300 กิโลเมตร ทั้งนี้เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดสระแก้ว สนับสนุนการขนส่ง แก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและการกระจายสินค้าเข้า–ออกจากด่านพรมแดนสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งเป็นโครงการที่ปรับปรุงจากถนนลูกรังเป็นลาดยาง เพื่อเชื่อมทางหลวงหมายเลข 33 (กม.ที่ 302+690) บ้านดงงู หมู่ที่ 7 กับถนนทางหลวงชนบทสาย สก. 3085 (กม.ที่ 9+625) ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

โดยก่อสร้างถนนผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้าง 6 เมตร ระยะทาง 10.300 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยมคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1 แห่ง ระบบระบายน้ำ เครื่องหมายจราจรและสิ่งอำนวยความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง ปัจจุบันมีผลงานความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 71.76 โดยก่อสร้างผิวจราจรแล้วเสร็จไปแล้ว 7 กิโลเมตร ส่วนระยะทางที่เหลืออีก 3.300 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานระบบระบายน้ำและงานโครงสร้างทาง โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 93.280 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2561

เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเชื่อมโยงการผลิตจากแหล่งไปสู่ตลาดและผู้บริโภค อีกทั้งลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ลดปริมาณการจราจรที่แออัด โดยใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งสนับสนุนยุทธศาสตร์Logistics ในการขนส่งสินค้าระหว่างชายแดนไปยังภูมิภาคต่างๆ สนับสนุนการท่องเที่ยวให้สามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และส่งเสริมการจ้างงานให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศประจำวันที่ 7 กรกฏาคม 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับภาคใต้มีฝนน้อยกว่าภาคอื่นๆ

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและ มีฝนตกหนักบางพื้นที่

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ

อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี และชัยนาท

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี

ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา

อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่

บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. โพแทสเซียมคลอเรต (KCLO3) เป็นผลึกโปร่งแสง ลักษณะเป็นผลสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็มเช่นเดียวกับเกลือแกง ละลายได้ไม่ดี มีจุดหลอมเหลวที่ 368 องศาเซลเซียส ติดไฟง่าย อันตรายของโพแทสเซียมคลอเรต เมื่อสัมผัสจะทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา หากบริโภคเข้าไปจะทำลายระบบทางเดินอาหารและไต ดังนั้น จึงจัดให้โพแทสเซียมคลอเรตเป็นวัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 โดยกระทรวงกลาโหม การต้องการนำเข้าหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ต้องได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่พบอันตรายจากการบริโภคลำไยนอกฤดูที่ได้จากการราดสารโพแทสเซียมคลอเรตแต่อย่างใด ผู้บริโภคสบายใจได้ ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตลำไยของไทย ปี 2559 ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากภาวะแห้งแล้งง ผลิตได้ 7.5 แสนตัน ลดลงจากปี 2558 ที่ผลิตได้ 8.7 แสนตัน

ปัจจุบัน มีผู้รวบรวมผลผลิตหรือล้ง เป็นชาวจีนและเวียดนาม เป็นผู้เข้ามารวบรวมผลผลิตส่งออกไปยังจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ โดยจีนกำหนดให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไย ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักลำไย 1 กิโลกรัม ส่วนสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อนุญาตให้นำเข้าลำไยที่ผ่านการฉายรังสีแกมม่า ที่ระดับบ 400 เกรย์ ดังนั้น ผู้ส่งออกลำไยต้องตระหนักถึงข้อกำหนดของแต่ละประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุปสรรคในการส่งออกต่อไปในอนาคต

“มหาสารคาม” ประกาศเขตโรคระบาดในสัตว์ปีก หลังตรวจพบโรคอหิวาต์เป็ด-ไก่ ด้านกลุ่มเลี้ยงไก่งวงชี้สร้างความเสียหายนับล้านบาท

นางไพเราะ รอยตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า เนื่องจากในท้องที่บ้านดอนมัน หมู่ 13 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีสัตว์ปีก ไก่พื้นเมือง ไก่งวง เกิดโรคระบาด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยปศุสัตว์อำเภอ จึงลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุการป่วยตาย และเก็บตัวอย่างซากสัตว์ปีกส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการเพื่อชันสูตรหาสาเหตุการตาย ซึ่งพบว่าเป็นโรคอหิวาต์เป็ด-ไก่ ซึ่งโรคนี้พบได้ในไก่ เป็ด ห่าน ไก่งวง และสัตว์ปีกอื่น ๆ

ฉะนั้นสำนักงานปศุสัตว์อำเภอกันทรวิชัย จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 พระราชบัญญัติโรคระบาดในสัตว์ พ.ศ.2558 ประกาศให้บ้านดอนมัน หมู่ 13 ตำบลขามเรียง ตำบลศรีสุข ตำบลขามเรียง ตำบลท่าขอนยาง ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย และ ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน-วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ทั้งนี้หากพบไก่ตายขอให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ให้นำซากไปตรวจสอบ และกำจัดซากอย่างถูกวิธี ไม่ควรนำซากไก่ไปทิ้งตามแหล่งน้ำ หรือทิ้งตามแหล่งชุมชน ควรขุดหลุมฝังกลบเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและได้สั่งทำลายสัตว์ปีกชนิดไก่งวง

ขณะที่ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคามได้ออกคำเตือนห้ามเคลื่อนย้ายเป็ด ไก่ ห่าน ไก่วงวง เข้าออกหรือผ่านในเขตนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย และเมื่อพบเป็ด ไก่ ห่าน และไก่งวง ป่วยหรือตายโดยไม่รู้ว่าเป็นโรคระบาดหรือไม่ทราบสาเหตุในหมู่บ้านเดียวกัน และพื้นที่ใกล้เคียง สุนัขหรือแมวที่มีอาการคล้ายคลึงกันในระยะเวลาห่างกันไม่เกิน 7 วัน ให้เจ้าของควบคุมซากสัตว์นั้นให้อยู่ ณ ที่สัตว์ตาย และห้ามมิให้ผู้อื่นเคลื่อนย้าย ชำแหละหรือกระทำการอื่นแก่ซากศัตว์ ทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนอาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ด้านนายอดิสร เหล่าสะพาน ประธานกลุ่มเลี้ยงไก่งวงบ้านดอนมัน เปิดเผยกรณีนี้ว่า ในกลุ่มมีไก่ที่ตายรวมทั้งที่ฆ่าทิ้งหลังผลการตรวจพบว่าเป็นอหิวาต์รวมกว่า 1,400 ตัว มีทั้งตัวโตเต็มวัย ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ประเมินมูลค่าความเสียหายไม่น่าจะต่ำกว่าล้านบาท สร้างความเสียหายให้เกษตรกรมากพอสมควร ช่วงนี้ก็ต้องพักรอไปจนถึงเดือนกันยายน เมื่อพื้นที่ปลอดเชื้อแล้วก็จะเริ่มเลี้ยงกันใหม่ โดยพ่อแม่พันธุ์ไก่งวงรุ่นใหม่จะเป็นไก่ที่ปรับปรุงสายพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ โดยทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคามเป็นผู้ดำเนินการให้

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอเชิญนักวิจัย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการ การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๖ และงานแสดงสินค้าประจำปี ๒๕๖๐” หัวข้อ “แผนกลยุทธ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศยุค ๔.๐” ในระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร จัดโดย สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แจ้งว่า วช.ได้กำหนดจัด “การประชุมวิชาการ การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๖ และงานแสดงสินค้า ประจำปี ๒๕๖๐” เพื่อให้ผู้ใช้สัตว์ ผู้ผลิตสัตว์ คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ และผู้บริหารหน่วยงานที่มีการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของงานเกี่ยวกับงานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์แห่งชาติฯ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานภาพงานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ฯ จรรยาบรรณการใช้สัตว์ฯ และการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์

ในวันดังกล่าวมีพิธีมอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ พิธีมอบรางวัลทีอีคิว (TEQ Award) ประจำปี ๒๕๖๐ สำหรับพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น รางวัล สพสว.(IAD Award) ประจำปี ๒๕๖๐ สำหรับนักวิจัยดีเด่นที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ และหน่วยงานที่สังกัดด้วย การนำเสนอผลงานและการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การนำเสนอประเด็นที่ควรรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดย ดร.ปัทมารัตน์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย วช. การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการระบบอากาศในห้องปฏิบัติการ การอภิปรายเรื่องมาตรฐานการเลี้ยงเพื่องานทางวิทยาศาสตร์การบรรยาย เรื่อง คุณภาพสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และแหล่งที่มา โดย ดร.ประดน จาติกวนิช ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และหัวข้อการบรรยายและอภิปรายอีกหลายหัวข้อโดยวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญโดยตรงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

นอกจากนี้ยังจัดให้มีการแสดงสินค้า และผลิตภัณฑ์ สำหรับการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เช่น กรงเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เครื่องสลับเลี้ยง สเตอร์ไลน์ เป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ กว่า ๒๐ หน่วยงาน ผู้สนใจเข้าร่วมงานสอบถามรายละเอียดได้ที่:สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่อ งานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โทรศัพท์ ๐๒ ๕๗๙

นายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช ประธานชมรมผู้ผลิตน้ำดื่มจังหวัดมหาสารคาม เผยว่า ปัจจุบันมีสมาชิกประกอบธุรกิจน้ำดื่มรวม 154 ราย จ้างงานกว่า 2 พันคน ประเมินภาพรวมยอดขายน้ำดื่มของผู้เป็นสมาชิกในชมรมปีละกว่า 100 ล้านบาท ทั้งตลาดบนและตลาดล่าง ยอดขายก็มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าตลาดล่าง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้านธรรมดา เริ่มนิยมหันมาดื่มน้ำที่ผลิตจากโรงงานเนื่องจากมั่นใจในคุณภาพและความสะอาด แต่ตลาดน้ำดื่มก็มีการแข่งขันส่วนแบ่งการตลาดที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำที่ผลิตจากบริษัทส่วนกลางที่ทำการตลาดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าที่นิยมบริโภคจะเป็น กลุ่มบนซึ่งผู้มีกำลังซื้อสูง

แต่สำหรับน้ำดื่มของผู้ประกอบการในท้องถิ่นราคาขายจะถูกกว่าทั้งชนิดที่บรรจุขวดขาวขุ่น ขวดเพท และบรรจุถังได้รับความนิยมจากลูกค้า ระดับล่างมากขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มตลาดล่างยอดขายจึงเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดรุกชิงแชร์ตลาดบน ทางชมรมผู้ผลิตน้ำดื่ม จึงมีนโยบายที่จะสร้างมาตรฐานให้กับน้ำดื่มในพื้นที่ให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีทุกราย ประสานกับทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ให้ความรู้กับผู้ประกอบการทุกรายคาดหวังว่าเมื่อการผลิตน้ำดื่มของผู้ประกอบการในพื้นที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน ตั้งเป้าชิงแชร์ตลาดน้ำประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเราขายถูกกว่าน้ำแบรนด์ส่วนกลาง ซึ่งคุณภาพไม่ต่างกันจะให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นมากขึ้น สำคัญที่สุดทำให้เกิดการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

ด้าน นายแพทย์คิมหันต์ ยงรัตนกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เผยประชุมผู้ประกอบการผลิตน้ำเพื่อย้ำเตือนในเรื่องของขั้นตอนการผลิตให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ทางสำนักงานมีการดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มข้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จะต้องได้มาตรฐานจีเอ็มพี ต้องเข้าหลักเกณฑ์

บทเพลงจากสื่อออนไลน์ ไม่ปรากฏที่มาของผู้โพสต์ไว้ แต่รู้ได้ว่า เป็นเวลามากกว่า 3 ปีมาแล้ว กล่าวถึงทั้งวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา พุทธประเพณีของชาวพุทธ ที่จะได้รำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 8 และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีใด อาจจะมีเดือนแปด 2 หน ก็โดยทั่วไปจะเป็นกลางปีช่วงเดือนกรกฎาคม ก็จะมีพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ประเพณีที่ทรงคุณค่าของชาวพุทธ ที่จะได้ธำรงธรรมเนียมปฏิบัติบูชา ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นสิริมงคลชีวิตและครอบครัว

นอกเหนือจากการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร สังฆทาน ถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีประเพณีหนึ่งที่ชาวพุทธถือปฏิบัติในช่วงวันเข้าพรรษา โดยการ “ตักบาตรดอกไม้” ด้วย “ดอกเข้าพรรษา” หรือที่เรียกรู้จักกันดั้งเดิม คือ ดอก “หงส์เหิน”

ดอกเข้าพรรษา หรือดอกหงส์เหิน (Globba winiti) replicascamisetasfutbol2018.com เป็นพืชในวงศ์ขิง ลักษณะคล้ายต้นกระชาย หรือขมิ้น เป็นพื้นที่มีลำต้นเป็นหัวใต้ดินประเภทเหง้า รากทำหน้าที่สะสมอาหาร อวบน้ำ เรียงอยู่โดยรอบหัว มีใบเรียงตัวกันแน่น จะเจริญเติบโตเป็นกลุ่มกอ มีความสูงไม่เกิน 1 เมตร เมื่อออกดอกจะออกเป็นช่อ โดยแทงจากยอดของลำต้น ช่อจะโค้งและห้อยตัวลงอย่างอ่อนช้อยสวยงาม มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบประกอบด้วยดอกจริง มีกลีบประดับที่แตกต่างกันหลายรูปทรงและหลายสีงดงาม เช่น สีขาว ดอกสีเหลือง สำหรับดอกสีม่วงแดงค่อนข้างจะหายาก และดอกมักจะบานในช่วงเข้าพรรษา เมื่อดอกโรยจะมีหัวเล็กๆ สีขาวเติบโตเป็นต้น นำไปขยายพันธุ์ได้ โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด แต่วิธีที่สะดวกก็สามารถขุดเหง้าหรือหัวใต้ดินมาลงแปลงปลูกหรือปลิดแยกหัวฝังดินได้

ต้นหงส์เหิน หรือที่นิยมเรียก ดอกเข้าพรรษา เป็นพืชเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน พร้อมทั้งจะออกดอกสะพรั่งในช่วงนี้ แต่มีการพักตัวในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ซึ่งต้นเหนือดินหรือก้านใบจะยุบแห้งเหลือเป็นหัวฝังตัวอยู่ในดินจนกว่าจะถึงฤดูฝน จะงอกผลิใบออกดอกอีกครั้ง ในธรรมชาติต้นหงส์เหิน เป็นพันธุ์ไม้พื้นบ้าน ไม้พื้นเมือง ที่พบได้เกือบทุกภาคของเมืองไทย เจริญเติบโตได้ดีในป่าร้อนชื้น แต่ชอบอยู่ใต้ร่มเงาป่าไม้ใหญ่ หรือตามชายป่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละภูมิภาค เช่น จังหวัดลำพูน เรียก กล้วยจ๊ะก่าหลวง จังหวัดเลย เรียก ว่านดอกเหลือง สำหรับจังหวัดสระบุรี เรียกว่า ดอกเข้าพรรษา ซึ่งจะมีบทบาทในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา โดยใช้เป็นดอกไม้สำหรับ “ตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นประเพณีที่ชาวพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ยึดถือมาเป็นเวลาช้านาน แต่เมื่อปี พ.ศ. 2544 ทางจังหวัดสระบุรีได้เพิ่มจำนวนวันตักบาตรดอกไม้ จาก 1 วัน เป็น 3 วัน เพื่อให้ประชาชนมาร่วมทำบุญได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากการจัดงานทำบุญตักบาตรดอกไม้เพียงวันเดียว มีพุทธศาสนิกชนมาร่วมทำบุญตักบาตรในวันเข้าพรรษาเนืองแน่น โดยในงานพิธีช่วงเช้าจะเป็นขบวนแห่รถบุปผชาติ ซึ่งที่เคยปฏิบัติ ตั้งแต่ 5-6 ปี ที่ผ่านมา จะมีการตั้งขบวนรถบุปผชาติจากวิทยาลัยการอาชีพสระบุรี ตามถนนพหลโยธิน แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร และจะเริ่มตักบาตรดอกไม้ ช่วงเวลาบ่าย ประมาณ 15.00 น. ส่วนในวันที่เพิ่มขึ้นอีก 2 วัน จะมีพิธีตักบาตรดอกไม้ 2 รอบ คือ เวลา 10.00 น. และเวลา 15.00 น. ในพิธีหลังจากพระสงฆ์เดินขึ้นมณฑป เพื่อถวายดอกไม้แด่รอยพระพุทธบาท แล้วตอนขากลับลงมาพุทธศาสนิกชนจะนำน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเดินลงมาจากมณฑป การที่ปฏิบัติบุญโดยชำระล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเสมือนการได้ชำระล้างบาปให้ตนเอง

จากข้อความที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ สำหรับคำถวายธูป เทียน และดอกไม้ บูชาพระ โดยกล่าวคำอาราธนา ดังนี้

อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะ บุปผะ วรานิ

ระตะนัตตะ ยัสเสวะ อภิปู เชมะ

อัมหากัง ระตะนัตตะ ยัสสะ ปูชา ฑีฆะรัตตัง

หิตะ สุขาวะหาโหตุ อาสวักขะ ยัปบัติติยา

ชาวบ้านแถบวัดพระพุทธบาท มักจะหาตัดดอกหงส์เหินหรือดอกเข้าพรรษา จากบริเวณเชิงเขา หรือพื้นที่ชายป่า พื้นที่สาธารณะใกล้เคียง ปัจจุบัน ต้นเข้าพรรษา ตามพื้นที่ผืนป่าธรรมชาติเริ่มหายากหรือมีน้อยลง แต่ก็ยังพบอยู่ตามบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่แผ่ร่มเงาบังแดด หรืออาจจะพบเห็นแถบสวนผลไม้เก่าๆ หรือตามชายป่าละเมาะ แต่ปัจจุบันมีแปลงปลูกจำหน่ายมากขึ้น